อภินิหารพระเครื่อง 25 ศตวรรษ M16 กระหน่ำยิงไม่ระคายผิว

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย olanrakpong, 20 กรกฎาคม 2010.

  1. olanrakpong

    olanrakpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +162
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">อภินิหารพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ปืนเอ็ม16 กระหน่ำยิง ไม่ระคายผิว </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top>อภินิหารพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ปืนเอ็ม 16 กระหน่ำยิง 30 นัด ไม่ระคายผิว

    พระเครื่องราคาสูงหลัก “แสน” หรือหลัก “ล้าน” ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะ “เข้มขลังตามมูลค่า” ขณะที่ราคาพระเครื่องหลัก “ร้อย” หรือหลัก “พัน” อาจมีพุทธานุภาพสูงส่งก็ได้เพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องวัดได้ ซึ่งผิดกับความร้อน-หนาวที่วัดได้ด้วย “เทอร์โมมิเตอร์” แต่สิ่งเดียวที่พอจะวัดได้ก็คือ “ประสบการณ์” เพราะเป็น “ปรากฏการณ์” ให้พบเห็นทั้งในอดีตและปัจจุบันอยู่เสมอ “เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ฉบับนี้จึงขอนำท่านผู้ อ่าน “อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์” ย้อนกลับไปพบกับข่าวหนึ่งบนหน้าหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” ที่ได้บันทึกเหตุการณ์เป็นข่าวที่สุดตื่นเต้นเป็นการพิสูจน์ถึงอภินิหารของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่ปัจจุบันยังมีให้บูชาในราคาไม่สูงเกินไปนัก
    โดยหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์ ฉบับที่ ๙,๔๗๐ ประจำวันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘” ได้เสนอข่าวถึงเรื่องราวปาฏิหาริย์ของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่มีรายงานข่าวจาก จังหวัดพัทลุง ว่าเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๐๔.๓๐ น. นายสืบศักดิ์ แกล้วทนง อายุ ๒๓ ปี บ้านอยู่หมู่ที่ ๒ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากดูโขนสดและภาพยนตร์ที่ วัดป่าพยอม เพื่อกลับบ้าน ขณะขับขี่ไปถึง ตลาดป่าพยอม เกิดไปเฉี่ยวเอาราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้หนึ่งที่ทาง “ทหาร ผส.๕ ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่” มาจัดตั้งหน่วยขึ้นที่ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน
    เพื่อทำหน้าที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งกำลังเดินกลับ เข้าค่าย จำนวน ๔ คน ราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้ที่ถูก “นายสืบศักดิ์” ขับรถเฉี่ยวจึงตะโกนบอกให้ “นายสืบศักดิ์” หยุดรถแต่ “นายสืบศักดิ์” เป็น “คนหูหนวก” จึงไม่ได้ยินเลยไม่หยุดรถ “หน่วยล่าสังหาร” ผู้นั้นจึงรัว “ปืนเอ็ม ๑๖” เข้าใส่ “นายสืบศักดิ์” ที่ยังขับรถทั้งหมด ๓๐ นัด กระสุนปืนพุ่งเข้าหา “นายสืบศักดิ์” เต็มแผ่นหลังจนตกลงจากรถจักรยานยนต์ หน่วยล่าสังหารทั้ง ๔ นายจึงกรูเข้าไปดูกลับเห็น “นายสืบศักดิ์” ปราศจากบาดแผลเนื่องจาก “กระสุนปืนเอ็ม ๑๖” ที่ยิงใส่นายสืบศักดิ์ไม่ระคายผิวเลย “หน่วยล่าสังหาร” ทั้ง ๔ นายจึงช่วยกันหักคอ “นายสืบศักดิ์” จนตายคามือแล้วพากันหลบหนีไป

    ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการชันสูตรศพ จึงพบว่าแผ่นหลังของ “นายสืบศักดิ์” ถูกกระสุนปืนเอ็ม ๑๖ หลายนัดแต่กระสุนไม่ทะลุ มีเพียง “รอยไหม้เกรียม” ที่เกิดจากพิษกระสุนปรากฏเป็นจุด ๆ เท่านั้น ส่วนเหตุที่เสียชีวิตก็เพราะกระดูกบริเวณแผ่นหลังและที่ลำคอของ “นายสืบศักดิ์” หักหลายชิ้นเจ้าหน้าที่ค้นในตัวศพจึงพบว่าหนุ่มใบ้ผู้เสียชีวิตมีเพียง “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ๑ องค์” เท่านั้นซึ่งเป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นเมื่อคราวมีงานฉลอง “๒๕ พุทธศตวรรษ” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ สำหรับเป็นที่ระลึกและแจกจ่ายสมนาคุณให้แก่ประชาชน ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้าง “พุทธมณฑล” โดย “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้นมีรายการและรายละเอียดดังนี้

    ๑. เนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มขนาดความกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. วัสดุที่สร้างมีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้ “พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ, เนื้อนวโลหะ” และ “แผ่นทองแดง, แผ่นตะกั่ว, แผ่นเงิน” ที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรทำการลงอักขระเลขยันต์ และคาถาต่าง ๆ แล้วนำมาผสมหล่อหลอมเข้าด้วยกันโดยมีจำนวนสร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์

    ๒. เนื้อดิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มมีด้วยกัน ๒ พิมพ์คือ “พิมพ์เขื่อง” มีขนาดกว้าง ๑.๖ ซม. สูง ๔.๒ ซม. หนา ๖ มม. “พิมพ์ย่อม” มีขนาดกว้าง ๑.๔ ซม. สูง ๓.๙ ซม. หนา ๔ มม. วัสดุที่ใช้สร้างเป็น “เนื้อดิน” ทั้ง ๒ พิมพ์โดยนำดินที่ขุดจาก ทะเลสาบจังหวัดสงขลา ผสมกับ เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ตลอดทั้งว่านและใบไม้ต่าง ๆ พร้อม ดินจากหน้าพระอุโบสถ ที่มีความสำคัญจากจังหวัดต่าง ๆ อีกทั้งดินที่นำมาจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ใน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังใช้ผงวิเศษจากพระอาจารย์ต่าง ๆ และพระเครื่องโบราณที่ชำรุดเช่น “พระสมเด็จฯ, พระขุนแผน, พระนางพญา, พระรอด” มาผสมเข้าด้วยกัน จำนวนที่สร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ เช่นกันกับเนื้อชินโดยพระเครื่องเนื้อดินเผามีด้วยกันหลายสี อาทิ สีดำ, สีเทา, สีขาวนวล, สีพิกุลแห้ง, สีหม้อใหม่, สีครีม, สีชมพู, สีน้ำตาลไหม้ ฯลฯ เป็นต้น

    ๓. เนื้อทองคำ พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรแบบนูน สร้างด้วยเครื่องปั๊มมีขนาดกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. ด้านหน้าและด้านหลังพุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกันกับพระ “เนื้อชิน” และจำนวนสร้างเท่ากับ พ.ศ. ที่สร้างคือ ๒,๕๐๐ องค์ โดยน้ำหนักทองคำองค์ละ ๖ สลึง ทางด้านพิธีกรรมการ ปลุกเสกครั้งแรกทำการปลุกเสกสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ ก่อนที่จะได้นำมาสร้างเป็นพระโดยประกอบพิธีปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน โดยในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก วัดเบญจมบพิตรฯ จุดเทียนชัยและมีพระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก บรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ จนตลอดคืน จากนั้นวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานพิธี และพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูปนั่งปรกปลุกเสกบรรจุ พุทธาคมลงในสรรพวัตถุ และมวลสารต่าง ๆ ตลอดคืน

    วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหา วิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระศรีศากยมุนีเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำ” จำนวน ๔ องค์ และทรงกดพิมพ์พระเครื่องฯ “๒๕ พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน ๓๐ องค์ เป็นปฐมฤกษ์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ส่วนพระเกจิอาจารย์ในจำนวน ๑๐๘ รูป เข้าสู่มณฑลพิธีนั่งปรกปลุกบรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่อไปจนตลอด คืน

    พิธีปลุกเสกครั้งที่สองได้ทำพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ หลังจากพระเครื่องทั้งหมดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ ๒, ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประกอบด้วยเกจิอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้นอีก ๑๐๘ องค์ เช่น “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อนาค วัดระฆัง หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” เป็นต้น

    ด้วยเหตุนี้ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” จึงจัดเป็นพระเครื่องที่ดีเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังพอแสวงหาได้ในราคาไม่สูงมากนัก เป็นสิริมงคลล้ำค่าที่จะอาราธนาขึ้นแขวนคอได้อย่างสบายใจ (ขอบคุณข้อมูลรายนามเกจิอาจารย์จากนิตยสารลานโพธิ์).

    </TD></TR></TBODY></TABLE>:cool:
     
  2. วีรวัช

    วีรวัช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,622
    ค่าพลัง:
    +5,029
    เห็นข่าวว่าวันที่23 - 27ก.ค.53 นี้จะมีพระ25พุทธศตวรรษมาให้บูชาที่สวนอัมพรนะครับ

    ถ้าวันที่ผิดต้องขออภัย ไม่แน่ใจว่าเริ่ม 23 หรือ 24 แต่เป็นช่วงวันอาสาฬหบูชานี่แหละครับ ลงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหน้าพระเครื่องวันก่อน
     
  3. วินกะปาล์ม

    วินกะปาล์ม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +94
    เดี๋ยวจะลองไปหาข้อมูลครับ ว่าจะมีให้บูชาที่สวนอัมพรวันไหน จะได้ไปเช่าเก็บไว้บ้างครับ
     
  4. rliengsakul

    rliengsakul สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +3
    วันที่ 23 - 27ก.ค.53 นี้จะมีพระ25พุทธศตวรรษมาให้บูชาที่สวนอัมพรอาคาหลังใหม่ เริ่มเวลา 8.00 - 18.00 น.
    มี เนื้อชิน องค์ละ 300 บาท
    เนื้อนิเกิล องค์ละ 300 บาท
    เนื่อผงเกษร องค์ละ 300 บาท
     
  5. frankenstine

    frankenstine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +144
    ผมไปเช่ามาแล้วครับ สวยถูกใจเลย ใครอยากได้ก็รีบๆนะครับเดี๋ยวของจะหมด
     
  6. otagon

    otagon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +133
    อยาดได้แต่อยู่ใกลอะครับ
     
  7. fox2008

    fox2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +403
    เข้ามาเยี่ยมชมครับ
    ขอบคุณมากคร๊าบ...
     
  8. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    มาร่วมรับฟังครับ
    มีอยู่กะเค๊าเหรียญนึงกลับ แต่เป็นเหรียญกลมเงินกรรมการ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p1.jpg
      p1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.6 KB
      เปิดดู:
      194
    • p2.jpg
      p2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.2 KB
      เปิดดู:
      206
  9. chopper1972

    chopper1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +13,153
    พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเศกพระฉลอง 25 พุทธศตวรรษครับ
    1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
    12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
    13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
    14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
    19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
    21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
    22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร
    23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
    24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
    25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
    27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
    28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
    29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
    31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
    34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
    38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
    40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
    41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
    42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
    43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
    48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
    49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
    59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
    60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
    67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
    75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
    87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
    88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
    90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
    91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
    102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
    104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
    107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    (ตัวสะกดต่างๆ ชื่อวัด ชื่อหลวงพ่อ อาจจะมีผิดพลาดบ้างก็ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ)
     
  10. olanrakpong

    olanrakpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +162
    ของดีราคาถูก

    เป็นของดีราคาถูกที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ เหมาะสำหรับคนที่มีเบี้ยน้อยหอยน้อยครับ ผมเองก็มีอยู่ 2 องค์ พอดีผมชอบของดีราคาถูก ไม่ค่อยสนค่านิยมทางการตลาดซักเท่าไหร่ พระรุ่นไหนประสบการณ์ดี พิธีเด่น เป็นทางการ เจตนาดี พระที่ปลุกเสกดี ก็น่าสะสมครับ และมีพระลูกย่อยอีกเยอะ ที่เป็นของดีราคาถูกครับ
     
  11. ศิลป์พระ9

    ศิลป์พระ9 Active Member สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +487
    เข้ามาเยี่ยมชม ครับ ถือว่าสุดยอด แล้วครับ พระเครื่องรุ่นนี้
     
  12. daroon

    daroon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +3,038
    สุดยอดครับ 25 ศตวรรษ ใครเช่าที่สวนอัมพร ขอแบ่งสักองค์ได้มั้ยครับ พุทธคุณสุดยอดมากเลยทีเดียว
     
  13. prariwats

    prariwats สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +28
    ผมชอบหาสะสมเนื้อตะกัว ดีบุก ราคาไม่แพงดี นำมาเลี่ยมเก็บ แต่ผมสังเกตุดูแล้วความเก่าเนื้อบางองค์ อมดำขลับเป็นมันไม่เท่ากัน บางองค์แห้งออกขาว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. รักษ์สยาม

    รักษ์สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,129
    พระในดวงใจของผมเลยครับ:cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0489.jpg
      IMG_0489.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.6 MB
      เปิดดู:
      3,537
  15. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    [​IMG]


    สวยงามมากครับ....
     
  16. อั๋นวัดสาม

    อั๋นวัดสาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    4,259
    ค่าพลัง:
    +9,022
    พระดี ค่าบูชาถูก :cool: แต่ตอนนี้หาสวยๆยาก เพราะถูกคัดสวยไปเยอะแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P7290047.JPG
      P7290047.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      152
    • P7290046.JPG
      P7290046.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      145
  17. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    โชว์ด้วยคนครับพี่อั๋น... ^^

    อยากทราบว่าการที่มีพระสงค์ร่วมกันปลุกเสกมากมายหลายรูป...กับพระเครื่องบางองค์ที่เสกเดี่ยว....พุทธคุณแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดครับ..ส่วนใหญ่เห็นในวงการดูจะนิยมปลุกเสกเดี่ยวเสียมากกว่า....หรือเป็นเพียงการตลาดเท่านั้นครับ..


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. กวาวชไม

    กวาวชไม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    4,336
    ค่าพลัง:
    +14,779
    ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,ดีๆๆๆๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SDC11174.JPG
      SDC11174.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      196
  19. jacky65

    jacky65 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +2,516
    พิธีใหญ่ที่สุดในโลก
     
  20. จุฬาลงกรณ์

    จุฬาลงกรณ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +29
    งดงามมากครับ
    ส่วนตัวก็คิดว่าคงไม่มีพิธีไหนที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่านี้แล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...