{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. rockie_bb

    rockie_bb สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอขคุณครับ....................
     
  2. dollyta

    dollyta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    808
    ค่าพลัง:
    +297
    พี่เขยฝากดูหลวงพ่อพรหม9 นิ้วองค์นี้ให้หน่อยครับ ว่าแท้หรือเปล่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822

    องค์นี้ ดูจากดินใต้ฐานแล้ว น่า่จะแท้แน่นอนครับ
    และเป็นพระที่มีอายุการสร้างพอสมควรด้วย
    แต่จะทันหลวงพ่อหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    เพราะจากข้อมูลเท่าที่ทราบรุ่นที่ยอมรับกัน
    มีสามรุ่น คือ ชามเปล หน้าหนุ่ม และฐานสี่เหลี่ยม
    องค์นี้หน้าหลวงพ่อคล้ายรุ่นหน้่าหนุ่ม แต่ฐานยังไม่เหมือนครับ
     
  4. แบมบางบ่อ

    แบมบางบ่อ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +26
    ใช่พระกำแพงเม็ดแป้งหรือเปล่าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8116.JPG
      IMG_8116.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.3 KB
      เปิดดู:
      100
    • IMG_8117.JPG
      IMG_8117.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.1 KB
      เปิดดู:
      94
  5. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงครุฑผีเสื้อ

    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงครุฑผีเสื้อ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. dollyta

    dollyta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    808
    ค่าพลัง:
    +297
    ฐานไม่เหมือนก็ยังผิดอยู่นะซิครับ มีใครช่วยตอบอีกไหมครับจักขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ ทั้งผู้ตอบ ผู้ดู
     
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงครุฑเล็ก

    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงครุฑเล็ก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระอุปคุต

    ประวัติพระอุปคุต

    เล่ากันว่าพระอุปคุต เป็นพระเถระสำคัญองค์
    หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านบำเพ็ญเพียร
    จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ
    จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือจนทุกวันนี้ ท่าน
    เนรมิตเรือนแก้วขึ้นในสะดือทะเล แล้วไปอยู่เป็นประจำ
    แต่หากมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา หรือมี
    ผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ
    ครั้งหนึ่งท่านเคยปราบพญามารที่เข้ามาก่อความ
    วุ่นวายในพิธีฉลองสมโภชพระสถูป เจดีย์บรรจุพระบรม
    สารีริกธาตุ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณ
    พุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ได้สำเร็จ


    คาถาบูชาพระอุปคุต

    อุปะคุตโต จะ มหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มหาเถโร นะมัสสิตตะวา
    ปะติฏฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเต ฯ

    คาถาพระอุปคุตผูกมาร

    มหาอุปะคุตโต มหาอุปะคุตตัง กายะพันทะนัง อะมะยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ
    อิมังกายะพันทะนัง อะทิถามิ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00.jpg
      00.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.2 KB
      เปิดดู:
      80
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระบูชา พระมหาอุปคุตเถระ

    พระบูชา พระมหาอุปคุตเถระ เนื้อทองเหลือง ลงรักชาติทองทั้งองค์พระหน้าตัก 5 นิ้ว พ.ศ. 2540 ออกวัดกระจัง

    พระอุปคุตมหาเถระปราบมาร ปางจกบาตร หยุดตะวัน

    พระอุปคุตปางจกบาตรเป็นปางที่พระอุปคุตแหงนหน้าหยุดพระอาทิตย์เพื่อฉันข้าว
    แสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์มีกินมีกินมีใช้และความยิ่งใหญ่ของท่าน
    เพราะ แม้แต่พระอาทิตย์ไม่ว่าใหญ่แค่ไหนก็ต้องหยุดด้วยอานุภาพของท่าน
    จึงนิยมสร้างพระอุปคุตปางนี้ไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับท่านผู้ทำจิต
    ให้นอบน้อมบูชาสักการะองค์พระอุปคุตมหาเถระปราบมาร ทำสิ่งใดไม่ว่าจะมีปัญหา
    มากแค่ไหน ก็สำเร็จทุกประการ พระอุปคุตมหาเถระ ผู้เป็นอรหันตสาวกที่ทรงมหิทธนุภาพ
    เป็นพระอรหันต์สมัยหลังพุทธกาล ร่วยุคสมัยกับพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่
    พระอุปคุตมหาเถระเป็นยอดเป็นยอดแห่งธรรมกถึกผู้เป็นเลิศแห่งการแสดงธรรม
    ท่านตั้งความปรารถนาที่จะอยู่รักษาพระพุทธศาสนาให้ครบ ๕,000 ปีปกป้องคุ้มกัน
    ปราบมารและอุปทวอันตรายทั้งหลาย ผู้ใดปรารถนาความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
    จงนอบน้อมบูชาต่อพระอุปคุตเถระ เป็นสังฆานุสติ และปฏิบัติตนตามปฏิปทาของท่าน
    คือ ฝึกตนเองให้สมบูรณ์ ขัดเกลากเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของตนเอง
    ให้เบาบางและช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกอีกทั้งช่วยพิทักษ์รักษา
    พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป


    เพิ่งเช่ามาไว้บูชาที่โต๊ะหมู่ที่บ้านครับ
    ท่านมีอิทธฤทธิมาก ขนาดปราบพญามารได้
    และปางจกบาตร มีความหมายว่ามีกินมีใช้ครับ
    เพื่อนๆ ที่ยังไม่มี น่าจะหาท่านไว้บูชาที่บ้าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.5 KB
      เปิดดู:
      82
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.4 KB
      เปิดดู:
      90
    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.8 KB
      เปิดดู:
      86
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.6 KB
      เปิดดู:
      90
    • 05.jpg
      05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.7 KB
      เปิดดู:
      82
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2012
  10. ekachai08

    ekachai08 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +16
    ฝากถามสิงห์ 2 ขวัญ 1 ตัว ครับ ขอบคุณคร๊าบบ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานใหญ่

    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานใหญ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานแบกแท่น

    วิธีพิจารณาพระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงหนุมานแบกแท่น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    18,952
    ค่าพลัง:
    +53,093
    รบกวนท่าน ๆ พิจารณาพระองค์นี้หน่อยครับ ว่าพอจะเป็นหลวงปู่ศุข ได้ใหม ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  14. คนตาก

    คนตาก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    275
    ค่าพลัง:
    +13
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี) ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ที่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร1 หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) 2 เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง3
    สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 4 จวบจนท่านมรณภาพในช่วงต้นรัชกาลที่ 5
    เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
    [แก้]จริยาวัตร
    ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่พระภิกษุโตไม่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านมีอุปนิสัยไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง แม้พระภิกษุโตได้ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระภิกษุชั้นเปรียญเช่นกัน
    ต่อมากล่าวกันว่า พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโตอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์

    ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น
    อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น
    "บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ..."[ต้องการอ้างอิง]
    "ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"

    ความศรัทธาในตัวสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ทำให้เกิดความนิยมสร้างรูปหล่อเหมือนตัวจริงของท่านประดิษฐานตามวัดต่างๆ โดยทั่วไป (ในภาพนี้ รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ)
    เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระมหาเกจิเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือยิ่งนับแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนถึงปัจจุบันผู้ศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ทำการสร้างรูปเหมือน รูปเคารพจำลองของท่านไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย โดยเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "รูปหล่อสมเด็จ" ตามหลักฐานฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ระบุว่ารูปจำลองรูปแรกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) คือรูปหล่อที่ประดิษฐานที่วัดเกศไชโยวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปั้นหุ่นลงรักปิดทองโดยหลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมาประกร) หน้าตัก 40.2 เซนติเมตร หล่อขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ได้หล่อเมื่อปีใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ. 2444 ดังความในสำเนาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช 2444 ดังนี้

    อย่างไรก็ดี รูปเคารพท่านที่เป็นที่แพร่หลายคือรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่สร้างขึ้นและประดิษฐานอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นไม่นานหลังจากได้สร้างรูปเคารพรูปแรกขึ้นและนำไปประดิษฐานที่วัดไชโยวรวิหาร ก่อนปี พ.ศ. 2444 มีขนาดหน้าตัก 48 เซนติเมตร ลักษณะนั่งสมาธิ โดยเคยมีงานแห่สมโภชรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในวัน แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี แต่ปัจจุบันได้เลิกจัดไปแล้ว ปัจจุบันรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของวัดระฆังโฆสิตาราม ยังคงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหน้าพระอุโบสถของวัด มีผู้คนเคารพนับถือมากราบไหว้สักการะมากในปัจจุบัน
    ในช่วงหลัง มีผู้นำรูปถ่ายเมื่อครั้งมีชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในท่านับลูกประคำ ไปจัดสร้างเป็นรูปหล่อและรูปเหมือนเพื่อสักการะบูชา จนเป็นที่แพร่หลาย และเป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จนถึงปัจจุบัน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตมากมาย เพื่อให้สมชื่อโต ของสมเด็จท่าน โดยรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ขนาดใหญ่ เช่นที่ วิหารสมเด็จโต มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สมเด็จโตองค์ใหญ่ปางเทศนาธรรม วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี สมเด็จโตองค์ใหญ่ วัดตาลเจ็ดยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และที่วัดสามัคคีบรรพต จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

    อ้างอิงข้อมูล วิกิพีเดีย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1269884517.jpg
      1269884517.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.6 KB
      เปิดดู:
      228
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เสียงสวดเซียนพระ กรณีสมเด็จกรุขุนอินทประมูล

    ในความไม่ชัดเจน ของข้อมูล พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ทั้ง ๔ พิมพ์ คือ ๑.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์พระประธาน ๒.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ใหญ่ ๓.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์ทรงเจดีย์ และ ๔.พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล พิมพ์คะแนน ถึงกับทำให้ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เขียนประกาศติดไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่รับออกใบรับรองให้พระวัดขุนอินทประมูล" ในการออกใบประกาศนียบัตร หรือที่เรียกกันว่า "ใบเซอร์พระ" (Certificate) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา
     ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นคือ ในการประกวดพระของกรมเสมียนตรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ไบเทค บางนา ที่ผ่านมา ได้ตัดรายการการประกวดพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ไว้ในรายการประกวดพระเนื้อผงทั่วไป ชุดที่ ๓ โต๊ะที่ ๗ รายการที่ ๒๒๔-๒๒๖ ออกทั้งหมด สร้างความผิดหวังให้กับผู้เช่าและผู้มีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไว้ในครอบครองเป็นอย่างยิ่ง

     สำหรับผู้ที่เช่าและผู้มีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไว้ในครอบครอง อาจจะอดสงสัยไม่ได้ว่า “พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างบรรจุกรุไว้หรือไม่”
     ผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุด และเป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่องคือ คณะกรรมการตัดสินพระชุดเบญจภาคี ของ สมาคมพระเครื่อง ได้พิจารณาเพื่อความชัดเจน
     “คม ชัด ลึก” ได้นำพระสมเด็จรุ่นนี้ ทุกพิมพ์ ไปให้พิจารณา ซึ่งแต่ละท่านมีประสบการณ์เช่าพระสมเด็จมานานกว่า ๓๐ ปี ต่างได้ให้คำตอบไว้เป็นที่น่าสนใจดังนี้
     ๑.นายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า ก่อนอื่นต้องขออภัยสำหรับผู้ที่เช่าและครอบครอง พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เหตุที่สมาคมเขียนประกาศติดไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่รับออกใบรับรองให้ พระวัดขุนอินทประมูล" เพราะพระกรุนี้สมาคมยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง พระที่จะออกใบรับรองจากสมาคมต้องเป็นพระที่สังคมพระเครื่องโดยรวม ให้การยอมรับ ใช่ว่า ใครมาให้สมาคมออกใบรับรองว่า พระสมเด็จรุ่นนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง ในทันทีนั้นไม่ได้ ต้องมีหลักฐานและข้อพิสูจน์
     ในกรณีของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ถ้ามาขอให้สมาคมออกใบรับรอง โดยไม่ระบุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง เช่น พระสมเด็จวัดอื่นๆ นั้น สามารถทำได้
     ในกรณีของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล เป็นรูปลักษณ์ของพระสมเด็จ เช่นเดียวกับพระสมเด็จที่มีการจัดสร้างทั่วๆ ไป เพราะทุกๆ วัดมีการจัดสร้างพระสมเด็จกันทั้งนั้น ทั้งที่สร้างบรรจุกรุ และสร้างให้เช่าบูชากันเลย
     กรณีพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล มวลสาร อายุการสร้าง รวมทั้งพิมพ์ทรง เปรียบไม่ได้กับพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม รวมทั้ง พระสมเด็จ วัดไชโยวรวิหาร หรือพระสมเด็จเกศไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทองโดยเฉพาะเนื้อขององค์พระ เปรียบไม่ได้เลยกับพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ทั้ง ๓ วัด
     ที่สำคัญคือ พระสมเด็จทั้ง ๓ วัดดังกล่าว มีมานาน และมีประวัติการสร้างที่ชัดเจน
     ซึ่งก่อนหน้านี้ พระสมเด็จเล็บมือ วัดปากบาง จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้เคยคิดว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้ ด้วยเหตุที่ว่ามวลสาร และคราบกรุ ใกล้เคียงกับพระสมเด็จกรุบางขุนพรหม มาก แต่แตกต่างกันที่พิมพ์เท่านั้น
     เรื่องนี้เคยมีความสับสนในวงการพระเครื่องมาระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็สรุปว่า พระสมเด็จเล็บมือ วัดปากบาง ไม่ใช่พระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างไว้
      ทั้งนี้ นายพยัพ ยืนยันว่า “ถ้ามีพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) นอกเหนือจาก ๓ วัด คือ วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม รวมทั้งวัดไชโยวรวิหาร บรมครูแห่งวงการพระเครื่อง ที่ศึกษาพระเครื่องมา ท่านคงรู้ไม่จริง การเล่นพระทุกวันนี้ เราเล่นจากการสืบทอดความรู้จากบรมครูยุคก่อน ถ้าเป็นพระสมเด็จ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ราคาคงไปไกลกว่านี้ เซียนพระชุดเบญจภาคีต้องกว้านซื้อไว้ทั้งหมด แต่เนื้อหาไม่ใช่ พิมพ์ก็ไม่ถูกต้อง รวมทั้งอายุก็ไม่ได้ เซียนจึงไม่เล่น ส่วนใครจะเล่น ใครจะเช่า และใครจะเชื่อว่า สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง สมาคมห้ามไม่ได้”
     ด้าน นายพิศาล เตชะวิภาค อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย หรือ ต้อย เมืองนนท์ บอกว่า มีผู้นำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลมาให้ดูเป็นจำนวนมาก โดยได้ออกความเห็นไปว่า ไม่น่าจะเป็นพระที่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
     การจะกล่าวอ้างว่าเป็นพระที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง ต้องมีหลักฐานและเหตุผลประกอบ อันเป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่อง ที่สำคัญคือ หากเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง จะต้องทิ้งเค้าความเป็นเอกลักษณะของพิมพ์ทรงไว้
     เช่นกรณีของพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆัง กับ พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดบางขุนพรหม หากนำมาเทียบกันจะมีเค้าของพิมพ์ทรงที่คล้ายกัน 
     ทั้งนี้ หากพิจารณาจากเนื้อหาแล้ว พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล น่าจะมีอายุการสร้างไม่กี่ปี และอาจจะไม่ถึงหลัก ๑๐ ปี ด้วยซ้ำ
     จากประสบการณ์เล่นพระเนื้อผงแล้ว พระเนื้อผงเมื่อถูกบรรจุในกรุที่มีอายุมากกว่า ๔๐-๕๐ ปีขึ้นไป จะมีคราบกรุที่เป็นไข ที่เกิดจากปฏิกิริยาของมวลสาร กับความชื้นของสภาพอากาศ ผสมผสานกันไป จะมีลักษณะแข็ง และจับตัวกับองค์พระมากกว่าที่เป็นอยู่
     ทั้งนี้ หากนำพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูลไปล้างน้ำ คราบกรุที่เกาะอยู่บนองค์พระ จะหลุดได้ง่ายกว่าพระสมเด็จ จาก ๓ วัด ที่สมเด็จฯ โต สร้างไว้
     “การยกเหตุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนั้น เป็นเรื่องของการกล่าวอ้าง เพื่อเพิ่มความนิยม และมูลค่าขององค์พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จำพรรษา หรือพักวัดไหน ใช่ว่าท่านจะสร้างพระบรรจุกรุไว้เสียทั้งหมด ที่ผ่านมามีการแอบอ้างว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างและบรรจุกรุเอาไว้ก็มีไม่น้อย ใครจะชอบ ใครจะเชื่อ และใครจะเช่า เป็นสิทธิ์ของคนคนนั้น แต่เกรงว่าจะเสียใจภายหลัง เมื่อรู้ว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไม่ได้สร้างไว้ พระแตกกรุ โดยพระไปพบที่เป็นของแท้ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ที่เป็นของปลอมก็มีอยู่มากเช่นกัน” ต้อย เมืองนนท์ กล่าว
     ขณะที่ นายกิติ ธรรมจรัส อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย หรือ กวง ท่าพระจันทร์ บอกว่า เรื่องของพระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล มีการนำมาคุยกันในคณะกรรมตัดสินพระชุดเบญจภาคี โดยส่วนตัวแล้ว หากพิจารณาจากเนื้อหา มวลสาร พิมพ์ทรง รวมทั้งคราบกรุ น่าจะไม่ทันยุคสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ซึ่งมีผู้เช่าพระรุ่นนี้ไว้หลายท่าน ได้นำพระมาให้ดู ก็บอกไปว่า  เป็นพระที่เกจิอาจารย์รุ่นหลังสร้าง แล้วนำไปบรรจุกรุไว้ แต่ก็มีคณะกรรมการบางคนบอกไปทันทีว่า เป็น พระสมเด็จเก๊ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไม่ได้สร้าง
     เหตุที่มีคนเล่นหากัน น่าจะเกิดจากแรงโฆษณามากกว่า แต่คณะกรรมตัดสินพระชุดเบญจภาคี ไม่มีใครเล่นหากัน อย่างกรณี พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล ให้ฟรียังต้องคิดหนัก
      “พระนั้นแท้ทุกองค์ ส่วนจะแท้ในมาตรฐานใดนั้น ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้กำหนด มาตรฐานของสมาคมมีการวางกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน การเล่นพระ การเช่าพระ เป็นความชื่นชอบส่วนตัว และส่วนบุคคล ใครเชื่อก็เช่า ใครชอบก็เช่า เรื่องการเล่นพระ เป็นเรื่องนานาจิตตัง กลุ่มไหน หรือใครจะเล่นอย่างไร เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าจะเช่าเพื่อให้เช่าต่อได้นั้น ต้องเป็นพระที่มีมาตรฐานวงการพระเครื่องให้การยอมรับ” กวง ท่าพระจันทร์ กล่าว
     "การยกเหตุว่าเป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนั้น เป็นเรื่องของการกล่าวอ้าง เพื่อเพิ่มความนิยม และมูลค่าขององค์พระ...สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จำพรรษาหรือพักวัดไหน ใช่ว่าท่านจะสร้างพระบรรจุกรุไว้เสียทั้งหมด”
    อ้างอิง... "ไตรเทพ ไกรงู"
     
  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระสมเด็จของสมเด็จโต พรหมรังสี

    พระสมเด็จ

              ผู้สร้างคือ สมเด็จพระพุฒาจารย ์(โต) พรหมรังสี เป็นพระเครื่องทีมีอายุการสร้างน้อยที่สุดในบรรดาเบญจภาคีด้วยกัน พระสมเด็จวัดระฆัง สร้างในสมัยรัชกาลที่4 ที่วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพฯ "สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่" จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล หรือ "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" อีกทั้งเป็นสุดยอดความปรารถนา ที่จะได้ไว้ในครอบครองของบรรดาเหล่าผู้นิยมพระเครื่อง หรือนักสะสมของเก่าทั้งหลาย จัดได้ว่า เป็นของล้ำค่าชิ้นหนึ่งทีเดียว เหตุที่สร้างขึ้นมาก็เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนาตามเยี่ยงโบราณกาล นอกจากนี้ยังมี พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ,พระสมเด็จวัดเกศไชโยวรวิหาร ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน

              " พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยภิบัติ คงกระพัน โชคลาภ"
     
  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จวัดระฆัง

    สมเด็จวัดระฆัง
              สมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ จัดได้ว่าเป็นสุดยอดพระเครื่องตลอดกาล อีกทั้งเป็นสุดยอดความปรารถนาที่จะได้ไว้ในครอบครองของบรรดาเหล่าผู้นิยมพระเครื่อง หรือนักสะสมของเก่าทั้งหลาย ปรารภได้ว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง"เลยทีเดียว แถมเป็นองค์ประธานสำหรับ "ชุดเบญจภาคี" อีกด้วย

              ผู้สร้าง : สมเด็จพระพุฒจารย์ ( โต พรหมรังสี ) 
              สร้าง : ปี พ.ศ.2409 ในสมัย รัชกาลที่4 ณ.วัดระฆังโฆษิตาราม 
              พุทธศิลปะ : สมัยรัตนโกสินทร์
              ขนาด :  ประมาณ - ฐาน ๒.๕ ซ.ม. , สูง ๓.๖ ซ.ม. , หนา ๐.๕ ซ.ม.
              พุทธลักษณะ : องค์พระนั่งปางสมาธิ ประทับบนฐาน ๓ ชั้น สถิตภายในซุ้มเรือนแก้ว 
              พระพุทธคุณ : เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยพิบัติ คงกระพัน โชคลาภ ฯลฯ

    พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามความนิยมในวงการพระเครื่อง มี ๕ พิมพ์ด้วยกันคือ 
              ๑. พิมพ์ใหญ่ 
              ๒. พิมพ์ทรงเจดีย์ 
              ๓. พิมพ์ฐานแซม 
              ๔. พิมพ์เกศบัวตูม 
              ๕. พิมพ์ปรกโพธิ์ ( พิมพ์นี้มีน้อย จนหนังสือ บางเล่มไม่ได้กล่าวถึง ) 

    หลักการดูพระสมเด็จวัดระฆัง
              • จำพิมพ์ให้แม่น พระสมเด็จวัดระฆัง จะมี ๕ พิมพ์ คือ พิมพ์พระประธาน ทรงเจดีย์ เกศบัวตูม ฐานแซม และปรกโพธิ์ 
              • ดูจากของจริง และเปรียบเทียบกับ พระพิมพ์สมเด็จอื่นๆ เพื่อดูจุดต่าง 
              • ดูเนื้อ และมวลสาร ส่วนผสมของ พระสมเด็จวัดระฆัง เกิดจาก การนำหินปูน มาเผาไฟ ทุบป่นให้แตกละเอียด เหมือนแป้ง ผสมกับ น้ำมันตังอิ๊วของจีน และมวลสารมงคลต่างๆ อาทิ เม็ดชาด เม็ดพระธาตุ เกสรดอกไม้แห้ง ข้าวสุก เนื้อพระสมเด็จ จึงมักมี มวลสาร ปรากฏให้เห็น และมักจะมีรอยปูไต่
     
    ข้อมูลจาก : เบญจภาคีดอทคอม


     
  19. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จบางขุนพรหม

    สมเด็จบางขุนพรหม
    ผู้สร้าง : "เสมียนตราช้าง" ผู้เป็นต้นตระกูล "ธนโกเศศ" โดยได้นิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จากวัดระฆัง เป็น ประธานฝ่ายสงฆ์  ร่วมปลุกเสกโดยได้บรรจุลงกรุไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ ณ วัดใหม่อมตรส เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์
    ศิลปสกุลช่าง : สกุลช่างสิบหมู่ ช่างหลวง ยุครัตนโกสินทร์ ควบคุมการสร้างโดย หลวงวิจารเจียรนัย
    อายุการสร้าง : สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ก่อนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มรณภาพ ๒ ปี
    องค์ประกอบพระ : มีการรวบรวมผงพุทธคุณต่าง ๆ และผงอันเป็นมงคล ผสมรวมกัน เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง โดยมีปูนเปลือกหอยเป็นวัสดุหลัก ที่มีเนื้อหามวลสารต่างจากสมเด็จวัดระฆัง เพราะว่าเป็นการสร้างต่างวาระ อายุการสร้างต่างกัน และจำนวนสูตรผสมที่แตกต่างกันด้วย
    ลักษณะวรรณะพระ : เป็นพระเนื้อผงสีขาว มีทั้งเนื้อหยาบและละเอียด ถ้าขึ้นจากกรุก่อนจะมีคราบกรุน้อย ถ้าขึ้นภายหลังจะมีคราบมาก จับตามองค์พระ คราบกรุจะมีลักษณะคล้ายฟองเต้าหู้แข็งหลุดล่อนได้ยาก
    พุทธลักษณะ : เป็นพระปางสมาธินั่งประทับบนฐานสามชั้นภายในเส้นซุ้มครอบแก้ว  ลักษณะโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ  ๒.๒ ซม X ๓.๕ ซม
    จำแนกพิมพ์ : พระสมเด็จบางขุนพรหม มีพิมพ์ที่รู้จักกันทั่วไป ๙ พิมพ์คือ
              ๑. พิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์พระประธาน
              ๒. พิมพ์ทรงเจดีย์ 
              ๓. พิมพ์ฐานแซม 
              ๔. พิมพ์เกศบัวตูม 
              ๕. พิมพ์เส้นด้าย 
              ๖. พิมพ์สังฆาฏิ พระพิมพ์นี้ยังแบ่งออกเป็น
                   ๖.๑  พระพิมพ์สังฆาฏิ มีหู
                   ๖.๒  พระพิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู
              ๗. พิมพ์อกครุฑ 
              ๘. พิมพ์ฐานคู่ 
              ๙. พิมพ์ปรกโพธิ์ พระพิมพ์นี้มีจำนวนน้อยที่สุด ทำให้ค่อนข้างขาดความนิยมไป  มีผลทำให้มีราคาค่านิยมน้อยที่สุดด้วย
    ด้านหลังองค์พระ พระสมเด็จบางขุนพรหม มีด้านหลังเรียบเหมือนพระวัดระฆัง ในองค์ที่ได้ตอนเปิดกรุ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และยังสมบูรณ์อยู่ จะมีตรายางของวัดประทับให้เห็น 

    ข้อมูลจาก : บ้านพระดอทคอม

     
  20. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สมเด็จเกศไชโย

    สมเด็จวัดเกศไชโย
              ผู้สร้างมีความเชื่อกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ท่านสร้าง ณ   วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง เพื่อสืบทอดพระศาสนา ศิลปสกุลช่าง  เป็นช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับคำแนะนำ วิธีการสร้างให้พระออกมาสวยงามคงทน โดยขุนวิจารณ์เจียรนัย จากการสันนิษฐานทราบว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างพระพุทธพิมพ์สี่เหลี่ยมบนฐานต่างชั้นกัน ที่เรามาเรียกภายหลังว่า พระสมเด็จเกศไชโยนี้ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๔ เพื่อบรรจุลงในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดไชโยวรวิหาร แต่พระพุทธรูปเกิดพังทลายขึ้นมาก่อนที่จะบรรจุพระเครื่อง   จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ แล้วบรรจุพระเครื่องลงไป เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๐๖ - ๒๔๐๗ หากการบรรจุครั้งนั้น ไม่ครบจำนวนตามที่ตั้งความประสงค์ไว้ จึงมีการนำพระสมเด็จวัดระฆังมารวมบรรจุด้วย แต่มีจำนวนน้อยมาก 
              องค์ประกอบพระ ตามบันทึกคำกล่าวของพระธรรมถาวร (ลูกศิษย์สมเด็จโต) กล่าวว่า " เนื้อที่ใช้สร้างพระสมเด็จนั้น แต่เดิมใช้ผงวิเศษ ๕ ประการ ผงเกสรดอกไม้   ปูนขาวและข้าวสุกเท่านั้น ซึ่งเมื่อถอดพิมพ์และตากแห้งแล้ว ปรากกฏว่าเนื้อพระจะร้าวและ แตกหักเป็นจำนวนมากเพราะความเปราะ ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้ กล้วยหอมจันทน์ และกล้วยน้ำว้าทั้งเนื้อและเปลือกผสมโขลกลงไปด้วย เมื่อเนื้อพระแห้งแล้วก็มีสีเหลืองนวลขึ้น การแตกร้าวลดลงแต่ก็ยังไม่ได้ผลทีเดียว ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ทดลองใช้น้ำมันตังอิ้ว ตามคำแนะนำของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก   สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ผลดีขึ้นจริง 
              ลักษณะวรรณะพระสมเด็จวัดเกศ เป็นพระที่มีวรรณะหลายสี เช่น ขาวแป้ง ขาวนวล สีเทา และมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พุทธลักษณะเป็นพระพุทธประทับนั่งสมาธิขัดราบ บนฐานต่าง ๆ กัน คือฐาน ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๖ ชั้น ๗ ชั้น และเป็นพระพุทธนั่งสมาธิภายใต้ใบโพธิ์ หรือที่เราเรียกว่า ปรกโพธิ์ จำแนกพิมพ์ออกได้เป็น ๒๐ พิมพ์ โดยประมาณดังนี้

              ๑. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม ๗ ชั้น 
              ๒. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เล็ก 
              ๓. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์หูประบ่า 
              ๔. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แขนกลม 
              ๕. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เข่าโค้ง
              ๖. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แข้งหนอน 
              ๗. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง 
              ๘. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์แขนดิ่ง 
              ๙. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์เศียรกลม 
              ๑๐. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์อกตัน 
              ๑๑. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ต้อ 
              ๑๒. พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ปรกโพธิ์ 
              ๑๓. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ใหญ่ เอ 
              ๑๔. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ใหญ่ บี 
              ๑๕. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ล่ำ 
              ๑๖. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ไหล่ตรง 
              ๑๗. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์อกตัน 
              ๑๘. พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์อกตอด 
              ๑๙. พิมพ์ ๕ ชั้น
              ๒๐. พิมพ์ตลก 
              ด้านหลังองค์พระเป็นพระหลังเรียบ

    ข้อมูลจาก เบญจภาคีดอทคอม

     

แชร์หน้านี้

Loading...