พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 28 มกราคม 2010.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จากบล็อก บล็อกนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมา เพื่อโต้แย้งพระเพียงองค์เดียว

    ซึ่งผมเขียนตอบเรื่องจิตว่า
    จิตมีดวงเดียว จิตไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคืออาการของจิต

    ในพระบาลีก็กล่าวไว้ออกจะชัดเจนว่า "เอก จรํ" จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป
    และครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ส่วนใหญ่ล้วนสอนตรงกันว่า
    จิตมีดวงเดียว แต่ละคนนั้นมีจิตเพียงดวงเดียว ของใครของมัน
    และเป็นที่บันทึกลงของกรรมดีกรรมชั่วครับ

    ส่วนที่เราเห็นนั้น ล้วนเป็นอาการของจิต
    ที่แสดงออกมาตามอารมณ์ต่างๆที่จิตเข้าไปยึดไม่เหมือนกัน

    จึงทำให้เข้าใจผิดได้ง่ายว่าเป็นจิตคนละดวงกัน
    แท้จริงแล้วเป็นอาการของจิตที่แสดงอาการออกมาแตกต่างกันไปเท่านั้นเอง

    ทำให้นักศึกษาฝ่ายอภิธรรมหลายท่านเข้ามาโต้แย้ง
    ทั้งๆที่เราท่านทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่นักศึกษาฝ่ายอภิธรรมหายอมรับไม่
    ว่าคัมภีร์พระอภิธรรม มีมาในชั้นหลัง ไม่ใช่พระพุทธวจนะ
    การจะเทียบเคียงคำสอนนั้น ให้ถือพระพุทธวจนะชั้นต้นเป็นหลัก
    คือ พระสูตร พระวินัย, พระอภิธรรม,พระอรรถกถาจารย์,อัตตโนมัติอาจารย์ ตามลำดับ

    แม้สมเด็จพระสังฆราชท่านก็มีกล่าวถึงในหนังสือ ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม
    พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ความตอนหนึ่งว่า

    ๓. คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
    อภิธรรมคัมภีร์นี้ ถ้าจะเรียนกันโดยลำดับให้ครบถ้วนก็จะต้องใช้เวลานาน
    เพราะมีข้อความที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก
    ฉะนั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปอยู่ในขนาดพันปี ได้มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อท่าน อนุรุทธะ
    ได้ประมวลเนื้อความของอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ มาแต่งไว้โดยย่นย่อ เรียกว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
    แปลว่า สงเคราะห์ คือ สรุปความแห่งอภิธรรม ยกหัวข้อเป็นสี่คือ
    ๑. จิต
    ๒. เจตสิก แปลว่าธรรมะที่มีในใจ
    ๓. รูป
    ๔. นิพพาน

    ท่านแต่งเป็นคาถาสลับร้อยแก้วแบ่งออกเป็น ๙ ปริเฉท คือ ๙ ตอน เป็นหนังสือเล่มเล็กๆไม่โตมาก
    คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้เป็นที่นิยมกันมาก เมื่อเรียนตามคัมภีร์นี้แล้วไปจับดูอภิธรรม ๗ คัมภีร์
    ก็จะเข้าใจได้โดยง่ายโดยตลอด เป็นการเรียนลัด.

    พิจารณาดูตามหัวข้อที่ท่านว่าไว้เป็นสี่นี้ตามความเข้าใจ
    จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก
    แปลว่าธรรมะที่มีในใจ มีเจตสิกเป็นอย่างไรจิตก็เป็นอย่างนั้น เจตสิกจึงเป็นสิ่งที่มีผสมอยู่ในจิต
    เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ
    น้ำโดยปรกติก็เป็นอย่างเดียว แต่เมื่อใส่สีลงไปน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้ ฉะนั้น

    ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง
    ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น


    ^
    พระนิพนธ์ของพระสังฆราชท่าน ความของท่านก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า
    จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก
    ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง
    ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น

    ซึ่งตรงกับพระพุทธวจนะที่ว่า "เอก จรํ" จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป

    และตรงกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    ซึ่งทุกท่านล้วนสอนตรงกันว่า
    จิตมีดวงเดียว แต่ละคนนั้นมีจิตเพียงดวงเดียว ของใครของมัน
    และจิตเป็นที่บันทึกลงของกรรมดีกรรมชั่ว จิตไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคืออาการของจิต

    แม้ในมหาสติปัฏฐานสูตรก็มีกล่าวไว้ว่า
    จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

    ความว่า ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    ก็แสดงชัดเจนว่า จิตต้องรู้ตลอดสายของการปฏิบัติ เมื่อราคะเกิดขึ้นที่จิต และราคะดับไปจากจิต
    แสดงว่าจิตไม่เกิดดับ สิ่งที่เกิดดับคือราคะ ไม่ใช่จิต

    ธรรมภูต
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ★ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดี ได้เข้าไปแสดงคคหโต้แย้งไว้
    ซึ่งผมก็ได้แจกแจงแสดงให้ท่านได้เข้าใจไว้มากมายเช่นกันว่า
    จิตไม่เกิดดับ จิตมีดวงเดียว จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ จิตไม่ใช่กองทุกข์

    แต่ท่านก็ยังดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้ จะให้จิตเป็นกองทุกข์ให้ได้
    พยายามยกพระสูตรมาจากที่ต่างๆ โดย copy paste post
    อันเป็นนิสัยที่พวกอ่านพระไตรปิฎกไม่เป็นชอบทำ ชอบฟลัดกระทู้
    ทำให้กระทู้เลอะเทอะ โดยที่ตัวเองไม่สามารถแสดงคคหของตนเองได้ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไร

    และบางครั้งก็ยังไปยก คคห ของท่านอื่นๆ ซึ่งท่านไม่รู้เรื่องด้วย ไม่สามารถเข้ามาโต้แย้งได้
    ซึ่งก็อีกนั่นแหละ ประเภทเดียวกัน อ่านพระไตรปิฎกไม่เป็น
    อ่านแบบเด็กนักเรียน วิจัยเฉพาะที่เห็นตรงหน้า โดยไม่เชื่อมโยงกับพระสูตรที่มีมาก่อนหน้า

    เพราะธรรมะพระพุทธองค์ต้องเชื่อมโยงกันหมด และลงเป็นเนื้อเดียวกัน
    ถ้ามีข้อขัดแย้ง ให้เอาพระสูตรเป็นที่ตั้ง ท่านอรรถกถาจารย์ถือเป็นรอง
    ท่านอรรถกถาจารย์อาจเขียนวินิจฉัยไว้ แต่การพิจารณาต้องเอาข้อความในพระสูตรเป็นหลัก

    ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษาธรรม โดยเฉพาะผู้ยังใหม่อยู่
    ผมจึงใคร่ขอทุกท่านนะครับ ผมยินดีถกกับทุกท่าน ทุกคำถามต้องมีคำตอบ
    เพียงแต่บางครั้งท่านเขียนมามากจนเปรอะไปหมด ผมอาจตอบไม่ทัน อาจตอบช้าไปบ้าง

    และขอความกรุณาอย่ายกถ้อยคำของท่านอื่นๆที่ไม่ใช่คคหของท่านมา
    เพราะท่านเหล่านั้นไม่สามารถมาโต้แย้งกับผมได้
    และถ้าผมโต้แย้งท่านเหล่านั้นไป ก็ออกจะไม่ยุติธรรม เพราะท่านที่ยกมาก็ไม่อาจโต้แย้งแทนได้

    แต่ถ้าเป็นถ้อยคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ก็ขอให้ยกมาเฉพาะส่วนที่สำคัญ
    ตรงประเด็นที่เรากำลังถกกัน แล้วทำลิงค์ไปต้นทางก็ได้ครับ

    จะยกพระไตรปิฎกมา ก็โดยย่อ แล้วทำลิงค์ไป
    แล้วแสดง คคห ของท่านในส่วนที่เกี่ยวเนื่อง ไม่ต้องยกมาแปะทั้งสูตรครับ
    อย่างอัสสุตวตาสูตร พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้
    ทำนิสัยเป็นแพทเดียวกันเลยคือชอบยกสูตรนี้มาหากิน
    หากินกันเป็นแค่สูตรเดียว ก็ตามเคย เพราะไม่เคยเข้าใจความนัยในพระสูตร
    อ่านแบบเด็กนักเรียน วิจัยเฉพาะที่เห็นตรงหน้า


    ★ ในอัสสุตวตาสูตร ทรงกล่าวถึงวานรเที่ยวไปในป่าใหญ่
    วานรเปรียบเหมือนจิต วานรเกี่ยวกิ่งไม้ เหมือนจิตจับอารมณ์
    จิตมีดวงเดียว เหมือนวานรตัวเดียว
    จิตเปลี่ยนไปจับอารมณ์ใหม่ตลอด เหมือนวานรเหนี่ยวกิ่งใหม่ตลอด
    ถ้าจิตมีหลายดวง แสดงว่าวานรก็ต้องมีหลายตัว
    ถ้าจิตเกิดดับอย่างที่ท่านๆเข้าใจกัน งั้นวานรก็ต้องตกตายเกลื่อนป่าน่ะสิ

    ธรรมภูต
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ★ ในมหาปุณณมสูตรที่ยกมาแสดงก็เช่นกัน
    ยกมาทำไมครับ ในเมื่อคุณอ่านไม่เข้าใจ ผมอ่านมาหลายรอบหลายเที่ยว
    และอรรถาธิบายไว้หลายรอบหลายเที่ยวเช่นกัน

    พระสูตรนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่า รูปที่ตรัสถึงคือ รูปร่างกายมนุษย์
    ไม่ใช่รูปชนิดอื่นๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ...ฯลฯ...

    รูปชนิดอื่นๆ เกิดจากมหาภูตรูป ๔ เท่านั้น ไม่มีจิตครอง จึงรู้อะไรไม่ได้
    จึงไม่เกิดผัสสะ ทำให้ไม่เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    หรือก็คือ ไม่เกิดขันธ์ ๕ นั่นเอง เพราะเป็นรูปที่ไม่มีจิตครอง

    ส่วนรูปร่างกายมนุษย์ เกิดจากธาตุ ๖ คือ มหาภูตรูป ๔ +ธาตุรู้(วิญญาณธาตุหรือจิต)
    แต่ทรงละไว้ในฐานที่เข้าใจ ณ พระสูตรนี้
    เพราะได้ตรัสให้ทราบแล้วในธาตุวิภังคสูตร

    รูปร่างกายมนุษย์มีธาตุรู้(วิญญาณธาตุ)หรือจิตครองนั่นเอง จึงรู้อะไรได้
    จึงเกิดผัสสะ ทำให้เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามมาครบขันธ์ ๕ นั่นเอง

    ส่วนที่ยกมาเรื่องสักกายทิฐินั้น
    ยกมาแต่ปุถุชน ทำไมไม่ยกฝั่งตรงข้ามที่ตรัสถึงพระอริยสาวกมาด้วยครับ
    ผมจะแสดงให้ดูเป็นวิทยาทาน

    ปุถุชน มีสักกายทิฏฐิ เพราะ
    เห็นขันธ์ ๕ เป็นอัตตา
    เห็นอัตตามีขันธ์ ๕
    เห็นขันธ์ ๕ ในอัตตา
    เห็นอัตตาในขันธ์ ๕

    พระอริยสาวก ไม่มีสักกายทิฏฐิ เพราะ
    ไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นอัตตา(ตน)
    ไม่เห็นอัตตามีขันธ์ ๕
    ไม่เห็นขันธ์ ๕ ในอัตตา
    ไม่เห็นอัตตาในขันธ์ ๕

    อะไรของปุถุชนและพระอริยสาวกที่เห็นครับ ถ้าไม่ใช่จิตเห็น
    เห็นขันธ์ ๕ เป็นตน กับไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นตน
    ไม่ได้บอกว่าไม่มีตนนะครับ

    อ่านมหาปุณณมสูตรเต็มๆที่นี่ครับ

    ในพระสูตรกล่าวถึงพระที่เป็นโมฆบุรุษ มีความคิดว่า
    จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

    พระที่เป็นโมฆบุรุษ มีความคิดเห็นผิดว่าอะไรๆก็เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตน)หมด
    เมื่อเป็นเช่นนี้ เวลาทำกรรมอะไรขึ้นมาก็ไม่ต้องรับกรรมสิ
    ในเมื่ออะไรๆก็ไม่ใช่ตน เมื่อทำกรรมไปแล้วจะถูกตน(รับกรรม)ได้อย่างไร
    จึงได้ถูกโจทก์ว่าเป็นโมฆบุรุษ ด้วยเหตุเช่นนี้

    และในพระสูตรเอง ก็กล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า
    พระอริยสาวกนั้น
    ไม่เห็นขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) "เป็น" ตน
    ไม่เห็น ตน "มี" ขันธ์๕
    ไม่เห็นขันธ์ ๕ "ใน" ตน
    ไม่เห็น ตน "ใน" ขันธ์ ๕


    ★ ผู้ใดกระทำกรรมใดไว้ กรรมย่อมตามผู้นั้นไป ดุจรอยเท้าโคที่ลากเกวียน ฉะนั้น
    กรรมถูกบันทึกลงที่จิต และจิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ จิตไม่เกิดดับ

    ถ้าเข้าใจผิดว่าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ก็จะเข้าข่ายเดียวกับพระที่เป็นโมฆบุรุษ
    กรรมที่อนัตตาทำ จักถูกตนได้อย่างไร
    ความคิดเช่นนี้ ย่อมเป็นเชื้อร้ายที่คุกคามพระศาสนา
    ทำให้คนเราคิดกระทำกรรมชั่วโดยไม่เกรงกลัว
    เพราะในเมื่ออะไรๆก็ไม่ใช่ตน เมื่อทำกรรมไปแล้วจะถูกตน(รับกรรม)ได้อย่างไร

    ธรรมภูต
    <!-- End main-->
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มุมมองของคนที่จิตเกิดดับ

    ลองมองอีกมุมนะคะ
    จิต เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่จิตเกิดขึ้นทีละดวง และดับไป จึงจะเกิดดวงใหม่ (ไม่มีทางเกิดพร้อมกันได้)

    ดังนั้นถามว่า จิต ที่เป็นอดีตยังอยู่ไหม หรือว่า ดับไปแล้ว
    จิตที่ปรากฎ ณ ปัจจุบันขณะ ก็มีดวงเดียวเท่านั้น (เน้นว่า ปัจจุบันขณะจริงๆ ไม่ใช่ปัจจุบันขณะในความรู้สึกของปุถุชน) ดังนั้น จึงปรากฎ จิต เพียงดวงเดียว (แต่ละขณะ) ท่องเทียวไป จิตที่ดับไปแล้ว จึงไม่ปรากฎ

    โดย: ยังหวังดี IP: 113.53.83.13 วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:18:26:52 น.
    ............................
    ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

    เพราะศึกษาธรรมะแบบปักธงเชื่อหัวปักหัวปำเชื่อว่าจิตเกิดดับ
    เข้าใจผิดว่าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ จิตเป็นกองทุกข์
    พยายามดีความเพื่อให้เข้าทาง โดยปฏิเสธหลักเหตุผล

    จิตคือธาตุรู้ รู้ตลอดเวลา ไม่มีเกิดดับ
    ที่เกิดดับคือสิ่งที่ถูกจิตรู้หรืออารมณ์นั่นเอง

    จิตจับอารมณ์ที่เป็นกุศล เรียกกุศลจิต
    จิตจับอารมณ์ที่เป็นอกุศล เรียกอกุศลจิต

    ไม่ว่ากุศลจิตหรืออกุศลจิต เกิดขึ้นหรือดับไปจากจิต จิตรู้ตลอดเพราะจิตคือธาตุรู้
    ถ้าจิตดับ คือรู้ดับ ตอนกุศลจิตหรืออกุศลจิตดับ ก็ต้องไม่รู้สิ
    ถ้าไม่รู้ แล้วบอกมาได้ยังไงว่ากุศลจิตหรืออกุศลจิตดับ

    เนื่องจากจิตปุถุชน มีอวิชชาครอบงำ
    หลงผิดยึดขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตน
    เพราะจิตปุถุชนเมื่อรู้อารมณ์(รูป)แล้ว ไม่ยึดเป็นไม่มี
    จิตปรุงแต่งไปตามอารมณ์(รูป)
    ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    หรือก็คือ ขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตนั่นเอง หรืออาจเรียกว่าจิตสังขาร ( จิตที่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์)

    จึงต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมครู
    เพื่อให้จิตดวงเดิมที่มีอวิชชาครอบงำ หลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา
    เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ ที่จิตดวงเดิมนั่นแหละ
    จะได้ไม่หลงผิด ไม่ยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
    จิตไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์(รูป)
    ทำให้ไม่เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    หรือก็คือ ไม่เกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตนั่นเอง หรือที่เรียกว่าจิตเป็นวิสังขาร (จิตสิ้นการปรุงแต่งไปตามอารมณ์)

    ดังปฐมพุทธพจน์ที่ตรัสว่า
    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว


    ธรรมภูต<!-- End Comment 8-->
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิตปุถุชน โง่เขลามีอวิชชาครอบงำ
    หลงผิดยึดขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตน
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน
    จิตก็แปรปรวนตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แปรปรวนไป

    นั่นก็คือ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดดับ
    จิตก็พลอยเข้าใจผิดว่าตนเกิดดับตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดดับ

    จิตพระอริยสาวก ปฏิบัติอริยมรรค ๘ หลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา
    ไม่หลงผิดไม่ยึดขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตน
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน
    จิตก็ไม่แปรปรวนตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แปรปรวนไป

    นั่นก็คือ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดดับ
    จิตก็ไม่พลอยเข้าใจผิดว่าตนเกิดดับตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดดับ
    เพราะจิตรู้อยู่เห็นอยู่ว่าตนไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ดังปรากฏใน นกุลปิตาสูตร

    ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย)
    ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต (จิตกระสับกระส่าย)

    พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย)
    ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต (จิตหากระสับกระส่ายไม่)

    ความในพระสูตรก็ชัดเจนว่า จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์
    มีแต่พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

    ธรรมภูต<!-- End Comment 9-->
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไปเรื่อยเลย ก็จิตไม่ใช่ขันธ์ก็ถูกแล้วนี่ แล้วจะให้จิตเป็นเรา นั้นมันจะถูกได้ไง อภิธรรมนั้นคือแนวทางหรือคัมภีร์ที่ว่าไว้ก็ไม่ใช่ว่า จะจับเอามาว่าเราคืออภิธรรมหรืออภิธรรมคือเรา แม้กระทั่งพระพุทธวจนะก็เช่นกัน ก็เป็นแนวทางการอบรมถอดกิเลสไม่ใช่ พระพุทธวจนะเป็นเราและเราเป็นพระพุทธวจนะ การถอดถอนจิตออกจากความยึดมั่นถือมั่นจำเป็นต้องศึกษาให้ถ่องแท้ถึง เหตุ และ ผล สำหรับบางคนจำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดเพราะด้วยความที่เป็นผู้มีปัญญามาก ไม่ลงให้ใครง่ายๆ จึงต้องมีพระอภิธรรมให้ปะติดปะต่อ ความมีหรือไม่มีของจิต ว่าอะไรคือจิต แลวจิตมีไว้ทำไม แล้วทำไม เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นภายในจิตจึงยังผล ให้เป็นบาปเป็นบุญได้ ความเกิดดับของจิตนั้นมีอยู่จริง แต่ไม่ใช่จิตในความหมายแห่งปรมัตถ์ เพราะเหตุปัจจัยจึงมีได้ จิตจะไม่ตั้งอยู่ที่ใดลอยๆเว้นแต่นั่นคืออุปทานจิต ที่ความยึดมั่นถือมั่นสมมุติขึ้น แม้กระทั่งผู้ที่ได้อุปทานฌานก็เห็นเช่นนั้น เพราะเห็นนิมิตอันเป็นสิ่งสมมุติขึ้นเป็นตัวแทนเท่านั้น จิตที่ไม่เกิดดับนั้นมีจิตเพียงอย่างเดียว เรียกจิตนิพพาน หรือ ธรรมธาตุ หรือ เรียกง่ายๆคือ จิตพระอริยะเจ้าองค์อรหันต์ทั้งหลาย แต่ถึงได้บอกไงว่า เมื่อเราอยู่วัยเด็ก เราก็ต้องดูหนังการ์ตูนเรียนหลักสูตรอนุบาล ประถม ไปมัธยม และ เข้ามหาลัย ซึ่งมีปริญญา ตรี โท เอก เป็นต้น แต่เมื่อพูดถึงเรื่องจิต นั้น การที่เรานำมากล่าวแล้วลำดับความจากปริญญาเอกลงมาให้คนอนุบาลฟัง ถามว่าเขาเชื่อไหม เขาเชื่อแน่ๆ แต่เป็นการหลงเชื่อ ไม่ได้เชื่อเพราะตัวเขาเองเลย เช่นเดียวกับท่านเจ้าของกระทู้และอีกหลายๆท่าน ว่าเหตุใดถึงคิดว่า แท้จริงจิตนั่นเป็นเรา เพราะในรูปของกาลเวลาแล้วถ้าเอาอภิธรรมมาเปิดอ้างจะไม่ได้กล่าวถึงความเป็นเราในแง่เจ้าของแต่อย่างใด แม้กระทั่งพระสุตตันตปิฏกก็เช่นกัน เพราะการตีความไปตามสิ่งที่ได้พบในสมาธิก็ดี ในวิปัสสนูกิเลสก็ดี มักจะเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น โดยรวม แม้จิตจะเป็น ธาตุรู้ แต่ก็เป็นธาตุที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงมีการเคลื่อนไหว เกิดองค์ประกอบ หรือ มีองค์ประกอบอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องจึงรู้ได้ว่า นี่คือจิต หากไม่มีองค์ประกอบใดเลยถามว่ารู้ไหมว่านี่คือจิต ตอบ ก็รู้ได้เพราะตำราที่พระศาสดาตรัสไว้ถูกบันทึกไว้แล้ว แต่ประเด็นคือ จริงและถูกคือ จิตไม่ใช่ขันธ์ เมื่อไหร่ก็ตามที่คิดว่าจิตเป็นขันธ์แสดงว่า ยังมีความยึดมั่นถือมั่น และตามมาด้วยกิเลสอื่นๆต่างๆนานา และสิ่งที่น่าพิจารณา คือ เมื่อจิตไม่ใช่ขันธ์แล้ว การที่ปล่อยให้จิตเป็นอิสระพ้นพันธนาการอันเป็นสมมุติทั้งหลาย ด้วยความยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นเรา กับ ปล่อยให้จิตเป็นอิสระพ้นพันธนาการอันเป็นสมมุติทั้งหลายด้วย ความไม่ยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นเรา ดังนั้นเมื่อถึงจุดนั้นผลมันก็ต่างกัน และจิตพระอริยะบุคคลกับจิตปุถุชนก็ต่างกัน และการจะเป็นได้ก็ด้วยมชิมาปฏิปทา มรรคมีองค์แปด และพิจารณาเห็นอริยะสัจทั้ง ๔ ใน... ตามที่โพสต์มาข้างต้น และแนวทางถึงผลสุดท้ายก็เป็นดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าใครจะพบกับวิปัสสนูกิเลสอย่างไร ด้วยสติรู้ชัดก็จะแจ้งได้ว่านี่เป็นอะไรและนั่นเป็นอะไร และปุถุชนที่เริ่มปฏิบัติควรที่จะเห็นสภาพความแปรปรวนรวนเรของจิตเป็นอย่างยิ่ง นี่จึงเรียกว่า ไม่ได้หลอกตัวเองเช่นกัน ในมุมของกระผมนะครับ
    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2010
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอความรู้เพื่อประเทืองปัญญาจากทิฐิที่ว่าวิญญาณขันธ์คือจิต
    ขันธ์หนึ่ง หลุดพ้นจากขันธ์ทั้งสี่แล้ว.... งี้เหรอ ?
    วิญญาณหลายดวงห่วงโซ่เที่ยวไปยึดตัวเองยึดขันธ์อีกสี่ไปพร้อมกัน ?
    นิพพานต้นไม้ มีวิญญาณรับความรู้สึก ไม่คิด แต่เกิดๆดับๆ ตายแล้วก็วิญญาณนิพพานสูญเลย ?
    คนหมดกิเลสก็ไม่ต่างอะไรกับต้นไม้งั้นเหรอทิฐิแบบนี้ ?
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    พี่ธรรมภูติอธิบายเรื่องขันธ์5และจิต ค่อนข้างระเอียดมากเลย
    ได้ความรู้ โมทนาสาธุ
    อยากฟังความเห็นฝ่ายขันธ์หนึ่งหลุดพ้นขันธ์ทั้งสี่มั่ง
    เพื่อน้อมนำมาพิจารณาเปรียบเทียบและพิจารณาเพื่อปรับทิฐิให้ตรงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น โมทนาด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มกราคม 2010
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อยากรู้เหมือนกันครับ ว่าเมื่อจิตเป็นวิญญาณขันธ์ แล้วความเกิดดับย่อมเกี่ยวข้องกับขันธ์อย่างหาที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ต้องถามก่อนว่า เพราะอะไรถึงคิดว่าจิตเป็นขันธ์ ผมเองก็สนใจเรื่องนี้ เพราะเมื่อก่อนก็เคยถกธรรมกับหลายท่านเหมือนกัน แต่โดยรวมยังไม่พบว่า ท่านทั้งหลายมองเห็นจิตเป็นวิญญาณขันธ์นะครับ แต่ดูเหมือนว่าจากการตีความตามทิฐิ ที่ต้องการจะให้เห็นสิ่งเดียวกันจึงดูเลยออกไปว่า เมื่อเห็นไม่เหมือนจึงเหมาว่าเขาคงเห็นจิตเป็นขันธ์อย่างนั้นกระมั้งครับ แล้วท่านคิดว่า จิตกับขันธ์ เป็นเช่นไรครับ ผมถามนิดหนึ่งครับ เมื่อท่านไม่มีขันธ์ท่านรู้ได้อย่างไรว่านั่นคือจิต พอจะมีเทคนิคหรืออะไรก็ได้ที่บอกได้ว่าเมื่อไม่มีขันธ์แล้ว เจ้าสิ่งนี้คือจิต นั่นคืออะไรครับ และเมื่อเราเข้าใจว่าจิตไม่ใช่ขันธ์แล้วท่านรู้ได้อย่างไรว่า จิตไม่จำเป็นต้องอาศัยขันธ์ ท่านพอจะอนุโมทนาตอบผมได้ไหมครับ คงไม่ยากสำหรับท่านนะครับเพราะผมเข้าใจว่าท่านทั้งหลายคงมีภูมิธรรมพอจะตอบคำถามเด็กๆ แบบนี้ จะร้อยเรียงจากตำราก็ได้ หรือ จะเอาผลการปฏิบัติมาอธิบายก็ได้ครับ ขอฟังความคิดเห็นเท่านั้นครับ
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  11. sakool

    sakool สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    จิต ไม่มีอะไรเลย มีแค่สภาพเป็นตัวรู้ เท่านั้น
    ที่เรียกว่าจิต และจะรู้กันและ ในความหมายของการบัญยัญเท่านั้น
    เอก จิตตัง ไม่มีสภาพเป็นดวง
    ปล.ผมยังไม่ถึงขึ้นเห็นจิตมันลอย เหนือสิ่งทั้งปวง ยืมคำหลวงปู่ชา หลวงพ่อพุธมา
    หากผิดพลาดประการใด ผมขอ ขมากรรม ต่อพระอาจารย์
    แต่ท่านก็บอกว่า จิตหากมองหยาบจะมีหนึ่งเดียว ย้ำหยาบๆๆ
     
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    แล้วท่านคิดว่า จิตกับขันธ์ เป็นเช่นไรครับ ผมถามนิดหนึ่งครับ เมื่อท่านไม่มีขันธ์ท่านรู้ได้อย่างไรว่านั่นคือจิต พอจะมีเทคนิคหรืออะไรก็ได้ที่บอกได้ว่าเมื่อไม่มีขันธ์แล้ว
    เจ้าสิ่งนี้คือจิต นั่นคืออะไรครับ และเมื่อเราเข้าใจว่าจิตไม่ใช่ขันธ์แล้วท่านรู้ได้อย่างไรว่า จิตไม่จำเป็นต้องอาศัยขันธ์ ท่านพอจะอนุโมทนาตอบผมได้ไหมครับ

    จิตกับขันธ์บางทีผมก็พิจารณาแยกดูบ้างตามวาระแต่ก็ไม่ได้คำตอบยืนยันชัดแจ้งกับตัวเองสักเท่าไหร่ก็คงเป็นแค่ทิฐิส่วนตัวที่คงไม่ถูกต้องนักกระมั้ง

    อันละเอียดสุดเท่าที่กระทำได้ก็เพียงแค่ตั้งมั่นสักแต่ว่ารู้ไม่มีความคิด ไม่มีรูปรสกลิ่นเสียงใดๆ โล่งว่างไม่มีความเป็นตัวตน รู้อยู่ ไม่มีสัญญาใดๆ อาจจะเป็นสังขารอันละเอียดปราณีตมากก็ได้หรือไปยึดซึ่งวิญญาณขันธ์หรือจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่สามารถบอกให้แจ้งชัดได้เพราะณเวลานั้นไม่มีความสนใจในสิ่งใดๆทั้งสิ้น แต่รู้อยู่ตลอดสายก็แค่นั้น

    แต่ก็นับว่าเป็นสาระอะไรไม่ได้เพราะว่าก็ยังกลับมาทุกข์มายึดถือสิ่งต่างๆ ยังดิ้นรนเข้าไปยึดไปผลักสิ่งกระทบอยู่ แต่ก็พอเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่าความสงบเย็นว่างจากอุปทาน ตัวตนและความยึดมั่นและความทุกข์น่าจะมีจริงและยึดทิฐิว่ามีอยู่จริงตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนและอยากให้พวกเราไปถึงไว้

    แต่สิ่งที่ปรากฏชัดจนยึดเป็นทิฐิไว้ทราบว่าเมื่อความรู้สึกเป็นตัวตันขึ้นมาเมื่อนั้นทุกข์ก็ปรากฏขึ้นต่อหน้าเป็นความทนอยู่ไม่ได้ อันเป็นภพเป็นชาติเป็นอุปทานที่เข้าไปยึดถือครองอยู่ ก็สลายตัวไป ปรากฏเป็นความยึดถือสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ไว้ต่อไป อันนั้นจะเรียกว่าอัตตาหรือภพตามทิฐิของผม วางสิ่งนี้ยึดสิ่งนั้นก่อให้เกิดสภาวะแห่งความทนอยู่ไม่ได้เรื่อยไป แต่สิ่งที่ยึดที่รู้สึกอยู่ก็ยังอยู่แต่เปลี่ยนแปลงตามสภาพของสิ่งที่เข้าไปยึดมั่น
    ความรู้สึกของที่ที่ปรากฏและยึดถือต่างกันไปแต่มีสภาวะเช่นเดียวกันคือความทนอยู่ไม่ได้แต่สลายตัวไปเกิดขึ้นใหม่ตามเหตุปัจจัยความเหนียวแน่นในทิฐิต่างๆ
    ทิฐิที่กระผมยังยึดถือไว้อันหนึ่ง คือความทะยานอยากเข้าไปยึดและผลักและสิ่งที่ออกทะยานไปรับรู้เพราะเหตุอันเนื่องด้วยมีกายอันเป็นปัจจัย อันนี้ก็เกิดจากทิฐิที่ยึดถือไว้อยู่

    ก็พยายามมีสติรักษาใจไว้ไม่ให้ดิ้นรนกวัดแกว่งไปกับสัมผัสต่างๆมากให้กระเทือนกระเพื่อม และยึดไว้จนเหนียวแน่น ปล่อยให้ยอมรับเท่าที่ทำได้ในความทนอยู่ไม่ได้สลายตัวไปอย่างเป็นธรรมดา
    ความเกิดในภพ ความยึดมั่น อัตตา และทิฐิต่างๆก็ยังมีการเกิดขึ้นและดับไป ก็ยังมีสิ่งที่เรียกว่าเข้าไปรู้และเข้าไปยึดไม่เคยตายสลายไปเลยต่างกันก็แค่ความหยาบละเอียดในภพภูมิต่างๆกันที่ปรากฏเข้าไปอุปทานนั้นๆ
    ก็ปรากฏแน่ชัดต่อความกลัวและใคร่พ้นออกจากการเกิดเป็นทิฐิที่แน่ชัดอยู่

    ที่ปรากฏและเห็นผลพอเป็นเครื่องคลายทุกข์บรรเทาได้ก็เป็นแค่ความสงบเล็กน้อยชั่วครั้งชั่วคราวพอเป็นที่พึ่งเย็นได้บ้าง
    ก็ไม่ได้คิดว่าที่กล่าวมาจะตอบคำถามอันใดที่ท่านสงสัยลงได้ แต่ก็เล่าๆการปฏิบัติให้ฟังเผื่อเป็นแนวทางที่ผิดให้ท่านเดินเข้าสู่ทางที่ถูกต้องต่อไป


    จิตที่ไม่อาศัยขันธ์นั้นแล้วอันนี้ก็ไม่สามารถตอบได้เพราะภูมิปัญญาก็ยังไม่ถึงก็คงทำได้แต่เพียงแค่ฟังตามคำแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    แอบเชื่อมั่นลึกๆโดยไม่โต้แย้งในนัยยะที่ว่า ว่ามีอยู่จริง ทำได้จริง โดยไม่ลังเลสงสัยใดๆ ถ้าดำเนินตามทางที่ท่านสั่งสอนไว้

    ก็ขอให้ท่านนำไปพิจารณาเล่นๆให้เกิดปัญญาอาจะเป็นประโยชณ์หรือไม่เป็นประโยชณ์ก็ลองพิจารณาทางที่ผิดที่ยังไม่สามารถหลุดพ้นได้ดูเพื่อเข้าสู่หนทางที่ถูกที่ตรงต่อไป

    เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

    :) :) :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มกราคม 2010
  13. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ครับท่านเสขะ บุคคล ขอฟังความคิดเห็นเท่านั้นครับ และก็ขอให้ท่านเจริญในธรรมเช่นกันนะครับ
    อนุโมทนาสาธุครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2010
  14. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    ป๋มเฝ้าสังเกตคุณธรรมภูติและบางท่านอีกสองสามคน มาพอสมควร
    จนเริ่มรู้สึกไม่อยากเข้ามาในเวปพลังจิต หรือ สมาชิกบางคนอาจจะไม่อยากแสดงความเห็นเรื่อง ภาวนา สมาธิ ฯลฯ

    นั่นเพราะในบอร์ดนี้ จะมีบุคคลไม่กี่คนที่แสดงตัวและออกความคิดเห็นในเชิงว่าเป็น "ผู้รู้" "ผู้ชี้ขาด" ในคำสอน ในการปฎิบัติ ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม ว่าสิ่งใด"ถูก" สิ่งใด "ผิด" ด้วยความมั่นใจในธรรมของตน ป๋มเฝ้าสังเกตและอ่านมาหลายกระทู้ ไม่ต้องการที่จะปะทะวาทะอะไร หรือขัดแย้งกับไคร เพราะป๋มคิดว่าแทบไม่มีประโยชน์เลย ถ้าหากบุคคลนั้น เขาคิดว่าเขาถือผู้ชี้ "ถูก" ชื้ "ผิด" ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม ให้กับพุทธศาสนิกชน อุบาสก อุบาสิกา ชี พระภิกษุ ฯลฯ

    "สิ่งใดบ้างหรือที่ท่านคิดว่าท่านไม่รู้ ในสัทธรรมของพระพุทธเจ้า"
    "สิ่งใดบ้างหรือที่ท่านคิดว่าท่านเข้าใจผิด ในสัทธรรมของพระพุทธเจ้า"

    สำหรับผมยังไม่รู้อีกมากมาย
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาดูที่มาที่ไป กันในกรอบของคำว่า จิต กับ นาม และ รูป

    ก่อนอื่น เราต้องยุบคำว่า ขันธ์5 ลงมาเหลือแค่ว่า รูป-นาม เสียก่อน การยุบ
    คำว่าขันธ์5 ลงมาเป็น รูป-นาม นั้น ตรงนี้ใครเห็นว่า ขัดพุทธพจน์หรือไม่ ถ้าไม่
    ก็ให้ยุบลงมาตามนั้น

    ต่อมาตรงคำว่า จิต การจะเข้าใจเรื่องจิต ไม่ใช่อาศัยดูภาษาบัญญัติ แล้วตี
    ความไปมาแบบใช้สัญญาเข้าว่า การจะเข้าใจให้ถึง จิต ให้ถ่องแท้ จะต้อง
    ระดมการรู้ลงไปที่ ปฏิสนธิกิจ หรือ ปฏิสนธิจิต เป็นสำคัญเท่านั้น เพราะ
    เราจะมีภพชาติต่อไปหรือไม่ จะสิ้นภพสิ้นชาติ เห็นหนทางสิ้นภพสิ้นชาติ หรือ
    รู้ชัดว่า สิ้นภพชาติแล้ว ก็คือ ต้องรู้ชัดลงมาที่ปฏิสนธิจิต เท่านั้น ไม่ใช่กิจอื่นๆ
    ของจิต .... ตรงนี้ หากใครฟังหลวงพ่อทั้งสองที่อยู่ในขอบข่ายประเด็นนี้ๆ จะ
    เห็นว่า พูดมาที่จุดเดียวกัน และ อธิบายกิจนี้เหมือนกัน ลองไปหาฟังกันได้จะ
    เลือกฟังจากใครก็ได้เหมือนกันหมด แต่อย่าฟังจากกบฏศาสนาที่บัดนี้ก็ละทิ้ง
    พระทั้งสองไปแล้ว เพราะว่า พูดไม่ตรงกับตน

    เรามาดูความหมายของ ปฏิสนธิกิจ กันนิดหน่อย เอาตามศรัทธาเข้าว่าไปก่อน

    ปฏิสนธิกิจ ก็คือ การกลับมาเกิดใหม่ในภพชาติใหม่ กลับมาเวียนว่ายตายเกิด โดย
    สืบต่อจาก จุติกิจ ใครจะเรียกช่วง จุติกิจ กับ ปฏิสนธิกิจ ว่า คือการทำงานสืบเนื่อง
    ของจิตดวงเดิม หรือ จะพูดว่าเกิดจากการดับไปของจิตดวงก่อนที่สืบกรรมมายังจิต
    ดวงใหม่ อันนี้ให้เลือกข้างใดข้างหนึ่งไปก่อน แล้วแต่ชอบใจ

    คำนิยามเพิ่มเติมของ ปฏิสนธิกิจ ก็คือ จิตจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีรูปและนาม หรือ
    จิตจะสืบเนื่องกรรมต่อไปไม่ได้หากไม่มีรูปนามก่อนหน้าเป็นเชื้อ (ให้สองสำนวน เพราะ
    บางคนชอบได้ยินคำว่าจิตเกิดดับ บางคนชอบได้ยินจิตดวงเดิมทำกิจสืบเนื่องการรู้ <--- !?)

    ปฏิสนธิกิจ นี้ ท่านระบุว่า มันไม่ใช่ รูปเกิดขึ้นก่อนแล้วนามมาหยั่ง และไม่ใช่นามเกิด
    ขึ้นก่อนแล้วรูปจึงค่อยมี แต่ปฏิสนธิกิจนี้ เป็นจังหวะที่ รูปและนามเกิดขึ้นพร้อมกันที
    เดียว โดยรูปนั้นจะได้จากพ่อแม่(กรณีของคน) แต่นามนั้นได้จากจุติจิต หรือที่นิยม
    มองลงไปว่า คือการสะสมถ่ายถอดกรรมดีและชั่ว ซึ่งจะสอดคล้องกับการเกิด การ
    อุบัติขึ้นของการมีชีวิต ทันทีที่จิตปฏิสนธิในภพใหม่ รูปพรรณ(เผ่าพันธ์)จะต้องมีพร้อมๆ
    กันกับกรรมที่สะสมกันมาเป็นเชื้อให้ได้ วาสนาในชาติใหม่นั้น

    คราวนี้ มาแยกประเด็นที่ว่า จิต นั้นเป็นดวงเดิม หรือว่า นาม มันเป็นกรรมเดิมที่ส่งมา

    หากใครสันนิฐานว่า จิตเป็นดวงเดิมและเป็นผู้ขนกรรมมาด้วยตัวจิตเอง แบบนี้ให้พิจารณา
    ว่า หากเป็นเช่นนั้น แล้วจะทำให้สิ้นภพสิ้นชาติได้อย่างไร ในเมื่อจิตมันเที่ยงเสียอย่าง
    นั้น ไปมองว่าจิตคือตัวปูเสฉวนที่ถอดกายหอบสังขารเก่าๆ(กรรม)มาอยู่ในกระดองใหม่
    หากกรรมเก่า หรือ นามเก่าๆไม่อาจสิ้นไปจากจิตที่หอบกระเตงแบบอาตมันแบบจิตเที่ยง
    แล้วแบบนี้ ปฏิสนธิกิจ ย่อมเกิดขึ้นต่อไป แน่นอนเพราะ เชื้ออันเป็นส่วนนามไม่เคยหาย
    ไป(เอาแต่สะสม -- ใครปฏิเสธิการสะสมก็เท่ากับ ปฏิเสธกฏแห่งกรรมไปด้วย) แบบนี้
    จะสิ้นภพชาติได้อย่างไร ก็ขอให้ใคร่ครวญตามกำลังศรัทธา

    มาดูอีกมุม

    หากใครสันนิฐานว่า จิตดวงเดิมดับไปแล้ว มีแต่ส่วน นาม (รูปเก่า คือ ซากศพไม่ได้
    เอามาด้วย ความเป็นคนไม่ได้เอามาด้วย หากมาเกิดเป็นสัตว์เป็นต้น) เท่านั้นที่สืบทอด
    มาให้จิตดวงใหม่ ก็จะเห็นว่า การสิ้นภพสิ้นชาติก็คือ การทำให้ส่วน นาม นั้นมันไม่เป็น
    เชื้อ ให้มันหมดเชื้อไป เมื่อ ส่วนนามส่งมาไม่ได้ ข้อนิยามที่ว่า ปฏิสนธิกิจ จะต้องเกิด
    นามและรูปพร้อมกัน ก็เป็นอันขาดคุณสมบัติไป ทำให้ ปฏิสนธิกิจ ไม่เกิดนั่นเอง ใช่
    หรือไม่ให้ใคร่ครวญตามกำลังศรัทธา

    * * * * *

    ก็จะเห็นว่า กรรม กุศล หรือ อกุศล กรรม อันเป็น หัวใจ ที่หลายคนชอบยกว่า
    มันสะสมได้ มันสะสมมา เหล่านี้แหละ มันเป็นสภาพธรรมส่วนใดระหว่าง รูป
    กับ นาม

    ใครยังดื้อดึงตอบว่า รูป ก็เท่ากับ กล่าววาจาแบบทึบตัน

    ใครยังพอเห็นว่า มันเป็น ส่วน นาม แน่ๆ เรื่องเชื้อเกิด ก็ขอให้ฟังต่อ และพิจารณาต่อไป

    คราวนี้ ก็ต้องกลับมาที่ข้อสันนิฐาน ที่พวกคุณเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ ในข้อที่ว่า

    จิตเกิดดับ จุติกิจ คือ จิตดวงเก่าดับ แล้ว ปฏิสนธิกิจ คือ จิตดวงใหม่เกิด อันนี้ข้อหนึ่ง

    กับ

    จิตไม่เกิดไม่ดับ จุติกิจเป็นเพียงจิตที่มีอุปทานหลงเหลือทำให้หอบกระเตงขันธ์5(รูป และ
    นาม) มาเกิดในชาติใหม่ด้วย อันนี้เป็นข้อสอง

    มาดูข้อสองกันอีกที ทั้งนี้เพื่อให้ท่านๆทั้งหลายพิจารณาลงไปว่า จริงหรือ ที่อุปทานขันธ์5
    ไม่ได้วางลง แล้วหอบเอารูปและนามจากภพชาติเก่ามาด้วย ก็ขอให้มาดูที่ รูป คุณลอง
    พิจารณาลงไปเถิด หากคนๆหนึ่งตายลงไปแล้วไปเกิดเป็นหมา หมาตัวนั้นมันคลอดลูก
    ออกมาเป็นรูปคน(ขันธ์1 อันเดิม) หรือเปล่า ....มันไม่ยากเลยที่จะพูดให้ดังก้องฟ้า ปรอท
    แตกว่า "รูปคนไม่ได้ออกมาจากท้องหมา" นี่ก็ชี้ลงไปได้ว่า ส่วนสืบต่อ
    ที่มายังชาติใหม่นั้น ย่อมเป็น ส่วนนามขันธ์ เท่านั้น ที่อุปทานขันธ์นั้นพามาด้วย

    และเมื่อ ตัดรูปขันธ์ ออกจากส่วน ขันธ์5 แล้ว จะพบว่า มันมาด้วย ขันธ์4 ส่วนนาม
    ทั้งนั้น

    ทีนี้ พวกคุณก็พิจาณาลงไปเถิดว่า มันมาด้วยส่วนนามขันธ์ข้อใด ใน 1 ถึง 4 นั้น อัน
    ได้แก่

    สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

    จริงหรือที่ส่วนที่ส่งมาทำกิจ ปฏิสนธิกิจ หรือ ปฏิสนธิจิต มาจาก สัญญาความจำเดิม ก็ใน
    เมื่อชาติเดิมเมื่อเกิดใหม่ ก็ลืมหมด

    จริงหรือที่ส่วนที่ส่งมาทำกิจ ปฏิสนธิกิจ หรือ ปฏิสนธิจิต มาจาก เวทนาความสุขเดิมๆ
    ความทุกข์เดิมๆ อทุกขมสุขเดิม ก็ในเมื่อชาติเดิมเมื่อเกิดใหม่ ก็ต้องมาส่งส่ายกันไม่
    หยุด

    จริงหรือที่ส่วนที่ส่งมาทำกิจ ปฏิสนธิกิจ หรือ ปฏิสนธิจิต มาจาก สังขาร เจตสิกเดิมๆ
    ก็ในเมื่อชาติเดิมเมื่อเกิดใหม่ สังขารธรรมเจตสิกมันก็อาศัยเหตุปัจจัยเกิดดับใหม่ทั้ง
    หมด

    ส่วนนามขันธ์สุดท้ายที่ยังไม่ได้กล่าวถึงนั้น ก็ขอให้ท่านพิจารณาเอาเองเถิดว่า มัน
    คือเชื้อ ที่ทำให้ ปฏิสนธิกิจ หรือ จิตดวงใหม่ อุบัติขึ้น ภพชาติใหม่เกิดขึ้น ใช่หรือ
    ไม่

    หากไม่ใช่แล้ว ก็ไม่มี ธรรมใดๆ จะทำให้สอดคล้อง ปฏิสนธิจิต อีกแล้ว เพราะ รูปนาม
    อะไรก็ไม่ใช่ไปหมด ก็มีแต่ล้มข้อควรศึกษา กิจที่ควรทำสิกขา ไปหมดแบบล้มกระดาน

    แต่ถ้าหากยอมรับว่า ปฏิสนธิจิต หรือ ปฏิสนธิจิต นั้นเกิดจากส่วน นามขันธ์ แน่ๆ ยังไม่
    ต้องไปจัดหรอกว่า มันเป็นขันธ์อะไรใน4 นั้น คุณเพียงน้อมพิจารณาลงไปเถิดว่ามัน
    ควรจัดเป็นกองทุกขสัจจไหม ที่มันทำให้เกิด ปฏิสนธิจิต

    หากใครเก่งขนาดระบุได้ว่า นามที่ทำหน้าที่ ณ ปฏิสนธิจิต คือ เวทนา ก็ให้ร้องไปเลย
    ว่า มันจัดในกองสมุทัยสัจจ

    แต่ประเภทเห็นจิตเที่ยงกระเตงขันธ์5 มาทั้งกระบิเพราะติดอุปทานอยู่ แบบกบฏศาสนา
    พูดขึ้นหละก้อ ก็ลองไปพิจารณากันสิว่า ชาติของมัน จะสิ้นไปได้อย่างไร

    และไม่ว่าอย่างไร ก็ขอยก หลักอธิปัจจัยตา มาใช้ อธิบาย เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    แล้วยุบลงว่า มันคือสิ่งเดียวกัน(โดยละ เหตุและผล ไว้ในฐานะที่เข้าใจแทงตลอด
    แล้ว)

    และตบท้ายด้วยคำว่า "จิตอันใด ใจอันนั้น ใจอันใด จิตก็อันนั้น" อันเป็นอุบาย
    ธรรมของหลวงปู่เทสก์ทิ้งท้ายไว้ให้ พร้อมๆหลัก อธิปัจจัยตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2010
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แล้วมีอะไรน่าน้อยใจหรือเสียใจละครับ หากเราคิดว่าเป็นเพราะต้องการพิสูจน์ธรรมก็ควรจะปฏิบัติสิครับ ไม่ใช่เชื่อตามกันมาหรืออ่านตำรามาแล้วก็บอกว่าใช่ต้องเป็นอย่างนั้น เหมือนกับคนกินข้าว กับคนที่ดูคนอื่นกินข้าว มันจะอิ่มเหมือนกันได้อย่างไร อย่าน้อยใจและเสียใจในสิ่งที่ไม่เป็นสาระเลย ผมถามเพราะผมเองก็มีจุดประสงค์จะเรียนรู้ธรรมจากหลายท่าน ไม่ใช่ถามไปเพราะจะชี้ถูกผิดใคร และการคิดว่าชี้ถูกผิดนั้น หากแท้จริงแล้วเราเองไม่รู้ว่าอะไรคือถูกอะไรคือผิด มันจะมีประโยชน์อะไร หากคิดว่ารู้แล้วๆจะมาพูดไปเพื่ออะไร เพราะพูดไปก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี เขาทั้งหลายก็เข้ามาหาแนวทางปฏิบัติ ไม่ใช่มาเพื่อแสวงหากิเลสนี่นา หรือท่านคิดว่า เขาแสวงหากิเลสกันอยู่ ผมไม่เห็นอย่างนั้น ถ้านำแนวความคิดของหลายๆท่านมาพิจารณา แล้วน้อมนำมาปฏิบัติ ผมว่าดีกว่ามานั่งน้อยเนื้อต่ำใจว่า คนที่ฉันรักเคารพศรัทธานั้นมีคนมาทำให้เสื่อมเสีย และที่สำคัญเลย คนเราเมื่อไม่รู้จักแยกแยะก็ยากนักจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของพระธรรมทั้งหลาย และในที่นี้ไม่มีใครตัดสินใครได้ ทุกอย่างอยู่ที่จิตใจตนเองว่า มีกุศลและอกุศลมากน้อยเพียงไหน ก็จะรู้ได้และเห็นได้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ก็สนใจในบรรยากาศของการเสวนาในเรื่องนี้ ก็ขอให้เป็นการนำเสนอความคิดเห็นแล้วกัน จะไม่เกิดอกุศลกรรมแก่ใครๆ เพราะเมื่อน้อมนำไปปฏิบัติก็จะได้ตามที่ตนเองนั่นแหละทำ ดังคำที่ว่า ทุกสิ่งล้วนมีได้เพราะตนเองเท่านั้น
    อนุโมทนาครับ สำหรับท่านที่ยังเห็ฯการสนทนาธรรมเป็นย่างอื่นอยู่
    ปล. สำหรับผมแล้วสิ่งใดที่เราไม่รู้ก็ต้องถาม ไม่ใช่คิดเอาเองแล้วคิดเหมาเอาว่าเราถูกคนอื่นผิด จากนั้นนำคำตอบมาตรวจทานในสิ่งที่เรายังไม่รู้ว่า นั่นเป็นคำตอบที่เราต้องการไหม ไม่ใช่รับหมดเลยใช่หมดเลยแบบนี้ไม่ไหว แล้วเหตุใดละ การที่ตอบไปหรือรับมาเพราะความไม่รู้นั้นมันไม่ใช่วิถีของผู้มีสติและปัญญา เมื่อไม่รู้ก็นิ่งเสีย แล้วรอดูคำตอบ พร้อมนำไปพิจารณาหาว่าจริงหรือไม่อย่างไร หากว่ายังคิดว่าเป็นการแข่งขันในด้านความรู้อันมีแต่ในตำราก็สุดแล้วแต่ สมควรแล้วที่ไม่ควรจะมาอ่านในเวป หรือในกระทู้ต่างๆที่ว่าด้วย สมาธิ ภาวนา นะครับ เพราะ มันจะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นได้อย่างมากมาย เพราะความคาดหวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2010
  17. นาคเกสร

    นาคเกสร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2010
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +95
    จอมยุทธ์ผู้กล้าหาญ เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน เกิดมาเพื่อเป็นยอดคน ตายไปก็เป็นยอดผี ปฏิบัติดีชอบ จะเถียงกันไปใย

    การกล่าววาจาใดๆก็แล้เวแต่ จะดีหรือเลว ก็ไม่สะท้านเข้าในใจ เลือดจอมยุทธ์ย่อมเข้มข้นกว่าปุถุชน วาทะธรรมของสัตบุรุษรุ้ได้ยากโสรัจจะและอวิหิงสา เป็นดังเท้า หลังทั้ง2ของพระยาช้าง สติ และสัมปชัญญะนั้น เป็นดังเท้าหน้าของพระยาช้าง
    กระบี่ก็เหมือนอาวุธ ที่มีคมทั้งสองด้าน ไม่เราก็เขาม้วย อิอิอิ
     
  18. เย็นจิต

    เย็นจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +709
    โง่เขล่า ... แสดงถึงความไม่รู้จริงตามสภาพ ...
     
  19. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตเปนส่วนนาม ประกอปขึ้นจาก วิญญาน สังขาร สัญญา เวทนา
    กาย เป็นส่วนรูป ประกอปกันขึ้นจากธาตุ 4 ดินน้ำลมไฟ
    ขนาดกายที่มองเห็นกันตรงหน้า มันประกอปขึ้นมันไม่คงทนไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวของมันเอง มันแค่รวมกันอยู่ประชุมกันอยู่พอหมดวาระหมดกำลังมันก้แยกออกคลายออกตามสภาพของมัน เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เช่นเดิม เรามองกายเมื่อยังมิทิฐิอันหลงไปตามรุปที่ปรากดก้ยังคิดว่ามีจริงเป็นสิ่งที่ควรยึดควรบำรุงไม่ไห้เสื่อมไป แต่ก้ไม่อาจหลีกพ้น ชรา มรนะ อาพาท ไปได้ เพราะมันไม่ใช่สิ่งแท้แน่นอนมันเป็นของประชุมขึ้น ตามด้วยวาระและ กรรม เท่านั้น ภพเปลี่ยนจากตันหาอุปทาน ก้เกิดภพไหม่ เกิดกายไหม่ที่เหมาะสมตามกรรม ประชุมกันขึ้น เป็นเสมือนภาชนะเท่านั้นที่ใส่ จิตไว้ ผู้หลงในกาย มี กายทิฐิอันผิดก้จะยึดและเข้าใจว่ากายนี้เป็นเรา เป็นของเราและละจากกายนี้ไปไม่ได้ทำไห้ต้องเสียใจอันด้วยคความพลัดพรากที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในทุกๆๆภพทุกๆๆ ชาติ ที่เกิดขึ้น หากมองเห็นแล้วว่ากายไม่ใช่เรา ก้จะรู้ว่ามันแปลเปลี่ยนไปตามภพ ตามกรรมเท่านั้น การมองกายที่เห็นกันต่อหน้ายังหลงไปยึดแล้วจะไปมองใจได้ถูกต้องได้อย่างไร

    จิต หรือใจเรา มันก้ไม่มีตัวตน ประกอปกันขึ้น ด้วยสังขาร วิญญาน สัญญา เวทนา เท่านั้น เมื่อไม่รู้เท่าทันไม่แจ้งก้จะหลงไปดั่งเช่น เห็นกาย หลงกาย ว่ามันคือเรา เมื่อรู้เห็นว่าจิตไม่ใช่เรา หรือ สังขาร วิญญาน สัญญา เวทนา ไม่ใช่เรา เอาแค่รู้ไห้ได้ก่อนว่ามันรวมตัวกันขึ้นเช่นเดียวกับดิน น้ำ ลม ไฟ ที่รวมตัวกันเป็นกาย

    คนบางจำพวกมีทิฐิเห็นความจริงแล้วว่า กายและใจนี้เป็นคนละส่วนกัน จึงเข้าใจในทุข ที่มากระทบและวางลงได้บ้าง เพราะไม่ยินดียินร้ายในกาย แต่ใจนั้น ยังไม่สามารถรู้เท่าทันถึงการประชุมรวมกันของมันจึงยึดใจเอาไว้ตามสภาพที่รู้สึก ว่ามันเป็นตัวตนมีอยู่จริงและไม่เปลี่ยนแปลงสภาพไป
    เวทนา สังขาร วิญญาน สัญญา ร้อยรัดกันแน่นติดกันผุดเกิดขึ้นพร้อมกันจนแทบแยกไม่ออก หากไม่มีแสงของปัญญาส่องไห้เห็นก้คงไม่สามารถรับรู้ได้ว่าใจนี้ไม่ใช่เราเลยมันประกอปกันขึ้นโดยแท้ อาการเปลี่ยนแปลงมันก้เป็นไปตามกรรม ตามการกระทำตามกระทบเท่านั้นเพียงไม่ต้องไปฝืนไม่ต้องไปข่มไม่หวัง ในสิ่งที่พอใจ และไม่พอใจ และไม่จับอยุ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก้ไม่ต้องทนกับสิ่งใดเพราะเข้าใจในสภาวะของมันที่มันเกิดขึ้นเองเปลี่ยนไปเองและดับลงเอง
    แต่เราต้องเห็นสิ่งเหล่านี้และรู้ในมันและไม่ยึดว่ามันนั้นคือเรา เราจะเป็นอย่างไรก้ไม่เป็นไร ใจจะเป็นอย่างไรก้ไม่เป็นไร มันเพียงเกิดตามกระทบเท่านั้น จึงไม่ต้องทน กับสิ่งใด เพราะเราไม่ยึด ไม่หวังว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ กับสิ่งใด มันจึงคลาย และใจกับกายจะเป็นอย่างไรก้แค่ นั้นการเกิดดับเป็นไปอย่างนั้นเอง เมื่อหมดรูปหมดนามขันก้ไม่ต้องกระทบไม่ต้องทนต่อสิ่งใดๆๆไม่ทุข เป็นสุขไป

    แวะมาแสดงทิฐิส่วนตัว
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ทำตามจุดประสงค์ไง (เริ่มต้นด้วยกิเลสแต่จบลงด้วย ไม่ปัญญา ก็ อวิชชา) ควรตอบคำถามให้อยู่ในกรอบกระทู้ ถ้าอยากจะตอบ อย่าคิดว่าเป็นการ โต้เถียง หรืออื่นใด แต่ถ้าอยากตอบแบบเดิมก็แล้วแต่ เพราะมันเป็นสิ่งที่ออกมาจากจิตใจของแต่ละคน ย่อมไม่เหมือนกัน ต้องพิจารณาหาสิ่งที่ควรถาม แล้วให้เขาตอบ แต่ไม่ใช่ไปว่าเขา แล้วอย่างนี้จะเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นได้อย่างไร ยิ่งฝึกปฏิบัติไปยิ่งเป็นคนมักโกรธ ชอบใช้คำหยาบ ชอบคิดอกุศลอย่างนี้แล้ว ใครที่ไหนมันจะมาเชื่อว่า ฝึกปฏิบัติแล้วจะมีแต่สิ่งดีงาม เป็นสิ่งดีงาม เอาธรรมง่ายๆไปพิจารณาก่อนถึงเรื่องจิต เพราะถ้ามองเป็นเรืองอื่นก็ได้เรื่องอื่น ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...