คือสงสัยว่า..เราจะได้ฌาน 4 จากกสิณได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย not05012536, 2 พฤศจิกายน 2011.

  1. not05012536

    not05012536 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +34
    ครับก็อย่างที่ถาม เราจะได้ฌาน 4 จากกสิณได้อย่างไร

    ผมข้องใจอยู่ครับว่า..หากเราฝึกกสิณไปเรื่อยๆจนชำนาญแล้ว ฌาน 4 มันจะได้เองใช่ไหมครับ โดยที่ไม่ต้องไปฝึกอานาปนสติ เพราะเป็นฌาน 4 แบบเดียวกัน

    แล้วคือเราจะเข้าฌาน 4 ได้เองใช่ไหมครับหากเราฝึกกสิณจนคล่องอะครับ

    ผมสงสัยจริงๆ

    เพราะความคิดของผมคือ ต้องฝึกอานาปนสติก่อนจนเข้าถึงฌาน 4 ได้คล่องถึงไปฝึกกสิณ

    เพราะเวลาอธิษฐานท่านบอกว่าให้เข้าฌาน 4 ก่อนแล้วถอยลงมาเป็นอุปจารสมาธิแล้วถึงอธิษฐาน (ไม่รู้กล่าวผิดประการใดนะครับ ผมไม่ชำนาญจริงๆ)

    แล้วอิตรงเข้าฌาน 4 ตรงนี้ผมก็เลยสงสัยว่ามันเป็นยังไงหว่า


    มันเป็นแบบเดียวกับอานาปนสติใช่ไหมครับ


    แล้วการได้ฌาน 4 จากกสิณ โดยไม่ฝึกอานาปนสตินี่คงยากน่าดูเนอะครับ
     
  2. not05012536

    not05012536 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +34
    พิมเอง งงเองเหมือนกัน
     
  3. วัชรวงศ์

    วัชรวงศ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +7
    พยายามตอบตามความรู้เท่าที่มีเน้นโดยสัมมาทิฏฐิเป็นสำคัญ

    1.เรื่องของฌานเป็น1ใน4เรื่องอจินไตยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนว่าห้ามสงสัยเพราะเพราะเกินวิสัยที่ผู้ยังไม่ปฏิบัติจะหยั่งถึงมิเป็นประโยชน์มีแต่ผลเสียถ่ายเดียว
    2.ให้ตระหนักว่าการฝึกสมาธิในกสินในฌานหรือในกองกรรมฐานทั้ง40 มีปัจจัยสำคัญคือ ธรรมทั้งปวงเป็นไปเพื่อระงับแลดับกิเลส มิใช่เพื่ออิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหารใดๆ ต้องสำเนียกเพียงว่าการปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อระงับแลดับกิเลสความโลภโกรธ หลงแลดับความอยากได้ อยากมี อยากเป็น เป็นสำคัญแลมีการปฏิบัติโดยสัมมาทิฏฐิเป็นพื้นฐานพระพุทธองค์ทรงตรัสอย่างไร ต้องปฏิบัติให้ตรงตามแนว ทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพือความเป็นสัมมาทิฏฐิ
    3.ฌานคือการเพ่งโดยมีรากเหง้าสำคัญคือศีลที่บริสุทธิ์และสติที่บริสุทธิ์ การเพ่งอยู่ในอารมณ์เดียวในกสิณในกรรมฐานทั้ง40ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ โดยมีสติละลึกได้สัมปะชัญญะความรู้แลมีศีลแลสติอันบริสุทธิ์เป็นฐานที่สำคัญ จิตเพ่งในกสิณโดยมีศีลแลจิตที่บริสุทธิ์ และมีสติและสัมปะชัญญะแม้เพียง1ลมหายใจจิตนั้นเป็นบุญแลอัพยากฤตเป็นที่สุด เพราะจิตนั้นห่างจากกิเลส แต่ให้ระมัดระวังความยึดติดถือมั่น เพราะการเพ่งกสิณอาจจะเกิดอารมณ์ปทังคประหารคือการดับกิเลสได้ในขณะเพ่งแลเมื่อหลังจากปฏิบัติมีสิ่งที่มากระทบกับผัสสะทั้ง6 อายตนะทั้ง12 กิเลสความเคยชินในกรรมที่กระทำบ่อยๆก็งอกฟูมาใหม่
    โดยต้องตระหนักว่าเมื่อปฏิบัติแล้วความโลภโกรธหลง มานะความยึดติดถือมั่น ทิฐิต้องลดลงเป็นสำคัญ
    4.การปฏิบัติก่อนเพ่งกสิณ ให้สามาทานศีลแลจิตให้บริสุทธิ์ แลให้อาราธนาคุณพระศรีพระรัตนตรัยให้การปฏิบัติครั้งนี้เป็นไปโดยสัมมาทิฏฐิ เป็นไปเพื่อระงับแลดับกิเลส มิใช่เพื่อความอยากได้อยากมีอยากเป็น เป็นสำคัญ
    ปล ท่านผู้มีความสนใจเรื่องนี้แปลว่าท่านมีเจตนาที่ดีมาก แลบริสุทธิ์ในการที่จะปฏิบัติธรรม ท่านเป็นคนดี ขอให้กำลังใจท่าน ว่าท่านทำดีย่อมได้ดี ท่านปลูกข้าวย่อมได้ข้าวเป็นแน่แท้โดยมิต้องสงสัย
    กระผมขอขอบพระคุณมากครับสำหรับผู้ตั้งกระทู้นี้
     
  4. วัชรวงศ์

    วัชรวงศ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +7
    ถึงท่านเจ้าของกระทู้

    ขอองค์สมเด็จพระรัตนตรัยคุ้มครองให้เจ้าของกระทู้นี้ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิบุคลแลเป็นคนดีแลปวงญาติ สุขกายสุขใจไปตลอดชีวิตตราบเท่านเข้าสู่พระนิพพานเทอญ
     
  5. ลูกหลานปู่

    ลูกหลานปู่ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +74
    กลายเป้นกระทุ็เด่นไปเลยนะครับบบบ...555+
    ---------------------------------
    ผมคงไม่สามารถอธิบายในสิ่งที่ท่านกำลังสงสัยทั้งหมดได้นะครับ
    แต่ถ้าหากจะถามจริงๆ......ผมมีความมั่นใจมากในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัส...หรือแม้กระทั่งพระอาจารย์หลายๆท่านที่เคยได้อ่านได้ฟังมา...และปฎิบัติตามก็ถือว่าได้ผลจนเป็นที่น่าพอใจ.....
    -----
    จะขอสรุปหลักการปฏิบัติง่ายๆก็แล้วกันนะครับ
    1.ก่อนอื่นอย่าพึ่งไปพูดถึงเรื่อง อานาปานสสติ หรือกสินเลย นะครับ...เราพูดถึงหลักใหญ่ใจความสำคัญเลยดีกว่า.....คือ...กรรมฐานใดๆก็ตามทั้ง40 กอง นั้นล้วนแล้วแต่เป้นอุบายทั้งสิ้น(ความจริงมีมากมายกว่านั้นอีก แต่พระพุทธเจ้าทรงแนะ คือ อย่าทรมานตนเกินเหตุ เปล่าประโยชน์ และอย่าอ่อนปวกเปียก) กรรมฐาน40 กองนี้จึงเป็นสายกลางๆที่ ไม่เกินวิสัยที่คนเราจะปฏิบัติได้ กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนี้ แม้หยิบมาเพียงกองใดกองหนึ่งก็สามารถ...ทำได้เหมือนกันทุกอย่าง...และผล คือได้ชาญ4 เหมือนกันหมด..การฝึกกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็เพื่อพัฒนาจิตให้มีสมาธิมีความมั่นคงแน่วแน่..ไม่จำกัดว่าทางขึ้นเป็นอานาปานุสติ หรือกสินอะไรก็ได้เหมือนกันทั้งนั้น....ดังนั้นคำถามที่ว่า ฝึกกสินได้ชาญหรือไม่ คำตอบคือได้ครับ....
    2.หลักการปฏิบัติ ในการเพ่งกสิน พิจารณา อสุภะ หรือ สิ่งไหนๆ อันใดก้ตามที่ ไม่เกี่ยวเนื่อง กับวิปัสนา จัดเป็น สมถะกรรมฐาน สมถะคือ ความเป็นปกติ ความเป็นธรรมดา นั่งยืน เดินนอน สามารถพิจารณา อนุสติทั้งสิบได้ เจอลมจับลม เจอไฟจับไฟพิจารณา ว่างๆ ทบทวนตัวเองให้มีความระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ เป็นการฝึกเตรียมใจให้มีคุณภาพ และการฝึกให้ต่อเนื่องทำให้เคยชิน เหมือนเพ่งกสิน เพ่งไปจน ชิน ไอ้ชินนี้แหละ คือ ชาญ..ความเคยตัวความอยู่ตัว สามารถนึกถึงแสงไฟ นึกถึงกสินแล้วเห้นทันที ย่อได้ขยายได้ ถ้าจับลมจะสังเกตุว่าถ้าถึงขั้นนี้แล้วลมแทบจะไม่มี เลย เหมือนว่าจะหายไป นั่นหมายความว่า มันกำลังจะเข้าใกล้วิปัสนาคือ จะเหมือนกับคนที่ท่องพุทธโธ ท่องจนลมหายนั่นเอง กลายเป้นทางเดียวกัน(ทางแยก 40 สาย รวมเข้าทางเดียว) การปฏิบัติในทางพุทธ จริงๆควรเกี่ยวเนื่องด้วยกันไปทั้งหมด ไม่ควรแยกว่า อันนี้ สมถะ อันนี้วิปัสนา แต่ควรจะต้องเกี่ยวเนื่องกันไปตลอด เพราะ เมื่อได้ถึง ระยะเวลาหนึ่งที่จิตรวมศูนย์สู่ความสงบได้แล้ว จิตจะแปรสภาพไป กลายเป็นวิปัสนาได้เอง เมื่อถึงเวลานั้นจะมาเป้นอาปานุสติก็ย่อมได้ แต่ถ้าจิตถึงจริงๆ ลมหายใจจะไม่มีแล้ว มันจะหายไปเอง
    3.การปฎิบิติที่ว่าเข้าชาณ 4 แล้วถอยมาพิจารณาความหมายก้คือว่า...ฝึกให้มีจิตที่เข้มเข็ง แล้วค่อยถอยถอนเอาจิตที่เข้มเข็งนั้นแหละ มาพิจารณาเข้าห่ำหั่นถอนถอนกับกิเลส..จริงๆแล้วไม่ใช่อธิฐาน อย่างที่ว่า...(เว้นแต่จะเป็นการบำเพ็ญจิตเพื่อสร้างเป้นอธิฐานบารมี) ถ้าจิตได้ถึงขั้น ชาญ 4 แล้ว อย่าว่าแต่อธิฐานเลย จะเรียนอาคมคาถาให้มีฤทธฺ์ ปลุกเสกพราะก้ย่อมทำได้ ...เพราะ.เรียกง่ายๆก็คือการเข้าชาญก็เปรียบเสมือนการรวบรวมพลังจิตเพื่อรวมพลัง ฝึกให้มีสมาธิมากๆเพื่อให้จิตมีกำลังมาก ...เพื่อที่จะสู้กับกิเลส แต่เนื่องจากชาญ 4 ถ้ายังไม่ถอดถอนอุปาทาน จัดเป็นโลกียะ คือยังมีกิเลส อยุ่ การถอนจากชาญ 4 มายืนอยู่ที่ขั้น ต้น จึงจะเป็นการสามารถนั่งพิจารณากำจัดกิเลส แต่ละตัวออกไปได้ ...
    ------------------
    สรุป คือ ฝึกแบบไหน ได้เหมือนกันหมด เอาตามถนัดเลย...แถมไม่มีข้อห้ามว่า ฝึกกสินแล้วห้ามฝึกอาปานุสติ ฝึกพิจารณาได้ตลอดเวลา ทุกที่ทุกเวลาทั้งวันทั้งคืนยังได้ เพียงแต่มีหลักอยู่ข้อหนึ่งคือ ถ้าตั้งใจจะฝึกกสิน ก้เอากสินเป้นหลักไม่ควรเปลี่ยนไปเรื่อย เวลาที่ไม่ได้อยู่กับกสิน ก็พิจารณาอารมณ์ พิจารณาอย่างอื่นเป็นฐานควบคู่ไป วันนี้รักษาศีลได้ดี ก็จับ เป็นศีลานุสติ วันนี้หกล้มเจ็บขาก็จับมาพิจารณาเป็น กายาคตานุสติ ฯลฯ ได้ทั้งนั้นไม่มีข้อห้าม
    การฝึกสมาธิจิตเป็นการ
    ฝึกเพื่อให้จิตมีพลัง ...เพราะลำพังสมองเราอย่างโลกๆ ไม่สามารถแยกดีชั่วผิดถูก จากกิเลสตัณหาอุปาทาน ที่มีทั้งหยาบ ทั้งกลาง ทั้งละเอียดได้ เมื่อจิตถึงชาญ จิตจะมีพลังมาก คนที่จะสำเร็จได้ จึงสมควรที่จะได้ชาญ 4 อย่างชำนาญ ..เพราะการประหัญประหาญกิเลส ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ถ้าใช้เพียงลำพังใจธรรมดาๆอย่างๆเราๆ ที่ เปลี่ยนใจโลเลไปมา...ใจจะต้องหนักเน่นดั่งหินผาเท่านั้นถึงจะทำได้.....แปนกำลังใจ สู้ๆนะ....^^^^
     
  6. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ตอบตามที่เข้าใจมา(ไม่ได้เป็นผู้รู้จริง)

    ณาน 4 ไม่ได้เกิดจากกสิณ แต่เกิดจากการละนิวรณ์

    ณานที่เกิดจากกสิณก็ไม่เหมือนณานที่เกิดจากอานาปานสติ เพราะรสของแต่ล่ะกรรมฐานมีรสไม่เหมือนกัน เหมือนกับคนสองคนขึ้นเขาไปด้วยกัน คนหนึ่งไปนั่งตากลม คนหนึ่งไปดูพระอาทิตย์ตก ทั้งสองคนมีความสุข แต่มันก็คนล่ะอารมณ์กัน

    และณานที่เกิดจากกสิณไม่มีส่วนในการละกิเลส ผู้เจริญกรรมฐานต้องขวนขวายวิปัสนาเอาเองจึงจะละกิเลสได้

    ณานที่เกิดจากอานาปานสติมีส่วนในการละกิเลสในตัว ผู้เจริญกรรมฐานไม่จำป็นต้องขวนขวายวิปัสนาอีก

    ส่วนในการแสดงฤทธิ์ ก็ต้องใช้ณานที่เป็นกสิณเป็นบาทเช่น จะเหาะเหิรเดินอากาศ ก็ต้องกำหนดเอา ปฐวีกสิณหรือวาโย(ลม)กสิณเป็นบาท ถ้ากำหนดเอาอาโป(น้ำ)กสิณเป็นบาท สงสัยจะจมลงไปในดินมากกว่า แต่ถ้าไปกำหนดอานาปานสติเป็นบาท ก็อาจเห็นว่า โอ้ ฤทธิ์เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เลยไม่ต้องได้ใช้ฤทธิ์กัน 555

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 พฤศจิกายน 2011
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ครับก็อย่างที่ถาม เราจะได้ฌาน 4 จากกสิณได้อย่างไร

    ฝึกกสิณสิครับ...

    ผมข้องใจอยู่ครับว่า..หากเราฝึกกสิณไปเรื่อยๆจนชำนาญแล้ว ฌาน 4 มันจะได้เองใช่ไหมครับ โดยที่ไม่ต้องไปฝึกอานาปนสติ เพราะเป็นฌาน 4 แบบเดียวกัน

    ใช่ครับ..

    แล้วคือเราจะเข้าฌาน 4 ได้เองใช่ไหมครับหากเราฝึกกสิณจนคล่องอะครับ

    ใช่ครับ

    ผมสงสัยจริงๆ

    เพราะความคิดของผมคือ ต้องฝึกอานาปนสติก่อนจนเข้าถึงฌาน 4 ได้คล่องถึงไปฝึกกสิณ

    ใช่เช่นกันครับ...

    เพราะเวลาอธิษฐานท่านบอกว่าให้เข้าฌาน 4 ก่อนแล้วถอยลงมาเป็นอุปจารสมาธิแล้วถึงอธิษฐาน (ไม่รู้กล่าวผิดประการใดนะครับ ผมไม่ชำนาญจริงๆ)

    รอไปทำให้ได้ฌาน ๔ ก่อนนะครับ..สงสัยไปได้ก็แค่นั้น...

    แล้วอิตรงเข้าฌาน 4 ตรงนี้ผมก็เลยสงสัยว่ามันเป็นยังไงหว่า

    ยังทำไม่ได้เลย วิธีการเขามีบอกหมดแล้ว...ทำได้เมื่อไร หมดสงสัย...


    มันเป็นแบบเดียวกับอานาปนสติใช่ไหมครับ

    อารมณ์เดียวกัน แต่รูปแบบวิธีการไม่เหมือนกัน อีกอันมีรูป อีกอันไม่มีรูป..

    แล้วการได้ฌาน 4 จากกสิณ โดยไม่ฝึกอานาปนสตินี่คงยากน่าดูเนอะครับ

    ยากไม่ยากแล้วแต่คน...
     
  8. พรพรพรพรพ

    พรพรพรพรพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +1,298
    รู้สึกเคยฟังจาก mp3 ชุด อาณาปานุสติ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านว่า กรรมฐานทั้ง40กองนั้น มีแต่เพียงอาณาปานุสติเท่านั้นแหละที่เป็นฌาณ อีก 39 กอง เป็นแต่เพียงการคิด

    และเมื่อฟังชุด ฌาณ1-4 ท่านก็สอนเน้นจับลมหายใจอย่างเดียว เพียงแต่เสริมไปว่าถ้าใครจะจับภาพพระด้วยก็ได้ แต่อย่างทิ้งลมหายใจ
    ผมเลยคิดว่าการที่สามารถใช้กสิณจนถึงฌาณ 4ได้ จริงๆแล้วคือเข้าถึงฌาณ4ได้ด้วยอาณาปานุสติต่างหาก หากคิดว่าเข้าถึงฌาณ4โดยไม่ใช้อานาปานุสติคงเป็นเพียงแค่การหลอกตัวเองครับ
     
  9. not05012536

    not05012536 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +34
    ผมว่าตรงนี้คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พรพรพรพรพ<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5304056", true); </SCRIPT> น่าจะเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่นะครับ
    การฝึก 40 กรรมฐานนั้น ผมคิดว่าทุกกองเข้าฌานได้หมด แต่บางกองจะเข้าได้ไม่ครบทุกฌาน อย่างเช่น อานาปานสติ กับ กสิณ นี่สามารถทำให้ฝึกได้ตั้งแต่ฌาน 1 ถึง ฌาน 4 เลยครับ ส่วนกองอื่นๆนั้น บ้างก็ได้แค่ฌาน 1 ถึง ฌาน 3 บ้างก็ได้แค่ฌาน 2 กับ ฌาน 3 เท่านั้น


    เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนไว้เพื่อให้มีสติ แต่มนุษย์บางคนอาจจะชอบไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะไม่ถูกวิสัยกับ อานาปนสติ อะไรแบบนี้ เลยต้องไปฝึกวิธีอื่นแทน ผมว่าเหมือนท่านสร้างตัวเลือกไว้หลายๆตัวสำหรับนักปฏิบัติที่ต้องการสมถะ




    (ผมก็แค่รู้แบบงูๆปลาๆนะครับ ศัพท์ก็ไม่อะไรมากอย่าถือสาเลยครับ)
     
  10. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    รู้แต่ว่าภาพของกสินจะเปลี่ยนไป จากสีแดง ค่อย ๆ กลายเป็นสีส้ม สีขาว แล้วแพรวพราวเป็นระยิบระยับ ความรู้สึกทางร่างกายก็ตามฌาณที่ได้
     
  11. not05012536

    not05012536 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +34
    ครับ ตอนนี้ผมก็หาคำตอบได้แล้ว

    ที่ว่าเข้าฌาน 4 นี่คือตอนที่เราเห็นภาพของกสิณแพรวพราวเป็นระยิบระยับนี่คือ ฌาน 4 ของกสิณนั่นเอง แต่ถ้าเป็นแบบอานาปนสติจะเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็คืออารมณ์เดียวกัน คือ ฌาน 4 นั่นแหละ

    ไม่รู้ผมเข้าใจถูกไหมนะครับ

    มันก็แล้วแต่ว่าเราจะฝึกฌาน 4 จากอานาปนสติ หรือ กสิณ
     
  12. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    มันจะแพรวพราวตั้งแต่ฌาณหนึ่ง แต่ความแพรวพราวจะต่างกัน
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    หลวงพ่อท่านเทศน์ในเรื่องของอานาปานุสตินั้น ถูกแล้วนะครับ....อานาปานุสสติเป็นแม่บทของกรรมฐานอีกกองหนึ่ง..ท่านสอนในวิธีของบุคคลที่ฝึกอานา หรือ กำลังจะฝึกกรรมฐานอานา ในรู้ถึงอานิสงค์ของอานาปานุสสติ....ตลอดจนถึงการเชื่อมโยงสู่การฝึกกรรมฐานกองอื่น....

    มันเป็นเรื่องปกติครับ...ถ้าใครก็ตามที่ฝึกอานาปานุสสติแล้วสำเร็จ ฌาน ๔ จะไปฝึกกรรมฐานกองอื่นนั้นได้ง่าย....เพราะจริงๆอารมณ์ของฌาน ๔ ในทุกกรรมฐาน มีสภาวะเดียวกัน....หากแต่แตกต่างกันตรงวิธีการเท่านั้น....

    แต่ถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าเราไม่เคยฝึกอานามาก่อน เราจะมาฝึกกสิณเลยได้หรือไม่ คำตอบนี้อย่างไรก็ต้องตอบว่าได้ครับ....เพราะบุคคลแต่ละบุคคลนั้น จริต พื้นฐานมาไม่เหมือนกัน....บางคนนั้นฝึกอานา ยากมาก ฟุ้งง่าย เพราะว่า ธรรมชาติของอานาปานุสสติเป็นกรรมฐานที่เบา ไม่มีรูป หลุดง่ายมาก....ฝึกกสิณนั้นจะง่ายกว่าเพราะมีรูปไว้จับ....

    จริงๆ ในกรรมฐาน ๔๐ นี้ มีกรรมฐานหลายกองที่เราสามารถนำมาเป็นแม่บทของกรรมฐานได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านอานา


    ขีดขั้นความสำเร็จ

    ขีดขั้นความสำเร็จของกรรมฐานแต่ละประเภท[ซ่อน]
    <table style="width:100%;border-width:0px 1px 1px 1px; border-color:#aaaaaa; border-style:solid;text-align:left"> <tbody><tr> <th>
    </th> </tr> <tr> <td>กสิณ 10</td> <td>ปฏิภาคนิมิต</td> <td>อุปจารสมาธิ</td> <td>ปฐมฌาน</td> <td>ทุติยฌาน</td> <td>ตติยฌาน</td> <td>จตุตถฌาน</td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#F8F8FF">อสุภะ 10</td> <td bgcolor="#F8F8FF">ปฏิภาคนิมิต</td> <td bgcolor="#F8F8FF">อุปจารสมาธิ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">ปฐมฌาน</td> <td>ทุติยฌาน</td> <td>ตติยฌาน</td> <td>จตุตถฌาน</td> <td>
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>อนุสติ 8ข้อแรก</td> <td>
    </td> <td>อุปจารสมาธิ</td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#F8F8FF">กายคตาสติ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">ปฏิภาคนิมิต</td> <td bgcolor="#F8F8FF">อุปจารสมาธิ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">ปฐมฌาน</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>อานาปานสติ</td> <td>ปฏิภาคนิมิต</td> <td>อุปจารสมาธิ</td> <td>ปฐมฌาน</td> <td>ทุติยฌาน</td> <td>ตติยฌาน</td> <td>จตุตถฌาน</td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#F8F8FF">อัปปมัญญา 3ข้อแรก</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">อุปจารสมาธิ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">ปฐมฌาน</td> <td bgcolor="#F8F8FF">ทุติยฌาน</td> <td bgcolor="#F8F8FF">ตติยฌาน</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>อุเบกขาพรหมวิหาร</td> <td>
    </td> <td>อุปจารสมาธิ</td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>จตุตถฌาน</td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#F8F8FF">อาหาเรปฏิกูลสัญญา</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">อุปจารสมาธิ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>จตุธาตุววัฏฐาน</td> <td>
    </td> <td>อุปจารสมาธิ</td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#F8F8FF">อากาสานัญจายตนะ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">อุปจารสมาธิ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">จตุตถฌาน</td> <td bgcolor="#F8F8FF">อากาสานัญจายตนะ</td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>วิญญาณัญจายตนะ</td> <td>
    </td> <td>อุปจารสมาธิ</td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>จตุตถฌาน</td> <td>วิญญาณัญจายตนะ</td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#F8F8FF">อากิญจัญญายตนะ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">อุปจารสมาธิ</td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">
    </td> <td bgcolor="#F8F8FF">จตุตถฌาน</td> <td bgcolor="#F8F8FF">อากิญจัญจายตนฌาน</td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>เนวสัญญานาสัญญายตนะ</td> <td>
    </td> <td>อุปจารสมาธิ</td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>
    </td> <td>จตุตถฌาน</td> <td>เนวสัญญานาสัญญายตนะ</td></tr></tbody></table>

    ตารางอ้างอิงจากเรื่อง กรรมฐาน โดย สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย.

    สามารถดูจากตารางได้ครับ กรรมฐานกองใดก็ตามที่สามารถทำได้ถึง ฌาน ๔ สามารถเป็นแม่บทกรรมฐานที่ดีได้ครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2011
  14. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    กระทู้น่าสนใจดีครับ

    ผมพูดเรื่องคำทางพระไม่เป็นนะครับ แต่อยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันบ้าง ไม่ได้เข้ามาตอบกระทู้ เพราะความรู้ไม่เข้าขั้น

    ในบรรดากรรมฐานทั้ง 40 แบบ ทุกแบบต้องมีรากฐานมาจากอานาปนสติกรรมฐานทั้งสิ้นครับ เรียกว่าอานาปนสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานของกรรมฐานอีก 39 อย่างที่เหลือ

    กรรมฐานทั้ง 40 แบบ มีบางกองที่สามารถคุมอารมณ์ให้ถึงฌาน 4 ได้ ซึ่งท่านข้างบนได้แยกแยะไว้ให้เห็นแล้ว โดยอานาปนสติและกสิณ เป็นกรรมฐานที่สามารถเจริญให้ถึงฌาน 4 ได้ทั้งคู่

    คนที่ฝึกปฏิบัติ ก็แล้วแต่จริตครับ บางคนไม่ถนัดอานาปสติเลยก็มี แต่ถนัดกสิณมากๆ ฝึกอานาปนสติแบบไม่เน้น พอได้พื้นฐานบ้าง คิดว่าคงจะเอาดีไม่ได้แล้ว แต่พอไปจับกสิณ กลับทำได้ดี แบบเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จนเข้าออกฌานคล่องแคล่ว (ในกสิณ) อย่างนี้ก็มี

    บางคนมีเหมือนกัน ถนัดอานาปนสติมาก แต่ไม่คล่องกสิณเลย แต่อยากฝึกกสิณ ก็สามารถฝึกกสิณได้สำเร็จเหมือนกัน โดยอาศัยพื้นที่อบรมมาดีแล้วจากอานาปนสติกรรมฐานเป็นตัวช่วยสนับสนุน

    สรุปว่าแล้วแต่จริตของแต่ละคนครับ

    อารมณ์ของฌาน 4 กรรมฐานทุกกองเหมือนกันหมดคือเป็นเอกัคคตาและอุเบกขา ต่างกันตรงจุดสังเกตของอาการครับ

    อานาปนสติ เขาจับเรื่องลมเป็นสำคัญ ฌานยิ่งระดับสูงขึ้น ลมหายใจยิ่งบางเบา ละเอียดขึ้น จนหายไป

    กสิณ เขาไม่เน้นลมหายใจ แต่เขาจับกันที่ภาพนิมิต ฌานยิ่งระดับสูงขึ้น ภาพนิมิตจะยิ่งมีสีสัน วรรณะ เปลี่ยนไป จนเป็นประกายพรึก สว่างไสว ชัดเจน เรียกว่าฌานเกิด นิมิตเกิด ฌานหาย นิมิตก็เสื่อมสภาพไป

    พอจะเห็นความแตกต่างกันหรือยังครับ

    อันนี้ว่ากันตามตำรา แต่ถ้าปฏิบัติจริง จะพบว่ามีอะไรปลีกย่อยอีกเยอะ ที่จะต้องทำความคุ้นเคยและจดจำ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าจะมาตามตำราตรงๆ เสมอไป

    แต่พูดก็พูดเถอะ ผมว่ากรรมฐานทั้ง 40 กอง ทุกแบบถ้ามีอุปนิสัยชอบสังเกต ชอบทดลอง ชอบพลิกแพลง ดัดแปลง และผสมผสาน สามารถใช้ฝึกปฏิบัติให้เข้าถึงอรูปฌานได้ทั้งสิ้น อยู่ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา ค้นคว้า ทดลองกันเอาเอง เพราะปรากฏการณ์ทางจิต มีอยู่ทุกรูปแบบ เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสนช่องทาง ที่จะให้พลิกแพลง สำหรับผู้ที่ชอบทางด้านนี้ จะพบว่ามีเรื่องน่าตื่นเต้นมากมาย อย่างที่เรียกว่าการเล่นกีฬาทางจิตนั่นล่ะครับ

    เรื่องการพลิกแพลงกรรมฐานทั้ง 40 กอง ให้ถึงอรูปฌาน ถ้ามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับท่านที่มีจริตเป็นพุทธภูมิ ที่ศึกษากรรมฐานทั้ง 40 มาครบถ้วน (ในที่นี้ก็มีเยอะครับ) เจ้าของกระทู้จะพบว่า เรื่องฌานเรื่องสมาธิ มีอะไรให้ค้นคว้าอีกมาก ตรงจุดนี้ท่านจึงต้องให้ระวังในเรื่องของการติดฌาน (รูปราคะ อรูปราคะ) ที่มีกล่าวไว้ในเรื่องของสังโยชน์ 10 ครับ
     
  15. nirvana001

    nirvana001 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +2
    ฌาน4 ในกสินก็ต้องละดวงกสิน ไม่งั้นจะถึงฌาน4ได้อย่างไรถ้าไม่ละวิตก วิจารณ์ ปิติ สุข
    ดวงกสินละตั้งแต่ทุติยฌานแล้ว
    ถ้าไม่ละก็แค่ปฐมฌาน

    แนวทางของกสินเมื่อได้องค์ประกอบของฌานแล้ว
    ปฐมฌาน เกิดดวงกสินขึ้นในมโนทวาร(วิตก,วิจารณ์) มีปีติ มีสุข จิตรวมเป็นหนึ่งในดวงกสิน(เอกัคตาจิต)
    ทุติยฌาน ละดวงกสินเพราะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้ เห็นความหยาบในดวงกสิน มีปีติ สุข และจิตเป็นหนึ่ง(เอกัคตา)
    ตติยฌาน พิจารณาปีติเห็นความไม่เที่ยงแท้ของปีติ ปีติดับเหลือแต่สุขและเอกัคตา
    จตุตถฌาน พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของสุข สุขดับ เหลืออุเบกขาและเอกัคตา
    นี่คือวิปัสสนาในองค์ฌาน

    ส่วนฤทธิ์จะเกิดขึ้นเมื่อจิตเป็นเอกัคตาเท่านั้น ตามความปรารถนา(อธิษฐาน)ก่อนจะเข้าฌาน ฤทธิ์จะเกิดได้จิตต้องไม่ถอยออกไปจากฌานสี่มีความเพียรอันยิ่งไม่ถอยถ้าไม่เกิดฤทธิ์ที่ตนปรารถนา"เรียกว่าตายเป็นตาย" จิตต้องตั้งมั่นจริงๆ เมื่อตั้งมั่นแล้วถึงน้อมจิตไปให้เกิดฤทธิ์ได้

    ปล.คนที่ได้ปัญญาในวิปัสสนาแล้วจะไม่กลัวฌาน เพราะสมาธิ(ฌาน)เป็นของคู่กันกับปัญญา อาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าเข้าขั้นวิปัสสนาแล้วจะเข้าใจว่าสมาธิ(ฌาน)คือผลของปัญญา
     
  16. not05012536

    not05012536 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +34
    อ้าวการฝึกกสิณ นี่ไม่ใช่ว่า ยึดเอารูปนิมิตเป็นเครื่องระลึกหรอครับ แล้วเพราะฉะนั้นจะไปละได้ยังไง

    ผิดกับอานาปานุสติที่ยึดลมหายใจ



    ผมเข้าใจถูกไหมนิ
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ฝึกกสิณ เอานิมิตกสิณเป็นตัวสำคัญในการปฏิบัติครับ...คุณเข้าใจถูกแล้วนะ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2011
  18. nirvana001

    nirvana001 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +2
    ทำๆไป ภาวนาไปสักวันก็จะเข้าใจเองแหละว่าทำไมต้องละดวงกสินเพื่อเข้าสู่ฌานที่สูงกว่า

    ตอนแรกๆก็แบบนี้แหละต้องเพ่งไว้
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ^-^

    ไปเอาที่ใหนมาครับ...ฝึกกสิณ ทิ้งภาพนิมิต มันจะเป็นการกสิณได้อย่างไรครับ...

    ถ้าทิ้งแล้วจะเอาอะไรเป็นฐานของจิต เป็นที่ตั้งของสติหละครับ....เป็นไปไม่ได้นะ....
     
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ท่านจะถือใบปริญญาไปตลอดเลยหรือ
    ปล.ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...