รู้สภาวะแล้ว จิตยินดียินร้ายให้รู้ทันอีก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 26 กรกฎาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    รู้สภาวะแล้ว จิตยินดียินร้ายให้รู้ทันอีก​

    หลวงพ่อปราโมทย์ : คอยดูใจของเรานะเวลามันรู้สภาวะขึ้นมา เช่นมันเห็นความสุขเกิดขึ้นมา มันหลงยินดีให้รู้ทัน มันเกิดความทุกข์ขึ้นมา มันหลงยินร้ายให้รู้ทัน หรือภาวนาเจริญสตินะ สติเกิดถี่ยิบเลย พอใจรู้ทัน ช่วงนี้สติไม่เกิดเลยสติแตก เสื่อมไปกรรมฐานเสื่อม เสียใจกลุ้มใจทุรนทุราย รู้ทันลงไปว่าไม่พอใจอยู่ เนี่ย ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นนะรู้ลงไปที่ใจของเรา

    เบื้องต้นแค่เห็นสภาวะก่อน เช่นร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึก โลภโกรธหลงเกิดขึ้นก็รู้อะไรรู้ ถ้ารู้แล้วนะต่อไปก็ลึกซึ้งขึ้นมาอีก สังเกตเข้ามาถึงจิตถึงใจ มันจะเข้ามาสังเกตได้เองแหล่ะ อย่าจงใจสังเกตนะ มันจะเห็นความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้น

    งั้นเบื้องต้นรู้สภาวะนะ ถัดมาก็รู้ความยินดียินร้ายต่อสภาวะนั้น เมื่อเรารู้ความยินดียินร้ายต่อสภาวะนั้น ความยินดียินร้ายจะดับไป ใจก็เป็นกลางขึ้นชั่วขณะ ก็ไปรู้สภาวะอีก ก็หลงยินดียินร้ายอีก รู้ทันความยินดียินร้ายอีกนะ ความยินดียินร้ายดับอีกชั่วขณะ เดี๋ยวกระทบอารมณ์ก็เกิดอีก เกิดไปจนวันนึงปัญญามันแจ้งขึ้นมาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี้เป็นไตรลักษณ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา คราวนี้มันจะไม่ยินดียินร้ายของมันเองแล้ว

    เบื้องต้นไม่ยินดียินร้ายเข้าไปรู้ทันความยินดียินร้ายเข้าเราจะได้ไม่ปรุงนาน พอฝึกมากเข้ามากเข้าเนี่ย มันเข้าใจความเป็นจริงของสังขารคือความปรุงแต่งทั้งปวง ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม ทั้งกายทั้งใจ เข้าใจแล้วว่ามันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา มันจะหมดความยินดียินร้ายไปเอง นี่เป็นการที่มันเข้าถึงความยินดียินร้ายด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยสติ

    เบื้องต้นรู้ด้วยสตินะ เห็นจิตมันยินดีก็รู้ อย่างไปเห็นสาวสวยใจมันชอบนะ เราเห็นลงไปรู้ทันความชอบนี้ ใจไม่ชอบอีกแล้วอยากให้หายราคะ อยากให้หาย รู้ทันลงไปที่ความอยากให้ราคะดับอีกมันยินร้ายอีกแล้ว ถ้ารู้อย่างนี้นะอย่างนี้เรียกว่ารู้ด้วยสติ รู้ไปเรื่อยๆ ทันทีที่รู้ด้วยสตินะ ความยินดียินร้ายก็ดับ แต่ดับชั่วคราว ต่อไปพอซ้ำแล้วซ้ำอีก เห็นสภาวะเกิดดับไปเรื่อยๆ เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปเรื่อย ต่อไปก็รู้ด้วยปัญญา เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว ไม่รู้จะยินดีไปทำไม ไม่รู้จะยินร้ายไปทำไม อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา

    อ้างอิงจาก เว็บDhammada.net หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม : ธรรมะ คือ ธรรมดา, อริยสัจจ์คือคำสอนของพระพุทธศาสนา, สติปัฏฐาน ๔ คือทางเดียวที่จะไปถึงวิมุติ (วิมุตติ) ความหลุดพ้น ถึงนิพพาน เจ้าคะ

    โมทนาสาธุคะ
     
  2. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    สาธุๆๆ...ฟังให้มาก ย่อมได้ ปัญญา..
    ฟังแล้วพึง ลองดู ฟังแล้วพึงปฏิบัติ..

    สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  3. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ทรงสอน เฉพาะ แต่เรื่อง ทุกข์ กับ ความดับสนิท ของทุกข์
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ทั้งที่เรามี ถ้อยคำอย่างนี้ มี การกล่าว
    อย่างนี้ สมณะ และ พราหมณ์บางพวก ยังกล่าว ตู่เราด้วย
    คำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริง ให้ เป็นจริงว่า
    “พระสมณโคดม เป็นคนจูงคน ให้เดินผิด ทางไปสู่
    ความฉิบหาย ย่อม บัญญัติลัทธิ ความสูญเปล่า ความวินาศ
    ความไม่มีของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน” ดังนี้.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมณะ และ พราหมณ์ บางพวกเหล่านั้น
    กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มี จริงให้เป็นจริง
    โดยประการ ที่เราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าว อย่างนั้นก็
    หามิได้.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ ก็ตาม
    เราบัญญัติสอนแต่ เรื่อง ความทุกข์ และ ความดับสนิท
    ไม่มีเหลือของ ความทุกข์ เท่านั้น.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในการกล่าว แต่เรื่อง ความทุกข์ และ
    ความดับสนิท ไม่มีเหลือของ ความทุกข์ เช่นนี้ แม้จะมีใคร
    มาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี, ตถาคตก็ไม่
    มี ความขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนั้น
    แต่ ประการใด.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใคร
    มาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตก็ไม่มี
    ความ รู้สึก เพลิดเพลิน ชื่นชม หรือ เคลิ้มใจไปตาม.
    ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา,
    ตถาคต ย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า ก่อน หน้านี้เรามี
    ความ รู้สึกตัวทั่วถึง อย่างไร บัดนี้เรา ก็ต้อง ทำ ความรู้สึกตัว
    ทั่วถึง อย่างนั้น ดังนี้.
    มู. ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.

    ....................................................................................................
    ไปเจอมาในเฟสบุค แวะเอามาฝากครับ....
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คำสอนนี้เป็นคำพูดของคนเต็มไปด้วยนิวรณ์
    หยิบจับไม่เป็นอย่างๆ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ปัญญาแบบนี้เรียกว่า อุทธัจจะ พูดง่ายๆว่าไม่มีสมาธิเป็นฐาน
     
  5. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    การฝึกจิต หรือการเจริญสติ ให้รู้ทันสิ่งปรุงแต่งนั้น ผมมีทริคเล็กๆ น้อยๆ มาฝากครับ

    เช่น การมองเห็นผู้คน

    เห็นผู้หญิงสาวสวยถูกใจมาก = กิเลสเต็มที่

    เห็นว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย = กิเลสเล็กน้อย

    เห็นว่าเป็นแค่คน (ไม่ได้แบ่งเพศ) = ปกติ

    เห็นว่าเป็นกองทุกข์ = มีปัญญา

    เห็นว่าเป็นเพียงสิ่งสมมติ = มีปัญญามาก

    แม้จะมองเห็น ก็รู้แค่เพียงว่าเห็น โดยไม่ได้ปรุงแต่งว่า
    สวยหรือไม่สวย ผู้หญิงหรือผู้ชาย คนหรือสัตว์ ทุกข์หรือไม่ทุกข์ สมมติหรือไม่สมมติ
    เพียงแค่รู้ว่าเห็น โดยไม่ทำให้จิตกระเพื่อม เป็นการฝึกจิต การเจริญสติ ที่สมบูรณ์แล้ว
     
  6. รักคนอ่าน

    รักคนอ่าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +94
    สติปัฎฐาน4 กำหนดสติระรึกรู้ใน กาย เวทนา จิต ธรรม
    ถึงจะพยามทำแบบไม่กำหนดเพราะกลัวว่าจะเป็นการทำสมาถะ แต่ความจริงเป็นการกำหนดหรือไม่ก็แล้วแต่จะพิจารณากันไป

    ทำสมาธิด้วยการภาวนาพุธโธ คือการมีสติอยู่กับคำบริกรรม พุธโธ ๆ = จิืต ในปัฎฐาน4
    ทำสมาธิด้วยการดูลมหายใจเข้าอก คือการมีสติอยู่กับลมหายใจ = กาย ในปัฎฐาน4
     
  7. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายแบบนี้ครับ
    อันตรายมาก ทั้งในส่วนของการอธิบายที่จะทำให้เห็นผิดไป
    อาจจะไปตกที่ความว่าง แล้วถูกแช่อยู่ครับ
    และที่สำคัญที่สุดการบอกว่าสมบูรณ์แล้วนั้น อันตรายที่สุดครับ
    ควรสดับจากองค์ตถาคตนะครับ
     
  8. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ขอเพิ่มเติมนะคะ
    จิตตวิสุทธิ
    24
    ก.พ.
    2011
    ให้ความเห็น
    by walailoo in การกำหนด, การเห็นตามความเป็นจริง, ขณิกสมาธิ, จิตตวิสุุทธิ, ญาณ ๑๖, บันทึก

    จิตตวิสุทธิ

    การชำระจิตให้ปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมอง คือ นิวรณ์ ให้สงบลงได้นั้น เรียกว่า จิตตวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก

    ในจิตวิสุทธินั้น บางท่านอาจจะบอกว่า ผู้บำเพ็ญจะต้องเข้าถึงฌานก่อน จึงจะบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาได้ ไม่งั้นจะไม่ได้ผล

    คำกล่าวนี้ กล่าวตามสภาวะที่รู้ของแต่ละคน จริงๆแล้ว ใครจะปฏิบัติแบบไหนๆ แล้วแต่เหตุที่ทำมาของแต่ละคน สภาวะของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป จึงไม่จำเป็นต้องได้ฌานก่อนแต่อย่างใด

    การเจริญสติ เมื่อมีตัวสัมปชัญญะเกิด ย่อมเป็นเหตุให้รู้ชัดอยู่ในกายได้ นั่นคือ สมาธิเกิด ส่วนกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น จะมีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับเหตุของแต่ละคนที่กระทำมา

    สมาธิมี ๓ ประเภท

    ๑. ขณิกสมาธิ

    ๒. อุปจารสมาธิ

    ๓. อัปปนาสมาธิ

    ท่านวิสุทธิมัคคอรรถกถาจารย์กล่าวว่า

    สมาธิ จ วิปสฺสเนน จ ภาวยมาโน

    สมาธิก็ดี วิปัสสนาก็ดี ควรเจริญ ( ทำให้มาก ) ยิ่งๆขึ้นดังนี้

    อันนี้เรื่องจริง ไม่ว่าจะสมาธิก็ดี การเจริญสติก็ดี ควรเจริญหรือทำให้มากๆ แต่จะทำได้มากน้อยแค่ไหนนั้น แล้วแต่สภาวะจะเอื้ออำนวยให้ เพราะเหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกัน สัปปายะของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป

    เวลาจึงไม่ใช่ตัววัดผลแต่อย่างใด เหตุต่างหากที่เป็นตัววัดผล ทำแล้วดับที่เหตุได้ นั่นคือ มาถูกทาง

    สมถสมาธิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เพ่งอยู่แต่อารณ์บัญญัติอย่างเดียว โดยไม่ให้ย้ายอารณ์ ถ้าย้ายไปก็เสียสมาธิ

    การเจริญสติ เมื่อมีตัวสัมปชัญญะเกิด สมาธิย่อมเกิดขึ้นตาม ไม่ว่าจะย้ายอารมณ์ที่รู้อยู่ในกาย จะรู้อยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิของแต่ละคน แล้วแต่เหตุที่ทำมา

    บางคนอาจจะรู้ได้น้อย เพราะจิตตั้งมั่นได้แค่ระยะสั้นๆ แต่เมื่อมีความเพียร ทำอย่างต่อเนื่อง กำลังของสมาธิหรือจิตที่ตั้งมั่น ย่อมมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึง สามารถรู้ชัดอยู่ในกายได้มากขึ้นเรื่อยๆ

    ฉะนั้น ญาณ ๑๖ ที่นำมากล่าวๆกันนั้น ล้วนเป็นเรื่องของจิตวิสุทธิเป็นพื้นฐาน เป็นเรื่องของ สติ สัมปชัญญะและสมาธิที่ทำงานร่วมกัน จึงจะเห็นสภาวะตามความเป็นจริงเหล่านั้นได้

    หากแม้นเห็นโดยจากการฟัง การอ่าน หรือคิดพิจรณาเอาเอง ล้วนมีกิเลสเจือปนอยู่ทั้งสิ้น เมื่อเห็นโดยกิเลส ย่อมมีการให้ค่า ให้ความหมายตามบัญญัตินั้นๆ
    ส่วนจะก่อให้เกิดเหตุขึ้นใหม่มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า สติจะรู้ทันการปรุงแต่งของจิตได้มากน้อยแค่ไหน

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าเห็น อย่างน้อย เห็น ย่อมดีกว่าไม่เห็น เพราะเหตุของแต่ละคนแตกต่างกันไป จึงไม่มีวิธีการไหนๆถูกหรือผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น

    นะคะท่าน
     
  9. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    คือ พยายามเทียบเคียง อาการของ คำว่า จิตยินดีคะ ไม่ว่าอะไรกระทบที่แรงๆ จิตมันก็ยังยินดี ช่วงที่กระทบก็ ใช้สติปะทะกับมันอย่างจัง และมีความร้อนของอารมณ์ แต่พอ สักพัก มัน ตัดฉับเลยว่า มันไม่เสียใจ ไม่เอาเรื่อง มันปล่อยและวางไปเลย และ จิต มัน ยังยินดี ในสิ่งที่เกิดนั้น ก็ พยายามหาอารมณ์ ที่เทียบเคียงนั้นคะ จนได้ ข้อมูลมาแจ้ง ดังที่ว่านั้น ละคะท่าน
     
  10. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    และอันนี้คะ เพิ่มเติม เพิ่มเติม น่าจะเป็น บทสรุปได้คะ

    จิตตวิสุทธิ์​




    คำว่า จิตตวิสุทธิ์ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งจิต หมายถึง จิตที่เป็นสมาธิ จิตที่จะสงบ จิตที่จะเป็นสมาธิได้นั้นต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยคุณธรรมคือสติ ความระลึกรู้ และประกอบด้วยศีลเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ดังที่ได้กล่าวไว้ ตั้งแต่คราวก่อน เมื่ออบรมศีลดีแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดสมาธิหรือบางทีท่านก็กล่าวถึงว่า จิตที่สงบนั้นต้องอาศัยกายที่สงบเรียกว่า กายวิเวก ความสงบความสงัดทางกาย หมายความว่า เราอยู่ในสถานที่สงบสงัดไม่มีเสียงอื้ออึง และทางกายของเราก็ไม่ทำผิดในทางกาย เมื่อมีกายวิเวกความสงบสงัดทางกายแล้วจะเป็นเหตุให้เกิด

    จิตวิเวก ความสงบความสงัดทางจิตเมื่อเราได้ฝึกจิตให้สงบแล้วจะเป็นเหตุให้เกิด อุปธีวิเวก ความสงบจากกิเลส ความสงบเป็นเหตุให้เกิดความสุข “ นัตถิสันติปรังสุขัง ” สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี สงบน้อย สงบพอประมาณ สงบมากก็มีความสุขมาก

    สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเรียกว่าจิตมีสมาธิจิตที่ประกอบด้วย คุณธรรม ซึ่งเป็นสมาธิจะทำให้จิตของเรามีสมาธิ ถ้าหากว่าจะกล่าวในเรื่องของขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตั้งจิตนั้นคือ ตัววิญญาณขันธ์ เป็นธรรมชาติรู้อารมณ์นึกคิด ส่วนตัวสมาธินั้นเป็นสังขาร สมาธิเป็นสังขาร ขันธ์ ฝ่ายกุศลเรียก “เอกัคตาเจตสิก” แปลว่า เจตสิกที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายความถึงว่า เมื่อเจตสิกที่เรียกว่า เอกัตาสิกนี้เกิดประกอบกับจิตแล้ว จะทำให้จิตของเรานั้นมีสมาธิคือตั้งมั่นแต่ว่าการตั้งมั่นนี้มีถึง 3 ระยะ คือ ขณิกสมาธิ ตั้งมั่น ชั่วขณะ อุปจารสมาธิ ตั้งมั่นใกล้จะแนบแน่น อัปนาสมาธิ ตั้งมั่นแนบแน่นถึงความเป็นฌาณ

    ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังธรรมนั้น ก็คือว่าจิตของท่านมีสมาธิ ถ้าหากว่าท่านมีสติกำหนดเนื้อความที่ได้ฟังนี้ทุกขณะจิตไม่คิดล่องลอยไปทางอื่นถือว่าจิตของท่านมีสมาธิ แต่ถ้าหากว่าจิตของท่าน คิดฟุ้งซ่าน ล่องลอยไปทางอื่นแล้วแสดงว่าจิตของท่านนั้นไม่มีสมาธิ ไม่ได้อยู่ที่ท่านกำลังฟังอยู่ในขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอน คู้เหยียด เคลื่อนไหว ก็ถือว่าจิตของท่านสมาธิเวทนาเกิดขึ้นเป็นความสุขหรือความทุกข์ ให้มีสติรู้ก็ถือว่ามีสมาธิ จิตคิดอะไรก็มีสติรู้ก็ถือว่าสมาธิ

    การที่จิตของเราไปตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งหรือที่เรียกว่า ชั่วขณะจิตหนึ่งอย่างนี้เรียกว่า จิตของท่านมีสมาธิแล้ว แต่ถ้าหากว่าไปรู้ด้วย ความโลภ โกรธ หลง ด้วยความคิดฟุ้งซ่าน อันเกิดจากกิเลสนั้นถือว่าไม่มีสมาธิ เพราะว่า สมาธินี้เป็นอกุศลธรรมเมื่อเรารู้แล้ว เกิดสติปัญญาจิต เป็นกุศล จึงเชื่อว่าจิตนั้นมีสมาธิ

    ขณิกสมาธิ ตั้งมั่นชั่วขณะหนึ่งก็หมายความว่า เราเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตตั้งมั่นชั่วขณะหนึ่ง เช่น กำหนดรูปนั่งดูอาการของรูปนั่นอยู่ก็มีขณิกสมาธิ หรือกำหนดรูปยืน รูปเดิน หรือกำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดอารมณ์กรรมฐานนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจิตของเราตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐานนั้น ขณะชั่วครู่หรือเป็นพัก ๆ อย่างนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งมั่นชั่วขณะหนึ่งเมื่อปฏิบัติจนสมาธิแน่นิ่ง แต่ว่ายังไม่แนบแน่นจนเกิดเป็นนิมิตเป็นสีแจ้งต่าง ๆ หรือจิตนั้นมันอยู่ทีอารมณ์กรรมฐานนิ่งอยู่มาก ๆ ก็เรียกว่าอุปจารสมาธิ แปลว่า สมาธิใกล้จะถึงความเป็นญาณ บางทีเรียกว่า สมาธิอย่างเฉียด ๆ ก็ถือว่าใกล้จะถึงความเป็นญาณ ใกล้จะแนบแน่น เมื่อปฏิบัติสมถะกรรมฐาน กำหนดอารมณ์กรรมฐาน เช่น กสิน 10 อสุภะ 10 อย่างใดอย่างหนึ่ง จิตสงบมากนิ่งดีงามนาน ๆ เห็นสีแสงนิมิตต่างๆ แล้วก็กำหนดแนบแน่นอยู่ทีอารมณ์กรรมฐานนั้นจนไม่สนใจอารมณ์อื่นแนบแน่นอยู่เป็นเวลานาน ๆ จนองค์ฌานเกิดเรียกว่า อัปปนาสมาธิ แปลว่าสมาธิแนบแน่นหรือถึงความเป็นฌาน

    คำว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายความว่าอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยแนบแน่นไม่สนใจอารมณ์อื่นนี้เรียกว่า ฌาน

    ฌาน มี 2 ประเภท คืออารัมมณูปนิชฌาน ฌานที่กำหนดอารมณ์ แห่งสมาธิกรรมฐานแล้วเกิดองค์ฌานขึ้นอย่างนี้เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน ถ้าหากว่าเราเจริญวิปัสสนาจนได้วิปัสสนาฌานขั้นสูงกำหนดแนบแน่นอยู่ในอารมณ์วิปัสสนาอย่างนี้ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน แปลว่า ฌานที่เพ่งในอารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ผู้ที่บรรลุมรรคผลนั้นจะต้องเข้าถึงลักขณูปนิชญาน คือ ฌานที่เอาไตรลักษณ์เป็นอารมณ์เพ่งอยู่ที่รูปนามจนเป็นไตรลักษณ์อย่างแนบแน่นสนิท ไม่คิดถึงเรื่องอื่นอย่างนี้เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

    “สำหรับจิตตวิสุทธินี้ ก็คือ จิตที่มีสมาธินั้นเอง”



    แหล่งที่มา :

    บุญเลิศ วงศ์คำหาญ. 2543. จิตตวิสุทธิ์ . วารสารชาวพุทธ. สุภาการพิมพ์ ถนนจรัลสนิทวงศ์

    กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ. หน้า 9-10.



    เผยแพร่เป็นธรรมทาน

    เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

    ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

    ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น
    เขียนโดย เสาวภางานพิมพ์

    โมทนาสาธุคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2012
  11. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เฮ้อๆๆ ร้อน! จะ ทะเลาะกัน ทามมาย ไม่เข้าใจ วันนี้ วันพระนะ
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อย่าไปอ่านเลยธรรมของพระปราโมชเนี่ย ผิดหมดตั้งแต่ต้นจนปลาย
    อะไรที่ทำให้เสียเวลาก็อย่าไปเสี่ยง มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องไปแก้ต่างให้ท่าน
    ไปหาธรรมจากพ่อแม่ครูอาจารย์ซะ อะไรหมิ่นเหม่ปัดทิ้งไป หยิบจับเอามาอ่านเสียเวลาเปล่า
     
  13. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ขออภัยจริงๆคะ ต้องขออภัยจริงๆ ขอบคุณที่ตักเตือนคะ
     
  14. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ได้โปรด ๆ ๆ ไม่เป็นไร หรอก ได้โปรดเถิด ขอบคุณที่ตักเตือนอีกคนคะ
     
  15. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    สมัยก่อน ผม ศรัทธา หลวงตาบัว ไม่ใช่น้อยๆ...
    ผม มัก เข้าเวบ หลวงตา ดอทคอมเสมอๆ ตอนนั้นผม ไม่รู้จัก สมถะ ว่าคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร...ผม แยกไม่ออกเลยว่า สมาธิแบบไหน คืออะไร..แต่ ผม ก็ ศรัทธาหลวงตาบัว..มาตลอด ผม ฟังเทศนาจากหลวงตา ผม ไม่เคยรู้เรื่องเลย.
    ฟังไปงั้นๆ แหละ แต่ ได้ ศรัทธาไม่เสื่อมคลาย ไม่เคยจืดจางไปจาก พระพุทธศาสนาเลย.....

    หลวงตาบัวเนี่ย ผม ตามานามาก ฟังท่านหลายๆอย่างหลายๆเรื่อง ท่านเทศน์ ด่าใคร หรือ รักใคร ผมฟังมาหมด แม้แต่พ่อ ด่าแม่ใคร ผม ก็ ไม่เคยแคลงใจ เพราะเชื่อว่าท่านสำเร็จอรหันต์ เพราะท่านแสดงไว้ว่า ท่านสำเร็จธรรม ที่ดอย ธรรมเจดีย์ นั่งสมาธิ 9 วัน 9คืน ขี้เยี่ยวแตก ไม่ลุกไปไหน จนได้ สำเร็จ

    มาตอนหลัง สัก 3ปีก่อน ผม ไปเจอ หนังสือ หลวงพ่อ ปราโมทย์ เรื่อง วิถีแห่งความรู้แจ้ง ผมอ่านแล้ว ผม เข้าใจ ธรรมมะ มากมาย
    .............................................
    สติปัฎฐาน 4 มีอะไร สอนอะไร ผม อ่านเข้าใจหมดเลย
    สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร อริยสัจ 4 ผม แจ้งใจเลย
    อ่อ..ไม่ใช่สิ ผม แจ้งทางสมอง มากว่า...ผม อธิบาย สภาวะธรรมเรื่องไตรลักษณ์ ได้ แม่แต่ธรรมที่ปิดบังความจริงของไตรลักณ์ ผม ก็ แจ่มแจ้งมาก ทางสมอง....

    หลวงปู่ ดูลย์ ที่สมัย 20ปีก่อน ผม ไม่เคยชอบท่านเลย ผมได้ยินว่าท่านเก่ง แต่ผมว่าธรรมมะ ของท่าน อ่านไม่ณุ้เรื่อง ไม่ดี ไม่น่าศึกษาพอมา3ปีก่อนผม ไปอ่านเรื่องท่าน อานธรรมมะ ของท่าน สมองผม ยิ่งเปิด กว้างโอ้โห ธรรมมะ หลวงปู่ดูลย์ นี่เอาตายเลยนี่หว่า 555555555 สุดยอดมาก ถึงจิตตถึงใจ อ่านแล้ว แจ้งในสมองมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2012
  16. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    อย่าจงใจสังเกต

    เหนื่อยกับตรงนี้นี่แหละ
     
  17. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ใคร ฟังธรรมใคร แล้วคุยรู้เอง ดีทั้งนั้น..
    ผม ไม่เคยอ้างว่าผมเป็นศิษย์ใคร ผม ถือว่าพุทธศาสนา
    ใครเรียนรู้ ได้ทุกคน และเป็นศิษย์ พระพุทธเจ้าทั้งนั้น

    ตำราแท้ๆ มาจากพระโอษฐ์ ของพระพุทธองค์ ทั้งนั้น
    หลวงปู่ ต่างๆ หลวงพ่อ ต่างๆ เป็น พระ พี่เลี้ยง ผู้สืบ
    ทอด ตำราส่งต่อ รุ่นต่อๆไปทั้งสิ้น...

    ดังนั้นใครฟังธรรมใครแล้วรู้เรื่อง เข้าใจธรรมของใคร
    อย่าไปขวางเขาเลย บาปกรรม..ธรรมมะเป็นของกลางๆ
    ใครพูด แล้วเราเข้าใจ ก็ ดำเนินไปตามนั้น แต่ คนเป็นครู จริงๆ คือ พระพุทธเจ้า..ไม่ใช่ พระ ที่ไหนเลย หลวงพ่อ หลวงปู่ต่างๆ เป็นผู้สืบทอด เท่านั้รนเราก้อกราบ เป็น ผู้ชี้แนะ เป็น เป็น ผู้บอกทางที่เราเคารพกราบไหว้ แต่ ครู แท้ๆคือ พระพุทธเจ้า..เท่านั้น..ตามนี้
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จงใจไปเถิดไม่เป็นไร ถ้าเราทำตอนที่จิตใจสบาย เบิกบาน
    ความเบิกบาน มาจาก วินัยของจิตใจ ความปกติสุข จิตใจมีสมาธิ แล้วเอาความปกติสุขนั้น เจริญสติ
    แต่ถ้าเมื่อไรที่รู้สึกว่ามีอารมณ์ เครียด ตึง หมกมุ่นเข้ามาปน ให้รู้ตัว ก็ให้ผ่อนปรนบ้าง

    แต่ทีนี้ คนทั่วไป เครียดกับงานแล้ว ทุกข์กับชีวิตแล้ว ทุกขเวทนาเต็มแล้วจะไปเจริญสติ มันก็กลายเป็น สติในวังวนของอกุศล ไปเจริญสมาธิมันก็ในวังวนอกุศล มันก็เลยกลายเป็น ว่า อย่าไปจ้อง อย่าไปทำอะไร อย่าไปอยาก นี่ล้วนแล้วแต่จิตขณะนั้นประกอบไปด้วยอกุศล

    แต่ถ้า ทำแบบที่เราสอนไป มีแต่เจริญขึ้น
    ตามคำกล่าวที่ว่า สมาธิปริภาวิตา  ปญฺญามหปฺผลา  โหติ มหานิสํสา

    ฟังแล้วไตร่ตรอง
     
  19. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โฮ้ เข้าใจแยก ขอบคุณคะ
    อันนี้เหตุการณ์จริง
    มองผู้ชาย จะเปรียบสมมุติ เป็น กลิ่นของ ดิน หิน หญ้าแห้ง ขอนไม้ แล้วแต่ละคนนะ
    และ เมื่อ ผู้ืชายมาเสริฟน้ำ คือ บทบาทเปลี่ยน เฮ้ย ทำไมฉันเห็น เป็น ดอกไม้ แฮะ ก็ ยิ้มๆกันไป
     
  20. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    ใจเย็นๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...