กราบเรียนท่านพระอาจารย์..ขอความกระจ่างครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pepsi5510, 20 ตุลาคม 2010.

  1. pepsi5510

    pepsi5510 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +1,420
    ผมฝึกปฎิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน ตอนนี้ก็จะ 3 ปีแล้วครับ..คือตอนเช้า เวลา 6 โมงเช้าถึง 7 โมง และก่อนนอน 23.00-24.00 ทุกวันไม่เคยมีวันหยุด แม้กระทั่งเดินทางไปต่างจังหวัด ผมก็ยังปฏิบัติที่โรงแรมที่ผมพัก เป็นแบบนี้ตลอด..
    ที่สงสัยครับ.

    ก่อนปฎิบัติ ผมจะสวดมนต์ และแผ่ส่วนบุญกุศล แล้วจึงนั่ง..ไปได้แค่จิตสงบ รู้ว่าลมหายใจละเอียด จนไม่รู้สึกของลมหายใจ แล้วก็มีแต่ความว่างเปล่า แบบว่างจริงๆครับ....ดูแล้วเหมือนกับว่าเราไม่ได้นั่ง เหมือนกับว่าเราหลับตาเฉยๆ..

    บางท่านบอกเห็นแสงสว่าง บางท่านเห็นภาพต่างๆ นิมิตต่างๆ...แต่ของผมไม่มีเลย ทั้งแสง ทั้ง นิมิต..มีแต่ความสงบ ว่างเปล่า..แบบว่าว่างจริงๆครับ แต่สติรู้ดีว่า ลมหายใจหายไป..ก็มาเริ่มภาวนาใหม่..ก็เหมือนกับว่าต้องมาเริ่มต้นใหม่ครับ

    อยากเรียนถามครับว่า...เป็นเพราะอะไรครับ.แล้วจะแก้อย่างไรครับ..

    กราบนมัสการและขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • btoon08.jpg
      btoon08.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137 KB
      เปิดดู:
      414
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่ต้องแก้อะไร ทำความสงบต่อไป

    เมื่อถึงเวลา จะเข้าใจเอง
     
  3. pepsi5510

    pepsi5510 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +1,420
    กราบขอบพระคุณครับท่านพระอาจารย์
     
  4. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ท่านปฏฺิบัติได้ถูกได้ตรงกับ อานาปานสติ ที่เป็นสมถกรรมฐาน กำลังที่ท่านทำได้สูงสุดคือ ฌานที่ 4 ส่วนการปฏฺิบัตอย่างไร ต่อไปนั้นผมอธิบายท่านไว้ใน PM ท่านแล้ว

    เพราะผมพิจารณาดูแล้วท่านอื่น ส่วนมากทำไม่ได้อย่างท่านทุกคน หากอธิบายธรรมที่ถูกต้องไป เมื่อตนเองปฏิบัติไม่ได้จะยิ่งเป็นอุปทานหลงตัวหลง ตนว่าได้ฌานสมาธิ ยิ่งเป็นผลเสีย


    ท่านใดสงสัยการปฏฺิบัติ อานาปานสติ ที่เป็นสมถกรรมฐาน จนถึงฌานที่ 4 ก็ถามท่านนี่้ได้เลย ของจริงอยู่ตรงนี่ถามเลย ไม่ต้องไปหาตำราที่ไหน จะเป็นประโยชน์มากกับผู้ที่ไม่ได้ฌานสมาธิท่าน pepsi5510 ปฏฺิบัติได้แบบนี้แล้ว ก็ช่วยแนะนำท่านที่ยังไม่ได้ด้วยจะได้เป็นประโยชน์


    ผู้มีศีลมีธรรม มักอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ จะเป็นตัวอย่างให้กับผู้อ่าน

    จิตที่ละเอียด กาย วาจา ใจ แสดงออกมาละเอียด

    จิตที่หยาบ กาย วาจา ใจ แสดงออกมาหยาบหมด


    ท่าน pepsi5510 มิใช่ท่านแรกที่แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนแบบนี้ ท่านอื่นที่ปฏิบัติได้ดีอย่างท่าน dangcarry ก็เช่นกัน ขออนุโมทนากับทั้ง 2 ท่าน ที่เป็นพยานในการปฏิบัติธรรมของพระศาสนาว่ามีอยู่จริง


    ขอบคุณครับ​
     
  5. pepsi5510

    pepsi5510 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +1,420
    กราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ครับ..
    แรกๆผมก็ไม่เข้าใจ ว่าทําไมการปฎิบัติของผมอยู่เท่านี้หรือ ไปก็ไปไม่ได้ นิ่งสงบอยู่แบบนี้ตลอด..จึงได้เรียนถามท่านพระอาจารย์เข้ามาครับ. และได้คําตอบแล้ว ซึ่งผมคิดว่าแรกๆผมอาจจะเดินมาผิดทาง คือใช้กองกรรมฐานไม่ถูกกับตัวเองครับ....

    การปฎิบัติของผม ผมใช้การภาวนา พุท - โธ ผมไปไม่ได้ครับ แบบมันจะแน่นติดตรงหน้าอก จะเป็นแบบนี้ประจําเมื่อจิตเริ่มนิ่งครับแต่ยังไม่สงบดี ผมก็เปลี่ยนการภาวนาเป็น ยุบหนอ-พองหนอ ก็ตามลมหายใจไม่ทันครับ..เช่นพอจิตเริ่มนิ่ง...พุงจะลมเข้าเอง..และออกเองโดยที่ยังไม่ภาวนาครับ..ก็เปลี่ยนมาเป็นภาวนา สัมมา-อรหัง ก็ไม่ไม่ได้ครับ เพราะจิตจะไปคิดแต่ดวงแก้ว แล้วพยายามดึงเข้ามาในกาย ก็ทําไม่ได้เช่นกันครับ...

    ผมเลยมาใช้ การภาวนา ดิน น้ำ ลม ไฟ ครับท่านพระอาจารย์ คือ
    นะ-มะ-พะ-ธะ คือภาวนาลมหายใจเข้า(นะ-มะ) ลมหายใจออก(พะ-ทะ)
    แล้วตามลมหายใจเข้า นะ-มะ(ดิน-น้ำ) ตามลมหายใจออก(พะ-ทะ)ครับท่านพระอาจารย์ ดูแล้ว ไปได้ดี จิตสงบ..

    เมื่อผมตามลมหายใจเข้า(นะ-มะ ดิน-น้ำ) ..จิตก็คิด ร่ายกาย เมื่อตาย ร่างกายก็เต็มไปด้วย เลือด น้ำเหลืองแล้ว ก็กลายเป็นดิน เถ้าธุลี

    เมื่อผมตามลมหายใจออก(พะ-ทะ ลม-ไฟ)...จิตก็ตามว่า เมื่อเราตาย เข้าเตาเผาหรือเมนเผาศพ เราก็เป็นผง เถ้าธุลี ก็ปลิวไปตามสายลมเมื่อเค้าเอาเถ้ากระดูกเราไปลอยอังคารไม่มีอะไรเหลือ..

    นี่เป็นแนวที่ผมปฎิบัติครับท่านพระอาจารย์..แต่ก็ได้แต่ความสงบ ว่างเปล่า.แต่เมื่อออกจาก กรรมฐาน ทั้งอารมณ์ และจิตใจของผม จะสงบมากครับ.
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!! ธรรมะไม่ใช่แค่เพียงลมปากที่พูดออกมาว่า"เหมือนกับ"

    ธรรมะของผู้ปฏิบัตินั้น ต้องรู้ชัดๆว่าอะไรเกิดขึ้นที่จิตก็รู้ อะไรดับไปจากจิตก็รู้

    ถ้ามีสติดีจริงๆแล้ว เมื่อลมหายใจดับก็รู้ชัดว่าลมหายใจดับ เข้าสู่ความว่างที่แท้จริง

    ถ้ายังต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ ก็ไม่ใช่ความสงบที่แท้จริง

    เป็นเพียงแค่ความคิดที่ว่า "เหมือนกับ" ไม่ใช่รู้ชัดๆโดยไม่ต้องคิด

    ;aa24
     
  7. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    ความว่างเปล่าก็คือนิมิตอย่างนึง
    โดยปกติ เมื่อลมหายใจละเอียด รูปขันธ์เบาขึ้น จะเกิดปิติ สุข ..
    (วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคตา)
    ให้สังเกตถึงว่าเพราะการจดจำสภาวะของความรู้สึกว่าว่างเปล่า ..และไปยึดกับมันหรือเปล่า พอมาถึงจุดนี้ ทำให้เกิดความพอใจไม่พอใจโดยไม่รู้ตัว .. มีอุปาทานตรงนั้นขึ้น คนที่พอใจก็อยากได้ตรงนั้นอีก คนไม่พอใจก็รู้สึกว่าเดี๋ยวคงจะเป็นอย่างนั้นอีก.. กลายเป็นสัญญาและอาจกระทำมาโดยสัญญาก็มี(สมถะ)

    การใช้ ลม เป็นตัวดึงจิตนั้น (อานาปานสติ) พอรู้สึกลมเบา ให้สังเกตดีๆ ว่าลมนั้นต่อให้เบาแค่ไหนก็ยังรู้สึกได้ (ถ้ายังดับวิญญาณไม่ได้จริงๆ) ต่อให้ไม่มีปิติ หรือผ่านปิติมาแล้ว ก็ต้องรู้สึกสุขสงบ ซึ่งโดยส่วนมากจะเกิดแสงสว่าง (แสงสว่างเกิดมาแต่อุปจารสมาธิแล้วนะแต่ไม่มั่นคงเป็นวูบวาบก็มี)

    หากไม่มีอุปาทาน สภาวธรรมแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเลย .. บางคนตัดนิมิตพวกนี้ทั้งหมด และตามดูกิเลสจนเกิดปัญญารู้ลม(ลมหายใจมันไม่สงบอย่างเดียวหรอก) รู้กรรม รู้ไตรลักษณ์ (แม้นนิมิตก็ดี ธรรมก็ดี สภาวธรรมก็ดี ล้วนไม่แน่นอนไม่จีรัง) รู้อริยสัจจ์ ฯลฯ ส่วนนี้ที่สำคัญกับการดำเนินชีวิตตามอริยมรรค ทำให้มีสติไม่ตามกิเลสอารมณ์ที่ถูกกระทบเข้ามา..

    6
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2010
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่ใช่พระอาจารย์ ผมมองอย่างนี้

    ถ้าไม่ก้าวหน้า รู้สึกนั่งเฉย ๆ ถ้าไม่ได้สมาธิ หรือพอเลิกนั่งสมาธิ จิตก็ไม่รวมอยู่ ไม่สงบอยู่

    เป็นเพราะเวลาบริกรรมกำกับ ใจจ่ดจออ่อนไป กำลังอ่อนไป บริกรรมแต่ปาก หรือบริกรรมแต่พากษ์ เช่น นั่งดูลม ก็เข้าออกไป

    ลองบริกรรมให้แน่นขึ้น โดยให้สติจับอยู่ที่ลมให้มากคิด ไม่ปล่อยให้คิดไปไหน ไม่ปล่อยให้เฉยแบบภวังค์เกิด เอาจิตจดจ่ออยู่ที่ลม หรือถ้าชอบพุทโธ พองยุบ ก็ให้กำกับให้แน่นขึ้น แบบที่เรียกว่า รู้อยู่ตลอด บริกรรมให้มันถึงที่ใจไปเลย
     
  9. pepsi5510

    pepsi5510 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +1,420
    กราบขอบพระคุณท่าน ธรรมภูติ ท่านเต้าเจี้ยว ท่าน jinny95 ที่ช่วยชี้แนะครับ..
    จริงอย่างท่าน ธรรมภูต ครับ..พอเกิดความสงบ ว่างเปล่า แล้วกลับมาภาวนา ความสงบก็ไม่เกิด เหมือนเริ่มใหม่ จริงๆครับ..ตรงนี้ที่ผมติดขัดอยู่ครับ..

    ขอบคุณท่าน jinny95 ครับ อาจจะเป็นได้ ที่ผม บริกรรมภาวนาอ่อนไป..ผมจะลองภาวนาให้มากยิ่งขึ้น จับลมหายใจให้มากขึ้น

    กราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ..ผมจะนําแนวทางปฎิบัติ ของทุกๆท่าน เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ครับ..
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>Currently Active Users Viewing This Thread: 4 (3 members and 1 guests) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เอกวีร์*, pepsi5510 </TD></TR></TBODY></TABLE>


    กลุ้ม ++"
     
  11. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    นั่งจับลมหายใจเข้าออก เสียงภายนอกได้ยินชัดเจนแต่ไม่รำคาญ รู้อยู่ที่ลมเข้าลมออก
    และแล้วก็ดันลืมลมหายใจเข้าออก คงเผลอไปแต่สมาธิดีกว่าเก่า เกือบลืมเสียงข้างนอก
    ต่อมาอึดอัดมากแน่นหน้าอก ลมหายใจรวยรินแทบจะขาดใจตาย จึงยอมตาย
    สักพักใหญ่พอประมาณ กลับสบายความรู้สึกนึกคิดต่างๆรับรู้ได้ จิตปลอดโปร่งไร้ธาตุสี่
    นั่งอยู่ในกายที่ไม่มีลมหายใจ ไม่ได้ยินเสียงใดๆภายนอก รู้แต่เพียงว่าอยู่ในกายที่นั่งอยู่นี้
    บางวันเมื่อถึงตอนนี้ ก็มีนิทานในชาติก่อนมาฉายให้ดูแบบนั่งดูทีวี
    บางวันสงสัยนั่งหลับฝันไปว่า ทิ้งกายไปโน่นไปนี่ คิดถึงกายปั๊บตื่นเลย
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="26%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌานตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลยคงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่างเป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจแต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O:p></O:p>
    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
     
  13. pepsi5510

    pepsi5510 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +1,420
    ขอบคุณมากครับ ..
     
  14. พี่ทิดศิษย์มีครู

    พี่ทิดศิษย์มีครู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2008
    โพสต์:
    580
    ค่าพลัง:
    +2,794
    ขออนุโมทนาในข้อความแนะนำที่ดี

    ขออนุโมทนากับตัวอักษรธรรมและข้อความอันงามนี้ด้วยเทอญ

    อาตมาภาพขออนุโมทนาและขอร่วมส่งพลังบุญ พลังบารมี และพลังแห่งความดี ความเมตตา ไปสู่ญาติธรรมเจ้าของกระทู้และสหายธรรมญาติธรรมทุกท่าน สรรพสัตว์ทั้งปวง ในสากลจักรวาลจงบังเกิดสุขและล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงเทอญ

    ขออำนาจบารมีธรรมแห่งพุทธองค์จงช่วยอำนวยผล

    ธ.โชติกะภิกขุ(ศิษย์พระราชวังจันทร์ ๒๕๓๓-๒๕๓๙)
     
  15. pepsi5510

    pepsi5510 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +1,420
    กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ ขอบพระคุณที่ท่านให้พร สาธุ...ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.6 KB
      เปิดดู:
      139
  16. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ได้อ่านการปฏิบัติท่าน pepsi5510 เหมือนมีครูบาอาจารย์สอน ท่านวางจิตวางใจได้ถูกต้องได้ตรงตามที่ได้คาดคิดไว้ซึ่งจะเป็นตัวอย่างให้กับผู้ปฏิบัติท่านอื่น จึงจะได้อธิบายขยายความการปฏิบัติของท่านให้ผู้อื่นได้ทราบเพื่อเป็นแบบอย่างการปฏิบัติอีก 1 ท่าน กล่าวคือ

    ท่านใช้ความคิดที่เป็นธรรมอันละเอียด ไปดับซึ่งกิเลสหยาบ
    เมื่อกิเลสหยาบคลายลง ความยึดมั่นถือมั่นในใจก็คลายลง
    เมื่อความยึดมั่นถือมั่นคลายลง สักกายทิฏฐิก็คลายลง
    เมื่อสักกายทิฏฐิคลายลง ความคิดฟุ้งซ่านก็คลายลง
    เมื่อความคิดฟุ้งซ่านคลายลง จิตก็สงบ


    แม้ท่านไม่ใช่พระอริยะเจ้า แต่ท่านมีวิธีการปฏิบัติสมาธิสมถะกรรมฐานได้ตรงกับแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้ถึงซึ่งความเป็นพุทธะในจิต

    ผู้ที่ชื่นชมการปฏิบัติได้ดีหลายท่าน มักเป็นผู้อ่านตำราน้อย และเป็นผู้ปฏิบัติมาก เมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องก็เข้าถึงได้เร็ว
    การทำเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นแนวทางของพระอริยะเจ้าและผู้เข้าถึงพุทธะทั้งหลาย ที่มิใช่ผู้แบกผู้ห้ามซึ่งความคิดทั้งปวง

    ปุถุชนส่วนมากเป็นผู้แบกผู้หาม ซึ่งความคิด ความยึดติดความพอใจความไม่พอใจทั้งปวง
    อ่านตำรามากก็ยึดติดมากขึ้น เป็นผู้ไม่มีความพออยู่ในใจตนเอง เป็นผู้แสวงหาความพอใจ

    ความไม่พอใจ เข้าไปในใจตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จัดได้ว่าอยู่ตรงข้ามกับความเป็นพุทธะทั้งสิ้น



    ธรรมที่สอนท่าน pepsi5510 ใน PM เป็นธรรมปฏิบัติตรงเพื่อให้ถึงความเป็นพุทธะเป็นการปฏิบัติต่อจากอานาปานสติ คือ เจริญสติปัฏฐาน 4

    เมื่อสติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ก็สมบูรณ์
    เมื่อโพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ มรรค 8 ก็สมบูรณ์
    เมื่อมรรค 8 สมบูรณ์ วิชชาก็สมบูรณ์
    เมื่อวิชาสมบูรณ์ มหาสติปัฏฐาน 4 ก็สมบูรณ์ จบกิจในพระศาสนา

    สิ่งที่ผมสอนท่าน pepsi5510 จะไม่มีในคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำตามที่มีผู้ยกมาอธิบายแม้แต่น้อย แต่สิ่งที่ผมสอนท่านเป็นคำสอนที่ตรงต่อการเข้าถึงความเป็นพุทธะเหมือนอย่างผู้ที่กำลังอธิบายท่านอยู่นี้ และตรงกับคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ


    ท่าน pepsi5510 ท่านอย่าสงสัยในคำสอนที่อธิบาย และอย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่อธิบายไป ท่านวางใจให้เป็นกลางปฏิบัติตามที่ผมแนะนำอย่างผู้ไม่รู้ ผู้ที่ไม่ใช่น้ำเต็มแก้ว ท่านจะเข้าถึงได้เร็ว

    ถ้าท่านสงสัยการปฏิบัติ อาจรอผมตอบนาน ท่านสามารถถามท่าน dangcarry ท่านนี้ปฏิบัติถูกต้องได้ถึงฌานพระอริยะเจ้า ซึ่งละเอียดกว่าฌานที่ 4 ที่ท่าน pepsi5510 ได้

    ขอบคุณครับ
     
  17. pepsi5510

    pepsi5510 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    395
    ค่าพลัง:
    +1,420
    กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ ท่านทดสอบ1 ผมจะพยายามปฎิบัติ ให้เสมอต้น เสมอปลาย และจะไม่ละทิ้งครับ..
    และเมื่อปีที่แล้ว..ผมเป็นแบบนี้มานาน จนต้องขอ แม่บ้านไปบวช เพื่อจะได้ศึกษาธรรม และการปฎิบัติ เมื่ออยู่รูป สงฆ์ การปฎิบัติไปได้ดีครับ..ได้ความสงบ ได้สํารวม ได้เข้าถึงวิปัสสนา แต่ได้แค่นิดหน่อยเองครับ...ก็บวชอยู่ร่วมเดือน ที่ต้องสึก เพราะมีภาระที่ต้องดูแล..ก็ยังเรียนถามท่านเจ้าอาวาสว่า ถ้าผมมาบวชอีกเมื่ออายุ 70 ปีได้หรือเปล่า ท่านหัวเราะ...ไม่ได้จ้า กฎของสงฆ์ห้าม.
     

แชร์หน้านี้

Loading...