สมาธิ และ ปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 26 เมษายน 2011.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    สมาธิ เป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งก็จริง แต่ก็มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า สมาธิมีความจำเป็นแค่ไหนเพียงใด ในกระบวนการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงวิมุตติ อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม ขอบเขตความสำคัญนี้ อาจสรุปดังนี้
    ๑. ประโยชน์ของสมาธิ ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น อยู่ที่การนำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลที่สุด และสมาธิที่ใช้ในการนี้ก็ไม่จำต้องเป็นขั้นที่เจริญถึงที่สุด ลำพังสมาธิอย่างเดียวแม้จะเจริญถึงขั้นฌานสูงสุด หากไม่ก้าวสู่ขั้นใช้ปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้อย่างเป็นอันขาด
    ๒. ฌานต่างๆทั้ง ๘ ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่าสมถะอย่างเดียวแล้ว ยังเป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น จะนำไปปะปนกับจุดมุ่งหมายทางพุทธธรรมหาได้ไม่
    ๓. ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น กิเลสต่างๆสงบระงับไป จึงเรียกว่าเป็นการหลุดพ้นเหมือนกัน แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะนั้นเท่านั้น และถอยกลับสู่สภาพเดิมได้ ไม่ยั่งยืนแน่นอน ท่านจึงเรียกการหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์) เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้) และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่) (สามารถอ่านรายละเอียดเหตุผลได้ในนิวรณ์ ๕- webmaster)
    จากข้อพิจารณาที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า ในการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรมนั้น องค์ธรรมหรือตัวการสำคัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินใจในขั้นสุดท้าย จะต้องเป็นปัญญา และปัญญาที่ใช้ในการปฎิบัติการในขั้นนี้ เรียกชื่อเฉพาะได้ว่า วิปัสสนา ดังนั้น การปฏิบัติจึงต้องก้าวมาถึงขั้นวิปัสสนาด้วยเสมอ ส่วนสมาธิ นั้นแม้จะจำเป็น แต่อาจยืดหยุ่นเลือกใช้ขั้นใดขั้นหนึ่งก็ได้ เริ่มแต่ขั้นต้นๆ ที่เรียกวิปัสสนา-สมาธิ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ เป็นต้นไป....................
    ������ͤԴ �ҡ˹ѧ��;ط�����
    อ้างอิง
     
  2. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ความมุ่งหมายและประโยชน์ของสมาธิ
    ความมุ่งหมายของสมาธิที่ใช้อย่างถูกต้อง หรือพูดตามศัพท์ว่าความมุ่งหมายของสัมมาสมาธินั้นเป็นที่ชัดเจนดังได้กล่าวมาแล้วบ่อยๆว่า เพื่อเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาอย่างได้ผลดี พูดอย่างง่ายๆว่า สมาธิเพื่อปัญญา ดังบาลีที่เคยอ้างแล้วว่า "สมาธิเพื่ออรรถ คือ ยถาภูตญาณทัสสนะ (สมาธิเพื่อจุดหมาย คือ การรู้เห็นตามเป็นจริง)" บ้าง "สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ (ความมุ่งหมายและผลสนองที่พึงประสงค์ของสมาธิ คือ การรู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นจริง)" บ้าง จิตวิสุทธิ เพียงแค่มี ทิฎฐิวิสุทธิ เป็นอรรถ (การบำเพ็ญสมาธิให้จิตบริสุทธิ์ มีจุดหมายอยู่แค่จะทำ ความเห็นความเข้าใจให้ถูกต้องบริสุทธิ์)" บ้าง และอาจอ้างพุทธพจน์ต่อไปนี้มาสนับสนุนด้วย
    "สมาธิที่ศีลบ่มรอบแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก, ปัญญาที่สมาธิบ่มรอบแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก, จิตที่ปัญญาบ่มรอบแล้วย่อมหลุดพ้นโดยชอบเทียวจากอาสวะทั่งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ"
    แม้ว่าสมาธิจะมีจุดมุ่งหมายดังกล่าวมานี้ก็จริง แต่สมาธิก็ยังมีคุณประโยชน์อย่างอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากจุดมุ่งหมายนั้นอีก ประโยชน์บางอย่างเป็นผลพลอยได้ในระหว่างการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายของสมาธินั้นเอง บางอย่างเป็นประโยชน์ส่วนพิเศษออกไปซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนยิ่งกว่าธรรมดา บางอย่างเป็นประโยชน์ที่เกื้อกูลแม้แก่ท่านที่ได้บรรลุจุดหมายของสมาธิเสร็จสิ้นไปแล้ว
    โดยสรุป พอจะประมวลประโยชน์ของสมาธิได้ดังนี้
    ก. ประโยชน์ที่เป็นจุดหมาย หรือ อุดมคติทางศาสนา : ประโยชน์ที่เป็นความมุ่งหมายแท้จริงของสมาธิตามหลักพระพุทธศานา คือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งแห่งการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด อันได้แก่ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง
    ๑. ประโยชน์ที่ตรงแท้ของข้อนี้คือ การเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งสภาวธรรมตามความเป็นจริง เรียกตามศัพท์ว่า เป็นบาทแห่งวิปัสสนา หรือทำให้เกิดยถาภูตญาณทัศนะ(การรู้เห็นตามเป็นจริง) ดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่วิชชาและวิมุตติในที่สุด
    ๒. ประโยชน์ที่รองลงมาในแนวเดียวกันนี้ แม้ว่าจะไม่ถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริง คือการบรรลุภาวะที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสชั่วคราว ที่เรียกว่าเจโตวิมุตติประเภทยังไม่เด็ดขาด กล่าวคือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจพลังจิต โดยเฉพาะด้วยกำลังอำนาจของฌาน กิเลสถูกกำลังสมาธิ กด ข่ม หรือทับไว้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสมาธินั้น เรียกเป็นศัพท์ว่า วิกขัมภนวิมุตติ.....................................ฯลฯ
     
  3. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ผู้ที่ไม่มีปัญญา (...) จะไม่มีสมาธิ และ จะไม่ได้ปัญญาทางธรรม
     
  4. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    สมาธิเป็นเพียงที่พักกาย พักใจเท่านั้น สมาธิดับทุกข์ไม่ได้ มีแต่สติปัญญาที่เข้าไปรู้เห็นระหว่างความสงบ และความไม่สงบนั้นต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใดเท่านั้นที่จะดับทุกข์ได้...
     
  5. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    สติปัญญาที่ไม่มีสมาธิเป็นบาทฐาน
    เป็นแค่สติปัญญาโลกๆ ดับทุกข์ไม่ได้...



    สมาธิเป็นกำลังสำคัญหนุนเนื่องสติปัญญา
    หากไม่มีสมาธิ มีแต่สติปัญญา เรียกว่า อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)


    เสมือนมีดที่ไม่มีความคม ตัดกิเลสไม่ขาด
    การตัดต้นไม้ที่มีลำต้นใหญ่ กิ่งก้านสาขามาก เปลือกหนา
    ย่อมใช้มีดตัดลำต้นไม่ได้ สมควรเลือกใช้ขวาน จึงจะเหมาะสมกว่าการใช้มีด


    กิเลสก็เช่นเดียวกัน มีทั้งหยาบ กลาง ละเอียด
    ธรรมก็เช่นเดียวกันกับกิเลส มีทั้งหยาบ กลาง ละเอียด
    จะสรุปเอาง่ายๆ ตามความมักง่ายแบบโลกๆไม่ได้
    เพราะธรรมเป็นของละเอียดลึกซึ้ง รอบคอบ เกินกว่าการใช้ตรรกะแบบโลกๆ

    การพิจารณาธรรม จึงควรเลือกสมควรแก่กาลนั้นๆ
    เปรียบการเลือกอาวุธ ให้สมควรเหมาะแก่กาลนั้นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญที่สุด
    การพิจารณาธรรมก็เฉกเช่นเดียวกัน ให้พอสมควรเหมาะแก่กาลนั้นๆ
    จึงขึ้นชื่อว่า ประพฤติสมควรแก่ธรรม
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มีสติปัญญา เปรียบได้ดังมี สัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบ มีการดำริที่ตรงทาง ถึงแม้ยังไม่ได้
    เป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นผลแห่งสัจธรรมขององค์มรรค8
    แต่อนุโลมเรียกเป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นไฟฉายส่องเห็นความจริงแห่งสัจธรรมในเรื่องของโลกๆ
    ย่อมเป็นตัวนำในการเดินทางไปสู่ทางแห่งมรรค8ได้ ตรงทาง
    อันเปรียบได้ว่าคนมีสติปัญญาย่อมเข้าใจ ศีล สมาธิ ภาวนา ได้ตรงทางแล้ว
    อย่างอื่นก็รู้เองว่าที่ถูกต้องตรงทางของมรรค8 ต้องทำอย่างไรต่อไป

    แต่คนที่มีแต่สมาธิ สร้างแต่สมาธิ แต่ขาดสติปัญญา เมื่อถึงจุดที่สุดทางของสมาธิ
    แต่ไม่มีสติปัญญาไปรู้ไปเข้าใจเรื่องของศีล ละเลยเรื่องศีล มันก็จะพลาดหลงทาง
    ให้กับ โลกธรรม8 ให้กับ เงินทองลาภ ยศ สรรเสริญ หลงอภิญญา และเสื่อมจากสมาธิได้ง่ายๆ
    เผลอๆ จะคิดว่าตนเองบรรลุธรรม ทำอะไรก็ไม่ผิด กล้าทำเรื่องผิดศีลธรรม ทำร้ายคนอื่น
    ทางกายวาจาใจ ได้อย่างหน้าตาเฉย เพราะไม่มีหิริโอตัปปะ ไม่มีสติปัญญา มีแต่หลงใน
    อัตตาของตนว่าเป็นเลิศแล้ว บรรลุแล้ว มีแต่มานะคิดว่าอยู่เหนือโลกเหนือธรรมแล้ว
    หลงจนกู่ไม่กลับก็มี เพราะขาดสติปัญญาไม่เข้าใจเรื่อง ศีล ไปยึด ศีลพรต แทน

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  7. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    จริงๆ คนที่ไม่มีศีลก็มีสมาธิได้ แต่ไม่มีปัญญา นะ ทั้งๆ ที่เป็นปัญญาแบบโลกๆ ก็ตาม
    เอาตัวเองไม่รอดหรอก
    คนที่มีปัญญาแบบโลก แต่มีศีลเพราะเขาเริ่มมีสัมมาทิฐิ อ่ะนะ มันก็ จะได้สัมมาสมาธิ
    และมีปัญญาไป ประหารกิเลส แระเนอะ พี่น้อง
     
  8. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    นั่งเฝ้าคอมพ์ คุยเล่นทั้งวัน ท่าทางจะสติปัญญามาก สมาธิล้นเหลือ [​IMG]
     
  9. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    อ้าว มาบอกให้ชาวบ้าน เขารู้ทำไมเนี้ย ท่านวิดวะ น่าจะเก็บเป็นความลับคนเดียวนะเง้อ [​IMG]
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ปัญญาทางธรรม หมายถึงวิชา
    ของอย่างนี้ไม่ใช่นั่งหลับตาเป็นปีๆ แล้วรอ ร้อ รอ รอให้ปัญญามาโปรด
    หรือดีดนิ้วแล้วปัญญาเกิด

    ต้องค่อยๆสะสมไป ทีละเล็กละน้อย จะว่าลำดับญาณก้ได้
    ทั้งนี้ สติปัฏฐานสี่ ไม่ได้หมายถึงนั่งหลับตา แต่หมายถึงตามดูพิจารณาเกิดดับตรงฐานทั้งสี่
    ซึ่งธรรมนั้นมีอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน
    วิจิตร อะเมซิ่งทุกครั้ง ที่พิสูจน์ธรรม
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]

    คนนี้เขาอยู่หลุมดำไม่ใช่หรอ :boo:
     
  12. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    พูดถึงปัญญาทางพุทธ มันวางได้ นี้แระนะ เขาบอกว่าเริ่มได้ ปัญญาทางธรรม
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จุ๊ จุ๊ [​IMG]
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end --> i^h ot i^h
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถ้ารู้จัก สัมมาสมาธิ จะเปรียบเหมือน การฝึกสติ ฝึกความเพียร และ ฝึกปล่อยวางไปในตัว
    ให้หมั่นสร้างตัวนี้ให้เกิด ซึ่งก่อนจะเป็นสัมมาสมาธิที่ดี ก็ต้องมาจาก สมาธิที่กดข่มนั่นแหละ
    จะเรียนรู้สิ่งที่ดี ที่ประเสริฐ ก็ต้องผ่านสมาธิแบบกดข่ม นะ
    ให้ฝึกทำสมาธิไป ฝึกแล้วปรับ ให้นิ่ง ให้ตั้งมั่น แล้วฝึกเจริญสติ ปัญญา แล้วเอาปัญญานั้นไปปรับ สัมมาสมาธิ ให้ถูกต้องเป็นทางสายกลาง นิ่ง รวม ให้ได้

    นี่ให้ทำกันแบบนี้ ไม่ใช่ไปปฏิเสธ การทำสมาธิ
     
  16. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ผู้ที่ขาดปัญญา ก็จะมักมีแต่ความโกธร ความหงุด ความไม่พอใจ อะไรๆ ก็ดีขัดหู ขัดตาหมด หรือไม่งั้น ก็อะไรๆ ก็พอใจ อย่างไม่มีเหตุผล เชื่อหรือไม่เชื่อ อะไร ง่ายๆ
    ทั้งที่ยังไม่ได้ ลงมือทำ มักจะมีพฤติกรรม
    1. ไปตรวจดูดวงชะตา
    2. ไปตัดกรรม
    3. ยึดถือ วัน เวลา และสถานที่ เพื่อประกอบการมงคล
    4.เชื่อในสิ่งที่ทำตามกันมา
    5. *-*-*-*

     
  17. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เข้ามาสาธุท่านขันธ์ครับ..!
    โอ้โฮ..เหลน ลหบภัย ก้าวหน้า ก้าวหน้า ก้าวหน้า...!
    .. ยังไงก็ตาม ไหนๆมาแล้ว..เอาปายยย..3 ขวด เอ๊ะ..ผิดคนไม่ให้ดีกว่าเอาไว้กินเอง..จะได้ไม่ต้องเดินแกว่งดาบไปทั่ว.:mad:
     
  18. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    โห เรียกสะ เด็กเลย คุณปู่ :mad: เครียดเยย
    ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด นะ (มันเปลือง)
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    [​IMG]
     
  20. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    เกจิดังคับฟ้าเมืองไทย มีอยู่มากที่โดดมานั่งสมาธิโดยขาดการพิจารณาศึกษา
    ตรงนี้อันตราย พุทธศาสนาผิดเพี้ยนไปหมดเพราะเข้าใจธรรมว่า ต้องได้คุณวิเศษ
    หรือ ไปกดข่มจนสำคัญว่าหมดกิเลส พ้นโลกแล้ว
    สุดท้ายไปคว้าอัตตาทิฏฐิ พิมพ์พระ เสกปลัดขิก ใบ้หวย บูชาสิ่งที่ไม่ควรบูชา
    สอนธรรมผิดเพี้ยน คลาดเคลื่อนจากพุทธกาล

    ตัวอย่างนี้มีให้เห็นตั้งแต่สมัยพุทธกาล
    เช่น ชลิฏสามพี่น้อง
    ต้องถามกลับไปว่า สมาธิกดข่มนี่ใช่พุทธศาสนาแน่หรือ
    มนุษย์ทั่วโลกก็เข้าใจการนั่งสมาธิกันทั้งนั้น สภาวะธรรมตามดูลมออกมาเหมือนกัน เป็นปรมัตถ์ธรรมเสมอกัน

    บทธรรมจักรที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ไม่มีตรงไหนเลยให้กดข่มเดี๋ยวรู้เอง
    มีแต่ทรงกรุณาชี้ สัมมาสมาธิต้องประกอบด้วยปัญญาตลอดสาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...