ขอเชิญท่านแวะเข้ามากระทู้นี้ตั้งคำถามเองตอบเองครับ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 19 ธันวาคม 2010.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    มาอ่านต่อแล้วค่ะคุณลุงหมาน ดูแลสุขภาพนะคะ พักสายตาบ้างนะคะ
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    คุณลุงหมานตอบปัญหาธรรมได้ประทับใจที่สุดเลยค่ะ กราบอนุโมทนา
     
  3. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    [​IMG]

    เอารูปเทศกาลตรุษจีนมาให้คุณลุงหมาน รีแล๊กซ์ค่ะ
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ต้องขอขอบคุณนะครับ

    ดีใจมากครับที่ได้มีผู้ติดตามอ่าน ขอบคุณนะครับที่ทำให้มีกำลังใจเขียนต่อไป
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โปรดติดตามตอนต่อไปจากตอนที่แล้วมา<O:p</O:p
    ครั้นเวลาราตรีกาลอันนั้น พระผู้เป็นเจ้าก็ทำประทีปบูชามากกว่าทุกวัน แล้วก็ทรงทำปณิธานปรารถนาเหมือนนัยหนหลัง ถวายอภิวาทพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค พระพุทธเจ้าข้า ณ ราตรีนี้ข้าพระองค์ได้แต่งประทีปสักการบูชา มากขึ้นกว่าทุกราตรีประมาณเท่านี้ ด้วยน้ำมันอันภคินีนาถของพระองค์ถวายมา ส่วนพระนางเจ้าขอได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าสิทธัตถะ ตามชื่อแห่งน้ำมันพันธุ์ผักกาดนั้น ดังข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถามความปรารถนาของพระนางเจ้านั้นจักสำเร็จหรือไม่<O:p</O:p
    สมเด็จพระปุราณทีปังกรศาสดา ได้ทรงสดับคำนั้น จึงดำรัสตอบว่า บัดนี้พระกนิษฐาภคินีนาถของตถาคตยังตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นสตรี ไม่ควรเพื่อจะได้ลัทธยาเทสก่อน พระปัจฉิมทีปังกรโพธิสัตว์ภิกษุ จึงกราบทูลถามว่าพระพุทธเจ้าข้า บุคคลที่ตั้งอยู่ในเพศสตรีนี้ ไฉนจึงไม่ได้ลัทธยาเทสในสำนักของพระพุทธเจ้าเล่า<O:p</O:p
    ดูกรภิกษุ ขึ้นชื่อว่าธรรมที่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น บุคคลย่อมทำได้ยากยิ่งนัก พระบรมโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น รำพึงอยู่ในพระหฤทัยถึง ๗ อสงไขยแล้วจึงจะออกทางวาจาอีก ๙ อสงไขย ตั้งแต่นั้นจึงจะนับได้ว่าเป็นนิยตโพธิสัตว์ มีความพยายามตั้งมั่น ยิ่งด้วยสโมธานธรรมไพบูลย์ แล้วจึงจะได้ลัทธยาเทสทำนาย ณ สำนักพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    สโมธรรม 8 คือ<O:p</O:p
    ๑. บริบูรณ์ด้วยชาติ คือ เกิดเป็นมนุษย์<O:p</O:p
    ๒. บริบูรณ์ด้วยเพศ คือได้เกิดเป็นผู้ชาย<O:p</O:p
    ๓. บริบูรณ์ด้วยเหตุ คือ การปฏิสนธิด้วยไตรเหตุ<O:p</O:p
    ๔. บริบูรณ์ด้วย ทัสสนะ คือ การได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์<O:p</O:p
    ๕. บริบูรณ์ด้วยคือ การบรรพชา คือการได้บรรพชาเป็นพระภิกษุ<O:p</O:p
    ๖. บริบูรณ์ด้วย คุณ คือการได้บรรลุโลกียะธรรม 5 และฌานสมาบัติ 8
    <O:p</O:p๗. บริบูรณ์ด้วยอธิการ คือ การบริจาคชีวิตเป็นทานเพื่อสัมมาสัมโพธิญาน<O:p</O:p
    ๘. บริบูรณ์ด้วยฉันทะ คือ มีความปรารถนาเพื่อการตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ<O:p</O:p
    บุคคลต้องมีกมลสันดานเลิศด้วยสโมธรรม 8 ประการ ดังเรากล่าวแล้ว พระภคินีของเรา ตถาคตยังดำรงอัตภาพเป็นสตรีอย่างนี้ จึงไม่ได้พุทธพยากรณ์ พระปัจฉิมทีปังกรโพธิสัตว์ภิกษุ ได้สดับพุทธภาษิตดังนั้น จึงถวายนมัสการกราบทูลถามต่อไปอีกว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระภคินีของพระองค์จักไม่ได้สำเร็จพระพุทธภูมิเลยหรือ<O:p</O:p
    โปรดติดตามตอนต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ค่อยๆอ่านไปเรื่อยก็แล้วกัน<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  6. สุปราณะ

    สุปราณะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    206
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +122

    รู้ให้ทัน "ความสงสัย" ค่ะ ... รู้ไปอย่างนั้น ไม่ต้องไปสนใจว่าเป็นญานไหน รู้แล้ววาง ... ลองดาวน์โหลดมาฟังดูค่ะ น่าจะมีคำตอบให้ ... ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว

     
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    คุณลุงหมานครับ คือผมเพิ่งศึกษาศาสนาพุทธได้ปีกว่า ก่อนหน้านี้นับถือพระเจ้ามาก่อน
    พอศึกษาธรรมปริยัติบางทีสงสัยก็ไม่รู้จะถามใคร ลองโพสถามหลายเว็บเขาก็บอกตอบ
    แต่ปัญหาการปฏิบัติแบบนี้ครับ เลยอยากลองถามลุงหมานดู อย่างเวทนาในปฏิจจสมุปบาท
    กับเวทนาในขันธ์ 5 มันต่างกันหรือเหมือนกัน และเวทนาที่ไม่อิงอามิส นี่จัดเป็นเวทนา
    ในวงจรปฏิจจสมุปบาทหรือเปล่าครับ และผมสงสัยอีกอย่างตรงขั้นที่ 4 ของวงจรคือเกิด
    นามรูป นามรูปตรงขั้นที่ 4 นี้ใช่ขันธ์ 5 หรือเปล่าครับ ที่มีรูปธรรม นามธรรม และที่ว่าขั้น
    ที่สามวิญญาณเกิดจากสังขาร แต่ผมเคยอ่านมาว่าวิญญาณต้องเกิดจากการกระทบถึงเกิด
    ได้ แล้ววิญญาณมันเกิขั้นไหนกันแน่ครับ
     
  8. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ข้อ ความ ในขุท ทก นิกาย มหา นิท เทส สา รี ปุตต สุต ตนิท เทส
    ที่ ๑๖ ข้อ ๙๗๕ มี ว่า​
    ภิกษุ ถูก ตัก เตือน ด้วย วาจา พึง เป็น ผู้ มี สติ ชอบใจ พึง ทำลาย
    ความ เป็น ผู้ กระด้าง ในส พรหมจารี ทั้ง หลาย พึง เปล่ง วาจา อัน เป็น
    กุศล ไม่ พึง เปล่ง วาจา เกิน ขอบเขต ไม่ พึง คิด เพื่อ ธรรม คือ การ ว่า
    กล่าว ซึ่ง ชน
    ชีวิต ประจำ วัน ไม่มี ใคร อยาก จะ ติ คน อื่น เลย เพราะ รู้ ว่า ติ แล้ว เขา
    ก็ โกรธ หรือ ไม่ พอใจ ฉะนั้น ผู้ ที่ ถูก ติ ควร จะ เห็น คุณ ของ ผู้ ที่ ติ ว่า
    ถ้า ผู้ ติ ไม่ เห็น แก่ ประโยชน์ ของ ผู้ ถูก ติ แล้ว จะ เตือน หรือ จะ ติ ไหม
    เพราะ ว่าการ ติ หรือ การ เตือน นั้น ไม่ใช่ ง่าย อย่าง การ ชม หรือ การ​

    สรรเสริญ แต่ ว่า จะ ต้อง เป็น ผู้ ที่ รู้จัก บุคคล นั้น พอที่ จะ รู้ ว่า จะ
    สงเคราะห์ ด้วย การ ติ หรือ การ เตือน ได้ หรือ ไม่ ถ้า สงเคราะห์ ไม่ ได้
    ก็ จะ ไม่ ติ หรือ เตือน เลย เพราะ ว่า ไม่มี ประโยชน์ แต่ สำหรับ ผู้ ที่ ถูก ติ
    นั้น ควร พิจารณา ว่า เมื่อ มี ใคร ติ หรือ เตือน รู้สึก อย่างไร
    ข้อความ ต่อ ไป ใน ข้อ ๙๗๖ มี ว่า คำ ว่า ถูก ตัก เตือน ใน คำ ว่า
    ภิกษุ ถูก ตัก เตือน ด้วย วาจา พึง เป็น ผู้ มี สติ ชอบใจ (เป็น อย่าง นี้
    หรือ เปล่า)
    ความ ว่า พระ อุปัชฌายะ พระ อาจารย์ พระ เถระ ปูน อุปัชฌายะ
    พระ เถระ ปูน อาจารย์ มิตร ผู้ ที่ เคย เห็น กัน ผู้ ที่ เคย คบ กัน มา หรือ
    สหาย ตัก เตือน ว่า “ท่าน ผู้ มีอายุ กรรม นี้ ไม่ ควร แก่ ท่าน กรรม นี้ ยัง
    ไม่ ถึงแก่ ท่าน กรรม นี้ ไม่ เหมาะ แก่ ท่าน กรรม นี้ ไม่ งดงาม แก่ ท่าน”
    ภิกษุ ผู้ ถูก ตัก เตือน นั้น พึง เข้าไป ตั้ง สติ ยินดี ชอบใจ เบิก บาน ใจ
    อนุโมทนา อยาก ได้ ประสงค์ ปรารถนา รัก ใคร่ ติดใจ ซึ่ง ความ
    ตัก เตือน นั้น
    สมจริง ดัง ที่ พระ ผู้ มี พระ ภาค ตรัส ว่า
    บุคคล พึง เห็น ผู้ ใด แสดง โทษ กล่าว ข่มขี่ มี ปัญญา ว่า เป็น เหมือน
    บุคคล ผู้ ชี้ ขุมทรัพย์ ให้ พึง คบหา บุคคล เช่น นั้น ผู้ เป็น บัณฑิต เมื่อ
    คบ บัณฑิต เช่น นั้น มี แต่ คุณ อัน ประเสริฐ ไม่มี โทษ ลามก เลย พึง
    กล่าว สอน พึง พร่ำ สอน และ พึง ห้าม จาก ธรรม ขอ งอ สัตบุรุษ บุคคล
    นั้น เป็น ที่รัก ของ พวก สัตบุรุษ เท่านั้น เป็น ที่ ชัง ของ พวก อ สัตบุรุษ​

    ดังนี้ เพราะ ฉะนั้น จึง ชื่อ ว่า ภิกษุ ถูก ตัก เตือน ด้วย วาจา พึง เป็น ผู้
    มี สติ ชอบใจ
    (ถ้า ใคร เป็น อย่าง นี้ น่า ตัก เตือน ไหม เป็น เรื่อง ที่ จะ ต้อง รู้ จริงๆ ว่า​
    ประโยชน์ อยู่ ที่ไหน)

    จากหนังสือ แด่ผู้มีทุกข์
    โดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โปรดติดตามตอนต่อไป
    พระนางสุมิตตาราชเทวีได้ลัทธยาเทส แต่สำนักพระพุทธเจ้า<O:p</O:p

    ลำดับนั้น พระปุราณทีปังกรสัมมาสัมพุทธจ้าก็ทรงพิจารณาดูอดีตกาล ทรงทราบว่า พระกนิษฐเทวี เจ้า ได้กระทำพุทธภูมิกณิปธานไว้ตั้งแต่ครั้งเมื่อแบกมารดาว่ายข้ามมหาสมุทรเป็นเดิมล่วงมา ๓ ชาติแล้ว ก็ทรงทราบว่าพระน้องนางเจ้า อาจนำธรรมที่ได้เป็นพระพุทธเจ้าได้ในอนาคตกาล ครั้นทรงทราบดังนี้แล้ว จึงตรัสกับพระปัจฉิมทีปังกรโพธิสัตว์ภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ กาลล่วงไปในอนาคต นับแต่กัปนี้ไปในที่สุด ๑๖ อสงไขยแสนกัป ท่านก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าทีปังกร เสมอด้วยนามแห่งเราตถาคตนี้ในกาลนั้นแล ท่านจักได้กล่าวพยากรณ์ซึ่งภคินีนาถน้องสาวเรา พระน้องนางจักได้ลัทธยาเทสแต่สำนักแห่งท่าน<O:p</O:p
    เมื่อสมเด็จพระปุราณทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสฉะนี้แล้วก็มีกมลโสมนัสยิ่งนัก จึงมีพระเสาวนีย์ ข้าแต่พระคุณเจ้า แต่วันนี้เป็นต้นไป จงอย่าเที่ยวไปแสวงหาที่อื่นเลย พระคุณเจ้าจงมารับน้ำมันในสำนักแห่งข้าพเจ้าเป็นนิจทุกวันเถิด จำเดิมแต่นั้นมา พระปัจฉิมทีปังกรโพธิสัตว์ภิกษุ ก็มารับน้ำมันพันธุ์ผักาด แต่สำนักพระนางสุมิตตาราชเทวีมาทำประทีปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยะสงฆ์สาวกทั้งปวงเป็นนิจกาล<O:p</O:p
    ฝ่ายพระนางราชเทวีนั้นเล่า ครั้นเวลารุ่งเช้า ให้จัดแจงขาทนียโภชนียาหารอันประณีตเป็นอันมาก กับด้วยสักการบูชามีมาลาและของหอมเป็นต้น แวดล้อมด้วยยศบริวาร เข้าไปสู่มหาวิหารถวายบิณฑบาตรแก่หมู่ภิกษุสงฆ์ มีสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จำเดิมแต่กาลนั้นมา พระนางก็มีพระหฤทัยหน่ายจากความที่ได้อัตภาพเป็นสตรีอย่างนั้นยิ่งนัก เพราะฉะนั้นพระนางจึงมีกมลผูกพันในอันบำเพ็ญกุศล เป็นต้นว่า บริจาคทาน รักษาศีล สมาทานอุโบสถ ประพฤติพรตพรหมจรรย์เป็นอาจิณ ครั้นสิ้นพระชนมายุแล้ว ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเสวยทิพย์สมบัติสุขในสวรรค์เทวโลก<O:p</O:p
    บทที่ปฐมความว่า พระโพธิสัตว์เจ้านั้น แต่ปรารถนาพุทธภูมิอยู่ในพระหฤทัย นานนับได้ ๗ อสงไขย แต่ออกจากวาจาว่า เราขอปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ นานนับถึง ๙ อสงไขย <O:p</O:p
    ในอสงไขยเบื้องต้นนามว่า นันทะอสงไขย สมเด็จพุทธางกูร ด้วย ผลานิสงส์ที่ถวายน้ำมันเมล็ดผักกาดตามส่ง ครั้นพระองค์จุติจากพระชาติที่เป็นบุตรีนั้นแล้ว ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเป็นเทพบุตร เสวยทิพยสมบัติเป็นบรมสุขอยู่ในชั้นดุสิต เจริญพระชนกำหนดอายุนับได้ ๕๗ โกฏิกับเศษ ๖๐ แสนปี ดำรงอยู่สิ้นทิพายุแล้วจุติจากดุสิตสวรรค์ทรงสังสรณาการบังเกิดเสวยสุขสมบัติในสวรรค์และมนุษย์สิ้นกาลนานมา <O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อนันทอสงไขยนั้น พระโพธิสัตว์ ได้เกิดเป็นพระเจ้าอรดีเทวราชบรมโพธิสัตว์ก้ทรงบริจาคทานสมาทานศีลอุโบสถ ประพฤติพรหมจรรย์เป็นอาจิณ ทรงมุ่งหมายในพุทธภูมิตราบเท่าสิ้นพระชนมายุล่วงไป ได้มีสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ได้มาอุบัติขึ้นนับได้ ๕๐๐๐ พระองค์ ได้ทรงกระทำทานบารมีเป็นอาทิ ในพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์มา <O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อสุนันทอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๙๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๙๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อปฐวีอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๑๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อมัณฑอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๑๑.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๑.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อธรณี อสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๒๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อสาครอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๓๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๓๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อปุณฑริกอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๔๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๔๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา พระพุทธเจ้า ๑๒๕.๐๐๐ พระองค์ ทรงตั้งจิตปณิธาน ในอสงไขยทั้ง ๗ สิ้นความเพียงเท่านี้
    โปรดติดตามในอสงไขยที่ ๙ ตอนต่อไป<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กุมภาพันธ์ 2011
  10. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    กราบ อนุโมทนา สาธุ...สาธุ...สาธุ...ค่ะ

    รอติดตามตอนต่อไปนะคะ

    ขอบพระคุณ คุณลุงหมาน มากมายค่ะ
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาบุญค่ะคุณลุงหมาน วันนี้ติงมาดึกเลยนะคะ ^^
    แต่อย่างไรก็ต้องมา...
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขออธิบายง่ายๆคงไม่ต้องลึกซึ้งมากนักเดี๋ยวจะเข้าใจยาก ถามเรื่องปฏิจจสมุบปาทนี่ถ้านับเป็นระยะทางก็เดินมาไกลแล้ว
    แต่เมื่อถามแล้วตอบได้ก็ตอบ ถ้าเกินกำลังที่จะตอบก็จะไม่ตอบ

    อย่างเวทนาในปฏิจจสมุบปาท หมายถึงถามความรู้สึก สุข ทุกข์ โสมนัส โทมมนัส เฉยๆ อย่างนี้เป็นต้น

    กับเวทนาในขันธ์ 5 นั้นจะถามถึงกองของเวทนาในขันธ์ 5
    และกองของเวทนามี 5 กองคือ 1.สุขเวทนา 2.ทุกขเวทนา 3.โสมนัสเวทนา 4. โทมนัสเวทนา 5.อุเบกขาเวทนา

    เวทนาที่อิงอามิสหมายถึง สุขเวทนาที่อาศัยกามคุณ เช่นการเห็นรูปสวยๆแล้วมีความสุข ได้ยินเสียงดีๆ แล้วมีความสุข
    ได้กลิ่นหอมๆ ได้รสดีๆ ได้สัมผัสดีๆ เป็นต้น น่าจะจัดเข้าในปฏิจจสมุบปาทได้แต่ท่านไม่ได้กล่าวไว้โดยตรง
    เวทนาที่ไม่อิงอามิสหมายถึงว่าขณะเห็นกามคุณไม่เกิด คือไม่ต้องแสวงหากามคุณให้ชอบใจยินดีอันนี้ต้องกำหนดรู้สำหรับนักปฏิบัติ

    นาม+รูป พอพูดถึงนามรูปนี้ต้องรู้แล้วว่าคือขันธ์ 5 นั่นเองคือถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือกายกับจิต หรือรูปกับนาม
    สำหรับรูปนั้นได้ขันธ์ 1 คือรูปขันธ์ สำหรับนามนั้นได้ 4 ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน

    วิญญานเกิดจากสังขาร คือ จิตที่มีสังขารปรุงแต่งหรือ สังขารเป็นผู้ปรุงแต่งจิต จิตนั้นก็เป็นวิญญานขันธ์นั่นเอง

    วิญญานที่ว่าเกิดจากการกระทบนั้น คำว่าวิญญานนั้นยังหมายถึงตัวรู้ เมื่อมีการกระทบตัวรู้ก็เกิดหรือวิญญานเกิด
    เช่นกระทบ รู้สึกเกิด เวทนาก็เกิด คือรู้สึกในเวทนานั้น วิญญานไม่ใช่ขั้นไหนหรอก มันเป็นการกล่าวตรงนัยไหนเท่านั้นเอง
    เช่นว่า วิญญานเขาเป็นจิต วิญญานเขาเป็นตัวรู้ วิญญานเขาเป็นขันธ์ๆหนึ่งเท่านั้น

    ต้องค่อยๆคิดตามและค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆ เพราะเป็นคำถามที่ลึกซึ้งมาก ปฏิจจสมุบปาท แม้แต่พระอานนท์ยังรู้ไม่ทั่วถึงเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กุมภาพันธ์ 2011
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วจีปณิธานนานนับได้ ๙ อสงไขย<O:p</O:p
    ในกาลนั้นพระปุราณศากยมุนี พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงบำเพ็ญบารมีมาครบถ้วน ๑๖ อสงไขยแสนกัปแล้ว
    ในปัจฉิมภพนี้ พระเจ้าสาครบรมโพธิสัตว์นั้น พระองค์ออกพระวาจาปรารถนาพุทธภูมิ ต่อหน้าพักตร์
    พระพุทธเจ้าปุราณศักยมุนี ก็ในอสงไขยกัปทั้ง ๙ นั้น<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อสัพพภัททะอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๕๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๕๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อ สัพพผุลละอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๖๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๖๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อ สัพพรตนะอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๗๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๗๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อ อุสภขันธะ อสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๘๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๘๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อ มานีภัททะ อสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๙๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๙๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อ ปทุมะ อสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๒๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่ออุสภะอสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๑๐.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อ ขันธคมะ อสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๕.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๕.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มา<O:p</O:p
    ณ กาลเมื่อ สัพพผาละ อสงไขยเกิดขึ้นมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น ๒.๐๐๐ พระองค์ ครั้งนั้นสมเด็จพุทธางกูรโพธิสัตว์ พบพระพุทธเจ้าทั้ง ๒.๐๐๐ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นอาทิได้ทรงทำพุทธภูมิกปณิธานในสำนักแห่งพระศาสดาจารย์ทั้งหลายนั้นทุกๆพระองค์มาทรงบำเพ็ญบารมี ในพระพุทธเจ้า ๓๘๗.๐๐๐ พระองค์<O:p</O:p

    สิ้นกาลนาน ๙ อสงไขย จบเพียงแค่นี้
    โปรดติดตามใน ๔ อสงไขยเศษแสนกัปตอนต่อไป
    คลิ๊กที่รูป ๓ ครั้งดูภาพประกอบ


    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Untitled-7.jpg
      Untitled-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      715.1 KB
      เปิดดู:
      165
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กุมภาพันธ์ 2011
  14. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ปรมัตถธรรมไม่สนุก ...แต่เรื่องราวสนุกมาก

    [​IMG] <INPUT class=noborder type=checkbox align=middle value=17811 name=t_sel>


    [​IMG]
    (ตาลยอดด้วน)
    ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

    ขอขอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ถอดเสียงจาก.... ชุดปกิณณกธรรม แผ่นที่ ๑๒ ครั้งที่ ๖๗๖
    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๗
    โดย....

    " ปรมัตถธรรมไม่สนุก ...แต่เรื่องราวสนุกมาก "

    ท่านผู้ถาม ครับ จิต, เจตสิก, รูป พอศึกษาไปแล้ว มันก็แค่นี้ มันก็เกิด
    การเบื่อหน่ายอยู่ตรงนี้ ก็คือแห้งแล้ง พระสูตรยังเป็นเรื่องราว มี

    สนุกอะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ ถ้าบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากนะคะ คือคงจะไม่อยู่พระ-
    ไตรปิฎก เพราะว่าเรื่องราวในพระไตรปิฎก็เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปี แต่

    เรื่องราวในยุคนี้ ก็คล้ายคลึงนะคะ ความเบื่อ ในอดีตก็ต้องมี

    ปัจจุบันก็ต้องมี อนาคตก็ต้องมี ถ้าแยกส่วนปัจจุบันของเรื่อง

    ของคุณ(ผู้ถาม) คนมาอ่านทีหลังก็คงสนุกดีนะคะ คนนี้พูดว่ายัง

    งี้ แล้วเบื่อยังงี้ แล้วก็ฟังพระธรรมต่อไป เป็นยังไงต่อไป กลับ

    ไปบ้าน บุคคลนี้ได้ไปพบใคร พูดเรื่องอะไร ก็เป็นเรื่องที่เหมือน

    สนุก

    เพราะฉะนั้น ถูกต้องนะคะ ที่กล่าวว่า ปรมัตถธรรม ไม่

    สนุก "
    จิต" จะสนุกยังไงคะ เป็นเพียงสภาพธรรม ไม่ใช่

    เรื่องราว
    แต่เรื่องราวสนุกมาก เพราะฉะนั้น ให้ทราบตามความ

    เป็นจริงค่ะว่า
    ที่เราไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมเนี่ยนะคะ เพราะ

    เราสนุกกับเรื่องราว
    สภาพธรรมมีจริงนะคะ (แต่)ด้วยความไม่รู้

    พอเห็นก็เป็นชื่อต่างๆ เป็นเรื่องต่างๆ แต่ที่จะให้รู้ว่า ไม่มีเรื่อง

    ราวอีกต่อไป มีแต่สภาพธรรม ไม่ว่าจะอ่อน - แข็ง, เสียงที่กำลัง

    ปรากฏ, สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทั้งหมดนี่เพราะจิต(รู้แจ้ง)

    ละเอียดมาก หลากหลายมาก เกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วมากนะ

    คะ แต่เมื่อไม่รู้ความจริงอย่างนี้ จึงเพลิดเพลินในเรื่องราวของ

    จิต

    เพราะฉะนั้น ถ้าจะเข้าถึงสภาพธรรมที่ละความเป็นสัตว์

    เป็นบุคคลนี่นะคะ ต้องสละเรื่องราวด้วยไหมคะ ? เพราะว่า

    (ความจริงแท้)เป็นปรมัตถธรรมทั้งหมด

    เพราะฉะนั้น เวลาที่ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมแล้วเนี่ยค่ะ ยัง

    มีเรื่องราวมั้ยคะ ? .....ธรรมเป็นเรื่องจริงนะคะ

    ท่านผู้ถาม มีครับ
    ท่านอาจารย์ ค่ะ ยังมีอยู่ ..แต่ไม่มีความเห็นผิดในสภาพธรรม ว่าขณะ
    ที่กำลังเป็นเรื่องราวนั้น ก็คือการคิดนึกต่างๆ จะสละเรื่องราว

    ต่างๆ นะคะ เพราะเหตุว่าไม่มีเรื่องราวจริงๆ มีแต่นามธรรมและ

    รูปธรรม แต่แม้กระนั้นเพียงนามธรรมและรูปธรรมเนี่ยค่ะ ที่ยัง

    ไม่มีเรื่องราวเลย เป็นของเราหรือเปล่า ?

    ท่านผู้ถาม เป็น
    ท่านอาจารย์ แล้วจะสละกันตอนไหนล่ะคะ ยิ่งยากใช่ไหมคะ สละ
    เรื่องราวแล้ว ยังสละเรื่องของลักษณะของสภาพธรรมที่กำลัง

    ปรากฏ สละ(ไปจนถึง)แม้การจะยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    จากเวป บ้านธัมมะ


     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]ขอบคุณนู๋จั่นที่ช่วยหาความรู้มาเพิ่มเติม[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2011
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อสงไขยกัปที่ ๔ นั้น โดยชื่อ
    เสลอสงไขยกัป โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับไม่ได้เป็นเวลาอสงไขยที่ 1
    มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ๑. พระตัณหังกรพุทธเจ้า ๒. พระเมธังกรพุทธเจ้า ๓. พระสรณังกรพุทธเจ้า
    ๔. พระทีปังกรพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้า นามว่า พระทีปังกร ตถาคตเกิดเป็นพราหม ชื่อว่าสุเมธดาบส<O:p</O:p

    โอภาสะ อสงไขยกัป โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับไม่ได้เป็นเวลาอสงไขยที่ 2
    พระพุทธเจ้า ๑ พระองค์ พระนามว่า โกณฑัญญะ<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระโกณฑัญญะ ตถาคตเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ชื่อว่า วิชิตาวี<O:p</O:p


    ชยะอสงไขยกัป โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับไม่ได้เป็นเวลาอสงไขยที่ 3
    มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์มีพระนามว่า ๑. พระมังคละ ๒. พระสุมนะ ๓. พระเรวตะ ๔. พระโสภิตะ <O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระมังคละ ตถาคตเกิดเป็นพราหม ชื่อว่า สุรุจิ<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระสุมนะ ตถาคตเกิดเป็นพญานาค ชื่อว่า อตุละ<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระเรวตะ ตถาคตเกิดเป็นพราหม ชื่อว่า อติเทพ<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระโสภิตะ ตถาคตเกิดเป็นพราหม ชื่อว่า อชิตะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รุจิระอสงไขยกัป โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับไม่ได้เป็นเวลาอสงไขยที่ 4
    มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ มีพระนามว่า ๑. อโนมทัสสี ๒. ปทุมะ ๓. นารทะ
    <O:p</O:pในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระอโนมทัสสี ตถาคตเกิดเป็น ยักษ์
    <O:p</O:pในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระปทุมะ ตถาคตเกิดเป็น ราชสีห์<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระนารทะ ตถาคตเกิดเป็น ฤษี<O:p</O:p

    ใน ๑๐๐.๐๐๐ กัปนั้น<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระปทุมุตตระ ตถาคตเกิดเป็น ชฏิล ชื่อ รัฏฐิกะ กัปที่ 100.000<O:p</O:p
    โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับได้ 69.999 ใบ
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระสุเมธะ ตถาคตเกิดเป็น ชื่อ อุตตระ กัปที่ 30.000<O:p</O:p<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระสุชาตะ ตถาคตเกิดเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ์ กัปที่ 30.000<O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p
    โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับได้ 28.199 ใบ
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระปิยะทัสสี ตถาคตเกิดเป็น มาณพ ชื่อว่า กัสสปะ กัปที่ 1.800<O:p</O:p<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระอัตถะทัสสี ตถาคตเกิดเป็น ดาบส ชื่อว่า สุสิมะ กัปที่ 1.800<O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระธัมมทัสสี ตถาคตเกิดเป็น ท้าวสักกะ กัปที่ 1.800<O:p</O:p<O:p</O:p
    <O:p</O:pโลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับได้ 1.705ใบ
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระสิทธัตถะ ตถาคตเกิดเป็น ดาบส ชื่อว่า มังคละ กัปที่ 94<O:p</O:p<O:p</O:p
    โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับได้ 1 ใบ
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระติสสะ ตถาคตเกิดเป็น กษัตริย์ชื่อว่า สุชาตะ กัปที่ 92
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระปุสสะ ตถาคตเกิดเป็น กษัตริย์ ชื่อว่า วิชิตาวี กัปที่ 92<O:p</O:p<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระวิปัสสี ตถาคตเกิดเป็น นาคราช ชื่อว่า อตุละ กัปที่ 91<O:p</O:p<O:p</O:p
    โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับได้ 58 ใบ
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระสิขี ตถาคตเกิดเป็น กษัตริย์ ชื่อว่า อรินทมะ กัปที่ 31<O:p</O:p<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระเวสภู ตถาคตเกิดเป็น พระราชา ชื่อว่า สุทัสสนะ กัปที่ 31<O:p</O:p<O:p</O:p
    โลกแตกดับไปเปล่าโดยไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นนับได้ 29 ใบ
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระกกุสันธะ ตถาคตเกิดเป็น พระราชา ชื่อว่า เขมะ<O:p</O:p
    ในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระโกนาคมนะ ตถาคตเกิดเป็น พระราชาชื่อว่า ปัพพตะ
    <O:p</O:pในสมัยนั้น พระพุทธเจ้านามว่า พระกัสสปะ ตถาคตเกิดเป็น มาณพ ชื่อว่า โชติปาละ

    พระพุทธเจ้าที่ทรงพบเพราะปณิธาน ๓<O:p</O:p
    เริ่มแต่ได้ทำมโนปณิธาน ๗ อสงไขย ได้พบพระพุทธเจ้า ทั้งสิ้น ๑๒๕. ๐๐๐ พระองค์<O:p</O:p
    ในกาลที่ได้ทำวจีปณิธาน ๙ อสงไขย ได้พบพระพุทธเจ้า ทั้งสิ้น ๓๘๗. ๐๐๐ พระองค์<O:p</O:p
    ในกาลที่ได้ทำทั้งกายวจีปณิธาน ๔ อสงไขยเศษแสนกัป ได้พบพระพุทธเจ้า ๒๗ พระองค์
    รวมทั้งสิ้น ๕๑๒. ๐๒๗ พระองค์<O:p</O:p

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กุมภาพันธ์ 2011
  17. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ที่คุณลุงหมานบอกว่า ขันธ์ 5 คือ นามรูป มันได้เกิดขึ้นแล้วในขั้นที่ 4 ของวงจรปฏิจจสมุปบาท
    แล้วขึ้นที่ 3 วิญญาณเป็นคนละตัวกับขันธ์ 5 หรือเปล่าครับ ขึ้นที่ 2 สังขาร เป็นคนละตัวกับขันธ์
    5 หรือเปล่าครับ และขั้นที่ 7 เวทนาเป็นเวทนาคนละตัวกับเวทนาในขันธ์ 5 หรือเปล่าครับ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ถ้าจะพูดนามอย่างเดียวได้ ๔ ขันธ์ และในนามขันธ์ ๔ ยังแยกออกได้อีกคือ
    วิญญานขันธ์ คือ (จิต)และ (เวทนา สัญญา สังขาร) คือเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต
    ถ้าพูดว่ารูปได้อีก ๑ ขันธ์ ถ้าพูด (นามรูป) ก็ได้ ๕ ขันธ์ หมายถึงพูดรวมกัน

    สมมุตว่ารถคันหนึ่งมีชิ้นส่วนประกอบ ๕ ชิ้น เราเรียกว่ารถ
    เมื่อเราถอดสิ้นส่วนในตัวรถออกมาจะไม่เรียกว่ารถ เราจะเรียกชิ้นส่วนนั้นๆ
    เมื่อแยกออกทั้งหมด ๕ ชิ้น รถจะไม่มี เมื่อเอาประกอบเข้าด้วยกันใหม่แล้วตอนนี้มีรถขึ้นมาทันที...

    วิญญานก็เป็นขันธ์ๆหนึ่งใน นามขันธ์
    สังขาร ก็เป็นขันธ์ๆหนึ่งใน นามขันธ์
    เวทนาก็เป็นขันธ์ๆหนึ่งใน นามขันธ์

    อย่างเช่นว่าในปฏิจจสมุบปาทจะไม่พูดเรื่องสัญญาขันธ์เลย
    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสัญญาขันธ์ไม่มี เพียงว่าไม่ได้ยกเอามากล่าวเท่านั้นเอง
    รวมความแล้วขันธ์ ๕ ในสายปฏิจจสมุบปาทเกิดตลอดสายถ้าเป็นสายเกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กุมภาพันธ์ 2011
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    ทรงสร้างบารมีถึงชาติเป็นพระเวสสันดร เราตถาคตผู้มหาบุรุษพุทธังกูรสร้างบารมีมาได้พบพระชินศรีสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอเนกคณานับได้ ๕๑๒.๐๒๘ ทั้งเราตถาคตนี้ แต่สมเด็จพระชินศรีสัมมาสัมพุทเจ้าผู้ซึ่งได้ตรัสพยากรณ์เรานั้นน้อยพระองค์หนักหนา พระผู้ที่มิได้พยากรณนั้นมากมายกว่าหลายหมื่นเท่า
    :eek: เมื่อเราผู้พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในอัตตภาพเป็นพระเวสสันดรนั้น ได้บำเพ็ญบารมีทำให้แผ่นปฐพีให้ไหวได้ถึง ๗ ครั้ง ครั้นเมื่อจุติจากชาติที่เป็นพระเวสสันดรมหาบุรุษแล้วเราได้ไปเกิดในชั้นดุสิตสวรรค์เป็นสันดุสิตเทวราช เสวยทิพยสมบัติเป็นบรมสุข เจริญอายุได้ ๕๗ โกฏิ ๖๐ แสนปีด้วยนับปีมนุษย์นี้ อยู่จนประจวบจวนจะสิ้นสุดพระชนมายุ ๔ พันปีทิพย์ อันนี้เป็นธรรมดาประเพณีของพระมหาบุรุษรัตน์พุทธังกูรทุกๆ พระองค์มา<O:p</O:p
    :eek: ครั้นเมื่อบารมียังไม่บริบูรณ์ แม้ว่าได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ยามา ปรนิมมิตะ ชั้นใดชั้น๑ ที่มีอายุยาวกาลนานักนั้น ๆ แล้วพระองค์ก็ย่อมอธิมุตตกาลกิริยาหลับพระเนตรลง ทรงอธิษฐานว่าขอให้อาตมะจุติไป ณ กาลนั้น พอขาดคำอธิฐานว่าดังนั้น พระองค์ก็จุติมายังโลกมนุษย์ โดยควรแก่อัธยาศัยตกว่า พระองค์หาสู้มีความอาลัยในทิพยสมบัตินั้นๆมากนักไม่ เหตุพระองค์สร้างบารมีให้สมบูรณ์เป็นประมาณ คือเมื่อพระบรมโพธิสมภารบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว จึงได้ไปเกิดสวรรค์เป็นสันดุสิตเทวราช ในพระชาติใกล้ปัจฉิมภพแล้วกาลใดกาลนั้นแลพระองค์จึงจะดำรงอยู่ชั้นนั้นๆ ประจวบเท่าทิพายุกาล อย่างนี้เป็นประเพณีสมเด็จหน่อพระชินศรีที่ทรงสร้างบารมีทุกๆ พระองค์สืบมา
    <O:p</O:pโปรดติดตามตอนที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันได้พยากรณ์พระพุทธเจ้าในอนาคต

    Untitled-1.jpg คลิ๊กที่ภาพ 3 ครั้ง จะอ่านได้ชัดเจน​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Untitled-1.jpg
      Untitled-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      415.4 KB
      เปิดดู:
      123
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กุมภาพันธ์ 2011
  20. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ปุจฉา - วิสัชนา</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 พฤศจิกายน 2553 14:01 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; OVERFLOW: hidden; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; BORDER-BOTTOM: medium none; HEIGHT: 35px" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9530000154917&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 scrolling=no allowTransparency></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> • สิ่งผิดพลาด

    ปุจฉา
    : กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพอย่างสูง

    หลวงปู่ครับ จะใช้ธรรมะข้อใดที่จะช่วยทำให้ผมมีกำลังใจครับ เพราะผมเองมีบางสิ่งที่ทำผิดพลาดลงไป แต่ใจก็มักคิดกังวลถึงมันมาก ผมอยากที่จะทำสิ่งใหม่ๆ อยากที่จะแก้ไข แต่บางครั้งผมก็มักกลัวว่า ที่ผมทำไปมันจะไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่ผ่านมาแล้วได้ ทำให้รู้สึกท้อแท้มาก อยากให้หลวงปู่กรุณาแนะนำผมด้วยครับ

    วิสัชนา
    : ไม่มีเมฆก้อนใด ที่ปรากฎอยู่ได้ถาวรในอากาศฉันใด การกระทำของปุถุชนก็ย่อมระคนปะปนทั้งถูกผิด ดีและชั่ว

    ถ้าคุณไปยึดถือว่ามีตัว คุณก็ต้องเป็นทุกข์เพราะแบกก้อนเมฆเอาไว้ ไม่เข้าใจว่าบ้าหรือดี วางมันลงเสียบ้างคุณ ทำแต่ปัจจุบันให้ดีที่สุด ฉันมีบทโศลกฝากคุณบทหนึ่งให้คิด

    “ไร้อดีต สิ้นอนาคต ปรากฏแต่ปัจจุบัน นั่นคือพระพุทธะ”

    • มองทุกข์ด้วยความจริง


    ปุจฉา
    : กราบนมัสการพระพุทธะอิสระ ผู้ประเสริฐ หากคนเกิดความทุกข์ ย่อมหาทางที่จะดับทุกข์ด้วยตนเองใช่หรือไม่ เพราะลูกมีความทุกข์สารพัด แต่จะถามตนเองว่า ทุกข์คืออะไร ทุกข์เกิดจากอะไร ทุกข์แล้วเราเป็นอย่างไร

    ดังนั้นเราจะต้องสู้หรือแก้ไขความทุกข์ให้หมดไป เช่นนี้เป็นหนทางของการดับทุกข์เพียงผิวเผิน แต่มิใช่การมองทุกข์ด้วยความจริง ใช่มั้ยเจ้าคะ

    ลูกขอเมตตาหลวงปู่ช่วยวิสัชนา เพื่อหนทางการดับทุกข์อย่างถูกตรงและถูกต้องเจ้าค่ะ

    วิสัชนา
    : ทุกข์คือสิ่งที่ทนได้ยาก ทุกข์ก็คือความลำบากของชีวิต ทุกข์ก็คือเครื่องปกปิดปัญญา แต่เมื่อทุกข์จนถึงที่สุดแล้ว เราอาจจะมีแรงฮึดสู้ และหาวิธีพ้นทุกข์ นี่เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นในสัญชาตญาณของมนุษย์ แต่ก็น้อยคนนักที่จะมีชีวิตอยู่รอดถึงกับมีแรงฮึดสู้เฮือกสุดท้าย ส่วนใหญ่จะหมดแรงตายเสียก่อนเสมอ

    คุณต้องมีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้ ทำความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าทุกสรรพสิ่งที่ผ่านเข้ามา และมีอยู่แล้ว เป็นบทเรียนที่คุณต้องทำความเข้าใจ และตอบใจตนเองว่า มันเป็นเพียงแค่บทเรียนบทหนึ่งเท่านั้น มิใช่ของคุณจริงๆ ขณะที่คุณกำลังเรียนรู้ด้วยสติ คุณต้องมีความตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความสงบที่เรียกว่าสมาธิ พร้อมกับใช้ปัญญาวิเคราะห์ปลดเปลื้องทุกบทเรียน ด้วยความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง

    แค่นี้ความทุกข์ก็จะเกาะกุมรุมเร้าคุณไม่ได้แล้ว

    • เกิดความเครียดในการเจริญสติ


    ปุจฉา
    : อยากเรียนถามหลวงปู่ว่า การเจริญสติในช่วงแรกมักจะเกิดความเครียดขึ้นมา เป็นเพราะอะไร และเมื่อเราพิจารณาไตรลักษณ์และเบญจขันธ์แล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นความว่างเปล่า ไม่มีอะไรที่อยากมีอยากได้ แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกขึ้นในใจ(จิต)หลายอย่าง อาทิเช่น ดีชั่วและความเป็นกลาง มันก็เป็นสภาวะเช่นนั้นเอง ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่อยากจะทำอะไรเลย ซึ่งรู้ว่าเป็นความรู้ที่ผิด ยังไม่ถึงที่สุดแห่งความพ้นทุกข์ แต่ไม่ทราบวิถีทางต่อไป อยากให้หลวงปู่ชี้แนะแนวทางด้วย

    วิสัชนา
    : สติที่เป็นสัมมาสมาธิ ไม่เห็นมีอะไรที่เครียด เพียงแค่ตามรู้ในสิ่งที่มีอยู่เดิม และสิ่งที่เข้ามาใหม่ โดยไม่ต้องปรุงแต่ให้เป็นอะไร

    การพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อทำให้จิตเป็นอิสระ ไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจ การควบคุมของอารมณ์ใดๆ ไม่เห็นมีความไม่อยากหรืออยากใดๆเลย แสดงว่าคุณเข้าใจผิดแล้ว

    ฉันขอให้คุณลองเริ่มใหม่ ด้วยการค่อยๆเฝ้าดูในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวคุณอย่างซื่อตรง ไม่ต้องมีอะไรเติมต่อ เฝ้าดูไปเรื่อยๆจนความรับรู้ทั้งหมดอยู่กับตัวคุณ คุณควบคุมความรู้นั้นๆได้อย่างแจ่มชัด แล้วนำความรับรู้นั้นมาพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


    (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...