เปิดตำนานพระอภิญญา-เปิดธรรมไตรโลกธาตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มโน, 9 มิถุนายน 2009.

  1. koon y

    koon y สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +4
    ขออนุโมทนาอย่างยิ่งกับเจ้าของกระทุ้ คุณภูตัง คุณck2548 และทุกท่านด้วย
     
  2. ptham

    ptham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +1,121
    วันนี้ได้อ่านพระธรรมจากหลวงปู่เณรคำแล้ว อิ่มบุญมากครับ ขอกราบอนุโมทนาบุญกับหลวงปู่เณรคำด้วยครับ สาธุ
     
  3. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ขันติธรรม

    • พระอริยเจ้าละสังขาร ไม่มีแดนเกิดแห่งกายนี้อีก ไม่ว่าจะเป็นกายสัตว์ กายอะไรก็ช่าง กายละเอียดกายหยาบไม่มีอีกต่อไป
    • นัก ปฏิบัติต้องกำหนดรู้อยู่ในกายให้มาก ให้เห็นแจ้งรู้จริงในกายเมื่อกำหนดรู้ในกายเด่นชัดแล้ว ก็จะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า จิตเป็นยังไง กายเป็นยังไง ไม่ต้องไปถามใคร
    • นักปฏิบัติต้องทบทวนดูพฤติจิตของตนเองให้ดี ให้เด่นชัด ให้ละเอียด เพราะกลเกมกลลวงของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันเฉียบคม
    • ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว อย่าเลือกที่ปฏิบัติ ที่ไหน ๆ ก็ปฏิบัติได้ทั้งนั้น ปฏิบัติให้ตื่นรู้อยู่ในกายทุกอากัปกิริยา
    • ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว ไม่พึงแสวงหาวัตถุอย่างอื่นอันนอกเหนือจากความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
    • การปฏิบัติธรรมนั้น แม้เกิดก็เกิดคนเดียว การจะเข้าถึงมรรคผล ก็เข้าถึงคนเดียว ธาตุขันธ์จะแตกดับก็แตกดับคนเดียว
    • การธุดงค์ป่านอก ไม่มีผลสำเร็จดีเท่ากับเดินจาริกอยู่ในป่ามหานครกายและป่าใจของตัวเอง
    • จงดำเนินองค์สติ ให้ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ควบคุมความคะนองทางใจ สำรวมระวังความคิด เจริญกองบุญกุศลให้ถึงพร้อม และให้ละบาปอกุศลให้สิ้น
    • ไม่ยึดถือเอาสัญญาเป็นเจ้าของ หลุดพ้นออกจากสัญญาแล้วความขุ่นข้องหมองใจ ความพยาบาทปองร้ายก็ดับไป
    • พอใจในสิ่งที่เรามี พอใจในสิ่งที่ตนได้ ถ้าดิ้นรนมาก ก็จะกลายเป็นกิเลส ตัณหา
    • ท่าน ทั้งหลายที่เป็นสาธุชนนั้น ต้องอาศัยการให้ทาน ต้องอาศัยวัตถุทาน เป็นตัวนำจิตให้เข้าถึงบุญกุศล เป็นสิ่งที่ทำง่ายสำหรับท่านทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจของท่านทั้งหลาย ยิ่งใหญ่ขึ้นในภายภาคหน้า
    • การ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารภพน้อยภพใหญ่นี้ มันทุกข์ร้อนมาก ๆ ผู้ไม่ปรารถนาที่จะมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ต้องปฏิบัติตนรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา ตั้งศรัทธาให้มั่นคง ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งปวง ถอดถอนความยึดถือในโลกทั้งปวง ในธรรมทั้งปวง ความเป็นตัวเป็นตน ความแบกหาม เอาสมมุติทั้งหลายทิ้งไปให้หมด สละไปให้หมด จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนว่าย ตายเกิด
    • ท่านผู้มีปัญญาย่อมมีธรรมปรากฏอยู่ในจิตใจเสมอ ปัญญาธรรมคือ สิ่งที่เลิศที่สุดในชาติปัจจุบัน
    • ธรรม ทั้งปวงนั้นคือ เครื่องเตือนให้ท่านทั้งหลายตื่นจากการหลับใหลในความยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ให้รู้จักส่งคืนสิ่งยึดติดทั้งปวง ด้วยธรรมอันจิตไม่ยึดมั่น เห็นเด่นชัดนั่นเป็นสักแต่ว่า
    • นักปฏิบัติต้องใช้สติปัญญาที่เฉียบ คม ทบทวนดูผลของการปฏิบัติที่ผ่านมาให้ละเอียดมากลงไปเรื่อย ๆ ว่ากิเลส ตัณหา อุปาทานที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจนั้น มันหมดไปมากน้อยแค่ไหน และทบทวนดูสภาพจิตของตัวเองให้ลุ่มลึกลงไปให้มาก ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้ว ทุกอย่างต้องดับไป
    • นักปฏิบัติต้องทบทวนดูสิ่งที่ตนเห็นให้ดี เพราะสิ่งที่เห็น คือ อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น เมื่อเห็นแล้วเดินจิตปลงลงสู่ความไม่ยึดถือ เดินกระแสจิตเข้าสู่ความดับ พอมันหลุดไปหมดแล้ว จะเห็นอะไรมันก็เห็นเป็นปกติ
    • นักปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูรูป เวทนา ให้เด่นชัด เมื่อเด่นชัดแล้ว จิตก็จะถอดถอนออกโดยอัตโนมัติ เห็นเป็นเพียงสมมุติเท่านั้น
    • สาธุชนทั้งหลายอย่าเห็นฤทธิ์เดชเหล่านั้น สำคัญกว่าการละกิเลสให้ได้เด็ดขาดอย่างแท้จริง
    • ท่าน ทั้งหลาย เราอย่าเข้าใจว่าพระพุทธเจ้านั้นสอนให้เราสร้างแต่บุญเพื่อไปเกิดในสวรรค์ อย่างเดียว แต่หัวใจของพระพุทธเจ้าที่เน้นหนักลงมา คือ ให้เราได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดตามพระองค์
    • อุเบกขา นั้นไม่ใช่การวางเฉยไปเลย แต่เป็นการเฝ้าดูโดยความสงบนิ่งของจิต ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง ท่านทั้งหลายจงมีอุเบกขาแบบอุเบกขาผู้มีปัญญา อุเบกขาแบบผู้มีปัญญา คือ การเฝ้าดูอยู่ไม่ให้ตนเองพลาดพลั้ง ไม่มีสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศล
     
  4. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    • เนื้อแท้ของธรรมชาติในโลกวัฏฏทุกข์นั้น ล้วนแล้วไม่ยั่งยืน แปรปรวนอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย จึงให้ทุกท่านเข้าไปรู้ความจริงของธรรมชาติแห่งวัฎฎทุกข์นั้น ด้วยสติปัญญาอันสุขุมละเอียด และด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ความจริงแจ้งชัดหายสงสัยปรากฏอย่างที่สุด หลุดพ้นทันที
    • ความโง่ในโลก ที่เราโดนหลอกเอย คนนั้นหลอก คนนี้หลอก มันไม่ใช่ความโง่ที่เรียกว่าหนักหนาอะไร แต่ที่หนักคือ เราโง่ให้กิเลสมาสับรางจิตใจของเรา ให้ไปผิดทาง
    • ยุคนี้ คือ ยุคที่เราจะทำให้เป็นดั่งสมัยพุทธกาล คือ ให้มีผู้บรรลุสำเร็จเป็นอรหันต์มากที่สุด ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
    • จิตที่หลงยึดติด ว่าเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราบรรลุแล้วจบสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว จิตที่หลงนี้ ต้องกลับมาเกิดใหม่และนำเอาจริตเดิม สันดานเดิมที่หลงติดไปด้วย
    • ถ้าเรารักษาศีลไม่ดีก็เท่ากับว่าเรายังไม่แจ้งในศีล ถ้าเราบำเพ็ญภาวนาไม่ดีก็เท่ากับว่าเราไม่แจ้งในสติ ถ้าเราไม่มีความตั้งมั่นเพียงพอเท่ากับเราไม่ตั้งมั่นในสมาธิ ถ้าเราไม่มีความรู้เท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทานเท่ากับเราไม่รู้แจ้งในปัญญา
    • ถ้าเราได้จาบจ้วงพระอริยเจ้าองค์หนึ่ง ก็เหมือนเราได้จาบจ้วงทั้งหมด ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบันกาลนี้ ผลกรรมนั้นมันหนักหนาสากรรจ์มาก
    • ให้เฝ้าดูอาการของจิตจนรู้จิตเด่นชัด การบรรลุธรรมจะปรากฎ รู้จิตเห็นธรรม
    • จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง
    • ทุกคนจงมาทำให้แจ้งในปัจจุบันนี้เลย อย่าทำเพื่อชาติหน้า อย่าทำเพื่ออนาคตอันยืดเยื้อยาวไกลไปมาก ทำปัจจุบันให้มันแจ้ง แจ้งทั้งกาย ให้มันแจ้งทั้งจิตใจ อย่าให้มีข้อลังเลสงสัย อย่าให้มันเกิดการพวักพวงให้มันแจ้งไปหมด
    • การขับเคลื่อนของสติปัญญานั้น ต้องเดินอย่างต่อเนื่อง
    • เมื่ออำนาจสติมีกำลังพอเพียง จะสามารถเห็นความเป็นจริงได้ว่าสภาพจิตและกาย ไม่ได้เป็นเนื้ออันเดียวกัน มันแยกกันอยู่
    • สัญญานั้นเหมือนเพลิงที่มาเผาจิตของเวไนยสัตว์ไม่ให้หลุดพ้น ออกจากกองทุกข์
    • คำว่าขณะที่ปฏิบัตินี่ ไม่ใช่เฉพาะชั่วโมงนั้นชั่วโมงนี้นะ มันทุกอากัปกิริยา ทุกสภาวะในปัจจุบันนั้น ๆ แต่ละลมหายใจเข้า – ออก แต่ละเวลา แต่ละชั่วโมง แต่ละนาที สภาพปัจจุบันด้วย
    • ยศถา บรรดาศักดิ์ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณทั้งหมดเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เราก็ไม่ได้เอาไปด้วย เป็นสักแต่ว่าสมมุติในโลกนี้แค่นั้น ท่านจะเป็นมนุษย์ผู้มีสมบัติใหญ่โต มีชื่อแปลก ๆ มีรถยนต์นั่นคือเครื่องสมมุติ ผู้ที่บำเพ็ญตนให้พ้นจากกิลสตัณหา เห็นสมมุติเหล่านั้นให้เด่นชัด เห็นทุกอย่างเป็นสมมุติ รู้สมมุติเหล่านั้นแล้วทิ้งสมมุติเป็นแดนเกิด ภพชาติจึงดับไป
    • หัวใจแก่นแท้ของนักปฏิบัติธรรมตามธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ความไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของในสิ่งทั้งปวง
    • คำว่าปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง คือ ไม่ให้เผลอ ไม่ให้หลงลืม ไม่ให้ด่างพร้อยไปตามอารมณ์
    • การ บำเพ็ญต้องบำเพ็ญด้วยสติล้วน ๆ ปัญญาล้วน ๆ ไม่ไปหลงกับอำนาจสมาธิ อำนาจความสุข ความปิติบางอย่าง ต้องตั้งสติให้มั่นคงเด็ดเดี่ยวขึ้นกว่าเดิม ตั้งกำลังปัญญาให้มันแกร่งขึ้นมากกว่าเดิมพิจารณาให้มันแตกฉานไปเสียหมดเลย จึงจะหลุดพ้น
    • การบำเพ็ญนั้น ต้องบำเพ็ญด้วยความเด็ดเดี่ยว คำว่าเด็ดเดี่ยวหลักสำคัญ คือ ไม่ต้องไปลังเลสงสัยกับคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องอื่น ให้นั่งทำใจของตนให้สงบระงับ ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่าง ๆ
    • การบำเพ็ญต้องหลีกเว้นออกจากสิ่งที่เคยยึดถือยึดมั่น ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหนังเอ็นกระดูก เป็นตัวเริ่มต้นเลยในการถอน เมื่อเราไม่ได้ยึดมั่น ถือมั่นเป็นเนื้อหนังเอ็นกระดูกแล้ว อย่างอื่นมันไม่ยึดถือกันอัตโนมัติ
    • สภาพสติปัญญาที่จะน้อมนำธรรมคำสอนเข้าฝังในหัวใจ จะเข้าไปในจิตใจมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังสติปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ เพราะว่าการบำเพ็ญบารมี ไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ของแต่ละคน แต่ละท่านนั้น สะสมกำลังบารมีส่วนนี้มาแตกต่างกัน
     
  5. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    • ยิ่งรู้แจ้งในกายมากเท่าไหร่ สติปัญญายิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น
    • ยอดที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจของสาธุชนทั้งหลายนั้น ต้องให้ถึงที่สุดแห่งองค์พุทธะ ให้ถึงที่สุดแห่งองค์ธรรมะ และให้ถึงที่สุดแห่งองค์พระสังฆอริยเจ้า ด้วยเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตนี้รวมเป็นหนึ่งหมุนเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้านั้น นั่นแหละคือว่า เราได้ทำให้ถึงยอดของพระพุทธศาสนา
    • นิพพานนั้นไม่มีแดนเกิด นิพพานนั้นดับได้หมดเลย นิพพานเหนือโลกทั้งมวล เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดทั้งหมด
    • สาธุชนท่านใดปรารถนาให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายในการเกิด ต้องทำให้แจ้งในมหานครกายและมหานครใจ แจ้งจนหายสงสัย เมื่อหายสงสัยแล้ว ส่งคืนไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ
    • แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น
    • ถ้าจะหลุดพ้นแท้ ๆ คือ ไม่เป็นในสิ่งที่เป็น ไม่มีสิ่งที่เป็นยึดถือในหัวใจ
    • หลุดพ้นออกจากความหลุดพ้น นี่คือ ที่สุดของการปฏิบัติ
    • การบรรลุมรรคผล จิตนั้นจะไม่มีอะไรแทรกแซงในจิตเลย แม้แต่ความเห็นว่า จิตของตนนั้นใสดั่งแก้ว ก็ไม่มีเลย
    • การเดินย่ำไปในโลกธรรม ถ้าจิตเหนื่อยล้าก็จงพักเอากำลังแห่งสติปัญญาอันกล้าหาญ ไม่หวั่นไหวในสภาพทั้งปวง โลกธรรมมันยาวไกลไม่สิ้นสุด จิตหลุดพ้นแล้ว แม้โลกธรรมจะแสนไกลไร้ความหมาย เจริญธรรมอันเลิศแด่ท่านผู้ประเสริฐ
    • ความเชื่อในทางโลกนั้นมีกำลังมากกว่าความเชื่อในทางธรรม เพราะว่าทางโลกนั้นมีรูปธรรมสัมผัสได้จับต้องได้ แต่ทางธรรมนั้นต้องใช้สติปัญญา มันจับต้องไม่ได้ด้วยมือเปล่า แต่กำหนดรู้เข้าไปที่จิตสำนึกได้เท่านั้น ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมได้ ต้องเป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตั้งมั่นศรัทธาในศาสนาจนแก่กล้าจึงจะเข้าถึงราก ได้
     
  6. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    แผนที่ไปวัดป่าขันติธรรม

    เส้นทางไปวัดป่าขันติธรรม
    โดยรถยนต์

    1. ออกจากกรุงเทพฯ ถึงสระบุรี ไปตาม ทางหลวงหมายเลข 2 ถึงสะพานต่างระดับสีคิ้ว เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 24 ผ่าน อ.นางรอง อ.ประโคนชัย อ.ปราสาท อ.สังขะ ถึงสามแยกขุขันธ์ เลี้ยวซ้าย ไปตาม ทางหลวงหมายเลข 220 ถึง จ.ศรีสะเกษ เลี้ยวขวา ไปตาม ทางหลวงเลี่ยงเมือง ผ่านสี่แยก อ.กันทรลักษ์ ถึงสามแยก จ.อุบลราชธานี เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 226 ประมาณ 17 กม. ถึงสี่แยก บ.โนนค้อ เลี้ยวขวา เข้า วัดป่าขันติธรรม อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    2. ออกจากกรุงเทพฯ ถึงสระบุรี ไปตาม ทางหลวงหมายเลข 2 ถึง สะพานต่างระดับข้ามทางรถไฟที่ 1 ตรงไปถึง สะพานต่างระดับข้ามทางรถไฟที่ 2 ตรงไปประมาณ 1 กม. ถึง สามแยกหัวทะเล เลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวง 226 ผ่าน จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ ผ่าน จ.ศรีสะเกษไปประมาณ 17 กม. ถึงสี่แยก บ.โนนค้อ เลี้ยวเข้าวัดป่าขันติธรรม อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
     
  7. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
  8. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    โดยพระเดชพระคุณท่านหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก

    เราหาความทุกข์ทางใจไม่มีอีกแล้ว
    ทั้งสุขแลทุกข์ก็หายไปจากใจ
    มีไว้เพียงทุกข์เวทนาส่วนกายเท่านี้
    ดวงใจอันนี้ไม่ได้หวั่นไหวในทุกข์เวทนาทั้งส่วนกาย และสุขส่วนใจ
    ไม่ยึดฝ่ายสุข ไม่ยึดฝ่ายทุกข์
    เรามีธรรมเป็นอาหารทางใจ
    อันธรรมนี้หล่อเลี้ยงใจเราตลอดกาล
    อย่าไปยึดถือ เอาเป็นตัวตน
     
  9. ตถาตา.

    ตถาตา. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +30
    ไม่รู้ว่าทำไมถึงตื่นกันขนาดนี้ พระอรหันต์มิได้มีองค์เดียวเสียเมื่อไร ใคร ๆก็เป็นได้ถ้ามีความตั้งใจฝึกฝนตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างช้าไม่เกิน7ปี อย่างเร็วก็7วันแล้วแต่บารมีที่สั่งสมมา พระอรหันต์ในบ้าน(พ่อแม่)อ่ะให้ความดูแลอย่างไรกันบ้างล่ะ ถ้าพอมีเวลาหา ซีดี อสีติมหาสาวก ฟังกันสิ แล้วจะกระจ่างขึ้นเยอะ
     
  10. ตถาตา.

    ตถาตา. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +30
    ใครจำเรื่อง จตุคามรามเทพได้บ้าง ตอนนี้เป็นไงบ้างครับ
     
  11. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    สาธุ.....ท่านบารมีแรงกล้า
    ผู้อื่นตื่น...ท่านผู้เขียนเป็นผู้ไม่ตื่น...
    เป็นเพราะท่านผู้เขียนหลับตลอด...ฝันอย่างเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2009
  12. cookieberry

    cookieberry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2009
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +4,607
    เเรงค่ะ จริงค่ะว่าพระอรหันต์ไม่ได้มีองค์เดียว เเละพ่อกับเเม่คือพระอรหันต์องค์เเรกของลูก

    เอาเป็นว่าถ้ามีคนไม่รู้เรื่องว่า พ่อกับเเม่คือพระอรหันต์ของลูก เพิกเฉยไม่ดูเเลพ่อเเม่ เเต่เค้าคนนั้นกลับตามหาที่จะกราบพระอรหันต์ซักองค์ในชีวิตเค้า

    เมื่อเค้าคนนั้นมีบุญได้เจอพระอรหันต์เเล้ว พระอรหันต์ท่านอ่านวาระจิตของคนได้ค่ะ ท่านก็ต้องเทศน์สอนเรื่องความกตัญญูกับพ่อเเละเเม่เเน่นอน ท่านคงไม่เริ่มเทศน์ว่า อาตมาดีอย่างโน้นดีอย่างนี้หรอกค่ะ ไม่มีทาง

    เเละถ้าเมื่อจิตคนๆนั้นศรัทธาในความเมตตาเเละคำสั่งสอนของพระอรหันต์องค์นั้นจริงๆ เค้าก็จะหันกลับมาดูเเลทดเเทนบุญคุณพ่อเเม่เอง โดยที่พ่อเเม่ไม่ต้องปากเปียกปากเเฉะหรอกค่ะ

    เพราะฉะนั้นถ้าใครซักคนหนึ่งคิดจะตามกราบพระอรหันต์ซักองค์ก็คงไม่เป็นอะไรหรอกค่ะ
     
  13. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    [​IMG] อนุโมทนาสาธุ..ค่ะ [​IMG]
     
  14. ทรืะ

    ทรืะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +393
    ดิฉันก็อยากไปเหมือนกัน คิดไว้ว่าถ้ากลับเมืองไทยจะลองไป
     
  15. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    เหตุที่สร้างองค์พระแก้วมรกต

    คืนวันอาทิตย์ ที่ 4 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาตี 2 ท้าวสักกะเทวราช มหาราชองค์อินทร์ มหาราช จอมเทวดา ผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย ได้มาอาราธนานิมนต์ให้หลวงปู่เณรคำ นำพาสาธุชน ได้ร่วมกันสร้างองค์ พระแก้วมรกตจำลอง หน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร โดยมหาราชองค์อินทร์ จะเป็นผู้ช่วยอำนวยการสร้างให้ราบรื่น ให้แล้วเสร็จด้วยพลังใจ พลังจิตอันยิ่งใหญ่ ทั้งเทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย

    “ได้ถึงกาลอันสมควรแล้ว ที่พระคุณเจ้าจะต้องทำการสร้างสิ่งที่เคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งอันควรในการสักการะบูชาของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์ทั้งหลาย เนื่องจากปัจจุบันในโลกมนุษย์ ชนทั้งหลายได้มีใจห่างเหินจากธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก พระคุณเจ้าผู้เจริญ บารมีพระคุณเจ้ามีพอแก่การสร้างมาแล้ว พอแก่การทำให้อายุ พระศาสนาวัฒนาถาวรแล้ว แม้อายุยังน้อย แต่ได้บำเพ็ญสมณธรรมมามากต่อมากชาติจนนับไม่ถ้วน จนถึงชาติปัจจุบัน การสร้างบารมีของพระคุณเจ้ามีมามากแต่ชาติปางก่อน จึงไม่เป็นอุปสรรคใด ๆ ขอพระคุณเจ้าจงตริตรองด้วยปัญญาอันยิ่งใหญ่เองเถิด เมื่อถึงกาลนี้ข้าพเจ้าจึงได้เสด็จลงมาด้วยปรารถนาจะขออาราธนานิมนต์พระคุณ เจ้าผู้เจริญ ได้นำพามวลมนุษย์ชนทั้งหลาย สร้างองค์พระแก้วมรกตรัตนปฏิมากรจำลองคล้ายองค์จริง เพื่อเป็นพุทธบูชา ถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐในไตรโลกทั้งหลาย และเพื่อยังอายุพระศาสนาให้วัฒนาถาวรยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาให้ครบ 5,000 ปี เพื่อเป็นที่อันควรสักการะบูชา ของอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย”


    อานิสงส์ของการสร้างองค์พระแก้วมรกต
    จิตใจของมนุษย์ชนทั้งหลาย จะเข้าถึงพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดามากยิ่งขึ้น และบุคคลใดได้สร้างจักมีใจอันผ่องแผ้ว มีกุศลถึงพร้อม บารมีจากการสร้างย่อมประจักษ์เด่นชัด อย่างทวีคูณมหาศาล ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อันเป็นสุคติภูมิ จักถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตกาล และหากยังไม่ถึงซึ่งพระนิพพาน จักได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี หรือเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลสัมมาทิฐิ ที่เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ และ เจริญในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกชาติ
    เชิญร่วมบริจาคสร้างองค์พระแก้วมรกตและวิหารได้ที่ พระวิรพล ฉัตติโก

    ธนาคารกรุงเทพ
    สาขา: พระราม 9
    เลขที่บัญชี: 215-0-61617-1

    หรือที่
    ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีสะเกษ
    บัญชีออมทรัพย์
    ชื่อบัญชี วัดป่าขันติธรรม โดยหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
    เลขที่บัญชี 311-0-65441-5


    เมตตาธรรมของหลวงปู่เณรคำ
    หลวงปู่ เณรคำ ท่านมีเมตตาธรรมต่อสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทุกท่าน อยากให้ทุกคนได้เข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ ท่านจึงได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติ ที่ท่านเคยบำเพ็ญมาตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงปัจจุบัน มาสอนให้เราท่านทั้งหลาย ออกจากความยึดมั่นถือมั่น ในร่างกายและจิตใจ สอนให้เป็นผู้มีปัญญารู้แจ้ง ตามหลักการปฎิบัติ เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้น ตามธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว
    ธรรมะและแนวทางการปฏิบัติ ที่หลวงปู่ได้เมตตานำมาสอนนั้น เป็นแนวทางลัดในการปฏิบัติ ให้บรรลุธรรมกันได้ง่ายขึ้น สามารถเข้ากับจริตของทุก ๆ คน ทุก ๆ จิตใจ ถ้ามีความเพียร ถ้ามีความศรัทธา ในองค์พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ความเพียรและความศรัทธาที่เด็ดเดี่ยวมั่นคงนั้น จะเป็นกำลังผลักดันให้เรามีตบะเดชะในใจ สามารถบำเพ็ญจนสำเร็จเป็นมรรคเป็นผลได้ในที่สุด นี่แหละ คือ เมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ ที่หลวงปู่ท่านได้หยิบยื่นให้แก่เราท่านทั้งหลาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    พระแก้วมรกตโดยหลวงปู่อุ่น อุตตโม

    เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม) วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร) ได้ไปกราบนมัสการฟังเทศน์ และได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาด เพราะมีฝุ่นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ

    หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว ท่านพระอาจารย์ได้ทำความสะอาด โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ-ภิเนษกรมณ์) เอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านหันมาเห็นเข้า พูดว่า
    "อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้"


    ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง

    เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้วย ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต ท่านว่า
    "พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม"


    การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรัก

    และท่านยังบอกอีกว่า วัดพระแก้วนี้เป็นวัดพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรมเนียม เพราะพระพุทธเจ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และผู้สุขุมาลชาติ เมื่อพระสงฆ์ไม่รู้พุทธธรรมเนียม ถ้าไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว

    ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวเท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่จอมไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรงรู้มาแล้ว ได้ทรงสร้างวัดถวายจำเพาะพระแก้วเท่านั้น


    พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า


    ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวัด แม้แต่ชาวต่างชาติ มีโอกาสเข้าไปในบริเวณวัดพระแก้ว จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้ ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้




    จากหนังสือ "รำลึกวันวาน"
    หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ



    <!-- google_ad_section_end -->
     
  17. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ข้อวัตรปฎิบัติหลวงปู่มั่น-หลวงปู่หล้า

    ไฟล์แนบข้อความ<TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_6040 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6040.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6040 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ข้อวัตรหลวงปู่มั่น-หลวงปู่หล้าเทศน์.mp3 (6.26 MB, 1187 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6041 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6041.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6041 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ข้อวัตรหลวงปู่มั่น-หลวงปู่หล้าเทศน์ (ซ้ำและไม่ครบ แต่เสียงดี.mp3 (1.68 MB, 492 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6042 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6042.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6042 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ตอนที่1ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จัดทำโดย มูลนิธิหลวงพ่อวิริยั.mp3 (10.63 MB, 1911 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6043 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6043.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6043 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ตอนที่2ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จัดทำโดย มูลนิธิหลวงพ่อวิริยั.mp3 (10.90 MB, 1045 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6044 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6044.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6044 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ตอนที่3ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จัดทำโดย มูลนิธิหลวงพ่อวิริยั.mp3 (10.02 MB, 955 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6045 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6045.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6045 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท.mp3 (15.24 MB, 400 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6046 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6046.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6046 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ประวัติหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ1.mp3 (10.12 MB, 590 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6047 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6047.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6047 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ประวัติหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ2.mp3 (10.28 MB, 289 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6048 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6048.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6048 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ประวัติหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ3.mp3 (10.28 MB, 396 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6049 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6049.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6049 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ประวัติหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ4.mp3 (9.99 MB, 338 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6050 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6050.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6050 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สารคดีชุดพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (16 kbps).mp3 (12.68 MB, 483 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6051 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6051.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6051 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สารคดีชุดพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (จัดทำโดยมูลนิธิอนุสรณ์พระ.mp3 (19.11 MB, 391 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_6052 onclick=document.all.music.url=document.all.play_6052.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=6052 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สารคดีชุดพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ซ้ำและไม่ครบ แต่เสียงดีกว.mp3 (7.70 MB, 406 views)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    www.jozho.net
     
  18. ศิษย์เซียน

    ศิษย์เซียน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +9
    ถ้าเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ผมคิดว่าการที่เรียกท่านว่าหลวงปู่ก็อาจจะเป็นเพราะว่าชาติที่แล้วท่านก็เป็นหลวงปู่หลังจากที่ท่านได้ล่ะสังขารแล้วท่านก็ได้เลือกมาจุติเป็นมนุษย์ต่อเนื่องเลยเพื่อปฏิบีติธรรมให้ถึงที่สุดแห่งธรรม ถ้านำพรรษาท่านในอดีตชาติมารวมกับการปฏิบัติท่านตั้งแต่ท่านอายุ3ขวบเป็นต้นไปแล้วท่านก็น่าจะมีขวบกว่า100แล้วครับ ถ้าผมโอกาสจะขอฝากตัวรับธรรมจากท่านครับ
     
  19. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    รวมธรรม“หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก“

    โดย: หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_27448 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27448.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27448 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>02.49M04D05MP3.wma (10.14 MB, 374 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27449 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27449.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27449 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>01.49M03D27MP3.wma (10.14 MB, 193 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27450 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27450.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27450 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>03.49M03D06MP3.wma (8.64 MB, 123 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27451 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27451.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27451 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>04.49M05D20MP3.wma (3.80 MB, 115 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27452 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27452.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27452 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>05.49M05D21MP3.wma (10.86 MB, 100 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27453 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27453.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27453 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>06.49M05D22MP3.wma (7.55 MB, 107 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27454 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27454.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27454 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>07.49M07D07BMP3.wma (2.95 MB, 94 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27455 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27455.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27455 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>08.49M07D07DMP3.wma (7.80 MB, 94 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27456 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27456.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27456 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>09.49M03D06MP3.wma (10.12 MB, 98 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27457 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27457.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27457 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>10.49M03D06MP3.wma (9.19 MB, 96 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27458 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27458.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27458 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>11.49M05D19MP3.wma (4.90 MB, 91 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27459 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27459.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27459 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>12.49M06D18MP3.wma (12.26 MB, 90 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27460 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27460.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27460 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>13.49M05D23MP3.wma (6.18 MB, 83 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27461 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27461.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27461 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>14.49M02D12MP3.wma (17.96 MB, 136 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27462 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27462.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27462 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>15.49M07D07CMP3.wma (2.21 MB, 78 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27463 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27463.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27463 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>16.49M03D06MP3.wma (6.16 MB, 86 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27464 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27464.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27464 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>17.48M10MP3.wma (8.25 MB, 85 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27465 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27465.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27465 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>18.49M07D07AMP3.wma (3.01 MB, 96 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_27685 onclick=document.all.music.url=document.all.play_27685.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=27685 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ฟังแบบต่อเนื่อง_รวมธรรม“หลวงปู่เ��.txt (1.7 KB, 60 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>

    รวบรวมโดย คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->NoOTa<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_13218", true); </SCRIPT>
    ทีมพระไตรปิฏก(หนูตา)


    vdo เส้นทางสู่ความหลุดพ้นและประวัติหลวงปู่เณรคำตอนเป็นเด็ก
    โดย: หลวงปู่เณรคำ
    WebSnow
     
  20. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    โพธิปักขิยกรรม ๓๗-สติปัฏฐาน ๔

    โดย: สมเด็จ พระญาณสังวร
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_7222 onclick=document.all.music.url=document.all.play_7222.value; type=radio value=attachment.php?attachmentid=7222 name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>0144B โพธิปักขิยกรรม ๓๗-สติปัฏฐาน ๔.mp3 (5.04 MB, 910 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
    <!-- google_ad_section_start -->พระธรรมเทศนา โดย สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ( แผ่นที่ 5 ) เทปม้วนที่ 144B<!-- google_ad_section_end -->

    โดย..<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->waroon<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1278", true); </SCRIPT>
    ทีมงานเสียงธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...