บันทึกการ ปฏิบัติ (ครูสันตินันท์)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ayukawa, 24 เมษายน 2010.

  1. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    รู้ภายในครับ เดี๋ยวผมบอกทาง pm ครับ

    เฮ้อ...ทุกขัง นะ
     
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    นี่ล่ะครับวิธีการดูจิตท่านทำกันแบบนี้
    สำคัญที่สติครับ หรือจะเรียกว่าสติที่สืบเนื่องเป็นสายน้ำ
    เป็นสติสัมปชัญญะ ก็ได้ครับ

    และเมื่อสติเป็นสติที่สืบเนื่องเป็นสายน้ำ
    หากเคลื่อนไหวกาย การระลึกรู้จะแผ่ซ่านไปทั่วกาย
    รู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทุกอิริยาบถ ครับ
    แบบนี้ก็เรียกสติสัมปชัญญะ เช่นเดียวกันครับ

    เห็นมั้ยครับ ไม่ว่าจะวิธีของพวกดูจิต หรือพวกดูการเคลื่อนไหวของกาย
    ถ้าผ่านกรรมฐาน 40 ห้อง ไปแล้ว ถึงได้หมด และไม่หลงทางด้วย
    เพราะทุกอย่างสำคัญที่สติ หรือ จะเรียกอนุสติก็ได้

    เพราะอย่างอนุสติ 10 ก็มีพุทโธเป็นต้น
    ครูบาอาจารย์ท่านจึงสอน กรรมฐาน 40 ห้องเป็นเบื้องแรก
    เพราะแม้แต่อุปัชฌา จะบวชพระใหม่ ก็ต้องบอกกรรมฐาน
    เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็กรรมฐาน 40 ห้องทั้งนั้น

    ผมจึงกล่าวว่า พวกดูจิต หรือการเคลื่อนไหวกายนี่
    เป็นพวกชิงสุกก่อนห่าม ใจเร็วด่วนได้

    เพราะแม้แต่อานาปานสติสูตร ก็กล่าวว่า
    เห็นมั้ยครับ อานาปานสติ ก็คือกรรมฐาน 40
    ในอานาปานสติสูตร ก็ให้เจริญอานาปานสติ
    ก็จะทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์เอง
    ท่านไม่ได้บอกให้เจริญสติปัฏฐาน 4 เลย ตั้งแต่เริ่มแรกนะครับ

    นี่ยังไง การดูจิต หรือ การเคลื่อนไหว กาย
    จึงไม่มีใครถึงมรรคถึงผลได้เลยแม้แต่ผู้เรียนผู้สอน

    ผมก็ปฏิบัติพอรู้พอเห็นมาบ้าง
    จึงรู้ได้ครับ ว่าอันไหนผิดอันไหนถูก
    อันไหนของแท้ อันไหนของเทียม...

    เฮ้อ...ทุกขัง นะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2010
  3. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    มั่วมากฮะ ไปศึกษาและปฏิบัติใหม่ดีกว่า
    หุหุ
    (มานะอัตตาเยอะเชียว อิอิ)
     
  4. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    55555 พูดไม่อายเลยน่ะ ชมตัวเองก็มี

    ....ที่บอกว่ารู้ แล้วรู้ได้อย่างไร ว่าอันไหนแท้อันไหนเทียม
    ใครเป็นคนบอกหรือว่าตัวท่านบอกเอง 5555

    ผมขอถามหน่อยที่บอกว่า " ต้องมีสติต่อเนื่องไม่ขาดสาย" จึงจะดูจิตได้
    เมื่อมีสติต่อเนื่องไม่ขาดสาย แล้วเราจะไปดูจิต เราไปดูอะไรที่จิตครับ
     
  5. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ผมกล่าวผิดตรงไหนคุณก็แย้งมาซิครับ

    ไม่ใช่ตำหนิโดยไม่มีเหตุผลอย่างนี้...
     
  6. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คุณบุญพิชิตกรุณาอ่านโพสต์ของผมโดยละเอียดอีกที่ซิครับ
    แล้วกรุณาวางใจให้เป็นกลาง
    พยายามทำความรู้สึกว่าคุณเพิ่งเข้ามาศึกษาใหม่นะครับ
    แล้วคุณจะเข้าใจยิ่งขึ้นครับ
     
  7. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    นั่นสิ ผมแค่รู้สึกว่ามันตัดบางส่วนแล้วมาจับแปะรวมกัน
    เหมือน
    เอาหัวโงกุนมาใส่ตัวโดเรมอนและใส่แขนกันดั้มและใส่ขาอาเบะ
    ประมาณนั้นแหละ
    เลยบอกไม่ถูกว่าคุณมั่วยังไงเหมือนกัน
    รู้สึกมันเหวงๆอ่ะ
    พูดไม่ถูก บรึ๋ยยยย
     
  8. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    จะมาตัดมาต่ออะไรครับ
    รู้ที่ใจ เห็นที่ใจ
    ก็ถอดออกมาจากหัวใจเอามาให้ดู
    แล้วจะไปตัดไปต่อะไรอีกครับ

    ถ้าคุณรู้จริง เห็นจริง มาแล้ว
    ถ้าผิดคุณชี้ได้ทันทีนั่นล่ะครับ
    แต่นี่คุณชี้ไม่ได้เลยแม้ซักนิด
    ได้แต่พูดบ่ายเบี่ยงไป ว่าตัด ว่าต่อ
    อย่างนั้น อย่างนี้

    คุณต้องมองดูที่ใจคุณแล้วล่ะครับ
    มองด้วยความยุติธรรมนะครับ
    ว่าเกิดอะไรขึ้นในใจคุณ
    มองดูจิต ดูใจ ตัวเองนะครับ
    กิเลสตัวไหนมันบงการคุณอยู่ตอนนี้
    ให้ยอมรับความจริงนะครับ
    อย่าคิดว่าตนผิดไม่ได้
    ถ้าคิดว่าตนผิดไม่ได้ จะแก้ไขไม่ได้ครับ
    ต้องยอมรับความผิดตนเอง
    จึงจะสามารถแก้ไขตนเองได้

    เป็นนักปฏิบัติ ต้องหนักในเหตุผลครับ
    ความรู้สึกส่วนตัว ส่วนมากกิเลสบงการทั้งนั้นครับ....
     
  9. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    คุณเตชกล่าวไว้ดีแล้ว อิอิ
    นั่นดิ ที่ผมเห็นนี่มันจริงหรือหลอกหว่า
    ใครจะตอบผมได้น้าา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2010
  10. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ผมทำใจให้เป็นกลางและทำตัวให้เหมือนกับเข้ามาศึกษาใหม่แล้ว
    ผมถึงได้ถาม ถ้าผมทำตรงข้ามผมก็คงเข้ามาว่า ท่านเป็นคนอวดรู้
    อวดฉลาด โดยการเอาข้อความคนอื่นนิด คนนั้นหน่อยมาผสมกันแล้วมา
    โพส
    .......ผมสู้อุตสาห์แยกประเด็นในข้อความของท่าน ขึ้นมาถามเพื่อความเข้า
    ใจ แต่ท่านกลับไล่ให้ผมไปอ่านข้อความของท่านใหม่ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว
    จะให้ผมเข้าใจว่าอย่างไรได้ ผมต้องลงความเห็นว่า ท่านโพสข้อความโดยไม่มีความรู้ในสิ่งนั้นเลย

    ....เอาล่ะผมจะถามท่านเพื่อความกระจ่างอย่าเรียกว่าลองภูมิเลย เอาเป็นว่า
    มันรู้สึกขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านโพส
    จากคำอ้างอิงด้านบน ท่านนำคำพูดหลวงพ่อมากล่าวว่า " การดูจิตจะเห็น
    สังขารการปรุงแต่งต่างๆ"
    แต่ในประโยคก่อนท่านบอกว่า "การดูจิตทำได้แต่ต้องมี สติสืบเนื่องกันไป
    เปรียบเหมือนสายน้ำ ไม่ใช่หยดน้ำ"

    .....นี่แหล่ะ! ผมสงสัยตรงนี้เลยอย่างถามท่านว่า การดูจิตเป็นการดูการ
    ปรุงแต่ง แต่ท่านบอกว่า จะดูจิตต้องมีสติสืบเนื่องเป็นสายน้ำ ซึ่งความหมายคือ
    การมีสติแบบไม่ขาดตอน เป็นเช่นนี้แล้ว ผมอยากทราบการปรุง
    แต่งหรือความคิดมันเกิดขึ้นตอนไหนครับ ...กรุณาให้ความกระจ่างด้วย
     
  11. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คุณบุญพิชิตครับ
    ประมาณช่วงค่ำ ๆ นะครับผมจะมาตอบ
    ระยะนี้งานผมยุ่งมาก
     
  12. canopus

    canopus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +531
    อนุโมทนาครับ
    หลวงพ่อท่านสอนธรรมมะได้ดีมากๆ
    เท่าที่ผมได้อ่านมาบ้างไม่เห็นมีความขัดแย้งกับคำสอนของครูบาอาจารย์หลายๆ รูปแต่อย่างใด
     
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ผมตอบคร่าว ๆ ก่อนแล้วกันครับ
    สตินี่เป็นเครื่องระลึกรู้ของจิตนะครับ

    ถ้ามีสติที่สืบเนื่อง
    จิตจะไม่สามารถหลงไปตามอารมณ์ต่างๆ ได้เลยครับ

    ธรรมชาติของจิต ต้องมีการคิดปรุงเป็นธรรมดา
    หากสติไม่สืบเนื่อง สติขาดไปขณะใด
    จิตจะหลงไปในอารมณ์ปรุงแต่งของจิตเองครับ
    เพราะฉนั้นจิตจึงต้องมีสติสืบเนื่องตลอดเวลา
    จึงจะไม่หลงไปในอารมณ์ครับ

    แล้วคราวนี้การมีสติที่สืบเนื่องทำให้เห็นการปรุงแต่งของจิตยังไง
    หากจิตมีสติที่สืบเนื่อง จะเห็นได้ชัดนะครับ
    ว่าสังขารปรุงแต่ง ก็อย่างหนึ่ง เราก็อย่างหนึ่ง
    สติทำให้เห็นอาการของจิตอย่างนี้ครับ
    เพราะธรรมชาติของจิตต้องคิดต้องปรุง
    แต่ทำให้จิตหยุดคิดได้มั้ย ?
    หยุดคิดได้ครับ ด้วยการทำสมาธิ

    ถ้าจะเปรียบจิตเป็นร่างกายของเรา
    สติก็เปรียบเป็นกระจกเงา
    เมื่อเราไปส่องกระจกเงา
    เราจะมีกิริยาท่าทางอย่างไร
    เมื่อเรามองที่กระจกเงา
    เราก็จะเห็นเราตลอดใช่มั้ยครับ ว่าเรามีกิริยาอย่างไร

    เอาเท่านี้ก่อนนะครับ
    ผมโพสต์ให้ก่อน ถ้ามีอะไรตกหล่น
    ต้องขออภัยนะครับ เพราะไม่ได้ proove เลย
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คนที่จะตอบก็คือตัวคุณเองนั่นล่ะครับ
     
  15. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ที่ว่ามาข้างบน มีสติสืบเนื่องตลอดเวลาจิตจะได้ไม่หลงอารมณ์ปรุงแต่ง
    ผมขอถามหน่อยครับ แล้วจิตไปรับอารมณ์หรือผัสสะอื่นหรือเปล่าครับ
    แล้วถ้าจิตไปรับผัสสะหรืออารมณ์อื่น ช่วงนั้นจิตยังมีสติสืบเนื่องหรือไม่ครับ
    ผมยังสงสัยว่าการมีสติสืบเนื่อง จะไปเห็นการปรุงแต่งอารมณ์ได้อย่างไร
    ไอ้สติที่ท่านว่า ผมว่ามันเป็นการทำให้จิตอยู่ในอารมณ์เดียวตลอดสาย มัน
    เป็นวิธีการทำสมาธิหรือสมถะ แล้วจะไปเห็นการปรุงแต่งได้อย่างไร
    ......วิปัสนาคิดเองไม่ได้น่ะครับ
     
  16. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    คือคุณเตชแกจำมาจากหลวงพ่อชาน่ะฮะ
    แกรู้แค่นี้แกเลยบอกได้แค่นี้ ตัดมาท่อนเดียว
    สงสัยฟังท่อนเดียว เลยไม่รู้ว่าที่หลวงพ่อชาพูดนี่สื่อถึงอะไร บริบทขณะนั้นคืออะไร
    เหอๆๆ
     
  17. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เมื่อมีอารมณ์มากระทบ จิตต้องรับอารมณ์อยู่แล้วครับ
    ถ้าจิตมีสติสืบเนื่องตลอดเวลา
    สติจะรักษาจิตไม่ให้หลงไปในอารมณ์เหล่านั้นครับ
    เมื่อจิตไม่หลงอารมณ์ อารมณ์นั้นก็ดับ
    เห็นมั้ยครับ จิตไม่ได้เกิดดับ
    ตอนอารมณ์เกิดจิตก็รู้ อารมณ์ดับจิตก็รู้
    จิตรู้อยู่ตลอด

    ใช่ครับไม่ว่าจิตจะถูกกระทบด้วยอารมณ์ใด
    ช่วงนั้นจิตก็ยังมีสติที่สืบเนื่องครับ
    และจะเห็นชัดด้วยว่า อารมณ์ก็อย่างหนึ่ง จิตก็อย่างหนึ่ง
    เมื่อมีสติที่สืบเนื่องครับ
    สติก็คือสติครับ
    ไม่เกี่ยวกับอารมณ์
    อารมณ์เกิดขึ้นที่จิต เกิด แล้ว ก็ดับไป
    หากจิตไม่หลงไปกับอารมณ์นั้น

    ถ้าจะพูดให้ถนัดใจ สำหรับผมนะครับ
    สติ แปลว่า ระลึกรู้ นี่ยังไม่ถึงใจผม
    แต่ถ้าพูดว่า สติ คือการตื่นตัวของจิต
    และสติที่สืบเนื่อง
    คือการตื่นตัวของจิตที่ต่อเนื่องกันไปครับ
    อย่างนี้อธิบายได้ชัดตามความรู้สึกของผม

    เมื่อจิตตื่นตัวอย่างต่อเนื่องด้วยสติ
    เมื่อจิตมีอาการใด ๆ เกิดขึ้น จิตจะรู้ตัวทันทีครับ
    อาการที่เกิดจิตก็รู้ เมื่อจิตไม่หลงไปกับอาการนั้น
    อาการนั้นก็ดับ จิตก็รู้เช่นเดียวกันครับ

    ถ้าขาดสติเมื่อใด เกิดอารมณ์ขึ้นในขณะนั้น
    จิตก็จะหลงไปตามอารมณ์นั้น
    กว่าจะมีสติรู้ตัวได้เมื่อไหร่
    ก็เมื่อนั้นล่ะครับถึงจะมีสติอีกครั้ง

    แล้วที่คุณว่าสติทำให้อยู่ในอารมณ์เดียวตลอดสาย
    เป็นวิธีการทำสมาธิอย่างเดียวดูจะเป็นการเข้าใจผิดครับ

    ผมยกตัวการทำสมาธิด้วยวิธีบริกรรมพุทโธนะครับ
    เปรียบอย่างนี้ครับ
    เหมือนกับเราเอาโคผูกไว้ที่หลักครับ
    ท่านเปรียบจิตเราเหมือนโค
    หลักหรือเสาคือพุทโธ
    เชือกที่ผูกคือสติ
    เชือกที่ผูกไว้ตลอดคือสติที่สืบเนื่อง

    ตามธรรมชาติของจิตผู้มีกิเลส
    จะไม่อยู่นิ่ง เหมือนโคล่ะครับไม่อยู่กับที่
    จะคอยเดินไปเดินมาแทะเล็มหญ้า
    เมื่อโค หรือจิตเราไม่อยู่กับที่ จะไปที่อื่น
    เชือกคือสติจะรั้งจิตเราไว้ครับ
    ไม่ให้ห่างจากพุทโธ

    เพราะฉนั้นเมื่อบริกรรมพุทโธด้วยความมีสติ
    สติจะเป็นนายคุมงาน ไม่ให้จิตเถลไถล ไปงานอื่นครับ
    ให้อยู่แต่กับงานบริกรรมพุทโธครับ
    เมื่อจิตอยู่กับพุทโธได้อย่างต่อเนื่อง
    จิตจะสงบตัวลงได้ครับ...

    แล้วต่อมากับคำถามของคุณนะครับ
    ที่ว่าถ้าจิตมีสติอย่างสืบเนื่อง
    แล้วจะเห็นการปรุงแต่ได้อย่างไร

    วิธีการเป็นอย่างนี้
    เรื่องเดียวกับการผูกโค
    เปรียบจิตเป็นโคเหมือนกันครับ
    แต่หลักหรือเสาที่ใช้ผูกโค ไม่ใช่พุทโธ แล้วครับ
    แต่เป็นสังขารปรุงแต่งของจิตแทน
    และเชือกผูกโคก็คือสติเช่นเดิมครับ
    เชือกที่ผูกไว้ตลอดคือสติที่สืบเนื่อง

    เห็นมั้ยครับสติที่สืบเนื่อง
    จะรั้งจิต หรือ โคเอาไว้ไม่ให้เถลไถลไปในอารมณ์อื่น ๆ
    ที่มากระทบจิต
    โดยรั้งเอาไว้ให้จิตดูสังขารปรุงแต่งที่เกิดกับจิตอยู่ตลอด
    นี่ยังไงครับ จิต กับ สังขาร ต่างอันต่างเป็นตน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
    รู้ได้ด้วยความมีสติอย่างนี้ครับ
    สุดท้ายจิตไม่เถลไถลไปไหน
    จิตก็จะสงบตัวลงด้วยความมีสติครับ....
     
  18. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คิดเองเป็นตุเป็นตะเลยนะครับ
     
  19. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คุณเคยฟังผมบ้างมั้ย

    ผมอยากอธิบาย

    ให้ผมอธิบายบ้างได้มั้ย
    ไม่เข้าใจตรงไหนก็ควรถามสิ

    ผมจะอธิบายเรื่องปรมัตถธรรม
    ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ทราบ

    ไม่เป็นอนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง ไม่เป็นอนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  20. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านเตชพโล ผมอยากอธิบายแบบง่ายๆให้ท่านรับรู้ครับว่า ท่านเข้าใจเรื่อง
    จิตเจตสิกดีพอหรือยัง ท่านรู้หรือไม่ว่าเจตสิกหรืออารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นที่จิต
    สติ ก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่งที่เป็นกุศล ส่วนอารมณ์ต่างๆมีทั้งเจตสิกที่เป็นกุศล
    และอกุศล แต่ที่แน่ๆ เจตสิกที่เป็นกุศลและอกุศลไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้

    .......ที่ท่านบอกว่า ขณะที่มีสติสืบเนื่องมีอารมณ์มากระทบจิตย่อมรับอารมณ์
    อยู่แล้ว ถ้าสมมุติว่าอารมณ์ที่จิตไปรับมาเป็น เจตสิกฝ่าย อกุศล
    ท่านว่า ท่านยังมีสติสืบเนื่องอีกหรือไม่

    ฉะนั้นต้องกล่าวว่า ขณะที่จิตไปรับอารมณ์ใหม่สติจะดับไป แต่จิตที่มีคุณภาพ
    สติจะเกิดใหม่ทันที่หลังจากจิตไปรับรู้อารมณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้การดูจิตหรือ
    การทำวิปัสนาจะให้จิตมีสติสืบเนื่องเป็นสายน้ำไม่ได้ จิตต้องมีสติแบบหยด
    น้ำ

    ...ท่านเตชพโลครับกรุณาตั้งสติหน่อยครับ ถกกันให้เป็นเรื่องๆไป เรื่องสติยัง
    ไม่เคลียร์เลย เอาเรื่องจิตเกิดดับมาอีกแล้ว การตอบข้อซักถามท่านอย่าเอา
    ความจำจากตำราที่ท่านอ่านมาตอบ มันทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจไปกับท่านด้วย

    .....ที่บอกว่าอารมณ์เกิดดับจิตก็รู้ แล้วจิตไปรู้ขณะที่เกิดดับหรือหลังจากที่
    เกิดดับไปแล้วครับ ท่านต้องรู้ความหมายของคำว่า สติ
    ...สติหมายถึงการระลึกรู้
    ...อารมณ์คือสิ่งที่จิตไปรับรู้
    ดูสองความหมายบนแล้วน่าจะรู้นะครับว่า อะไรเกิดก่อนอะไรเกิดหลัง แต่ไม่
    ได้เกิดพร้อมกันแน่ๆ เมื่อเกิดพร้อมกันไม่ได้มันก็ต้องมีสิ่งหนึ่งเกิด สิ่งหนึ่งดับไปสลับกัน
    ........ที่นี้ท่านมาดูคุณสมบัติของจิตและเจตสิก เจตสิกเกิดได้โดยอาศัยจิต
    เกิดและดับไปพร้อมกับจิต แล้วท่านว่าจิตเกิดดับหรือเปล่าครับ


    ท่านครับความหมายของอารมณ์กับเจตสิกมันใกล้เคียงกันนะครับ อยากให้
    ท่านเข้าใจตามนี้ไม่งั้นจะทำให้ท่านสับสน

    สติก็เป็นอารมณ์หรือเจตสิกชนิดหนึ่ง การที่อารมณ์หรือเจตสิกชนิดใดชนิด
    หนึ่งดับไปก็เพราะ เกิดเจตสิกตัวใหม่มาแทนที่คือสติครับ อนึ่งถ้าจิตไปรับ
    อารมณ์ใหม่เข้ามาสติก็ดับไปครับ
    สติที่สืบเนื่องไม่ขาดสายที่ว่า คือการตื่นตัวของจิต
    ผิดครับ ที่ท่านว่ามันเป็นการทำให้จิตอยู่ในอารมณ์เดียว สิ่งนี้ทำให้จิตซึมอยู่
    ในอารมณ์นั้นๆเป็นเวลานาน
    ....การที่จะให้จิตตื่นตัวอย่างต่อเนื่อง จะต้องให้จิตรับอารมณ์อื่นๆสลับไปกับ
    สติครับ

    ....สิ่งที่ทำให้จิตไม่หลงไปในอารมณ์ คือการที่สติเกิดดับตามหลัง
    อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถระลึกรู้ชนิดต่างๆ
    ของอารมณ์ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...