ว่ากันเรื่อง วัดธรรมกาย

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย วิถีคนจร, 14 มกราคม 2011.

  1. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ข่าวเดลินิวส์ตามวิธีเบญจ์บาระกุล เทียบกับข่าวเดลินิวส์ที่แท้
    หนังสือ “เปิดโปงขบวนการล้มพุทธ” ของ ดร.เบญจ์ บาระกุล ได้ตีพิมพ์ข้อความข้างล่างนี้ โดยระบุว่า “จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันจันทร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๒”
    ก. ข่าวเดลินิวส์ ตามวิธีเบญจ์บาระกุล
    ...การสัมมนาเรื่อง “วัดพระธรรมกายกับผลกระทบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมไทย” ซึ่งจัดที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๓ ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยมูลนิธิโกมลคีมทอง มูลนิธิพุทธธรรม และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ... การ จัดสัมมนาครั้งนั้นมีการโจมตีวัฒนธรรมประเพณีไทย และพระพุทธศาสนา รวมไปถึงระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย สำหรับบุคคลที่มาร่วมสัมมนานั้นไม่เป็นที่น่าสนใจ แต่ที่น่าสนใจก็คือผู้จัดซึ่งหมายถึง มูลนิธิโกมลคีมทอง ซึ่งก่อนตั้งมานานกว่า ๔๐ ปีแล้ว โดยมูลนิธินี้ได้เข้าแทรกแซงไปยังองค์กรของรัฐและสถาบันการศึกษาแทบทุกแห่ง...เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงของทหารและเจ้าที่ตำรวจสันติบาลได้ระบุว่ามูลนิธิดังกล่าวมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อชาติ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างชาติ

    ผู้ที่ไม่ทราบความเป็นมาแต่เดิม พออ่านข้อความข้างต้น ก็จะเข้าใจผิดว่า นสพ.เดลินิวส์ ได้ข่าวมา หรือได้ทราบเรื่องราวข้อเท็จจริงนั้น แล้วนำมาเสนอเป็นข่าว
    แต่เรื่องที่เป็นจริงก็คือ นสพ.เดลินิวส์ ได้รับใบปลิว ที่มีข้อความดังกล่าว จากเจ้าหน้าที่วัดพระธรรมกาย ซึ่งเป็นใบปลิวที่สร้างความเท็จขึ้นตามวิธีเบญจ์บาระกุลนั่นเอง แล้วนำเสนอข่าวเรื่องการแจกใบปลิวนั้น พร้อมทั้งข้อความบางตอนในใบปลิว ขอให้ดูข่าวเดลินิวส์ตัวจริงต่อไปนี้
    ข. ข่าวเดลินิวส์ที่แท้
    ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่วัดพระธรรมกายได้แจกจ่ายใบปลิวฉบับหนึ่ง ซึ่งจัดพิมพ์ในลักษณะของหนังสือพิมพ์มีจำนวน ๔ หน้า โดยในหน้า ๔ นั้นมีบทความพิเศษชื่อเรื่องว่า “เทวทัตยุคไฮเทค” สาระสำคัญของบทความชิ้นนี้มีเรื่องราวตอบโต้การสัมมนาเรื่อง “วัดพระธรรมกายกับผลกระทบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมไทย” ซึ่งจัดที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๓ ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยมูลนิธิโกมลคีมทอง มูลนิธิพุทธธรรม และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
    บทความชิ้นดังกล่าวนี้อ้างว่า การจัดสัมมนาครั้งนั้นมีการโจมตีวัฒนธรรมประเพณีไทย และพระพุทธศาสนา รวมไปถึงระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย สำหรับบุคคลที่มาร่วมสัมมนานั้นไม่เป็นที่น่าสนใจ แต่ที่น่าสนใจก็คือผู้จัด ซึ่งหมายถึง มูลนิธิโกมลคีมทอง ซึ่งก่อตั้งมานานกว่า ๔๐ ปีแล้ว โดยมูลนิธินี้ได้เข้าแทรกแซงไปยังองค์กรของรัฐและสถาบันการศึกษาแทบทุกแห่ง นอกจากนี้ยังระบุว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงของทหารและเจ้าที่ตำรวจสันติบาล ได้ระบุว่ามูลนิธิดังกล่าวมีพฤติกรรม เป็นภัยต่อชาติ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างชาติ

    อีกตัวอย่างหนึ่ง ในหนังสือ “เปิดโปงขบวนการล้มพุทธ” ของ ดร.เบญจ์ บาระกุล นั่นเอง ตีพิมพ์ข้อความ ตัดตอนต่อไปนี้ โดยระบุว่า “จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ประจำวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒”
    ก. ข่าวเดลินิวส์ ตามวิธีเบญจ์บาระกุล
    ...พระธรรมปิฎกยกตนเหนือกว่าพระอรหันต์ บิดเบือนพระไตรปิฎกในเรื่องของการก่อสร้างพุทธสถานและศาสนวัตถุ นอกจากนี้ยังพยายามที่จะเผยแพร่อุดมการณ์ทุกวิถีทาง เช่น เอาเด็กมาเลี้ยงดูเพื่อล้างสมองใช้ให้เป็นตัวแทนทางความคิดและการเคลื่อนไหวในทางการเมืองและศาสนา ในปัจจุบันนี้เผยแพร่ผ่านทางโรงเรียนศาสนาต่างชาติ จัดตั้งมูลนิธิเด็กโดยได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กรคริสเตียนและองค์กรต่างประเทศ
    ...รายการวิทยุของพระธรรมปิฎก ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการจัดรายการตลอด ๒ ปี สูงถึง ๔๓๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งยังตั้งข้อสงสัยด้วยว่าเงินจำนวนมากมายมหาศาลเหล่านี้ กลุ่มผู้สนับสนุนพระธรรมปิฎกนำมาจากไหน และมีวัตถุประสงค์อย่างไรในการจัดรายการนี้ ทั้งยังระบุว่าจัดรายการนั้นได้นำเอาวิทยากร ซึ่งสอนประจำอยู่ในวิทยาลัยแสงธรรม นครปฐม ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่ผลิตสามเณรและบาทหลวงของคริสเตียน จึงไม่แปลกที่รายการของพระธรรมปิฎกจะโจมตีวิธีการปกครองคณะสงฆ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ขณะที่กลับไปยกย่องพระธรรมปิฎกแทน

    ข้อความนี้ก็เหมือนครั้งก่อน คือที่จริงไม่ใช่ข่าวของเดลินิวส์เอง แต่เป็นข้อความในใบปลิว ที่เดลินิวส์ลงข่าวว่าแจกโดยเจ้าหน้าที่ของวัดพระธรรมกาย ขอให้ดูต่อไปนี้
    ข. ข่าวเดลินิวส์ ที่แท้
    ในวันเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ของวัด (หมายถึงวัดพระธรรมกาย) ได้มีการแจกจ่ายใบปลิว ซึ่งจัดพิมพ์ในลักษณะของหนังสือพิมพ์มีจำนวน ๔ หน้า ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ก.ค. ๒๕๔๒ โดยในหน้า ๔ นั้นมี บทความเรื่อง “ปุจฉาวิสัชนา” มีหัวเรื่องว่า จ.ม. เปิดโปงขบวนการท่านปยุต เรื่องดังกล่าวเป็น รูปแบบของการเขียนจดหมายมาร้องเรียนเปิดโปงพฤติกรรมและโจมตีพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน และเจ้าของรางวัลการศึกษา เพื่อสันติภาพจากองค์กรยูเนสโก ลงนามโดยมหาชาย
    สาระสำคัญนั้นระบุว่า พระธรรมปิฎกยกตนเหนือกว่าพระอรหันต์ บิดเบือนพระไตรปิฎกในเรื่องของการก่อสร้างพุทธสถานและศาสนวัตถุ นอกจากนี้ยังพยายามที่จะเผยแพร่อุดมการณ์ทุกวิถีทาง เช่น เอาเด็กมาเลี้ยงดูเพื่อล้างสมองใช้ให้เป็นตัวแทนทางความคิด และการเคลื่อนไหวในทางการเมืองและศาสนาศาสนา ในปัจจุบันนี้เผยแพร่ผ่านทางโรงเรียนศาสนาต่างชาติ จัดตั้งมูลนิธิเด็กโดยได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิโกมลคีมทอง ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับเงินสนับ สนุนจากองค์กรคริสเตียนและองค์กรต่างประเทศ
    ในช่วงหนึ่งของบทความได้หยิบยกการจัดรายการ วิทยุของพระธรรมปิฎก มีการระบุตัวเลขค่าใช้จ่ายในการจัดรายการตลอด ๒ ปีสูงถึง ๔๓๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งยังตั้งข้อสงสัยด้วยว่าเงินจำนวนมากมายมหาศาลเหล่านี้ กลุ่มผู้สนับสนุนพระธรรมปิฎกนำมาจากไหน และมีวัตถุประสงค์อย่างไรในการจัดรายการนี้ ทั้งยังระบุว่าจัดรายการนั้นได้นำเอาวิทยากร ซึ่งสอนประจำอยู่ในวิทยาลัยแสงธรรม นครปฐม ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่ผลิตสามเณรและบาทหลวงของคริสเตียน จึงไม่แปลก ที่รายการของพระธรรมปิฎกจะโจมตีวิธีการปกครองคณะสงฆ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ขณะที่กลับไปยกย่องพระธรรมปิฎกแทน..
     
  2. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    เอาของเท็จ มาเทียบกับของแท้เพื่อให้รู้ทันพวกเจตนาร้ายที่จะทำลายพระพุทธศาสนา
    เมื่อได้เห็นเรื่องจริงอย่างนี้แล้ว ผู้ที่มีวิจารณญาณย่อมรู้ถึงเจตนาของกลุ่มผู้ทำหนังสือที่ใช้ชื่อว่า ดร.เบญจ์ บาระกุล ว่ามุ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ไขว้เขว คลาดเคลื่อนจากความจริง กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นการใส่ร้ายป้ายสีอย่างครบถ้วนทุกแง่ทุกประการ
    ๑. ข้อความที่กล่าวเป็นเท็จ
    ก) ทั้งในแง่ที่ว่าไม่ใช่เป็นข้อความของนสพ.เดลินิวส์เอง แต่เป็นข้อความในใบปลิว ที่พวกของตัวทำขึ้นมา แล้วเอากลับมาพิมพ์ในหนังสือ โดยไม่บอกว่าเป็นข้อความจากใบปลิว ทำให้ผู้อ่านหลงเข้าใจผิด
    ข) ทั้งในแง่ที่ว่า ตัวข้อความนั้นก็เป็นเพียงใบปลิว ซึ่งใช้เป็นหลักฐานอะไรไม่ได้อยู่แล้ว เฉพาะอย่างยิ่ง เป็นใบปลิวตามข้อความที่มีอยู่แล้วใน นสพ.พิมพ์ไทย ที่ทำกันขึ้นมาด้วยวิธีเบญจ์บาระกุล
    ๒. ใช้วิธีตัดต่อหรือตัดตอนในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดตามที่ตนต้องการ อย่างที่เรียกข้างต้นว่า วิธีเบญจ์บาระกุล
    ๓. เป็นการกระทำที่ส่อเจตนาไม่ซื่อตรง แต่มุ่งสร้างความเข้าใจผิด โดยยกเอาข้อความหรือเรื่องราวที่ไม่เป็นจริงมาใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นทั้งที่ข้อมูลที่ตนนำมา มีความชัดเจนอยู่แล้ว แต่กลุ่ม ดร.เบญจ์ บาระกุล ก็ยังใช้ความเพียรพยายามที่จะทำให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป จึงส่อถึงเจตนาร้ายอย่างชัดเจน
    เมื่อเขาสร้างความเท็จด้วยโกหัญวิธีได้อย่างนี้ ก็ย่อมเป็นการแน่นอนว่าเขาจะต้องทำแบบเดียวกันกับเนื้อหาส่วน อื่นๆ ของหนังสือนั้นตลอดทั้งเล่ม และสิ่งทั้งหลายที่เขาจะทำต่อไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ย่อมไม่อาจเชื่อถือได้
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้แล้วว่า
    “สำหรับคนที่มีปกติกล่าวเท็จ ... ย่อมไม่มีบาปอย่างใดที่เขาจะทำไม่ได้” (ขุ.ธ.๒๕/๒๓/๓๘)
    เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้มีเจตนาสร้างเรื่องเท็จด้วยโกหัญวิธีเช่นนี้ จะมีความปรารถนาดีด้วยใจจริงต่อพุทธบริษัท ๔ เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะมาคิดมุ่งหมายดำรงพระพุทธศาสนา หรือรักษาพระธรรมวินัย มีแต่จะทำตรงข้าม คือคอยลักลอบทำลาย ตลอดจนทำอะไรก็ได้ที่จะให้ตนได้รับผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงว่าพระพุทธศาสนาและพุทธบริษัทจะเป็นอย่างไร
    การสร้างความเท็จที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ ย่อมเพียงพอแล้ว ที่จะให้มองออกว่าหนังสือและเอกสารทั้งหมดของ ดร.เบญจ์ บาระกุล กับพวกนั้นมีลักษณะสำคัญ ๒ ประการ คือ ประการแรก เป็นความเท็จ และประการที่สอง เป็นเครื่องมือสนองเจตนาร้ายในการใส่ร้ายป้ายสี และทำลาย เป็นอย่างนี้ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่อีกต่อไป
    อย่างไรก็ดี มองอีกแง่หนึ่งว่า การปั้นเรื่องเท็จใส่ความ แบบปั้นน้ำเป็นตัวอย่างนี้ ในเรื่องอื่นๆ ที่เราเคยได้ยินมาก่อน บางทีเราสงสัยว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้นเชียวหรือ จนกระทั่งมาพบเหตุการณ์อย่างนั้นด้วยตนเอง จึงเห็นได้ชัดว่าถึงจะเท็จขนาดไหนเขาก็ทำได้ เมื่อมองในแง่นี้แล้ว ก็น่าศึกษา อย่างน้อยก็เก็บไว้ดูเป็นข้อมูลตัวอย่าง ให้เห็นว่าเรื่องอย่างนี้เคยมีจริงๆ และเขาทำอย่างไร จะได้รู้ทัน
    เพื่อให้เห็นวิธีการสร้างความเท็จด้วยโกหัญวิธีแบบเบญจ์บาระกุล ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้รู้จักคนในโลกนี้และรู้ทันวิธีการของคนที่ทำในทางชั่วร้ายว่าเป็นอย่างไร ครั้งต่อไปจะได้นำเนื้อความและวิธีเบญจ์บาระกุล ในหนังสือของ ดร.เบญจ์ บาระกุลมาให้ดูอีก ๒-๓ ตัวอย่าง
     
  3. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    สร้างเรื่องใส่ร้ายแบบมักง่าย ด้วยการตัดแต่งต่อเติมตามใจชอบ
    วิธีเบญจ์บาระกุลอีกอย่างหนึ่ง ก็คล้ายกับที่กระทำกับข่าว นสพ.เดลินิวส์นั่นเอง แต่มีการตัดต่อแต่งเติมเพิ่มเข้าไปด้วยวิธีนี้ ถ้าคนไม่มีสัจจะ และไม่มีความละอายใจเลย ก็ทำได้ง่าย

    ดร.เบญจ์ บาระกุล กับพวก จะปั้นแต่งเรื่องให้พระธรรมปิฎกเป็นคอมมูนิสต์ ก็ยกเอาเรื่องการอ่านหนังสือ “ความเป็นอนิจจังของสังคม” ขึ้นมา แล้วใส่ความที่ตนต้องการเข้าไปว่า

    “พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) เริ่มมีความสนใจในอุดมการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่สมัยเมื่อยังเป็นสามเณร (๑๙ มิ.ย. ๒๕๐๑) อันเป็นแรงดลใจจากการอ่านหนังสือของหลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เรื่อง “ความเป็นอนิจจังของสังคม” เนื้อหาสาระในหนังสือนั้น ได้กลายเป็นอุดมการณ์ที่ฝังแน่นอยู่ภายในจิตสำนึก . . .
    “นี่คือที่มาของแนวความคิดทางลัทธิสังคมนิยมของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ที่ถูกฝังรากลึก ในจิตใจมาช้านาน โดยเริ่มจากความประทับใจในหนังสือดังกล่าว . . .”
    (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑, หน้า ๒๐-๒๑)

    ข้อความตอนนี้แสดงว่า ดร.เบญจ์ บาระกุล กล่าวหาหนังสือของหลวงประดิษฐมนูธรรมว่าเป็นสังคมนิยมคอมมูนิสต์ก่อน แล้วต่อจากนั้นจึงกล่าวหาพระธรรมปิฎกว่าเลื่อมใสอุดมการณ์สังคมนิยม เป็นคอมมูนิสต์ (ในหนังสือของ ดร.เบญจ์ สรุปไว้ว่าสังคมนิยมสมัยนั้นเรียกว่าลัทธิคอมมูนิสต์)
    ข้อความที่ยกมาให้ดูนี้ ดร.เบญจ์ บาระกุล กับพวกเขียนใส่ความเอาเอง นอกจากนี้ ที่ทำ . . . ไว้ยังมีข้อความอีกยาว แต่ไม่จำเป็นต้องเอามาพิมพ์ให้กินที่ เพราะเป็นข้อความในหนังสือ ที่ดร.เบญจ์ บาระกุล เอามาตัดเติมดัดแปลงใหม่ แล้วหลอกว่าเป็นคำของพระธรรมปิฎก แล้วยังเอาความคิดของท่านผู้อื่นมาใส่ให้เป็นความคิดของพระธรรมปิฎกด้วย
    เรื่องที่เป็นจริง มีแค่ว่า พระธรรมปิฎกได้รับนิมนต์ให้ไปพูดในงานวันปรีดี พนมยงค์ ก็เลยเล่าว่าตัวท่าน เมื่อยังเป็นสามเณร ก็ได้เคยอ่านหนังสือของท่านรัฐบุรุษอาวุโสเล่มหนึ่ง แล้วเห็นว่านายปรีดีก็สนใจทางธรรมด้วย (แสดงว่าพระธรรมปิฎกนึกแต่ในแง่ของธรรมะ ไม่ได้นึกไปถึงเรื่องอุดมการณ์สังคมนิยม หรือเรื่องอะไรอย่างอื่น) และหนังสือเล่มนั้น พระธรรมปิฎก เมื่อครั้งเป็นสามเณรก็อ่านไม่จบด้วย ขอให้ดูคำพูดคำเขียนที่แท้จริงของพระธรรมปิฎกดังนี้
    “... เมื่อปี ๒๕๐๑ นั้น อาตมภาพไปได้หนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งมา ซึ่งเป็นผลงานของท่าน ชื่อว่า ความเป็นอนิจจังของสังคม ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเกิดความรู้สึกติดมาตั้งแต่บัดนั้น ว่าท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์นี้ มีความสนใจในทางธรรมด้วย นับแต่นั้นมา ชื่อของท่านเมื่อใครเอ่ยถึงก็ตาม อาตมภาพจะจำติดมากับชื่อหนังสือที่ว่า ความเป็นอนิจจังของสังคม นั้น และความรู้สึกที่ว่าท่านมี ความสนใจธรรมะด้วย ... ลงวันที่อ่านไว้ว่า วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๑ ... บันทึกลงวันที่อ่านนั้นมีเพียงแค่หน้า ๓๓ แสดงว่า หยุดอ่านเสีย ไม่จบเล่ม ...
    (หนังสือ ปรีติธรรม รวมธรรมทัศน์ของพระมหาเถระต่อปรีดี พนมยงค์ พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๔๙)

    เมื่อกลุ่ม ดร.เบญจ์ บาระกุล ไม่เห็นแก่สัจจะเลย สามารถบิดเบือนข้อมูลความจริงได้โดยไม่ละอายถึงอย่างนี้ และแสดงความมุ่งร้าย หาทางใส่ความบุคคลผู้รักษาธรรมวินัยได้ถึงขนาดนี้ ย่อมไม่มีทางที่เขาจะคิดรักษาพระธรรมวินัย หรือมีใจภักดีต่อพระพุทธศาสนา แต่แน่นอนว่า เขาจะทำลายพระพุทธศาสนาได้ เมื่อใดก็ตามที่เขาเห็นว่าจะทำให้เป้าหมาย ชั่วร้ายของเขาสำเร็จได้

    หาเลศโจท และปั้นเรื่องใส่ความ
    วิธีเบญจ์บาระกุล ที่ใช้มากอย่างหนึ่ง คือ การหาเลศโจท และยกเลศขึ้นแต่งเรื่อง ให้เป็นข้อกล่าวหาหรือใส่ความ
    เลศ คือ อาการ ลักษณะ หรือข้อเทียบเคียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พอจะยกขึ้นอ้างเพื่อผูกเรื่องใส่ความ
    ตัวอย่างเช่น ต้องการกล่าวหาหรือใส่ร้ายนายเขียวคนนี้ พอดีมีคนอีกคนหนึ่งชื่อนายเขียวเหมือนกัน เมื่อนายเขียวคนโน้นทำความผิด ก็ยกมากล่าวหาหรือใส่ร้ายนายเขียวคนนี้ ว่าทำความผิดนั้น
    ตนอยากกล่าวร้ายบุคคลนี้ซึ่งมีรูปร่างผอมสูงผิวขาว พอดีมีคนรูปร่างอย่างนั้นอีกคนหนึ่งทำความผิด ก็ยกเป็นเลศกล่าวหาบุคคลแรกว่าทำความผิดนั้น
    ในสมัยพุทธกาล เคยมีเรื่องเช่นนี้ คือ ภิกษุ ๒ รูป ชื่อเมตติยะ กับภุมมชกะ เกิดความแค้นใจต่อพระทัพพมัลลบุตร เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของพระทัพพมัลลบุตรทำให้ภิกษุสองรูปนั้นเสียผลประโยชน์ โดยท่านไม่ได้ตั้งใจ
    ภิกษุ ๒ รูปนี้ ครั้งแรกกล่าวหาโดยไม่มีมูล ต่อพระทัพพมัลลบุตร ด้วยข้อหาว่าต้องอาบัติปาราชิก แต่ไม่สำเร็จ จึงคิดการกันใหม่
    วันหนึ่งระหว่างเดินทางลงจากเขาคิชฌกุฏ เห็นแพะผู้และแพะเมียคู่หนึ่งกำลังสมจรกันอยู่ ก็ตกลงกันสมมติชื่อแพะตัวผู้ว่าทัพพมัลละ และสมมติชื่อแพะตัวเมียตามชื่อภิกษุณีรูปหนึ่งชื่อเมตติยา แล้วก็มาโจทต่อสงฆ์ว่าตนได้เห็นท่านทัพพมัลลบุตรเสพเมถุนกับนางเมตติยาภิกษุณี อย่างนี้ก็เรียกว่าหาเลศโจท
    ในหนังสือของ ดร.เบญจ์ บาระกุล ได้ใช้วิธีหาเลศแต่งเรื่องใส่ร้ายเช่นนี้อย่างจังๆ โดยไม่ละอายเลย เช่น ต้องการจะใส่ความคุณคนหนึ่งที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของวัดพระธรรมกาย ว่าเป็นพวกขบวนการของศาสนาคริสต์ หรือรับจ้างจากองค์กรคริสต์มา ก็ยกเอาชื่อของคนที่ตนต้องการกล่าวหา พร้อมทั้งนามสกุลของเขา ขึ้นมาตั้ง แล้วนำเอารูปถ่ายของบาทหลวงผู้หนึ่ง ซึ่งมีชื่อตรงกับคุณที่ถูกกล่าวหานั้น (นามสกุลไม่เหมือนกัน แต่ปิดไว้ ไม่บอก) มาลงพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าคนที่ตนกล่าวหานั้น เป็นคริสต์ และเคยบวชเป็นบาทหลวงมาก่อน (ดูภาพและเรื่องในหนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” หน้า ๑๖๙)
    นี่ก็เป็นวิธีเบญจ์บาระกุล อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้เกลื่อนไปตามสบายในหนังสือของบุคคลหรือกลุ่มคนที่เรียกตัวว่า ดร.เบญจ์ บาระกุลนั้น ดังที่เขาใช้วิธีเบญจ์บาระกุล นี้ใส่ความพระธรรมปิฎก ด้วยเรื่องที่เป็นเท็จอย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งทำให้เขาไม่กล้าแสดงตัวออกมาพิสูจน์ความจริง
    โปรดพิจารณาสักตัวอย่างหนึ่ง ดร.เบญจ์ บาระกุล กล่าวหาว่า พระธรรมปิฎก เมื่อยังเป็นพระศรีวิสุทธิโมลี (ปยุตฺโต) ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิโกมลคีมทอง และ
    “จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมของมูลนิธิฯ ดังกล่าว จึงได้รับการสนับสนุนให้ไปร่วมการสัมมนาในต่างประเทศ ในปีถัดมา (พ.ศ. ๒๕๑๕)”
    (หนังสือ “เปิดโปงขบวนการล้มพุทธ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๑๐ ครั้งที่ ๒ หน้า ๑๔)

    เรื่องนี้ วิธีเบญจ์บาระกุล นำเค้าข้อมูลบางอย่างจากแห่งละนิดละหน่อย มาจับผสมกันปั้นแต่งเรื่องขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเท็จ เพื่อให้ดูเหมือนสมจริง
    ที่ว่าพระธรรมปิฎก เมื่อยังเป็นพระศรีวิสุทธิโมลี ได้รับนิมนต์ไปเทศน์ แสดงปาฐกถา หรือร่วมสัมมนาอภิปรายในงานของมูลนิธิโกมลคีมทอง เป็นครั้งคราว เช่นเดียวกับที่ได้รับนิมนต์ไปในกิจกรรมคล้ายๆ กันในที่อื่นๆ ตรงนี้ = เป็นความจริง
    ที่ว่าพระธรรมปิฎก ครั้งเป็นพระศรีวิสุทธิโมลี ได้เดินทางไปต่างประเทศใน พ.ศ. ๒๕๑๕ ตรงนี้ = ก็เป็นความจริง
    แต่จุดเป้าหมายของเขาที่ว่า พระศรีวิสุทธิโมลีไปต่างประเทศเพื่อร่วมสัมมนาด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิโกมลคีมทอง ตอนนี้ = เป็นความเท็จ ตามวิธีเบญจ์บาระกุล
    พระศรีวิสุทธิโมลีไปต่างประเทศใน พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้น คือไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะตลอดเวลา ๘ ปี ตั้งแต่ท้าย พ.ศ. ๒๕๑๑ ถึงต้น พ.ศ. ๒๕๑๙ พระศรีวิสุทธิโมลี (ปยุตฺโต) เดินทางไปต่างประเทศเพียงครั้งเดียวนี้เท่านั้น
    การเดินทางไปอเมริกาในปี ๒๕๑๕ นั้น เป็นการไปปฏิบัติศาสนกิจ เกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เรื่องที่เกิดขึ้นจริง คือ เลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้แก่ พระเทพคุณาภรณ์ (ปัจจุบัน=สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ) และผู้ช่วยเลขาธิการ คือ พระศรีวิสุทธิโมลี (ปัจจุบัน=พระธรรมปิฎก) ได้รับนิมนต์จากรัฐบาลอเมริกันให้เดินทางชมประเทศของเขา แต่ท่านขอเลือกไปเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอเมริกา ที่มีการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และวิชาเอเชียอาคเนย์ศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เยล คอร์เนล มิชิแกน วิสคอนซิน และนอร์เธอร์นอิลลินอยส์ เป็นต้น
    โดยเฉพาะใน ๑ เดือนแรก พระศรีวิสุทธิโมลี ได้รับนิมนต์ให้บรรยายวิชาพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย ที่มหาวิทยาลัยเพนน์ซิลเวเนีย
    ทั้งหมดนี้ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลยกับมูลนิธิโกมลคีมทอง
    ดร.เบญจ์ บาระกุล ใช้ทั้งวิธีหาเลศโจท และวิธีโจทโดยไม่มีมูล เพื่อพยายามปั้นให้พระธรรมปิฎก เป็นคริสต์บ้าง เป็นคอมมูนิสต์บ้าง ขอให้ดูคำกล่าวหาอีกตอนหนึ่งจากหนังสือของบุคคลหรือกลุ่มคนที่ใช้ชื่อ ดร.เบญจ์ บาระกุล ว่า
    “พระราชวรมุนี (ป. อ. ปยุตฺโต) (เลื่อนสมณศักดิ์จากพระศรีวิสุทธิโมลี) ซึ่งเป็นสมาชิกในมูลนิธินี้ ได้หลบหนีออกนอกประเทศ โดยความช่วยเหลือของสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย ไปอยู่ในรัฐเพ็นซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นกัน (ข้อมูลรายละเอียดมีมาก ขอได้จากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยอาศัย พรบ.ข่าวสารฯ)”
    (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๒๖)

    เรื่องที่เกิดขึ้นจริง คือ พระราชวรมุนี ได้รับนิมนต์ไปบรรยายวิชาพระพุทธศาสนาที่ Swarthmore College โดยก่อนนั้นทางสถาบันได้ติดต่อเรื่อยมาประมาณ ๓ ปี แต่พระราชวรมุนีไม่ยอมรับนิมนต์ เพราะมีงานทางเมืองไทยมาก จนกระทั่งในที่สุดจึงรับนิมนต์ไปในปี ๒๕๑๙
    ดร.เบญจ์ บาระกุล บอกให้ไปขอข้อมูลรายละเอียดได้ จาก กอรมน. และ สมช.อีกด้วย ตอนนี้ก็เท่ากับเป็นการท้าทาย กอรมน. และ สมช. ให้ออกมาพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่
    โปรดดูตัวอย่างการสร้างเรื่องเท็จตามวิธีเบญจ์บาระกุล ต่อไปอีกหน่อย ดังข้อความของเขาว่า
    “วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ออกประกาศอภัยโทษ เรียกว่าประกาศ ๖๖/๒๓ ให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย โดยไม่มีความผิด ทำให้สมาชิกของมูลนิธิโกมลคีมทองสามารถกลับเข้าสู่ประเทศไทยได้ ทั้งนี้รวมถึง พระราชวรมุนี (ป. อ. ปยุตฺโต) ก็กลับสู่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน”
    (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” หน้า ๒๘-๒๙)

    แต่ เรื่องที่เป็นจริง คือ เวลานั้น พระราชวรมุนี (ปัจจุบัน ได้แก่พระธรรมปิฎก) จำวัดอยู่ที่กุฏิในประเทศไทย ณ วัดพระพิเรนทร์ตามปกติ เพราะเมื่อท่านเดินทางไปอเมริกาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๑๙ เพื่อสอนหนังสือที่ Swarthmore ตามที่เขานิมนต์เสร็จแล้ว และเป็นที่ปรึกษาวัดไทยในอเมริการะยะแรกตั้งขึ้นใหม่ๆ ที่นิวยอร์คและชิคาโก อยู่อีกช่วงเวลาหนึ่ง ก็เดินทางกลับมาประเทศไทยนานแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงไม่มีอะไรที่จะไปเกี่ยวข้องหรือต้องอาศัยประกาศอภัยโทษของรัฐบาลที่ว่านั้น
    ในเรื่องนี้ มูลนิธิโกมลคีมทองพลอยถูก ดร.เบญจ์ บาระกุล ดึงเข้ามาทำให้เสียหายไปด้วย
    นี่เป็นตัวอย่างของการสร้างความเท็จอย่างไม่ละอาย ซึ่งเป็นเหตุผลที่อธิบายอยู่ในตัวว่าทำไมบุคคลหรือกลุ่มคนที่ใช้ชื่อว่า ดร.เบญจ์ บาระกุล จึงไม่กล้าแสดงตัว
    ออกมาเพื่อพิสูจน์ความจริง
     
  4. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ปลอมแปลงวิชาการ ด้วยวิธีเบญจ์บาระกุล
    ตามปกติ เมื่อเราจะยกคำพูดหรือข้อเขียนของใครมาอ้าง ถือกันว่าจะต้องยกมาให้ตรงตามที่เจ้าของคำพูดได้กล่าวไว้ หรือตามที่เขาได้เขียนไว้จริงๆ จึงต้องระวังอย่าตัดแต่งต่อเติม และควรใส่เครื่องหมายคำพูดที่เรียกว่า อัญประกาศไว้ด้วย (“_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _”)
    แต่ถ้าคำพูดหรือข้อเขียนนั้น มีพลความหรือข้อความประกอบที่ไม่จำเป็น ก็อาจละเสียบ้าง โดยใส่จุดไว้ ( . . . ) ให้รู้ว่ามีถ้อยคำที่ถูกละไว้ แต่ต้องระวังให้ข้อความนั้นยังคงความหมายและสาระสำคัญไว้อย่างเดิม ไม่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด ถ้าปฏิบัติตามนี้ จึงจะเป็นไปตามวิธีทางวิชาการ
    หนังสือและเอกสารของบุคคลหรือกลุ่มคนที่ใช้ชื่อ ดร.เบญจ์ บาระกุล ที่จัดทำขึ้นมา เหมือนจะให้มีความน่าเชื่อถือว่าเป็นวิชาการ แต่ถ้าพิจารณา หรือตรวจสอบสักหน่อย จะพิสูจน์ออกมาว่า เป็นงานวิชาการปลอม ซึ่งเขียนขึ้นด้วยเจตนาทุจริต มุ่งหลอกลวงให้เข้าใจผิด จึงตัดหรือละข้อความออกไปอย่างไม่ซื่อตรง เพื่อทำให้เข้าใจความหมายหรือสาระสำคัญผิดไปจากความประสงค์ของผู้พูด หรือเจ้าของข้อเขียนนั้น
    ทั้งนี้ โปรดดูตัวอย่างสมมติที่จะยกมาเปรียบเทียบให้ดูก่อน เพื่อให้เห็นความแตกต่างในการละข้อความ ระหว่างวิธีที่ถูกต้องทางวิชาการ กับวิธีวิชาการปลอมแบบเบญจ์บาระกุล เช่น ถ้าข้อความเต็มว่า
    “นายดำโกรธ จึงด่าว่าลูกชายที่ไม่เอาถ่าน เอาแต่เที่ยวเสเพล ชอบมั่วสุม แล้วบอกให้ไปหาหลวงพ่อ เพราะท่านชอบสั่งสอนให้ละเลิกอบายมุข”
    ถ้าจะยกข้อความนี้ไปอ้าง เมื่อเห็นว่ายาวเกินไป ก็ตัดหรือละข้อความเสียบ้าง ดังนี้
    ก. วิธีวิชาการ
    “นายดำโกรธ จึงด่าว่าลูกชายที่ไม่เอาถ่าน ... แล้วบอกให้ไปหาหลวงพ่อ เพราะท่านชอบสั่งสอนให้ละเลิกอบายมุข”
    อย่างนี้ละแล้ว ก็ยังได้ใจความเหมือนเดิม
    ข. วิธีเบญจ์บาระกุล
    “นายดำโกรธ จึงด่าว่า . . . หลวงพ่อ เพราะท่านชอบสั่งสอนให้ละเลิกอบายมุข”
    การตัดละข้อความแบบนี้ ทำให้เข้าใจผิดจากเดิมไปไกลแค่ไหน ก็โปรดดูเอาเอง
    ในหนังสือของ ดร.เบญจ์ บาระกุล ตั้งหัวข้อใหญ่ไว้อย่างจงใจว่า
    “การวิเคราะห์หนังสือของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
    หนังสือ”พุทธธรรม” เหยียดหยามจาบจ้วงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
    พอเริ่ม “นำพิสูจน์ทราบ” ก็ใช้วิธีเบญจ์บาระกุล ทันที ขอให้ดูข้อความต่อไปนี้
    “องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังถูกพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ถูกดึงลงมาจากฐานะอันควรยกย่อง ข้อความที่เหยียดหยามพุทธองค์ปรากฏในหนังสือ “พุทธธรรม” เขียนโดย พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) หน้า ๘๓๘-๘๓๙ ความว่า
    “ผู้ใดปฏิบัติเพื่อจุดหมายทางปัญญา ผ่านวิธีทางสมาธิ และได้ปาฏิหาริย์ด้วย ก็ถือว่าเป็นความสามารถพิเศษไป พระพุทธองค์เองก็ทรงมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือฌายี และ ฌานสีลี หมายความว่า ทรงนิยมฌาน ทรงพอพระทัยประทับในฌานแทนการพักผ่อนอย่างธรรมดาในโอกาสว่าง เช่นเดียวกับพระสาวกเป็นอันมาก อย่างที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือเพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ปรากฏว่าทรงปลีกพระองค์ไปอยู่ในที่สงัดเป็นเวลานานๆ ถึง ๓ เดือน เพื่อเจริญสมาธิก็เคยมี และการนิยมหาความสุขจากฌานนี้....เป็นเหตุความละเลย ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมย่อมถูกถือเป็นเหตุตำหนิได้”
    ข้อความในส่วนนี้นับว่าเป็นการเหยียบย่ำจาบจ้วงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจตนาแสดงให้เห็นว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และแสวงหาความสุขส่วนตัวโดยใช้ ณาน...”
    (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๗๕-๗๖)

    เมื่อตรวจสอบกับหนังสือพุทธธรรม ที่เขาบอกว่าคัดมานั้น จะเห็นความไม่ซื่อตรงของวิธีเบญจ์บาระกุล ซึ่งใช้ทั้ง
    ก. ตัดข้อความบางตอนออกไป และเอาข้อความที่อื่นมาใส่แทน หรือตัดทิ้งไปเฉยๆ โดยไม่ทำเครื่องหมายอะไรเลย
    ข. ทำเครื่องหมายละไว้ (...) โดยตัดข้อความบางอย่าง ซึ่งเมื่อตัดออกไปแล้ว จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายผิด
    ผู้ใดอ่านพุทธธรรม ด้วยตนเอง จะเห็นว่า ข้อความที่แท้จริงในหนังสือตอนนี้ แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวก กับคนบางกลุ่มบางพวกที่ปฏิบัติสมาธิไม่ถูกต้อง
    หนังสือพุทธธรรม บอกว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้บรรลุจุดหมายแล้ว ใช้สมาธิระดับฌานเป็นเครื่องพักผ่อนยามว่างจากพุทธกิจหรือศาสนกิจ แต่สำหรับคนทั่วไปจะต้องระวังไม่ให้ความติดเพลิดความสุขจากสมาธินั้น กลายเป็นเหตุละเลยความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
    วิธีเบญจ์บาระกุล ตัดข้อความที่กล่าวถึงการบำเพ็ญพุทธกิจ และจุดเน้นที่ว่าผู้บรรลุจุดหมายแล้วใช้สมาธิเป็นเครื่องพักผ่อนยามว่าง
    ที่สำคัญมาก คือตรงที่ทำ .... ซึ่งเป็นตอนที่หันไปพูดถึงคนทั่วไป แต่ถูกตัดออกไปเสีย จึงทำให้เข้าใจผิดว่า ข้อความต่อจากนั้นยังกล่าวถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดตามที่ ดร.เบญจ์ บาระกุล ต้องการ
    แต่ที่จริง ข้อความที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าจบไปแล้ว ตรงที่ทำ .... ละไว้ เป็นตอนที่พูดถึงผู้ปฏิบัติทั่วไป จึงมีคำที่เป็นประธานตัวใหม่
    โปรดดูข้อความที่เป็นจริง เต็มตามของเดิม ดังต่อไปนี้
    “—สำหรับท่านผู้ฝึกอบรมก้าวหน้าไปในมรรคแล้ว หรือสำเร็จบรรลุจุดหมายแล้ว มักนิยมใช้การเจริญสมาธิขั้นฌาน เป็นเครื่องพักผ่อนอย่างสุขสบายในโอกาสว่างๆ เช่น พระพุทธองค์เอง แม้จะเสด็จจาริกสั่งสอนประชาชนจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับคนทุกชั้นวรรณะ และทรงปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ แต่ก็ทรงมีพระคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือ ฌายี และ ฌานสีลี หมายความว่า ทรงนิยมฌาน ทรงพอพระทัยประทับในฌานแทนการพักผ่อนอย่างธรรมดาในโอกาสว่าง เช่นเดียวกับพระสาวกเป็นอันมาก อย่างที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือเพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ปรากฏว่าทรงปลีกพระองค์ไปอยู่ในที่สงัดเป็นเวลานานๆ ถึง ๓ เดือน เพื่อเจริญสมาธิ ก็เคยมี และการนิยมหาความสุขจากฌานนี้ บุคคลใดจะทำแค่ไหนเพียงใดย่อมเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล แต่หากความติดชอบมากนั้น กลายเป็นเหตุละเลยความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ย่อมถูกถือเป็นเหตุตำหนิได้ . . . สำหรับพระพุทธเจ้าและท่านที่ปฏิบัติถูกต้อง สมาธิย่อมช่วยเสริมการบำเพ็ญกิจเพื่อพหูชน”
    ก. ที่ทำตัวเข้มไว้ คือ ข้อความที่ถูก ดร.เบญจ์ ตัดทิ้งไป และเอาข้อความที่อื่นมาใส่แทน หรือตัดทิ้งไปเฉยๆ
    ข. ที่ขีดเส้นใต้ไว้ (____) คือ ตรงที่ถูก ดร.เบญจ์ ทำ .... ตัดข้อความที่บอกให้รู้ว่าขึ้นประโยคใหม่ และเปลี่ยน ประธานของประโยค จากพระพุทธเจ้าไปเป็นคนทั่วไป (เมื่อตัดออกไป ผู้อ่านก็จะเข้าใจผิดตามที่ ดร.เบญจ์ ต้องการ)
    ถ้าผู้อ่านไปดูข้อความเต็มที่เป็นของเดิมอย่างนี้ ก็จะไม่เข้าใจผิด แต่จะรู้ว่าข้อความตอนนี้สรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า ที่ทรงไม่ประมาทและไม่ขาดความรับผิดชอบอย่างปุถุชนบางพวกที่ปฏิบัติและใช้สมาธิไม่ถูกทาง
    จริงๆ แล้ว ข้อความในหนังสือ พุทธธรรม ตอนนี้ จุดเน้นอยู่ตอนท้ายที่จบลงว่า
    “...สำหรับพระพุทธเจ้าและท่านที่ปฏิบัติถูกต้อง สมาธิย่อมช่วยเสริมการบำเพ็ญกิจเพื่อพหูชน”
    (พุทธธรรม หน้า ๘๓๙)

    เมื่อรู้ทันความเท็จของคำกล่าวหาตามวิธีเบญจ์บาระกุล แล้ว ชาวพุทธควรได้ประโยชน์ทางปัญญาเพิ่มขึ้นด้วย จึงเอาหลักมาย้ำทบทวนกันไว้ว่า
    สมาธิเป็นธรรมสำคัญมากในพระพุทธศาสนา เป็นที่รวมของการฝึกจิตหรือพัฒนาจิตใจ จึงจัดเป็นสิกขาที่ ๒ ในไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    แม้ว่าสมาธิจะเป็นธรรมสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ต้องระวังอย่าใช้ผิด ซึ่งจะกลายเป็นมิจฉาสมาธิ แปลว่า สมาธิผิด
    หนทางที่จะเกิดความไขว้เขวอย่างสำคัญในการใช้สมาธิที่ต้องระวังให้ดีมี ๒ อย่าง คือ การใช้สมาธิเพื่อได้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และการใช้สมาธิแม้แต่ขั้นสูงถึงฌานสมาบัติในทางติดเพลินหาความสุข
    ในอินเดียก่อนพุทธกาล โยคี ฤาษีชีไพรบำเพ็ญสมาธิได้ฌานสมาบัติกันสูงๆ แต่ก็ไม่หลุดพ้นไปได้ เพราะมักมาติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงเห็นความบกพร่องในวิธีปฏิบัติของฤาษีโยคีเหล่านี้แล้ว จึงทรงปลีกพระองค์ออกมา
    ถ้าปฏิบัติธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ โดยได้อิทธิปาฏิหาริย์เป็นผลประกอบด้วย ก็เป็นคุณสมบัติพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เพราะแน่นอนว่าจะใช้อิทธิปาฏิหาริย์ในทางที่เป็นคุณ แต่สำหรับปุถุชน อิทธิปาฏิหาริย์อาจทำให้ลุ่มหลงมัวเมา กลายเป็นโทษ และเป็นเครื่องกีดขวางทางนิพพานของตนเอง
    ถ้าปฏิบัติธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว การเข้าฌานในยามว่าง ก็เป็นการพักผ่อนอย่างสุขสบาย ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร เป็นคุณอย่างเดียว เพราะพระอรหันต์พ้นแล้วจากการที่จะเป็นผู้ประมาท แต่สำหรับปุถุชนจะต้องระมัดระวังมิให้ติดเพลินจมอยู่กับความสุขในสมาธิ ซึ่งจะทำให้ความเพียรย่อหย่อนลง หรือเฉื่อยชาเกียจคร้าน ทำให้อินทรีย์ ๕ เสียดุล และจะไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ
    เฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ จะต้องเตือนกันให้มากในเรื่องการปฏิบัติสมาธิ ที่จะเกิดความไขว้เขว ทั้งในแง่อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และในแง่การติดเพลินหาความสุข ซึ่งจะกลายเป็นสมาธินอกพระพุทธศาสนา ที่ถูกใช้หาลาภสักการะอย่างพระเทวทัต หรือถูกใช้อย่างยากล่อม ที่ทำให้มีผู้ติเตียนได้ว่าเหมือนยาเสพติด
    การเจริญสมาธิที่ถูกต้อง ซึ่งจะเรียกว่าสัมมาสมาธิได้ ต้องก้าวหน้าต่อไป ให้สมาธิเป็นฐานแก่ปัญญา คือ สมาธิจะทำจิตให้ “นุ่มนวล ควรแก่งาน” (มุทุภูเต กมฺมนิเย) ช่วยให้ปัญญาสามารถพินิจพิจารณามองเห็นชัดเจนในสภาวธรรมทั้งหลาย จนแทงตลอดได้ซึ่งสัจธรรม
    ดร.เบญจ์ บาระกุล กับพวก ยิ่งพิสูจน์คำกล่าวหาที่ตัวตั้งขึ้นมา ก็ยิ่งพิสูจน์ความเป็นเจ้าเล่ห์จอมลวง และเปิดเผยเจตนาร้ายของพวกตนออกมาให้เห็นชัดเจนจะแจ้ง
    ยิ่งขึ้นทุกที
     
  5. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    คำกล่าวหาว่าเป็นคริสต์ กลายเป็นยืนยันว่าไม่ใช่คริสต์
    ตอนเริ่มวิเคราะห์หนังสือ พุทธธรรม ก่อนจะ”นำพิสูจน์ทราบ” ดร.เบญจ์ บาระกุล ยกเรื่อง “ตถาคตโพธิสัทธา” ในหนังสือพุทธธรรมนั้น ขึ้นมาเป็นจุดตั้งข้อกล่าวหาว่า พระธรรมปิฎกมองความหมายของปัญญา เป็นแค่การเรียนรู้ธรรมดาในทางโลก หรือเรียนรู้ทางมหาวิทยาลัย และเหยียดหยามจาบจ้วงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย ดร.เบญจ์ บาระกุล ได้ยกข้อความจากหนังสือ “พุทธธรรม” ขึ้นมาอ้าง แต่ตัดตอนเอามาว่า
    “ตถาคตโพธิสัทธา ก็คือ ความเชื่อในปัญญาหยั่งรู้สัจจธรรมของมนุษย์...หรือความมั่นใจในตนเองของมนุษย์ในฐานะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง...ความเชื่อในมนุษย์อย่างเป็นกลางๆ”
    (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๗๓)

    คำกล่าวหานั้น จริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรน่าใส่ใจ ผู้ที่ใช้ปัญญาพิจารณา และรู้จักตรวจสอบ จะมองเห็นได้เลยว่าเป็นการพูดจาเหลวไหล แต่ควรจะถือเป็นโอกาสนำเอาหลักธรรมมาทบทวนอีก เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    ศรัทธา เป็นหลักสำคัญในศาสนาทั้งหลาย ในศาสนาทั่วไป ศรัทธาหมายถึงความเชื่อมั่นในอำนาจขององค์เทวะหรือพระผู้เป็นเจ้า ที่สามารถดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ลงโทษคนบาป และช่วยมนุษย์ที่ทรงโปรดปรานให้ไปสวรรค์หรือไปอยู่กับพระองค์เป็นต้น ศรัทธาอย่างนี้ มีลักษณะที่ต้องพึ่งพา หรือขึ้นต่ออำนาจดลบันดาล
    ศรัทธาในพระพุทธศาสนาแตกต่างออกไปจากศรัทธาในศาสนาทั้งหลายที่นับถือเทพเจ้าเช่นนั้น ศรัทธาแบบพุทธนี้ เห็นได้ชัดในหลักตถาคตโพธิสัทธา
    ชาวพุทธเชื่อว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ มิใช่เพราะพระผู้เป็นเจ้ามาช่วยเปิดเผยหรือบอกสัจธรรมให้ แต่พระพุทธเจ้า ทรงเริ่มต้นจากความเป็นมนุษย์นี่แหละ ทรงใช้ความเพียรพยายามของมนุษย์ พัฒนาพระองค์เองขึ้นมาด้วยการทรงบำเพ็ญคุณธรรมอันยวดยิ่ง ที่เรียกว่า บารมีทั้ง ๑๐ ประการ จนเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ ทำให้พระองค์ที่เป็นมนุษย์ กลายเป็นพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายผู้เป็นมนุษย์ก็ควรดำเนินตามแบบอย่างของพระองค์
    ต่อไปนี้จะยกข้อความบางตอนในเรื่องตถาคตโพธิสัทธานี้ จากหนังสือ พุทธธรรม มาให้ดู เพื่อให้เห็นว่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ต่างจากศรัทธาในศาสนาที่นับถือพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร พร้อมทั้งเป็นการล้างคำกล่าวหาไปด้วยในตัว (พุทธธรรม หน้า ๔๒๔-๔๒๕ ยกมาเป็นตอนๆ)
    “ตถาคตโพธิสัทธา” (ความเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต หรือเชื่อปัญญารู้สัจธรรมของพระผู้ทรงค้นพบ) ซึ่งดังที่กล่าวแล้วว่าหมายถึงความเชื่อความมั่นใจในพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นต้นแบบ ... ที่ยืนยันถึงสมรรถวิสัยของมนุษย์ทั้งหลายว่า มนุษย์สามารถหยั่งรู้สัจธรรม เข้าถึงความดีงามสูงสุดได้ด้วยสติปัญญาและความเพียรพยายามฝึกฝนพัฒนาตนเอง ดังคำอุปมาที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระองค์เองว่า ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่เจาะทำลายเปลือกไข่คืออวิชชาออกมาได้ หรือทรงเป็นผู้ค้นพบทางเก่าและทรงชี้นำทางนั้นแก่หมู่ชน การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็คือการประกาศยืนยันความสามารถนี้ของมนุษย์ทั้งหลาย...พระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์คนแรกที่ประกาศยืนยันความสามารถอันนี้ของมนุษย์ ทรงเป็นบุคคลแรกที่ไม่ทรงอ้างอานุภาพหรือแรงดลบันดาลของเทพ หรืออำนาจสูงสุดใดๆ ...”
    คำอธิบายอย่างนี้ คงไม่มีชาวพุทธคนไหนหลงผิดคิดเห็นไปว่าเป็นคำอธิบายของศาสนาคริสต์ หรือเห็นว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามพระพุทธเจ้า หรือเป็นการดึงเอาปัญญาในพระพุทธศาสนาลงมาต่ำแค่การเรียนรู้ธรรมดาทางโลก หรือเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย อย่างที่วิธีเบญจ์บาระกุล ตั้งประเด็นขึ้นมาบิดเบือนหรือป้ายสี แต่กลับจะเห็นคุณลักษณะที่เด่น เป็นเอก ทั้งของพระพุทธศาสนา และขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    กล่าวหาเท็จแม้แต่ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จับได้ง่าย
    แม้แต่เรื่องปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ ดร.เบญจ์ บาระกุล ก็จับมาตั้งข้อกล่าวหา เพื่อทำให้หนังสือ “พุทธธรรม” เป็นหนังสือของคริสต์ให้ได้ แต่เมื่อพิจารณาแม้แต่เพียงผ่านๆ ก็จะเห็นวิธีทุจริต ที่แสดงความเท็จของคำกล่าวหาตลอดทั้งเล่ม ขอให้ดูตัวอย่าง พอให้รู้ทันวิธีเบญจ์บาระกุล ว่าเป็นเช่นไร
    ดร.เบญจ์ บาระกุล เขียนไว้อีกตอนหนึ่งว่า
    “ลักษณะการใช้คำของคริสเตียนเช่นเดียวกันนี้ ปรากฏในหนังสือ “พุทธธรรม” หน้า ๗๐/๔๔ - ๗๐/๔๖ ซึ่งใช้คำว่า การทำกิจ “นักทำกิจ” เกลื่อนไปหมดทั้งหน้า คำๆ นี้เป็นคำที่ใช้สำหรับชาวคริสเตียน โดยเฉพาะพระเยซู ซึ่งเรียกว่าการทำกิจ ไม่เคยปรากฏใช้คำๆ นี้ ในหนังสือหรือตำราทางพระพุทธศาสนาเล่มใด ตั้งแต่มีประเทศไทยบนแผนที่โลก และปรากฏมีเฉพาะในหนังสือ “พุทธธรรม” ฉบับเพิ่มเติมใหม่ ซึ่งพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นและให้ความหมายไว้ว่า “การทำกิจคือความไม่ประมาทเป็นคุณค่าในระดับโลกียะ”
    (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๘๖)

    ในข้อความที่ยกมาเพียงเท่านี้จะเห็นความเท็จมากมาย เช่น
    ๑. ความเท็จเกี่ยวกับถ้อยคำ
    ก. ที่ว่าในหนังสือพุทธธรรม หน้า ๗๐/๔๔-๗๐/๔๖ คำว่า การทำกิจ “นักทำกิจ” เกลื่อนไปหมดทั้งหน้านั้น แท้จริงแล้วคำว่า “นักทำกิจ” ไม่มีแม้แต่ที่เดียวตลอดทั้ง ๓ หน้าที่อ้าง (หรือจะอ้าง ๑๐-๒๐ หน้าก็ไม่มีอยู่นั่นเอง)
    ข. ที่ว่า “ทำกิจ” (จะเติมข้างหน้า เป็น “การทำกิจ” หรือ “นักทำกิจ” ก็ได้) “เป็นคำสำหรับชาวคริสเตียน ไม่เคยปรากฏใช้คำนี้ในหนังสือหรือตำราทางพระพุทธศาสนาเล่มใด” นั้น ก็เป็นการกล่าวเท็จอีก เพราะว่าเฉพาะในพระไตรปิฎกแปลภาษาไทยอย่างเดียว ก็มีคำว่า “ทำกิจ” ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ แห่ง ไม่ต้องพูดถึงหนังสือและตำราพระพุทธศาสนาเล่มอื่นๆ
    “ทำกิจ” นี้ มาจากภาษาบาลี ซึ่งมีทั้ง กิจฺจกรณ (การทำกิจ), กิจฺจกร และกิจฺจการก (ผู้ทำกิจ), กิจฺจการี (ผู้ทำกิจเป็นปกติ หรือนักทำกิจ)
    ชาวพุทธพูดกันเสมอว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ สำหรับคนสามัญก็คือทำกิจ ไม่ใช่เรื่องแปลก
    คำว่า “นักทำกิจ” ถึงจะไม่ได้ใช้ในหนังสือ “พุทธธรรม” อย่างที่ ดร.เบญจ์ อ้าง แต่ถ้าจะใช้ ก็ใช้ได้โดยถูกต้อง ไม่เสียหายอะไร (ในพุทธธรรม ไม่ใช้ คงเพราะไม่จำเป็น หรือเห็นว่าไม่ไพเราะ)
    คำว่า “กิจแห่งกรุณา” ก็เป็นคำในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ไม่ใช่คำแปลกประหลาดที่ไหน เช่น ใน สารัตถทีปนี ภาค ๑ หน้า ๓๒๖ มีทั้งกิจแห่งกรุณา (กรุณากิจฺจ) และกิจแห่งปัญญา (ปฺากิจฺจ) มาคู่กัน
    ยิ่งคำว่า “การบำเพ็ญกิจเพื่อพหูชน” ก็ยิ่งเป็นคำของชาวพุทธเราแท้ๆ เพียงแต่มักได้ยินในข้อความที่ยาวหน่อยว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน เมื่อต้องการพูดให้สั้น ก็พูดได้ว่า ทรงบำเพ็ญกิจเพื่อพหูชน คำว่า “พหูชน” เป็นคำของคัมภีร์พุทธแท้ๆ ไม่ค่อยมีใครนำไปใช้
    ดังนั้น พูดรวมๆ ได้ว่า คำเหล่านี้เป็นของชาวพุทธมาแต่เดิม บุคคลใดหรือศาสนาไหนจะเอาไปใช้ เราไม่ได้สนใจที่จะตามไปสืบหา
    เมื่อชาวคริสต์อยากใช้ภาษาไทยให้ไพเราะ เขาก็ย่อมมาเอาคำจากภาษาไทยของเรานี่แหละไปใช้ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร
    เมื่อเราพูดธรรมะให้ฝรั่งฟัง เราก็ใช้คำภาษาอังกฤษ ซึ่งหลายคำเขาใช้ในศาสนาคริสต์มาก่อน (แต่ถ้าคำนั้นมีความหมายไม่ตรงกันจริงๆ เมื่อฝรั่งพอจะคุ้นกับคำของเราแล้ว เราก็พูดทับศัพท์ไปเลย ไม่ต้องแปล เช่น เดี๋ยวนี้ใช้ทับศัพท์คำว่า Dhamma, kamma, samadhi ได้แล้ว)

    ๒. ความเท็จเกี่ยวกับหลักธรรม
    ก. ที่ ดร.เบญจ์ บาระกุล อ้างว่า พระธรรมปิฎกบัญญัติศัพท์ว่า “การทำกิจ” นี้ขึ้น และให้ความหมายว่า “การทำกิจคือความไม่ประมาทเป็นคุณค่าในระดับโลกียะ” (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๘๖) นั้น
    ข้อความนี้ไม่มีในหนังสือ “พุทธธรรม” ที่อ้าง ถ้าไม่มีเจตนาบิดเบือน ผู้อ้างก็ยกมาผิดพลาด หรือพูดสรุปเอาเอง ไม่ตรงตามความหมายในหนังสือที่ตนอ้าง
    ข้อความที่ถูกต้องในหนังสือพุทธธรรมพูดไว้ยาว โดยกล่าวถึงคุณค่าอย่างที่ ๒ ของไตรลักษณ์ว่า “พุทธพจน์ข้อที่ ๒* ชี้ถึงคุณค่าในด้านการปฏิบัติกิจหน้าที่ ... คุณค่าข้อนี้เน้นด้านความไม่ประมาทเร่งรัดทำกิจ เป็นระดับโลกิยะ เรียกง่ายๆ ว่า คุณค่าด้านการทำกิจ” (พุทธธรรม หน้า ๗๐/๓๖-๓๗)
    เป็นที่ชัดเจนว่า หนังสือ พุทธธรรม ไม่ได้บอกว่า “การทำกิจคือความไม่ประมาท” อย่างที่ ดร.เบญจ์ บาระกุล อ้างเลย มีแต่ข้อความว่า “ไม่ประมาทเร่งรัดทำกิจ”
    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ ดร.เบญจ์ บาระกุล จะจับเนื้อความมาพูดเองผิดพลาด แต่สาระของธรรมก็ยังไม่หมดสิ้นไปง่ายๆ ในคำที่พูดไม่ถูกต้องนั้นก็ยังเห็นได้ว่า “การทำกิจ” เป็นอาการของความไม่ประมาท แสดงว่าไม่มัวเฉื่อยชาเกียจคร้านหรือผัดเพี้ยน ที่เป็นอาการของความประมาท
    สรุปได้ว่า คำกล่าวหาของ ดร.เบญจ์ บาระกุล เป็นเท็จทั้งสิ้น ไม่มีอะไรถูกต้องเป็นจริงเลย
    จริงๆ แล้ว แม้แต่สมมติว่า คำว่า “ทำกิจ” ไม่มีในภาษาของพระพุทธศาสนามาแต่เดิม การที่จะนำเอาคำนี้มาพูด ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะข้อความตอนนี้เป็นการอธิบายธรรมแก่คนไทยในสมัยปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นการยกข้อความในคัมภีร์มาอ้าง
    เมื่อท่านจะอธิบายธรรมแก่คนยุคปัจจุบัน ให้เขาเข้าใจได้ดี ก็ต้องใช้ถ้อยคำสมัยใหม่ ไม่มากก็น้อย และอาจต้องมีศัพท์วิชาการร่วมสมัยด้วย
    คำศัพท์ต่างๆ เช่น กิจกรรม อุดมคติ อุดมการณ์ อุดมศึกษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต การลงทุน การประกอบการ บริโภคนิยม โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี สารสนเทศ ศักยภาพ ภูมิต้านทาน กระบวนการ ปรีชาญาณ สมรรถวิสัย ฯลฯ คนสมัยนี้ทุกคนย่อมมีสิทธินำมาใช้ รวมทั้งชาวคริสต์ที่จะพูดกับคนไทย ก็ย่อมเอาคำเหล่านี้ไปใช้ด้วย เป็นเรื่องธรรมดา การที่ ดร.เบญจ์ บาระกุล มาเหมาเอาศัพท์เหล่านี้เป็นคำของศาสนาคริสต์นั้น เป็นการใส่ร้ายเลยเถิดที่เหลวไหลจนหมดความหมายไปเอง
    นอกจากนั้น ก็ไม่ต้องไปคิดแปลคำเหล่านี้กลับเป็นภาษาบาลี เพราะคำเหล่านี้ หลายคำแทบจะเป็นภาษาบาลีอยู่แล้ว เช่น กิจกรรม อุดมคติ อุดมการณ์ อุดมศึกษา วัฒนธรรม สามารถเขียนเป็นคำบาลีได้ทันที คือ เป็น กิจฺจกมฺม อุตฺตมคติ อุตฺตมการณ อุตฺตมสิกฺขา วฑฺฒนธมฺม แต่ก็ไม่มีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา** เพราะคำเหล่านี้เกิดขึ้นใหม่ในภาษาไทย ท่านเอามาใช้เพียงเป็นคำอธิบายประกอบ
    ข้อสำคัญจะต้องรู้แม่นยำชัดเจนว่า คำอธิบายนั้นตั้งอยู่บนฐานของหลักธรรมใด และขยายความหมายออกมาจากหลักธรรมนั้นอย่างไร โดยอธิบายให้ได้สาระของหลักธรรมนั้น ไม่ให้ผิดพลาด
    พูดกันตรงๆ ว่า ตัวอย่างเท่านี้ก็พอแล้วที่จะให้ชาวพุทธรู้จักวิธีเบญจ์บาระกุล และรู้ทันความเท็จที่พวกเขาสร้างขึ้น ไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองเวลาและแรงกายแรงสมองที่จะวิเคราะห์ต่อไปอีก เพราะทั้งหมดก็ทำนองเดียวกัน
    -------------------------------------
    * คือพุทธพจน์ว่า วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ = สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
    ** อุตฺตมคติ และอุตฺตมการณ มีในคัมภีร์ภาษาบาลี แต่ใช้ในความหมายต่างกับที่เราใช้ในภาษาไทย


    ขอบคุณ ห้อง ศาสนา pantip.com


    ยังมีอีกนะครับ เดี่ยวมาต่อ
     
  6. กำนันธงชัย

    กำนันธงชัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +75
    เรื่องวันอัศจรรย์ตะวันแก้วใช้เลเซอร์คงไม่จริงมั่งครับ เพื่อนผมก็ไปในวันนั้น ถ่ายรูปมาด้วยน่ะแต่ฟิลม์ไม่ติดภาพหลวงพ่อสด แล้วก็ไม่มีใครมีภาพนั้นด้วย ถ่ายติดออกมาแต่ท้องฟ้า สีทอง สีชมพู สีรุ้ง สีสวยๆสารพัด แต่ไม่มีภาพหลวงพ่อ หากใช้เลเซอร์จริงก็น่าจะถ่ายติดภาพน่ะ

    เพื่อนผมคนนั้น ตอนนี้เป็นใหญ่เป็นโต เป็น สส มา3สมัย ผมนี่ยังได้แค่นี้ ผมเองก็ไม่เคยไปวัดธรรมกายน่ะ แต่อยากไปอยู่เหมือนกัน

    เดือนที่แล้ว ตี4ผมออกไปส่งของ ผ่านไปแถวปากคลอง เห็นศิษย์วัดนี้กลุ่มใหญ่เดินชวนคนบวชพระ พูดธรรมะธัมโม ผมเห็นล้วอึ้ง ควักเงินทำบุญไป500

    ผมว่าวัดนี้ก็ดีน่ะครับ ไม่รู้ซิ

    ทุกครั้งที่มีโครงการใหญ่ๆของวัดนี้ พี่ยงยศ (นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย) ก็มีหนังสือแจ้งไปทั่ว ให้ช่วยงานนี้ บางแห่งที่มีประชุมใหญ่ ก็มีพระจากมหาเถระสมาคมไปชวนให้สนันสนุนวัดนี้ พระท่านว่า มหาเถระสมาคมก็ต้องขอพึ่งวัดธรรมกาย ทุกครั้งที่ศาสนาพุทธมีเรื่อง แห่งแรกที่พระในมหาเถระสมาคมนึกถึงคือวัดนี้


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    อันนี้เค้าใช้สวดมนต์ข้ามคืนน่ะครับ แต่ก็รุสึกว่าจะเป็นสิบปีแล้วป่าว ก็แค่มุ่งคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2011
  7. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ต่อนะครับ....

    คนที่ใช้โกหัญวิธี ย่อมไม่มีเจตนาจะรักษาพระพุทธศาสนา
    วิธีตรวจสอบและวิธีพิสูจน์ที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้กล่าวหามาพูดซักถาม และตอบแก้กันในที่พร้อมหน้า แต่เพราะเรื่องที่กล่าวหาล้วนเป็นความเท็จ บุคคลหรือกลุ่มคนที่ใช้ชื่อว่า ดร.เบญจ์ บาระกุล จึงไม่กล้าเปิดเผยตัวออกมาเพื่อพิสูจน์ความจริง
    หนังสือและเอกสารที่เขียนขึ้นและตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งหมดนี้ ใช้ชื่อว่า ดร.เบญจ์ บาระกุล และมีการใช้ถ้อยคำ ภาษาอังกฤษ บอกสถานศึกษา และชื่อปริญญา เป็นต้น ให้ดูขลัง
    แต่ผู้รู้ทั้งหลาย แค่อ่านผ่านๆ ภาษาอังกฤษที่เขาพิมพ์ไว้ ก็ไม่เชื่อว่าผู้เขียนจะได้ปริญญาเอก เป็น ดร.จริง เพราะคนที่เรียนจบขั้นนี้แล้ว ยังเขียนชื่อวิชาที่ตนเรียนไม่ถูก เขียนชื่อมหาวิทยาลัยและสะกดชื่อเมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ไม่ได้ จะให้ใครเชื่อว่าสำเร็จปริญญานั้นๆ จริงได้อย่างไร (เช่น เขียน Management เป็น Mangment เขียน Washington เป็น Wasington)
    อย่างน้อยก็ทำให้คนไม่อาจเชื่อถือหรือนับถือปริญญาของมหาวิทยาลัยนั้น
    อีกทางหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ เจ้าตัวพอจะมีความสามารถเขียนคำและสะกดตัวอักษรให้ถูกต้องได้ แต่แกล้งเขียนให้ผิด เพราะไม่ได้สำเร็จการศึกษาอย่างที่ว่านั้นจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะถูกฟ้องร้องตามกฎหมาย
    ไม่ว่าจะเป็นอย่างไหนก็ตาม ข้อที่แน่นอนก็คือ ความเท็จของตัวผู้เขียน ยิ่งซ้ำเติมความเท็จในเนื้อหาของหนังสือให้ ไม่มีอะไรเหลือที่จะเชื่อถือได้
    ยิ่งกว่านั้น กรรมที่ทำความเท็จทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าคนที่ทำกรรมนี้ไม่ได้มีใจซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย คือการที่เขาทำอย่างนี้ มิใช่มุ่งเชิดชูพระพุทธศาสนา หรือรักษาพระธรรมวินัย แต่ทำด้วยเจตนาแอบแฝงอย่างอื่น ที่มองเห็นได้ว่าเลวร้าย ถึงขั้นที่กล้าลบล้างพระธรรมวินัย เพื่อแลกเอาตัวบุคคลที่ทำผิดไว้ และด้วยความหวังจะได้ผลประโยชน์เท่านั้น
    คนที่เขียนหนังสือด้วยวิธีเบญจ์บาระกุล นี้ สร้างความเท็จ ทำกรรมทั้งหมดด้วยเล่ห์กล ถ้าเขาทำกรรมนั้น ตามอาณัติหรือเพื่อสนองความประสงค์ของผู้ใด ผู้ที่เป็นเจ้าของอาณัติหรือความมุ่งประสงค์นั้นก็ย่อมได้รับผลกรรมที่เป็นบาปร่วมกับเขาด้วย คือพลอยได้ชื่อว่าเป็นคนเจ้าเล่ห์ทำกรรมที่มีแต่ความเท็จหลอกลวง
    ยังมีบาปร้ายที่หนักกว่านั้นอีก คือ คนที่มารับทำกรรมนั้นโดยหวังผลประโยชน์ จิตใจของเขาอยู่ที่จะเอาผลตอบแทน และทำเพียงเพื่อให้ได้ผลตอบแทน เขาย่อมไม่มีความจริงใจต่อเจ้าของงาน คนที่น่าสงสารที่สุดจึงได้แก่ตัวเจ้าของงานผู้ให้ผลตอบแทนนั่นเอง ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลร้ายทั้งหมดในขั้นสุดท้าย เพราะเมื่อคนที่รับงานนั้นไปทำ สามารถสร้างความเท็จเพื่อหลอกประชาชนและทำลายคนที่เป็นเป้าหมายได้ เขาก็ย่อมหลอกคนที่เป็นเจ้าของงานได้เช่นเดียวกัน เพราะเขาไม่มีความซื่อตรงต่อใครๆ ทุกฝ่าย
    ข้อนี้เห็นได้ง่ายๆ ว่า ดร.เบญจ์ บาระกุล นั้น ทำเรื่องเท็จพอให้ได้เกิดผลงานเป็นหนังสือออกมา โดยไม่มีความลึกซึ้งแนบเนียน พิสูจน์ความเท็จได้ง่าย ตรวจสอบเมื่อใด ความเท็จจะปรากฏทันที เช่น ที่เขียนว่า พระธรรมปิฎก เป็นสมาชิกมูลนิธิโกมลคีมทองบ้าง พระธรรมปิฎกไปสอนที่ศูนย์ศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (ถ้าท่านไปสอนก็ไม่ได้ เสียหายอะไร แต่ท่านอาพาธจึงไม่ได้ไปสอน) บ้าง พระธรรมปิฎกต้องหลบหนีออกนอกประเทศเนื่องจากการก่อการร้าย จนรัฐบาลประกาศอภัยโทษ จึงกลับมาประเทศไทยได้ ตลอดจนว่ารางวัลของยูเนสโกจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของศาสนาคริสต์ ฯลฯ
    แม้แต่เรื่องที่ชัดเจนโจ่งแจ้งอยู่แล้ว ดร.เบญจ์ บาระกุล ก็ยังเอามาปั้นความเท็จ เมื่อใดมีการตรวจสอบ ความเท็จ ก็ย่อมเผยออกมาทันที พลอยให้รู้ว่าเนื้อหาอย่างอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรจะเชื่อถือได้ และส่อเจตนาของผู้เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันทำหนังสือและเอกสารเหล่านี้ออกมาทั้งหมด
    แต่ผลที่เลวร้ายที่สุด ก็คือความเสียหายต่อพระธรรมวินัยที่เป็นหลักของพระศาสนา เมื่อคนมาทำอะไรเกี่ยวกับพระ ธรรมวินัยด้วยเจตนาไม่สุจริต คือไม่ได้มุ่งจะรักษาพระธรรมวินัย แต่ทำเพื่อทำลายผู้อื่น หรือเพื่อปกป้องบุคคลที่ให้ผลประโยชน์แก่ตน เมื่อเป็นอย่างนี้ แทนที่เขาจะรักษาพระธรรมวินัย ก็จะกลับตรงกันข้าม คือ เขาจะทำลายพระพุทธศาสนา ด้วยการทำให้คนหลงเข้าใจพระธรรมวินัยผิดพลาด คือ เขาจะบิดเบือน ปลอมปน หรือทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเขา
    เมื่อเขาทำอย่างนี้ ยิ่งเขาบอกว่าจะรักษาพระพุทธศาสนาเท่าไร พระพุทธศาสนาก็ยิ่งบอบช้ำเสียหายมากเท่านั้น เพราะเจตนาที่แท้จริง เขาไม่ได้คำนึงถึงพระธรรมวินัย หรือใส่ใจต่อประโยชน์ของชาวพุทธ
    การกระทำอย่างนี้ ก็เหมือนกับนางยักษิณีในเรื่องการแย่งลูก ในมโหสถชาดก ตามเรื่องมีว่า หญิงคนหนึ่งวางลูกไว้ ขณะนั้นนางยักษิณีตนหนึ่งแปลงตัวเป็นหญิงชาวบ้าน เข้ามาขออุ้มเด็กนั้น ทำทีท่าว่าจะให้นม หยอกล้อเด็กและเดินไปๆ มาๆ พอได้ทีก็พาเด็กหนี แม่ของเด็กเห็นดังนั้นก็วิ่งไล่ตามจะเอาลูกกลับ แต่นางยักษิณีก็อ้างว่าเด็กนั้นเป็นลูกของตน เดินๆ วิ่งๆ เถียงกันไป กลายเป็นคดีแย่งลูก
    เรื่องไปถึงพระโพธิสัตว์ คือพระมโหสถ จะต้องตัดสินว่าใครเป็นแม่ หรือใครมีสิทธิได้เด็กนั้น พระมโหสถก็ขีดเส้น ให้หญิงทั้งสองแย่งเด็กกันด้วยกำลัง ฝ่ายหนึ่งจับขา ฝ่ายหนึ่งจับแขน แล้วดึงเอา ใครชนะผ่านเส้นก็เอาเด็กไป แต่ใจของพระมโหสถนั้นต้องการจะพิสูจน์ว่าใครเป็นแม่
    หญิงทั้งสองต่างก็ออกกำลังดึงเด็ก เด็กเจ็บปวดก็ร้องไห้และแสดงอาการทุกข์ทรมาน ฝ่ายนางยักษิณีนั้นใช้กำลังยื้อยุดฉุดเต็มที่ ดึงเอาๆ ฝ่ายหญิงแม่เด็กขณะที่ดึงอยู่ เห็นเด็กเจ็บปวดร้องให้ ก็เจ็บปวดรวดร้าวในตัวเองเหมือนใจจะขาด ในที่สุด ด้วยน้ำใจแม่ก็ทนเห็นลูกเจ็บปวดไม่ไหว จึงปล่อยมือยอมให้ลูกหลุดไป
    นางยักษิณี พอดึงชนะได้เด็ก ก็จะพาเอาไป พระมโหสถจึงเรียกตัวไว้ แล้วถามชาวบ้านว่า หญิงคนไหนจะทนไม่ได้ที่จะเห็นลูกเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ชาวบ้านทุกคนก็บอกว่าคนที่เป็นแม่ พระมโหสถจึงตัดสินให้นางยักษิณีคืนลูกให้แก่หญิงนั้น
    ทำนองเดียวกันนี้ การสร้างคำเท็จกล่าวหาของกลุ่ม ดร.เบญจ์ บาระกุล ก็ไม่คำนึงว่าจะทำให้เสียหายแก่พระธรรมวินัย หรือพระไตรปิฎกที่รักษาพระธรรมวินัยนั้น เพราะไม่ได้มุ่งรักษาพระธรรมวินัย แต่มุ่งจะทำพระธรรมวินัยให้เปลี่ยนแปรเข้ากับวัตถุประสงค์ของตน เพื่อทำการร้ายให้สำเร็จ ดังนั้นจึงกล้าบิดเบือน หลอกลวง สร้างความเท็จ และแกล้งทำให้เข้าใจผิดได้ทุกอย่าง
    ดังตัวอย่าง เมื่อจะบิดเบือนหลักธรรมในพระไตรปิฎก เขาก็แกล้งเขียน พยายามให้เข้าใจว่า ปริวาร เป็นคัมภีร์พวกอรรถกถา และมีชื่อว่าปริวารวัคค์ (หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๙๓, ๑๒๑) ทั้งที่ไม่มีคัมภีร์บาลีใด มีชื่อว่า ปริวารวัคค์ แต่ ปริวาร นั้น แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นพระไตรปิฎก ในหมวดพระวินัยปิฎก เล่ม ๘
    ปริวาร เป็นหลักสำคัญ ที่อรรถกถาใช้อ้างอิงในการแก้ข้อสงสัยต่างๆ ในทางพระวินัย และวินิจฉัยอธิกรณ์ต่างๆ (ปัญหาว่านิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตา เป็นอธิกรณ์อย่างหนึ่ง เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์)

    ขอให้ซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย อย่าเอาเล่ห์กลมาใช้ให้พระพุทธศาสนามัวหมอง
    วิธีเบญจ์บาระกุล อีกอย่างหนึ่ง คือ ยกเอาศัพท์ธรรมและหลักธรรมต่างๆ มาพูดวกวนโยงไปโยงมาให้สับสน เพื่อล่อหลอกให้ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานเพียงพอ อ่านแล้วแยกแยะไม่ทัน แล้วอาจจะคล้อยไปตาม ทั้งที่ไม่ได้เข้าใจ และไม่มีหลักอะไร เช่น ยกคำว่า “กายในกาย” และ “ธรรมในธรรม” (ในหลักสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งยังมี เวทนาในเวทนา และจิต ในจิตด้วย แต่ไม่ยกมา) แล้วทึกทักเอาว่า กาย ที่อยู่แห่งหนึ่ง กับธรรม ที่อยู่อีกแห่งหนึ่ง มาเข้าคู่กันรวมเป็นคำเดียวว่า “ธรรมกาย” เหมือนกับที่ ธรรมกับวินัย มาเข้าคู่รวมกันเป็น “ธรรมวินัย” แล้วบอกว่า “กายในกาย” นั้นเป็นอัตตา (ดูหนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๑๔๓-๑๔๕)
    ตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง คือ การพูดโน้มน้อมทำนองจะให้เข้าใจว่า การไปถวายข้าวแด่พระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพาน (ไม่ระบุออกมาโดยตรง) เป็นข้อปฏิบัติที่มีมาตามประเพณีการทำบุญของพุทธศาสนิกชนชาวสยามที่เรียกว่าการ “ถวายข้าวพระพุทธ” ซึ่งได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ยุคบรรพบุรุษ (ดูหนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ หน้า ๑๒๓-๑๒๔)
    แต่ความจริงนั้นตรงกันข้าม การไปถวายข้าวพระพุทธในอายตนะนิพพานนั่นแหละเป็นการทำลายขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งหลักแห่งศรัทธาที่มีมาแต่เดิมให้วิปริตผิดเพี้ยนไป
    คนไทยแต่โบราณที่ “ถวายข้าวพระพุทธ” นั้น เขาพอจะรู้เข้าใจหลักพระศาสนา หรือไม่ก็มีผู้รู้คอยดูแลไว้ให้อยู่ในหลักพระพุทธศาสนาว่า “การถวายข้าวพระ” นั้น เป็นการบูชาอย่างหนึ่ง คือบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างบูชาด้วยธูป เทียน ดอกไม้ เป็นอาทิ ไม่ใช่หมายความว่าจะถวายข้าวให้พระพุทธเจ้าเสวย หรือทรงฉันแต่อย่างใดเลย
    เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่ชัดเจนว่า คำถวายข้าวพระนั้น ตามภาษาบาลีเรียกว่า “บูชาข้าวพระ” ดังที่เราจำคำถวาย คือคำบูชาติดต่อกันมาแต่โบราณว่า “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ ... พุทฺธสฺส ปูเชมิ” (แปลว่า ข้าพเจ้าขอบูชา . . . อันพร้อมด้วยกับแกงนี้ แด่พระพุทธเจ้า)
    การจับโน่นชนนี่โยงไปโยงมา ดึงศัพท์ธรรมและหลักธรรมปรับเปลี่ยนให้เข้าเป้าหมายของตัวอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เป็นการไม่เคารพพระธรรมวินัย และลบหลู่มวลพุทธบริษัท เหมือนเอาพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องเล่น จะทำให้พระธรรมวินัยวิปริตผิดเพี้ยน และทำความสับสนเสื่อมเสียประโยชน์แก่ประชาชน
    เราจึงต้องขอร้องอย่างมากว่า พระธรรมวินัยเป็นหลัก เป็นเนื้อเป็นตัวของพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมและเป็นแหล่งกลางที่อำนวยประโยชน์สุขของประชาชน เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ขอให้ถือความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของพระธรรมวินัย เป็นสมบัติสำคัญที่สุดที่จะต้องรักษา
    ปัญหาวัดพระธรรมกายนั้น สื่อมวลชนและชาวพุทธจำนวนมาก ได้ติติงว่ากล่าวร้องทุกข์ และโจษจันกันมากว้างขวางมากขึ้นๆ หลายแง่หลายด้าน ตลอดเวลายาวนานจนบัดนี้จวนจะถึงปี พระธรรมปิฎกเพิ่งเข้ามาเกี่ยวข้องในระหว่างเมื่อเรื่องเริ่มมาแล้วหลายเดือน และขยายตัวรู้กันทั่วไปแล้ว จนถึงช่วงตอนที่มีการทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนเกี่ยวกับหลักพระธรรมวินัย ท่านจึงเขียนเรื่องกรณีธรรมกายขึ้น เฉพาะในแง่ที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพระธรรมวินัย และเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแก่ประชาชน พร้อมทั้งขอร้องผู้ที่พลั้งพลาดเผลอผิดไปให้เห็นแก่พระธรรมวินัย และแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้อง ไม่ได้ไปใส่ใจกับปัญหาด้านอื่น
    ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อสงสัยไม่เห็นด้วย หรือมีข้อโต้แย้งอย่างใด ก็ขอให้พูดจาว่ากันไปตามหลัก เอาความจริงความถูกต้องเป็นที่ตั้ง และมุ่งความแท้จริงของพระธรรมวินัยเป็นจุดหมาย
    ควรจะพูดกันในเรื่องหลักการสำคัญที่เป็นปัญหา อย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรจะหาเลศจับแง่ที่นอกเรื่องมาสร้างความสับสน ตลอดจนปั้นแต่งเรื่องเท็จต่างๆ มาล่อหลอกให้หลงประเด็น การสร้างความเข้าใจผิดต่อพระธรรมวินัย ก็เลวร้ายหนักหนาอยู่แล้ว อย่าสร้างเรื่องใส่ร้ายต่อบุคคล ให้ปัญหานุงนังสับสน เป็นบาปกรรมสาหัสยิ่งขึ้นไปอีกเลย
    ชาวพุทธมั่นใจได้แน่นอนว่า คนที่เคารพพระไตรปิฎก ซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย และนับถือหลักนิพพานเป็นอนัตตา จะไม่มีทางเป็นคนศาสนาคริสต์ไปได้เลย แต่คนที่ประพฤติตรงข้ามจากนี้นั่นแหละ ที่พวกเราจะต้องระวัง
    ความซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย และตั้งตนอยู่ในหลักเท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาให้จบสิ้นลงได้ด้วยดี และรักษาพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งประโยชน์ของชาวพุทธส่วนรวมไว้ได้่
     
  8. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ลำดับปัญหา กรณีธรรมกาย โดย นายสมพร เทพสิทธา

    วัดพระธรรมกาย เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ ที่มีกำลังคนและกำลังทรัพย์มาก ตลอดจนมีการบริหารและการจัดการที่เข้มแข็ง ถ้าทำงานสร้างสรรค์ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง แต่เมื่อก่อปัญหาขึ้น ก็มีผลกระทบต่อสังคมและประชาชนในวงกว้างเป็นอย่างมาก
    ปัญหาวัดพระธรรมกายเริ่มปรากฏชัดตั้งแต่เมื่อประมาณ ๑๒ ปีที่ผ่านมา โดย ศ.นพ. ประเวศ วะสี ได้เขียน เตือนไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐๑ และต่อมาหลังจากเกิดกรณีอื้อฉาวเรื่องที่ดินกับชาวบ้านรอบวัดในปี ๒๕๓๑ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ได้กล่าวถึงปัญหาความผิดเพี้ยนของวัดพระธรรมกายไว้อย่างชัดเจน๒ ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาวัดพระธรรมกายมิได้เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ได้เริ่มต้นสะสมมาไม่น้อยกว่า ๒๐ ปีแล้ว
    เมื่อปัญหาเกิดขึ้น ชาวพุทธทั้งหลายและองค์กรต่าง ๆ เฝ้าจับตามองด้วยความเป็นห่วง แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรอย่างหนึ่งอย่างใดได้ เพราะแต่ละคนแต่ละองค์กรมีกำลังน้อยและแยกกระจัดกระจายกันอยู่ จึงมีกำลังไม่พอที่จะยับยั้งและแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกายได้ ทั้ง ๆ ที่ทราบว่า การกระทำของวัดพระธรรมกายกำลังก่อปัญหาให้เกิดขึ้นแก่สังคม ประชาชน และพระธรรมวินัยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีกำลังเข้มแข็ง เติบโตขึ้นทุกวัน
    จนกระทั่ง ต้นเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๔๑ สยามธุรกิจ๓ เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่เริ่มตีพิมพ์ปัญหาวัดพระธรรมกาย ต่อมาหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับก็ได้เริ่มตีพิมพ์เรื่องดังกล่าวตามมา และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ปัญหาการใช้ปาฏิหาริย์หลอกลวงประชาชน๔ ปัญหาการเรี่ยไรเงินนอกแบบ๕ ปัญหาการนำวิธีจัดการแบบขายตรงมาดูดเงินของผู้บริจาค๕ ปัญหาการทำบุญให้เป็นสินค้า๖ และประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย สื่อมวลชนได้ตีแผ่ออกมาให้ประชาชนทราบ ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้ได้เป็นแรงกระตุ้นให้ชาวพุทธ เห็นภัยของพระพุทธศาสนาจากปัญหาวัดพระธรรมกาย ที่ได้ก่อตัวขึ้นอย่างร้ายแรง ทำให้ชาวพุทธ ทั้งสงฆ์และฆราวาส เริ่มตระหนักว่าจะอยู่นิ่งเฉยอีกต่อไปไม่ได้ เพราะภัยที่เกิดขึ้นนั้น เสมือนไฟที่กำลังไหม้บ้าน
    เนื่องจากชาวพุทธยังกระจัดกระจายกันอยู่และมีกำลังน้อย จึงจำเป็นต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่กำลังขยายตัว พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทะ) วัดชลประทานรังสฤษดิ์๗ พระพิศาลธรรมพาที (พระอาจารย์พยอม กลฺยาโณ) วัดสวนแก้ว๘ ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต๙ และบุคคลสำคัญอีกหลายท่านต่างออกมา กล่าวถึงปัญหาวัดพระธรรมกาย ให้สังคมได้ตื่นขึ้นและมองเห็นภัย
    ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคมปี ๒๕๔๑ และเดือนมกราคม ๒๕๔๒ วัดพระธรรมกายได้พิมพ์หนังสือชื่อ “เจาะลึกวัดพระธรรมกาย”๑๐ ออกเผยแพร่ และ พระสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้อำนวยการสำนักเผยแผ่ธรรมะวัดพระธรรมกาย ได้เผยแพร่ข้อเขียนเรื่อง “นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา” ทั้งทางหนังสือพิมพ์และหนังสือเล่มออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งเอกสารดังกล่าวนั้นได้เขียนบิดเบือนหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “นิพพานเป็นอัตตา” และชี้นำให้คนเห็นว่าพระไตรปิฎกผิดเพี้ยน ไม่น่าเชื่อถือ เป็นเหตุให้ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) เขียนบทความเรื่อง “กรณีธรรมกาย” ขึ้น เพื่อชี้แจงประเด็นที่ว่า “นิพพานเป็นอนัตตา”๑๑ และให้ชาวพุทธเกิดความมั่นใจในพระไตรปิฎก
    เมื่อเดือนมีนาคม นายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.กระทรวงศึกษาธิการ (ตำแหน่งในขณะนั้น) กำหนดให้พระไชยบูลย์ โอนที่ดินซึ่งมีชื่อตนเองเป็นเจ้าของโฉนดให้แก่วัดพระธรรมกาย ภายใน ๓๐ วัน๑๒ แต่เมื่อครบกำหนดก็ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม ภายหลังเมื่อพ้นระยะเวลา ๓๐ วันดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงมีพระวินิจฉัยว่า พระไชยบูลย์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ แต่พระวินิจฉัยของสมเด็จพระสังฆราชไม่ได้รับการตอบสนองในทางปฏิบัติจากมหาเถรสมาคม ขณะเดียวกันกลับมีมติให้ดำเนินคดีไปตามกฎนิคหกรรรม ซึ่งทำให้เรื่องยืดเยื้อออกไป ปัญหาต่าง ๆ ไม่ได้รับการแก้ไข นับตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงมีพระวินิจฉัยจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๖ เดือนเศษแล้ว ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้
    เมื่อมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ประชาชนขาดหลักที่พึ่ง ทั้งด้านพระธรรมวินัยและด้านการจัดการแก้ปัญหา จึงต้องหันไปพึ่งทางอาณาจักร คือ รัฐบาล แต่ปรากฏว่ารัฐบาลก็หาได้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ชัดเจนลงไปไม่ ประชาชนจึงตกอยู่ภายใต้ภาวะที่สับสน หาทางออกไม่ได้ ว้าเหว่ ขาดที่พึ่งพิง ไม่มีองค์กรใดในบ้านเมืองที่จะปกป้องพระศาสนา จึงจำเป็นที่ชาวพุทธที่กระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่าง ๆ ต้องมารวมตัวกันให้เกิดความเข้มแข็ง และหาทางร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหา
    เหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งทำให้ชาวพุทธสามัคคีรวมกำลังกันยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับชาวบ้านบางระจัน ที่รวมตัวกันขึ้น เพื่อต่อสู้กับกองทัพพม่า เมื่อครั้งก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อเห็นช่องทางใดที่จะแก้ปัญหาได้ ก็ต้องหันไปพึ่งทางนั้น เช่น เมื่อพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) เป็นพระองค์หนึ่งที่กล่าวถึงพระธรรมวินัย โดยยึดหลักพระไตรปิฎกเป็นที่ตั้ง พูดถึงหลักพระศาสนา โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับปัญหาตัวบุคคล และช่วยให้เกิดความกระจ่างชัดเจน ชาวพุทธทั้งหลายจึงเห็นว่าเป็นที่พึ่งได้ในด้านพระธรรมวินัย และเมื่อ พล.ต.ท. วาสนา เพิ่มลาภ ตั้งใจทำงานหาหลักฐานเกี่ยวกับ การฉ้อโกงประชาชนของพระไชยบูลย์ และมีการแจ้งจับ ตลอดจนฟ้องร้องเป็นคดีอย่างเป็นรูปธรรม ชาวพุทธจึงเห็นว่า พล.ต.ท. วาสนา เป็นที่พึ่งได้ทางฝ่ายบ้านเมือง เป็นต้น
    ภายใต้ปัญหาที่พระไชยบูลย์และพวกก่อขึ้นในนามของวัดพระธรรมกายนี้ เมื่อมีนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และ พระสงฆ์ หลายฝ่าย ตลอดถึงสมเด็จพระสังฆราช ได้ออกมาชี้แจงความจริงและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไข วัดพระธรรมกายแทนที่จะแก้ไขปรับปรุงแนวทางของวัดเสียใหม่ แต่กลับใช้สื่อที่สนับสนุนตน คือ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย สร้างสถานการณ์ และบิดเบือนประเด็นให้เบนออกไปจากเป้าหมายที่แท้จริง เพื่อให้ชาวพุทธหลงประเด็นจากปัญหาที่ วัดพระธรรมกายได้ก่อขึ้น อาทิ
    • เมื่อชาวพุทธออกมาชี้แจงและทักท้วงเพื่อความถูกต้อง ก็ปั้นแต่งเรื่องให้เป็นปัญหาการแตกแยก ทะเลาะกันระหว่างสองฝ่าย๑๓ แต่ที่จริง คือ ปัญหาการบิดเบือนพระธรรมวินัยของวัดพระธรรมกายเอง
    • เมื่อสมเด็จพระสังฆราช มีพระวินิจฉัยออกมา ก็กล่าวหาว่าเป็นพระลิขิตปลอม๑๔ เพื่อเบนประเด็นที่มี พระวินิจฉัยว่า พระไชยบูลย์ปาราชิกขาดจากความเป็นพระ
    • เมื่อชาวพุทธและองค์กรต่าง ๆ พากันออกมาชี้แจงและว่ากล่าว ก็สร้างเรื่องขึ้นมาให้เป็น “ขบวนการล้มพุทธ”๑๕ เพื่อเบนประเด็นจากการกระทำของตนที่ผิดจากพระธรรมวินัย เช่น การสอนที่ผิด การปฏิบัติที่ผิด๑๖ การดูดทรัพย์จากชาวพุทธด้วยวิธีการต่าง ๆ๑๗ การนำเงินของชาวพุทธไปดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร๑๘
    • เมื่อ พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง หนึ่งในคณะสืบสวนสอบสวนของ พล.ต.ท. วาสนา เพิ่มลาภ ได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ถูกพระทตฺตชีโว รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ออกมากล่าวหาว่ารับเงินสินบนจากผู้ที่ต้องการทำลายพระพุทธศาสนา๑๙ เพื่อเบนประเด็นการดำเนินงานด้วยความเที่ยงธรรมของตำรวจกองปราบ
    • เมื่อพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ออกมาชี้แจงหลักการและความถูกต้องตามพระธรรมวินัย กลุ่มวัดพระธรรมกาย ก็กล่าวหาว่าเป็น “พระเทวทัตยุคไฮเทค” ๒๐ หรือขบวนการล้มพุทธ๒๑ และทำหนังสือ ใบปลิว ฯลฯ โจมตีพระธรรมปิฎก ตลอดจน นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ฯลฯ แทบทุกคนที่ออกมาพูดถึงปัญหาวัดพระธรรมกาย ท่านเหล่านั้นถูกจับรวมเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน พร้อมทั้งถูกกล่าวหาว่า เป็นขบวนการรับเงินจากศาสนาคริสต์ มาทำลายพระพุทธศาสนา๒๒ ทั้งนี้ เพื่อเบนประเด็นที่ตนเองบิดเบือนพระธรรมวินัย และทำความผิดต่าง ๆ
    • เมื่อองค์กรชาวพุทธและทางราชการ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้ช่วยกันหาทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมามากกว่า ๑๐ ปีแล้ว เช่น เมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมานี้ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับใหม่ และร่าง พ.ร.บ. อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ขึ้นมา ๒ ฉบับ เพื่อเป็นตุ๊กตาให้ชาวพุทธช่วยกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไข กลุ่มวัดพระธรรมกายฉวยโอกาสหยิบต้นร่างกฎหมายนี้ มากล่าวหาว่า เป็นการยึดอำนาจ “ให้ฆราวาสปกครองพระ”๒๓ เพื่อกลบประเด็นปัญหาของตน และเบนประเด็นออกจากความผิดที่ตนทำอยู่ อีกทั้งเพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังชาวพุทธ ด้วยการทำให้พระและฆราวาสแตกแยกกัน
    พฤติการณ์ของผู้บริหารวัดพระธรรมกาย เป็นปัญหาสำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ปัญหานี้ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาต่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และชุมชน รวมทั้งมีผลเสียหายต่อเนื่องไปอีกมากมาย นั่นหมายถึงมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติด้วย
    ปัญหาวัดพระธรรมกายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไป ไม่มีใครจะเป็นที่พึ่งพิงในการแก้ปัญหานี้ได้นอกจากชาวพุทธด้วยกันเอง ฉะนั้น จึงขอเรียกร้องให้ชาวพุทธมารวมตัวกันเพื่อร่วมกันทำงานแก้ไขปัญหาพระศาสนาที่เกิดขึ้น การมารวมกันนี้ไม่ใช่เพื่อปกป้องพระภิกษุ คฤหัสถ์ บุคคล หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นการรวมตัวสามัคคีกันเพื่อช่วยให้พระศาสนารอดพ้นจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้
    ขณะนี้ กลุ่มวัดพระธรรมกาย ได้สร้างเรื่องกล่าวหาโจมตีชาวพุทธทุกคน และทุกองค์กรที่ออกมาปกป้องพระธรรมวินัย และชี้ให้เห็นปัญหาวัดพระธรรมกาย โดยพุ่งเป้าไปที่พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) เพื่อสร้างความเป็นฝักฝ่าย สร้างความเข้าใจผิด ก่อความสับสน และเบี่ยงเบนประเด็นออกจากปัญหาที่แท้จริง ชาวพุทธทุกหน่วย ทุกคนที่รักพระศาสนา จึงต้องออกมาช่วยกันเปิดเผยความจริง และชี้ความถูกต้องให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    บัดนี้ พฤติกรรมที่มุ่งร้ายต่าง ๆ ของกลุ่มวัดพระธรรมกาย รวมทั้งเอกสารเท็จมากมาย ที่เผยแพร่ออกมาจากกลุ่ม วัดพระธรรมกาย ที่แต่งเรื่องใส่ร้ายผู้รักษาธรรมวินัย โดยไม่มีมูลความจริง แสดงว่าคนกลุ่มนี้ ไม่มีความเป็นชาวพุทธเหลืออยู่ เมื่อเขาปั้นเรื่องเท็จเพื่อทำลายบุคคลที่รักษาพระธรรมวินัยได้ เขาก็ย่อมบิดเบือนปั้นเรื่องเท็จต่อพระธรรมวินัยได้ การที่คนกลุ่มนี้หาทางทำลายบุคคลที่รักษาพระธรรมวินัย ก็เพื่อจะทำลายพระธรรมวินัยให้สะดวกนั่นเอง พฤติการณ์ของคนกลุ่มนี้ชี้ชัดว่า กลุ่มวัดพระธรรมกายพร้อมแล้วที่จะทำลายพระพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง และทุกวิถีทาง
    ถึงเวลาแล้วที่ชาวพุทธจะต้องรวมตัวกันปกป้องบุคคลและองค์กรทุกหน่วย ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาส ที่ออกมาทำงานเพื่อรักษาพระธรรมวินัย และแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวัดพระธรรมกาย มิให้กลุ่มวัดพระธรรมกายมาแบ่งแยกชาวพุทธออกไปทำลายทีละหน่วยทีละคน องค์กรชาวพุทธทั้งหลายซึ่งได้รวมตัวกันเข้าเป็น องค์กรเครือข่ายชาวพุทธเพื่ออุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา จึงได้จัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้น เพื่อรักษาพระพุทธศาสนา และประโยชน์สุขของพุทธบริษัททั้งมวล และเป็นการขอร้องให้กลุ่มวัดพระธรรมกายหันกลับมาแก้ไขปรับปรุงตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยต่อไป
    ( นายสมพร เทพสิทธา )

    ---------------------------------
    ๑ ประเวศ วะสี, ธรรมกาย-สวนโมกข์-สันติอโศก (กรุงเทพมหานคร:, มูลนิธิหมอชาวบ้าน, ๒๕๓๐)
    ๒ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช, คอลัมน์ซอยสวนพลู ประจำวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ หน้า ๙.
    ๓ หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ ๒๐๓ ประจำวันที่ ๑-๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
    ๔ หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ ๒๐๔ ประจำวันที่ ๘-๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ หัวข้อ “หลวงพ่อปัญญาย้ำ ลวงโลก”
    ๕ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันศุกร์ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ สกู๊ปข่าวหน้า ๑ “เปิดม่านนิกายขายบุญ MLM ทางตรงไปสวรรค์”
    ๖ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ ๓๓๐๑๗ ประจำวันที่ ๑๐-๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๑
    ๗ หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ ๒๐๔ ประจำวันที่ ๘-๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ หัวข้อ “หลวงพ่อปัญญาย้ำ ลวงโลก”
    ๘ หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ ๒๐๓ ประจำวันที่ ๑-๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ สัมภาษณ์พิเศษ พระพิศาลธรรมวาที (พระพยอม กลฺยาโณ)
    ๙ หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ วันอังคาร ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๑ บทความพิเศษ รศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก หัวข้อ “ธรรมกาย ปาฏิหาริย์ หรือ โกหัญวิธี”
    ๑๐ หนังสือ “เจาะลึกวัดพระธรรมกาย” พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๑ (มูลนิธิธรรมกาย, พิมพ์ที่ อิมพาวเวอร์, สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์)
    ๑๑ พระธรรมป”ฎก (ป. อ. ปยุตฺโต), กรณีธรรมกาย (กรุงเทพมหานคร, เอกสารเพื่อพระธรรมวินัย/มูลนิธิพุทธธรรม, พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)
    ๑๒ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ประจำวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๒ หัวข้อ “ขีดเส้นตาย ๓๐ วัน ธัมมชโยโอนที่ดินคืนวัด”
    ๑๓ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ประจำวันอังคาร ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๒ คอลัมน์ “ปุจฉา-วิสัชนา” โดย ไอ้ทิด
    ๑๔ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ประจำวันศุกร์ ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ หัวข้อ “อวิชชาครอบงำบุญถึง ชักใยบัญชีดำสองสมเด็จ อ้างองค์กรสงฆ์มีมติให้สังฆราชปลดเถระในมส.” หน้า ๑ และหน้า ๗
    ๑๕ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย วันอาทิตย์ ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๒ บทความหน้า ๘ ในหัวข้อ “อุดมธรรม-นิพพาน กับขบวนการล้มพุทธ” โดย ดร.เบญจ์ บาระกุล
    ๑๖ มติมหาเถรสมาคม กรณีวัดพระธรรมกาย วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบกับข้อเสนอของเจ้าคณะภาค ๑ โดยมีสาระสำคัญซึ่งพิจารณาเห็นดังนี้
    ๑. วัดพระธรรมกายมีความรู้ความเข้าใจในด้านคันถธุระ หรือพระปริยัติธรรมยังไม่สมบูรณ์ จึงดำเนินการให้วัดพระธรรมกายจัดตั้งสถานศึกษา ให้มีการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมกันอย่างจริงจัง
    ๒. วัดพระธรรมกายมีความรู้ความเข้าใจในด้านวิปัสสนาธุระ หรือพระปฏิบัติธรรมยังไม่สมบูรณ์ จึงดำเนินการให้วัดพระธรรมกายจัดตั้งสถานที่ปฏิบัติให้มีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องตามพระคัมภีร์อย่างจริงจัง
    ๓. วัดพระธรรมกายมีการเผยแพร่พุทธศาสนามากมายหลายด้าน เป็นที่จับตามองของสาธารณชนในวงกว้าง อาจจะมีการประพฤติผิดพลาดขึ้นได้ โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม จึงดำเนินการแนะนำให้พยายามสำรวมระวังและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด
    ๔. วัดพระธรรมกายจะต้องทำงานหนัก จะต้องฝ่าฟันอุปสรรคอีกมากมายหลายด้าน เพราะว่างานที่เริ่มต้นไว้ เพื่อประโยชน์พระพุทธศาสนา ล้วนแต่เป็นงานที่ใหญ่กว้างขวางทั้งนั้น จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกหลายฝ่าย อาจจะเกิดความประมาทพลาดผิดไปก็ได้ จึงดำเนินการโดยแนะนำให้วัดพระธรรมกายบริหารงานให้ถูกต้อง โดยปฏิบัติตามกฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช คำสั่งของผู้บังคับบัญชาเหนือตน โดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อความเรียบร้อยของวัดและพระพุทธศาสนา
    ๑๗ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๑ คอลัมน์จุดประกาย หัวข้อ “ไดเร็กเซลล์ สู่ทางนิพพาน” หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ ๓๓๐๑๗ ประจำวันที่ ๑๐-๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ หัวข้อ “สาธุ กลยุทธ์ธรรมกาย เจาะตลาด ดูดหมื่นล้าน”
    ๑๘ หนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ หัวข้อ “แฉ ๑๐ บ. ของสีกาอิ๊ด โยง ธรรมกาย” หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ประจำวันที่ ๑๓-๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๑ หัวข้อ “พระวงใน-สานุศิษย์ใกล้ชิดเจ้าอาวาสตบเท้าบริหารธุรกิจ แฉ ๑๒ บริษัท วัดธรรมกาย”
    ๑๙ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ประจำวันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๒ หัวข้อ “ทัตตะชีโวแฉตำรวจไถ อ้างชื่อผู้กำกับท.ขอ ๑๐ ล.” หน้า ๑ และหน้า ๑๕
    ๒๐ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ประจำวันอาทิตย์ ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ หัวข้อ “เทวทัตยุคไฮเทค” โดย เบญจ์ บาระกุล
    ๒๑ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ประจำวันเสาร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๒ หัวข้อ “อุดมธรรม-นิพพาน กับขบวนการล้มพุทธ” โดย ดร.เบญจ์ บาระกุล
    ๒๒ หนังสือ “เปิดโปงขบวนการล้มพุทธ” พิมพ์ครั้งที่ ๑ และ ครั้งที่ ๒ นำพิสูจน์ทราบ โดย ดร.เบญจ์ บาระกุล พิมพ์ที่ บริษัท สยามบิสซิเนส แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด ขออนุญาตโดย จักรพันธ์ ยุทธเวท ประธานชมรมชาวพุทธสามเหล่าทัพ หนังสือ “พระพุทธศาสนา ชะตาของชาติ” นำพิสูจน์ทราบ โดย ดร.เบญจ์ บาระกุล พิมพ์ที่ บริษัท อิมพาวเวอร์ จำกัด (พิมพ์ที่เดียวกันกับหนังสือ “เจาะลึกวัดพระธรรมกาย” โดย มูลนิธิธรรมกาย)
    ๒๓ หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ประจำวันพุธ ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ หัวข้อ “แฉ พ.ร.บ.สงฆ์ ทำลายพุทธ” หน้า ๑ และ หน้า ๑๕
     
  9. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ข้อมูลทั้งหมดนี้ นำมาจากหนังสือ

    กลวิธีทำลายพระพุทธศาสนา ของ กลุ่ม ดร.เบญจ์ บาระกุล
    ISBN 974-8346-63-3
    พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน ๒๕๔๒ จำนวน ๕๐,๐๐๐ ฉบับ
    ผู้พิมพ์เผยแพร่: องค์กรเครือข่ายชาวพุทธ เพื่ออุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ตึกมหิดล ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

    . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
     
  10. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒

    สมมติตนเป็นผู้ถามและแก้
    [๖๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา
    ว่าดังนี้:-
    ญัตติกรรมวาจา
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
    ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะท่านพระสัพพกามี
    ท่านพระสัพพกามีประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
    ญัตติกรรมวาจา
    ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
    ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันพระเรวตะถามพระวินัยแล้ว จะพึงแก้ ฯ
    ถามและแก้วัตถุ ๑๐ ประการ
    [๖๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า สิงคิโลณกัปปะ
    ควรหรือ ขอรับ
    พระสัพพกามีย้อนถามว่า สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
    ร. การเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่า จักปรุงในอาหารที่จืดฉัน ควร
    หรือไม่ ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะอาหารที่ทำการสั่งสม
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์
    ข้อที่ ๑ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๕๓] ร. ทวังคุลกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ทวังคุลกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
    ร. การฉันโภชนะในวิกาล เมื่อตะวันบ่ายล่วงแล้วสององคุลี ควรหรือไม่
    ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๒ นี้สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๒ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๕๔] ร. คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. คามันตรกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
    ร. ภิกษุฉันเสร็จห้ามภัตรแล้วคิดว่า จักเข้าละแวกบ้าน ในบัดนี้
    ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๓ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๓ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๕๕] ร. อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. อาวาสกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
    ร. อาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือไม่
    ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์อุโบสถสังยุต
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดวินัย
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๔ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๔ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๕๖] ร. อนุมติกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. อนุมติกัปปะนั้น คืออะไร
    ร. สงฆ์เป็นวรรคทำกรรม ด้วยตั้งใจว่า จักให้ภิกษุที่มาแล้วอนุมัติ
    ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองจัมเปยยกะ ปรากฏในเรื่องวินัย
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติทุกกฏ ในเพราะละเมิดวินัย
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๕ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๕ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๕๗] ร. อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. อาจิณณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
    ร. การประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌายะของเราเคยประพฤติมา
    นี้พระอาจารย์ของเราเคยประพฤติมา ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. อาจิณณกัปปะบางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ขอรับ
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๖ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๖ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๕๘] ร. อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. อมถิตกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
    ร. นมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุ
    ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะอันเป็นอนติริตตะ
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๗ นี้
    สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุสาสน์
    ข้อที่ ๗ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๕๙] ร. การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ชโลคินั้น คืออะไร ขอรับ
    ร. การดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองโกสัมพี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๘ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๘ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๖๐] ร. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องตัดเสีย
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๙ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๙ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๖๑] ร. ทองและเงิน ควรหรือไม่ ขอรับ
    ส. ไม่ควร ขอรับ
    ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน
    ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
    ร. ต้องอาบัติอะไร
    ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน
    ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑๐ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
    แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๑๐ นี้
    ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ
    [๖๖๒] ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุ ๑๐ ประการนี้
    สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุ ๑๐ ประการนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย
    หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ฯ
    [๖๖๓] พระสัพพกามีกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นั่นสงฆ์ชำระแล้ว
    สงบระงับเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะผม แม้ใน
    ท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ทั่วกัน
    ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะท่านพระสัพพกามี
    แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามแล้วๆ ได้วิสัชนา
    แล้ว
    ก็ในสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่หย่อน ไม่เกิน เพราะ
    ฉะนั้น การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๗๐๐ ดังนี้แล ฯ
    สัตตสติกขันธกะ ที่ ๑๒ จบ
    ในขันธกะนี้มี ๒๕ เรื่อง
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๘๑๑๓ - ๘๒๔๘. หน้าที่ ๓๓๖ - ๓๔๒.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2011
  11. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226

    Black Hole ( 12 คน กำลังดูอยู่ )
    กระทู้แนว hardcore ต้องใช้วิจารณญาณสูงในการอ่าน ไม่เหมาะสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 21 ปี กระทู้ที่ไม่เหมาะสมจากห้องต่างๆจะถูกย้ายมาห้องนี้ "เนื้อหาในห้องนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล" ทางเว็บไซต์พลังจิตไม่มีส่วนสนับสนุนแนวคิดเหล่านี้แต่ประการใ
     
  12. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    ไม่ใช่แค่นวัตกรรมใหม่เท่านั้นนะ....คนทำถ้าไม่เป็นมนุษย์ต่างดาวปลอมตัวมา ก้อคงเป็นมนุษย์ที่อยู่ในศรีธัญญาแหงๆ...คนซื้อถ้าไม่บ้าก้อบวม...แบบนี้ต้องส่งไปขายที่เมืองนอก เอ๊ย นอกเมืองโน่น...5555555
     
  13. ศรีชมพู

    ศรีชมพู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +69
    ตอนผมบวชผมก็ได้ใช้ครับ ใช้ง่ายดี เก็บก็ง่าย เก็บรวมกันโดยการซ้อนๆ กันก็ไม่กินที่ สรุปก็ง่ายๆ เรียบๆ ดีนี่ครับ
     
  14. ศรีชมพู

    ศรีชมพู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +69
    ผมอายุ 34 ปีครับ เข้าวัดพระธรรมกายตั้งแต่มัธยมแล้วครับ ก็เข้าตามคุณแม่ ไม่ได้มีอุดมการณ์ร่วมใดๆ แม้กระทั่งปีที่มีการโจมตีวัดเยอะๆ ก็ยังเผลอปรามาสไปกับเขาด้วย :':)'( จนปี 2003 ก็อยากจะพิสูจน์ความจริงด้วยตนเอง จึงตัดสินใจไปร่วมปฏิบัติธรรมกับทางวัดโดยลำพัง เป็นเวลา 7 วัน ที่เชียงใหม่ ผลก็คือ โดนสิครับ โดนล้างสมองอย่างที่เค้าว่าไปเต็มๆ รู้งี้มาให้ล้างตั้งนานแล้วนะครับเนี่ย หลังจากนั้นชีวิตผมก็พลิกในทันที ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ทำให้ผมที่กินเหล้าเมายา ใช้ชีวิตแหลกเหลวมาตั้งสัจจะ(ชอบคุณหนุมาน)ไม่ดื่มสุราตลอดชีวิต ตั้งแต่ไปร่วมปฏิบัติครั้งแรก

    เรื่องที่ 2
    ผมเคยได้ฟังคุณอนันต์พูดไว้ครับว่า เมื่อสมัยนั้นตำรวจก็มาถามตัวเขาเหมือนกันว่า คุณอนันต์ ทำไมคุณถึงทำบุญกับวัดนี้เยอะจัง คุณอนันต์ก็ตอบคุณตำรวจเขาไปว่า ผมเองได้เก็บใบเสร็จค่าปรับที่ลูกสาวไปก่อเรื่องทะเลาะวิวาทเอาไว้ แล้วก็เอารูปลูกสาวคนเดียวกันนี้ในชุดอุบาสิกาให้ดู แล้วแล้วบอกว่า เงิน 2,000 ล้าน ทำให้ลูกสาวเขาเป็นอย่างนี้ได้หรือไม่

    ในความคิดผมก็คือ วัดเปลี่ยนคนให้เป็นคนดีไม่ใช่แค่คนสองคนที่ผมยกมานะคับ แต่เยอะแยะมากมายแลยหล่ะครับ (แหะๆ ชมตัวเองว่าเป็นคนดีก็ได้ด้วย คือ อย่างน้อยทำให้ผมดีขึ้นแน่ครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2011
  15. howverts

    howverts สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +0
    คิดเหมือนกันเลยครับ ทุกวันนี้ผมก็เลิกกินเหล้าไปแล้วเด็ดขาดเลย ชีวิตสงบสุขมากเลย
     
  16. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,033
    Lotใหม่ เป็นในรูปที่คล้ายๆหมวก จานบินสีน้ำเงิน ใช่มั้ยครับ..

    ยินดีครับ เผื่ออาจจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้แบ่งปันซึ่งกันและกัน

    ...ก่อนหน้านี้กระทู้ความเห็นนี้มีเรื่องเกี่ยวกับการเลิกเหล้า ซึ่งนั้นก็เป็นข้อดีครับ
    เพราะไม่ว่าบุคคลขึ้นชื่อว่าจะประพฤติธรรม เค้าก็จะรักษาศีลและความดีงามของจิตใจเป็นปกติไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใด ก็จะอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข
    ...แต่โลกนี้ไม่ได้มีเพียง สองสี ขาวกับดำ , ไม่ได้มีเพียงคนดี-คนชั่ว ยังมีอีกหลายเฉดสี และมีคนอีกหลากหลายแบบ ตามความเห็นแล้วผลรวมทุกอย่างปัจจัยขึ้นกับเจตนา เวลา ค่านิยมจารีตประเพณี ทัศนคติ ชีวิตมนุษย์เราคือการเรียนรู้

    มีประเด็นเกี่ยวกับ การล้างสมอง กล่าวขึ้นมาด้วย ซึ่งน่าสนใจ
    ผมอาจมีข้อมูลเรื่องนี้เสริมให้รู้จักวิธีการดังกล่าวเข้ามาให้ศึกษาไปพร้อมๆกันได้บ้างนะครับ โดยลำดับ...

    ขอเล่าเกี่ยวกับวัดธรรมกายที่เคยสัมผัสมาโดยตรงบ้างนะครับ
    ...ช่วงสมัย 2547 บวชอยู่วัดแห่งนึงที่ต่างจังหวัด ที่วัดธรรมกาย ส่งเป็นจดหมายเทียบเชิญนิมนต์เจ้าอาวาสที่วัด เพื่อไปกับศิษย์คนใกล้ชิดอีกรูปนึงที่วัดเป็น 2 รูป เพื่อไปงานทอดกฐิน โดยไม่เคยรู้จักติดต่อกันกับวัดธรรมกายโดยส่วนตัว ในซองนั้นมีเงินที่แนบมาด้วยประมาณ 5,000 บาท ให้ที่วัดเป็นค่าเดินทาง และเบ็ดเตล็ด แต่ท่านไม่ไป อ้างมีกิจธุระอื่นในตัวตำบลนั้น และส่งเงินนั้นกลับคืนไปด้วย
    .....แต่หากลองคิดที่จุดเล็กๆนี้ดูว่า นี้เป็นการนิมนต์แบบเกือบทั่วประเทศ ที่ไม่รู้จักกันก็ใส่ซองให้เงินค่ากิจนิมนต์เท่านี้ แล้วที่อื่นๆอีก ก็คงมีวัดเยอะที่รับนิมนต์ไป ทั้งที่รู้จักกันมักคุ้นกัน และไม่รู้จักกัน หลายที่ไม่ไกลก็มางานได้เพราะเกรงใจไม่อยากขัดนิมนต์ซักเท่าไหร่ หลายที่ก็อยากมาดูเพื่อเปิดหูเปิดตา
    ...ซึ่งมองในรูปแบบลงทุนการตลาดคือ กว้านเงินในคลังสร้างภาพและสร้างงานใหญ่ๆ เมื่อไปนั่งชุนนุมอยู่ที่เดียวกัน ญาติโยมที่เข้ามาเห็นก็จะยิ่งศรัทธาว่ามีพระที่อื่นมามากและยอมรับ และภาพที่สร้างไว้ด้วยเงินตราก็จะดูยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง ตามที่ได้จัดฉากไว้ให้ดูยิ่งใหญ่ โดยที่ญาติโยมที่มาและที่เห็น ภาพที่ยิ่งใหญ่โตในงานนั้นและถอนทั้งทุนและกำไรจากการทำบุญบริจาคละรอกนั้นและระลอกต่อไปต่อไป
    ....ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าที่นั่นมีนักการจัดการที่เก่ง นักการตลาดที่เฉลียวฉลาดแยบยลอ่านใจจากพื้นผิวภายนอกของศรัทธาคนพุทธออก แล้วนำมาออกแบบงานที่ทำให้มีคนมากันและสร้างศรัทธาเยอะๆได้ เป็นการสร้างภาพรวมให้ยิ่งใหญ่ของงาน และตัวปัจเจกบุคคล ทั้งนี้ทางฆราวาสก็มาทางการชักชวนของผู้นำบุญของสายต่างๆ ที่ได้จัดตั้งกันอย่างมีระบบ
    .....

    และประสบการณ์ย้อนไปก่อนหน้านี้ ก็คือ
    .....สมัยเรียนมหา'ลัยช่วงปี 2540 ที่ได้มีโอกาสเข้าไปในวัดธรรมกายครั้งแรก ครั้งนั้นตั้งใจว่าไปเพื่อสังเกตการณ์ โดยที่ก่อนหน้านั้น ไม่รู้จักวัดธรรมกายเลยในแง่ใดๆ ช่วงที่ไปครั้งแรกจัดว่าเป็นผู้ที่เข้าอบรม รับรู้ข้อมูลผิวเผินจากรอบๆวงนอก
    .....โดยเพื่อนได้ชวนไปเข้ากรรมฐาน ช่วงวันหยุดศุกร์-อาทิตย์ และช่วงวันอบรมนั้นตรงกับวัดเกิดคุณยายจันทร์ ขนนกยูงด้วย มีกรดแบบแขวนไว้นอนส่วนตัว ที่เค้าแจกให้ยืม นอนในโรงนอนเปิดแบบกว้างมาก บรรยากาศข้างในสะอาด มีระเบียบเป็นสัดส่วน อยู่ในช่วงที่กำลังจะตอกเสาเข็มและสร้างพระธรรมกายประจำตัวที่เค้าบริจาคกันองค์ละ 15,000 บาท ถ้ามีเงินไม่ครบมีให้ผ่อนเป็นงวดได้..


    วิธีทำสมาธิที่ได้รับการสอนนั้นคือ มีลูกแก้วขาวใสที่ทำด้วยหินจุยเจี๋ยจากเมืองจีนเค้าแจกให้ยืมมา แล้วจำภาพไว้ น้อมมานึกวางลูกแก้วไว้ในกลางกาย ฐานที่เหนือสะดือ 2 นิ้ว นึกถึงความใสสว่าง
    ตอนหลังมาทราบว่าเป็นวิธีอาโลกสิน สมถะวิธีนึงใน ๔๐ วิธี
    ....แนววิธีคือ เมื่อสงบถึงจุดนึงจะเกิดดวงสว่างขึ้นมากลางกาย เรียกว่า ดวงปฐมมรรค ตามที่เค้าสอนให้ ทำต่อๆไปในกลางในกลางดวงนั้น ไปเรื่อยๆ ที่กายซ้อนกาย.. ให้ที่สุดคือธรรมกาย นิพพานที่มีสถานที่กว้างยาวเท่านั้นเท่านี้
    แล้วมารู้อีกทีนึงว่า ต้องมานั่งปราบมาร ต่ออีก ...แต่นี่ไม่ใช่หลักสูตรบังคับ

    ซึ่งวิธีนี้ ความสงบแบบสมถะ และกำหนดลงไปจุดกลางกายจุดนั้น
    จักระจุดนั้นเมื่อไปสงบตรงนั้น จะเกิดสุข เป็นลักษณะที่ฤาษีในโบราณชอบใช้กัน
    ....ตอนอยู่ที่อบรบนั่น ได้รู้จักคุณลุงสูงอายุเกือบ70ปีท่านนึงที่นอนพักกรดใกล้ๆกัน เค้าเอาลูกแก้วหินจุยเจี๋ยให้ดู ซึ่งโตมากกว่าธรรมดาที่เคยเห็นตอนฝึกสมาธิ ทราบว่าท่านได้แต่ใดมาคือทำบุญมามาก เลยได้ ..ลุงแกทำจนไม่มีบ้านเงินเก็บธนาคารแล้วแต่แกดูมีความสุข ตาลอยๆฉ่ำๆ และลุงแกกำลังจะให้ลูกที่ทำงานเก็บได้มาทำบุญด้วย.. และเล่าเกี่ยวกับการเห็นด้วยตาทิพย์ต่างๆแลกเปลี่ยนให้ผมฟังด้วย

    ....หลังจากนั้นอีกวัน พอว่างจากช่วงอบรมได้มีโอกาสไปกับศิษย์ผู้ใหญ่ในนั้น นั่งรถสนตัวพาชมจุดต่างๆ ซึ่งกว้างมาก ไปแถวๆรูปจานบินด้วยแต่ยังไม่เสร็จดี แล้วมาจบที่ตึกที่มีห้องฉายภาพ วีดิทัศน์ ได้ไปนั่งชมกับเพื่อนสองคน โดยพี่ที่ดูแลตึกนั้นเปิดให้ดูประวัติ และข้อมูลต่างๆ

    ....แล้วแวะไปนั่งเล่น นั่งสมาธิแถวโบสถ์ที่มีหน้าจั่วสวยๆ ใกล้ๆประตูหลังที่ใกล้กับเทคโนปทุมฯ แล้วก็วันอาทิตย์กลับไปบ้านพัก มหา'ลัย ซึ่งนั้นเป็นครั้งแรก ที่ได้ไปที่วัดธรรมกาย สิ่งที่รู้สึกคือ ความมีระเบียบ สะอาด ผู้คนใจดี

    หากมาคุยในกระทู้นี้ในช่วงเวลานั้น
    ผมก็คงช่วยในการแก้ต่างให้กับวัดธรรมกายบ้างด้วยแน่นอนครับ


    แต่... วิธีฝึกนั้นค่อนข้างใช้สมถะ ทำให้เกิดแสงสว่างและภาพนิมิตให้ติดหลงได้ง่าย สำหรับนักภาวนามือใหม่
    ก่อนหน้านั้นปกติจะฝึกแบบอานาปานสติ ซึ่งจะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้ดีกว่า

    และเกี่ยวกับการทำบุญ มีการหว่านล้อมชักจูงโดยอ้างความวิเศษของตัวปัจเจกบุคคล เจ้าอาวาส.. เพื่อให้เคลิบเคล้มหลงเชื่อโดยเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้และส่วนใหญ่ก็มีจินตนาการเหมือนกันเข้าข่ายงมงาย
    ...โดยปกติส่วนตัวแล้วมีโอกาสก็มีนิสัยชอบทำบุญ แต่เป็นไปในลักษณะทำแล้วเราสบายใจเงียบๆ พอใจเพียงแค่นั้นและไม่หวังวุ่ยวายอะไรกับมันต่อ
    ....แต่ที่นี้ จะมีการให้คะแนนผู้นำบุญ เมื่อได้คะแนนเท่านี้ๆ จะได้สิ่งตอบแทนที่แสดงวิทยฐานะต่อกันภายใน เช่น สไบแก้ว ผู้นำบุญหรือสิ่งต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ใส่เพื่อจัดลำดับคะแนนบุญกัน ให้ติดรูปลักษณ์กันแต่ภายนอกจนเกินไป ทำให้ถ้าไม่มีเงิน คงไม่มีบุญสะสมกัน บางคนไม่มีก็กู้ยืมมีหนี้มีสิน ก็มีบ้างเหมือนกัน
    ...ทั้งนี้ลักษณะการจัดการถอดแบบมาคล้ายๆ กริฟฟารีน , แอมเวย์ ที่มีแต้มคะแนนสะสมของผู้นำบุญ คล้ายเป็นมงกุฏเพชร มงกุฏต่างๆ อาจมากกว่า 18 ทราบมาว่าระดับผู้บริหารระดับสูงของการขายแบบเครือข่าย MLM เข้ามาจัดการออกแบบการจัดการเรื่องผู้นำบุญและการบอกบุญ ในระนาบต่างๆ

    ....ความที่อยากได้บุญเกินระดับปกติ ความอยากชนิดดังกล่าวก็เป็นกิเลสในบุญ กิเลสที่มีสีชมพู ติดแล้วเลิกยาก เพราะติดดี ละเลิกยากกว่าติดชั่ว

    ....อันที่จริงแล้ว การบริจาคทำบุญ เมื่อเรามีความสุขนั้นก็คือบุญ ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเช่นผู้ประสบภัยที่เขาต้องการในความช่วยเหลือจริงๆ นั้นเป็นบุญใหญ่จริงๆ เพราะผู้ให้มีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะช่วยเหลือ ผู้รับก็ได้นำไปใช้ประโยชน์ตามเจตนาผู้ให้จริงๆ
    ......

    หลังจากวันนั้นในปีนั้นก็ได้ไปร่วมงานอีกในวันวิสาขะบูชา
    ไปนอนพักบ้านเพื่อนมหา'ลัยเดียวกันที่อยู่แถวรังสิต คลองสอง
    ...แล้วตอนนั้นเพิ่งมาทราบว่า ชาวบ้านบริเวณนั้นไม่ชอบ และเพื่อนที่ไปพักด้วยก็ทักว่า ไปบริจาคทำไมที่นั่นเค้ารวยแล้ว วัดอื่นมีเยอะแยะที่จนๆอยู่ไปที่อื่นบ้างสิ แต่ตอนนั้นก็มีชุดคำอธิบายในใจบางอย่างจากที่วัดธรรมกาย เลยคำท้วงติงเพื่อนสนิทไม่เป็นผลในขณะนั้น
    ....ตอนที่นั่งสมาธิวันวิสาขบูชา เจ้าอาวาสเทศน์พูดไปด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับการทำบุญ นำสมาธิ และสิ่งต่างๆในแนวทางของวัดธรรมกาย เป็นการสร้างชุดข้อมูลในจิตใต้สำนึกในสิ่งที่เค้าอยากให้เป็น ...

    และอีกประเด็นนึง ที่อาจเกี่ยวข้องโดยตรงในบางเรื่องที่สำคัญหรืออาจไม่เกี่ยวข้องกับวัดธรรมกายเลยก็ได้ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารญาณของผู้อ่านพิจารณารับรู้ตามพื้นความรู้ที่มีอยู่เดิม เพราะว่ามันเป็นมุมมองส่วนตัวจากศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยามวลชนมาบ้าง ก็คือว่า
    .....สมองมนุษย์จะซึมซับข้อมูลลงจิตใต้สำนึก โดยยอมรับโดยดุษฎี ไม่โต้แย้งต่อข้อมูลนั้นใส่มาเท่าไหร่ก็รับจะคิดทำตามนั้น เมื่อมีเหตุการณ์คือ ความถี่สมองอยู่ในความสงบระดับคลื่นใกล้อุปจารสมาธิ จนถึงอุปจารสมาธิ แล้วหากได้รับเสียงพูดบอกชุดข้อมูลซ้ำๆ ก็จะซึมรับข้อมูลนั้นทันที ไม่มีการทานสอบกลับของความเป็นเหตุเป็นผล และจะนำแนวคิดที่ได้รับนั้นไปทำโดยไม่ลังเลสงสัย เป็นการฝังความคิด จูงความคิด เป็นการ ล้างสมอง
    .....ตามการยึดติดมวลชลในหมู่นั้น ในมีการเหนี่ยวนำกันเองในคณะ ตามพื้นฐานของใครที่ติดดี เค้าก็เอาความดีเข้าล่อ,ให้มีทัศนคติรักชอบในสิ่งใดก็ใส่ข้อมูลตอนนั้น, ให้มีทัศนคติไม่ชอบอะไรก็ใส่ข้อมูลตอนนั้น, ใครที่ติดบุญ ก็เอาบุญเข้าล่อ,ใครที่ติดทรัพย์สิน ก็บอกให้ละเอาบุญแทน แล้วเขาจะกลายเป็นคนอย่างนั้นอย่างว่านอนสอนง่าย
    .....ซึ่งเดิมมีความรู้หลักการนี้มานานแล้ว และใช้กันในช่วงสงความเย็น คอมมิวนิสส์ก็ใช้ ซีไอเอ เคจีบี ก็ใช้กันเพราะเป็นวิชาเรียนหนังสือปกแดงอันนึงที่สำคัญ
    .....หลักการวิธีล้างสมอง เปลี่ยนความคิด และใช้กันมาอย่างได้ผลกับคนที่ต้องการสามารถแยกกลุ่มเป็นสภาวะ ของการให้ข้อมูลซ้ำๆ โดยพูดให้ได้ยินเสียงซ้ำๆ การรับรู้ข้อมูลเดิมทางสัมผัสทั้ง๖ ซ้ำๆ หรือข้อมูลใหม่ที่ต้องการให้เป็น ตอกย้ำไปเป็นระยะ ณ บุคคลที่อยู่สภาวะที่ได้ผล คือ
    ๑.คนที่ช่วงคลื่นความถี่สมองในระดับอุปจารสมาธิ
    ๒.คนอยู่ในช่วงขณะที่มีความเสียใจผิดหวังอย่างรุนแรงมากในชีวิต
    ๓.คนอยู่ในช่วงขณะที่มีความดีใจสมหวังอย่างรุนแรงมากในชีวิต
    ๔.คนที่ผ่านการถูกทรมานทางร่างกายอย่างหนัก
    ในสี่กลุ่มนี้ อยู่ในช่วงที่สามารถล้างสมองได้ง่ายที่สุด ตามหลักวิชาเทคนิคปฏิบัติการหลักสูตรของซีไอเอ และเคจีบี

    ซึ่งในโลกเสรี ทุนนิยมก็มีเช่นเดียวกัน ที่สามารถทำให้คนคิดคล้อยตามกันได้ด้วยวิธีส่งผ่านชุดข้อมูลสื่อหลักสื่อรอง ที่คนทั่วไปให้การยอมรับโดยพื้นฐาน
    บางหัวข้อสามารถเสริชหาอ่านเสริมความรู้ได้ในหัวข้อชื่อ วิศวกรรมการยอมรับ (except engineering) หรือข้อมูลอีกหลายๆที่
    ..................

    แต่โดยแท้จริงแล้ว ทุกคนมีอิสระจิตพุทธะมาแต่เดิม
    ....เราไม่เคยตกเป็นทาสสิ่งใดเลย ไม่ว่าจะเป็น ทาสของบุญ ทาสของบาป, ทาสของความดี ทาสของความชั่ว, ทาสของช่วงยุคนั้นๆของค่านิยมนึงๆที่ถูกบ่มเพาะ ทาสของสมมุติต่างๆในสังคมโลก
    ....ไม่มีใครจับมัดจองจำไว้ทำให้เราเป็นทาสสิ่งต่างๆได้
    .. แต่หากมี ก็มีแต่เราเท่านั้นที่จองจำจิตใจตัวเองได้
    และเราสามารถเลือกเองได้ว่า จะปลดปล่อยเป็นอิสระ หรือจะจองจำจิตใจของเรา
    ...................

    เกี่ยวกับวัดธรรมกายที่เคยสัมผัสมากับตัวเองจริงก็มีเพียงเท่านี้ครับ
    ...มีทั้งแง่ดี และแง่ปริศนาชวนสงสัย ที่ต้องพบเจอเองเมื่อเดินเข้าไปคลุกวงในสืบสาวเข้าไปไปลึกๆ เรื่องผลประโยชน์ของระดับหัวแถวและทุกระดับของคนที่นั่น
    ...หากเป็นผู้ศรัทธาขาประจำแต่อยู่วงนอก ส่วนใหญ่จะมองเห็นเพียงสิ่งที่เค้าต้องการอยากให้เห็น

    ...บางคนอยู่วงในที่เก่าๆ ก็สลัดตัวออกมา บางคนอยู่นานคลุกคลีวงในเพราะพบสิ่งที่เค้าต้องการ อาจเป็นข้อธรรม อาจเป็นผลประโยชน์บางอย่างที่ได้จับต้องด้วย หรืออาจแสวงหาสะสมบุญ หรือบางคนเค้าอาจหลงและรักคลั่งไคล้บางสิ่งที่นั่นและเค้ามีความบริสุทธิ์ใจจริงๆ

    ทั้งหมดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเค้าต้องการอะไรจากพุทธศาสนาที่แท้จริง
    เมื้อเที่ยงวัน..ใครหิวอยากทานอะไร คำตอบนี้คงไม่มีใครตอบแทนกันได้

    ...โดยรวมแล้ว ไม่มีใครกลุ่มใดสามารถออกแบบวิถีทางของพุทธศาสนาให้เป็นไปได้ดังใจสำหรับสังคมไทย หรือในสังคมโลกได้ รู้แต่ว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ คือ คนทุกคนสามารถออกแบบประพฤติสร้างศาสนธรรมภายในจิตใจตนเองได้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมเป็นหนึ่งในใจทุกคนด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

    ทุกท่านล้วนเป็นเหล่าพุทธบุตร หากมีการตั้งข้อสังเกตไว้บ้างในระหว่างการเดินทาง ก็ไม่ผิดอะไร
    เพราะหากเมื่อไปผิดทางแล้ว ก็จะหลงไปไม่ไม่ไกลนัก
    แต่หากว่าไปถูกทางอยู่แล้ว เค้าก็จะได้มีโอกาสลับคมแห่งปัญญาอยู่เนืองๆ.. นะจ๊ะ
     
  17. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    แจ่มเลยครับ...ข้อมูลดีครับ อย่างน้อยก้อเป็นอีกความเห็นที่มองด้วยความเป็นกลาง แต่ก้อชี้อะไรๆให้เห็นได้ชัดเจนดี ส่วนเรื่องเหล้าเนี่ยของบางคนที่บอกเข้าวัดธรรมกายแล้วเลิกเหล้าได้ ผมว่าอยู่ที่ใจของแต่ละบุคคลมากกว่า..อย่างตัวผมไม่เคยคิดที่จะดื่มเหล้าเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ในวงเพื่อนก้อดื่ม แต่เราก้อพิจารณาเองได้ว่า สมควรหรือไม่ และอย่างลูกน้องบางคนติดเหล้าอย่างหนัก เมียทิ้ง สุดท้ายต้องพาไปเลิกเหล้าแถว จ.กำแพงเพชร กินยา 3 วันเลิกเด็ดขาดเลย แต่จำไม่ได้ว่าวัดไหน เพราะลูกน้องพาไปเองน่ะ.. ถ้ารู้ว่าวัดธรรมกายช่วยได้ จะได้ไม่ต้องขับรถไปให้ไกลเล๊ย...ผับผ่าสิเอ๊าาาา... อย่างนี้น่าจะเสนอให้ช่วยคนที่อยากจะเลิกเหล้าเข้าวัดนะ..55555555
     
  18. ศรีชมพู

    ศรีชมพู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +69
    ฮืมมม ผมอนุโมทนากับสิ่งที่คุณกัปปะทำไว้ดีแล้วครับ สุดยอดครับ ชี้ให้เห็นว่าคุณกัปปะนี่สั่งสมและประพฤติมาดีกว่าผมเยอะเลยนะครับเนี่ย ผมงี้โหยยยพูดแล้วหม๋องใจตัวเอง

    ขอบคุณคุณ nataraja ที่ให้ข้อมูลเรื่องการล้างสมองนะครับ ความรู้ใหม่สำหรับผมจิงๆ ผมเอาไปต่อยอดได้เหมือนกันนะครับเนี่ย ...คือผมว่าถ้าล้างสมองแล้วทำให้เป็นคนดี ผมก็ยินดีให้ล้างเรื่อยๆ นะครับ หรือมันจะทำให้ผมสูญเสียอะไรไปหรือเปล่า??? คือผมก็ยังเห็นแต่ข้อดีอยู่ดีน่ะครับ
     
  19. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    ขอเล่าอะไรให้ฟังจากคนใกล้ตัวของผมเอง พี่สาวผม เพิ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อหลายปีก่อน มีเพื่อนมาชวนไปวัดธรรมกาย ตัวพี่สาวไม่อยากไป แต่โดนตื้อเรื่อยๆ เลยยอมไป เพื่อนบอกว่า ไปถวายเพลพระ ไม่ต้องซื้ออะไรไปมาก แต่เผอิญวันนั้น พี่สาวลืมเตรียมของถวายพระ แถวบ้านก้อไม่ค่อยมีอะไรขายเท่าไร แต่ก้อซื้อน้ำพริกไป กะจะถวายเพล พอถึง เพื่อนพี่สาวกุลีกุจอจัดแจงเตรียมถาดอาหาร แต่พอเห็นว่าของพี่สาวเราเป็นแค่น้ำพริก กลับแอบเอาไปทิ้งโดยที่พี่สาวเราไปเห็นพอดี แต่พูดไม่ออก.. แต่ก้อยังรอถวายเพลอยู่ แต่ทางวัดจัดเตรียมภัตตาหารไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เห็นพี่สาวเล่าว่า อาหารมากมายเหมือนกินโต๊ะจีนเลย .. แต่พี่สาวเราหลังจากกลับบ้านไป เพื่อนคนนี้มาชวนให้ไปนั่งสมาธิที่ต่างจังหวัดโดยทางวัดธรรมกายเป็นผู้จัดการ บอกพี่สาวว่า ไม่เสียเงิน อาหารพร้อม ให้ไปทั้งครอบครัว พี่สาวเราก้อไปทั้งครอบครัว แต่เล่าให้ฟังว่า ตลอดเวลาที่อยู่ จะมีพระมาชักชวนให้ทำบุญบ่อยมาก ไม่รู้ใครเคยเจอประสบการณ์แบบนี้บ้างหรือเปล่า มาเล่าให้ฟังหน่อยสิ...
     
  20. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ก็ประกาศเตือนนะครับ คลื่นลมสงบ สักพักสึนามิจะเข้า ปล่อยสงบสักพัก ข้อมูลได้มาเยอะมาก ปล่อยให้สงบ สักพัก เดี่ยวจัดหนักครับผม สาระ ล้วนๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...