พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 28 มกราคม 2010.

  1. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    เห็นชัดคับ
    ว่าภูมิจิต
    ภูมิความรู้
    ภูมิธรรม
    อยู่ระดับไหน
    กันบ้าง
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตกลง เมาสะเปะซะปะ ไปเรื่อยเนาะ

    ประเด็นที่ว่า

    1. รู้ไหมว่าเป็นนิโรธนสมาบัติ ผมก็ตอบว่า ของมันง่ายๆ พระสูตรที่ยกมา
    มันมีอรรถกถาแนบท้ายอยู่แล้วว่า เป็น นิโรธนสมาบัติ แต่จำเป็นต้องเอามา
    พุดไหมว่าเป็นนิโรธนสมาบัติ ก็บอกว่าไม่จำเป็น เพราะสิ่งเหล่านั้นมันเกิด
    ตามขั้นตอนและฐานะ ประเด็นมันอยู่ที่ขั้นตอนการปฏิบัติก่อนหน้า ผมเลย
    ยก พุทธพจน์ที่เป็นส่วนต้นเรื่องที่สอนพระสารีบุตรให้ทำสมาธิมาแสดง

    ซึ่งเมื่อเห็นพุทธพจน์แล้ว ย่อมเป็นคำสอนของกลาง คือ ทำได้ทุกคน ไม่ใช่
    ธรรมะที่จะต้องกีดกั้น ซึ่งก็น่าจะเข้าใจ คุณเค้งนี่ก็ยอมรับอยู่นี่ว่าใช่ แต่ก็ยังวก
    กลับมาเรื่อง รู้หรือไม่ว่าเป็นนิโรธนสมาบัติ

    ผมก็เลยว่า อ้าวนี่คุณหมกมุ่นวกไปวนมาแล้ว เขาเรียกว่าได้ความเข้าใจไปแล้วก็
    หันมาแว้งกัดเรื่องไม่เป็นเรื่องอยู่อีก แทนที่จะแทงตลอดไปก็เห็น เราก็เออ สงสัย
    ว่ายังติดอีกบางส่วน ก็เลยให้คำว่า พุทธจริต โพธิจิต ไปเพื่อจะระลึกได้

    2. เรื่องพุทธจริต โพธิจิต ตรงนั้นให้ไป เพราะเมื่อพิจารณาไปลึกๆแล้ว
    สมาธิที่พระพุทธองค์สอนนั้นมันค่อนไปทาง "การทรงอารมณ์นิพพาน"
    ที่นี้ คนในนี้ คนของหลวงพ่อฤาษีนี่ เขารู้กันแต่ไก่โห่แล้วว่า การทรงอารมณ์
    นิพพานนั้นใครๆ ก็ทำได้ แต่ผมก็หยอดเพิ่มว่า ต้องดูคำไขคือ พุทธจริต
    (ในพุทธพจน์ปรากฏเป็นคำว่า ปัญญาอันยิ่ง )

    ในบทที่เพื่อนคุณยกมา ก็มีการใช้คำว่า พุทธิจริต

    และนอกเหนือกว่านั้น ก็ระบุชัดว่า ใช้ทำก่อนที่จะเข้าโสดาบันได้ ก็แปลว่า
    ต่อให้เป็นอารมร์นิพพาน คนบางจำพวกเขาสามารถเจริญได้ ไม่มีมั่วหรือผิด

    ดังนั้น การที่ใครกล่าวว่า ต้องเป็นอริยะก่อนถึงจะทำได้ ก็ตกไป

    แต่จะตกไปหรือไม่ ก็เน้นอีกว่า ต้องมีคำไขนะ คือ พุทธจริต โพธิจิต (จริงๆ
    ในพระสูตรยังมีคนอีกจำพวกด้วยซ้ำ แต่ไม่เป็นประโยชน์ที่จะกล่าวถึง)

    นี่ให้คำอธิบายชัดเจนแล้วนะ ยังคิดว่า

    - ผมยกอะไรมาแบบไม่รู้อีกหรือเปล่า ยกอะไรมาแบบไม่คำนึงถึงอะไรเป็น
    ประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์อีกหรือเปล่า

    - ผมยกเรื่อง พุทธจริต โพธิจิต ให้นี่ ก็เพราะเห็นว่าคุณชำนาญ น่าจะได้สติ
    ระลึกได้ พอไปๆมาๆ มันเอาแต่วกมากัด ไม่ได้สนใจธรรมะ ก็ชี้แจงแบบธรรมะ
    ให้ครบไปเลย ว่า ตกลงเรื่อง พุทธจริต โพธิจิต ที่คุณรู้แบบมั่วๆหนะ มันกระจ่าง
    ขึ้นไหม อะไรคือฐานะ อะไรไม่ใช่ฐานะ

    แล้วอย่าทะลึ่งคิดว่า ผมยกตัวอย่างการทำสมาธิของพระสารีบุตรมา ให้คนธรรมดา
    ฝึกไม่ได้อีกหละ คายคำว่า นิโรธนสมาบัติ ที่หมกมุ่นออกดู แล้วถึงจะรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ มันจบแล้วครับที่เรื่องว่าเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์และในความเป็นจริงว่าเป็นได้หรือเป็นไปไม่ได้ครับ เรื่องโพธิจริตของคุณนั้นมันก็คงหาอ่านเอาได้อย่างที่คุณบอกแหละครับ(ถ้ามี) และส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ว่าด้วยโดดงับก็จบไปเพราะมันสรุปแล้ว ขอบคุณครับที่พยายามจะทำให้ผมและใครๆเข้าใจในสมาธิ ที่กระเซอะกระเซิง การทรงอารมณ์นิพพาน ก็เรื่องหนึ่งผมไม่รู้เรื่องหรอกครับ ขนาดเรื่องพุทธภูมิก็พึ่งรู้ที่เวปนี้นี่แหละครับ คุณจะมองว่าผมรู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้ในธรรม แต่เจตนาที่เป็นกุศลก็อยู่ในจิตคุณ เรื่องจะสอนอะไรใครมันเป็นเรื่องของคุณและจะเอามาเสริมหรือเอามาค้านมันก็เรื่องของคุณครับ ยังไงผมก็ดูเฉยๆ เลยทักไปตามที่ผมรู้เท่านั้น ไอ้เรื่องรู้มากรู้น้อยผมไม่รู้ด้วยครับ เพราะรู้แต่ว่า หากอกุศลในจิตกิเลสไม่ลดลงเลย จะเอาธรรมมาหมด๘๔๐๐๐ก็คงไม่เห็นประโยชน์อะไร ผมไม่ได้เดาว่าสมาธิในพระสูตรนั้นยากจริงๆแต่ไม่ได้หมายความว่าปุถุชนทำไม่ได้ครับ ผมจึงทักไปเท่านั้นเพราะไม่น่าจะทำได้ถ้าไม่มีพื้นฐานที่เหมาะสม ครับ ก็หวังว่าเป็นโพธิสัตว์ใช่ไหมครับ
    ไม่ใช่คนให้อาหารสัตว์นะครับ สาธุ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ้า ไม่เป็นไรๆ งั้นผมให้เลือกนะ

    [__] 1. ท่านประธานที่เคารพ อ้ายกะผม ขอถอนคำว่า "ให้อาหารสัตว์คับ!"

    [__] 2. เอ้าไม่กินเหรอ ว่าแล้วคนให้ก็ยกไม้จิ้มลูกชิ้นมางับกินเอง กร่วมๆ อร่อย
     
  5. CottonFields

    CottonFields เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +149
    ;aa21 พิจารณา มหาพิจารณา
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อ้าว ดูจิตเป็นแล้วนี่

    แต่มันไม่ทันปัจจุบัน ก็เลยเห็นย้อนหลัง

    คราวหน้า เวลาไปเว็บไหนๆ ก็ไปดูอาการนี้แหละ แต่อย่าไปโกรธที่เห็น
    อย่าพึ่งฝุ้งไปทำอย่างอื่น และ อย่าไปเพ่งโทษมัน ( ไม่เผลอ ไม่เพ่ง )

    ฝึกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหน้า พออ่านธรรมะอะไร ด้วยใจตั้งมั่น เป็น
    กลาง รู้ลงในกายในใจ เป็นปัจจุบัน(หลวงตามหาบัว) พออาการพาล
    มันไหวๆในอก ยังไม่ทันรู้ว่าเป็นการพาล มันจะขาดกระเด็นไปเลย

    เห็นมันขาดแล้ว ก็อย่าพึ่งดีใจ ตะลึงใจ ต้องรักษาความเป็นกลางไว้เสมอ
    ให้อยู่ในฐานจิตไว้เสมอ

    โทษะก็แทรกไม่ได้ เวทนาใจก็แทรกไม่ได้ พยาคติแทรกไม่ได้ ฉันทะราคะ
    แทรกไม่ได้ มันก็เห็น สิ่งที่คุณถามถึงเองแหละ ทำบ่อยๆ สติไว ก็จดจำ
    เอามาดูได้ ก็เรียกว่า ทรงอารมณ์นิพพานไปเลย จะเป็นปริเฉทไหน หากอดรน
    ทนไม่ไหวก็รองเทียบตำราผ่านๆ ดู

    คุณเกิด ก็มีแววนะ เพราะเป็นคน ฉลาด เฉลียวก็เด่น คนแย่ๆอย่างผม คุณ
    ยังอุตสาห์หาช่องเอาประโยชน์จากผมได้อีก โทษะก็กล้า ทิฏฐิก็กล้า ก็น่า
    ลองฝึกดูเล่นๆ

    อย่างน้อย ก็ช่วยให้อ่านธรรมะของคนอื่นๆ ได้โดยแขกที่จรมา "พาล"
    มันไม่พาคุณไปกินเสียก่อน

    ว่างจากอ่านกระทู้ ก็ไปทำตามรูปแบบที่ถนัดเนาะ

    เรียกว่า บริหารงานเป็น บริหารความเสี่ยง คนเขาทะเลาะกัน เราก็ไม่ต้อง
    ไปสนใจ อะไรที่เห็นว่าน่าจะดี เราก็เอามาแทงกั๊ก ทำมันควบๆไป ดูเล่นๆ

    สมมติว่าเป็นคนหละแนว คนหละลัทธิ ก็ลองนึกถึงคำ อ.วรภัทร

    ใครว่าผมเปลี่ยน ผมเพิ่ม !! [ ของเก่าไม่เสีย ไม่ทิ้งสักหน่อย กลัวอะไร ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ฟังเพลงผมดู แต่ไม่มีเสียงดนตรีนะคร๊าบบบ


    1...มีขันธ์ 5 จึงมีจิตใช่ไหมครับ(จิตมาจากที่ใด)

    มีขันธ์ 5 จึงมีจิตครับ

    แม้มี ขันธ์ เดียวก็จึงมีจิต

    จิต มาจากเหตุปัจจัย

    2...ถ้าไม่มีขันธ์5...จะมีจิตไหม มีพระสูตรใดยืนยันหรือไม่ ขอรับ ท่านผู้กระหายธรรมทุกท่าน

    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ

    เย ธัมมา เหตุปปะภะวา
    เตสัง เหตุง ตถาคะโต
    เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ
    เอวัง วาที มหาสมโณ.... ถ้าจะให้ดูแบบว่าเพิ่มความกระตือรือร้นด้วยตัวเอง ต้องเพียรครับ หาเองด้วย



    3...มีขันธ์5 จึงเกิดอายตนะ....อายตนะ(วิญญาณ6)นี่คือ จิตหรือปล่วครับ ขอสั้นๆครับปวดตับจริงๆครับ สาธุครับ


    สั้นๆ นะครับ

    ใบไม้ ย่อมไม่เรียกว่าต้นไม้ แต่ใบไม้ ประชุมรวมกับกิ่งก้านลำต้น ประกอบกัน จึงเรียกว่า ต้นไม้
     
  8. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สาริปุตตสูตร<O:p</O:p
    [๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่<O:p</O:p
    ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว<O:p</O:p
    นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า<O:p</O:p
    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... <O:p</O:p
    ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์<O:p</O:p
    ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ <O:p</O:p
    ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ ฯ<O:p</O:p
    อา. ดูกรท่านสารีบุตร<O:p</O:p
    ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ <O:p</O:p
    ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ<O:p</O:p
    สา. ดูกรท่านอานนท์<O:p</O:p
    สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนคร สาวัตถีนี้แหละ ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ<O:p</O:p
    โดยประการที่ผมมิได้มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์เลย<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์<O:p</O:p
    มิได้มีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์<O:p</O:p
    ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ<O:p</O:p
    อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ<O:p</O:p
    สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ<O:p</O:p
    สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน<O:p</O:p
    ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป ดูกรท่านผู้มีอายุ<O:p</O:p
    เมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เปลวอย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด<O:p</O:p
    ดูกรท่านผู้มีอายุสัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้<O:p</O:p
    สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ<O:p</O:p
    ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มีสัญญาว่า การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ<O:p</O:p
    จบสูตรที่ ๗<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ..<O:p</O:p

    พระสูตรนี้น่าสนใจทีเดียว<O:p</O:p
    ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ<O:p</O:p


    สังเกตคำว่า .. มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์..<O:p</O:p
    .. ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ ..<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ดูเหมือนพระสูตรนี้ จะกล่าวถึงการมีสัญญา ที่มีผลต่อการได้เห็นสมาธิ(สูง)ถึงปานนั้นได้ แต่ก็ไม่ได้ยึดมั่นไว้ การดับไปของสัญญาหนึ่ง เพราะคลายอุปาทานในอารมณ์เดิมคือไม่พึงยึดอารมณ์เดิมไว้ (สันนิษฐานเอานะ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลังจากการละสัญญาในอารมณ์ที่ผ่านไปต่างๆ ซึ่งเป็นผลต่อสมาธิขั้นสูงจึงได้เห็นถึงปานนั้น ย่อมเข้าถึงนิพพาน แต่ผมก็เป็นผู้มีสัญญา คือ ผมได้มีสัญญาว่า การดับภพเป็นนิพพานดังนี้ ความสำคัญน่าจะอยู่ที่ ถิรสัญญา คือสัญญาของโลกุตตรภูมิบังเกิดขึ้นกับพระอริยะทั้งหลาย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ส่วนตอนจบนี้ ขอไปขบคิดสักหน่อย สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้<O:p</O:p
    สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล<O:p</O:p
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O<v /><O<v:shape id=_x0000_i1031 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><?xml:namespace prefix = v /><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata></O<v:shape><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata><O< font><v:shape id=_x0000_i1033 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata></v:shape></O< font><v:shape id=_x0000_i1034 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata></v:shape><O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คุณเก่งตั้งสติดีๆ การวิเคราะห์ของคุณ เราชอบนะ <O<v:shape id=_x0000_i1035 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata></O<v:shape><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata><O:p</O:p
    แต่ดูจะเผลอสติไปเสียมากกับสิ่งอันเป็นอารมณ์รอบข้าง ?<O<v:shape id=_x0000_i1037 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata></O<v:shape><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif"></v:imagedata><O:p</O:p
    แต่เดี๋ยวก็จะชินเรื่องการโต้กันในบอร์ด สัญญาเก่าเมื่อนำมาวิเคราะห์มันก็จะนำมาซึ่งการคิดว่าจะวางตัวอย่างไรต่อไป แรกๆ ก็แบบนี้แหละ แต่เดี๋ยวก็ชินเอง ต่อไปมันก็จะไม่วุ่นกับคนแต่จะมาวุ่นกับสิ่งที่เราอยากรู้และค้นหาสิ่งที่อยากรู้แทน คุณนิวรณ์เป็นผู้ร่วมเสวนาที่น่าสนใจ เพราะเขาเป็นนักคิด มีความคิดน่าสนใจหลายเรื่อง และชอบหาแบบทดสอบมาให้ บางเหตุผลของเขาน่าสนใจมาก และทำให้เรามีความเข้าใจมากขึ้น และบางกรณีถ้าเราให้เหตุผลที่ดีกลับไป เขาก็เข้าใจได้ง่าย นับว่าเป็นผู้น่าเสวนาที่มอบประโยชน์ต่อกัน .. <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มาทีไร กระทู้ก็ไปเร็วทีเดียว <O:p</O:p
    แต่น่าจะคุยกันในเรื่องของหัวข้อกระทู้มากกว่า<O:p</O:p
    <O:p

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010
  9. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เกิดเป็นคน [​IMG]
    ท่านผู้มีอายุ และท่านผู้กระหายธรรมทุกท่าน ...
    กระผมไม่มีความรู้เรื่อง"จิต"..ตามที่ท่าน ธรรมภูต..ตั้งกระทู้ กระผมใคร่ รู้...ยิ่งอ่านท่านถกธรรมกันมากเข้า นานเข้า กระผมก็ยิ่ง ไม่รู้...ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จึงขอถามต่อยอดแบบคนไม่รู้ว่า
    1...มีขันธ์ 5 จึงมีจิตใช่ไหมครับ(จิตมาจากที่ใด)
    2...ถ้าไม่มีขันธ์5...จะมีจิตไหม มีพระสูตรใดยืนยันหรือไม่ ขอรับ ท่านผู้กระหายธรรมทุกท่าน
    3...มีขันธ์5 จึงเกิดอายตนะ....อายตนะ(วิญญาณ6)นี่คือ จิตหรือปล่วครับ ขอสั้นๆครับปวดตับจริงๆครับ สาธุครับ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ก็เห็นว่าที่นี่เขาตอบได้ดีอยู่แล้วค่ะ ตามที่คุณนิวรณ์มาแปะไว้

    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y8844168.html

    แต่จะลองตอบดังนี้ ซึ่งก็คงไม่ต่างไปจากเดิม

    1. ขันธ์ห้า คือ รูปขันธ์1 เป็นรูป และนามขันธ์4 เป็นจิต (คือวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร) เพราะมีจิตจึงสร้างรูปขันธ์ในสังสารวัฏฏ์ไม่สิ้นสุด จิตนั้นมีมายาวนาน สร้างจักรวาล สร้างโลกต่างๆ มากมาย (อยากทราบที่มาสงสัยต้องเป็นพระสัพพัญญู) ดังคำพระโพธิสัตต์ตรัสไว้ว่า สรรพสิ่งเกิดขึ้นเพราะจิต เป็นไปเพราะจิต ดับลงเพราะจิต

    2 มีรูปขันธ์หลายอย่างที่ไม่มีจิตครอง เช่น ตู้ โต๊ะ ก้อนหิน ฯลฯ

    3. เพราะขันธ์สี่สร้างวิบากแห่งรูปขันธ์ จึงมีอาตยนะของรูป ( ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ) ส่วนวิญญาณ 6 เป็นตัวรับรู้ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรูรส การสัมผัส ความรู้สึกทางใจ แต่จะปรุงแต่งอย่างไรจะเกิดจากจิตและเจตสิกอีกที (คือเรียกรวมๆ ว่าจิต)

    ({)
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การปฏิบัติธรรมนั้น ต้องเรียนรู้ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเกิด และฝ่ายดับ
    เช่นสัญญาที่มีพระสูตรกล่าวไว้นั้น
    สัญญาในอันที่จะปล่อยวางเกิดขึ้น สัญญาในอันที่จะยึดก็ดับไป

    ฝ่ายเกิด คือสัญญาในอันที่จะยึดท่าเดียว
    ฝ่ายดับ คือสัญญาในอันที่จะปล่อยวางอุปกิเลส

    ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต
    แม้อุปาทานขันธ์๕ ก็ล้วนเกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต
    มีจิต จึงมีขันธ์๕ เป็นเครื่องมือในการใช้สอยเพื่อสนองตอบต่ออารมณ์ผ่านทางอายตนะ

    มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
    "ความเวียนว่ายของเราเข้าไปสู่ภพน้อยใหญ่อันยาวนานนับไม่ถ้วนนั้น
    เพราะไม่รู้จักอริยสัจจ์๔ตามความเป็นจริงดังนี้"
    ชัดเจนนะว่าอะไรของพระพุทธองค์ที่ท่านทรงเวียนว่ายเข้าไปสู่ภพน้อยใหญ่อันยาวนานนับไปถ้วน?
    อย่าบอกนะว่ารูปร่างกาย(ขันธ์๕) ของพระพุทธองค์ที่เวียนว่ายเข้าไปสู่ภพน้อยใหญ่นั้น
    เมื่อเวียนว่ายเข้าไปสู่แต่ละภพนั้น
    จิตของพระองค์จึงเข้าไปยึดถือครองเอาอุปาทานขันธ์๕ในแต่ละภพเหล่านั้นมาเป็นตนใช่มั้ย?

    ;aa24
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    (๒๒๖)
    ถ. มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
    จงกล่าวกะภิกษุเขมกะอย่างนี้ว่า อาวุโส พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า

    ดูกรอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว คือ
    รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทาน
    ขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.ได้ทราบว่า
    ถ้าท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่า เป็นตน หรือว่ามีในตน(จิต)
    ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ.

    ท่านพระทาสกะรับคำภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว เข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า
    ดูกรท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว คือ
    รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทาน
    ขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์. ได้ทราบว่า
    ถ้าท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่า เป็นตน หรือว่ามีในตน
    ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ.

    ข. ดูกรอาวุโส อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว คือ
    รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทาน
    ขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.
    ผมไม่ได้พิจารณาเห็นสิ่งอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ว่า
    เป็นตน หรือว่ามีในตน และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
    แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่ได้พิจารณาเห็นว่า นี้เป็นเรา.
    ^
    ^
    ท่านพระอาจารย์เขมกะ ที่กล่าวอยู่ขณะนั้น ท่านเป็นเพียงพระอานาคามีเท่านั้นเอง
    เพราะยังมีมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕

    .....................................................
    (๒๒๘)
    เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่
    แม้ท่านยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้ แต่
    มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ก็ถึงการเพิกถอนได้.

    ...................................................
    (๒๓๐)
    ท่านพระเขมกะได้กล่าวคำนี้แล้ว. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระเขกะ.
    ก็เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวคำไวยากรณภาษิตอยู่
    จิตของภิกษุผู้เถระประมาณ ๖๐ รูป และของท่านพระเขมกะ
    พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.

    .......................
    ^
    ^
    สรุปว่าการที่จิตไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์๕ อันมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่มั้ย?
    จิตจึงพ้นจากอาสวะเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ใช่มั้ย
    ฉะนั้นจิตจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์แน่นอนนะ เพราะนามขันธ์๔ที่ปรากฏนั้นเป็นเพียงอาการของจิต
    ไม่มีที่ไหนหรอก ที่เอาขันธ์๑มาปล่อยวางขันธ์๔
    ในพระสูตรทั้งหลาย มีแต่จิตปล่อยวางอุปาทานขันธ์๕
    ไม่มีปรากฏที่ไหนเลยในพระสูตรที่กล่าวว่า วิญญาณปล่อยวางขันธ์๔


    อ่านทั้งหมดได้ที่นี่

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010
  12. wintakarukae

    wintakarukae Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +31
    .......
    :d
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเกิดฯครับ เป็นแบบนี้มานานๆๆมากแล้ว
    ที่ฝ่ายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เห็นต่างไปจากตำราที่เกิดขึ้นในภายหลัง
    ฝ่ายที่ศึกษาตำรา โดยไม่ได้ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง
    จะเชื่อไปตามความคิดที่ตกผลึกว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะไม่เคยเข้าถึงสภาวะจิตที่แท้จริง

    ใครที่เคยปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา จนทั่งจิตรวมใหญ่แล้ว
    ล้วนเห็นตามความเป็นจริงว่า จิตไม่ใช่วิญญาณ และวิญญาณก็ไม่ใช่จิต
    เพราะจิตแยกออกกายและอาการของจิตอย่างสิ้นเชิง เห็นทาง(มรรค)

    คุณต้องทำความเข้าใจคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติดีปฏิบัติชอบดูสิครับ
    ไม่เคยมีท่านไหนที่สอนว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์เลยนะ

    ;aa24
     
  14. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    คุณเกิดฯ ทำไมคุณไม่ปฏิบัติไปให้ถึงที่สุดล่ะ
    หรือศึกษาให้มากๆ อะไรจะเชื่อคนง่ายขนาดนี้
    เหอๆๆๆ

    คนที่เขาปฏิบัติมาหนัก เขาอาจไม่อยากพูดถึง
    เพราะสภาวะนั้น เกิดแล้วก็ดับไป
    ใครของจริงไม่จริง ก็อย่างที่คุณเก่งพูดนั่นเอง
    ดูกันที่คุณธรรมและความมีธรรมของเขาก็แล้วกัน
    ไม่ใช่ภูมิธรรมที่ไม่รู้ถูกผิดกันขนาดไหน
    มีกระทู้มากมายที่บอกเกี่ยวกับพระอริยะขั้นต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร
    เว็บนี้ หลวงพ่อฤาษีฯ ก็พูดถึงอยู่มาก

    เรื่องความรู้ เป็นแค่ความจำได้หมายรู้ อย่าไปยึดมาก
    แค่รู้เอาไว้ก่อน
    แล้วตามไปพิสูจน์ด้วยการลงมือทำ



    :boo:
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เพราะ เราชินกับการใช้ตรรกในการศึกษาหาความรู้มากอดไว้

    หากเราศึกษาธรรมะ โดยใช้แต่ ระลึกรู้ ก็จะพ้นตรรกะอยู่

    แต่เมื่อไหร่ เราระลึกรู้ แล้วยึดไว้เป็นความรู้ นั่นใช้ตรรกะไปแล้ว

    ธรรมะ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะศึกษาด้วยตรรก

    เหตุและผล มันเป็นเพียงผลพลอยได้ของการ รู้ธรรมะ เท่านั้น

    หมั่นระลึกรู้ หยุดอยู่ที่รู้ ตั้งมั่น เป็นกลาง ในกายในใจตน แค่นี้แหละ
    อย่าไปคิดมาก :boo:
     
  16. zeedhama

    zeedhama Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +48
    หลวงพ่อฤาษี พูดไว้ว่า จิตมีดวงเดียว ไม่เกิดไม่ดับ ที่เกิดดับคืออารมณ์ของจิต

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    เขาถามว่าจิตมีกี่ดวง บอกเอ๊ะ! ของข้ามันมีดวงเดียวนี่นะ พ่อให้มาดวงเดียว เขาบอกผิดตำรา ถามตำราของแกมีกี่ดวง เขาบอกอย่างย่อมัน ๘๐ อย่างพิสดารมี ๑๒๐ กว่าใช่ไหม.. ถาม มันติดตรงไหนบ้างล่ะ ติดตั้งแต่ฝ่าส้นตีนขึ้นไปถึงหัวแกใช่ไหม ยังไม่หมดเลย...(หัวเราะ) พระพุทธเจ้าตรัสว่า เอกะจะรัง จิตตัง...จิตดวงเดียวเที่ยวไป" ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิตดวงจิตจริงมันดวงเดียว"

    อ่านได้ที่นี่
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  17. zeedhama

    zeedhama Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +48
    หลวงพ่อฤาษี พูดไว้ว่า วิญญาณกับจิตนี้คนละอัน

    สักกายทิฎฐิ

    เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา
    ท่านละ ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้

    "โดยเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัยของนามธรรม คือ

    ※ เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์

    ※ สัญญา มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้ว

    ※ สังขาร อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปรานีสดชื่น
    อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศลคือความดี และอารมณ์ที่เป็นอกุศลคือความชั่ว
    ที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญและอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้าควบคุมใจ

    ※ วิญญาณ คือ ความรู้หนาว ร้อน หิวกระหาย เผ็ดเปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้อง เป็นต้น

    วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต
    วิญญาณกับจิตนี้คนละอัน
    แต่นักแต่งหนังสือมักจะเอาไปเขียนเป็นอันเดียวกัน
    ทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย

    ※ อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามาอาศัยกายและไม่ตายร่วมกับร่างกาย สิ่งนั้นก็คือ จิต

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ ตายร่วมกับร่างกาย คือกายตายก็ตายด้วย

    แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราวเมื่อกายตั้งอยู่
    คือดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    จิตก็อาศัยอยู่

    แต่ถ้าขันธ์ ๕ มีร่างกายเป็นประธานตายแล้ว
    จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่

    คำว่า เรา ในที่นี้ ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามาอาศัยกาย
    เมื่อท่านทราบอย่างนี้
    ท่านจึงไม่หนักใจและผูกใจว่า ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา

    เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา
    เรา คือ จิตที่เข้ามาอาศัยในกายคือขันธ์ ๕ นี้

    ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไป ถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจ
    ไม่เสียดายห่วงใยในขันธ์ ๕ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดา

    เสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสาร เมื่อยังไม่ถึงเวลาลง ก็นั่งไป
    แต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร ก็ลงจากรถจากเรือ
    โดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถ หรือเรือโดยสารนั้น

    เพราะทราบแล้วว่ามันไม่ใช่ของเรา เขาก็ไม่ใช่เรา เราก็ไปตามทางของเรา
    ส่วนรถเรือโดยสารก็ไปตามทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย ...

    อ่านต่อ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เคยได้ยินมาว่า จิตไม่มีที่ตั้ง แต่มีอยู่ในกายในใจเรา

    การใช้จิตแสวงหาจิต ก็เหมือนเรามองหาตัวเราเอง
    ถ้าเรามองหาจิตที่ภายนอก ไม่เคยหยุดหันกลับมามองที่ภายในตัวเราเอง
    เราอาจจะพลาดบางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นสาระสำคัญไป

    เพียงแต่เราหยุดความคิดที่จะแสวงหาจิต เท่านั้น
    เพียงแต่เราหยุดความกระวนกระวาย หยุดการดิ้นรนที่จะแสวงหาจิตเท่านั้น
    แล้วเฝ้าดูกายใจของตัวเอง แบบเงียบๆ ไม่กระโตกกระตาก
    บางที จิตที่เราต้องการจะเห็น อาจจะแสดงตัวมาให้เรารู้จักแบบเงียบๆ
    เพียงแต่เรามองย้อนกลับมาที่ใจตัวเราเอง
    เหมือนส่องกระจกชะโงกดูใจตัวเอง เราอาจจะพบสิ่งที่เราแสวงหา
    มาตลอด แต่มองข้ามมันมาตลอดชีวิตก็ได้

    ปล. แต่ถ้าคิดว่าจิตนั้นเป็นธรรมธาตุ แล้วพยายามแยกจิตออกจากส่วนอื่นๆ ให้เหลือเพียงจิต เพียวๆ
    แนวคิดนี้ เราก็ไม่รู้ว่าจะเป็นจริงได้ไหม สำหรับภูมิของปุถุชนคนมีอวิชชาเป็นส่วนหนึ่งของจิต
    เพราะมีเพียงพระอรหันต์เท่านั้นที่มีจิตบริสุทธิ์ปราศจากอวิชชา ได้ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา ที่บริบูรณ์
    ถึงจะรู้ถึงธรรมธาตุนั้นตามจริงโดยไม่ได้คิดวาดฝันไปเอง และมีแต่พระอริยะเจ้าที่อยู่ในช่วงบรรลุมรรคผล
    ที่เข้าถึงพระนิพพานขณะจิตผ่านเข้าอริยะมรรคอริยะผลเท่านั้น ถึงจะรู้จักธรรมธาตุหนึ่งตามจริงชั่วคราว
    ในขณะเกิดมรรคผล ส่วนคนอื่นๆ ไม่น่าเห็นตรงนี้(ธรรมธาตุ)ได้นะ น่าจะได้เห็นเพียงจิตประภัสสร
    จิตผ่องใส ที่ปราศจากกิเลสชั่วคราวเท่านั้น ยังไม่ใช่ธรรมธาตุที่เป็นจิตบริสุทธ์ เพราะยังแหวกอวิชชา
    ออกมาไม่ได้ ต้องมี ศีล สมาธิ ปัญญา ถึงระดับหนึ่งถึงจะแหวกอวิชชาได้สำเร็จ ถ้ามีไม่ครบเช่นขาด
    ปัญญา(ที่ต้องได้จากวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น) ก็ไม่น่าจะทำสำเร็จ หรือศีลไม่บริบูรณ์ทำให้สัมมาสติ
    ไม่บริบูรณ์ ก็ไม่สำเร็จ หรือขาดสัมมาสมาธิ ก็ไม่สำเร็จอีก ต้องมีเหตุปัจจัยสมบูรณ์ ผลจึงเกิดได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010
  19. พรม

    พรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +163
    1.
    การตีความคำสอนของพระสุปฏิปันโนเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะ ผู้ตีความเป็นที่ไม่รู้หรือ ไม่เคยสัมผัสสภาวะธรรมนั้นๆเลย

    เช่น คำสอนว่า ปัญญาที่แท้ คือปัญญาที่ไม่สุขไม่ทุกข์ ไปกับอารมณ์ทั้งหลายที่มากระทบ ทั้งที่น่ายินดี และไม่น่ายินดี รู้สักแต่ว่ารู้

    ผู้ไม่รู้ตีความคำสอนตรงนี้ว่า ปัญญาที่ท่านพูดนี้ คือปัญญาเพื่อมรรคผล
    แต่ความจริง ปัญญาที่ท่านพูดนี้ คือปัญญาที่เป็นมรรคเป็นผลแล้ว ไม่ขั้นใดก็ขั้นหนึ่ง

    เมื่อไม่รู้ จึงตีความว่าเป็นปัญญาเพื่อมรรคผลจึงปฏิบัติด้วยวิธี พยายามทำไห้ตนเป็นผู้รู้ สักแต่ว่ารู้ ไม่เข้าไปปรุง ไปสุข-ไปทุกข์ กับอารมณ์ที่ตนรู้นั้น โดยอาจจะไม่รู้ตัวว่าที่พยามทำนั้น ไม่ไช่ไม่สุข ไม่ทุกข์ที่แท้จริง ไม่ไช่สักแต่ว่ารู้ที่แท้จริง

    เพราะไม่รู้ไม่เคยสัมผัส จึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดให้คิดเดาต่อไป
    ฝากไว้นิดนึงว่า ระวังการตีความคำพูดของพระสุปฏิปันโนผิดเพราะ จะนำไปสู่การปฏิบัติผิด
    และผลมันก็จะผิดตามไปด้วย

    สภาวะธรรมของพระสุปฏิปันโน หลายๆเรื่องอธิบายไห้คนมีกิเลสรู้ตามไม่ได้เลย
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าไปควานหาสิ ให้รู้ทันลงไปว่า กำลังควานหา

    มันจะคล้ายๆ คนลงไปคุ้ยหา

    แล้วหาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ มันจะซ้อนๆ เหมือนจะเจอ แต่ก็ไม่เจอ
    [ อย่าไปเพ่งจิต ...เว้นแต่ชำนาญ และยกเป็นวิหารธรรมได้ ]

    ทำไมไม่เจอ ก็คุณใช้อะไรหาอยู่หละ นั่น ขี่มันอยู่ แล้วไปหา
    อะไรที่ไหน หยุดอยู่ที่รู้ แบบไม่จงใจนะ จะพอดีเป๊ะ

    แต่ถ้าจงใจนะ จะเบรกหัวทิ่มเลย มันจะแสบๆอัดๆที่อกนะ แถบระเบิด!!
    หากตอนนั้นไปควานหาจิตตามแขนขา เพราะเวทนาพาสำคัญว่าเป็น
    ที่ตั้ง แขนขาก็แทบจะแตกระเบิด.........น้าน.....เหตุที่เป็นอย่างนั้น
    เพราะเจตนาจงใจหาจิต หาที่ตั้งจิต มันเลยแส่ส่ายไปตามขันธ์5ที่มัน
    หลอกว่าเป็นจิต หลวงปู่ที่ภาวนาสายพระป่า พอท่านรู้ว่าท่านควานหา
    ก็จะพูดว่า "ก็ระเบิดขันธ์ตู้มไปเลย!!!" คือ อย่าเชื่อมันดิ ใช้จิตแสวง
    หาจิตมันไม่เจอหรอก(หลวงปู่ดูลย์) ใช้ขันธ์แสวงหาทางหลุดจากขันธ์
    มันก็ไม่พ้นเงื้อมมือมันแถมทุกข์แทบระเบิด(หลวงพ่อสงบ) มึงทำกับกู
    ขนาดนี้เชียวเหรอ(หลวงตามหาบัว) จิตเหมือนลูกไก่ในฟองไข่(หลวง
    พ่อพุธ)อย่าไปบีบมัน ค่อยๆดู

    รู้ แล้วหยุดลงที่รู้(หลวงพ่อนิรนามเนาะ) พบจิตให้ทำลายจิต(มหายาน)
    พบผู้รู้ทำลายผู้รู้ พบ...ฆ่าทิ้งเสีย(ฮาโตริ) คะเต คะเต ปาระคะเต ปารสังคะเต
    (ปรัชญาปารมิตา) จะไปไหน จะไปไหน พักเดี๋ยวก่อนหนึ่งซี(อิคคิวซัง) :boo:

    อริยสัจจ ยังไงก็ต้องเห็น เห็นตั้งแต่ขั้นปุถุชน ไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ เห็นซ้ำๆ
    จนกว่าจะแนบสนิท แทงตลอด อย่าไปดูถูกตัวเองว่า เห็นอริยสัจจ ไม่ได้
    อย่าไปดูถูกจิตตนว่าจะทรงอารมณ์นิพพานไม่ได้นะ สู้ไป :cool:

    เวลามันจวนเจียน ก็งี้แหละ ขาดการเห็นอะไรว้า!!!


    ******

    [​IMG]

    ว่าแล้วก็ : Music ให้พี่เกิด

    [music]http://www.oknation.net/blog/home/video_data/824/8824/video/6155/6155.mp3[/music]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2010

แชร์หน้านี้

Loading...