ขอขอบคุณและให้กำลังใจเจ้าของเว๊ปพลังจิต

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย hitec-art, 4 เมษายน 2012.

  1. hitec-art

    hitec-art เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +953
    การให้ธรรมะเป็นทาน

    คือการให้ที่สูงสุด
     
  2. Pornsakon

    Pornsakon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2012
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบคุณมากสำหรับเวปที่ดี มีสาระครับ
     
  3. hitec-art

    hitec-art เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +953
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. hitec-art

    hitec-art เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +953
    ระดับขั้นต่างๆ ของสมาธิและการได้ฌาน

        ระดับของความตั้งมั่นในความสงบนิ่งของจิต แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นกล่าวคือ (สมาธิ ๓)

    ๑.สมาธิที่เกิดขึ้นชั่วขณะ แต่ตั้งมั่นอยู่ไม่ได้นาน (ขณิกสมาธิ)

    ๒.สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นิ่งสงบ และนานกว่าระดับแรกแต่ยังไม่ตัดขาดจากสิ่งรบกวนภายนอกหรือ
        เรียกว่าสมาธิขั้นจวนเจียน (อุปจารสมาธิ)

    ๓.สมาธิที่แนบแน่นและมั่นคงอยู่ในอารมณ์นั้นๆ จนตัดจากสิ่งรบกวนภายนอกได้สิ้น เป็นสมาธิในฌาน (อัปปนาสมาธิ)


            ญาณหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับมีดังนี้ (ญาณ ๑๖)

    ๑.ญาณกำหนดรู้เรื่องของนามและรูป แยกแยะออกได้ว่าอะไรคือนามธรรม อะไรคือรูปธรรม  (นามรูปปริจเฉทญาณ)

    ๒.ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดรูปและนามอาศัยซึ่งกันและกัน
        (ปัจจยปริคคหญาณ)

    ๓.ญาณกำหนดรู้ด้วยการพิจารณาเห็นนามและรูปตามหลักไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ยกรูปและนาม
        มาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง (สัมมสนญาณ)

    ๔.ญาณที่เห็นว่าการเกิดมาและดับไปของเบญจขันธ์เป็นเรื่องธรรมดา (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ)

    ๕.ญาณที่เห็นการสลายไปของสังขารว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (ภังคานุปัสสนาญาณ)

    ๖.ญาณที่เห็นสังขารเป็นของน่ากลัวไม่ว่าภพใด เพราะว่าต้องสลายไปทั้งสิ้น (ภยตูปัฏฐานญาณ)

    ๗.ญาณที่เห็นเป็นโทษ เพราะว่าสังขารเป็นของน่ากลัวจึงต้องมีข้อบกพร่อง มีทุกข์ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ)

    ๘.ญาณที่เห็นความเบื่อหน่าย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษแล้วก็บังเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร ไม่ติดใจ (นิพพิทานุปัสสนาญาณ)

    ๙.ญาณที่ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น เพราะว่าเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว (มุญจิตุกัมยตาญาณ)

    ๑๐.ญาณที่พิจารณาหาทางเพื่อพ้นจากสังขาร ได้แก่การยกเอาสังขารทั้งหลายมาพิจารณาเพื่อให้หลุดพ้นไป
          (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ)

    ๑๑.ญาณที่เห็นอย่างเป็นกลางในความเป็นไปของสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่เห็น (สังขารุเปกขาญาณ)

    ๑๒.เมื่อเป็นกลางแล้ว ญาณก็คล้อยเข้าสู่การเห็นอริสัจจ์อันจะนำพาไปสู่ขั้นต่อไป จนกระทั่งจิตดิ่งลงเกิด
          มรรคญาณขึ้นจึงจะถึงที่สุดคือนิพพาน (สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ)

    ๑๓.ญาณหยั่งรู้ที่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการข้ามขั้นจากปุถุชนไปเป็นอริยบุคคล (โคตรภูญาณ)

    ๑๔.ญาณหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะระดับอริยบุคคลในแต่ละขั้น (มัคคญาณ)

    ๑๕.ญาณหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จในระดับอริยบุคคลในชั้นนั้นๆ จนได้อริยผล  (ผลญาณ)

    ๑๖.ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน มรรคผล กิเลสที่ละแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน
         ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มีการพิจารณากิเลสที่เหลืออยู่ (ปัจจเวกขณญาณ)

    สมาธิขั้นใด ที่จำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

            สมาธิหรือสมาบัติขั้นใดกันแน่? ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นปัญหาที่ขบคิดตีความหรือวิจิกิจฉากันอย่างกว้างขวาง แม้ในจิตของนักปฏิบัติเองว่า สมาธิหรือฌานสมาบัติขั้นใดกันแน่ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมหรือพระกรรมฐานให้ก้าวหน้า กล่าวคือ จึงเป็นปัจจัยหนุนการวิปัสสนา เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายแห่งพุทธธรรมเป็นสำคัญ
            สมาบัติ ๘ อันมี รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ นั้นมีมาก่อนพุทธกาลเสียอีก แม้องค์พระศาสดาก็ทรงเล่าเรียนมาจากพระคณาจารย์  เป็นสิ่งที่ปฎิบัติกันโดยทั่วไปในหมู่พราหมณ์และโยคี ตลอดจนในศาสนาอื่นๆมาช้านาน  จึงยังไม่ใช่หนทางของการหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง  เหตุเพราะขาดปัจจัยอันสำคัญยิ่งในพระศาสนา คือขาดการวิปัสสนา อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาในการหลุดพ้นหรือปัญญาวิมุตติ  จึงจะทำให้เจโตวิมุตติอันเกิดแต่สมาบัติ ๘ อันยังเป็นเพียงวิขัมภนวิมุตติที่เสื่อมไปได้  เป็นสัมมาวิมุตติคือมรรคองค์ที่ ๑๐ อันไม่กลับกลายหายสูญหรือปรวนแปร
            สมาบัติ ๘ ก็คือ สภาวะผลอันสุขสงบประณีตที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติฌาน,สมาธินั่นเอง ซึ่งเมื่อนำไปเป็นปัจจัยเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนา ก็ย่อมทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นไปได้อย่างมีกำลังและรวดเร็วขึ้น  แต่พึงเข้าใจอย่างถูกต้องด้วยว่าไม่ใช่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญญาวิมุตติขึ้นโดยตรงจึงเป็นปัจจัยเครื่องเกื้อหนุนต่อการวิปัสสนา ดังที่ตรัสแสดงไว้ใน สัลเลขสูตร ดังนี้
                 อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุฌาน(ทั้งหลาย)
        มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
        และกล่าวถึงองค์ฌาน อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ตามลำดับของฌานนั้นๆ
        ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
        ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือฌาน(ทั้งหลาย)นี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
        เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    (สัลเลขสูตร)
            ดังท่านได้แบ่งพระอรหันต์เจ้า ออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ด้วยกัน  กล่าวคือ
            พระสุกขวิปัสสก เป็นผู้เจริญวิปัสสนาล้วนจนสำเร็จพระอรหัตถผล ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา
            พระสมถยานิก มาจากคำว่า สมถะ+ยาน คือ ผู้มีสมถะเป็นยาน(พาหนะ,เครื่องนำไป) จึงหมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาวิมุตติสืบต่อไป
            หรือแยกแยะโดยละเอียด  ท่านได้จัดไว้ ๕ ประเภท ด้วยกัน
            ๑. พระปัญญาวิมุต พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหันต์ ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา
            ๒. พระอุภโตภาควิมุต  คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล  กล่าวคือ หลุดพ้นทั้งสองส่วน กล่าวคือ แบ่งเป็นสองวาระ คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ เป็นวิกขัมภนะหนหนึ่งแล้ว แล้วจึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค เป็นสมุจเฉท อีกหนหนึ่ง
            ๓. พระเตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓ จากสมาบัติ
            ๔. พระฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖ จากสมาบัติ
            ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔  ปัญญาแตกฉาน มี ๔ กล่าวคือ อาจได้สมาบัติ หรือไม่ได้สมาบัติก็ได้  แต่ท่านปัญญาแตกฉานใน ๔ นี้
            ๕.๑ อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้า อันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ  
            ๕.๒ ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้
            ๕.๓ นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
            ๕.๔ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ  ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ  โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ
            ทั้ง ๕ นี้  มีผลที่เหมือนกันทุกประการ กล่าวคือ บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธธรรม  กล่าวคือ ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง หรือสิ้นกิเลสตัณหาโดยสิ้นเชิง
            ทั้ง ๕ นี้  มีเหตุที่เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกประการเช่นกันก็คือ การเจริญวิปัสสนาหรือวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดปัญญาวิมุตติ เป็นที่สุด
            ส่วนพระอรหันต์ในข้อ ๒, ๓, ๔, ๕ นั้น ผู้บรรลุต้องได้สมาบัติ อันคือ สภาวะผลอันประณีตของฌานเสียก่อน ร่วมกับวิปัสสนากรรมฐาน กล่าวคือ ไม่ว่าอย่างไรเสียก็ต้องเจริญวิปัสสนา จนเกิดปัญญาวิมุตติอีกครั้งเป็นสำคัญ จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์หรือได้พุทธธรรมได้  
            จากการนี้  ถ้านักปฏิบัติโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย คงพอเข้าใจได้ว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยสำคัญ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์?  อะไรเป็นเครื่องเกื้อหนุนเครื่องอุดหนุนในการปฏิบัติพระกรรมฐาน?  เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติแห่งพุทธธรรมอย่างถูกต้องแนวทางได้ชัดเจนขึ้น
            ดังนั้นพระสุกขวิปัสสก ท่านอาศัยสมาธิ เพียงระดับใช้ในการงานวิปัสสนาได้ดี ก็พอเพียงแล้ว ดังเช่น วิปัสสนาสมาธิ
            ส่วนพระสมถยานิก ท่านต้องผ่านการปฏิบัติฌานสมาธิอย่างแก่กล้า จนถึงขั้นสมาบัติ อันเป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงอันเกิดแต่ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
            เหตุที่กล่าวอ้างในเหตุเกิดของพระอริยเจ้าเสียโดยละเอียดนั้น ก็เพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ก็เพียงเพื่อป้องกันการหลงผิดในการปฏิบัตินั่นเอง เพราะล้วนเกิดขึ้นแต่อวิชชา จึงถูกโมหะเข้าครอบงำให้หลงผิด เดินทางหรือปฏิบัติผิด จนเกิดโทษขึ้นนั่นเอง  เพราะฌานสมาธิหรือสมาบัติ อันเป็นปัจจัยเครื่องเกื้อหนุนนั้น ก็อุปมาได้ดั่งยา  ถ้าบริโภคอย่างถูกต้องก็ยังประโยชน์ยิ่ง ย่อมช่วยรักษาร่างกายให้หายเจ็บไข้ได้ป่วย  แต่ถ้าหลงทานผิดหรือพร่ำเพรื่อเสีย ด้วยไม่รู้ ไม่จำกัดปริมาณ ก็จักกลับกลายเป็นยาพิษ ทำลายผู้บริโภคนั้นเสียเองให้ถึงทุกข์หรือถึงแก่ความตายได้  ฌานสมาธิหรือสมาบัติก็ฉันนั้น
            ส่วนใหญ่นักปฏิบัติมีความตั้งใจดี มาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังด้วยความเห็นชอบอันประเสริฐยิ่งแล้วอันคือสัมมาทิฏฐิ แต่ขาดสัมมาสังกัปปะเสียโดยไม่รู้ตัว จึงไปหลงเจริญแต่ในสมถกรรมฐาน ก็ด้วยความไม่เข้าใจเพราะไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง จึงเข้าใจผิด หลงคิดไปเองว่า ตนเองนั้นได้ทำการเจริญวิปัสสนาไปด้วยแล้วคือปฏิบัติ"สมถวิปัสสนา" กล่าวคือ ด้วยคิดว่าได้ปฏิบัติดีแล้วทั้งฝ่ายสมถะและวิปัสสนาด้วยอวิชชาก็มี ทั้งๆที่ปฏิบัติอยู่ในเพียงสมถะเท่านั้น   ดังนั้นบางท่านเมื่อปฏิบัติไป ก็มีความคิดความเห็น เตลิดเปิดเปิงหลงไหลหรือมิจฉาทิฏฐิไปในทางฤทธิ์ทางเดชหรือปาฏิหาริย์ด้วยอวิชชาก็มี,  บ้างก็เห็นว่าต้องเจริญสมาธิหรือฌานสมาบัติจนเชี่ยวชาญถึงรูปฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ เสียก่อนเท่านั้น จึงจะเจริญวิปัสสนาได้ด้วยอวิชชาก็มี จนหลงติดเพลินไปในฌานสมาธิเสียก่อนก็มี,  บ้างก็เข้าใจว่าต้องเจริญสมาธิหรือฌานสมาบัติให้ประณีตแล้ว ปัญญาความรู้หรือญาณต่างๆก็จักบังเกิดผุดขึ้นเองในที่สุด ด้วยอวิชชาก็มี,  มาปฏิบัติเพราะทุกข์กายทุกข์ใจรุ้มเร้าร้อนรนหาทางออกไม่ได้ จึงเร่งรีบขาดการศึกษาหรือโยนิโสมนสิการก็มี,  ศึกษาแล้วแต่แบบทางโลกจนคิดว่าเข้าใจดีแล้ว แต่ขาดการโยนิโสมนสิการจึงหลงก็มีเป็นจำนวนมาก,  มาปฏิบัติเพราะต้องการสั่งสมบุญเพื่อแก้กรรมอันหลอกหลอนเร่าร้อนก็มี,  มาสั่งสมบุญเพียงเพื่อหวังสะสมผลบุญในภพชาตินี้และภพชาติหน้าก็มี ฯลฯ.  จึงล้วนเป็นเหตุให้ขาดการเจริญในวิปัสสนาอันเป็นปัจจัยสำคัญหรือหัวใจของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา  และยิ่งเมื่อมาปฏิบัติโดยขาดครูบาอาจารย์ที่เข้าใจธรรมแท้จริง หรือปฏิบัติจากการอ่านศึกษาเองโดยขาดการโยนิโสมนสิการ จึงเกิดความเข้าใจผิดพลาด หรือหลงไปติดสุขอยู่แต่ในสมถกรรมฐานหรือสมาบัติแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา เนื่องด้วยยังให้เกิดความสุข ความสงบอันประณีตยิ่งกว่ากามคุณทั้ง ๕ เสียอีก แต่เป็นอย่างยิ่งในระยะหนึ่งเท่านั้นเอง ยังกลับกลายไม่เที่ยงเป็นเพียงวิกขัมภนวิมุตติ  จึงกลับกลายเป็นทุกข์ได้อีก และอาจเป็นทุกข์เสียยิ่งกว่าเดิมด้วยอวิชชาความเข้าใจผิด ด้วยปฏิบัติผิดนั่นแล
            และยังมีนักปฏิบัติอีกประเภทแอบจิตอยากได้โลกียอภิญญาประเภทมีฤทธิ์มีเดชก็มีมาก ไม่ว่าจะด้วยโมหะอันเกิดแต่ความไม่รู้ด้วยอวิชชา หรือความคึกคะนองอวดเก่งอวดกล้าอันเกิดจากอำนาจของฌานสมาธิที่คัดหลั่งมาโดยตรง หรือโลภะเพื่อประโยชน์ในทางโลกก็ตามที  จึงมุ่งเน้นปฏิบัติแต่ด้านสมถะล้วนแต่ฝ่ายเดียวขาดการวิปัสสนา จนต้องประสบทุกข์โทษภัยเป็นที่สุด ด้วยไปติดบ่วงของฌานสมาบัติอันประณีตเสียจนดิ้นไม่หลุดไปจนวันตาย  และสภาวะอันสุขสงบประณีตเหล่านั้นก็แปรไปเป็นทุกข์อย่างยิ่งยวดเสียด้วยในที่สุด  ด้วยคิดเข้าใจว่าจักควบคุมบังคับได้ตามใจปรารถนาด้วยอวิชชา จึงไม่รู้ว่าการเลื่อนไหลเข้าไปติดเพลินของฌานสมาบัตินั้นช่างแสนง่ายดายและแสนละเอียดอ่อนนอนเนื่อง จนจัดเป็นสังโยชน์ขั้นสูงหรือขั้นละเอียดคือรูปราคะและอรูปราคะ ที่ปุถุชนยังไม่สามารถสลัดออกได้ จึงพากันเป็นทุกข์กันจนวันตายดังที่มีพระอริยะได้กล่าวไว้เป็นอเนก
            ส่วนการจะไม่ปฏิบัติสมาธิเสียเลยก็ไม่ได้  เพราะเป็นมรรคองค์ที่ ๘ กล่าวคือ เป็นข้อปฏิบัติอันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อยังให้เกิดสัมมาญาณเช่นกัน  เพราะสมาธินั้นเป็นทั้ง กำลังของจิต๑  เป็นเครื่องอยู่แทนกามในเบื้องต้น๑  ความสงบเป็นเครื่องหนุนปัญญา๑ ฯ.  แต่สมาธิขั้นไหน จึงเหมาะต่อการวิปัสสนา ที่ยังให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธธรรม  นักปฏิบัติจึงต้องคิดพิจารณาหรือดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)ด้วยว่า ปฏิบัติด้วยจุดประสงค์อะไรเป็นสำคัญ  สมาธิขั้นใดจึงเหมาะแก่อินทรีย์ตน รวมทั้ง เพศ(ภิกษุ, ฆราวาส ฯ.),  อาชีพการงาน,  เวลา ฯ. เหล่านี้ก็มีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ดังในเพศฆราวาส ผู้เขียนก็แนะนำให้ปฏิบัติ "วิปัสสนาสมาธิ" ซึ่งเหมาะต่อทุกเพศ ทุกฐานะ ฯ. ตลอดจนเหมาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ต้องดิ้นรนเร่าร้อนเต้นเร่า และรัดตัวในการดำเนินชีวิตกันเป็นอย่างยิ่ง
            ด้วยเหตุดังนี้  ผู้เขียนขอกราบอาราธนารวบรวมข้อคิดข้อธรรมของเหล่าพระอริยเจ้า นำมาแสดงเป็นลำดับต่อไป เพื่อให้ใช้วิจารณญาณ เพื่อประกอบการพิจารณาให้เกิดปัญญาด้วยตนเองว่า ปฏิบัติสมาธิเพื่ออะไร โดยมีจุดประสงค์อะไร  จะได้พิจารณาด้วยตนเองว่า ควรปฏิบัติหรือใช้สมาธิในขั้นใด สมาธิอย่างไร จึงเหมาะสมหรือพอเพียงต่อการวิปัสสนาให้ถึงจุดหมายในพุทธธรรมในที่สุด โดยไม่หลงทางหรือหลงจุดประสงค์ของการปฏิบัติ

            ผู้เขียนจึงขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหนังสือ"พุทธธรรม" โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)  ปัจจุบันท่านดำรงพระสมณศักดิ์ "พระพรหมคุณาภรณ์" เป็นลำดับแรก เพื่อให้นักปฏิบัติได้พิจารณาให้เกิดปัญญามั่นคงในการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง   ตามที่ท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือ"พุทธธรรม"อันทรงคุณค่ายิ่ง มีความดังต่อไปนี้
            "สมาธิ เป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งก็จริง  แต่ก็มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า  สมาธิมีความจำเป็นแค่ไหนเพียงใด  ในกระบวนการปฏิบัติ  เพื่อเข้าถึงวิมุตติ  อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม(ธรรมของพระพุทธเจ้า อันมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสุข อันเกิดจากการหลุดพ้นจากความทุกข์ - webmaster)    ขอบเขตความสำคัญนี้  อาจสรุปดังนี้
            ๑. ประโยชน์ของสมาธิ   ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น  อยู่ที่การนำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลที่สุด    และสมาธิที่ใช้ในการนี้ก็ไม่จำต้องเป็นขั้นที่เจริญถึงที่สุด    ลำพังสมาธิอย่างเดียวแม้จะเจริญถึงขั้นฌานสูงสุด  หากไม่ก้าวสู่ขั้นใช้ปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้อย่างเป็นอันขาด
             ๒. ฌานต่างๆทั้ง ๘ ขั้น  แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง  แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่าสมถะอย่างเดียวแล้ว ยังเป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น  จะนำไปปะปนกับจุดมุ่งหมายทางพุทธธรรมหาได้ไม่
             ๓. ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น    กิเลสต่างๆสงบระงับไป  จึงเรียกว่าเป็นการหลุดพ้นเหมือนกัน  แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะนั้นเท่านั้น   และถอยกลับสู่สภาพเดิมได้  ไม่ยั่งยืนแน่นอน   ท่านจึงเรียกการหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์)   เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้)    และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้  เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า  ยกแผ่นหินออกเมื่อใด  หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่)
             จากข้อพิจารณาที่กล่าวมานี้  จะเห็นว่า ในการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรมนั้น  องค์ธรรมหรือตัวการสำคัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินใจในขั้นสุดท้าย  จะต้องเป็นปัญญา  และปัญญาที่ใช้ในการปฎิบัติการในขั้นนี้  เรียกชื่อเฉพาะได้ว่า วิปัสสนา   ดังนั้น การปฏิบัติจึงต้องก้าวมาถึงขั้นวิปัสสนาด้วยเสมอ   ส่วนสมาธินั้น แม้จะจำเป็น แต่อาจยืดหยุ่นเลือกใช้ขั้นใดขั้นหนึ่งก็ได้  เริ่มแต่ขั้นต้นๆ ที่เรียกวิปัสสนา-สมาธิ   ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ  เป็นต้นไป..........................."  
    (พุทธธรรม หน้า ๘๖๘ - ๘๖๙)

             ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
             "หลักใหญ่ให้จิตสงบได้นั้นแหละของดี   เพียงจิตสงบเท่านั้นก็ตัดความกังวลวุ่นวาย   ซึ่งเคยประจำจิตเสียดแทงจิตออกได้โดยลำดับลำดา  จนถึงกับเป็นขั้นสบาย   เพราะฉนั้นผู้ภาวนาเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จึงมักขี้เกียจในการพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา   นอนจมอยู่กับสมาธินั้นเสียไม่ออกพินิจพิจารณา  สุดท้ายก็เข้าใจว่าความรู้ที่แน่วแน่แห่งความเป็นสมาธิของตนนั้นเป็นมรรคผลนิพพานไปเลย   ในข้อนี้ผมเคยเป็นแล้ว  จึงได้นำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ   ว่าสมาธิต้องเป็นสมาธิ    ปัญญาต้องเป็นปัญญา   เป็นคนละสัดเป็นคนละส่วน  เป็นคนละอันจริงๆ  ไม่ใช่อันเดียวกัน   หากเป็นอยู่ในจิตอันเดียวกันนั่นแล  เป็นแต่เพียงไม่เหมือนกัน.............ผู้ที่เป็นสมาธิ  ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา  จะเป็นสมาธิอย่างนั้นตลอดไป  จนกระทั่งวันตาย  ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่ หาเป็นปัญญาได้ไม่  ต้องเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป   นี่ละท่านจึงสอนให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา   มีความจำเป็นอย่างนี้ให้ทุกๆท่านจำไว้ให้แม่นยำ   นี่สอนด้วยความแม่นยำด้วย   สอนด้วยความแน่ใจของเจ้าของ เพราะได้ผ่านมาแล้วอย่างนี้   ติดสมาธิก็เคยติดมาแล้ว.............."
    (จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา  (๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑)  โดย พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

             ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
             มีผู้ไปกราบเรียนหลวงปู่(หมายถึง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เรื่องสมาธิว่าปฏิบัติได้ดีอย่างยิ่ง  เหลือแต่ความสุข สุขอย่างยิ่ง เย็นสบาย แม้จะให้อยู่อย่างนี้นานเท่าไรก็ได้
             หลวงปู่ยิ้มแล้วพูด
             "เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล  พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ  จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้  แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น  มันก็ได้แค่นั้นแหละ ยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน  ให้ละสุขนั้นเสียก่อน  แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป"
    (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม  หน้า๔๙๕)

             ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านพุทธทาส ที่กล่าวแสดงทั้งสมถกรรมฐานหรือสมาธิ และสมถวิปัสสนา
             "........ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญก็ได้  เอากุศลก็ได้  สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับคนโน้นคนนี้ที่โลกอื่น ตามที่ตนกระหาย จะทำให้เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิเพื่อการไปเกิดในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมันนั่นเอง(webmaster-บุญ แปลว่า ความใจฟู ความอิ่มเอิบ) ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตรายแก่เจ้าของถึงกับต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ  หรือรักษาไม่หายจนตลอดชีวิตก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่าสมาธิเช่นนี้ มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุด ก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสารตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน   ส่วนสมาธิที่มีความมุ่งหมาย เพื่อการบังคับใจตัวเองให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้างกิเลสอันกลุ้มรุมจิตให้ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฏฐิอันจรมาในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็นทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึงตรงกันข้ามจากสมาธิเอาบุญ"
    (จาก บุญ กับ กุศล โดย ท่านพุทธทาส)

             ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี
            ในหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี ได้มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทั้ง ๒ ทาง คือแบบสมถะหรือสมาธิล้วนๆ และอีกแบบหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า แนวนี้เดินสมํ่าเสมอกว่าแนวสมถะล้วนๆ คือ แนวสมถวิปัสสนา กล่าวคือ การใช้สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนานั่นเอง ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้
            "บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน(หมายถึงเหมือนสมถะ) แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว(webmaster - เช่นในข้อธรรม หรือนิมิตอันดีงามถูกต้องเช่น อสุภหรือธาตุ) เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ  ยกขึ้นสู่(การพิจารณาด้วยปัญญาใน)ไตรลักษณ์เป็นต้น  เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว  หรือจะเป็นสมาธิ  หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้  พูดย่อๆ เรียกว่า หัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา" (ก็คือ สมถวิปัสสนา)
    (จาก ส่องทางสมถวิปัสสนา)
            ส่วนใน โมกขุบายวิธี ก็มีกล่าวไว้เช่นกันถึงการปฏิบัติแต่สมถะแต่ฝ่ายเดียว จนยังให้โทษ
            "ฌาน ได้แก่ การเพ่ง และเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว จะเป็นกสิณ หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ข้อสำคัญจะต้องให้จิตจับจ้องอยู่ในเฉพาะอารมณ์อันนั้นเป็นใช้ได้ เบื้องต้นจะต้องตั้งสติควบคุมจิตให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างแน่นแฟ้น เมื่อจิตถอนออกจากอารมณ์อื่นมารวมอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เสวยความสุขอันไม่เคยได้รับมาแต่ก่อน  จิตก็จะยินดีและน้อมเข้าไปสู่เอกัคคตารมณ์อย่างยิ่ง เรียกว่า เพ่งเอาความสุขอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์เป็นอารมณ์ของฌานต่อไป จนเป็นเหตุให้เผลอตัวลืมสติไปยึดมั่นเอาเอกัคคตาว่าเป็นของบริสุทธิ์และดีเลิศ  จิตตอนนี้จะรวมวูบเข้า ภวังค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับเผลอสติ หรือลืมสติไปเสียเลยอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงรู้สึกตัวขึ้นมา  แต่ผู้ที่เคยเป็นบ่อยและชำนาญแล้ว  จะมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันแต่เป็นไม่แรง และนิมิตหรือความรู้อะไรจะเกิดก็มักเกิดในระยะนี้  เมื่อนิมิตและความรู้เกิดขึ้นแล้ว  จิตที่อยู่ในเอกัคคตานั้นจะวิ่งตามไปอย่างง่ายดาย  จิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์เป็นของเบาและไวต่ออารมณ์มาก(อารมณ์ จึงหมายถึง ไวต่อสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในการกระทบเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิดต่างๆ - webmaster) ที่เรียกว่า จิตส่งใน เป็นภัยต่อผู้เจริญฌานอย่างยิ่ง  บางทีอาจทำให้เสียผู้เสียคนไปก็มี ฌานมีเอกัคคตารมณ์เป็นเครื่องวัดในที่สุด   แต่ไม่มีปัญญาจะพิจารณาสังขารให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณได้   กิเลสของผู้ได้ฌานก็คือมานะแข็งกระด้างทิฐิถือรั้นเอาความเห็นของตัวว่าเป็นถูกทั้งหมด คนอื่นสู้ไม่ได้  เรื่องนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของฌานหรือทิฐินิสัยเดิมของแต่ละบุคคลอีกด้วย  ผู้ที่ผ่านเรื่องนั้นมาด้วยกันแล้วหรือมีจิตใจสูงกว่าเท่านั้นจึงจะแก้และแสดงให้เขาเห็นจริงตามได้ ถ้าแก้ไม่ตกก็เสียคนไปเลย"
    จาก โมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
                การฝึกหัดสมถะ (ที่เรียกว่า ฌาน สมาธิ) นี้  ความประสงค์ที่แท้จริงทางพุทธศาสนา  ก็คือต้องการความสงบแห่งจิต  เพื่อรวบรวมกำลังใจ  ให้มีความเข้มแข็งอยู่ในจุดเดียว (ที่เรียกว่าเอกัคคตารมณ์) อันเป็นมูลฐานให้เกิดความรู้ความฉลาด  สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลายด้วยญาณทัสสนะ  และขจัดสรรพกิเลสบาปธรรมทั้งปวงให้สิ้นไป  มิใช่เพียงเพื่อจะนำไปใช้ด้วยเหตุอื่นภายนอก  มีการนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เป็นต้น  แต่เป็นการชำระใจให้ผ่องใสโดยเฉพาะจากนิวรณ์ ๕ เป็นต้น   แต่เมื่อหัดให้ชำนาญแล้ว จะนำไปใช้ในทางใดก็ได้ตามประสงค์ ถ้าหากการใช้นั้นไม่ทำให้เกิดโทษแก่ตนและคนอื่น
    จาก เทสโกวาท  โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  หน้า ๘๔
    ปัญญาวิปัสสนา
                วิปัสสนาเป็นยอดเยี่ยมของปัญญาในพระพุทธศาสนา เป็นคู่กับสมถะคือสมาธินั่นเอง
    ท่านผู้รู้บางท่านถือว่าสมถะเป็นเรื่องหนึ่ง  วิปัสสนาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  ผู้เจริญสมถะไม่ต้องเจริญวิปัสสนา  เมื่อเจริญสมถะแก่กล้าแล้ว จึงค่อยเจริญวิปัสสนา ความข้อนั้นไม่จริง
    ตามความเป็นมา  ผู้เจริญสมถะมักต้องเจริญวิปัสสนาเป็นคู่กันไป เช่น เจริญสมถะต้องพิจารณาธาตุ ๔  อินทรีย์ ๖ เป็นต้น
    จาก สิ้นโลก เหลือธรรม โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  หน้า ๕๗

               ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก หลวงพ่อชา สุภัทโท
    คำถาม - ขอให้(หลวงพ่อชา)อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
               นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐาน ช่วยให้เกิดปัญญาหรือวิปัสสนาได้ ในที่สุดแล้วจิตก็จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองวุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน
               อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง
               ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูกเหยียดหยาม  หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ  อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง
    คำถาม - ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่
               ไม่  ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง(เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน  ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร  ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่
    จาก หลวงพ่อชา สุภัทโท  ตอบปัญหาธรรม

             ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
              "....แล้วการที่เรามาใช้ปัญญาพิจารณา เหตุผลต่างๆ ที่จิตใจมันยึดมั่นถือมั่นอยู่นั้น อันนั้นมันเป็นวิธีการที่จะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นให้หมดไปสิ้นไป  แต่ลำพังสมาธินั้น เพียงแต่ระงับความอยาก ความหิวไปได้ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นเอง  ส่วนที่จะละความอยากความหิวให้มันขาดเด็ดออกไปจากจิตใจได้ ต้องอาศัยปัญญา....(และ)ปัญญานั้นก็ต้องเกิดจากสมาธิ(เป็นเครื่องหนุน) ....ฯ."  
    จาก  บุญญาพาชีวิตรอด

    หลักปฏิบัติ สมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)
    - ให้หยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง  มีแต่สติหรือจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์ อันมีสุขและกำลังยิ่ง
    หลักปฏิบัติ วิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)
    - ให้หยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง  มีแต่สติหรือจิตอยู่กับการคิดพิจารณา(ใช้ปัญญา)ในเหล่าธรรมอันเป็นกุศล อันเป็นปัญญายิ่ง
    ส่วนหลักปฎิบัติ สมถวิปัสสนา
    - เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)เป็นสุขและมีกำลัง  แล้วเจริญวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) จึงยังทั้งสุขและกำลังและปัญญาอันยิ่งขึ้นๆไป
    หนึ่งในสมถวิปัสสนาอันดีงามยิ่ง คือวิปัสสนาสมาธิ
    พนมพร

    วิปัสสนาสมาธิ
             คัมภีร์บางแห่งกล่าวถึง วิปัสสนาสมาธิ   เพิ่มเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง  แทรกอยู่ระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ   พึงทราบว่า วิปัสสนาสมาธิ นั้น ก็คือ ขณิกสมาธิที่นำไปใช้ในการเจริญวิปัสสนานั่นเอง  และมีความประณีตขึ้นไปเพราะการปฏิบัติ......
    [พุทธธรรม หน้า ๘๒๘ โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)]
    (webmaster - หมายความว่า เป็นการปฏิบัติโดยใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิไปในการเริ่มพิจารณาธรรมหรือวิปัสสนา กล่าวคือใช้การพิจารณาธรรมนั้นเป็นอารมณ์หรือเป็นวิตกโดยตรงเลยนั่นเอง  เมื่อดำเนินไปได้อย่างแนบแน่นในธรรม ซึ่งในบางครั้งหรือบางขณะก็จะเกิดความประณีตเลื่อนไหลไปสู่สมาธิในระดับละเอียดประณีตขึ้นไปได้เองเป็นลำดับด้วย จึงอาจเจริญสมาบัติระดับปณะณีตไปด้วยในที่สุด  ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมิจฉาฌานหรือมิจฉาสมาธิชนิดไปติดเพลินหรือนันทิในองค์ฌานสมาธิอันยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอีกด้วยอันมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มุ่งหวังในฌานสมาบัติระดับประณีตก่อน โดยขาดการวิปัสสนา,  วิปัสสนาสมาธิจึงเป็นสมถวิปัสสนาอันดีงามยิ่ง เหมาะกับทุกเพศ ทุกฐานะ ฯ.)

    พุทธธรรม หน้า ๘๒๘


    มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
                พระสูตรนี้ แสดงสมถวิปัสสนาในการปฏิบัติเพื่อการละสังโยชน์ ๕ เบื้องต่ำ หรือโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ กล่าวคือ แสดงสมถะในการปฏิบัติในรูปฌานและอรูปฌานทั้ง ๘ พร้อมทั้งแสดงการเจริญวิปัสสนาเป็นลำดับต่อไปเป็นสำคัญ   โยนิโสมนสิการโดยแยบคายจะพบว่า สามารถใช้การเจริญสมาธิ(สมาบัติ)ทุกระดับขั้นได้ในการเจริญวิปัสสนา(หมายถึงเมื่อถอนออกมาจากสมาบัติแล้วดำเนินการวิปัสสนา) ที่ต่างก็ล้วนยังผลให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ หรือละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้ตามกำลังอินทรีย์แห่งตน

    กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก
    พวกที่หนึ่ง คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6 เพราะเหมาะกับทุกอารมณ์ ทุกอุปนิสัยของคน
    ปฐวีกสิณ (ธาตุดิน/ของแข็ง(ไม่ใช่เฉพาะดิน) จิตเพ่งดิน โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดิน หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปฐวี" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง" เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณ์ธรรมเสียได้โดยลำดับ กิเลศก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะกล้าขึ้น จิตนั้นก็ชื่อว่าตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ เมื่อทำได้สำเร็จปฐมฌานแล้ว ก็พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้นให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌานสืบต่อไปได้
    เตโชกสิณ (ธาตุไฟ ธาตุร้อน]) จิตเพ่งไฟ คือการเพ่งเปลวไฟ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นไฟ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "เตโช" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    วาโยกสิณ (ธาตุลม) จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นลม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "วาโย" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    อากาสกสิณ (ช่องว่าง) จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ คือการเพ่งช่องว่าง โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นช่องว่าง เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อากาศ" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
    อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง วิธีเจริญอาโลกกสิณให้ผู้ปฏิบัติยึดโดยทำความรู้สึกถึงความสว่าง ไม่ใช่เพ่งที่สีของแสงนั้น เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโลก" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง"
    อาโปกสิณ (ธาตุน้ำ/ของเหลว) จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ คือการเพ่งน้ำ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นน้ำ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโป" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง" ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 กสิณอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด พวกที่สองคือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสะจริต
    โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณังๆๆๆ
    นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณังๆๆๆ
    ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณังๆๆๆ
    โอทากสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตานึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณังๆๆๆ จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน
    ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขาอยู่กับภาพกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้

    อานุภาพกสิณ 10
    กสิณ 10 ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน 4 แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ กล่าวกันว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ

    อำนาจฤทธิ์ในกสิณในทางพุทธศาสนามีดังนี้
    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากๆ ได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้ สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้กำลังการในเดินทาง
    อาโปกสิณ สามารถเนรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ขาดแคลนฝน ให้เกิดมีฝนอย่างนี้เป็นต้น
    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้ เมื่ออากาศหนาว สามารถทำให้เกิดความอบอุ่นได้
    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
    ปีตกสิณ สามารถเนรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
    โลหิตกสิณ สามารถเนรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
    โอทากสิณ สามารถเนรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
    อาโลกสิณ เนรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง
    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้

    วิธีอธิษฐานฤทธิ์
    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน 4 ก่อน
    แล้วออกจากฌาน 4
    แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น
    แล้วกลับเข้าฌาน 4 อีก
    ออกจากฌาน 4
    แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา

    แล้วแต่ว่าจะนำฐานไหนมาจับในการอธิบาย แต่ภาพโดยรวมแล้วแยกเป็น ๒ คือ สัมมาสมาธิ(สมาธิเป็นไปเพื่อละกิเลส) และ มิจฉาสมาธิ(สมาธิเป็นไปเพื่อเพิ่มพูนกิเลส)

    ฌาน คือ "การเพ่ง" ให้ความหมายได้ ๒ ระดับ คือ

    ๑.อารัมมณูปนิชฌาน ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

    ๒.ลักขณูปนิชฌาน ได้แก่ มรรค ผล

    (ฌาน ๔ ข้างต้น จัดเป็นรูปฌาน คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หากรวมอีก ๔ จะเรียกว่า "สมาบัติ ๘" โดยจะเพิ่ม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ)

    ส่วน "ญาณ" คือ ความรู้ , ปัญญา ในที่นี้ขอแยกพิจารณาเป็น ๒ ชุดตอน

    ชุดที่ ๑ อตีตังสญาณ(ญาณในส่วนอดีต) อนาคตังสญาณ(ญานในส่วนอนาคต) ปัจจุปันนังสญาณ(ญาณในส่วนปัจจุบัน) *ความสมบูรณ์ของญาณทั้ง ๓ นี้ ต้องเป็นความรู้ที่สืบเนื่องมากจากความสมบูรณ์แห่งอริยมรรค ๘ ประการ จนเป็นสัมมาญาณ(ความรู้ในทางที่ชอบ)*

    ชุดที่ ๒ สัจจญาณ(ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ) กิจจญาณ(ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรกระทำ) กตญาณ(ปรีชาหยั่งรู้กิจอันได้กระทำแล้ว) *ญาณทั้ง ๓ ประการนี้เกิดขึ้นในอริยสัจ มีวน ๓ อาการ ๑๒ ซึ่งเป็นญาณ(ความรู้ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า)*

    กสิณ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติสมาธิแนวทางหนึ่ง จำเป็นต้องฝึกจึงเกิดมีได้ แต่ในบางกรณี "สัญญา" ในอดีตก็อาจจะมีส่วนช่วยให้เกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน


    ...ลองใช้ "โยนิโสมนสิการ"(โดยคิดแบบสอบสวน,คิดตั้งคำถาม) พิจารณาเสียก่อนว่า "ปฏิบัติสมาธิไปเพื่ออะไร?" หรือใช้ "อิทัปปัจจยตา" สืบสาวไปหาเหตุปัจจัย แล้วจะเห็นตามจริงว่า

    ..."ศีล" เป็นเหตุเบื้องต้นที่จะนำให้เกิด "สมาธิ" สืบเนื่องไปจนถึง "ปัญญา"...

    ฉะนั้นแล้วจึงควรจะเริ่มต้นที่ "ศีล" อันเป็นการขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง (ข้อควรระวัง "สีลัพพตปรามาส" กล่าวคือ รักษาศีลเพื่อละมิใช่เพื่อเพิ่มพูนกิเลส เช่น รักษาศีลเพื่อให้เกิดความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ไม่ให้ของเสื่อม ก็จัดอยู่ใน "สีลัพพตปรามาส" เช่นกัน โปรดระวัง!!!) ซึ่งศีลจะเป็นปัจจัยให้เกิด "สมาธิ" อันเป็น "สัมมาสมาธิ" เป็นสมาธิในทางที่ควร และผลที่สุดคือ "ปัญญา" ความรอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริง ที่ตกลงอยู่ในสามัญลักษณะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เหตุแห่งทุกข์อยู่ที่ "ตัณหา" ละ "อุปาทาน" กำจัด "อวิชชา" ยัง "วิชชา" ให้เกิดขึ้น

    ในอริยมรรคองค์ ๘ ก็ได้ย่อลงเข้าในไตรสิกขาได้ดังนี้คือ

    "สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ" จัดลงใน "ศีล"

    "สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ" จัดลงใน "สมาธิ"

    "สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ" จัดลงใน "ปัญญา"

    โดยสรุป - ควรเริ่มไปตามขั้นตอนเบื้องต้นคือศีล รักษาศีลให้บริบูรณ์ขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง ทั้งนี้ก็พึงระัวังมิให้การรักษาศีลนั้นเข้าข่าย "สีลัพพตปรามาส" ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยยัง "สัมมาสมาธิ" และ "ปัญญา" ให้มีขึ้นโดยลำดับ ประโยชน์ที่จะได้ก็อยู่ใน ๒ ระดับ คือ โลกียะ , โลกุตระ

    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำตอบตนเองว่า ศรัทธาระดับไหน?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • R753-19.jpg
      R753-19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.1 KB
      เปิดดู:
      45
  5. kamoochi

    kamoochi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +326
    ขอบคุณด้วยอีกคนครับ ทั้งเจ้าของเวป ทีมงาน รวมไปถึงผู้สนับสนุนเวปครับ
     
  6. ltsomsak

    ltsomsak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +173
    ร่วมขอบคุณ "เวปพลังจิต" ด้วยคนครับ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายโปรดดลบันดาลให้ทีมงาน "เวปพลังจิต" ทุกท่านมีแต่ความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ
     
  7. pinyo_ole

    pinyo_ole เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +2,950
    สุดคำบรรยาย ครับ 'ขอบพระคุณทีมงาน WEB พลังจิต ครับ ':cool:
     
  8. hitec-art

    hitec-art เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +953
    ผมรู้สึกว่ากระทู้ต่างในห้องวิธีการดูพระเครื่อง ดูง่ายขึ้น นะครับ
    แบ่งเป็นกันเป็นระเบียบดี
    จากใจผู้น้อย
     
  9. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,554
    ค่าพลัง:
    +53,107
    พี่อาร์ท ผมว่าจะโอนเงิน เล็กๆน้อยๆ ที่เหลือจากการโอนเพื่อส่งของให้ เวบพลังจิต ผมยังหาไม่เจอเลยว่าจะโอนเข้าทางใหนครับ
     
  10. hitec-art

    hitec-art เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +953
    To. Webmaster
    พอจะแสดงความคิดเห็นหรือแนะนำสมาชิกได้ไหมครับ
     
  11. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,554
    ค่าพลัง:
    +53,107

    คือเจอแล้วแต่เป็นแบบบริจาคอย่างอื่น ไม่เป็นไร เด่ววันนี้น่าจะได้คำตอบครับ :cool::cool:
     
  12. ecco1

    ecco1 พุทธัง บังเกิด ธัมมัง บังเกิด สังฆัง บังเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +87
    สมกับเป็น เวป พุทธศาสนาที่ ใหญ่ ที่ สุดครับ ข้อมูลเบื้องล่างถึงเบื้องบน ชัดเจนครับ
     
  13. คิงคอง99

    คิงคอง99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    3,277
    ค่าพลัง:
    +23,769
    ขอบคุณเวปพลังจิต อีกคนครับ ขอให้เจ้าของและทีมงาน เจริญรุ่งเรืองนะครับ
     
  14. mrchainarong

    mrchainarong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,179
    ค่าพลัง:
    +2,006
    ตามมาขอบพระคุณอีก 1 เสียงครับ สำหรับความรู้และมิตรภาพที่ไ้ด้จาก"พลังจิต"ครับ....
     
  15. Lhinjeu

    Lhinjeu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +8
    ขอบพระคุณ เวปดีๆเช่นนี้ครับ
     
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เวปนี้ทำให้ได้รู้จักเพื่อหลายคนที่ชอบอะไรเหมือนๆกัน
    ได้ความรู้และอื่นๆอีกมากมายครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...