หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    กราบ กราบ กราบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1270197.JPG
      P1270197.JPG
      ขนาดไฟล์:
      241 KB
      เปิดดู:
      3,371
    • P1270199.JPG
      P1270199.JPG
      ขนาดไฟล์:
      418.2 KB
      เปิดดู:
      2,396
    • P1270203.JPG
      P1270203.JPG
      ขนาดไฟล์:
      236.9 KB
      เปิดดู:
      2,372
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  2. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    กราบ กราบ กราบ
    [​IMG]
    อืม...
    น้อยเป็นตางึด
    [​IMG]
    งามเป็นตางึด
    [​IMG]
    เฮ็ดได้เป็นตางึด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1270206.JPG
      P1270206.JPG
      ขนาดไฟล์:
      175.8 KB
      เปิดดู:
      2,379
    • P1270207.JPG
      P1270207.JPG
      ขนาดไฟล์:
      182.3 KB
      เปิดดู:
      1,907
    • P1270208.JPG
      P1270208.JPG
      ขนาดไฟล์:
      145 KB
      เปิดดู:
      1,915
    • P1270209.JPG
      P1270209.JPG
      ขนาดไฟล์:
      106.6 KB
      เปิดดู:
      1,920
    • P1270210.JPG
      P1270210.JPG
      ขนาดไฟล์:
      104.5 KB
      เปิดดู:
      1,873
    • P1270212.JPG
      P1270212.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.5 KB
      เปิดดู:
      1,946
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  3. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    สายๆวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ. 2555 : ตักบาตร,ถวายภัตตาหารเช้า
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1270215.JPG
      P1270215.JPG
      ขนาดไฟล์:
      218.1 KB
      เปิดดู:
      2,017
    • P1270216.JPG
      P1270216.JPG
      ขนาดไฟล์:
      151.4 KB
      เปิดดู:
      2,144
    • P1270217.JPG
      P1270217.JPG
      ขนาดไฟล์:
      162.5 KB
      เปิดดู:
      2,116
    • P1270218.JPG
      P1270218.JPG
      ขนาดไฟล์:
      180.7 KB
      เปิดดู:
      2,120
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  4. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    บ่ายวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ. 2555: ภาพส่งท้าย
    [​IMG]
    ภาพในนิมิตขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์...
    ประพุทธรูปทรงยืนประทานพร ขนาดใหญ่ ประดิษฐาน ณ ลานธรรมปฏิบัติธรรมข้ามปี
    ทรงหันพระพักตร์มาทางด้านทิศตะวันออก (ศาลาหลวงปู่ศรีสุทโธ)
    [​IMG]
    อนาคตอันใกล้ของศาลาปฏิบัติธรรมหลวงปู่ศรีสุทโธ...จักบูรณะใหม่ประมาณนี้
    [​IMG]
    ผมจึงขอบันทึกภาพไว้...เป็นครั้งสุดท้าย...
    [​IMG]
    [​IMG]
    ฝนตกเป็นต้องรั่วนองพื้นไปทั่ว เนื่องจากไม่ได้มีการวัดระดับ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1270219.JPG
      P1270219.JPG
      ขนาดไฟล์:
      106.7 KB
      เปิดดู:
      2,727
    • P1270220.JPG
      P1270220.JPG
      ขนาดไฟล์:
      100.7 KB
      เปิดดู:
      3,114
    • P1270221.JPG
      P1270221.JPG
      ขนาดไฟล์:
      177.8 KB
      เปิดดู:
      2,459
    • P1270223.JPG
      P1270223.JPG
      ขนาดไฟล์:
      170.2 KB
      เปิดดู:
      2,210
    • P1270224.JPG
      P1270224.JPG
      ขนาดไฟล์:
      189.2 KB
      เปิดดู:
      2,104
    • P1270225.JPG
      P1270225.JPG
      ขนาดไฟล์:
      194 KB
      เปิดดู:
      2,885
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  5. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    สรุปแถลงการณ์ขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ในการเปลี่ยนแผนโครงการสร้างศาลาปฏิบัติธรรมหลังใหม่ มาเป็น...
    1. การบูรณะศาลาปฏิบัติธรรมเดิม (หลวงปู่ศรีสุทโธ)
    2. ต่อเนื่องไปยังการบูรณะโรงครัวที่ใช้เป็นที่รับแขกขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ด้วย
    3. บูรณะกุฏิหลังเดิม เพื่อแยกการเก็บอัฐบริขาร
    เนื่องจาก
    1. องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านเห็นใจญาติโยมสามกลุ่มดังนี้...
    กลุ่มนรธ.ฝ่ายจัดหาทุนทรัพย์ : เนื่องจากเราจักไม่มีการเรี่ยไร ทำซอง หรือผ้าป่าเลย
    ณ ตอนนี้ทางวัดมีปัจจัยอยู่ในธนาคารประมาณ 7 แสนบาท
    แต่ญาติโยมต้องหาอีกตั้ง 8 แสนบาทในการสร้างศาลา ทำให้ท่านเห็นใจผู้ที่ต้องหาเช้ากินค่ำมากๆ
    กลุ่มคุณตาคุณยายทางภูดานไห : ที่ต้องหาเช้ากินค่ำอยู่
    และที่สำคัญคือคุณแม่ชม : ซึ่งเป็นเพียงคนเดียวที่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ไว้วางใจให้สนองงานต่างๆ
    แต่เนื่องจากคุณแม่ก็อายุก็มากแล้ว สมควรจักให้ท่านพักผ่อนภาวนาได้แล้ว
    2. หากย้ายมาบูรณะศาลาฯหลังนี้แทน ก็คงจะทำได้ไม่ยาก ใช้เงินทุนไม่มากและสามารถทำได้เลย
    3. อีกทั้งความสำคัญของโรงครัว ก็เหมือนหน้าบ้าน จึงสมควรบูรณะให้เร่งด่วนกว่าด้วยซ้ำไป
    4. ห้องน้ำก็ยังไม่เพียงพอต่อญาติโยม จึงน่าจะเพิ่มที่ด้านล่างด้วย
    5. โดยรวมๆแล้วที่ว่าข้างต้น สำคัญหมด หากรีบทำก็จักเสร็จกันไปตามลำดับ ภายในงบประมาณไม่น่าเกิน 8 แสนและสามารถใช้งานได้เลย
    6. หากไปสร้างศาลาฯหลังใหม่นั้น ก็จักใช้เวลานาน (ประมาณสองปี) ทั้งไม่มีคนคุมงาน
    7. ไปทำลายต้นข่อยดาน อายุนับสิบๆปี ซึ่งเรียกได้ว่า ข่อยดาน เป็นสัญลักษณ์ของภูดานไห

    ดังนั้นศาลาปฏิบัติของภูดานไห อันจักบูรณะเพื่อเป็นการแจกแจงธรรมะต่อญาติโยมขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์
    จึงไม่จำเป็นต้องหรูหรา ควรทำในสิ่งที่มีอยู่แล้วนี้ ให้ดี เหมาะสม สวยงาม อย่างพอเพียง ก็น่าจะเพียงพอครับ

    ปล:
    - สำหรับญาติโยมที่จักร่วมทำบุญมา...ก็เสมือนได้สร้างถาวรวัตถุให้เกิดมีครบทุกประการดังที่กล่าวมาข้างต้นครับ
    - สำหรับ นรธ. บางท่าน ที่ไม่ได้ไปร่วมงานฯ ผมจะจัดส่ง DVD รวบรวมธรรมะและรูปภาพส่งไปให้ท่านในวันพรุ่งนี้ วันจันทร์,อังคารน่าจะถึงมือทุกๆท่าน

    ขอให้เจริญในพระธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2012
  6. D-Crew

    D-Crew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2012
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +185
    สาธุ............................!!!
     
  7. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    สาธุ พระธรรมคู่ธรรมชาติ
     
  8. Indhus

    Indhus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +113

    สาธุ สาธุ สาธุ........
     
  9. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ขอบคุณครับท่านภู...
    องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ได้มอบหมายให้ผมส่ง file ที่ท่านบันทึกไว้วาระปีใหม่ส่งให้ท่าน...
    ผมได้รวบรวมมาหลาย version-ปัจจุบัน + รูปภาพที่พอจะจุได้ใน 1 แผ่น DVD

    จะจัดส่งให้ท่านภู ท่านศรุต ท่านสันติ ท่านนนต์(สายโคราชมารับกับท่านนนต์) ท่านนคร ในช่วงพักกลางวันนี้

    ขอให้ทุกท่านโปรดรับฟังถ้อยแถลงขององค์ท่าน อีกรอบนะครับ
    ปล: อัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระแน่นอน หึหึ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  10. Indhus

    Indhus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +113
    คือว่า....ผมเองก็อยากได้บ้าง จะมีโอกาสได้รับความกรุณาบ้างหรือเปล่าหนอ...แล้วมีสำเนาไว้ที่วัดภูดานไหนหรือเปล่าครับ
     
  11. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ไม่มีปัญหาครับ
    แต่คุณอ้านอยู่ใกล้ๆวัด โปรดขออนุญาตคุณแม่ชม เพื่อสำเนา file ก็น่าจะเป็นไปได้เด้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  12. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]
    ขอขอบคุณคุณโกศล...ผู้เป็นตากล้องครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  13. "นนต์"

    "นนต์" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +1,157
    พระพุทธรูปเสี่ยงทายบารมี


    พระเสี่ยงทายที่ศักดิ์สิทธิ์นั้นมีหลายแห่ง ต่างแสดงความมหัศจรรย์ในความหนักเบาขององค์พระต่างกันอย่างชัดเจน คือหนักก็หนักหน่วงจนยกไม่ขึ้น พอเบาก็เบาดังปุยนุ่น ความรู้สึกเช่นนี้ต่างเป็นปัตจัตตังที่รับรู้ด้วยตนเอง การเสี่ยงทายบารมีของพวกเราในครั้งนี้ เกิดขึ้นในอาคารหลังเล็กๆซึ่งเป็นที่เก็บส่วนยอดพระธาตุพนมองค์เก่า โดยมีผม(ดร.นนต์) ท่านแม่ชม ท่านสมบัติ คุณจ็อกกี้ คุณโกศล คุณน้าไก่ ลองอธิษฐานจิตเสี่ยงทายบารมีตามที่พ่อแม่ครูอาจารย์บอก หลังจากรับทราบแล้ว ผมได้อธิษฐานจิตเป็นคนแรก โดยมีพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านยืนดูอยู่ข้างหลัง การอธิษฐานจิตในครั้งนี้ ผมตั้งใจขออธิษฐานจิตเป็นสองขยัก คือขยักแรกขอผลแบบรวมๆ ขยักที่สองขอผลจากขยักแรกไปสู่ความปรารถนาสูงสุด โดยขอสรุปผลเป็นดังนี้


    ขยักแรก เมื่อผมกราบพระแล้วได้เอื้อมมือไปจับที่องค์พระ แล้วตั้งจิตอธิษฐานในครั้งแรกว่า...หากสำเร็จ...ขอให้พระมีน้ำหนักเบาจนสามารถยกได้ถึงศรีษะ ปรากฏว่าผมสามารถยกจังหวะเดียวขึ้นไปถึงหน้าผากได้ ครั้งที่สองผมอธิษฐานจิตในข้อเดิมแต่ให้ยกน้ำหนักกลับกันคือ หากสำเร็จขอให้องค์พระมีน้ำหนักมากและสามารถยกได้ไม่เกินหน้าอก ปรากฏว่าผมยกจังหวะเดียวแต่พระมีน้ำหนักมาก จึงสามารถยกขึ้นไปได้แค่ใต้ราวนมเท่านั้น ก็ต้องปล่อยวางท่านลง ... เป็นอันว่าข้อแรกนี้เป็นไปตามความปรารถนา


    ขยักที่สอง นี่สำคัญมาก แต่จิตใจของผมยังเป็นปรกติดีอยู่ ไม่ยินดียินร้ายหรือตื่นเต้นในผลที่ผ่านมา ทำจิตให้ใสสะอาด หลับตาเข้าสู่สภาวะความตั้งใจมั่น แล้วอธิษฐานจิตในวาระสำคัญนี้ว่า... หากข้าพระพุทธเจ้าจักสำเร็จ...ได้ ขอให้องค์พระมีน้ำหนักมาก ปรากฏว่า เมื่อผมยกพระขึ้นด้วยจังหวะเดียว พระนั้นกลายเป็นวัตถุที่มีน้ำหนักมากผมจึงสามารถยกสูงได้เพียงเล็กน้อย แต่ผมยังขอลองยกให้สูงขึ้นอีกหน่อยในจังหวะที่สอง เพื่อไม่ให้เกิดอุปาทาน แต่ก็สามารถยกได้สูงไม่เกินราวนมด้วยอาการหนักหน่วง ผมจึงวางลงที่เดิม หลังจากนั้น ผมทำสมาธิตั้งมั่นใหม่เพื่อขออธิษฐานจิตในข้อเดิม โดยขอให้ผลกลับกันคือ หากจักสำเร็จขอให้ข้าพระพุทธเจ้าสามารถยกองค์พระขึ้นเหนือศรีษะได้โดยง่ายดายคล้ายปุยนุ่น ปรากฏว่า ผมสามารถยกจังหวะเดียวเบาหวิวลอยขึ้นเหนือศรีษะจนสุดแขน... ความมหัศจรรย์เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาทุกคน... แต่ผมก็มิได้เอ่ยความในใจให้ใครทราบว่าผมอธิษฐานสิ่งใดไว้... เพราะการเสี่ยงทายนั้นจักไม่มีความหมาย หากเรานั่งรอนอนรอหรือมัวแต่เพ้อฝันไปตามคำทำนายนั้นๆ โดยมิได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและซื่อสัตย์ซื่อตรงต่อสิ่งที่เรามุ่งหมายอยู่... ความปราถนาของผมคงอยู่ในความรับรู้ของพระผู้อยู่สูงแล้ว... แต่ความเป็นจริงแท้แน่นอนนั้น มันเกินวิสสัยของผมครับ


    อนึ่ง ผมเฝ้าสังเกตและคอยอนุโมทนาบุญกับจิตอธิษฐานเสี่ยงทายบารมีของแต่ละคน ด้วยหัวจิตหัวใจที่บริสุทธิ์ คอยสาธุในอาการที่ได้พบเห็น ผมเห็นแม่ชมยกพระในครั้งแรกพระนั้นไม่ขยับเขยื้อน แต่พอครั้งที่สองท่านสามารถยกสูงขึ้นจนถึงใบหน้าได้ คนอื่นๆก็เช่นกัน แม้แต่ละคนจะไม่ได้เอ่ยอะไรออกมา แต่สีหน้าแววตาทุกคนต่างเปี่ยมไปด้วยปีติสุข ยิ่งมาได้รับฟังความในใจของท่านแม่ชมและท่านสมบัติในภายหลัง มันช่างตรงกับความรู้สึกที่ผมสัมผัสได้ตั้งแต่ครั้งแรกๆว่า ท่านใดปรารถนาสิ่งใดไว้ ผมเคยอธิษฐานจิตถามในใจตัวเองว่า ท่านใดบำเพ็ญเช่นใด ก็ได้รับคำตอบยืนยันดั่งที่ผมรู้ในใจนั้น ผมขออนุโมทนาในกระแสจิตอันมั่นคงดั่งพระอานนท์เถระเจ้าของท่านแม่ชม ที่ท่านปรารถนาประพฤติปฏิบัติจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และจะติดตามพระพุทธองค์พระองค์นั้นจนสิ้นสุดภาระกิจไปพร้อมกับพระพุทธองค์ ผมศรัทธาและขออนุโมทนาในกระแสจิตอันมั่นคงของท่านสมบัติ ในความปรารถนาเป็นพระอัครสาวกเจ้าและจะติดตามพระพุทธองค์พระองค์นั้นดั่งท่านแม่ชมเช่นกัน ความในใจทั้งหลายนี้ได้ถูกถ่ายทอดในราวเกือบตีสองของวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 ส่วนผมไม่ได้แสดงความในใจใดๆ จึงขอถือโอกาสนี้ แสดงความในใจหรือจิตอธิษฐานได้เพียงบางส่วน แต่หลายๆคนอาจสามารถคาดเดาได้ครับ


    ขอเจริญในธรรม
    ดร.นนต์
    10 กุมภาพันธ์ 2555



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN6249.jpg
      DSCN6249.jpg
      ขนาดไฟล์:
      357.9 KB
      เปิดดู:
      1,578
    • DSCN6245.jpg
      DSCN6245.jpg
      ขนาดไฟล์:
      543.6 KB
      เปิดดู:
      2,713
    • DSCN6237.jpg
      DSCN6237.jpg
      ขนาดไฟล์:
      346.4 KB
      เปิดดู:
      1,535
    • DSCN6241.jpg
      DSCN6241.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380 KB
      เปิดดู:
      1,539
    • DSCN6243.jpg
      DSCN6243.jpg
      ขนาดไฟล์:
      348.2 KB
      เปิดดู:
      1,543
    • DSCN6304.jpg
      DSCN6304.jpg
      ขนาดไฟล์:
      448.4 KB
      เปิดดู:
      1,378
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  14. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    16 คำทำนายของพระพุทธเจ้า ชี้ชะตามนุษย์โลก
    <!-- Main -->[​IMG]

    สุดอัศจรรย์...16 คำทำนายของพระพุทธเจ้า ชี้ชะตามนุษย์โลก

    ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ความเจริญทางด้านวัตถุ ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นที่น่าฉงนว่า ทำไมคนในโลกกลับมีความสุขน้อยลง และดูเหมือนว่าปัญหาในการดำรงชีวิต กลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาทางด้านศีลธรรม จริยธรรมอันเป็นความเจริญทางด้านจิตใจ ดูจะเป็นสมการผกผัน กับความเจริญทางด้านวัตถุอย่างน่าเป็นห่วง ทุกวันนี้ หากเราฟังข่าวคราวไม่ว่าในประเทศไทย หรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ล้วนแล้วแต่มีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยอันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง

    หลายๆ สิ่งเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ก็สามารถนำมาใช้คาดการณ์ล่วงหน้าและรับมือได้ทัน แต่ก็มีไม่น้อย ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังไปไม่ถึง แต่หากจะบอกว่าสภาพการณ์หลายๆ อย่างที่อุบัติขึ้นในสมัยปัจจุบัน เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า ได้ทำนายล่วงหน้ามาแล้วกว่า 2500 ปี

    หลายๆ คนอาจจะยังไม่เชื่อ หรือไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่อง “พุทธทำนาย” อันปรากฏอยู่ในอรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินนิมิตชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงสมัยที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำนายพระสุบิน (ความฝัน) ให้พระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ว่ามีความหมายอย่างไร ดังนี้

    วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองกรุงสาวัตถี ได้เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ครั้นล่วงปัจฉิมยามใกล้รุ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง ถึง 16 ประการ อันเป็นพระสุบินที่แปลกประหลาด จึงทรงตกพระทัยตื่นบรรทม และครั้นรุ่งเช้า ก็ได้ให้พวกพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักทำนาย พวกพราหมณ์ปุโรหิต ก็พากันทำนายว่าเป็นพระสุบินที่ร้าย และว่าพระองค์จะต้องประสบภัยอันตราย 3 ประการ ไม่เสียราชทรัพย์ ก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือไม่ก็ต้องสวรรคต อย่างใดอย่างหนึ่ง และแนะให้พระองค์ทำพิธีบูชายัญสัตว์ เพื่อสะเดาะเคราะห์ เมื่อพระนางมัลลิกา พระมเหสีทราบเรื่องเข้า จึงทูลให้ไปขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า

    ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ทรงทำนายว่า เหตุร้ายนั้นจะมีแน่นอน เพียงแต่มิใช่เกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือแว่นแคว้นของพระองค์ แต่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดแก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระพุทธองค์ในภายภาคหน้า เมื่อล่วงเลยพุทธกาลไปแล้ว 2500 ปี เมื่อศาสนาเสื่อมลง (กล่าวกันว่า อายุพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดม ยืนยาวเพียง 5,000 ปี หลังจากนั้น ต้องรอยุคของพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปเสด็จมาโปรดสัตว์)

    ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล และคำทำนายของพระพุทธเจ้าทั้ง 16 ประการ ประกอบด้วย

    [​IMG]
    1. ทรงฝันว่า “มีโค 4 ตัว วิ่งมาจากทิศทั้ง 4 ตรงดิ่งเข้าหากัน มีอาการเกรี้ยวกราด คำรนคำรามประหนึ่งว่าจะชนกัน ผู้คนแตกตื่นพากันมามุงดูด้วยหมายใจว่า จะได้ชมโคชนกัน แต่แล้วโคทั้ง 4 ตัวนั้นหาได้ชนกันไม่ ต่างก็ผละหนีถอยห่างออกจากกันไป”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาลเบื้องหน้า ในชั่วศาสนาของพระองค์ เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดที่เสื่อมลง ผู้ปกครองประเทศ ผู้บริหารบ้านเมือง และประชาชนทั่วไปไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ต่างพากันล่วงละเมิดหลักศีลธรรม ทำให้สังคมโดยรวมมีแต่ความวิปริตเสื่อมทราม มีแต่ความเห็นแก่ตัว คอยชิงดีชิงเด่น มือใครยาวสาวได้สาวเอาไม่มีที่สิ้นสุด อาศัยเหตุนี้ฝนฟ้าจักแล้ง พืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ จะไม่อุดมสมบูรณ์ จะเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ปวงประชาอาณาราษฎร์ต้องอดอยากยากแค้นกันโดยถ้วนทั่ว ในบางคราวมีเมฆตั้งเค้าขึ้นเป็นเหมือนฝนจะตก แต่ก็หาได้ตกไม่ ตั้งเค้าลอยมาจากทิศทั้ง 4 สายฟ้าฟาดดังกัมปนาทหวั่นไหวไปทั่วพื้นปฐพี แต่แล้วเมฆฝนที่คะนองก้องฟ้า พาให้ชาวประชาดีใจก็ไม่ตก กลับเหือดหายไปเสียจนหมดสิ้น มีอุปมาเหมือนโคดำที่วิ่งเข้าหากัน ทำท่าว่าจะชนกัน แล้วหาได้ชนกันไม่ ฉะนั้น”

    [​IMG]
    2. ทรงฝันว่า “ต้นไม้ต้นเล็กๆ ที่เพิ่งจะโผล่ขึ้นพ้นจากดินไม่นาน ได้แค่คืบหนึ่งบ้าง และแค่ศอกหนึ่งบ้างเท่านั้น ก็ผลิดอกออกผลไปตามๆ กัน เหมือนไม้ใหญ่ ฉะนั้น”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ต่อไปเมื่อโลกเสื่อม มนุษย์แม้จะมีอายุเยาว์ มีวัยยังไม่สมบูรณ์ก็จะมีราคะกล้า และสมสู่กันตั้งแต่อายุยังน้อย และจะมีลูกแต่เด็กๆ เหมือนต้นไม้เล็กๆ แต่ก็มีผลแล้ว”

    [​IMG]
    3. ทรงฝันว่า “ทรงเห็นแม่โคใหญ่ กลับอ้อนวอนขอดื่มนมของลูกโคที่เพิ่งเกิด”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ต่อไปในอนาคต การเคารพนบนอบผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์จะเสื่อมถอย คนเฒ่าคนแก่พ่อแม่เมื่อหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนไม่ได้ ก็ต้องง้อ ต้องประจบลูกๆ ดังที่แม่โคที่ต้องกินนมลูกโค ฉะนั้น”

    [​IMG]
    4. ทรงฝันว่า “ผู้คนไม่ใช้วัวตัวใหญ่ ที่สมบูรณ์แข็งแรงเทียมแอกลากเกวียน กลับไปใช้โครุ่นๆ ที่ยังปราศจากกำลังมาลาก เมื่อมันลากเกวียนให้แล่นไม่ได้ มันก็สลัดแอกนั้นเสีย”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในภายหน้าเมื่อผู้มีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม จะได้คนอันธพาลสันดานหยาบ หรือมอบหมายให้พวกที่ไร้มนุษยธรรมปกครองบ้านเมือง แทนที่จะยกย่องและมอบหมายหน้าที่ ให้กับผู้มีสติปัญญาความรู้ กลับไปมอบยศศักดิ์ให้กับคนหนุ่มที่อ่อนหัด ด้อยประสบการณ์ ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดี กิจการต่างๆ ก็ไม่สำเร็จ ทำให้ประชาอาณาราษฎร์เดือดร้อนทุกหัวระแหง ขาดความเป็นธรรม เบียดเบียนประชาชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทุจริตคอรัปชั่น บริหารบ้านเมืองโดยวู่วาม ขาดคุณธรรม ไม่รู้สึกสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ รับแต่สินบาทคาดสินบน จนผู้คนทั่วทั้งแผ่นดินลำบากใจ ก็เหมือนใช้โครุ่นมาเทียมแอก เกวียนก็แล่นไม่ได้ฉันใด ก็ฉันนั้น”

    [​IMG]
    5. ทรงฝันว่า “เห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองปาก มองเห็นหญ้าที่คนเลี้ยงนำมาให้ ถึงกับปากอ้าน้ำตาไหลเพราะความหิวโหย คนเลี้ยงม้าสองคนยืนยื่นหญ้าส่งป้อนให้พร้อมๆ กันแทบไม่ทัน กินไม่รู้จักอิ่มจนน่าอ่อนใจ”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาลเบื้องหน้า ผู้รับผิดชอบตัดสินคดีความของราษฎร ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในศาลต่างๆ จะคิดคบร่วมกันเบียดเบียนประชาชนทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย โดยกินสินบนทั้งสองฝ่าย แม้นได้สินบนฝ่ายใดมาก ก็จะตัดสินให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้ชนะความ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หรือไม่จำเป็นต้องสืบค้นหาความถูกต้องเลย แม้จะรู้โดยแน่ชัดว่าใครผิด แต่ก็แสร้งปรับเปลี่ยนสำนวนคำฟ้องให้เป็นผู้บริสุทธิ์ได้ ทำให้คนที่ไม่ได้ทำความผิด ต้องถูกลงโทษจองจำอย่างไร้มนุษยธรรม และในระหว่างการดำเนินคดีก็แสร้งถ่วงเวลาให้ยาวออกไป พร้อมกับเรียกร้องเอาสินบนจากทั้งสองฝ่าย ดังม้าที่กินหญ้าทั้งสองปาก ฉะนั้น”

    [​IMG]
    6. ทรงฝันว่า “ฝูงชนเอาถาดทองคำราคาแพง ไปให้หมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง พร้อมเชื้อเชิญให้หมาจิ้งจอกตัวนั้น ถ่ายปัสสาวะใส่ถาดทองนั้น”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ต่อไปคนดีมีสกุลทั้งหลายจะสิ้นอำนาจวาสนา คนตระกูลต่ำ หรือคนพาลจะได้เป็นใหญ่เป็นโต และคนมีตระกูล ก็จะต้องยกลูกสาว ให้แก่ผู้ไร้ตระกูลเหล่านั้น เหมือนเอาถาดทองไปรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก ฉะนั้น”

    [​IMG]
    7.ทรงฝันว่า “มีบุรุษหนึ่งนั่งฟั่นเชือกหนัง นั่งอยู่บนตั่ง ปลายเชือกที่ฟั่นแล้วข้างหนึ่งห้อยย้อยหย่อนไปในที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่ง นอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั้นนั่งอยู่ แล้วก็กัดกินเชือกนั้น โดยที่เขาไม่รู้ตัว ฟั่นได้ยาวเท่าไรก็กัดกินสิ้น ยิ่งฟั่นยิ่งสั้น ไม่มีโอกาสหย่อนยานพาดถึงพื้นดินได้เลย”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในกาลข้างหน้า ผู้หญิงจะเหลาะแหละ โลเล ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว เที่ยวเตร่ ประพฤติทุศีล แล้วก็จะเอาทรัพย์ที่สามีหาได้ด้วยความลำบากไปใช้ หรือให้ชายชู้ เหมือนนางหมาจิ้งจอกโซที่นอนใต้ตั่ง คอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่น และหย่อนลงไว้ใกล้เท้า ฉะนั้น”

    [​IMG]
    8. ทรงฝันว่า “มีตุ่มน้ำใบใหญ่มีน้ำเต็มใบหนึ่งตั้งอยู่ที่ประตูเมือง และมีตุ่มใบเล็กๆ จำนวนมากตั้งเรียงรายอยู่รอบๆ ตุ่มใบใหญ่นั้น ประชาชนทุกหมู่เหล่าตักน้ำมาจากทิศทางต่างๆ แล้ว เทใส่ตุ่มใบใหญ่ที่มีน้ำเต็มอยู่นั้น จนน้ำไหลล้นแล้วล้นอีก เจิ่งนองไปทั่วบริเวณนั้น หามีใครสักคนที่จะสนใจตุ่มน้ำใบเล็กที่ว่างเปล่าใบอื่นๆ เลย”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาลเบื้องหน้า คนเป็นใหญ่หรือมีอำนาจ จะเบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า คนที่รวยอยู่แล้วก็จะมีคนจนหารายได้ไปส่งเสริมให้รวยยิ่งขึ้น ดังฝูงชนที่ต้องตักน้ำใส่ตุ่มใหญ่ที่เต็มอยู่แล้วจนล้น ส่วนตุ่มที่ว่างอยู่กลับไม่ไปใส่น้ำ”

    [​IMG]
    9. ทรงฝันว่า “เห็นสระแห่งหนึ่ง มีบัวนานาชนิดขึ้นอยู่เต็ม และมีท่าขึ้นลงโดยรอบ สัตว์ต่างๆ ก็พากันดื่มน้ำในสระ แต่แทนที่น้ำบริเวณที่สัตว์เหยียบย่ำจะขุ่น กลับใสสะอาด ส่วนน้ำที่อยู่ตรงกลางสระที่สัตว์ไม่ไปดื่มหรือเหยียบย่ำ แทนที่จะใส กลับขุ่นมัว”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาลเบื้องหน้า เมื่อคนมีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม ขาดเมตตา คอยใช้อำนาจรีดนาทาเร้นหรือกินสินบน ชาวบ้านชาวเมืองก็จะหนีเข้าป่า ไปอาศัยอยู่อย่างอิสระไม่ขึ้นกับทางการ รวมกลุ่มกันอยู่อย่างปกติสุข เหมือนน้ำรอบๆ สระที่ใส ส่วนเมืองหลวงกลับว่างเปล่า เหมือนน้ำกลางสระที่ขุ่น ฉะนั้น”

    [​IMG]
    10. ทรงฝันว่า “ทรงเห็นข้าวที่คนหุงในหม้อใบเดียวกัน สุกไม่เท่ากัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ข้าวแฉะ ข้าวดิบ และข้าวสุกดี”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาลภายภาคหน้า ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามที่เคยปฏิบัติกันมาแต่โบราณ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้คนจะคลายความศรัทธา หมดความเชื่อถือ ยกเลิกไปทีละอย่างสองอย่าง จนไม่หลงเหลือประเพณีเดิมเอาไว้ การไหว้เจ้าบวงสรวงเทพาอารักษ์จะไม่เหลืออยู่ ผู้คนจะมีจิตใจแข็งกระด้างหยาบคาย ขาดศีลธรรม ขาดความจริงใจต่อกัน ไม่มีมิตรภาพต่อกัน เพียงเสแสร้งพูดจากันเพราะความจำเป็น สวมหน้ากากเข้าหากันไปวันๆ เท่านั้น ลับหลังก็คอยหาโอกาสฆ่าฟันกัน ผู้คนจะเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่แปลกๆ ซึ่งหมอไม่สามารถหายารักษาได้ ฤดูกาลก็จะเปลี่ยนแปลง จากที่เคยมีฝนตกต้องตามฤดูกาล ก็จักขาดหายไปกลายเป็นหน้าแล้ง ฤดูหนาวก็จะกลายเป็นหน้าร้อน ทำให้การเพาะปลูกบางแห่งได้ผล บางแห่งก็ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับข้าวที่มีสุกบ้าง ดิบบ้าง และแฉะบ้าง”

    11. ทรงฝันว่า “คนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า (อ่านว่า เปฺรียง มี 3 ความหมาย คือ 1. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน 2.น้ำมันจากไขข้อวัว และ 3.เถาวัลย์เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์ที่เป็นไม้เหมือนกันมากกว่า 2 ความหมายแรก)”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาล ภายภาคหน้า พระสงฆ์ทั้งสิ้น จักนำเอาพระธรรมหลักคำสอนไปเร่ขายแลกกับเงินทองมาเพื่อประทังชีวิต โดยไม่รู้สึกอดสู ละอายต่อบาปแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยังประพฤติตนนอกลู่นอกทางผิดหลักธรรมวินัย คล้ายกับสอนเขาอย่างหนึ่ง และประพฤติตนอีกอย่างหนึ่ง ทำตัวให้แปดเปื้อนมลทิน”

    บางตำราว่า “พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่จะนำธรรมะที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่นจันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วยให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้)”

    [​IMG]
    12. ทรงฝันว่า “ทรงเห็นน้ำเต้าแห้งแต่กลับจมน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นไปได้ยาก แปลกประหลาดและไม่เคยมีปรากฏ แต่กลับเกิดมีปรากฏเป็นไปได้ ประจักษ์แก่สายตาในพระสุบินของพระองค์”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาลภายหน้า คนและสัตว์จะพบกับความหายนะ ถึงความวิบัติ เพราะเภทภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้รู้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจักตกอับ หมดอำนาจ ขาดที่พึ่ง สูญเสียอิสรภาพ คนกักขฬะ นิสัยพาลสันดานหยาบ อันธพาลเกเร จะได้โอกาสปกครองบ้านเมือง มีอำนาจบารมีข่มขี่คนดีมีศีลธรรมคุณธรรมภายในจิตใจ ทำให้เจ้าขุนมูลนายเชื้อเจ้าพระวงศ์จะถึงความอัปยศอดสู ไร้ที่อยู่ถิ่นฐาน ส่วนชนพาลจะสำราญรื่นเริงบันเทิงทั่วหน้า เจรจานอกลู่นอกทางผิดหลักศีลธรรม คนซื่อเอาตัวไม่รอดจักลำบากขัดสน คนตลบตะแลงปลิ้นปล้อนหลอกลวงไปวันๆ สามารถอยู่ในสังคมได้เป็นปกติสุข คำพูดของคนที่ไม่ควรจะได้รับความเชื่อถือ กลับจะได้รับความเชื่อถือ โดยเปรียบถ้อยคำของคนที่ไม่น่าเชื่อว่ามีน้ำหนักเบาเหมือนกับผลน้ำเต้า ซึ่งปกติจะลอยน้ำ แต่เมื่อคนเชื่อว่าคำพูดเหล่านั้นมีน้ำหนักหรือหนักแน่น จึงเปรียบคำพูดนั้นว่ามีน้ำหนัก ราวกับน้ำเต้าที่จมน้ำได้ ฉะนั้น”

    [​IMG]
    13. ทรงฝันว่า “ทรงเห็นศิลาแท่งทึบขนาดเท่าเรือน ซึ่งหนักแสนหนัก แต่กลับลอยน้ำได้เหมือนเรือ ดูประหลาดยิ่งนัก”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาลภายภาคหน้า คนอันธพาลสันดานหยาบ จะได้รับการยกย่องอุปถัมภ์ค้ำชู ยกย่องให้มีอำนาจวาสนาสูงส่ง มีบารมี เป็นผู้ทรงอิทธิพล คอยเหยียบย่ำเบียดเบียนคนดีมีศีลธรรมให้ได้รับความอัปยศอดสู พวกชนพาลกลับได้ใจทำอะไรตามใจตัวเอง ผู้ที่มีคุณธรรม แม้ในฝ่ายศาสนา พระสงฆ์ที่ทรงศีล ประพฤติดีปฏิบัติชอบ จักไม่ได้รับการยอมรับ ถ้อยคำของคนที่ควรได้รับการเชื่อถือ ซึ่งหนักแน่น มีน้ำหนักเปรียบประดุจแท่งศิลา กลับไม่ได้รับความเชื่อถือ หรือกลายเป็นถ้อยคำที่ไม่มีน้ำหนักเหมือนเรือที่ลอยได้ ข้อนี้ตรงกันข้ามกับข้อที่แล้ว คือ คนหันไปเชื่อคำพูดคนที่ไม่ควรเชื่อ เหมือนสิ่งที่ควรลอยกลับจม สิ่งที่ควรจมกลับลอย เปรียบเสมือนหินใหญ่ที่ลอยน้ำได้ ฉะนั้น”

    [​IMG]
    14. ทรงฝันว่า “ทรงเห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ เมื่อทันก็ขบกัดให้ขาดเป็นท่อนๆ เหมือนคนเด็ดก้านบัว แล้วก็กลืนกินอวัยวะต่างๆ ของงูนั้นเสียจนหมดสิ้น”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาล มนุษย์ทั้งหลายจักมีราคะกล้า เผลอไผลปล่อยใจไปตามอำนาจกิเลสตัณหา สามีตกอยู่ในอำนาจแห่งภรรยาสาว สมบัติทุกอย่างตกอยู่ในอำนาจภรรยาฝ่ายเดียว หญิงพาลจักฮึกเหิมกำเริบเสิบสานระรานทำความรำคาญใจให้สามี จะข่มขี่ห่มเหง วางอำนาจให้สามีเกรงกลัว จะใช้สามีทำงานหนักเยี่ยงทาสกรรมกร สามีถนอมน้ำใจไม่แสดงความก้าวร้าวดุดันให้ปรากฏกลับยิ่งได้ใจกดขี่ทวีคูณ และภรรยาจะจัดการทุกอย่างตามอำเภอใจ ตะคอกคุกคามสามีด้วยคำพูดหยาบคายต่างๆ ทำกับสามีเหมือนทำกับทาสรับใช้ อุปมาเหมือนฝูงกบเขียดกัดกินงูเห่า ฉะนั้น”

    [​IMG]
    15. ทรงฝันว่า “พญาหงส์ทอง ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง แต่กลับยอมมอบตนเข้าเป็นพวก เคารพนบนอบให้เหล่ากาเป็นนาย เพื่อจะได้พรรคพวกเป็นกา น่าสงสาร”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาล พระราชาหรือผู้ปกครองที่อ่อนแอ ขาดความรู้ความสามารถ ไม่รู้จักเลือกคนดีมีตระกูลมาปกครองบ้านเมือง จักเลือกเอาแต่คนเขลาชาติพาลสันดานหยาบ ไม่มีธรรมะ ไร้ความสามารถด้วยประการทั้งปวง แต่อยู่ใกล้ชิดรับใช้ใกล้เท้า ให้ทำงานบริหารชาติบ้านเมืองแทน ทำให้เหล่าคนดีต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนชั่ว พวกตระกูลใหญ่ๆ จะมีอิทธิพลสบคบกับพวกคนพาลสันดานหยาบช้า คอยราวีข่มเหงผู้รู้นักปราชญ์ราชบัณฑิตและมีคุณธรรมจนลำบาก คนเลวจะได้ดีมีอำนาจขาดยางอายไร้ศีลธรรม ทำให้นักปราชญ์พลอยเกรงกลัว จึงเข้าร่วมเป็นพวก เหมือนหงส์แวดล้อมเป็นบริวารของกา ฉะนั้น”

    [​IMG]
    16. ทรงฝันว่า “ฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง และกัดกิน ทำให้เสืออื่นๆ สะดุ้งกลัว จนต้องหนีไปแอบซ่อนตัวจากฝูงแกะ”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ต่อไปภายหน้า คนชั่ว หรือคนที่ไม่ดีจะเรืองอำนาจ และใช้อำนาจไม่เป็นธรรม ทำให้คนดีถูกทำร้าย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ต้องหลบหนี ซ่อนตัวจากภัยร้ายเหล่านี้ เหมือนเสือซ่อนตัวจากแกะ”

    บางตำราว่า ทรงฝันว่า “เนื้อสมันวิ่งไล่ล่าเสือโคร่ง โดยวิ่งไล่ตามมาติดๆ เมื่อไล่ทันแล้วก็รุมกัดกินเสือตัวนั้นทันที ทำให้สัตว์ร้ายอื่นๆ หวาดกลัว พากันวิ่งหนีหลบเข้าป่าไป เพื่อให้รอดจากฝูงสมันร้าย ดูน่าฉงนยิ่งนัก”

    - : พระพุทธองค์ได้ทรงทำนายว่า “ในอนาคตกาล บรรดาสานุศิษย์ได้รับการศึกษาเล่าเรียน ประสิทธิ์ประสาทความรู้จากครูบาอาจารย์จนเชี่ยวชาญ แล้วเกิดความคิดอัปมงคล คิดเนรคุณลบล้างครูอาจารย์ ขาดความเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ ใช้ทั้งคำพูดและการกระทำย่ำยีน้ำใจผู้ใหญ่ให้เจ็บช้ำ อวดอ้างความเก่งกล้าสามารถ ยกตนข่มท่าน วางสันดานหยาบคายยิ่งนัก”
    ...........................

    เมื่อพิจารณาความฝัน จะเห็นว่าหลายข้อในความฝัน เป็นสิ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ เช่น แม่โคกินนมลูกโค ม้าสองปาก เขียดกินงู และแกะกินเสือ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีนัยอันไปสู่พุทธทำนายทั้งสิ้น

    หลายคนอาจจะสงสัยว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ในสมัยพุทธกาล ทำไมฝันได้ไกลไปถึงอนาคต อันไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์ได้ถึงเพียงนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าคงเป็นเพราะเทวดาดลใจ ให้พระองค์ฝันแปลกประหลาด เพื่อพระบรมศาสดาจะได้ฝาก “พุทธทำนาย” เป็นคำพยากรณ์อันอมตะไว้ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้มนุษย์โลกได้ตระหนัก และระมัดระวังภัยพิบัตินานัปการ ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า หลังจากที่พระพุทธองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพราะคงเล็งเห็นด้วยญาณวิเศษแล้วว่า นับวันคนเราก็จะห่างไกลจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ จนเป็นเหตุให้มนุษย์มุ่งทำลาย เอารัดเอาเปรียบทั้งเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อกอบโกยไปบำรุงบำเรอกิเลสแห่งตน โดยขาดความรัก ความเมตตาต่อกัน จึงทำให้คนเห็นแก่ตัว และมีผลให้สภาพแวดล้อม ธรรมชาติแปรปรวนไปหมด

    ในปัจจุบัน เหตุการณ์หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง อันทำให้เพาะปลูกได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ปัญหาเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม เช่น เด็กและเยาวชนแก่แดดขึ้น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยเพิ่มขึ้น ลูกขาดความกตัญญู และความเคารพยำเกรงต่อพ่อแม่ อลัชชีหรือพระทุศีลมีมากขึ้น ชายแก่ตกอยู่ในอำนาจเมียเด็ก หรือปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เช่น คนขาดความรู้ประสบการณ์ ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองบ้านเมืองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้มีอำนาจรับสินบน ก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป คนรวยยิ่งรวยเพราะมีช่องทาง และโอกาสเอาเปรียบคนจน เหมือนตุ่มใหญ่ที่คนตักน้ำไปใส่จนเต็มแล้วเต็มอีก แล้วปล่อยตุ่มเล็กให้ว่างเปล่า ตัวอย่างเหล่านี้ ล้วนไม่พ้นคำพยากรณ์ที่ทรงทำนาย บอกแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตของสมัยโน้น ก็คือ สมัยนี้ หรือปัจจุบันนั่นเอง.

    อย่างไรก็ดี ก็ยังมีพุทธทำนาย เพิ่มเติมที่มีผู้ถอดความจากศิลาจารึก เชตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย ความว่า

    พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า “....เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้น จะพบกับความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนเวียนไปใกล้ความแตกทำลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ คนในสมัยนั้น (ปัจจุบัน) จะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ

    ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย และคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎธรรมชาติไม่พ้น...

    ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จ ไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติชอบ กลับไม่มีคนเคารพยำเกรง

    พระธรรมจะเริ่มเปล่งแสงรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่งเมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ จะเสด็จมาเสริมสร้างพระศาสนา ของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปอีก 5,000 พระวรรษา…

    คำทำนายของตถาคตนี้ ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับเป็นกรรมของสัตว์โลกที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติ ให้รักษาศีลห้าประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษ รู้จักพอ ไม่หลงมัวเมาในอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคง จึงจะพ้นอันตรายในยุคกึ่งพุทธกาล”

    นี่คือพุทธทำนายที่ทรงตรัสไว้ กว่า 2500 ปีล่วงมาแล้ว ส่วนใครจะเชื่อ จะปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็คงเป็นไปตามกรรมของแต่ละคน ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้.

    ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
    และข้อมูลจากหนังสือ พุทธทำนาย เรียบเรียงโดย อ.สุภาพ หอมจิตร
     
  15. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ความเป็นไปของโลก
    <!-- Main -->[​IMG]

    ในสมัยต้นกัป มนุษย์ทั้งหลายมีอายุขัยถึงอสงไขยปีทั้งสิ้น หมายความว่านับประมาณอายุกันแทบไม่ได้ นั่นเป็นเพราะจิตใจของคนในสมัยนั้นมีกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ น้อยและเบาบางมาก ถึงแม้จะมีก็เป็นกิเลสอย่างละเอียด ไม่ใช่ชนิดหยาบที่ปรากฏออกมาเป็นทุจริต จิตใจจึงมีกุศลเจตนาเกิดอยู่มาก เมื่อมนุษย์เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุตุ (ดินฟ้าอากาศ) และอาหารที่เป็นเครื่องอาศัยของมนุษย์จึงสมบูรณ์ดี ไม่มีขาดตกบกพร่อง จึงเป็นเหตุให้มนุษย์มีอายุยืนอยู่ได้ถึงอสงไขยปี

    ครั้นต่อมาเหล่ามนุษย์มีอกุศลจิตขึ้นในสันดานเพิ่มขึ้น ๆ อำนาจของอกุศลทำให้อุตุ (ดินฟ้าอากาศ) และอาหารต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม กล่าวคือ เมื่อหนาวก็หนาวเกินควร เมื่อร้อนก็ร้อนเกินควร ฤดูฝนก็ตกผิดปกติมากไปบ้างน้อยไปบ้าง คุณค่าที่มีอยู่ในอาหาร (โอชารส) ลดน้อยลง สิ่งเหล่านี้กระทบกระเทือนทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เสื่อมถอยลง เป็นเหตุให้มีอายุขัยลดลงเรื่อย ๆ ตาม ลำดับ เพราะมีกิเลสเพิ่มขึ้นไม่สิ้นสุด และจะลดลงจนกระทั่งมีอายุขัยเหลืออยู่เพียง ๑๐ ปี

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสุตตันตมหาวรรคว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดมีอายุยืน ผู้นั้นย่อมมีอายุถึง ๑๐๐ ปี และบางคนก็เกินกว่า ๑๐๐ ปี ไปเล็กน้อยก็เป็นได้ แต่ไม่ถึง ๒๐๐ ปี”

    ในสมัยพุทธกาลเรานี้ อายุขัยของมนุษย์ในโลกเรามีกำหนด ๑๐๐ ปี และถือกันว่า อายุขัยจะลดลง ๑ ปี ทุก ๆ ระยะ ๑๐๐ ปี ขณะนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงไปแล้ว ๒,๕๐๐ ปีเศษ อายุขัยจึงลดลงประมาณ ๒๕ ปี ยุคปัจจุบันมนุษย์โลกเราจึงน่าจะมีอายุขัยประมาณ ๗๕ ปี ถ้าจะมีผู้ใดอายุยืนกว่านั้นได้ก็คงไม่เกิน ๒ เท่า

    ในเวลาใกล้พุทธศักราชที่ ๕,๐๐๐ ขององค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราองค์ปัจจุบันนี้ พระศาสนาจะค่อย ๆ เสื่อมลงไปในที่สุด ตอนช่วงปลายของพระพุทธศาสนา พระสงฆ์องค์เจ้าก็จะพากันร่อยหรอและหดหายลงไป จนกระทั่งถึงวาระเวลาที่พระพุทธศาสนาเสื่อมลงไปจนหมดสิ้นพอดี ๕,๐๐๐ ปี ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพระพุทธฎีกากำหนดระยะเวลาเอาไว้

    เมื่อสิ้นศาสนาแห่งพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าไปแล้ว ในกาลนั้นหมู่สัตว์ทั้งหลายก็จะพากันมืดมนนัก ไม่มีการทำบุญสร้างกุศลใด ๆ แม้คำว่าบุญหรือกุศลก็ไม่มีใครรู้จัก มีแต่อกุศลกรรมบถ ๑๐ ครอบงำสันดานของสัตว์ทั้งหลาย พากันทำบาปหยาบช้าทารุณ ปราศจาก หิริ โอตตัปปะ ผู้คนมีความเป็นอยู่เช่นเดียวกับสัตว์เดรัจฉาน ลูกกับพ่อแม่ก็จะอยู่กินเป็นสามีภรรยากัน พี่สาวน้องชาย พี่ชายน้องหญิง ตลอดถึงพี่ป้าน้าอา ลุงกับหลาน ต่างก็พากันสมัครสังวาสอยู่ด้วยกัน กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ ของหมู่สรรพสัตว์ก็จะหนาแน่นขึ้นทุกเวลา อายุขัยก็จะลดน้อยถอยลงไป

    จนกระทั่ง ประมาณพุทธศักราชที่ ๙,๐๐๐ อายุขัยของมนุษย์จะลดลงจนเหลือ ๑๐ ปี อาหารทั้งปวงที่มีรสชาติดีจะหมดไป อาหารที่เป็นข้าวสำหรับนกกินในยุคนี้ จะกลายเป็นอาหารอันประเสริฐในยุคนั้น เด็กหญิงเกิดมาอายุได้ ๕ ปี จะมีสามีและบุตรได้

    [​IMG]

    ในยุคนั้นมนุษย์ทั้งหลายมีความอาฆาตเบียดเบียนกันยิ่งนัก เข่นฆ่ากันเองได้หมดทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นญาติมิตรสนิทสนมกันเพียงใด ไม่รู้จักความเมตตาปราณี เป็นเวลาที่ในสันดานสัตว์เต็มไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ

    ในเวลาดังนี้ มหาภัย ๓ อย่างจะบังเกิดขึ้นคือ
    ๑. ทุพภิกขันตรกัป ความอดอยากยากแค้น
    ๒. สัตถันตรกัป รบราฆ่าฟันกัน
    ๓. โรคันตรกัป โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายเบียดเบียน

    โดยเฉพาะในสมัยอายุขัยมนุษย์เพียง ๑๐ ปีนั้น ผู้คนปรากฏมีโทสะกล้าแข็งที่สุด สัตถันตรกัปย่อมบังเกิดขึ้น เกิดรบพุ่งฆ่าฟันซึ่งกันและกันเป็นโกลาหล จับสิ่งของใดได้แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าก็จะถูกใช้เป็นอาวุธไปจนสิ้น มนุษย์ในโลกจะพากันล้มตายนับประมาณมิได้ สัตถันตรกัปบังเกิดขึ้นเป็นเวลา ๗ วัน เป็นไปทั่วทุกแห่งหน ส่วนผู้พอมีปัญญาอยู่บ้าง จะหาเสบียงจนพอเพียง ๗ วัน หลบหนีซ่อนตัวอยู่ตามห้วยหุบเขาที่ห่างไกล จนรอดพ้นจากภัยอันตรายนั้น

    [​IMG]

    ในระหว่าง ๗ วันที่ผู้คนทำการเข่นฆ่ากันอยู่ พื้นแผ่นดินทั้งสิ้นนองไปด้วยโลหิต ซากศพเกลื่อนกลาดน่ากลัว

    เมื่อพ้น ๗ วันไปแล้วสงบสงัดจากเสียงการสู้รบ คนทั้งหลายที่หนีไปซ่อนเร้นจึงพากันออกมา เมื่อเห็นกันเข้าเกิดความสังเวชสลดใจ รักใคร่เอ็นดูสงสารซึ่งกันและกัน มีจิตใจอ่อนโยน เห็นโทษของอกุศลมีโทสะเป็นต้น จึงร่วมปรึกษาหารือกันเริ่มประกอบกุศลกรรม แรกทีเดียวเริ่มเว้นจากการฆ่าฟันคือปาณาติบาตก่อน เพราะเห็นโทษภัยจากการเข่นฆ่าที่ผ่านมา

    เมื่อคนทั้งหลายเว้นจากการฆ่าสัตว์ บุตรหลานของคนเหล่านี้จึงมีอายุขัยยืนขึ้นเท่าตัวคือ ๒๐ ปี และบุตรหลานของผู้คนเหล่านี้ ก็ชักชวนพากันประกอบกุศลกรรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้น มีเว้นจากอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท พูดส่อเสียด พูดหยาบช้า พูดเพ้อเจ้อ ตลกคะนองไร้ประโยชน์ เว้นจาก อภิชฌาวิสมโลภะ ไม่ยินดีอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม เว้นการพยาบาทปองร้ายผูกเวรซึ่งกันและกัน เว้นจากมิจฉาทิฏฐิ ผู้คนพากันสมาทานรักษากุศลกรรมบถ ๑๐ ละเว้นอกุศล ๓ ประการคือ ความกำหนัดยินดีในสิ่งผิดประเพณี, ยินดีในเครื่องอุปโภคบริโภคที่ไม่ชอบธรรม และมีความเห็นผิดที่เป็นมิจฉาธรรม

    ทั้งชวนกันปฏิบัติต่อบิดามารดา สมณพราหมณ์เป็นอันดี กระทำความเคารพในผู้เฒ่าผู้แก่ของตระกูล คนทั้งหลายบำเพ็ญกุศลธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปประการดังนี้

    อายุของผู้คนเหล่านั้นจึงเพิ่มขึ้นรุ่นละเท่าตัวเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึง ๘๐,๐๐๐ ปี เมื่ออายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี สตรีจะเป็นสาวมีสามีได้เมื่ออายุประมาณ ๕๐๐ ปี โรคภัยในยุคนี้มีเพียง ๓ ประการ คือ ความหิว ความง่วง และความแก่ชรา และอายุขัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอสงไขยปี

    เมื่ออายุขัยของมนุษย์ถึงอสงไขยปี ทำให้ไม่ใคร่ได้เห็นความแก่ ความเจ็บ ความตาย โดยง่าย จึงเกิดความประมาท มีทิฏฐิ และมานะบังเกิดขึ้น กิเลสเริ่มเกิดตามมา อกุศลกรรมต่าง ๆ ก็เกิดมีขึ้นเป็นลำดับ อายุขัยของมนุษย์จึงเริ่มลดลงอีกจนกระทั่งเหลือ ๘๐,๐๐๐ ปี

    ในเวลาอายุขัยของมนุษย์เหลือ ๘๐,๐๐๐ ปีนี้เอง พระศรีอาริยเมตไตรย จะมาอุบัติบังเกิดขึ้นในโลก ดังมีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ในจักกวัตติสูตรในสุตตันตปาฏิกวรรคว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในยุคที่มนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเมตเตยะเป็นผู้มีโชค จะอุบัติขึ้นในโลกฉะนั้น”

    พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ อันเป็นองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้.

    หมายเหตุ

    กัปปัจจุบันนี้ คือ ภัทรกัป มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ คือ
    ๑. พระกกุสันธะ สัมมาสัมพุทธเจ้า
    ๒. พระโกนาคมน์ สัมมาสัมพุทธเจ้า
    ๓. พระกัสสปะ สัมมาสัมพุทธเจ้า
    ๔. พระศรีศากยมุนีโคดม สัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้าองค์ที่พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชาอยู่ในปัจจุบันนี้
    ๕. พระศรีอาริยเมตไตรย สัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระศรีอาริย์ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้

    เมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยเสด็จปรินิพพานไปแล้ว ต่อจากนั้นอีก ๕๑ อันตรกัป ก็จะถึงเวลาพินาศของโลก

    ก่อนที่โลกจะถูกทำลาย จะมีมนุษย์ เทวดา และพรหมที่อยู่ในชั้นต่ำ ๆ ส่วนหนึ่งพากันขวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสูง ๆ ที่ไม่ถูกทำลาย รอจนกระทั่งโลกก่อตัวขึ้นมาใหม่จึงค่อยพากันลงมาเกิดด้วยกำเนิดของ โอปปาติกะ คือผุดขึ้นมาโดยโตเต็มตัวทันใด ไม่ต้องมีบิดามารดา เป็นการเริ่มกัปใหม่กันต่อไป

    ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดยังพรหมโลกชั้นที่ไม่ถูกทำลายได้นั้น พวกเขาเหล่านั้นจะถูกทำลายไปพร้อมกับโลก แล้วไปเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่น ที่ยังไม่มีการถูกทำลายกันต่อไป ซึ่งจักรวาลนี้มีมากมายนับจำนวนไม่สิ้นสุด

    [​IMG]

    การก่อตัวขึ้นใหม่ของจักรวาล

    ในขณะที่โลกกำลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์ที่ไม่ถูกทำลายส่วนมากไปบังเกิดเป็นพรหมอยู่ในชั้น อาภัสสราภูมิ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกาย อยู่ในวิมานงดงาม สัญจรไปได้ในอากาศ มีอายุยืนยาวช้านาน

    ครั้นแผ่นดินปรากฏเกิดขึ้นแล้ว พรหมบางรูปในชั้นอาภัสสราภูมิที่สิ้นบุญ สิ้นอายุ ก็จุติลงมาเกิด ด้วยกำเนิดของ โอปปาติกะ มนุษย์พวกนี้มีเพศเหมือนพรหม ไม่มีอวัยวะแสดงเพศ ร่างกายมีรัศมีเปล่งประกายมีแสงรุ่งเรืองสว่างไสว เหาะเหินเดินอากาศเที่ยวไปมาในเวหา ไม่ต้องกินอาหาร คงมีปีติเป็นอาหารดังเช่นในสมัยอยู่พรหมโลก อยู่กันเป็นสุขดังนี้ สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน

    จนกระทั่งต่อมา มีมนุษย์คนหนึ่งนับเป็นคนแรก แลเห็นแผ่นดินมีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม นึกอยากลองลิ้มรสดูว่าจะเป็นอย่างไร จึงหยิบดินขึ้นมานิดหนึ่งวางที่ปลายลิ้น รสดินนั้นมีโอชาแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย รู้สึกอร่อยชอบใจยิ่งนัก เกิดตัณหาในรสเข้าครอบงำ จึงบริโภค ง้วนดิน ซึ่งมีลักษณะเป็นวุ้นนุ่มคล้ายนมสดที่เคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี มีรสชาติอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กที่สะอาด คนอื่นเห็นก็พากันเอาอย่าง และก็พากันติดใจเกิดตัณหาพากันบริโภครสแผ่นดินกันทุกคน เมื่อบริโภคง้วนดินอันเป็นอาหารหยาบดังนั้นแล้ว รัศมีกายก็อันตรธานหายไป ร่างกายก็ไม่ละเอียดสวยงามดังเดิม ปรากฏให้เห็นแตกต่างกันออกไป บางพวกมีสีสันวรรณะดีกว่าอีกพวก จึงเกิดการดูหมิ่นดูแคลน เกิดกิเลสขึ้นอีก ๒ ชนิดคือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุให้ถือตัวตน) และ มานะ (ความถือตัว) เมื่อบาปธรรมทั้งสองมีแรงกล้าขึ้นในหมู่มนุษย์ รสแผ่นดินที่โอชานั้นก็พลันสูญหายไป แผ่นดินกลายเป็นสะเก็ดคล้ายเห็ด แต่ยังคงมีกลิ่นหอม มีรสเป็นอาหารมนุษย์ได้อยู่ มีสี กลิ่น รส เหมือนเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี รสอร่อยเหมือนรวงผึ้งเล็ก แม้จะไม่อร่อยเลิศเหมือนเดิมอย่างที่เคยเป็นง้วนดินก็ตาม

    เมื่อบริโภคสะเก็ดดินเป็นเวลาช้านาน ร่างกายก็แข็งกล้าขึ้นทุกที ผิวพรรณก็ยิ่งแตกต่างกันออกไปมาก เกิดการดูหมิ่น ไว้ตัว ทะนงตน เหยียดหยามกัน เพราะมีสาเหตุมาจากผิวพรรณ ทำให้สะเก็ดดินค่อยหายไป ต่อมาเป็นเวลานานเข้า สันดานของคนหนาแน่นไปด้วยบาปกรรมเพิ่มขึ้น ๆ สะเก็ดดินก็อันตรธานหายไปหมดในตอนนั้น มีเครือดินบังเกิดขึ้นแทน เครือดินนี้คล้ายผลมะพร้าว มีสี กลิ่น รส คล้ายเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี เมื่อเครือดินหายไป ข้าวสาลีขาวก็งอกขึ้นเอง ไม่มีเมล็ดลีบ ไม่มีรำ มีกลิ่นหอม เกิดเป็นรวงข้าวสาลีขึ้นจากต้นทันที เมล็ดไม่มีเปลือก ไม่ต้องรอเวลา มนุษย์ทั้งหลายไปรูดเก็บเอามาหุงกินได้ทันที สุดแต่ต้องการบริโภคเวลาใดก็ไปรูดเอามาจากต้น นำใส่ไว้ในภาชนะ ตั้งไว้บนแผ่นศิลา ข้าวจะเดือดสุกไปเอง กินโดยไม่ต้องใช้กับข้าว หรือเครื่องแกล้ม เมื่อพอใจให้เป็นรสอย่างใด ข้าวก็จะมีรสดังต้องการ รวงข้าวที่ถูกเก็บในเวลาเช้า ตอนเย็นก็โตเท่าเดิม ถ้าเก็บตอนเย็น ตอนเช้าก็โตเท่าเดิม มีรวงแก่สุกพร้อม

    ในสมัยเมื่อมนุษย์บริโภคง้วนดิน สะเก็ดดิน เครือดิน ถือเสมือนสุธาหาร ไม่ต้องย่อย แต่เมื่อบริโภคข้าวสาลีเป็นวัตถุหยาบ จึงต้องย่อยเกิดมีอุจจาระ ปัสสาวะ ปากแผลที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ไหลทิ้งออกมานอกร่างกาย เกิดเป็นอวัยวะเพศขึ้น ในอดีตชาติใครเคยเป็นชายก็เป็นเพศชาย ใครเคยเป็นหญิงก็เป็นเพศหญิง

    แต่เดิมสมัยเป็นพรหมแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์นั้น อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่) ยังต่อเนื่องมาในสันดาน ยังข่มกามราคะไว้ได้ แต่เมื่อบริโภคข้าวสาลีจนทำให้เกิดสภาวะความเป็นเพศชายหญิงกันขึ้น จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นเตือนอุปนิสัย (ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน) ให้เกิดกามราคะตามมา ทั้งชายหญิงต่างก็เพ่งเล็งดูกันและกันไปมา กามราคะเกิด อุปจารสมาธิก็ขาดจากสันดาน เหล่ามนุษย์เมื่อกระวนกระวายด้วยราคะดำกฤษณาก็ส้องเสพซึ่งเมถุนธรรม จึงต้องขวนขวายหาเคหะสถานที่อยู่อาศัยให้มิดชิด ในการประกอบอสัทธรรมนั้น เมื่อคนทั้งหลายครองเหย้าเรือนดังนี้ คนที่เกียจคร้านก็เกิดการเก็บสะสมข้าวสาร คือไปรูดเอามาไว้คราวละมาก ๆ คนอื่นเห็นตัวอย่างก็ทำตาม เมื่อความโลภเจริญขึ้น ข้าวสาลีก็ไม่ออกรวงเป็นข้าวสารให้อีก แต่กลับออกรวงมีเปลือกมีรำ ข้าวที่รูดที่เกี่ยวแล้วก็หายไป ไม่มีต้นและรวงงอกแทนให้ใหม่ดังเดิม

    ขณะนั้นคนทั้งหลายก็พากันเป็นทุกข์ ทอดถอนใจที่เห็นความแปรปรวนทั้งหลายเกิดขึ้น จึงจัดแจงปักปันแบ่งเขตข้าวสาลีกันขึ้น เขตใดของใครเป็นสัดส่วน

    ต่อมามีคนใจอกุศลกระทำอทินนาทาน ลักขโมยเอาส่วนของผู้อื่น เมื่อมีการจับได้ แรก ๆ ก็เพียงตำหนิติเตียน แต่เมื่อถึงครั้งที่ ๓ จึงกลุ้มรุมทำร้ายด้วยไม้ค้อน และก้อนดิน

    เมื่อเกิดการลักขโมย การครหาติเตียน การกล่าวมุสา การปรับสินไหม และอาชญาก็เกิด ความเป็นอยู่ของผู้คนเริ่มเดือดร้อนกันขึ้น จึงประชุมปรึกษาหารือกัน แสวงหาผู้มีปัญญาให้เป็นหัวหน้าหมู่คณะ คนอื่น ๆ มีหน้าที่ส่งส่วยให้ เพื่อให้ผู้เป็นหัวหน้านั้นดูแลปกครองให้พวกตนอยู่เป็นสุข

    เฉพาะในต้นภัทรกัปของเรานี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ไม่ได้ระบุว่าพระองค์ใด) บังเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ มีรูปร่างแข็งแรงกำยำ มีสติปัญญาดี มีท่วงทีกิริยาน่าเกรงขาม สามารถว่ากล่าวสั่งสอนคนทั้งปวงได้ จึงได้รับเชื้อเชิญกระทำราชาภิเษก มีพระนามว่า พระเจ้าขัตติยมหาสมมุติเทวราช ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองดูแลพวกตน นับเป็นการเกิดขึ้นครั้งแรกของวรรณะกษัตริย์

    แต่ยังมีคนอีกบางพวกที่เห็นโทษของบาปอกุศลธรรม ว่าเป็นสิ่งทำให้เกิดความทุกข์ร้อนในหมู่มนุษย์ คิดกันว่าพวกตนสมควรไปลอยบาปอกุศลเหล่านี้ทิ้งเสีย จึงพร้อมใจพากันเข้าไปอยู่ในป่า สร้างบรรณศาลาอาศัยอยู่ เว้นจากเมถุนธรรมและบาปอกุศลทั้งปวง มีปกติเที่ยวไปในหมู่บ้านเพียงเพื่อขออาหารกิน คนเหล่านี้ได้ชื่อว่า พราหมณ์

    คนจำพวกใดพอใจเสพเมถุน ยินดีในการครองเรือน ก็จำต้องวุ่นวายไปด้วยเรื่องการทำมาหากิน มีทำการกสิกรรม ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ และอื่น ๆ เป็นพ่อค้า ชาวนา กรรมกร และอื่น ๆ มาจนทุกวันนี้

    ทั้งหมดนี้คือความเป็นไปที่สรรพสัตว์ทั้งปวง ผู้ยังมีกิเลสอยู่ในสันดาน ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรียกกันว่า วัฏสงสาร ตราบใดที่ยังไม่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้ฟังพระสัทธรรม แล้วนำไปปฏิบัติตามจนบรรลุผล เข้าพระนิพพานได้แล้วนั้น จะไม่สามารถหลุดพ้นออกจากวงเวียนแห่งวัฏสงสารนี้ได้เลย.
     
  16. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    หน่วยเวลาที่มีปรากฏในพระพุทธศาสนา

    <!-- Main -->เรื่องของหน่วยเวลาที่นับจำนวนเป็นอสงไขยและเป็นจำนวนมหากัป มีปรากฏเฉพาะใน พระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีปรากฏในที่อื่น เพราะหน่วยเวลานี้ เป็นหน่วยเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาตรัสแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายให้ทราบ และเป็นหน่วยเวลาที่พระพุทธองค์ทรงดำเนินชีวิตในการสร้างบารมีมาอย่างยาวนานมากจนไม่มีหน่วยเวลาใดที่จะสามารถนับได้ นอกเสียจากหน่วยเวลาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ เพราะหน่วยเวลานี้พระพุทธองค์ทรงรับรู้มาด้วยพระองค์เองจากการสร้างบารมี ฉะนั้นหน่วยเวลาในพระพุทธศาสนา จึงมีความยาวนานมาก ทำให้ยากที่จะเข้าใจหรือเห็นภาพได้อย่างง่ายดาย เว้นเสียแต่ได้ลงมือปฏิบัติธรรมแล้วบรรลุถึงธรรมะภายในอย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เมื่อใด ก็จะสามารถเข้าใจและเห็นภาพของหน่วยเวลาในพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องแน่นอน

    ดังนั้น กาลเวลาที่นับอสงไขยและมหากัปนั้น เป็นเวลายาวนานมาก ก็จะได้อธิบายขยายความ ดังต่อไปนี้

    1. กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย คือ การกำหนดเวลาที่จะนับจะประมาณไม่ได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า "ฝนตกใหญ่มโหฬารทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานาน 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนนํ้าฝนท่วมเต็มขอบจักรวาลมีระดับความสูง 84,000 โยชน์ ถ้าสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง 3 ปี ที่ท่วมเต็มขอบจักรวาลมีระดับความสูง 84,000 โยชน์ อย่างต่อเนื่อง 1 อสงไขย ได้จำนวนเท่าใด จำนวนเม็ดฝนที่นับได้เป็น 1 อสงไขย"

    2. กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขยปี คือ หน่วยนับจำนวนอายุที่ยืนยาวที่สุดของมนุษย์ โดยได้กำหนดค่าของอสงไขยปีไว้ว่า "1 อสงไขยปีเท่ากับ 1 ตามด้วยศูนย์ 140 ตัว"

    3. กาลเวลาที่เรียกว่า อายุกัป คือ อายุขัยของสัตว์ที่เกิดในภูมินั้นๆ เช่น โลกมนุษย์เรานี้เมื่อสมัยพุทธกาล มนุษย์ส่วนใหญ่อายุเฉลี่ย 100 ปี เป็นอายุกัป ปัจจุบันอายุมนุษย์เฉลี่ย 75 ปี ก็นับเอา 75 ปีเป็นอายุกัป ส่วนในเทวภูมิ เช่น สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุขัย 500 ปีทิพย์ ก็นับเอาจำนวนดังกล่าวเป็นอายุกัป แม้ในภูมิอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

    4. กาลเวลาที่เรียกว่า มหากัป คือ หน่วยนับระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป ระยะเวลาในมหากัปหนึ่งๆ นั้นยาวนานมาก ไม่สามารถกำหนดนับได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า มีภูเขาหินลูกใหญ่กว้าง ยาว สูง อย่างละ 1 โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าจากแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น 100 ปีต่อครั้ง เมื่อใด ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนาน อย่างนี้แล

    ยังมีอีกอุปมาหนึ่งใน สาสปสูตร2 ว่า "นครที่ทำด้วยเหล็กยาวหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์ สูงหนึ่งโยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไปหมดไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไปหมดไป กัปนานอย่างนี้แล"

    มหากัปนั้นมีทั้งหมด 4 ช่วง แต่ละช่วงมี 64 อันตรกัป ดังนั้นช่วงความเปลี่ยนแปลงของโลก จึงรวมเวลาเป็น 256 อันตรกัป คือ

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ช่วงที่ 1 เป็นช่วงที่ถูกไฟไหม้ มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกถูกทำลาย หรือกัปกำลังพินาศ อาจจะเกิดไฟไหม้ เกิดน้ำท่วมหรือเกิดลมพายุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป

    ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่ไฟมอด มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึงช่วงที่โลกถูกทำลายเรียบร้อยแล้ว จนเหลือแต่อวกาศว่างเปล่า ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป

    ช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่แผ่นดินเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกกำลังเริ่มพัฒนาเข้าสู่ภาวะปกติหรือกัปที่เจริญขึ้น ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป

    ช่วงที่ 4 เป็นช่วงที่โลกเจริญขึ้น มีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้น มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นช่วงที่โลกพัฒนาขึ้นเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม หรือกัปที่เจริญขึ้นพร้อมแล้วทุกอย่าง ตั้งอยู่ตามปกติ คือ มีสิ่งมีชีวิตปรากฏเกิดขึ้น มีต้นไม้ ภูเขา คน สัตว์ สิ่งของ ซึ่งเป็นช่วงที่เรากำลังอยู่นี้ โดยเริ่มจาก อาภัสราพรหมลงมากินง้วนดิน ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป

    5. กาลเวลาที่เรียกว่า อันตรกัป คือ ระยะเวลา 1 รอบอสงไขยปี หมายความว่าระยะเวลา ที่กำหนดนับจากอายุมนุษย์ที่ยืนที่สุด คือ 1 อสงไขยปี แล้วอายุค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนเหลือ 10 ปี จากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปอีกครั้งจนถึง 1 อสงไขยปีอีกครั้ง

    เวลา 1 รอบของการเพิ่มและลดของอายุ มนุษย์นี้เรียกว่า อันตรกัป หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็อาจจะสมมุติมหากัปเหมือนเค็ก 1 ก้อน ในหนึ่งก้อนแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน คือ ระยะเวลา 4 อสงไขยกัป และในแต่ละชิ้นก็มีระยะเวลาเท่ากับ 64 อันตรกัป คือ สังวัฏฏอสงไขยกัป สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป วิวัฏฏอสงไขยกัปและวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป และใน 1 มหากัปนั้น เมื่อรวมทั้ง 4 ช่วงระยะเวลา จึงมีทั้งหมด 256 อันตรกัป

    ทั้งหมดที่อธิบายมานี้ เป็นหน่วยเวลาที่มีปรากฏในพระพุทธศาสนา ที่จะทำให้นักศึกษาสามารถเห็นภาพในการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก โดยอย่างน้อยที่สุด คือ 20 อสงไขยกับแสนมหากัป ที่จะต้องใช้ความอดทน ความมุ่งมั่นตั้งใจ ตลอดจนกำลังใจที่หนักแน่นมั่นคงอย่างมากถึงจะมาอุบัติขึ้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ดังนั้นคำสอนของพระพุทธองค์จึงมีคุณค่าอย่างมาก เพราะพระองค์ทรงสั่งสมความรู้ที่เต็มเปี่ยมบริสุทธิ์บริบูรณ์มาอย่างมากตลอดหนทางในการสร้างบารมี

    ฉะนั้นจึงควรที่จะศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์อย่างจริงจัง แล้วนำมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น เหมือนกับที่เป็นประโยชน์กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วนับพระองค์ไม่ถ้วน และยังเป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายอีกด้วย

    กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาบังเกิดขึ้น

    ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า ใน 1 มหากัป มีระยะเวลาที่ยาวนานมาก และกว่าที่จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสักพระองค์หนึ่งมาอุบัติขึ้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จึงทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนตาย เวียนเกิดหลายภพหลายชาติ กว่าที่จะได้ฟังพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็ไม่แน่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ทุกมหากัปเสมอไป บางมหากัปก็ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ฉะนั้น การที่บุคคลผู้ทรงคุณวิเศษเป็นนิยตโพธิสัตว์ จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นการยากมาก และกว่าที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้ฟังพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยิ่งยากมากอีกด้วย ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ตรัสว่า การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก 1 แต่เมื่อนิยตโพธิสัตว์เสด็จมาอุบัติขึ้นบนโลกนี้เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าในมหากัปใด มหากัปนั้นย่อมไม่ว่างเปล่าจากคุณวิเศษอันยิ่งใหญ่ คือ มรรคผลนิพพาน และ มหากัปนั้น จะถูกเรียกว่า อสุญกัป เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงอาจแบ่งมหากัปออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สุญกัป และ อสุญกัป

    1. สุญกัป หมายถึง มหากัปที่ว่างเปล่าจากมรรคผลนิพพาน คือ ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก แม้เพียงพระองค์เดียว และในสุญกัปนี้ก็ยังไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระเจ้าจักรพรรดิมาบังเกิดขึ้น ในสุญกัปนี้ย่อมว่างเปล่าจากบุคคลผู้ทรงคุณวิเศษ และไม่มีมรรคผลนิพพานปรากฏขึ้น

    2. อสุญกัป หมายถึง มหากัปที่ไม่ว่างเปล่าจากมรรคผลนิพพาน คือ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ถึงแม้มีเพียงหนึ่งพระองค์ในมหากัปก็ถือว่าเป็น อสุญกัป และในอสุญกัปนี้ยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระเจ้าจักรพรรดิมาบังเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีบุคคลผู้ทรงคุณวิเศษปรากฏเกิดขึ้นอีกด้วย และอสุญกัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นนี้ ยังมีชื่อเรียกตามจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จอุบัติขึ้นในแต่ละมหากัป ดังต่อไปนี้

    - สารกัป หมายถึง มหากัปที่มีแก่นสาร เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น 1 พระองค์

    - มัณฑกัป หมายถึง มหากัปที่มีความผ่องใส เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น 2 พระองค์

    - วรกัป หมายถึง มหากัปที่ประเสริฐ เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น 3 พระองค์

    - สารมัณฑกัป หมายถึง มหากัปที่ประเสริฐกว่าและมีแก่นสารมากกว่ากัปที่ผ่านมา เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น 4 พระองค์

    - ภัทรกัป หมายถึง มหากัปที่เจริญที่สุดและเกิดขึ้นได้ยากที่สุด เป็นมหากัปที่มีพระสัมมาสัม- พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น 5 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากที่สุด และจะไม่มีมากกว่าในภัทรกัปนี้อีกแล้ว จึงทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในกัปนี้มีโอกาสจะกระทำอาสวะให้สิ้นไปได้มากกว่ากัปอื่น

    ปัจจุบันนี้เรากำลังอยู่ในยุคของพระสมณโคดมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ อยู่ในอันตรกัปที่ 12 ของวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ในยุคหน้าเป็นสมัยของพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ที่จะเสด็จอุบัติขึ้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้ ซึ่งอยู่ในอันตรกัปที่ 13

    ดังนั้น การเสด็จอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้เสด็จอุบัติขึ้นในคราวเดียวกันหลายพระองค์ ขึ้นอยู่กับว่า การสร้างบารมีของแต่ละพระองค์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะเต็มเปี่ยมบริบูรณ์เมื่อใด ซึ่งถ้าบารมียังไม่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ก็จะต้องสร้างบารมีกันต่อไป จนกว่าจะเต็มเปี่ยมและพร้อมที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ส่วนเสริม

    1 กัปมี 4 อสงไขยกัป (แต่ละอสงไขยกัปมี 64 อันตรกัป รวม 256 อันตรกัป) แต่มีเพียง 1 อสงไขยกัปที่มนุษย์และสัตว์สามารถมีชีวิตอยู่ได้คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป มี 64 อันตรกัป

    แบ่งเป็น อันตรกัปที่พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้แก่ (ต้องเป็นกัปไขลงเท่านั้น)

    อันตรกัปที่ 9 พระกกุสันธพุทธเจ้า ----- พระชนมายุ 40,000 ปี
    อันตรกัปที่ 10 พระโกนาคมนพุทธเจ้า ----- พระชนมายุ 30,000 ปี
    อันตรกัปที่ 11 พระกัสสปพุทธเจ้า ----- พระชนมายุ 20,000 ปี
    อันตรกัปที่ 12 พระสมณโคดม (องค์ปัจจุบัน) ----- พระชนมายุ 100 ปี (80)
    อันตรกัปที่ 13 พระศรีอริยเมตไตรย (อันตรกัปหน้า) ----- พระชนมายุ 80,000 ปี
     
  17. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีเพื่อเข้าพระนิพพาน
    [​IMG]
    ระยะเวลาในการบำเพ็ญบารมีเพื่อเข้าพระนิพพาน หลังจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว

    แบ่งตามคุณธรรมได้ 4 ประเภทบุคคล คือ
    1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    2. พระปัจเจกพุทธเจ้า
    3. พระอัครสาวก
    4. พระอรหันตสาวกปกติ

    การบำเพ็ญบารมีของท่านเหล่านี้ มีระยะเวลาไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะเนื่องด้วยความปรารถนาคุณธรรมที่ต้องการบรรลุมีความยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ

    1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวด ชนิดที่สามารถสละอวัยวะหรือชีวิตได้ โดยใช้ระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
    พระปัญญาธิกพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์ที่มีปัญญามาก) ใช้ระยะเวลา 4 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
    พระสัทธาธิกพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์ที่มีศรัทธามาก) ใช้ระยะเวลา 8 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
    พระวิริยาธิกพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์ที่มีความเพียรมาก) ใช้ระยะเวลา 16 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป

    การบำเพ็ญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อต้องการขนสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร เข้าสู่พระนิพพานให้ได้มากที่สุด จึงต้องเตรียมการมาก ทำให้พระองค์เป็นผู้สมบูรณ์พร้อม ด้วยคุณธรรมทุกประการ

    2. พระปัจเจกพุทธเจ้า ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป เพื่อต้องการตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แต่มิได้ขนสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพาน จึงเป็นผู้มีคุณธรรมรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    3. พระอัครสาวกซ้ายขวา ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมี 1 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป เพื่อตรัสรู้ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยพระพุทธองค์ในการขนสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน มีคุณธรรมรองจากพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่มีมากกว่าปกติสาวก เพราะต้องทำคุณประโยชน์มากกว่า

    4. พระอรหันตสาวกปกติ เช่น พระอสีติมหาสาวก เอตทัคคะผู้เป็นเลิศด้านต่าง ๆ พระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธบุตร พระพุทธอุปัฏฐาก และพระอรหันต์ทั่วไป ต้องใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมี แสนมหากัป เพื่อความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ บ้าง เพื่อกล่าวสอนผู้อื่นบ้าง เพื่อตรัสรู้เฉพาะตนบ้าง

    บารมีที่ท่านเหล่านี้บำเพ็ญเพื่อเข้าพระนิพพาน คือ บารมี 10 ประการ ได้แก่

    1. ทานบารมี (การเสียสละ การให้สิ่งที่ควรให้)
    2. ศีลบารมี (การบำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์)
    3. เนกขัมมบารมี (การเว้นจากกาม)
    4. ปัญญาบารมี (การไต่ถามจากผู้รู้ ความรอบรู้เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง)
    5. วิริยบารมี (การทำความเพียร)
    6. ขันติบารมี (การมีความอดทนอดกลั้น)
    7. สัจจบารมี (การรักษาวาจาสัตย์ พูดแต่ความจริง)
    8. อธิษฐานบารมี (การตั้งจิตไว้ให้มั่นคง)
    9. เมตตาบารมี (การมีความเมตตา)
    10. อุเบกขาบารมี (การวางเฉย วางใจเป็นกลาง ไม่ว่าเรื่องดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะมีลาภหรือเสื่อมลาภ ไม่ว่าจะมียศหรือเสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์)

    สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์ ก็ควรประพฤติปฏิบัติตนดังนี้
    1. ให้ยึดมั่นและหมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้ใคร่เห็นพระภิกษุสงฆ์ และเข้าไปหาภิกษุผู้ปฏิบัติเห็นจริง เพื่อฟังธรรมคำแนะนำจากท่าน
    2. เว้นจากบาปอกุศล-ความชั่วทั้งปวง
    3. หมั่นทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ตามวิธีที่ถูกต้องประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสั่งสมบุญไว้ในพระพุทธศาสนา และทักขิไณยบุคคล คือ ภิกษุสงฆ์ และให้อธิษฐานทุกครั้งว่า

    "ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ"
    ที่มา:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  18. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    กาลอันสมควรที่พระพุทธเจ้าจะลงไปตรัสรู้

    <!--Main-->[​IMG]

    กาลอันสมควรที่พระพุทธเจ้าจะลงไปตรัสรู้

    ในกาลนั้น อายุขัยของมนุษย์ จะต้องไม่มากกว่าหนึ่งแสนปีขึ้นไป และไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยปีลงมา

    เพราะถ้ามนุษย์มีอายุมากกว่าหนึ่งแสนปี ความแก่ความตายไม่ค่อยจะบังเกิดปรากฏให้เห็น บรรดาสรรพสัตว์ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ไม่เห็นสังขารเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะไม่เชื่อถือพระธรรม มรรคผลก็จะไม่บังเกิดขึ้น และพระธรรมเทศนาก็จะไร้ประโยชน์

    อีกประการหนึ่ง ถ้ามนุษย์มีอายุขัยน้อยกว่าหนึ่งร้อยปีลงมา ก็หาเป็นการสมควรที่พระพุทธเจ้า จะลงไปตรัสรู้ไม่ เพราะสรรพสัตว์พวกนี้ จะมีกิเลสหนากล้านัก จะรับโอวาท หรือเชื่อถือแต่เพียงต่อหน้าเท่านั้น พอลับหลังก็ลืมโอวาทสั่งสอนเสีย รับศีลไปประเดี๋ยวก็ทิ้งศีลเสีย ไม่ผิดอะไรกับรอยขีดในน้ำ

    ดังนั้น เวลาที่เหมาะสำหรับการลงไปตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือ ในระหว่างที่มนุษย์มีอายุขัยตั้งแต่หนึ่งแสนปีลงมา และไม่ต่ำไปกว่าหนึ่งร้อยปี (ต้องเป็นอายุขัยลดลงเท่านั้น).<!--End Main-->
     
  19. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    พระพุทธเจ้า 28 พระองค์

    <!--Main-->[​IMG]

    พระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าทรงแนะว่าไม่ควรคิดถึงเรื่องของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นอจินไตย (แปลว่า เป็นเรื่องที่มนุษย์ปุถุชนอย่างเราไม่ควรคิด เพราะเป็นเรื่องที่ลึกล้ำเหนือจินตนาการของมนุษย์)

    ในหลักฐานฝ่ายเถรวาทกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตไว้ 28 พระองค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบ และพระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับคำพยากรณ์ ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรานิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน โดยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า 28 พระองค์"

    หากแบ่งตามกัปป์ โดยการนับอสงไขยในที่นี้ จะนับอสงไขยแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี โดยการอธิษฐานในใจต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก จะมีพระพุทธเจ้าในอดีตดังต่อไปนี้

    กัปแรกในต้นอสงไขยที่ 17 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์

    1. พระตัณหังกรพุทธเจ้า
    • พระตัณหังกรพุทธเจ้า - ผู้กล้าหาญ
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี

    2. พระเมธังกรพุทธเจ้า
    • พระเมธังกรพุทธเจ้า - ผู้มียศใหญ่
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าเทโว
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยะสุนทราชาเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

    3. พระสรนังกรพุทธเจ้า
    • พระสรนังกรพุทธเจ้า - ผู้เกื้อกูลแก่โลก
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุมาเลราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสะเทวี
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี

    4. พระทีปังกรพุทธเจ้า
    • พระทีปังกรพุทธเจ้า - ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
    • สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    • ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านรเทวราช (พระเจ้าสุเทพ)
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้าสุเมธา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางปทุมาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 100,000 ปี

    กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 18 เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์

    5. พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า
    • พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า - ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
    • สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุนันทราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางรุจิราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
    • พระวรกายสูง 18 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 100,000 ปี

    กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 19 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์

    6. พระสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุตตรมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยสาวดี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์ (กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,00 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

    7. พระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
    • สถานที่ประสูติ เมขละนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตมหาราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้าสิริมา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางฏังสกี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์ (กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 90 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 90,000 ปี

    8. พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้เพิ่มพูนความยินดี
    • สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสนา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี

    9. พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
    • สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุธรรมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางมจิลาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

    กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 20 เป็นสารวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์

    10. สมเด็จพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า
    • สมเด็จพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า - ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน
    • สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้ายศวราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิริมา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

    11. สมเด็จพระปทุมะสัมพุทธเจ้า
    • สมเด็จพระปทุมะสัมพุทธเจ้า - ผู้ทำให้โลกสว่าง
    • สถานที่ประสูติ จัมปานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอสมราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
    • พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
    • พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

    12. สมเด็จพระนารทะสัมพุทธเจ้า
    • สมเด็จพระนารทะสัมพุทธเจ้า - ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุเมธราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิชิตเสนาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    • พระวรกายสูง 88 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 1 อสงไขย

    ช่วงเศษแสนมหากัป ของ อสงไขยปัจจุบัน

    สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์

    13. พระปทุมมุตระพุทธเจ้า
    • พระปทุมมุตระพุทธเจ้า - ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
    • สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอานันทมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุละทัคคเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 30,000 กัป

    สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) หลายหมื่นกัป

    มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์

    14. พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
    • สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัสสนมหาราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 88 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

    15. พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
    • สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 50 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

    สูญกัป 28,199 กัป

    วรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์

    16. พระปียทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระปียทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
    • สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

    17. พระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้มีพระกรุณา
    • สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

    18. พระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้บรรเทามืด
    • สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

    สูญกัป 1,705 กัป

    สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์

    19. พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
    • สถานที่ประสูติ เวภารนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

    สูญกัป 1 กัป

    มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์

    20. พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
    • สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

    21. พระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
    • สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    • พระวรกายสูง 58 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 91 กัป

    สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์

    22. พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้หาที่เปรียบมิได้
    • สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
    • พระวรกายสูง 80 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 49 กัป

    สูญกัป 59 กัป

    มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์

    23. พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์
    • สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
    • พระวรกายสูง 70 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี

    24. พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้ประทานความสุข
    • สถานที่ประสูติ อโนมนคร
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    • พระวรกายสูง 60 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 70,000 ปี

    สูญกัป 30 กัป

    กัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์

    25. พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
    • สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    • พระวรกายสูง 40 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี

    26. พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
    • สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
    • พระวรกายสูง 30 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี

    27. พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
    • สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
    • ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
    • พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
    • มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
    • พระวรกายสูง 20 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี

    28. พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
    • พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า - ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
    • สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
    • ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
    • ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
    • พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
    • เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
    • รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
    • วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    • พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
    • พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
    • อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
    • อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 16 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
    • อายุพระศาสนา 5,000 ปี
    ____________________________________

    พระศรีอริยเมตไตรยสัมพุทธเจ้า (อนาคต)
    • สถานที่ประสูติ เกตุมบดีนคร
    • ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8
    • พระพุทธบิดา พระนามว่า สุตพราหมณ์
    • พระพุทธมารดา พระนามว่า นางพราหมณ์วดี
    • พระอัครมเหสี พระนามว่า นางจันทมุขี
    • พระราชโอรส พระนามว่า พราหมณ์วัฒนกุมาร
    • พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    • ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กากะทิง ขนาดลำต้น จากพื้นไปถึงคาคบ 120 ศอก จากคาคบขึ้นไปถึงยอด 120 ศอก มีกิ่งใหญ่ 4 กิ่ง ทอดออกไปในทิศทั้ง 4 ยาวได้กิ่งละ 120 ศอก รวม 480 ศอก มีดอกเท่ากงจักรรถ แต่ละดอกนั้นมีเกสรได้ทะนานหนึ่ง มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไปไกลถึง 500 โยชน์
    • ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    • อัครสาวกเบื้องขวา นามว่า พระอโสกเถระ
    • อัครสาวกเบื้องซ้าย นามว่า พระสุพรหมเทวะเถระ
    • พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุมนาเถรี และ พระปทุมาเถรี
    • อุบาสกพุทธอุปัฏฐาก 2 คน นามว่า สุทัตตคฤหบดี และ สังฆคฤหหบดี
    • อุบาสิกาพุทธอุปัฏฐาก 2 คน นามว่า ยสปวดี และ สังฆอุบาสิกา
    • พระวรกายสูง 88 ศอก
    • พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกายตลอดไปเบื้องบนถึงพรหมโลก เบื้องล่างต่ำตลอดลงไปจนถึงอเวจีมหานรก
    • ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
    • อายุพระศาสนา 8,000 ปี.

    หมายเหตุ (จากผู้เรียบเรียง)

    บทความนี้ยังมีข้อผิดพลาดอยู่หลายจุด เช่น อายุพระศาสนา และ พระชนมายุที่ปรินิพพาน ซึ่งปกติแล้วพระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะดำรงพระชนมายุอยู่ที่ 4 ใน 5 ส่วน ของอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ในยุคนั้น (อายุกัป) เท่านั้น ซึ่งข้าพเจ้าไม่อาจที่จะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับได้ คัดลอกมาอย่างไรก็ต้องปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น

    แต่สิ่งที่นำมาเสนอก็เพื่อต้องการให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของยาก ตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย กับอีกแสนมหากัป ที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเพียงแค่ 28 พระองค์เท่านั้น

    ฉะนั้นเราจึงไม่ควรปล่อยให้โอกาสที่ได้พบพระพุทธศาสนาในครั้งนี้ได้ผ่านไปเปล่า ๆ ควรที่จะศึกษา และปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม เพราะโอกาสที่เราจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนาไม่ได้เกิดขึ้นกันบ่อย ๆ<!--End Main-->
     
  20. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    พระอริยบุคคล

    <!--Main-->[​IMG]

    พระอริยบุคคลมี ๔ ประเภท คือ

    พระอริยบุคคลประเภทที่ ๑ พระโสดาบัน คือท่านผู้ที่เพียรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทำให้กิเลสต่าง ๆ เบาบางอย่างมากมาย

    และสามารถละ สังโยชน์ คือ กิเลสพวกหนึ่งที่ผูกมัดสัตว์ทั้งหลายไว้กับภพ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เรื่อยไป ได้อย่างสิ้นเชิง ๓ ประการ ในสังโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

    ๑. สักกายทิฐิ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิด ๆ ในรูปนามนั้น ๆ ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของตน
    ๒. วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ความไม่แน่ใจใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ๓. สีลัพพตปรามาส คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง ความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างงมงาย

    ทั้ง ๓ ประการข้างต้นพระโสดาบันละได้อย่างเด็ดขาด

    พระโสดาบัน ประกอบไปด้วยองค์ ๔ ประการ คือ
    ๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    ๒. มีความเคารพในพระธรรม
    ๓. มีความเคารพในพระสงฆ์
    ๔. มีศีลบริสุทธิ์ คำว่าศีลของพระโสดาบันก็ต้องหมายเอาถึงกรรมบถ ๑๐ ด้วย

    กรรมบถ ๑๐

    ทางกายมี ๓ คือ
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์
    ๒. ไม่ลักทรัพย์
    ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม

    ทางวาจา มี ๔ คือ
    ๑. ไม่พูดปด
    ๒. ไม่พูดคำหยาบ
    ๓. ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน ไม่นินทา
    ๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

    ทางใจ มี ๓ คือ
    ๑. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น โดยไม่ชอบธรรม
    ๒. ไม่พยาบาทปองร้าย ไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่น
    ๓. มีความเห็นถูกคือ สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอน ไม่คัดค้าน

    กรรมบถ ๑๐ เป็นทั้งศีล เป็นทั้งธรรม และมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่เป็นองค์ของพระโสดาบัน

    คุณวิเศษที่พระโสดาบันได้รับมีดังนี้
    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระโสดาบันได้
    ๒. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
    ๓. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศล หรือตามกำลังสมาธิของแต่ละท่าน
    4. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดไม่เกิด ๗ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน.

    พระอริยบุคคลประเภทที่ ๒ พระสกทาคามี หมายความถึงว่า อารมณ์จะต้องเลยพระโสดาบันมาแล้ว เพราะว่าพระโสดาบันทรงคุณธรรม ๔ ประการ คือ นึกถึงพระพุทธเจ้า เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลบริสุทธิ์ ส่วนที่เกินก็คือ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่หมายถึงว่ามีความมั่นคงจริง ๆ

    อารมณ์ของพระสกทาคามี จิตจะละเอียดลงไปกว่านั้น คือ ระงับโลภะ (ความโลภ) ระงับโทสะ (ความโกรธ) ระงับโมหะ (ความหลง) ให้เบาบางลง แต่ยังไม่หมด คือความโลภยังมีอยู่ แต่ว่าเพลาลงไป ความโกรธยังมีอยู่ ยับยั้งไว้ได้เร็ว ความหลงยังมีอยู่ แต่มีอาการเพลาตัว เป็นอันว่าทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลงมันบาง บางกว่าพระโสดาบัน ท่านจึงเรียกว่า สกทาคามี

    สำหรับสังโยชน์ก็มีความประพฤติเหมือนกัน แต่จิตละเอียดกว่า

    คุณวิเศษที่พระสกทาคามีได้รับมีดังนี้
    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระสกทาคามีได้
    ๒. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
    ๓. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศล หรือตามกำลังสมาธิของแต่ละท่าน
    ๔. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดเพียง ๑ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์ปรินิพพาน.

    พระอริยบุคคลประเภทที่ ๓ พระอนาคามี สามารถละสังโยชน์ได้อีก ๒ สังโยชน์อย่างสิ้นเชิง ได้แก่
    ๔. กามราคะ คือ ความติดใจในกามคุณ อันได้แก่รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    ๕. ปฏิฆะ คือ ความหงุดหงิดในใจด้วยอำนาจโทสะ ได้อย่างเด็ดขาด ดำรงฐานะเป็นพระอนาคามีบุคคล

    คุณวิเศษที่พระอนาคามีได้รับมีดังนี้
    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอนาคามีได้ แต่ท่านที่เคยฝึกสมาธิถึงฌานที่ ๔ ท่านสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ หรือบางท่านบังเกิดมีวิชา ๓ อภิญญา ๕ สามารถสำแดงฤทธิ์เดชได้
    ๒. ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์จะไปเกิดในพรหมโลก ชั้นสุทธาวาสพรหมอย่างเดียว จะไม่มาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกเลย แล้วจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ดับขันธ์ปรินิพพานบนสุทธาวาสพรหมนั้น

    ชั้นสุทธาวาสพรหม เป็นชั้นของพระพรหมที่เป็นที่จุติของพระอนาคามีอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น

    ซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นในสุทธาวาสพรหมได้อีก ๕ ชั้น จากลำดับล่างไปสู่ชั้นสูง ดังนี้
    ๑. ชั้นอวิหาภูมิ
    ๒. ชั้นอตัปปาภูมิ
    ๓. ชั้นสุทัสสาภูมิ
    ๔. ชั้นสุทัสสีภูมิ
    ๕. ชั้นอกนิฏฐกาภูมิ
    ซึ่งพระอนาคามีท่านจะไปจุติตามชั้นต่าง ๆ ตามกำลังพละ ๕ ของท่านที่เด่นชัด.

    พระอริยะบุคคลประเภทที่ ๔ พระอรหันต์ สามารถตัดกิเลสทั้งหมดได้สิ้นเชิง กิเลสที่ตัดขาดโดยอรหัตมรรคได้แก่สังโยชน์ที่เหลืออยู่ ๕ อย่างคือ
    ๖. รูปราคะ คือ ความยินดีในรูปภพ
    ๗. อรูปราคะ คือ ความยินดีในอรูปภพ
    ๘. มานะ คือ ความสำคัญตน ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
    ๙. อุทธัจจะ คือ ความที่จิตฟุ้งซ่านไป ไม่สามารถตั้งอยู่อารมณ์เดียวได้นาน
    ๑๐. อวิชชา คือ ความไม่รู้ ความมืดหลงของจิต หรือ โง่ หรือ โมหะ ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง

    คุณวิเศษของพระอรหันต์ได้รับมีดังนี้
    ๑. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอรหันต์ได้
    ๒. ไม่มีกิเลสเหลือในจิตใจแม้แต่เพียงนิดเดียว
    ๓. เมื่อดับขันธ์ต้องปรินิพพานอย่างเดียว

    ประเภทพระอรหันต์ แบ่งตามกำลังสมาธิได้ 2 ประเภท

    ๑. เจโตวิมุตติอรหันต์ ได้แก่ท่านผู้ที่ได้ฌานมาก่อน แล้วมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หรือท่านที่ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างเดียว แต่เมื่อพระอรหัตมรรคจะอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็อุบัติขึ้นในขณะนั้นเอง ด้วยบารมีที่สั่งสมมา ท่านเหล่านี้เรียกว่า ฌานลาภีบุคคล คือสำเร็จฌานสมาบัติ ได้วิชา ๓ อภิญญา ๖ มีคุณสมบัติแสดงฤทธิ์ทั้งหลายได้

    ๒. ปัญญาวิมุตติอรหันต์ ได้แก่พระอรหันต์ที่ท่านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวล้วน ๆ และฌานไม่มีเกิดขึ้นเลย พระอรหันต์เหล่านี้มีชื่อว่า สุกขวิปัสสโก ไม่สามารถที่จะแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้.<!--End Main-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...