ขอถามเรื่องการทรงอารมณ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tum032, 16 มีนาคม 2010.

  1. tum032

    tum032 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +181
    ตามหัวข้อเลยครับ พอดีไปอ่านหนังสือมาหลายเล่มซึ่ง สอนเรื่องการทรงอารมณ์ระหว่างวันครับ ว่าไม่ว่าจะนั่ง นอน เดิน ยืน ทำงาน หรือทำอะไรทุกอย่างให้มีสติรู้ตัวตลอด หรือ ให้ภาวนาไว้ตลอดวัน ผมอยากทราบว่า

    1. ประโยชน์ของการทรงอารมณ์มีอะไรบ้างครับ?
    2. การทรงอารมณ์ทำให้ผู้ทรงอารมณ์มีบุคคลิกภาพที่เปลี่ยนไปหรือไม่ครับ (จากที่ผมได้ปฏิบัติเอง เพื่อนๆรอบข้างจะบอกว่าเราเงียบๆ ไม่ค่อยพูด ลักษณะไม่ค่อยเหมือนเดิมน่ะครับ) อยากถามผู้ปฏิบัติหลายๆคนว่าเป็นอย่างไรบ้าง?
    3. อยากทราบว่าผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญกับ การทรงอารมณ์ระหว่างวันกันอย่างไรบ้าง มากน้อยระดับไหนครับ?

    ขอบคุณทุกคำตอบที่ชี้แนะนะครับ ผมมือใหม่ครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    1. ประโยชน์ของการทรงอารมณ์มีอะไรบ้างครับ?
    มากครับ...ยกตัวอย่างทำให้สติไม่หลงไปในเรื่องต่างๆรอบกาย..ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์....ทำให้มีความหนักแน่นทางอารมณ์มากขึ้น....เป็นคนเข้าใจโลกมากขึ้น....สติ สมาธิ ก้าวหน้า.....

    2. การทรงอารมณ์ทำให้ผู้ทรงอารมณ์มีบุคคลิกภาพที่เปลี่ยนไปหรือไม่ครับ (จากที่ผมได้ปฏิบัติเอง เพื่อนๆรอบข้างจะบอกว่าเราเงียบๆ ไม่ค่อยพูด ลักษณะไม่ค่อยเหมือนเดิมน่ะครับ) อยากถามผู้ปฏิบัติหลายๆคนว่าเป็นอย่างไรบ้าง?
    เปลื่ยนไปในทางที่ดีขึ้นครับ....แน่นอน....คุณสังเกตด้วยตัวคุณสิ....

    3. อยากทราบว่าผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญกับ การทรงอารมณ์ระหว่างวันกันอย่างไรบ้าง มากน้อยระดับไหนครับ?
    มากครับ.....อริยาบทย่อยนี่สำคัญมากนะครับ.....จะรู้เลยว่าเราทำได้ดีมากหรือพัฒนาขึ้นมากขนาดใหน....เพราะต้องใช้ในการกระทบโลก.....
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    สาธุ

    การทรงไว้ได้ตลอดวันจะทำให้เราสามารถตามอยู่กับความจริง เช่น ธาตุทั่งสี่ ความรู้สึก จิตที่ส่งไปในที่ต่างๆ และการเตือนตนไม่ให้หลงไปกับสภาวะที่ถูกปรุงแต่งตามอายตนะทั้งหก
    จิตไม่หวันไหวในโลกธรรมทั้งทางตรงทางอ้อม

    หากทำได้เช่นว่าจะมีแต่มหากุศลจิตเอื้อต่อการวิปัสสนามองเห็นเหตุแห่งทุกข์ และหลุดพ้นจากสมมติต่อไป
    แต่ถ้าจะให้เนียนไปกับทางโลก เราก็ดำรงกิจกรรมทั้งหลายตามปกติ
    แต่มุมมองต่อโลกและผู้คนเปลี่ยนไป คนเคยขับรถปาดหน้า ก็เฉย ๆ ปล่อยไป ใครว่าเรา ก็ไม่ตอบโต้ ให้อภัย
    พฤติกรรมต่างๆ อาจเปลี่ยนไปในทางดีที่เป็นกุศลมาแทน
    เช่นแทนที่จะพูดไม่ดีกลับเฉยๆ หรือพูดแต่สิ่งดีๆ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่มุสา รักษาศีลได้สะอาดขึ้นด้วย
     
  4. tum032

    tum032 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +181
    ผมหมายถึงว่า ตอนนี้ผมพยายามมีสติรู้น่ะครับ ว่าปัจจุบันทำอะไร พยายามไม่ส่งจิตออกนอก บางครั้งใช้คำภาวนา พุทโธ พร้อมกับตามลมหายใจเข้าหายใจออก ผมไม่แน่ใจว่าเรียกว่าการทรงอารมณ์หรือเปล่า พอดีเพิ่งหัดสวดมนต์นั่งสมาธิมาได้เดือนกว่าๆน่ะครับ แต่อ่านหนังสือ แล้วเค้าสอนให้ทรงอารมณ์ หลังจากนั่งสมาธิด้วย ซึ่งเป็นการเอื้อหรือ สนับสนุนให้การนั่งกรรมฐานพัฒนาไปได้ดีครับ ขอโทษด้วยนะครับถ้าใช้คำผิดครับ
     
  5. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    หาฐานที่ทำให้เกิดสติบ่อยๆครับ
    แล้วใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องระลึกรู้
    ซึ่งแล้วแต่ความถนัด
    ต้องลองค้นหาดู
    ทำแบบง่ายๆนะครับ ไม่ต้องบังคับ
    แค่ "รู้ซื่อๆ" ไปเรื่อยๆ
    แล้วก็มีศีลด้วยนะครับ โดยเฉพาะศีลห้าเป็นอย่างต่ำ
    ทำควบคู่กันไป เดี๋ยวมันจะหนุนกันเองเป็นพลวัฎ
    ศีลหนุนสติ สติหนุนศีล
    จากนั้นสมาธิก็จะเกิดง่ายขึ้น ก็จะหนุน สติ หนุนศีล เป็นวงเวียนไปเรื่อยๆ
    แล้วปัญญาจะตามมาครับ แล้วก็จะหนุนศีล หนุสมาธิ แล้วจะเป็นวงเวียนไปเรื่อยๆ
    แต่ปัญญานี้ไม่ใช่จากการคิดนะครับ เดี๋ยวจิตมันจะเกิดปัญญาเอง
    สรุปแล้วคือ
    ส่งเสริมให้เกิดสติบ่อยๆเป็นปกติโดยหาฐานเพื่อเป็นเครื่องระลึกรู้ เป็นเหตุ
    แล้วคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะเป็นผล ตามมาเอง

    นี่คือความเข้าใจของผมนะครับ
    เสนอเพื่อการพิจารณาต่อไป
     
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ปฎิบัติธรรมมีเหตุผล

    เรามีสมาธิเพื่อรู้ความเปลี่ยนแปลง เช่นก่อนโกรธ กำลังโกรธ หายโกรธ

    นั่งสมาธิไปทำไม เพื่อมีสติ มีสติทำไม จะได้ไม่หลงตามอารมณ์ทำชั่วไป

    ด้วยเหตุนี้จึงต้องให้ความสำคัญมาก ก็คือไม่ฟุ้งซ่านมีสติตรงหน้า
    เช่นเดินก็มีสติ มีความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการเดิน ไม่ใช่ไปคิดเรื่องอื่นแบบนี้
     
  7. tum032

    tum032 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +181
    คือผมเห็นว่าในหนังสือเค้าสอนว่าการทรงอารมณ์ทั้งวัน (ปล. ผมเข้าใจว่าการทรงอารมณ์คือการมีสติทั้งวัน โดยผมทำการภาวนาพุทโธ ควบคู่กับการดูลมหายใจทั้งวัน เมื่อผมระลึกได้) เป็นการทำให้เราพัฒนาเรื่องการทำสมาธิได้น่ะครับ ผมไม่ใช่แค่อยากรู้ตามหนังสือที่อ่านครับ ส่วนเรื่องอารมณ์ ผมไม่ได้มีอารมณ์อะไรอ่ะครับ แค่ระลึกรู้เฉยๆ

    ขอโทษนะครับถ้าผมเขียนไม่เข้าใจ ^ ^'
     
  8. tum032

    tum032 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +181
    ขอบคุณครับ สำหรับคำชี้แนะ
    ผมขอถามเพิ่มเติมอีกหน่อยนะครับ ว่าคำว่า ฐานของจิตนี่คือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (ไม่ส่งออกนอกร่างกาย) ใช่หรือไม่ครับ เช่น กลางอก หรือ ปลายจมูกใช่ไหม ?? แล้วเราต้องภาวนา ร่วมด้วยหรือไม่ครับ??
    วิธีการ ตั้งจิตที่ฐานนี้ทำให้เราพัฒนาการทำสมาธิของเราได้ใช่ไหมครับ ปล. ปกติผมพยายามถือศีล 5 อยู่แล้วครับ
     
  9. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ฐานนี่คือฐานของสติครับ
    ตามสติปัฏฐานครับ
    เช่นชอบลมหายใจ ก็ใช้ลมหายใจเป็นฐานให้จิตระลึกรู้เพื่อเกิดสติ
    หรือชอบดูกาย ก็เอากายเป็นฐาน เช่น อริยาบทต่างๆ
    พอกายขยับจิตระลึกรู้เกิดสติ ถ้าถนัดจะระลึกรู้ได้บ่อย เกิดสติบ่อย เป็นต้นครับ
    หรือเวทนา จิต ธรรม
    อันนี้แล้วแต่ความถนัดและความสามารถ
    อันนี้ผมแนะนำใจชีวิตประจำวัน
    ส่วนจะทำในรูปแบบนั่งภาวนาอะไรก็ทำตามปกติตามสะดวก
    แต่สำคัญต้องมีสตินะครับ
    ส่วนการภาวนากำกับหรือเสียงพากย์อะไรก็แล้วแต่นี่ก็แล้วแต่จิตนะครับ
    เราก็แค่รู้มันไป แต่โดยปกติสิ่งเหล่านี้จะหายไปเหลือแต่สภาพรู้เฉยๆในที่สุดครับ

    ตัวศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเกื้อหนุนกันและกันโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
    เราทำแค่เพียงใส่สติเข้าไปในวงจรเพื่อให้มันเกิดการทำงานเท่านั้นเอง
    โดยหาฐานเพื่อเป็นเครื่องระลึกรู้นี่แหละ นี่คือเหตุเดียวที่เราสามารถทำได้
    นอกนั้นมันเป็นอนัตตาครับ ไปโดยเหตุ บังคับไม่ได้
    ฝึกรู้สึกตัวบ่อยๆโดยมีฐานเพื่อให้เกิดการระลึกรู้เพื่อนำมาซึ่งสติ

    อาจจะงงนิดหน่อย นะครับ
    นี่คือความเข้าใจของผม
    นำเสนอเพื่อการพิจารณาครับ

    ถ้าอยากรู้กระบวนการที่อธิบายเป็นรูปธรรม
    ผมแนะนำหนังสือ "ดูจิตชั่วพริบตา" ของ อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิมครับ
    ท่านอธิบายไว้ดีครับ ตามแนวทางของพระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
    ไปลองยืนๆอ่านในร้านหนังสือดูก่อนก็ได้นะครับ ถูกใจค่อยซื้อ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2010
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    น้องเอ้ย ตรงสีแดงที่มาร์กให้ดู ตรงนั้น ขณะนั้น คือ ทรงอารมณ์เด้อ แต่
    มันได้สั้นๆ เสี้ยววินาที(จริงๆแล้วเป็น ขณะจิต)

    แต่โดยมาก เมื่อระลึกได้แล้ว จะตามด้วยการ จงใจประครองต่อ เกิดความพยายามต่อ
    ตรงนี้ต้องมาระลึกการปรุงแต่การปฏิบัติแทน ถ้าระลึกได้ว่ากำลังปรุงแต่งการปฏิบัติ ก็จะ
    ทรงอารมณ์ได้อีกหนึ่งขณะจิต

    เวลาจงใจประครอง จะพยายามต่อ มันจะบีบเค้นที่กลางอก ก็ให้รู้ไว้ว่า ทำผิด
    ไปแล้ว จงใจมากไป แต่อย่าไปเสียอกเสียใจ อย่าไปท้อ มันจะบีบอกอัดอก
    อย่างไรเราก็ระลึกรู้ไปตามนั้น เห็นเป็นวิบากไป แล้วเข้าใจการปฏิบัติไปเรื่อยๆ

    เมื่อไหร่ที่ทำถูกต้อง เราจะอาศัยระลึกอย่างเดียว ไม่มีวิ่งเข้ามาฉวย เข้ามา
    คว้า เข้ามาจ้อง โดยสังเกตว่า เราจะไม่ละจากกิจกรรมปรกติที่เราทำอยู่ใน
    ชีวิตประจำวันขณะนั้น มันจะเดินขนานไปกันทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน งาน
    ไม่เสีย พร้อมๆกับ การหันมาระลึก บางคนเรียกชำเลือง

    ไม่เสียทั้งงานทางโลก และ งานทางธรรม

    ทำได้แบบนี้ ขนานกันได้แบบนี้ เรียกว่า ทรงอารมณ์

    แต่ถ้า จิตมันวิ่งมางานทางธรรมอย่างเดียว แล้ว ลืมคน ลืมงาน งานที่คุย
    ที่ติดต่อ ชะงักหายไป แบบนั้นเรียกว่า เข้าไปทำสมถะ คือ มันเข้าไปแนบ
    อารมณ์ให้เป็นหนึ่งนั่นเอง

    ทีนี้เราก็ต้องดูให้เหมาะ หาก การคุยกันอยู่ การเดินเหินอยู่ การทำอะไรอยู่
    เป็นอะไรทีสบายๆ ไม่ซีเรียส ไม่ทำให้ตกงาน ตกน้ำ ตกท่า ตกทาง รถคว่ำ
    ขมำหงาย จะตกจากทรงอารมณ์ ไป ทำสมถะสมาธิ ก็ไม่ว่ากัน

    แต่ถ้าตอนนั้น เป็นงานสำคัญ มีธุระที่สำคัญ ก็ต้องออกไปทำงานทางโลก
    ให้เรียบร้อยก่อน ไม่งั้น เขาจะเรียกว่า ประกอบบุญแต่เบียดเบียนตัวเอง
    แทนที่จะเป็นกุศล จะผลิกไปเป็นอกุศลเสีย ดีไม่ดี เกิดระเบิด เพราะพอ
    เรารวมจิตเข้ามา แต่นายยังสั่งงานไม่เสร็จ เขาสะกิดเรียกเบาๆ ให้มาฟัง
    เราก็ระเบิดไปว่า "เฮ้ย กูทำสมาธิเข้ากรรมฐานอยู่ ไม่เห็นรึ" แบบนี้เขาก็จะ
    สงเคราะห์เราให้มีเวลาว่างไปวัด ไม่ต้องทำงาน เนียะ แบบนี้ไม่ดีเนาะ

    พินาให้ดีๆนะ ฟังให้ชัด อย่าตัดกระแสความ

    เราห้ามทำสมาธิ ห้ามทำอารมณ์เป็นหนึ่ง ในขณะที่ ยังต้องประกอบอาชีพ
    ยังต้องขับรถ ขับรา ฯลฯ

    เราห้ามเพ่งห้ามจ้อง ในขณะที่เราต้องการ วิปัสสนาทำปัญญาอบรมสมาธิ
    (เพราะเราไม่ได้ทำ สมาธิอบรมปัญญา จึงห้ามเพ่งจ้อง เพราะ คนละงานกันเด้อ)

    * * * *

    หมายเหตุ คำว่า ทรง อันนี้โดยทั่วไปพอได้ยินแล้ว จะคิดว่า ให้ประครองไม่ให้หล่น
    อะไรทำนองนั้น แต่เราต้องเอะใจเป็น เพราะเขาบอกให้ทำขณะที่ใช้ชีวิตประจำวัน
    ดังนั้น ความต่อเนื่องที่เรียกว่า ทรง จึงคล้ายการการทำได้ ประปราย เป็นขณะๆ
    แต่ ทำได้ทั้งวัน ยิ่งวันไหนใจแว็บมาระลึกได้บ่อยครั้ง ก็เรียกว่า เผลอสั้นลง
    แต่ถ้า วันหนึ่งระลึกดูลมหายใจได้แค่ครั้งสองครั้ง เรียก เผลอยาว ...เผลอที่
    สั้นลง ก็คือ ระลึกสติปัฏฐานได้มาก ทำได้มาก จึงอนุโลมเรียกว่า ทรงอารมณ์
    ตรงนี้จึสอดคล้องกับ เผลอแล้วรู้ เพราะตอนเราเผลอคือเราทำงาน ทำธุระอยู่
    พอว่างจากธุระ เราสามารถมาระลึกลมได้ไหม ทำได้ก็เรียกว่า ทรงอารมณ์ได้
    เจริญ ปัญญาอบรมสมาธิได้ ทำสติปัฏฐานได้

    ทำจนกระทั่ง ช่วงเผลอยาว มันแคบลง มันสั้นลง พื้นที่ของช่วงชีวิตที่จะไป
    เป็นอกุศลมันถูกบีบให้ดิ้นในช่วงแคบๆ พื้นที่กิเลสที่ดิ้นได้มันดิ้นในที่แคบๆ
    ดังนั้น เมื่อหันมาระลึกได้บ่อยๆ เราจะพบว่า กิเลสมันเต็มหัวเต็มหูเราไปหมด
    เมื่อ เห็นกิเลสได้เยอะแยะไปหมด มีในเรา(ธรรมภายใน) มีในคนอื่น(ธรรมภายนอก)
    ก็อย่าพึงเกลียด อย่าพึ่งตกใจ ให้เห็นไปห่างๆ แม้มันจะยกโขยงมาเป็นกองทัพ
    เราอย่าพึ่งออกไปสู้ ให้ภาวนาบีบวง คือ หมั่นระลึกให้ได้ถี่ๆ ที่ยิ่งแคบคราวนี้หัว
    หน้ากิเลสที่เรียกว่า อนุสัยหรือ อาสวะ หรือ อวิชชา ถึงจะแสดงตัว พอมันแสดง
    ตัวก็ทักมันให้อายไป (ถ้าเห็นจั๋งหนับก็อาจจะมีปหานะ ก็ว่ากันไป) -- เราล่วงทุกข์ด้วยปัญญา

    พอทำได้แบบนี้ คราวนี้เวลาไปทำสมาธิตามรูปแบบ ตามโคนป่า ตามเรือนว่าง
    เราจะไม่พ่ายแพ้อะไรง่ายๆ

    เมื่อไหร่ทรงอารมณ์แบบนี้ได้ไม่ขาดสาย ก็เรียกเสียใหม่ว่า สติวินโย
    ดังนั้น อย่าไปสับสนกันนะ ทรงตรงนี้ไม่ใช่ค้างๆคาๆ แต่หมายถึงเกิด
    สืบเนื่องเนืองๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2010
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เกร็ดธรรมะ : อานาปานสติ

    ทีนี้ หากน้อง ระลึกมาที่ลมหายใจได้บ่อยๆ ทรงอารมณ์แบบปัญญาอบรมสมาธิ
    ได้บ่อยๆ น้องมั่นใจไปเลยว่า ขณะที่จิตมาระลึกเห็น ลมหายใจนั้น เวลาเสี้ยวขณะ
    นั้น น้องได้สิ้นกิเลส อุกศล 1 ขณะจิต

    และในหนึ่งขณะจิตนั้น ถือว่า มีจิตไม่ว่างไปจากฌาณ

    ทั้งนี้เพราะ เป็นคุณวิเศษลักษณะของ อานาปานสติ ที่ลมหายใจนั้น เป็นสภาวะ
    สังขารธรรมที่มั่นใจได้ว่า ปราศจากความคิดอกุศล เป็นการฝึกจิตให้ปิดอบาย
    ได้หนึ่งขณะจิต ไม่ธรรมดานะ

    เมื่อทำได้บ่อยๆ ก็จะเข้า สัมมัปทาน คือ เพียรสร้างกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด นั่นเอง

    * * **

    อย่าลืมนะ ไม่ใช่เข้ามาแนบกับลมหายใจเพื่อให้เป็นหนึ่ง เราใช้ลมหายใจเป็นเพียงเครื่องระลึก
    เท่านั้น ระลึกแล้วปล่อยทันที ไม่สำคัญว่าได้ระลึกแล้ว ระลึกแล้วก็ไม่สำคัญว่าได้รู้อะไร ไม่
    ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งนั้น แต่รู้อยู่ว่า จิตได้อาศัยลมหายใจระลึก ....ทำได้มากๆ ก็มีสิทธิเรียก
    ว่า ทรงอารมณ์นิพพาน ได้อีกหนึ่งกรรมฐาน เหตุเพราะ ขณะจิตที่มาระลึกลมได้นั้น ตอนนั้น
    ว่างจากกิเลส สิ้นจากกิเลส 1 ขณะจิต แต่ต่อเนื่อง นั่นเอง [ เน้นนะ เฉพาะ อานาปานสติ เท่านั้น อันอื่น
    ไม่เกี่ยว ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2010
  12. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ฐานจิตก็ลมเข้ากระทบตรงไหนชัดก็ถือเป็นฐาน รู้ลมกระทบ

    ถ้าสมมติว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็นั่งสมาธิให้มากไว้ก่อน
    กำลังของฌานทรงอารมณ์เดียวจะยังอยู่
    แม้ออกจากฌานแล้ว เพื่อนรอบข้างเค้าถึงว่าคุณนิ่ง
    เหมือนคนหลับนั้นแหละผมก็เคยผ่านมา
    นั่งไปเรื่อยๆจะมีสภาวะถัดไปอีกด้วยยังไม่บอก

    ที่นี้เวลาผัสสะกระทบ-->โกรธ สติเห็นมันแบ่ง2ทาง
    จะกุศล ระงับความชั่วไว้ วิปัสสนาดูโกรธนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    หรืออกุศลตอบแทนให้สาแก่ใจ

    ถ้าไม่มีสติจะมีทางเดียวตอบโต้ไปแล้ว ด่าออกไปทั้งสวนสัตว์
    ปล่อยหมัดดาวเหนือไปแล้ว เป็นต้น
     
  13. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ปกติก็ควรมีสติ ให้มีสติเป็นปกติ แล้วจะมีศีลใช่ไหมครับ แต่จะมีศีลได้ก็ต้องอาศัยปัญญาแยกแยะใช่ไหมครับ พอมาที่สภาวะที่ไม่เป็นปกติคือ อาศัยสติ ปัญญา และศีล มาเป็นพื้นของความสงบเพื่อสร้างสมาธิ แล้วก็เอาสมาธิมาพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งสติในสมาธินี่จะต้องสมบูรณ์มากกว่าปกติจึงจะทำให้เกิดปัญญา ที่เป็นวิปัสสนาปัญญาใช่ไหมครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  14. tum032

    tum032 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +181
    ขอบคุณทุกคำตอบคร้าบ โมทนาในการให้ธรรมทานกับผมด้วยครับ สาธุ...
    ตอนนี้ถึงจะยังรู้สึกไม่ค่อยเข้าใจบ้างในบางประโยค (คนด้อยปัญญาก็เป็นแบบนี้ ^ ^) แต่ว่าจะพยายามนั่งสมาธิให้มากขึ้นครับ
     
  15. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    มาดูอีกมุมละกัน

    มุมที่จะพาชม ก็คือ เอโกธิภาวะ

    เอโกธิภาวะ นี่ จะเรียกว่า ทรงอารมณ์ก็ได้

    เดิมที(ความรู้ที่คุ้นชิน)เอโกธิภวะ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ทำสมาธิได้จนถึงอัปปนาสมาธิ แล้วถอยลง
    มา หลังจากที่ถอยลงมาแล้วนั้น จิตใจจะยังคงเด่นดวงอยู่ เกิด "ธรรมเอก" แล้ว
    ทีนี้ นักทำฌาณจะต้องอาศัยช่วงที่มีธรรมเอกนั้น มาเจริญสติปัฏฐาน เพื่อพัฒนาสติ
    ที่ถูกฝาถูกตัว เมื่อพิจารณากายในขณะที่เอโกธิภาวะยังปรากฏ จนกระทั่งคราวต่อ
    ไปพอถอยลงจากอัปปนาสมาธิ จิตเข้าสู่สภาวะเอโกธิภาวะ แล้ว จิตก็ไปพิจารณา
    กายานุสติปัฏฐานเลยโดยเราไม่ต้องน้อม แต่จิตมันทำเอง เมื่อนั้นจึงเรียกว่า เกิดวิตกวิจาร
    และเมื่อการพิจารณากายหายไป ก็จะเข้าสู่การละวิตกวิจารไปปิติสุข ก็จะเริ่มเห็น
    จิตเป็นกับเขาบ้าง ก็ต้องพิจารณาเห็นจิตมีปิติมีสุขไปเรื่อยๆ จนเห็นตัณหา พอ
    เห็นตัณหาก็เข้าสู่เวทนานุสติปัฏฐาน แล้วก็ย้อนมาเห็นจิตได้เต็มๆ(จิตตานุสติปัฏฐาน)
    หากถอนตัณหาได้ ตอนนี้ก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะสิ้นตัณหาได้จริงๆจังๆ เริ่มธรรมานสติปัฏฐาน
    ในแบบสัมมาสมาธิ ปิติ ปัสสัทธิ ก็ระงับไปเกิดสภาวะสมาธิที่มีสติพร้อม สดชื่นกว่าสมาธิ
    ที่ใช้ตอนแรกๆ(เพราะ ละสุข อันเป็นอามิส และเครื่องชักนำให้เขวไปศาสนาอื่น) ตอนที่ฝึก
    อบรมออกมาพิจารณากาย ก็จะหมุน กาย เวทนา จิต ธรรม ได้แบบเขา

    แต่...มันจะเป็นการทำตามรูปแบบ สภาวะเหล่านี้จะเกิดเฉพาะมีเวลาว่างไปนั่งตาม
    โคนไม้ ป่าเขา เรือนว่าง ...แล้วเวลาที่เหลือหละ เอาไปทิ้งทำไม?

    * * * * * *

    กลับมาดู คำเชิญชวนให้นักปฏิบัติ อย่าปล่อยเวลาส่วนใหญ่ให้เสียเปล่า ก็คือคำชัก
    ชวนของปรกติวิปัสสนาจารย์ทั้งหลาย หรือ ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า มีความเลิศทางปัญญา
    แนะนำ ก็จะบอกว่า เวลาใช้ชีวิตประจำวันนั้น ให้ฝึกฝนอบรมด้วย

    สิ่งที่วิปัสสนาจารย์จะชี้ให้ดู ก็คือ ลมหายใจที่มีอยู่ ไม่ใช่มันมีอยู่แต่การทำตามรูปแบบ
    เสียเมื่อไหร่ เมื่อเราเดิน เหิน ยืน เดิน นั่ง นอน พูดคุย ทำธุระกิจ การงาน อ่าน เขียน ลม
    หายใจนั้นมีอยู่ตลอดเวลา เราก็อาศัยความที่ โลก(หมายถึงตัวเราขณะนั้น)เกิดจาก
    กายนี้(หนาคืบ ยาวศอก) มีสัญญาหมาย และ วิญญาณครอง

    เราก็เอา การครองของวิญญาณที่มีต่อกายนั้น มายอกย้อน หนามยอกก็เอาหนามบ่ง โดย
    การหมั่นมาระลึกลมหายใจ ระหว่างวันไปด้วย แน่นอนหละ มันเป็นวิญญาณขันธ์(เพราะ
    การใช้ชีวิตระหว่างวันนั้น จะเป็นสภาวะที่เรามีอนุสัยใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร จึงชื่อ
    ว่ามี วิญญาณตราหน้า!) จึงเกิดดับไม่เที่ยง เราจึงทำได้เป็นขณะๆ เท่านั้น ไม่ใช่ทำตลอด
    แต่อย่าลืมว่า ไอ้การได้เห็นเป็นขณะๆ นั่นแหละของดี เรียกว่า เห็นเกิดดับๆของจิต(วิญญาณขันธ์)

    ทำไมจึงเรียกว่าของดี ก็เพราะว่า มันคือ มรณานุสติกัมฐาน โดยการโจมตีเข้าที่จิตโดย
    ตรง ไม่เหมือนการน้อมนึกรูปนิมิตแบบอสุภะ นวสี มรณะสัญญา คำว่าโจมตี ก็หมายถึง
    การตีเหล็กให้มันหลอมเข้าไปในจิต ในเนื้อเหล็ก ให้มรณะสติมันแนบติดเข้าไปในจิต
    เรียกตามบาลีให้สวยๆ คือ ให้สติสัมปยุตเข้ากับจิต จึงกล่าวว่านี่คือ ทางตรง เพราะ
    เป็นการตีมรณสัญญาเข้าไปในจิต ให้จิตระลึกได้ถึงมรณะสัญญาไว้เนืองๆ( มรณะสัญญา[สติ]
    นี้ต้องใช้มากในการระลึกได้ สลัดภพ ชาติออกไป -- เราจึงล่วงทุกข์ด้วยปัญญา )

    กลับมาดูว่า เมื่อเราภาวนาเจริญสติในชีวิตประจำวัน เห็นจิตเกิดดับตลอดเวลา มีมรณะ
    สัญญาสติแนบเข้าสู่จิต โดยการรู้กาย รู้ใจ ไปตามความเป็นจริง ลงเป็นปัจจุบัน เนืองๆ
    ฆารวาสจึงภาวนาวิธีนี้ได้เร็ว เพราะมุ่งรู้ทุกข์(เห็นกิเลส)

    เมื่อวิญญาณขันธ์(จิต) ปรากฏเป็นความเกิดดับ มันก็ยอกย้อนบ่ง "วิญญาณครอง" อัน
    เป็นสิ่งกลัดหนองออกได้ เมื่อบ่งวิญญาณขันธ์ได้ ก็จะไปเห็นอาการ "สัญญาหมาย"
    เมื่อเห็นครบสองตัว ก็เกิดการเห็น "กายเป็นคูหา"

    แล้วถ้ากระบวนการ "วิณณาณครอง" "สัญญาหมาย" "กายเป็นคูหา" ปรากฏ นั้นคืออะไร?

    ก็ เอโกธิภาวะ ไง ( สภาวะที่พระท่านหนึ่งบอกว่า มีคนภาวนาได้แบบนี้เป็นหมื่นๆ แล้ว
    ด้วยการหมั่นเจริญสติในชีวิตประจำวัน(ความรู้ที่ไม่คุ้นชิน) -- ความพูดไว้แต่ปลายปี 51 ป่าน
    นี้พวกท่านทำอะไรอยู่? )

    เราจึงภาวนา(เจริญ) การเข้าสู่ เอโกธิภาวะ ได้สองทาง คือ ไปทำอัปปนาสมาธิแล้ว
    ถอยออกมา กับ เจริญสติตามรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวันไปเลยตรงๆ

    แล้วการ ตามรู้กายรู้ใจ นี้ เป็น สติปัฏฐาน4 ย้ำว่า เป็น4นะ ไม่ใช่การดูจิตอย่างเดียว เพราะ
    คำพูดก็บอกแล้วว่ามี "การตามดูกาย" อยู่ด้วย(สังเกตกันหน่อย)

    เมื่อเกิดเอโกธิภาวะ คราวนี้ก็ว่าไปตามขบวนการ เกิด วิตกวิจาร มีมันเกิดขึ้นเอง โดยที่
    เราไม่ต้องน้อมไป แต่จิตที่ได้รับการอบรมไว้แล้วนำไปสู่ นำสุข(อย่างยิ่ง)มาให้

    เมื่อไหร่ที่จิตพิจาณาสิ่งใดๆไปเอง(พ้นเจตนา ,และไม่ใช่เราช่วยคิด) ภายใต้สภาวะ
    เกิดเอโกธิภาวะ(ทรงอารมณ์) ก็เรียกว่า เริ่มต้นทำ สมาธิแบบพุทธศาสนา ไม่ใช่
    สมาธิแบบชาวบ้าน(ศาสนา ลัทธิอื่นๆ)

    และจะเห็นว่า ไม่ใชสมาธิที่ต้องนั่งหลับตา เพราะเป็นคนละเรื่อง เป็นเรื่องที่ยิ่งกว่า
    และสามารถเดินการภาวนาได้ในภูมิจิตมนุษย์(พระพุทธองค์กล่าวอย่างนี้)นี่แหละ
    ไม่ใช่ในสภาวะ ฌาณ เพราะมันเหนือกว่านั้น เหนือกว่าการทำฌาณแบบฟ้ากับเหว
    (กล่าวคือ ฌาณคือเหวที่เรายกจิตเราให้สูงกว่าแล้วมาพิจาณาความเกิดขึ้นดับไป
    ขององค์ฌานเหล่านั้น )

    พิจารณาแยกแยะให้ดีนะ อาจจะยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ฟังผ่านๆหูไว้ เราไม่ทรงจำด้วย
    การจดจำคำนะ เราฝังผ่านๆ เพื่อใช้ระลึก(เอะใจ - โยนิโสมนสิการ ก็เรียก) ธรรมะ
    จึงต้องฟังบ่อยๆ สนทนาธรรมตามกาล อย่าขาดการสดับ เมื่อไหร่ขาดการสดับเมื่อ
    นั้นประมาท จะเป็นพระอนาคามีหากขาดการสดับ ก็เรียกว่า ประมาท เสมอเสมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2010
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มองอีกมุม

    ทรง = ตั้งมั่น = ฐาน = station = ชานชาลา

    อารมณ์ คือสิ่งที่ถูกรู้

    อาวุธที่ต้องมีเพื่อใช้รู้อารมณ์ได้แก่ สติ คือ ระลึกได้ = รู้ตัว

    เอามาประกอบเป็นร่างใหม่

    ทรงอารมณ์ = มีสติระลึกรู้อารมณ์อยู่ที่ฐาน (ชานชาลา=กายใจ)

    = สติปัฏฐานสี่

    (ไหลมาได้ไงเนี่ย...จบที่สติปัฏฐานสี่...ได้ด้วย...ถูกหรือป่าวก็ไม่รู้นะ ความคิดมันพาไหลไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2010
  17. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    [​IMG].....:cool:
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สติปัฏฐาน 4 แน่นอน
     
  19. tum032

    tum032 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +181
    ขอบพระคุณหลายๆครับ... เอาเป็นว่าผมจะเล่าเรื่องชีวิตประจำวันทั่วๆไปของผมว่าผมฝึกจิตหรืออบรมจิตอย่างไรบ้าง ยังไงผมรบกวนผู้รู้ ช่วยแนะนำอีกครับว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้ผมสามารถพัฒนาการนั่งกรรมฐานได้ครับ

    ทุกวันจันทร์-ศุกร์ผมต้องตื่นตั้งแต่ ตีห้าครึ่งเพื่ออาบน้ำแต่งตัวไปทำงาน ช่วงตื่นนี้ผมพยายามระลึกรู้ตัวเอง ตั้งแต่ล้างหน้าแปรงฟัน อาบน้ำ จนถึงนั่งรถไปทำงานครับ ระหว่างที่อยู่บนรถ (รถบริษัท) จนถึงที่ทำงาน ซึ่งกินเวลา 30 นาทีผมก็นั่งสมาธิแล้วก็แผ่เมตตาก่อนจะลงจากรถ ช่วงที่เข้าทำงานเป็นช่วงที่ผมต้องใช้สติไปในส่วนของงานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในเวลาทำงานผมก็มีสติระลึกในบางครั้ง แต่ไม่ได้ไปแนบอยู่กับมันนานครับ กลัวกระทบเรื่องงานครับ มาสติเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะเวลาที่เราร่าเริงมาก พูดอะไรไม่ค่อยได้กลั่นกรอง (ส่วนมากจะเป็นช่วงพูดเล่นกับเพื่อน) จิตมันก็จะบอกว่าให้หยุดคิดนิดนึง....
    พอช่วงนั่งรถกลับบ้านตอน 5 โมงเย็นผมก็จะหาหนังสือธรรมะมาอ่านเพิ่มความรู้บ้าง ถึงบ้านแล้ว หลังจากกินข้าวเย็น อาบน้ำเสร็จ ผมก็สวดมนต์นั่งสมาธิก่อนนอนครับ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง (รวมสวดมนต์ด้วยนะครับ)

    ปล.การใช้ชีวิตประจำวันผมมีสติระลึกได้เป็นช่วงๆครับ แต่เรื่องการทำสมาธินี่ก็ยังไม่ไปถึงไหนครับ ดีสุดก็อยู่ที่นิ่งระดับนึงครับ แต่ก็ยังมีวอกแวกบ้าง

    ช่วยแนะนำหน่อยครับ
     
  20. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ปล.การใช้ชีวิตประจำวันผมมีสติระลึกได้เป็นช่วงๆครับ แต่เรื่องการทำสมาธินี่ก็ยังไม่ไปถึง
    ไหนครับ ดีสุดก็อยู่ที่นิ่งระดับนึงครับ แต่ก็ยังมีวอกแวกบ้าง [ สัมมาทิฏฐิ ]

    ช่วงที่เข้าทำงานเป็นช่วงที่ผมต้องใช้สติไปในส่วนของงานเป็นส่วนใหญ่ + ถึงบ้านแล้ว
    หลังจากกินข้าวเย็น อาบน้ำเสร็จ ผมก็สวดมนต์นั่งสมาธิก่อนนอนครับ [ สัมมาสังกัปปะ ]

    เวลาที่เราร่าเริงมาก พูดอะไรไม่ค่อยได้กลั่นกรอง [ สัมมัปธาน , หิริ โอตัปปะ , สัมมาวาจา ]

    สติมาเป็นช่วงๆ [ สัมมากัมมันตะ ]

    กลัวกระทบเรื่องงานครับ [ สัมมาอาชีวะ ]

    จิตมันก็จะบอกว่าให้หยุดคิดนิดนึง [ สัมมาสติ ]

    สติมาเป็นช่วงๆ + จิตมันก็จะบอกว่าให้หยุดคิดนิดนึง [ สัมมาสมาธิ ]
    ( สังเกตว่า จะมี สติทำหน้าที่อารักขาจิต จิตที่ตั้งมั่นประกอบด้วยศีล จะให้ปัญญาในการ
    แสดงกริยาให้มีประโยชน์ต่อ โลก โดยไม่เกิด กรรมที่ไม่ดีย้อนมาสู่ตน ตัดภพชาติ )


    ทีนี้ คุณตอบได้ไหมว่า การเจริญมรรค8 ปรากฏในขณะที่คุณ นั่งจมจ่อม
    หรือว่า ในเวลาไหนกันแน่

    ระหว่าง นั่งจมจ่อม กับ เวลาในชีวิตปรกติ อันไหนเรียกว่า ภูมิจิตมนุษย์

    หากพิจารณาได้แล้ว ลองพิจารณาพุทธพจน์ที่กล่าวว่า "ภูมิจิตมนุษย์เหมาะ
    แก่การภาวนามากที่สุด" ดูอีกครั้ง

    ถ้าเข้าใจ ภูมิจิตมนุษย์ ถ่องแท้เมื่อไหร่ การทำสมาธิตามรูปแบบจะเปลี่ยน
    ไปชนิด ฟ้ากับเหว นะ ถึงตอนนั้นอย่าตกใจ เพราะมันใช่!!?

    * * * *

    อื่นๆ

    ช่วงตื่นนี้ผมพยายามระลึกรู้ตัวเอง [ อิทธิบาท4 , เริ่มใหม่ทุกวัน ]

    แผ่เมตตาก่อนจะลงจากรถ [ ความไม่ประมาทในธรรม ]

    ระหว่างที่อยู่บนรถ (รถบริษัท) จนถึงที่ทำงาน ซึ่งกินเวลา 30 นาทีผมก็นั่งสมาธิ [ ฉลาดในสมาธิ, ฉลาดในการหาที่สัปปายะแก่ตน ]

    * * * * *

    สังเกตุว่า จะยังไม่มี โพชฌงค์7 แต่วันไหน ตอนอาบน้ำ ล้างหน้า แปลงฟัน หรือ ตอนตื่นนอนใหม่ๆ
    แล้วเกิด กายเบาจิตเบา กายปรากฏเห็นเป็นวัตถุธาตุ วันนั้นค่อยมาถามใหม่นะ อย่ารีบร้อนสำคัญมั่น
    หมายอะไรไปหละ เข้ามาถามเพื่อนๆ กัลยาณมิตรก่อน ...หรือ ศึกษาให้เข้าใจก่อนก็ได้(ทิฏฐิชุกรรม)
    เพราะว่า ที่สุดของกลัยณมิตร จริงๆแล้ว พระพุทธองค์หมายถึง มรรค8 หรือ อธิจิตสิกขา ซึ่งจะเป็นเรื่อง
    เฉพาะภายในตน ไม่ได้หมายถึงบุคคลภายนอกเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...