พบวัดพิลึก ห้ามไหว้พุทธรูป

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 26 กรกฎาคม 2008.

  1. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    ตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คำกล่าวของพระพุทธเจ้าที่ทรงตัสออกมามิได้ผิดเพี้ยนเลย เป็นความจริงทุกประการของโลก
    ทรงเห็นและนำมาสั่งสอนผู้คน ให้เห้นตามความเป็นจริง ธรรมที่แสดงเป็นความจริงของโลก
    จะมีสักกี่คนที่เห็นตามปัญญาของพระพุทธองค์ คนสมัยนี้ไม่เชื่อเรื่องนรก สวรรค์ บาป บุญ เพราะตัวเองมองไม่เห็น
    แต่ตัดสินคนที่เห็นว่า บ้า เสียสติ ถ้ายังข้องแวะกับสิ่งสร้าง ซึ่งทั้งรูปเหรียญ พระพุทธรูป ของเหล่านี้อยู่ ย่อมวกวนวนเวียน
    อยู่อย่างนี้ ไม่มีวันก้าวข้ามไปถึงตัวปัญญาได้ ถ้าพระพุทธรูปสามารถสั่งสอนได้อันนี้สิถึงจะน่ากราบไหว้
    แต่นี้ตั้งอยู่เฉยๆ คนก็ไปกราบไปไหว้ แล้วก็บอกว่าตัวแทนพระพุทธเจ้า
    พระรัตนตรัย คืออะไร พระพุทธ (พระพุทธเจ้า) พระธรรม (คำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สิ่งนี้ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ต่อให้ล่วงเลยไปหลายหมื่นปี พระธรรมก็เป็นจริงเสมอ) พระสงฆ์ คือ ผู้ที่สืบทอด เล่าเรียน ตามแบบพระพุทธเจ้า
    แล้วนำมาปฏิบัติ ตามพระพุทธองค์ ให้เห็นจริงตามท่าน และสั่งสอนผู้คน แต่พระสมัยนี้รับเงิน รับทอง สร้างอะไรให้ใหญ่โตไว้ก่อน เพื่อให้คนศรัทธาตนเอง เคยคิดบ้างไหมว่าพระพุทธเจ้าเป็นถึงกษัตริย์ ทรัพย์สินเงินทอง ไม่รู้เท่าไหร่ ทำไม
    ท่านยังหนี แม้แต่ตรัสรู้แล้ว ทำไมท่านไม่ไป เอาทรัพย์สินมาใช้จ่าย เพราะท่านเห็นโทษของมัน

    *************** ครั้งแรกที่ไปพบหลวงปู่เกษม *********************
    รู้สึกว่า ทำไมพระองค์นี้ ดุจัง น่ากลัว ไปถวายของ ท่านบอก เอาไปวางไว้ที่ชั้น ไม่รับถวายเงิน งง เอามากๆ
    แต่พอฟังท่านเทศน์ได้สักพัก ถึงรู้ว่า ท่านเมตตาสูงมาก เมตตาสั่งสอนศิษย์ ให้ไปถูกทาง จากการที่หลงทางมานานมาก
    พระที่เคยห้อยคอ ต้องถอดออก เพราะเราห้อยด้วยความหลง โง่ เซ่อ หลายๆสิ่ง หลายๆอย่าง ที่หลวงปู่สอน พิจารณาตามท่าน เหตุผลที่ท่านแสดง มิอาจแย้งได้
    ขอให้หลายคนคิดให้ดี สิ่งที่ว่าท่านทำถูก นั่นมันถูกตามนั้นจริงไหม
     
  2. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    มิลินทปัญหา - หน้าที่ 587
    ลามอตเต (Lamotte) ให้ข้อสังเกตไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ในมิลินทปัญหานั้น พระเจ้า
    มิลินท์ไม่ได้ทรงถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องพุทธศิลปเลย ฉะนั้น พระองค์จะต้องประสูติก่อนที่จะมี
    การสร้างพระพุทธรูปเป็นแบบมนุษย์ธรรมดาทั่วไป มิฉะนั้นแล้ว ก็จะต้องมีการสนมนากันถึง
    ปัญหาในเรื่องนี้บ้าง
     
  3. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    มารทรงทราบว่า เรายินดีในพระพุทธรูป จึงได้ตรัสสอนเราว่า อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่า ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น กายมีโทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วย ต้นไม้มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่าง ล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์ เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้ โดยง่าย เราอันสมเด็จพระโลกนายกผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์ นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ได้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกเขา พระพิชิตมารผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่เชิงเขา เมื่อจะทรงปลอบโยน เรา ได้ตรัสเรียกว่า วักกลิ เราได้ฟังพระดำรัสนั้นเข้าก็เบิกบาน ครั้งนั้น เราวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาสูงหลายร้อยชั่วบุรุษ แต่ถึงแผ่นดิน ได้โดยสะดวกทีเดียว ด้วยพุทธานุภาพ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง พระธรรมเทศนา คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ ทั้งหลายอีก เรารู้ธรรมนั้นทั่วถึงแล้ว จึงได้บรรลุอรหัต ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้มีพระปรีชาใหญ่ ทรงทำที่สุดแห่งจรณะ ทรง ประกาศในท่ามกลางมหาบุรุษว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่าย สัทธาธิมุติ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.<CENTER>จบ วักกลิเถราปทาน.</CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๒๘๒๐ - ๒๘๔๑. หน้าที่ ๑๒๔ - ๑๒๕.http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=2820&Z=2841&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=122 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๓</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=33&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD<CENTER></CENTER></PRE>
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
  5. เป็นภาษาไทย

    เป็นภาษาไทย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    มีใครบ้างเวลากราบพระพุทธรูปแล้วคิดว่าตนเองกราบไหว้ทองเหลือง มีใครบ้างที่ไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แล้วคิดว่าตนเองไหว้กองดินกองอิฐ แต่ทุกคนที่ไหว้พระพุทธปฏิมา หรือสังเวชนียสถานต่างก็ล้วนระลึกถึงพระพุทธคุณทั้งนั้น โดยใช้รูปแทนพระพุทธองค์ หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เป็นสื่อเพื่อน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ ถ้ามีแค่อิฐปูน หรือทองเหลืองคงไม่มีใครไปกราบไหว้เป็นแน่...

    พุทธศาสนิกชนน้อมนำพระพุทธปฏิมา หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือว่าสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้ามาเป็นสื่อเพื่อระลึกพระพุทธคุณ เหมือนดังที่คนไทยนิยมใช้ดอกมะลิบ้าง พวงมาลัยบ้างเพื่อเป็นสื่อในวันแม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงออกถึงความรักแม่ น้อมระลึกถึงและบูชาพระคุณแม่
    พระพุทธรูปไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยอะไร ก็ตามรวมถึงพระเจดีย์ไม่ว่าจะเป็นธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ บริโภคเจดีย์หรือ อุทเทสิกเจดีย์ก็ตาม ล้วนแต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงพระพุทธเจ้า เวลาไหว้ใจคนจะน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยอาศัยสิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องกระตุ้นให้ระลึกถึง
    ทำไมจึงต้องสร้างเป็นรูปวัตถุเช่นนั้น?
    พราะพระพุทธคุณเป็นนามธรรม โดยหลักทั่วไปแล้วการระลึกถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วนๆ สำหรับคนทั่วไปแล้วทำได้ยาก เหมือนระลึกถึงคุณของพ่อแม่ หากจะมีรูปท่านอยู่ด้วยจะให้ความรู้สึกแปลก คือ ให้ความซาบซึ้งมากกว่าที่จะคิดถึงในเชิงนามธรรมล้วนๆ แต่เมื่อว่าตามความจริงแล้วคนหาได้คิดอยู่เพียงรูปถ่ายของท่านไม่ รูปถ่ายท่านเป็นเพียงสื่อให้คิดได้ดีขึ้นเท่านั้นเอง เรื่องการกราบไหว้พระพุทธรูป เจดีย์ ที่สร้างด้วยอะไรก็ตาม ผู้ไหว้หาได้ติดอยู่เพียงรูปเหล่านั้นไม่ รูปเหล่านั้นจึงทำหน้าที่เป็นสื่อทางจิตเพื่อได้อาศัยรำลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระพุทธคุณ
    อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
    http://www.kroophra.net/index.php?option=com_content&task=view&id=489&Itemid=70
     
  6. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
  7. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
  8. olive36

    olive36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +152
    ไม่เห็นด้วยเลยคะเพราะ หลวงพ่อจรัลพูดแต่ความจริงคะ อีกอย่างพระวัดอื่นๆไม่เห็นจะพูดแบบหลวงปู่เกษมเลย

    ***คำสอนหลุดโลก มากไปแล้ว***
    ****เชื่อกันไป ด้ายไง เน้อ****

    +++แค่อ่านหนังสือของหลวงพ่อเกษม ก็รู้แล้วว่าคำสอนเพี้ยนไปหมด บางอันก็ถูก เพราะเอามาจากพระไตรปิฏก แต่บางอย่างไม่ใช่ความจริงเลยสักนิด+++++++
    ;12;12;aa43
    มันเป็นคำสอนที่เจตนาไม่ดี ต่อสถาบันทางศาสนาคะ


    เราควรจะทำเพื่อความมั่นคง ของชาติเป็นหลักคะ

    คำสอนใด ที่จะทำให้ สถาบันศาสนาเสื่อมถอยควรต่อต้านให้ถึงที่สุด

    ถ้ามันบาปจริงดิฉันยอมคะ เพราะคิดว่าเป็นการักษาสถาบันศาสนาไม่ให้เสื่อมถอย
     
  9. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    อันใหนเพี้ยนชี้แจงด้วย อย่ากล่าวลอยๆ
     
  10. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    พระพุทธเจ้าทรงสอนวิปัสนาแก่ พระวักกลิเถระ ไม่ได้สอนพุทธบูชา แก่ พระวักกลิเถระ เช่น

    เมณฑกปัญหา
    วรรคที่ ๓


    ปัญหาที่ ๕
    <CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]ถามเรื่องอนุญาตพุทธบูชา [/COLOR]</CENTER>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><FONT face="Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial" color=black size=3>
     
  11. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    ที่ไม่ไม่ได้ทรงถามถึงเพราะต้องถามถึง ปัญหาอันละเอียด
    หน้าแรก มิลินทปัญหา


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="88%" border=0>
    <CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]มิลินท ปัญหา [/COLOR]</CENTER><CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]ธัมมวิโมกข์ฉบับรวมเล่ม [/COLOR]</CENTER><CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]ตอนที่ ๑ [/COLOR]</CENTER><CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]คำนมัสการพระรัตนตรัย [/COLOR]</CENTER><CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]ของพระติปีฎกจุฬาภัยเถระ [/COLOR]</CENTER><CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]*************** [/COLOR]</CENTER>
    พระจริยาอันเป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ของพระสัมพัญญูพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่พระองค์ใดมีอยู่ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้สมเด็จพระบรมครูพระองค์นั้นซึ่งเป็นผู้มีอนุภาพอันเป็นอจินไตย ผู้เป็นนายกอันเลิศของโลก
    สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์พระองค์ใด เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาจรณะ นำหมู่สัตว์ออกจากโลกด้วยธรรมะอันใด ข้าพระเจ้าขอกราบไหว้ธรรมอันนั้น ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด เป็นธรรมะอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชา
    พระอริยะสงฆ์ใดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลคุณเป็นต้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ผล 4 ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระอริยะสงฆ์นั้น ผู้เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก
    บุญอันใดที่ข้าพเจ้าทำให้เกิดขึ้นด้วย การนอบน้อมพระรัตนตรัยอย่างนี้ ด้วยเดชแห่งบุญอันนั้น จงให้อันตรายหายไปจากข้าพเจ้าในที่ทั้งปวง จงให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปราศจากอันตราย
    มิลินทปกรณ์ คือคัมภีร์มิลินท์อันใดที่ประกอบด้วยปุจฉาพยากรณ์ทีอยู่ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัญหาทั้งหลายอันละเอียดลึกซึ้ง ที่มีอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหานั้น เพราะการฟังมิลินทปัญหานั้น จักทำให้เกิดประโยชน์สุข
    <CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]พุทธพยา
    กรณ์ในวันปรินิพพาน
    [/COLOR]
    </CENTER>
    เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเหล่าพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จไปที่เมืองกุสินารามมหานคร ในเวลาที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงบรรทมบนบัลลังก์ หันพระเศียรไปทางทิศอุดร ในระหว่างนางรังทั้งคู่อันมีอยู่ในพระราชอุทยาน ของพวกมัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้รู้ว่า สังขารทั้งปวงมีความสิ้นเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำกิจทั้งปวง ด้วยความไม่ประมาทเถิด
    ธรรมวินัยอันใด เราบัญญัติไว้แล้ว เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ธรรมวินัยนั้นแหละ จะเป็นครูของพวกเธอ
    เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสป จะระลึกถึงถ่อยคำไม่ดีของ สุภัททภิกขุ ผู้บวชเมื่อแก่ แล้วจะกระ ทำสังคายนา เพื่อรักษาพระพุทธวจนะไว้มิให้คลาดเคลื่อน
    ต่อนั้นไปอีก ๑๐๐ ปี พระยสกากัณฑกบุตร ผู้ย่ำยีซึ่งถ้อยคำของพวก ภิกษุวัชชีบุตร จะได้กระทำ สังคายนาครั้งที่ ๒
    ต่อไปได้ ๒๑๘ ปี พระโมคคัคลีบุตรติสสเถระ ผู้จะลบล้างลัทธิของพวกเดียรถีย์ภายนอก จักได้กระทำ สังคายนาครั้งที่ ๓
    ต่อมาภายหลัง พระมหินทเถระ จะไปประดิษฐานศาสนาของเรา ลงไว้ที่ตามพปัณณิทวีป ( ลังกา )
    ต่อจากเราปรินิพพานไปล่วงได้ ๕๐๐ ปี จักมีพระราชาองค์หนึ่ง ชื่อว่า "มิลินท"์ ผู้ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ดีแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาอันละเอียดขึ้น ด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียด
    จะมีภิกษุองค์หนึ่ง ชื่อว่า "นาคเสน" ไปทำลายถ้อยคำของ มิลินทราชา ทำให้มิลินทราชาเกิดความร่าเริงยินดีด้วยอุปมาเป็นอเนก จะทำศาสนาของเราให้หมดเสี้ยนหนามหลักตอ จะทำศาสนาของเราให้ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐๐ พรรษา" ดังนี้
    เพราะฉะนั้น จึงกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเกิดในตระกูลในเวลาล่วงได้ ๕๐๐ ปี จากปีที่พระพุทธเจ้าปริพพานแล้วนั้น ผู้นั้นจักได้ชื่อว่า " มิลินทราชา " เสวยราชย์อยู่ใน สาคลนคร อันเป็นเมืองอุดม
    มิลินทราชานั้น จักได้ถามปัญหาต่อพระนาคเสน มีอุปมาเหมือนกับน้ำในแม่น้ำคงคาไหล ไปสู่มหาสมุทรสาครฉะนั้น พระองค์เป็นผู้มีถ้อยคำอันวิจิตร ได้เสด็จไปหาพระนาคเสน มีคบเพลิงจุดสว่างไสว แล้วถามปัญหาล้วนแต่ละเอียดลึกซึ้ง ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจไว้ด้วยดี ฟังปัญหาอันละเอียดในคัมถีร์มิลินทนั้นเถิด จะเกิดประโยชน์สุขแก่ท่านตลอดกาลนาน ดังนี้

    <TBODY></TBODY></TABLE>
     
  12. BRAVA

    BRAVA สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +2
    ก็เเล้วตรงไหนที่ดิฉันว่าหลวงพ่อจรัญโกหก ได้มีตรงไหนที่บอกอย่างนั้น ก็ท่านว่ามีเทวดา ก็เเล้วยังไงล่ะคุณ ท่านบอกด้วยเหรอว่าให้เดินตามเทวดาน่ะคุณ ไหน ตรงไหนที่คุณเห็นว่ามันขัดแย้งกับท่าน คุณคิดเกินที่ท่านพูดหรือเปล่า ที่ขัดแย้งนี่มันขัดแย้งความเข้าใจของคุณละมัง
     
  13. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกราบสักการะพระพุทธรูป มีพระแก้วมรกต เป็นต้น
    ทั้งยังทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องไว้จำนวนมาก มีสมเด็จจิตรลดา เป็นอาทิ

    ใครดูแคลนผู้กราบสักการะพระพุทธรูป ก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แจ้งความให้ติดคุกซะให้เข็ด

    ก็เท่านั้นแหละ
     
  14. โชษิตา

    โชษิตา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +18
    ถึงอ้างว่าไม่ให้ยึดมั่นในวัตถุแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานอะไรควรไม่ควรนะคะ ไม่ฟังความเห็นของคนอื่นนั่นแหละตัวยึดมั่นของจริง
     
  15. jinnivan

    jinnivan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +250
    สาธุ สาธุ หลวงพ่อท่านคิดดี แต่เกินกว่าเหตุไปหน่อย บางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนยาก ก็ปล่อยๆไปบ้าง อย่าได้ใส่ใจเลย
     
  16. บัวใต้น้ำ1

    บัวใต้น้ำ1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +32
    น่าสนใจและน่าติดตามครับ...(||)
     
  17. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    หนึ่งในพระบัญญัติเกี่ยวกับอธิกรณ์
    .......................................................

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>พระบัญญัติ</CENTER> ๑๔. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงหรือถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ยกย่องยันอยู่ ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกันย่อมอยู่ผาสุกแลภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส.<CENTER>เรื่องพระเทวทัตต์ จบ.</CENTER></PRE>
     
  18. BRAVA

    BRAVA สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +2
    เชิญไปอ่านประมวลกฏหมายเสียก่อนค่ะ
     
  19. dice

    dice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +469
    ถ้ากราบไหว้เป็นยึดติด เช่นนั้นทำลายก็ยึดติดครับ

    ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น มองแค่ว่าเป็นอิฐหินดินทรายทองเหลือง ยามก้มกราบจิตนึกถึงพุทธองค์ก็คือกราบพระพุทธเจ้า เช่นนี้ ก็ไม่เห็นต้องไปทำลาย สิ่งที่ท่านอ้างว่าเป็นอิฐหินดินทรายทองเหลืองเลยครับ ปล่อบวางซะมั่งเถิดครับ

    ส่วนการยกพระไตรปิฎกเพียงบางท่อนบางส่วนบางความมาอ้างความชอบธรรมหรือแนวคิดของตน ผมคิดว่าก็ไม่ถูกนัก เพราะไม่ได้แวดล้อมถึงเจตนาของพระพุทธองค์ ณ ขณะนั้น ว่าได้ว่ากล่าวสั่งสอนถึงเรื่องไหน ด้วยเหตุผลใด แต่ทั้งนี้ผมเชื่อสนิทใจว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่สอนสั่งให้เรายึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งใดหรอกครับ แม้แต่พระพุทธรูปหรือรูปกายของพระองค์ แต่เราก็อย่าได้เอาแค่ข้อความบางข้อมาอ้าง แล้วเหมารวมว่าการกราบวัตถุหรือสิ่งใดๆ โดยที่จิตใจเราน้อมถึงพระพุทธเจ้านั้นจะเป็นสิ่งที่บาปและต้องห้ามโดยเจตนาของพระองค์ไปซะหมด แล้วเราแน่ใจแล้วล่ะหรือ ว่าพระพุทธเจ้าท่านได้มีเจตนาให้พระพุทธรูปเป็นของต้องห้ามในศาสนาพุทธของเราไม่ควรกราบและไม่ควรมี และแน่ใจแล้วล่ะหรือว่าพระพุทธเจ้าท่านเห็นว่าการกราบพระพุทธรูปนั้นเป็นบาปดังที่หลายท่านอ้างมา

    ถ้าหากมีการแสดงถึงเจตนาห้ามการมีพระพุทธรูปในพระไตรปิฎกจริง เช่นนั้นในการสังคายนาหลายๆครั้งที่ผ่านมา ทำไมไม่มีท่านใดยกข้อความเหล่านั้นขึ้นมาปฏิรูปศาสนา ยกเลิกและทำลายพระพุทธรูปไปให้สิ้นแผ่นดินดังที่ได้บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกล่ะครับ

    ผมไม่สงสัยพระไตรปิฎกและพระพุทธเจ้าหรอกนะครับ และผมไม่ได้ปรามาสหลวงพ่อเกษมเลยซักนิด เพียงแต่ติดใจสงสัยในการยกข้อความบางข้อในพระไตรปิฎกมาอ้างว่าตัวถูกเท่านั้นเองครับ ฝากไว้สองสามข้อ
    - พระพุทธเจ้าท่านตรัสห้ามไม่ให้มีพระพุทธรูปในศาสนาพุทธจริงหรือ?
    -การกราบไหว้พระพุทธรูปและวัตถุใดๆแต่ใจน้อมนำไปสู่พระพุทธเจ้าก็เป็นบาปหรือ? ยามตายก็ไปเป็นผีเฝ้าพระพุทธรูปจริงหรือ?
    - การสร้างพระพุทธรูป เป็นบาปจริงอ่ะ?
    -ถ้าไม่ยึดติด และเห็นว่าทุกสิ่งเป็นเพียงความว่าง มีแต่จิตของเราที่ตั้งอยู่ว่าจะน้อมนำถึงสิ่งใด เช่นนั้น เมื่อจิตคิดถึงพระพุทธเจ้า แล้วเราก้มกราบลง ไม่ใช่กราบอิฐหินดินทราย แต่กราบพระพุทธเจ้าที่เราระลึกถึง เช่นนี้เรียกว่ายึดติดในวัตถุหรือ ยกตัวอย่างเช่น ผมไปที่วัดไหว้พระประธานที่วัด เมื่อกลับมาบ้าน จิตผมไม่ได้คิดถึงรูปหล่อพระพุทธรูปที่เห็น แต่จิตผมอิ่มเอิบเพราะผมได้ก้มกราบพระพุทธเจ้าที่ผมน้อมรำลึกถึง และผมลืมรูปพระพุทธรูปไปแล้วด้วยซ้ำ เช่นนี้ผมก็ยึดในวัตถุหรือ
    - การมองเห็นว่าสิ่งนี้สิ่งนั้นเป็นเสนียดจัญไร ไม่ควรมีอยู่ พึงทำลายให้สิ้น เป็นการยึดมั่นในวัตถุหรือไม่ หากไม่ยึดมั่นแล้ว สิ่งนั้นจะคงอยู่หรือไม่ก็อยู่ที่จิต เช่นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องทำลาย แล้ว...จะต้องทำลายทำไม?

    ผมแค่สงสัยและฝากไว้ คงไม่เข้าร่วมการโต้แย้งใดๆ เพียงว่าตามข้อสงสัยส่วนตัว ขอท่าทั้งหลายเชิญต่อครับ ขออนุโมทนา
     
  20. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสห้ามไม่ให้มีพระพุทธรูปในศาสนาพุทธจริงหรือ?

    ท่านไม่ได้ตรัสห้ามเรื่องพระพุทธรูปในสมัยนั้นครับ..........เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีพระพุทธรูปครับ แต่ท่านตรัสสั่งสอนและตำหนิความเชื่อในเรื่องรูปครับ

    การสร้างพระพุทธรูป เป็นบาปจริงอ่ะ?

    มีส่วนของบาปครับ....เพราะถึงผู้สร้างมีเจตนาดี ก็มีส่วนให้ผู้พบเห็น เกิดความเชื่อ ความเข้าใจผิดหรือรู้ไม่เท่าทันได้น้อมใจไปติดในวัตถุได้ครับ


    ถ้าไม่ยึดติด และเห็นว่าทุกสิ่งเป็นเพียงความว่าง มีแต่จิตของเราที่ตั้งอยู่ว่าจะน้อมนำถึงสิ่งใด เช่นนั้น เมื่อจิตคิดถึงพระพุทธเจ้า แล้วเราก้มกราบลง ไม่ใช่กราบอิฐหินดินทราย แต่กราบพระพุทธเจ้าที่เราระลึกถึง เช่นนี้เรียกว่ายึดติดในวัตถุหรือ ยกตัวอย่างเช่น ผมไปที่วัดไหว้พระประธานที่วัด เมื่อกลับมาบ้าน จิตผมไม่ได้คิดถึงรูปหล่อพระพุทธรูปที่เห็น แต่จิตผมอิ่มเอิบเพราะผมได้ก้มกราบพระพุทธเจ้าที่ผมน้อมรำลึกถึง และผมลืมรูปพระพุทธรูปไปแล้วด้วยซ้ำ เช่นนี้ผมก็ยึดในวัตถุหรือ

    ในกรณีที่คุณยกตัวอย่าง มันมีนัยยะอยู่ครับ ถึงคุณไม่ยึดในวัตถุนั้นๆ ก็มีเทวดาหรือผีที่เฝ้าพระพุทธรูปนั้นๆสำคัญตนผิดได้ว่า เค้ากราบไหว้เราแต่ชาวทิพย์เหล่านั้นก็ไปยินดีกับอาการที่ชาวพุทธทำแบบนั้น โดยลืมคิดไปว่าเราชาวพุทธกราบไหว้ เคารพพระองค์ท่านอยู่ นี่ตอบสำหรับผู้กราบและไม่ยึดติดนะครับ ส่วนผู้กราบและยึดติด ก็ตามที่ตอบไปแล้ว


    - การมองเห็นว่าสิ่งนี้สิ่งนั้นเป็นเสนียดจัญไร ไม่ควรมีอยู่ พึงทำลายให้สิ้น เป็นการยึดมั่นในวัตถุหรือไม่ หากไม่ยึดมั่นแล้ว สิ่งนั้นจะคงอยู่หรือไม่ก็อยู่ที่จิต เช่นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องทำลาย แล้ว...จะต้องทำลายทำไม?

    ถ้ายึดมั่นแล้วจะทำลายทำไมครับ
    หากไม่ยึดมั่นแล้วทำลายเพราะ.....สิ่งนั้นมีโทษ รู้ว่ามีโทษ จะเก็บไว้เพื่ออะไรครับ
    และถ้าไม่ทำลาย มันก็มีผู้มายึดมั่นถือมั่นในวัตถุนั้นๆเป็นวัฏจักรต่อไป
    สำหรับท่านผู้กราบแล้วไม่ยึดติดในวัตถุ เมื่อไม่ยึดติดก็ไม่มีไว้ครอบครองไม่ต้องกังวลหรอกครับ
    แต่ท่านผู้เข้าใจและเคารพในวัตถุผิดๆ และมีไว้ในครอบครอง มีโทษแน่ครับ


    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...