พระธาตุนาดูน พิมพ์นาคปรกใหญ่ เนื้อแกร่งเป็นหินไปแล้วครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย พระธาต, 27 มกราคม 2012.

  1. Kornsitpu

    Kornsitpu Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +92
    ผมว่า พระกรุนาดูน ต่อไปการเล่นหา ก็คงจะเหมือนสมเด็จวัดระฆัง
    ที่จำกัด สร้างกำหนดกฏเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อสร้างมูลค่า เล่นกัน วงแคบๆ
    เล่นหาเฉพาะพิมพ์นิยม เนื้อนิยม ถ้านอกจากนี้ ผิดจากนี้ ไม่เล่น
    หน้กหน่อย ตีพระเก๊อีก
    สมเด็จวัดระฆัง ก่อนหน้าที่จะมีพิมพ์นิยม สมเด็จท่านสร้างพระมาไม่รู้กี่ปี
    ไม่รู้กี่พิมพ์ เจือกมากำหนดเล่นเฉพาะพิมพ์ ที่สวย ก่อนนั้นไม่ใช่พระ
    ที่สมเด็จท่านสร้างหรือไง ยุคต้นเป็นยังไง ยุคกลางเป็นยังไง ยุคปลายเป็นยังไง
    อย่าถือกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อสร้างมูลค่า ตามเซียนใหญ่ทั้งหลาย
    เพราะบางครั้งเราอาจจะพลาดสิ่งที่สำคัญที่สุดไปก็ได้
    พระกรุนาดูนก็เหมือนกัน ก่อนหน้าที่กรุจะแตก เป็นข่าวในปี 22 ก่อนหน้านั้น ไม่มีการขุดหรือ?
    เขาขุดกันก่อนหน้ามาไม่รู้กี่ปี จนโบราณสถานเจดีย์ต่างๆ
    ย่อยยับแหลกราน ได้พระไปเท่าไหร่ ไม่มีใครรู้
    เนื่องจากขึ้นจากกรุต่างสถานที่กัน สภาพธรรมชาติต่างกัน
    อีกทั้งการสร้างบรรจุกรุนั้น ใครสร้างบ้าง ช่างราชสำนักอย่างเดียวหรือ
    หรือว่ามีชาวบ้านด้วย หรือมีโยคี ฤาษี ชีไพร ด้วย
    ถ้าจุดประสงค์เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
    จะจำกัดเฉพาะช่างที่มีฝีมืออย่างนั้นหรือ.. แม้สมเด็จวัดระฆังเอง ก่อนที่ช่างหลวงจะมาแกะพิมพ์ถวาย ก่อนหน้านั้น มีแต่ช่างชาวบ้านเกือบทั้งนั้น ที่เเกะพิมพ์ถวายสมเด็จท่านฯ
    ท่านก็สร้างพระของท่านมาเรื่อย ตามประวัติก็ไม่เห็นท่านตำหนิติพิมพ์เลยว่า สวยไม่สวย แต่เนื่องจากฝีมือไม่เหมือนช่างหลวง ความสวยงามจึงเทียบไม่ได้ แต่เจตนา และมวลสารนั้น ถ้าว่ากันแล้ว สมเด็จยุคต้น น่าใช้ที่สุด...เพราะมวลสารล้วนๆ ซึ่งต่างจากสมเด็จยุคหลังที่มีปูนเปลือกหอยเป็นเนื้อหลัก
    พระกรุนาดูนก็เหมือนกัน ถ้าเกิดว่าชาวบ้านมีเจตนาอยากสร้าง
    พระบรรจุกรุเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา จะทำไม่ได้หรือ
    ถ้าว่าเรื่องกำลังความสามารถ อาจจะไม่เท่าคนที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ ที่มีกำลังทุนทรัพย์ มากกว่า จะสร้างทั้งทีก็ต้องช่างที่มีฝีมือ วัสดุมวลสารก็ต้องพิเศษ แต่สำหรับชาวบ้าน นิคมคาม ถ้าสร้างพิมพ์อาจจะไม่สวย เนื้อพระ ก็คงเป็นดิน ที่คิดว่า ดีที่สุด เท่าที่จะหามาสร้างพระได้ กรรมวิธีในการสร้าง การเผา ก็คงเป็นไปตามความสามารถ
    พระกรุนาดูน ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ ที่เราท่านทั้งหลาย ใช้ดูพิมพ์ ดูเนื้อเปรียบเทียบนั้น
    มีครบทุกพิมพ์แล้วหรือยัง ?
    ทุกเนื้อหรือยัง ?
    ไปหาข้อมูลเวปไหน ก็เจอแต่ผู้รู้บอกว่าให้ดูพระที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์เปรียบเทียบ
    พิมพ์นอกเหนือจากนี้ มีหรือไม่ ?
    เนื้อพระที่นอกเหนือจากเนื้อที่ว่ามา มีอีกหรือไม่ ?
    ถ้ายังหาคำตอบ ที่ว่ามายังไม่ได้ ทำไมถึงอาจหาญบอกว่าพระพิมพ์นอกเหนือจากนี้
    หรือเนื้อที่นอกเหนือจากนี้ ไม่ดี
    ถ้าเกิดมีพระที่ขึ้นก่อนมี 22 ซึ่งอยู่คนละที่ เป็นพระเนื้อที่มีพิมพ์ และเนื้อ
    ไม่เหมือนกับพระที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ จะว่ายังไง หรือเกิดมีขึ้นกรุหลังปี 22 เหมือนกัน
    ถ้าเกิดพระจำนวนนั้นเป็นของแท้ แต่ไม่เหมือนพระปี 22 จะว่ายังไง
    ตามที่ผมดูอยู่ตอนนี้ เซียนกำลังเจาะจงเล่นเฉพาะปี 22 ถ้าพระที่มีเนื้อหรือพิมพ์ผิดจากนี้ ไม่เล่น
    อาจจะให้เหตุผลว่ากรุใหม่บ้าง ไม่นิยม ก็ว่ากันไปที่จะสร้างกฏเกณฑ์ตีกรอบให้น้อยลงเพื่อให้คนทั้งลายคิดว่า พระมีน้อย เพื่อสร้างมูลค่า แต่มันจะไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงถ้าเกิดมีพระแท้ที่มีพิมพ์และเนื้อ
    นอกเหนือจากที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ หรือ ที่ขึ้นก่อนปี 22 หรือหลังปี 22
    ที่ผมเขียนมา ไม่ต้องการให้ใครมาเชื่อผม แต่เพื่อให้คิดสักนิด
    เพราะบางครั้งเราอาจจะต้องเสียเงินเสียทองมากมายเช่าพระราคาหลายหมื่น
    ซึ่งความจริง พระแท้ที่นอกเหนือจากนี้ อาจจะมีอยู่.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2012
  2. Khunchaiju

    Khunchaiju สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1

    เห็นด้วยครับ
     
  3. kunnunka

    kunnunka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +306
    แล้วแบบนี้ใช่ พระธาตุนาดูน ด้วยหรือเปล่าคะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1200845.JPG
      P1200845.JPG
      ขนาดไฟล์:
      642.9 KB
      เปิดดู:
      105
    • P1200847.JPG
      P1200847.JPG
      ขนาดไฟล์:
      423.3 KB
      เปิดดู:
      66
    • P1210023.JPG
      P1210023.JPG
      ขนาดไฟล์:
      263.7 KB
      เปิดดู:
      89
    • P1210024.JPG
      P1210024.JPG
      ขนาดไฟล์:
      256.9 KB
      เปิดดู:
      100

แชร์หน้านี้

Loading...