เรื่องเด่น พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนิพพานอย่างไร (ค้นคว้าโดย มรว.เสริมศุขสวัสดิ์)

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 10 กันยายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ๑สมเด็จองค์ปฐม.PNG

    คำถาม
    เรื่องนิพพานสูญกับนิพพานไม่สูญ อีกเรื่องหนึ่งทุ่มเถียงกันมาก มีคนเขาว่าพระอรหันต์ หรือพระพุทธเจ้า เมื่อท่านนิพพานไปแล้วก็ไม่มีแล้ว จะเอามาพูดกันได้ยังไงว่า มาแสดงให้ปรากฏอีกได้

    คำตอบ เรื่องนิพพานนี้หลวงพ่อท่านก็เทศน์ก็สอนไว้แล้วว่า ไม่สูญ แต่ถ้าจะเอาหลักฐานจากพระไตรปิฎก จะค้นมาให้ดูก็ได้ พวกนิพพานสูญ ไม่รู้เขา ไปเอามาจากไหนกัน เห็นแต่อ้างว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" เมื่อสูญก็แปลว่า หายไป ไม่มีแล้ว แต่พวกนี้แปลก ก็ที "นิพพานัง ปรมัง สุขขัง"

    ไม่ยักยกมาพูด ได้กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธเจ้า พูดไม่ผิด และ ค้านไม่ได้ แย้งกันเองก็ไม่ได้ ตามหลักก็ ต้องถือว่า เป็นเช่นนั้นทั้งคู่ สุญญัง ด้วย สุขขัง ด้วย

    คำว่า สุญญัง นี้ หลายท่านแปลว่า ว่าง ไม่แปลว่า สูญหายไป ว่างจากกิเลสอย่างยิ่ง ลองค้นดูใจ ความเกี่ยว กับคำว่า ดับ ว่า สูญ นี้จะพบหลายแห่ง

    เล่ม 1 หน้า 3

    "เรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ" สูญ คือ หายไปขาดคือสิ้น ไม่มีทางเกิดอีก เช่นนี้กระมัง

    เล่ม 11 หน้า 46

    "พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นผู้ดับแล้ว ย่อมแสดงธรรมเพื่อความดับ" ความดับในที่นี้จะแปลว่าสูญก็ไม่ได้ ตายก็ไม่ได้ แปลได้อย่างเดียวคือ ดับกิเลสเพราะ ถ้าสูญไปตายไป ก็คงมาแสดงธรรมไม่ได้

    เล่ม 13 หน้า 104

    "ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดเพื่อดับสนิทแห่งภพ เท่านั้น" ขอให้สังเกตว่า ไม่ได้หมายความว่า ตัวภพเป็นตัวดับ ภพมีอยู่เสมอ แต่บุคคลผู้หลุดพ้นนั้น ดับไปจากภพอย่างสนิท คือ ไม่ไปเกิดในภพอีกแล้วนั่นเอง

    เล่ม 13 หน้า 138

    "อาสวะเหล่านั้นตถาคตจะได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิด ต่อไปเป็นธรรมดา" ความนี้ได้ความว่า อาสวะ ถึง ความไม่มี ไม่ใช่ พระตถาคตสูญไป เพราะขณะที่ตรัสก็ "ถึงความไม่มี" คือ ไม่มีอาสวะอยู่แล้ว

    หน้า 140

    "ย่อมน้อมไป ในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้ สงบ ธรรมชาตินี้ ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ สังขารทั้งปวง เป็นที่สละ คือ อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไป แห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้"

    เล่ม 16 หน้า 18

    "เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน" ข้อนี้แสดงว่า ถึงยังไม่ตายก็ดับได้

    หน้า 128 ภพดับเป็นนิพพาน

    เล่ม 17 หน้า 58

    "เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ"

    หน้า 210

    "เพราะความดับสนิทแห่งกิเลสเหล่านั้น เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ดับสนิทแห่งเครื่องนำไปภพ"

    เล่ม 25 หน้า 56

    "เมื่อใดพราหมณ์ เป็นผู้ที่ถึงฝั่งในธรรมทั้ง 2 ประการ เมื่อนั้น กิเลส เครื่องประกอบทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ผู้รู้แจ้ง ย่อมมีถึงความสาบสูญไป"

    เล่ม 30 หน้า 35

    คำว่า "ดับแล้ว" ความว่าชื่อว่าดับแล้วเพราะเป็นผู้ดับ ราคะ โทสะ โมหะ… ปมาทะ กิเลส ทั้งปวง ความกระวน กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุศลาภิสังขารทั้งปวง ฯ"

    เล่ม 31 หน้า 183

    คำว่า สุญญํ ความว่า เป็นสถานที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยใครๆ เป็นคฤหัสถ์ก็ตามเป็นบรรพชิตก็ตาม

    ตามที่ยกมาอ้างนี้ จะเห็นได้ว่า ที่ดับที่ขาดสูญนั้น คือ ภพและกิเลส ไม่ใช่ผู้ที่เข้านิพพานอันตรธานสูญไป ไม่มีอยู่

    ตามชื่อที่เรียกกันนั้น เรียกนิพพานว่า อมตะ หรือ อมตธาตุ ไม่ตาย เมื่อไม่ตายก็มีอยู่ตลอดเวลา ถ้าสูญไป ก็ควรจะเรียกได้ว่า ตายตลอดเวลา

    ตรงกันข้าม ส่วนที่แสดงว่า นิพพานมีอยู่ กลับมีมากมาย

    เล่ม 12 หน้า 488

    "นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ เป็นอนันตมีรัศมีในที่ทั้งปวง"

    เล่ม 25 หน้า 429

    "นามรูป ของผู้นั้นแล เป็นของเท็จ เพราะ นามรูป มีความสาบสูญไป เป็นธรรมดา นิพพานมีความไม่สาบสูญเป็นธรรมดา พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้น โดยความเป็นจริง"

    ในบางแห่ง กล่าวถึงนิพพานในลักษณะว่า เป็นที่แห่งหนึ่ง

    เล่ม 12 หน้า 349

    "นิพพาน อันเป็น แดนเกษม" "โลกอันมัจจุถึงไม่ได้" โลกในที่นี้ คงเป็นคำรวม เพราะบางทีหมายถึงร่างกายก็ได้ ไม่หมายถึงภพ

    เล่ม 23 หน้า 178

    "ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วนอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ นิพพานธาตุ ก็มิได้ปรากฏว่า จะพร่องหรือเต็ม ด้วยภิกษุนั้น" ความพร่องความเต็มย่อมต้องใช้กับสถานที่เท่านั้น

    เล่ม 25 หน้า 72

    ทรงเปล่งอุทานว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุ นั้นดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี" ข้อนี้ คงจะซ้ำกับข้อต้นที่ว่า มีรัศมีในที่ทั้งปวง ถึงแม้จะไม่มีบ่อเกิดแสง

    เล่ม 25 หน้า 166

    "บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงนิพพานอันเป็นสถานที่ไม่มีตัณหา

    หน้า 175

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายนะ วิญญานัญ จายตนะ เนวสัญญา นาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสองย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวถึง อายตนะนั้นว่า เป็นการมา การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อาตนะนั้น หาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"

    เล่ม 31 หน้า 84

    โลกุตตรภูมิเป็นไฉน มรรคผล นิพพาน ธาตุอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตตระนี้ชื่อ ว่า โลกุตตรภูมิ

    เล่ม 33 "เมื่อดิฉันทั้งหลาย ออกจากภพนี้ไปสู่บุรี คือ นิพพานอันอุดม"


    เล่ม 9 หน้า 373

    ภิกษุ ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ มหาภูตรูป ทั้ง 4 คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโช ธาตุ วาโยธาตุเหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ไหน"

    พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า ปัญหานี้ตั้งไม่ถูก ควรถามว่า "ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในที่ไหน นาม และ รูป ย่อมดับไม่เหลือ ในที่ไหน

    ดังนี้ ในปัญหา นั้น มีพยากรณ์ ดังต่อไปนี้ ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในธรรมชาตินี้ อุปาทายรูป ที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งาม และไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน ธรรมชาตินี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นาม และ รูปย่อมดับไม่ เหลือในธรรมชาตินี้"

    อาจจะเป็นคำว่า ที่ว่า วิญญาณดับนี้เอง ที่ทำให้คิดว่า นิพพานแล้วสูญ แต่คำนี้เข้าใจยากว่าเป็นอะไร และ มักเข้าใจปนอยู่กับคำว่า "จิต"

    เล่ม 17 หน้า 59

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า ความกำหนัด ในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะ ละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญาณ ย่อมไม่มีวิญญาณ อันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่ง ปฏิสนธิหลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อมจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบ เฉพาะตน เท่านั้น"

    เล่ม 25 หน้า 30

    "จิต ของเราถึงแล้วซึ่งนิพพานอันปราศจากสังขาร"

    ความนี้ฟังยาก เพราะ เมื่อที่ตั้งของวิญญาณไม่มี วิญญาณหลุดพ้นไป ก็น่าจะดับ แต่กลับกลาย เป็นดำรงอยู่ แต่ในความที่สอง บอกว่าจิตไปเข้านิพพาน

    คำอธิบายของจิตกับวิญญาณ น่าจะดูจากเล่ม 4 หน้า 181 "ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิด แล้วใน อุทรมารดาวิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรกวิญญาณดวงแรกนั้นน่ะแหละ เป็นความเกิดของสัตว์นั้น"

    ดูการเกิด ของมนุษย์จากเล่ม 12 หน้า 398 "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดบิดามารดาอยู่ร่วมกันด้วยมารดา มีระดูด้วยทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย" อันนี้แสดงว่า ต้องมีสิ่งที่จะมาเกิดมาจากภาย นอกร่างกายมารดา ข้อนี้ยืนยันได้จากประโยชน์ 6 ประการของการเป็นพระอินทร์ในเล่ม 10 หน้า 253 คือ "ข้อ 2 จุติจาก กายทิพย์แล้ว จะเข้าสู่ครรภ์ในตระกูลอันเป็นที่พอใจของตน"

    ปัญหามีว่า อะไรของพระอินทร์ที่มาจุติ ถ้าเราตอบว่า "จิต" ก็จะนำไปใช้ได้ทุกกรณีรับกันหมด คือ เมื่อรวมความแล้ว จิตเป็นตัวมาเกิดในร่างทารก ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

    ดังเล่ม 15 หน้า 189

    เสลาภิกษุณีกล่าวกะมารผู้มีบาปว่า "รูปนี้ไม่มีใครสร้างไม่มีใครก่อรูปเกิดขึ้นเพราะ อาศัยเหตุดับไป เพราะเหตุดับ"

    หรือเล่ม 16 หน้า 70

    "ดูกรภิกษุทั้งหลายกายนี้มิใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น"

    เกี่ยวกับวิญญาณนั้น ในเล่ม 14 หน้า 347 เมื่อทรงกล่าวถึงธาตุ 4 ของร่างกาย คือ ปฐวี อาโป เตโช และ วาโยธาตุ อากาศธาตุแล้ว "ต่อนั้น สิ่งที่เหลืออยู่อีกก็คือ วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ ด้วยวิญญาณนั้น"

    ท่านไม่ตรัสว่า รู้ด้วยสมองแต่ตรัสว่า รู้ด้วยวิญญาณ ทั้งนี้ต้องเข้าใจไว้ด้วยว่า ในที่อื่นท่านกล่าวถึงสมองไว้เหมือนกัน (เล่ม 25 หน้า 2 สมองเป็นอย่างหนึ่ง ของอาการ 32 กับเล่ม 25 หน้า 332 ในโพรงของศรีษะ มีมันสมอง)

    ถ้าเราจะตั้ง ทฤษฎีว่า ร่างกายเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ยังไม่มีชีวิต จะมีชีวิตได้ ก็ต่อเมื่อ มีจิตเข้ามาอยู่ (ด้วยมีสิทธิเลือก หรือตามกรรมบังคับ) พอจิตเข้าเกิดในท้องแม่ วิญญาณดวงแรกก็เกิดแล้ว ดูเหมือนว่า จิตจะถูกกลืนหายไปในวิญญาณ ซึ่งทีแรกก็บริสุทธิ์ดี ต่อมา เมื่อคนตายวิญญาณก็ตาย ทำให้จิตหลุดเป็นอิสระจากวิญญาณ คือ วิญญาณ ไม่มีที่ตั้งแล้ว จิตก็หลุดพ้นไปเข้านิพพานหากเป็นเช่นนี้แล้ว ที่พูดว่า วิญญาณดับไปเหมือนดวงประทีป แต่จิตที่หลุดเป็นอิสระ ไปเข้านิพพานก็รับกันได้พอดี

    อย่างไรก็ดี ที่ว่า นิพพานไม่สูญนั้น ยังอาจตีความได้ จากอีกหลายแห่งว่า นิพพานนั้น สามารถรู้เห็นกันได้ เพราะถ้าสูญก็รู้เห็นกันไม่ได้ (และอย่าลืมว่า สิ่งใดพระพุทธเจ้า ไม่รู้ไม่เห็นด้วยพระองค์เอง แล้วย่อมไม่สอน)

    เล่ม 23 หน้า 383

    ท่านพระอุทายี ถามท่านพระสารีบุตรว่า "ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มี เวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร" ได้รับคำตอบว่า "ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข" แล้วแถมด้วย การอธิบายว่า "ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบ ได้โดยปริยายแม้ นี้....." แล้วท่านก็เล่า ตั้งแต่ ฌาน 1 ไปจนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ว่านั่นแหละเทียบกับสุขในนิพพาน

    เล่ม 22 หน้า 368

    กล่าวว่า ผู้ได้ฌานสามารถถูกต้องอมตธาตุด้วยกายได้

    เล่ม 25 หน้า 256

    "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้องอมตธาตุ อันไม่มีอุปธิด้วยนามกาย"

    จากข้ออ้างนี้อนุมานได้ว่า นิพพานมีอยู่ ไม่ใช่สูญ

    พิจารณายืนยันอีกจากลักษณะของสังเขตธรรม (คือ นิพพาน) 3 ประการในเล่ม 20 หน้า 170 คือ

    1. ไม่ปรากฏความเกิด

    2. ไม่ปรากฏความเสื่อม

    3. เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปรปรวน ทำให้เกิดสงสัยว่า เมื่อไม่เกิด ก็ไม่ควรมีอยู่ แต่นี่แสดงว่า มีอยู่ (ตามข้อ 2 และ 3) คือ ถึงไม่เกิดก็มี อยู่ได้

    เล่ม 13 หน้า 189

    "ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ ทำกาละแล้วดำรงอยู่ในอรหัตผล" ถ้า "ดำรงอยู่" ก็ต้องแปลว่า สูญไม่ได้เป็นแน่ล่ะ
    เล่มดียวกันนี้ วัจฉโคตรปริพาชก ทูลถามพระพุทธเจ้า ในหน้า 209 ว่า "ข้าแต่พระโคดม ก็ภิกษุมีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน

    ดูกรวัจฉะ คำว่า จะเกิดดังนี้ไม่ควรเลย
    ข้าแต่พระโคดม ถ้าเช่นนั้นจะไม่เกิดขึ้นหรือ
    ดูกรวุจฉะ คำว่าไม่เกิดดังนี้ก็ไม่ควร"

    ต่อไปวัจฉโคตร ก็ทูลถาม ไล่ไปถึง เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี เกิดก็ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ อะไรก็ไม่ควรสักอย่าง วัจฉโคตร ชักจะโมโห ต่อว่า ว่า "ข้าแต่พระโคดม ในข้อนี้ ข้าพเจ้า ถึงความไม่รู้ ถึงความหลงแล้ว แม้เพียงความเลื่อมใส ของข้าพเจ้าที่ได้มีแล้ว เพราะพระวาจา ที่ตรัสไว้ในเบื้องแรก ของท่านพระโคดม บัดนี้ได้หายไปเสียแล้ว"

    ซึ่งพระพุทธเจ้าก็คงจะขำ ตอบว่า ควรแล้วที่จะไม่รู้ เพราะเป็นของรู้ได้ยาก

    ในเรื่องการเกิดนี้ มีคำจำกัดความ ไว้ในเล่ม 12 หน้า 117 " ดูกรสารีบุตร กำเนิด 4 ประการ นี้แล 4 ประ การเป็นไฉน คือ อัณฑชะกำเนิด ชลาพุงชะกำเนิด สังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด" แล้วทรง อธิ บายว่า


    อัณฑชะกำเนิด คือ การชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด

    ชลาพุงกำเนิด คือ การชำแรกไส้ (มดลูก) เกิด

    สังเสทชะกำเนิด คือ เกิดในปลาเน่า ของบูด น้ำครำ เถ้าไคล เป็นต้น

    โอปปาติกะกำเนิด ได้แก่เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางพวก และเปรตบางจำพวก

    ถ้าเราจะใช้ทฤษฎีของเราว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ เมื่อตาย จิตก็เป็นอิสระจากวิญญาณ แล้ว ไปดำรงอยู่ใน นิพพานเฉย ๆ ก็จะเห็นได้ว่า จิตนั้น ไม่ใช่การเกิดตามคำจำกัดความ (เราอาจจะคิดว่า เป็นกำลังงาน อันหนึ่งก็คงจะได้กระมัง) แต่จะว่า

    ไม่เกิดก็มีปรากฏไป "ดำรงอยู่ในอรหัตผล" แล้วก็ไม่มีแก่ ไม่มีตาย เป็นอมตะ มีความสุขตลอดกาล เป็น เอกันตบรมสุข อย่างนี้บางทีเราอาจจะพอเข้าใจได้ลาง ๆ และตรงกัน กับคำอธิบายทั้งหลาย

    ส่วนสถานที่ อันเป็นที่อยู่ของพวกพระอรหันต์ ที่ตายแล้วนั้น เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่เรียกว่า ภพ และภพอื่นๆ ที่ว่า ดับไปก็คือ ไม่มีอิทธิพลต่อจิตนี้ เมื่อมีทฤษฎีว่า มีจิตไปเสวย อรหันตผล อยู่ในนิพพาน และ จิตเหล่านั้น เป็นจิตที่มีฤทธิ์ จิตก็สามารถจะบันดาล ให้ใครเห็น หรือได้ยิน อะไรก็ได้ ตามวิสัย และตามแต่ท่าน เหล่านั้นต้องการจะสงเคราะห์

    คราวนี้นักปราชญ์ก็จะค้าน 2 ข้อ

    1. การมีอะไรไปเข้านิพพาน แสดงว่า "อะไร" นั้นเป็นอัตตา ค้านกับที่พระพุทธเจ้า ตรัสว่า อัตตา ไม่มี มีแต่ อนัตตา

    2. การไปมีความสุขในพระนิพพานนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะ ความสุขเป็นกิเลส
    คำตอบ สำหรับข้อ 1 มีดังนี้ คือ คนส่วนมาก ไม่ได้ศึกษาโดยแท้จริงว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างไร ส่วนมาก เรื่อง ความมีตัวตน หรือ ไม่มีตัวตน นี้มักยก สัตตทิฐิ กับ อุจเฉททิฐิ มาอ้างว่า พระพุทธเจ้า สอนว่า ความเห็นทั้งสองอย่างนี้ผิด คือ ยึดว่ามีตัวตนก็ผิด ยึดว่าไม่มีตัวตนก็ผิด ตามสามัญสำนึก มักจะไปเพ่งกัน ที่ตัวตนว่า มี หรือ ไม่มี

    ถ้าหากท่านสอนว่า มีก็ผิด ไม่มีก็ผิด อย่างนี้ก็ฟังชอบกลอยู่ เพราะ มันควรจะต้องถูกเข้าสักข้างหนึ่งความจริง ที่ท่านว่า ผิดนั้น คือ การยึด หรือ ทิฐิเอง ทิฐิมีอยู่ 62 อย่าง ผิดทั้งหมด ถ้าไปยึดอะไรเข้า ก็ผิดทั้งนั้น

    ท่านสอนไม่ให้ยึด แต่ให้ปล่อยวาง แม้แต่พระนิพพาน ท่านก็ให้เพียงแต่รู้ ไม่ให้ยึด

    ตัวอนัตตา แท้ ๆ ที่ท่านสอน คือตัว อนัตตา ในพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนัตตา อันนี้ มีความหมายอย่างไร ? พระที่เรียนบาลีท่านบอกว่า แปลว่า มีความเป็นก้อนมั่นคงหรืออะไร ทำนองนี้ เวลาสอนสาวก พระพุทธเจ้าท่านมักจะไล่ไตรลักษณ์อยู่บ่อย ๆ

    ตัวอย่างจากเล่ม 17 หน้า 53 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า ดูกรโสณะ ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง คฤหบดีบุตรชื่อโสณะ ทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

    ส. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะพิจารณาสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา

    ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า แล้วท่านก็ไล่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไปตามลำดับ เสร็จแล้วท่าน ก็สรุปว่า

    "ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ รูปอย่างใดอย่าง หนึ่งเป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายใน หรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต อยู่ใน ที่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง..."

    ดูกรโสณะอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย

    ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิต ย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้วย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี"


    นี่คือหลักสูตร การเป็นพระอรหันต์ชัด ๆ จะเห็นได้ว่า

    "ไม่เที่ยง" คือ อนิจจัง "
    "เป็นทุกข์" คือ ทุกขัง "
    "ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวของเรา" คือ อนัตตา


    อนัตตาตัวนี้ คือ สำคัญที่เป็นหลักใหญ่ของคำสอนของพระองค์ คนที่รับความหมายว่า อนัตตา คือ ไม่มีตัว ตนจะเกิดความสงสัยเป็นกำลังว่า ร่างกายก็มีอยู่จะว่า ไม่มีตัวตนได้ยังไง เมื่อรับไปผิด ก็ไม่เข้าใจอนัตตา มีความสำคัญอยู่ที่ว่า ร่างกาย นี้ไม่มีแก่นสารมั่นคง มีแก่ มีเจ็บ มีตาย ไม่ใช่ของเรา ท่านสอนไว้ในที่แห่งอื่นว่า ถ้าเป็นของเรา เราก็ควรจะสั่งมันได้ซีว่า อย่าแก่ อย่าเจ็บ อย่าตาย ถ้าสั่งไม่ได้ก็ไม่ใช่ของเรา

    กุญแจสำคัญ ของการเข้าถึง ความเป็นพระอรหันต์ อยู่ที่ตัวอนัตตานี้เอง อย่างที่ท่านสอนท่านโสณะ ที่อ้างมานี้ เมื่อเห็นแล้วว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ("เรา" คือ จิต ที่มาอาศัยเกิด) แล้วก็ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด คือ ตัดร่างกายทิ้งไป ไม่เอาเรื่องกับมัน ตัดขาดว่า ไม่ใช่ของเราที่จะต้องหวง ต้องบำรุงตกแต่ง ฯลฯ เมื่อคลายกำหนัดก็หลุดพ้น เป็นพระอรหันต์ แค่นี้เอง

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ที่หลายๆ คนพากันเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า "ไม่มีตัวตน" นั้นต่างก็มักเข้าใจกันไม่ถูกเรื่อง ไม่ลึกซึ้งพอ อนัตตา คือ เห็นร่างกายหรือตัวตนนี้ไม่ใช่ "เรา" ไม่เป็น "ของเรา"จึงจะ เป็นความเข้าใจที่ถูกตามหลักฐานที่อ้างมาแล้ว

    เรื่องนี้พระพุทธเจ้า ท่านเอาไปสอนในอีกหลายแห่ง เช่นถามว่า คนตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด และอะไรต่อ อะไรตามมาอีกนั้น ท่านไม่พูด ไม่ตอบ ไม่เห็นอย่างนั้น ก็เพราะว่า

    เมื่อรู้เสียแล้วว่า ร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่มีตัวตนที่เป็นของตนเองอยู่ และเมื่อเป็นเช่นนั้นการพูด ถึงความตาย ความเกิดก็ไม่มีประโยชน์อะไร

    พระพุทธเจ้า "พ้นจากการบัญญติว่ารูป" เสียแล้ว ในนทางตรงกันข้าม ถ้าพูดเรื่องตายเรื่องเกิด กลับเป็นการยอมรับบัญญัติว่า มีรูป ฯ ซึ่งผิดหลักการที่ทรงสั่งสอน

    (เลยมีคนเอาไปแปลว่า พระพุทธเจ้าไม่ยืนยันว่า ตายแล้วเกิด) (ดูเล่ม 18 หน้า 415)
    เวลาที่พระบางองค์ท่านสอนว่า เป็นพระอรหันต์ง่ายจะตายไป ไม่เห็นมีอะไรเลยมัวหลงไปทำอย่างอื่นเสียตั้งนาน เสียท่าจริง ๆ นั้น พระเช่นนี้มักจะถูกค่อนขอดว่า อวดเก่งอวดอุตริมนุสธรรม รู้ได้ยังไงว่า เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ คนที่พูดเช่นนั้นแหละ ควรจะถามตัวเองว่า รู้หรือว่าอย่างไร หรือทำอย่างไร จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ความจริงตัวเองไม่รู้ แล้วก็จะเกณฑ์ให้คนอื่นไม่รู้ไปด้วย ท่านพูดไว้ในพระไตรปิฎก เห็นทนโท่ก็ไม่อ่าน


    ที่มา http://www.firstbuddha.com/Real/oiy7.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มิถุนายน 2017
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ตั้งแต่ปี 2007 ปีนี้ 2017 ก็เป็นระยะเวลา 10 ปีพอดี
    ไม่รู้ว่าสิ่งที่ยังไม่แน่ใจบางอย่างนั้น ได้คำตอบหรือยังนะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2017
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    ท่านบวชวันนี้ค่ะ
    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญงานอุปสมบทพร้อมรับวัตถุมงคลที่ระลึก.613139/
     
  4. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    นิพพานไม่มีภพค่ะ

    "จิตหนึ่ง" คือ นิพพานนี้ เป็นเหมือนความว่าง ไม่มีทั้งรูปและไม่มีทั้งปรากฎการณ์ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่และไม่มีการตั้งอยู่ สิ่งนี้จึงเหมือนความว่างอันปราศจากขอบเขตทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ "จิตหนึ่ง" คือ พุทธนี้ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง

    "นิพพานเป็นแดนอันเกษม" "อันโลกมัจจุเข้าไม่ได้" โลก อันหมายถึงปัจจัยปรุงแต่ง(สังขตะธรรม) อันโลกมัจจุเข้าไม่ได้ ก็คือ อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว (อสังขตธรรม) คือ ไม่ปรากฎความเกิด ไม่ปรากฎความเสื่อม ไม่ปรากฎความแปรปรวน ที่หมายถึงมัจจุที่ต้องทำให้เกิดแก่เจ็บและตาย

    สังขตะธรรม คือ ต้องเคลื่อนไปหาปัจจัยปรุงแต่งคือ ความเกิดแก่เจ็บตาย ที่เรียกว่ามัจจุราช

    อสังขตธรรม คือ หยุดการเคลื่อน หยุดการปรุงแต่งแล้ว

    นิพพานมี 2 ชนิด
    ๑.นิพพานที่ยังดำรงธาตุขันธ์
    ๒.นิพพานที่ธาตุขันธ์ดับลง

    นิพพานตามปฎิจจสมุปบาทขั้นตอนสุดท้าย ก็คือ วิญญาณดับ

    ถ้านิพพานชนิดที่๑ ก็คือ วิญญาณดับเฉพาะรอบ หยุดการเคลื่อนไปรับการปรุงแต่งผัสสะ ก็เรียกง่ายๆว่า วิญญาณหยุดหมุน (หมดกรรมปรุงแต่งภายในวิญญาณ) เหลือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลรู้อะไรด้วยวิญญาณ

    ถ้านิพพานชนิดที่๒ คือ อมตธาตุ จิตอิสระจากวิญญาณ ที่ทรงตรัสว่า ไม่มีอุปธินามกาย(คือวิญญาณ). เหลือเพียงจิตหนึ่ง คือ ความว่าง วิญญาณเหมือนดวงประทีป ที่ดับไป จิต(ความว่าง). หลุดพ้นเป็นอิสระถึงนิพพาน


    พูดภาษาชาวบ้านก็คือ วิญญาณห่อหุ้มจิต(ความว่าง) เอาไว้ภายใน คือ ตรงศูนย์กลางที่เรียกว่า"จิตวิญญาณ" ก็คือ ความว่าง นั่นเอง เมื่อจิตดับเฉพาะรอบหยุดเคลื่อน ธาตุขันธ์ดับลง วิญญาณก็สลายไป คงเหลือ "จิตหนึ่ง" คือ "ความว่าง" นั่นเอง

    ตราบใดที่วิญญาณยังหมุนอยู่ยังไม่ดับ. ก็คือ การที่วิญญาณหมุนหล่อเลี้ยงกรรมที่จิตสร้างไว้ คำว่า
    "แยกปรมาณูละเอียดออกจากจิต" ก็คือ วิญญาณเป็นตัวนอกสุด ที่ห่อหุ้มกรรมจากการกระทำต่างๆไว้ หล่อเลี้ยงให้เกิดการเคลื่อนไหวก่อกรรม เกิดภพชาติ โดยมีจิตหนึ่ง(ความว่าง) อยู่ตรงจุดศูนย์กลาง เป็นตัวรับปฏิริยา และจ่ายปฏิกริยาที่เป็นตัวกระทำ ไว้ข้างๆรอบจิต โดยมีวิญญาณห่อหุ้มไว้นอกสุด จึงเรียกว่า "จิตวิญญาณ"

    ลองเข้าไปอ่าน "จิตหนึ่งคือพุทธะ" ของหลวงปู่ดุลย์ดูค่ะ ท่านจะกล่าวการเป็นมาเป็นไปของจิตวิญญาณคืออะไร แล้วจะพอมองภาพออกค่ะ

    https://selectcon.com/dharma_dule.asp

    พอเราเข้าใจแล้ว เราก็จะรู้ว่า ไม่มีตัวตนอะไรไปเข้านิพพาน คือ พอวิญญาณดับ จิตก็เป็นอิสระ ก็คือ จิตหลุดพ้น เข้าถึงนิพพาน ก็คือ ความว่าง (อนัตตา หรือ สุญญตา) นั่นเอง

    แล้วที่ว่า "บรมสุขอย่างยิ่ง" ความเข้าใจ ก็คือ เป็นธรรมชาติเดิมแท้ ที่สงบ สันติ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ว่าง ผ่องใสอย่างยิ่ง ประมาณนี้ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...