อาการตกฌาณคืออะไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย overmage, 6 ตุลาคม 2011.

  1. overmage

    overmage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +128
    ตรงตามห้วข้อที่ตั้งครับ อยากทราบว่่า อาการตกฌาณ มันคืออะไรครับ

    มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีป้องกันและแก้ไขไหมครับ

    เนื่องจากเมื่อวันก่อนผมมีโอกาสไปปฏิบัติกับ คุณแม่ที่ผมนับถือ แล้วเกิดอาการ

    ใจเต้นรัว คล้ายกับว่าตื่นเต้นอะไรบางอย่าง ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น อารมย์ใจนิ่ง

    กำลังจับภาพพระ บังเอิญมีคนผ่านมาแล้วคุยกันค่อนข้างเสียงดัง ก็เกิดอาการดังกล่าว

    สอบถามคุณแม่ที่นับถือ ได้ความว่า เป็นอาการตกฌาณ ก็เข้าใจ

    แต่มาติดตรงที่ว่า ผมยังไม่เคยได้ฌาณเลย ไม่รู้จักเลยว่าฌาณคืออะำไรด้วยซ้ำ

    แล้วจะตกได้อย่างไร(ใจนึงไม่ค่อยเชื่อ เพราะคิดว่าตนยังเลว ไม่น่าจะได้)

    เลยอยากรบกวนสอบถามพี่ๆในบอร์ดเพื่อความแน่ใจครับ เพราะเหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรก

    แต่เกิดขึ้นหลายครั้ง ผมคิดเสมอว่ามันเป็นนิวรณ์

    ปล. หากอธิบายเรื่องฌาณ ขอพี่ๆโปรดอธิบายแบบสอนคนโง่นะครับขยายเยอะๆ

    เพราะบอกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา คือ ผมไม่เข้าใจครับ


    ขอโง่วันนี้เพื่อจะได้ฉลาดในวันหน้า ขอพี่ๆอย่ารำคาญที่จะช่วยน้องชายสร้างบารมีเลยนะครับ

    ขอขอบพระคุณครับ

    ขอผลบุญจงน้อมนำให้ท่านที่ชี้แนะ ประสบความสำเร็จ ตามที่มุ่งมั่นปรารถนา ทุกประการเทอญ
     
  2. aubasok

    aubasok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +483
    อาการเหมือนเราตกจากที่สูงครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <TABLE border=1 width="46%" align=center><TBODY><TR><TD height=27>
    พลัดตกจากฌาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    เรื่องอาการพลัดตกจากฌานนี้มีผู้ประสบกันมามาก แม้ผู้เขียนเองอาการอย่างนี้ก็พบมา
    ตั้งแต่อายุ ๗ ปี ตอนนั้นถ้ามีอารมณ์ชอบใจอะไรจิตจะเป็นสุข สักครู่ก็มีอาการเสียววาบคล้าย
    พลัดตกจากที่สูง ตอนนั้นเป็นเด็กไม่ได้ถามใครเพราะไม่รู้เรื่องของฌาน เป็นอยู่อย่างนี้มานาน
    เกือบหนึ่งปี เมื่อท่านแม่พาไปหา หลวงพ่อปาน หลวงพ่อท่านเห็นหน้า ท่านก็ถามท่านแม่ว่า
    เจ้าหนูคนนี้ชอบทำสมาธิหรือ ท่านถามทั้งๆ ที่เพิ่งเห็นหน้า ท่านแม่ยังไม่ได้บอกท่านเลย
    หลวงพ่อปานท่านก็พูดของท่านต่อไปว่า เอ..เจ้าหนูนี่มันม ทิพจักขุญาณ ใช้ได้แล้วนี่หว่า
    ท่านหันมาถามผู้เขียนว่า เจ้าหนูเคยเห็นผีไหม" ก็กราบเรียนท่านว่า "ผีเคยมาคุยด้วย
    ขอรับ แต่ทว่าเขาไม่ได้มาเป็นผี เขามาเป็นคนธรรมดาต่อเมื่อเขาจะลากลับเขา
    จึงบอกว่า เขาตายไปแล้วกี่ปี แล้วก็สั่งให้ช่วยบอกลูกบอกหลานเขาด้วย"
    หลวงพ่อปานท่านก็พูดต่อไปว่า "อาการที่เสียวใจคล้ายหวิวเหมือนคนตกจากที่สูง
    นั้นเป็นอาการที่จิตพลัดตกจากฌาน คือ เมื่อจิตเข้าถึงฌานมีอารมณ์สบายแล้ว
    ประเดี๋ยวหนึ่งอาศัยที่ความเข็มแข็งยังน้อย ไม่สามารถทรงตัวได้ ก็พลัดตก
    ลงมา"
    ท่านบอกว่า "ก่อนภาวนาให้หายใจยาวๆ แรงๆ สักสองสามครั้งหรือหลายครั้งก็ดี
    หายใจแรงยาวๆ ก่อน แล้วจึงภาวนา ระบายลมหยาบทิ้งไป เหลือแต่ลมละเอียด
    ต่อไปอาการหวิวหรือเสียวจะไม่มีอีก" ถ้าทำครั้งเดียวไม่หายก็ทำเรื่อยๆ ไป เมื่อทำ
    ตามท่านก็หายจากอาการเสียว ใครมีอาการอย่างนี้ลองทำดูแล้วกัน หายหรือไม่หายก็สุดแล้ว
    แต่เปอร์เซ็นต์ของคน คนเปอร์เซ็นต์มากบอกครั้งเดียวก็เข้าใจและทำได้แต่ท่านที่มีเปอร์เซ็นต์
    พิเศษไม่ทราบผลเหมือนกัน (ตามใจเถอะ)
    เป็นอันว่าเรื่องสมาธิหมดเรื่องกันเสียที เรื่องปฏิภาคนิมิตก็ของดไม่อธิบายไม่รู้จะอธิบาย
    ไปทำไม เพราะพูดถึงฌานแล้วก็หมดเรื่องกัน อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิขั้นฌานก็คืออารมณ์ฌาน
    นั่นเอง ปฏิภาคนิมิตเป็นนิมิตของฌานมีรูปสวยเหมือนดาวประกายพรึกรู้เท่านี้ก็แล้วกัน​

    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......


    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7
     
  4. วรรณนรี05

    วรรณนรี05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +903
    คุณเข้าใจถูกแล้วว่าตัวเองยังไม่ได้ฌาน อาการของฌานจะไม่หวั่นไหว ในเสียง หรือลำคาญใดๆเลย **ตอบ ว่าอาการ ที่บอกเล่านี้เรียกว่า ขนิกสมธิ แปลว่า ตั่งใจมั่นได้เล็กน้อย เช่นกำหนดจิต ตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี๋ยวประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนา เสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวจิตก็ช่าน อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ อารมณ์จิตยังไม่สว่างแจ่มใส ถาวนาไปตามอาจารย์สั่ง ขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่าเรียก ขนิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียกว่าฌาน เพราะอารมณ์ ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียก เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้** แสดงว่าผู้สอน ยังไม่เข้าใจ **และการที่คุณจะได้ฌาน ตัวคุณจะรู้เอง เดี๋ยว กลับมาคุยต่อช่วงค่ำ
     
  5. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,431
    รายละเอียดขออธิบายวันหลัง เข้าใจว่าเกิดจากสมาธิกับจิตไม่สัมพันธ์กันครับ สำหรับอาการที่เป็นครับ คือจิตถอนนะครับ สติยังค้างอยู่ครับ
     
  6. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,659
    เราเองมีอาการแบบนี้ตั้งแต่เด็ก แต่จะเป็นก็ตอนจะหลับคลื้มนั่นแหละ บางเวลาเป็นเกือบทุกคืน ไม่ได้นั่งสมาธิก็เป็น แล้วตอนนั่งสมาธิใหม่ๆ ก็คล้ายๆครั้งสองครั้ง แต่เดี๋ยวนี้นั่งแล้วไม่เป็นอาการนี้ แต่หลุดเลย ช่วยอธิบายหน่อยจ้ะ อนุโมทนา....สาธุ
     
  7. ภูตัง

    ภูตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +187
    สหายธรรม

    ผู้ผ่านการปฏิบัติมาแล้วด้วยตนเอง เจอมาแล้วด้วยตนเอง ย่อมเข้าใจได้ อธิบายได้ ผมไม่ได้รู้อะไรมากมาย แต่คิดว่าตามที่ ท่านวรรณรี05 บอกมาน่ะครับถูกต้องแล้ว
     
  8. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,431
    ลืมไปว่าไม่ว่างอีกเป็นหลายวัน ขอตอบวันนี้แล้วกันครับ
    ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า"ภวังค์"ก่อนนะครับ
    ภวังคบาต คือ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้น จะมีอาการให้วูบวาบลง เป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจำไม่ได้เลย ถ้าหากเจริญกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น
    ภวังคจลนะ คือเที่ยวหรือซ่านในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์นั้น ปฏิภาคนิมิต และนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมี แสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้
    จิตเมื่อเข้าถึงองค์ฌานได้ ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้
    ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่ง แล้วนิมิตนั้นก็หายไป พร้อมทั้งภวังค์ด้วย
    ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้ว ภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิต ที่น่าเพลินเพลิดนั้น โดยสำคัญว่าเป็นจริง บางทีก็รู้อยู่นั้นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้ง เพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง 10 ประการ มีโอภาโส แสงสว่าง เป็นต้น
    อธิบายปฐมฌาน
    วิตกมีวิตก
    ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์1
    วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว1
    เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปิติ1
    ปิติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข1
    แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคตา1

    คุณกำลังเข้าสู่ภวังค์ เมื่อมีเสียงเรียกเลยพลัดตกฌานนั้นถูกต้องแล้วครับ ส่วนใหญ่ที่เป็นเนื่องจากขาดคำว่า"วิริยะ"ครับ และธัมมวิจยะ ที่เลือกมาปฏิบัตินั้นมีนิมิตเป็นพื้นฐาน
    แก้ไขโดยต้องพิจารณา พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสงฆ์คุณให้มากๆเข้าไว้ครับ เพราะเรื่องนิมิตพระพุทธเจ้านั้น ไม่ค่อยอยากวิจารณ์ครับ เดี๋ยวก้าวล่วงเพื่อนสมาชิกคนอื่นครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  9. overmage

    overmage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +128
    ก่อนอื่น ขอขอบพระคุณในคำแนะนำของทุกท่านครับ

    มีอีกเรื่องที่ยังข้องใจครับ คำว่านิมิตนี่ หมายถึงภาพที่เราเห็นตอนอยู่ในสมาธิใช่ไหมครับ

    มันเป็นการเห็นเหมือนภาพฝัน เพียงแต่ตอนนั้น สติผมยังเต็ม 100 % รู้ตัวตลอด

    ยกตัวอย่างเช่น ภาพแรกผมเห็นตัวเองทำงานกับเพื่อนและเห็นภาพพระพุทธรูปองค์หนึ่ง

    อยู่ข้างๆ อีกสักครู่ แม้ว่าภาพจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เป็นผมไปสถานที่อื่น

    แต่ก็ยังเห็นพระพุทธรูปองค์เดิมอยู่ ในบริเวณเดียวกันกับที่ผมอยู่ อย่างนี้ นับว่าเป็นภาพนิมิตไหมครับ

    หรือว่าเป็นเพียงอุปทานครับ ผมยังขาดความเข้าใจเรื่องนี้อยู่มากครับ
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ถือว่าเป็นนิมิตครับ เพียงแต่ยังไม่คงที่ครับ หากคงที่ดีแล้ว

    นิมิตที่ตรึกขึ้นมาจะอยู่ได้นานครับ อย่างเห็นภาพพระพุทธรูป

    จะเห็นภาพพระพุทธรูปนั้นในเวลานานครับ แม้หลับตา หรือ ลืมตาครับ

    เห็นในลักษณะเหมือนการนึก หรือ การฝันครับ

    เมื่อคุณเห็นเช่นนั้นแล้ว ควรที่จะตรึกไว้ให้ได้นานๆครับ

    เมื่อได้แล้ว ให้ขยายให้ใหญ่ และ หดให้เล็กลง ทำสลับกันจนชำนาญครับ

    แล้วจึงค่อยหยุดเข้าไปในนิมิตนั้นครับ เมื่อนั้นคุณจะเห็นจิตเดิมแท้ครับ

    จิตนี้สำคัญครับ จิตที่มีหน้าที่รับรู้เท่านั้นครับ ไม่มีการปรุงแต่งแม้แต่น้อยครับ
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    นิมิตพวกลอยมาเองไม่ต้องไปสนใจมันครับ...เพิกทิ้งเลยนะ...ฝึกกสิณเขาไม่ใช้นิมิตแบบนี้....มันไม่เสธียร และไม่มีวันที่มันจะเสธียร เพราะที่มามันมาไม่ดีอยู่แล้ว...นิมิตลอยมาเอง ไม่มีวันที่จะคงที่ได้ มันจะเปลี่ยนรูปอยู่เป็นลักษณะ เพราะมันเป็นคุณสมบัติของมันเอง...

    นิมิตที่ลอยมา มันจะลอยผ่านหน้า สติครบครับ...ลอยผ่านเป็นฉากๆเหมือนเราดูหนังนั่นหละ....ไม่ต้องสนใจ...ไม่ต้องใส่ใจ....

    แต่ที่คุณเจอมันแปลกอย่างหนึ่ง พวกนี้มันจะมาเหนือความคาดหมายแต่คุณกำหนดเนื้อเรื่องได้...อันนี้เข้าขั้นจิตนาการเอง....
     
  12. ชัยปภัทร์

    ชัยปภัทร์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +3
    ผมขอถามท่านผู้รู้หน่อยครับ เวลาภาวนาดูลมหายใจเข้าพุทธ ออกโธ แล้วลมหายใจไปหยุดและจะกลั้นอยู่ตรงนั้น บางทีก้อนานครับ ส่วนมากจะมาติดอยู่ตรงนี้หละครับ ผมต้องแก้อยางไรครับ
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ที่นี่ตอนปฏิบัติเริ่มแรกนะครับ...ให้พยายามหายใจเข้าออก ช้าๆ สุดปอดสักสิบรอบลมหายใจ...สำรวจท่านั่งไม่ก้มหน้าเกินไป....อาการอึกอัดก็จะหายไปเองครับ....

    มันจะจางอีกครับเมื่อจิตเข้าถึงฌาน มันจะบางลง แต่ก็ยังหายใจนะครับ มันเป็นธรรมชาติของสมาธิ....ไม่ต้องตกใจ...ไม่ตายนะครับ...

    ___________________________________________________________


    <TABLE style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="26%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: #f0f0f0; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-RIGHT-COLOR: #f0f0f0; BORDER-LEFT-COLOR: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O:p</O:p
    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2011
  14. ชัยปภัทร์

    ชัยปภัทร์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +3
    กราบขออนุโมทนา ในธรรมทานอันเป็นกุศลนี้เป็นอย่างสูงครับ อนุโมทนาสาธุ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...