วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อืม...ตามอ่านดูแล้วไม่มีอะไรมากเลย มีแต่ความคิดเห็นส่วนตัวแล้วก็การข่มกันไปมานะครับ


    ข้อมูลที่ผมนำเสนอนั้นเพื่อใช้เป็นข้อวิเคราะห์ว่า ผู้ที่ฝึกสมาธิแนวธรรมกายนั้นเขามีหลักในการปฏิบัติเช่นไร เรื่องการหาเพื่อนคุยกันเรื่องข้อธรรมและสิ่งที่ตนเองมีประสบการณ์มาบอกกล่าวกันนั้น เห็นว่ามันติดที่เวลา ผมเองไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งพิมพ์ทีละเรื่องคุยกันทีละประโยคกับบางท่านที่พยายามกระทำตนเป็นผู้รู้ สำหรับบางท่านที่ต้องการคุยกับผู้รู้จริงนั้น ถามว่าเพื่ออะไรหรือครับ เพื่อปรับอะไรกันหรือครับ เพื่อความเข้าใจอย่างไรหรือครับ


    การฝึกภาวนาวิชชาธรรมกายนั้นมีทั้งหลักสูตรภาคปริยัติและปฏิบัติ การที่เราไม่ยึดถือในตัวตนแลปล่อยวางอารมณ์ได้นั้น เรากระทำกันได้จริงแค่ไหน หรือเคยมีประสบการณ์มาแต่ตอนนี้ก็ปุถุชนทั่วไปเหมือนเดิมกระมัง บางท่านมีลูกคู่คอยสนับสนุนคอยสรรเสริญกัน อย่างคุณขันธ์วีธีการและการอ้างว่าตนมีนิสัยอย่างนี้แล้วหาข้อดีมาสนับสนุนนิสัยของตน ผมเห็นว่าถ้าอย่างนั้นทุกคนเป็นอย่างคุณขันธ์หมด ก็คงไม่มีใครยอมใครเพราะการแสดงออกนั้นมากด้วยมานะทิฏฐินั่นเอง


    สำหรับคุณบุคคลทั่วไปฯ ที่พยายามพูดเรื่องวิปัสสนาแถมยกอะไรต่อมิอะไรให้ดูว่าตนเองฝึกมาดีนั้น ก็สุดแต่ท่านจะแสดงเถิด เรื่องที่คิดว่าพอปฏิบัติไปแล้วมันปล่อยวางจากการยึดถือตัวตนแลอารมณ์ต่างๆ โดยปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาตินั้น นั่นเป็นพื้นฐานของคนฝึกปฏิบัติทั่วไปอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องเพ่งโทษตนเองเป็นหลักหรือไม่ว่าเราปล่อยวางได้จริงแล้วหรือ ยามอารมณ์ปกติเราก็คิดว่าเราทำได้ พอมีใครเขาเอาจริงก็เห็นซวนเซไปมา ก็แปลว่าทำได้เฉพาะเมื่อใจมันสบายๆ แต่เมื่อไรที่เจอเหตุการณ์ต่างๆ มากระทบใจ โดยเฉพาะอารมณ์ปฏิฆะก็ซวนเซทุกที


    เอาอย่างนี้ผมถามหน่อย


    1.สภาวะที่ใจสงบนั้นท่านเคยสัมผัสหรือไม่ อย่างไรที่เรียกว่าอาการใจสงบ


    2.วิปัสสนาของท่านเพียงแค่ดูธรรมชาติของปัจจัยปรุงแต่ง แล้วท่านเห็นขบวนการของไตรลักษณ์อย่างไร


    3.สิ่งที่ท่านรู้เห็นแล้ว มันทำให้กิเลสเบาบางลงหรือหมดไปได้แค่ไหน


    4.ท่านยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ อย่างไร แบบไหน


    5.ท่านปฏิบัติธรรมตามแบบของท่าน โดยใช้แนวปฏิบัติภาวนาอย่างไร


    6.จุดมั่งหมายในการปฏิบัติธรรมของท่านต้องการไปถึงจุดไหน แล้วความเป็นไปได้มีแค่ไหน


    7.ท่านคิดว่าคนอื่นผิด ท่านเท่านั้นที่รู้เห็นถูก แล้วอ้างประเด็นนี้มาตั้งเหตุคุยกันหรือไม่


    8.จุดสิ้นสุดของการพูดคุยกันอยู่ที่ตรงไหน ต้องมีคนแพ้คนชนะ หรือต้องมีคนยอมเราเราจึงจะพอใจหรืออย่างไร


    9.ท่านคิดว่าการที่ท่านแสดงความเห็นโดยใช้อารมณ์บ้างเหตุผลบ้าง เล่ห์กระเท่บ้าง ฯลฯ จุดประสงค์เพื่ออะไร


    10.ท่านคิดว่าการอยู่โดยไม่เบียดเบียนคนอื่นคืออยู่อย่างไร


    ใครใคร่ตอบก็ได้โปรดตอบ ใครไม่ใคร่ตอบก็แล้วแต่เถิด...

     
  2. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +29,715
    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO


    คงไม่ใช่ผมมั๊ง ผมไม่คิดว่าตัวเองดีกว่าใคร ด้อยกว่าใคร

    เสมอใคร เพราะ ทุกคนมีปัจจัยมาต่างกันนะ

    ไม่วายจะส่อเสียดส่งท้ายนะครับ ^^



     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถ้าผมตอบ แล้ว คุณจะต้องตั้งใจอ่าน แล้ว เปิดรับก่อน อย่าเพิ่งอ่านผ่านๆ แต่เอาให้เข้าใจ แล้วค่อยถามมาต่อ

    1 ตอบ อาการใจสงบ นั้น คุณลองคิดดูซิว่า ถ้าคุณไม่มีเรื่องกลุ้มใจ ไม่มีเวทนาที่กวนใจ ไม่มีอารมณ์ที่ขุ่นมัว
    มีแต่ความเบิกบาน คุณ สงบแค่ไหน คุณเท่าทันแม้กระทั่งความคิดที่ เฉไป ฟุ้งไปก็ไม่มี ทุกอย่าง ดุจพรหมคือ เคลื่อนไปทางไหน จบลงไปก็จบเท่านั้น นี่แหละคือ อาการสงบ และ ผมจะพูดต่อว่า สงบในอายตนะนิพพานนั้น ประณีต มาก จนไม่มีตัวตนให้รู้สึก

    2 กระบวนการของไตรลักษณ์ เอาง่ายที่สุด ผมเคยสอนไปแล้ว คือ คุณลองนึกเรื่องราวขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง เอาตอนสมัยคุณเด็กๆ ก็ได้ พอนึกเสร็จแล้ว คุณหันกลับมาอ่านข้อความนี้ แล้วลองดูว่า ก่อนคุณนึก เรื่องนั้นก็ไม่มี
    พอคุณนึกเสร็จ เรื่องนั้นก็ปรากฎขึ้นแต่ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วต้องค่อยๆ เลือนจางไป จากใจ นี่ทั้งหมด ในความรุ้และความรู้สึก ต่างมีกฎเช่นนี้ บังคับอยู่

    3 กิเลสหมดไปแค่ไหน ตอบว่า กิเลสเกิดจากอวิชชา ที่ไม่เท่าทัน โมโห นี้มันมีอยุ่ในใจคุณหรือไม่ ตอบว่าไม่มี แต่เกิดจาก ไปสัมผัสสิ่งต่างๆ แล้วปรุงขึ้น ตัวโมโหจึงเกิด และ มันตั้งอยู่ไม่ได้นาน จะต้องดับไป ทีนี้ บางคนที่มันไม่ดับ เพราะคอยกระตุ้นมาอยุ่เรื่อยๆ จนมันไม่ดับ และเห็นมันตั้งอยู่ เรียกว่า หลงเห็นความสืบเนื่องเป็นตัวตน อันเป็น สันตติปิดบังสัจธรรม

    4 ยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด แน่นอน เพราะว่า จิตนี้เมื่อมีอวิชชา สัมผัสสิ่งใด ก็หลงไป เอาแค่ว่า คุณสัมผัสข้อความผม จิตคุณก็ ยึดอยู่ติดอยู่กับเรื่องราวนี้ แล้วนับประสาอะไรกับภพใหญ่ อันเกิดแต่ อวิชชา และ ตัณหา ที่ดึงเรามาสู่ ภพชาติ ซึ่งเป็นสมมติทั้งสิ้น

    5 ปฏิบัติตามแนวทาง แห่ง มหาสติปัฎฐาน 4 และ ต้องศึกษาพระธรรม และ ฝึก สมาธิ ศีล ให้กล้า พอที่จะดึงจิตออกนอกวงโคจรของอวิชชา เรียกว่า สลัดได้ อุเบกขาได้ทันที สรุปคือ จิตตภาวนาตามแนวครูบาอาจารย์ สายพระอาจารย์มั่น เป็นบรมครู

    6 จุดมุ่งหมายธรรม ของผม คือ รักษาพระศาสนาตามกำลัง ธำนุบำรุงพระศาสนาตามธรรม และดึงคนออกจากสีลพตรปรามาส ให้มากที่สุดเพราะชาตินี้ ผมคงต้องค้างไ้ว้่ที่ภูมิธรรมเท่าที่มี ซึ่งเท่านี้ก็ปิด อบายภูมิราบคาบ

    ึ7 คิดว่า คนอื่นผิด แต่ไม่ได้คิดว่า ตนเองถูก เพราะว่า ไม่ได้รู้สึกเป็นตัวเป็นตน ในการตอบคำถาม มีแต่ ธรรมเกิด และ ธรรมดับ

    8 จุดสิ้นสุด ของการถกธรรม คือ การชี้ให้เห็นกิเลส ที่ผุดออกมาจาก คนที่ถกด้วยได้

    9 ใช้อารมณ์บ้างใช้เล่ห์ บ้าง ตอบว่า เพราะธรรมปรากฎแบบนั้น หาใช่เล่ห์ เพทุบาย แต่เป็นกุศโลบาย

    10 การอยู่อย่างเบียดเบียนคนอื่น คือ มาจากตัณหาของตน แต่อยุ่อย่างไม่เบียดเบียนคนอื่น คือ ไม่ได้มาจากตัณหาตน ซึ่ง หากว่า ไม่ได้มาจากตัณหาแล้ว เบื้องปลายจะให้ผลอันประเสริฐแน่นอน
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ทีนี้ผมจะลองอธิบายเรื่องนิมิตกับเรื่องที่ไม่ใช่นิมิตให้ฟัง


    เมื่อเราปฏิบัติภาวนานั้นเราใช้นิมิตเพื่อประคองอารมณ์แลประคองใจให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อนิมิตเกิดขึ้นเป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว จิตยกเข้าสู่ความหยุด นิ่ง จนกระทั่งนิมิตนั้นเราละขาดลงแล้ว ปฏิบัติจนกระทั่งเห็นรูปธรรมนามธรรมในส่วนละเอียดที่เรียกว่ากายในกายได้นั้น ตรงนี้คือละนิมิตที่เป็นอุปการะในการรวมใจได้แล้ว เพราะนิมิตนั้นเรากำหนดเป็นดวงแก้วใส(บริกรรมนิมิต) เมื่อเราเข้ากายในกายไปทีละกายนั้น กายเหล่านั้นไม่ใช่นิมิตอีกต่อไป แต่เป็นธาตุธรรมส่วนละเอียดหรือรูปธรรมนามธรรมส่วนละเอียดที่เรามีเป็นแผนผังเช่นนี้ทุกคน เมื่อเราเห็นกายในกายก็เท่ากับเรามีสื่อในการรู้เห็นรูปนามส่วนละเอียดได้นั่นเอง ทีนี้เราต้องไปยึดถือยึดติดยึดมั่นหรือไม่ ตอบว่าไม่ใช่เช่นนั้น เราเข้าถึงสภาวธรรมตามเป็นจริงไปดูไปรู้ไปเห็นตามความเป็นจริงให้ได้เถิด


    สภาวะแรกของท่านที่ฝึกภาวนาจนกระทั่งละจากนิมิตเข้ากายในกายได้นั้น คือใจต้อง หยุด นิ่ง สงบ ระงับจากนิวรณ์ ๕ ใจเช่นนี้เรียกว่าเข้าสู่ภูมิสมถะ พัฒนาไปได้ถึงขั้นฝึกฌาณสมาบัติก็ได้ สภาวะของใจเช่นนี้เป็นเบื้องต้นจนกระทั่งสู่การพิจารณาวิปัสสนาใจต้องหยุดต้องนิ่งเช่นนี้สมถะเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ผู้ฝึกสมถะได้แล้วย่อมพิจารณาในส่วนของวิปัสสนาได้อย่างแน่นอน และยังแถมฤทธิ์อภิญญาอีกด้วย เมื่อบรรลุธรรมก็เรียกว่าเจโตวิมุตติ บุคคลที่บรรลุธรรมแบบเจโตวิมุตตินี่แหละคือกลุ่มพระสงฆ์ปฐมสังคายนานั่นเอง


    ผมเองฝึกสมาธิโดยมีสมถะเป็นบาทฐานเช่นนี้ เมื่อเราเข้าสู่ภาควิปัสสนาถือว่าเราได้ผ่านสมถะก่อนย่อมได้เปรียบในการรู้เห็นและชำนาญในทางญาณทัสสนะอีกด้วย


    เมื่อเราพิจารณาตามหลักวิปัสสนานั้น ท่านกล่าวว่า วิปัสสนาคือ เห็นวิเศษ เห็นวิภาคเป็นส่วนๆ ในเรื่อง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อิทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ๔ ผู้ฝึกแนวธรรมกายจะได้ทั้งรู้ทั้งเห็นตามสภาวธรรมที่เป็นจริงและลึกซึ้งละเอียดมากนักในแง่ของญาณทัสสนะที่มองเห็นวิภาคเป็นส่วนๆ ไปจนสุดหยาบสุดละเอียด


    บางท่านสงสัยว่าทำไมเราจึงต้องเห็นกายในกาย พิจารณาเพียงแค่กายมนุษย์กายเดียวไม่ได้หรือ ผมก็ถามกลับไปอีกว่า ท่านมีความสามารถเห็นกายอื่นได้หรือไม่ ถ้าท่านทำไม่ได้ ท่านก็ต้องพิจารณากายนี้กายเดียว แต่วิชชาธรรมกายทำได้ เราจึงพิจารณาตั้งแต่กายมนุษย์หยาบ กายทิพย์ พรหม อรูปพรหม จนกระทั่งถึงกายธรรมหรือธรรมกาย เราจึงได้รู้ได้เห็นอะไรมากมายกว่าที่ท่านรู้เห็น เพราะท่านไม่มีญาณทัสสนะ ท่านไม่ได้ฝึกแนวเจโตวิมุตติ การรู้เห็นได้มากกว่ามิดีกว่ารู้เห็นเพียงแค่กายเดียวดอกหรือ


    ถามว่าแล้วผู้ฝึกสมาธิแนวธรรมกายยึดถือกายในกายเหล่านี้ไหม ตอบว่า เมื่อเราพิจารณากายในกายเหล่านี้ตามสภาวธรรมที่เป็นจริงเราย่อมปล่อยวางละจางคลายจากความยึดถือได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะเรารู้แล้วเห็นแล้ว เมื่อไม่รู้ไม่เห็นท่านจะปล่อยได้หรือ ถ้ารู้เห็นตามความจริงไปตามสภาวธรรรมแล้วการปล่อยขาดก็เป็นไปได้ง่ายดายขึ้น


    วิชชาธรรมกายเข้าไปแยกแยะสภาวธรรมตั้งแต่โลกียธรรม โลกุตตรธรรม สังขตธรรม อสังขตธรรม วิราคธรรม สราคธรรม แยกธาตุแยกธรรม แลพิจารณาตามความจริงของพระไตรลักษณ์ว่าทำไมธาตุธรรมที่เป็นโลกียจึงตกสู่กฎพระไตรลักษณ์


    ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นของจริงเช่นนี้ ความก็จะไม่แจ้งใจขึ้นมาได้เลย เหมือนเรารู้แต่เรื่องในโลกไม่รู้ว่าโลกอื่นยังมีอีก ในทางวิทยาศาตร์ก็เช่นกัน ถ้าเราไม่รู้ว่านอกโลกยังมีดวงดาวอื่นๆ ได้แต่มองเห็นจุดเล็กๆ บนท้องฟ้า หน้าตาจริงๆ เป็นอย่างไรไม่เคยเห็น แต่พอเรามีเครื่องมือไปรู้ไปเห็นได้ เราก็แจ้งใจขึ้นมา ความจริงก็ปรากฏ ความไม่รู้ก็จืดจางลง ความกลัวก็หมดไป ความรู้จริงก็เพิ่มพูนขึ้น เพราะเรารู้ตลอดว่าจักรวาลมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ในทางธรรมก็เช่นกัน เราพิจารณาด้วยญาณทัสสนะมองลงไปในส่วนละเอียดเห็นได้หมดจด ความโง่ก็บรรเทา ความไม่รู้ก็หมดไป ความยึดถือก็คลายลง


    ดังนั้นท่านจงพิจารณาเถิด ฝึกภาวนาวิชชาธรรมกายหูตาท่านจะกว้างขวางขึ้นโดยไม่ต้องไปเชื่อต่อใครเลย ยิ่งผู้ที่อ้างแบบไม่เคยรู้เคยเห็นเรายิ่งทราบชัดว่า เขารู้เพียงแต่โลกธรรมยังไม่ออกไปพ้นโลกวิสัยได้เลย...
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ท่านสมถะ เอาหละ ท่านมองทุกอย่างเป็นรูป แต่ ว่า ขันธ์ ทั้ง 5 นั้นมีรูป 1 ส่วน และ นาม 4 ส่วน
    ท่านจะมองนามได้อย่างไร ท่านต้องเอาใจสัมผัส ไม่ใช่ เอาตามองดูรูป จริงหรือไม่

    เดี๋ยวว่างๆ ผมจะมาถกด้วย ท่านตอบคำถามผมเกี่ยวกับ เรื่อง รูป เรื่อง นามก่อน ว่า ความโกรธ นี้ท่านเห็นเป็นดวงโกรธ หรือ เป็นรูปร่างของความโกรธหรือไม่
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอาไว้ เดี๋ยวผมจะมาสนทนาด้วยใหม่

    ผมขอทิ้งคำถาม ว่า ธรรมกาย อธิบาย เรื่อง ปฏิจสมุบาท ว่าอย่างไร
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    นั้นสิ ว่าไม่ได้ส่อเสียดนะนั่น

    ถ้าไม่อย่างนั้น ผมก็จำผิด เพราะคิดว่าจำได้ว่า คุณมีรายชื่อในผู้ปราถนา พุทธภูมิ

    หรือ ไม่ผมก็สัญญาวิปลาส เหตุเพราะตามอ่านกระทู้คุณโอม และส่วนใหญ่ก็อยู่
    ในห้อง พุทธภูมิ

    คนที่เป็น พุทธภูมิ ก็ย่อมมี ทิฏฐิมานะนุสัย เป็นพื้นๆ ถ้าบารมียังไม่มากพอ ก็จะมีการ
    ไม่เสมอ ก็จะล้นๆ ตามสภาพ ไม่ต่างจากคนเจ้าทิฏฐิ แต่ถ้าบารมีแน่นแล้ว ก็จะ
    นิ่ง

    มานะแน่นๆ ก็คือ นิ่งได้

    มานะแน่นได้มากกว่าผม ก็คือ นิ่งได้มากกว่าผม

    อย่าไปกลัวคำว่ามานะ มันเป็นคำกลางๆ ที่เอาไว้อธิบายสภาวะธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2008
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972


    ผมจะลองพิจารณาคำตอบของคุณขันธ์ดูนะครับ

    1 ตอบ อาการใจสงบ นั้น คุณลองคิดดูซิว่า ถ้าคุณไม่มีเรื่องกลุ้มใจ ไม่มีเวทนาที่กวนใจ ไม่มีอารมณ์ที่ขุ่นมัว
    มีแต่ความเบิกบาน คุณ สงบแค่ไหน คุณเท่าทันแม้กระทั่งความคิดที่ เฉไป ฟุ้งไปก็ไม่มี ทุกอย่าง ดุจพรหมคือ เคลื่อนไปทางไหน จบลงไปก็จบเท่านั้น นี่แหละคือ อาการสงบ และ ผมจะพูดต่อว่า สงบในอายตนะนิพพานนั้น ประณีต มาก จนไม่มีตัวตนให้รู้สึก

    คุณขันธ์ตอบข้อ 1 ได้แค่นี้เองหรือครับ นั่นสำหรับผมไม่เรียกว่าใจสงบถูกส่วน แต่เป็นการสงบแบบหยาบๆ นะครับ การสงบของใจนั้น มีอาการหยุด นิ่ง ใส นั่นคือใจมีพลัง หยุดเหมือนรถยนต์เบรคคือไม่ไหวติง นิ่งเหมือนน้ำที่ไม่มีกระแสลมสัมผัส ใสเหมือนดั่งเพชรใส อารมณ์แห่งนิวรณ์ธรรมไม่กำเริบในความสงบถูกส่วนนั้น นี่เรีบกว่าใจสงบครับ ใจสงบคือใจหยุด นิ่ง ใส ยังไม่พอ ต้องพัฒนาใจสงบให้เป็น หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส ให้ยิ่งขึ้นนะครับ

    2 กระบวนการของไตรลักษณ์ เอาง่ายที่สุด ผมเคยสอนไปแล้ว คือ คุณลองนึกเรื่องราวขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง เอาตอนสมัยคุณเด็กๆ ก็ได้ พอนึกเสร็จแล้ว คุณหันกลับมาอ่านข้อความนี้ แล้วลองดูว่า ก่อนคุณนึก เรื่องนั้นก็ไม่มี
    พอคุณนึกเสร็จ เรื่องนั้นก็ปรากฎขึ้นแต่ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วต้องค่อยๆ เลือนจางไป จากใจ นี่ทั้งหมด ในความรุ้และความรู้สึก ต่างมีกฎเช่นนี้ บังคับอยู่

    อย่ากล่าวว่าเคยสอนไปแล้วซีครับ ผมไม่ใช่ศิษย์คุณ ไม่จำเป็นต้องมานั่งสอนดอกครับ การอธิบายไม่ชัดเจนเลย ปรุงแต่งอารมณ์ไปทำไมครับ การฝึกสมาธิวิชชาธรรมกายไปต้องไปวิปัสสนึกอย่างนั้น เรายกสภาวธรรมขึ้นมาพิจารณา เห็นตามนั้น เช่นกายเรานี้ตอนเด็กอย่างหนึ่ง โตขึ้นเรื่อยๆ รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไปหมด แต่เราเห็นว่านั่นตัวตน แต่ไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะอำนาจแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวตนไม่มี มีแต่ภาวะของเหตุปัจจัยปรุงแต่งนามรูป ไม่ต้องสอนผมดอกครับ ผู้ฝึกแนวธรรมกายเขาเห็นด้วยญาณทัสสนะและความรู้ก็กระจ่างเช่นนี้ได้เลย แต่ที่พิจารณานี่ยังไม่เข้าสูตรทำให้กิเลสหมดไปเป็นเพียงแค่รู้ตามความจริง ไม่ต้องวิปัสสนึกครับ ต้องวิปัสสนาเลยคือเห็นเป็นเรื่องเป็นราวได้เลย นี่ผมก็ไม่ได้สอนคุณนะ ดังนั้นอย่าไปคิดสอนใครเลยนะครับคุณขันธ์

    3 กิเลสหมดไปแค่ไหน ตอบว่า กิเลสเกิดจากอวิชชา ที่ไม่เท่าทัน โมโห นี้มันมีอยุ่ในใจคุณหรือไม่ ตอบว่าไม่มี แต่เกิดจาก ไปสัมผัสสิ่งต่างๆ แล้วปรุงขึ้น ตัวโมโหจึงเกิด และ มันตั้งอยู่ไม่ได้นาน จะต้องดับไป ทีนี้ บางคนที่มันไม่ดับ เพราะคอยกระตุ้นมาอยุ่เรื่อยๆ จนมันไม่ดับ และเห็นมันตั้งอยู่ เรียกว่า หลงเห็นความสืบเนื่องเป็นตัวตน อันเป็น สันตติปิดบังสัจธรรม

    กล่าวเช่นนี้ไม่ถูกตรงหลักพระพุทธเจ้านะครับ กิเลสนั้นมีทั้งภายในตัวเราและภายนอกตัวเรา กิเลสภายนอกท่านเรียกว่าอาคันตุกะกิเลสหรืออุปกิเลส ส่วนกิเลสภายในท่านเรียกอนุสัยกิเลส กิเลสทั้ง ๒ รับลูกกันมาปรุงให้สัตว์โลกกระทำวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ อยู่ในใจเราเรียกว่าอนุสัยมีซีครับ ถ้าไม่มีก็คือหลงแล้วเข้าใจธรรมผิดฝาผิดตัวแล้วนะครับ อายตนะภายในอายตนะภายนอกเรียนมาแล้วไม่ใช่หรือครับคุณขันธ์

    4 ยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด แน่นอน เพราะว่า จิตนี้เมื่อมีอวิชชา สัมผัสสิ่งใด ก็หลงไป เอาแค่ว่า คุณสัมผัสข้อความผม จิตคุณก็ ยึดอยู่ติดอยู่กับเรื่องราวนี้ แล้วนับประสาอะไรกับภพใหญ่ อันเกิดแต่ อวิชชา และ ตัณหา ที่ดึงเรามาสู่ ภพชาติ ซึ่งเป็นสมมติทั้งสิ้น

    ยอมรับก็ดีแล้วครับ ทำไมไม่อธิบายไปเป็นลำดับละครับ จะยกแบบปฏิจจสุปบาทหรือยกไป วัฏฏะ ๓ เอ้าข้อนี้บอกว่าจิตนี้เมื่อมีอวิชชา ข้อที่แล้วบอกว่า"กิเลสเกิดจากอวิชชา ที่ไม่เท่าทัน โมโห นี้มันมีอยุ่ในใจคุณหรือไม่ ตอบว่าไม่มี" ก็โมหะกับอวิชชาก็เป็นกิเลสตะกูลเดียวกันนะครับ มันมีอยู่ในใจก็คืออนุสัยอยู่แล้ว เอ...จะตอบให้มันแยกแยะให้ชัดเจนกว่านี้ซีครับ มันไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์นะครับ

    5 ปฏิบัติตามแนวทาง แห่ง มหาสติปัฎฐาน 4 และ ต้องศึกษาพระธรรม และ ฝึก สมาธิ ศีล ให้กล้า พอที่จะดึงจิตออกนอกวงโคจรของอวิชชา เรียกว่า สลัดได้ อุเบกขาได้ทันที สรุปคือ จิตตภาวนาตามแนวครูบาอาจารย์ สายพระอาจารย์มั่น เป็นบรมครู

    อ้อ...มีครูบาอาจารย์นะครับ ก็ยังดีครับ มหาสติปัฏฐานนี่ขอให้ปฏิบัติเนืองๆ นะครับ จะสลัดออกหรือจะดินพอกหางหมูก็ดูกันไปครับ

    6 จุดมุ่งหมายธรรม ของผม คือ รักษาพระศาสนาตามกำลัง ธำนุบำรุงพระศาสนาตามธรรม และดึงคนออกจากสีลพตรปรามาส ให้มากที่สุดเพราะชาตินี้ ผมคงต้องค้างไ้ว้่ที่ภูมิธรรมเท่าที่มี ซึ่งเท่านี้ก็ปิด อบายภูมิราบคาบ

    โอว...ปิดอบายได้แล้วแน่หรือครับ ใครรับรองครับ อย่าประมาทในวัฏฏะและกฏแห่งกรรมนะครับ อันนี้แซวเล่นนะ...


    ึ7 คิดว่า คนอื่นผิด แต่ไม่ได้คิดว่า ตนเองถูก เพราะว่า ไม่ได้รู้สึกเป็นตัวเป็นตน ในการตอบคำถาม มีแต่ ธรรมเกิด และ ธรรมดับ

    เอ...เลียนแบบคำพูดใครมาหนอ ฟังดีครับ แต่ไม่น่าเชื่อครับ เพราะผมสังเกตยังไงความยึดตัวยึดตนของคุณก็ยังมีอุดมครับ เพระอะไร เพราะคนที่ไม่ยึดตัวยึดตนต้องเป็นอริยบุคคล แต่ผมไม่ได้ปรามาสนะ แต่ผมว่าคุณยังราคาคุยอยู่นะครับ คิดเองเออเอง ไม่เท่ากับผลที่คุณแสดงออกมามันไม่แตกต่างอะไรกับการยังยึดตนอยู่นะครับ

    8 จุดสิ้นสุด ของการถกธรรม คือ การชี้ให้เห็นกิเลส ที่ผุดออกมาจาก คนที่ถกด้วยได้

    อืม...ผมว่าเหตุผลของคุณที่อ้างเช่นนี้คุณจึงก่อกวนอารมณ์คนอื่นให้ฟุ้ง นั่นแปลว่าคุณสร้างบาปกรรม ก่อเวรนะครับ ไม่ใช่ชี้ให้เห็นกิเลสที่ผุดออกมา ผมว่ายิ่งคุณชี้ให้เห็นกิเลสที่ผุดออกมา กิเลสคุณนั่นแหละต้องผุดก่อน แปลว่าทั้งตัวคุณและคนที่คุณถกได้กิเลสไปคนละกระบุงโกย เพราะคุณเป็นต้นเหตุ แปลว่าคุณสร้างเวรก่อกรรมนะครับ วิธีนี้ผมเคยเห็นบางอาจารย์อ้างว่าต้องกุเรื่องให้ลูกศิษย์กิเลสฟูเพื่อจะได้สั่งสอน แต่รู้ไหมตัวอาจารย์นั่นแหละบาปหนักที่สุด ผมมองว่าผิดหลักพุทธศาสนาครับ เพราะผิดหลักสัมมัปปทาน ๔ คุณเป็นเหตุให้คนที่คุณถกเขาออกจากหลักธรรมข้อนี้ คุณก็คือผู้สร้างบาปครับ


    9 ใช้อารมณ์บ้างใช้เล่ห์ บ้าง ตอบว่า เพราะธรรมปรากฎแบบนั้น หาใช่เล่ห์ เพทุบาย แต่เป็นกุศโลบาย

    คำพูดนี้มักเป็นข้ออ้างของคนที่เอาตนเป็นที่ตั้ง แล้วสร้างอธรรมให้เกิดขึ้น แล้วหลอกว่าเป็นธรรม อกุศลธัมมา ไม่ใช่กุศลธัมมาดอกครับวิธีการสอนของคุณมันสร้างอกุศลธัมมาครับ แปลว่าคุณใช้อธรรมไม่ใช่ใช้ธรรมสร้างธรรมครับ


    10 การอยู่อย่างเบียดเบียนคนอื่น คือ มาจากตัณหาของตน แต่อยุ่อย่างไม่เบียดเบียนคนอื่น คือ ไม่ได้มาจากตัณหาตน ซึ่ง หากว่า ไม่ได้มาจากตัณหาแล้ว เบื้องปลายจะให้ผลอันประเสริฐแน่นอน

    ถ้าคุณตอบเช่นนี้ ก็แปลว่าทั้งโลกอยู่อย่างเบียดเบียนกัน เพราะคนทั่วโลกอยู่ด้วยตัณหา คนที่ไม่ได้อยู่ด้วยตัณหาคือพระอรหันต์ แต่คุณทำไมไม่คิดละครับ คนที่ยังมีตัณหาอยู่แต่ก็สำรวมระวังแล้วจึงไม่เบียดเบียนใครก็มี คุณยกตัวอย่างแบบนี้ไม่ตรงหลักความจริงเลยนะครับ
     
  9. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    1.สภาวะที่ใจสงบนั้นท่านเคยสัมผัสหรือไม่ อย่างไรที่เรียกว่าอาการใจสงบ
    ก็สงบจากกิเลส ที่ผุดขึ้นในใจ แต่ไม่สามารถออกไปทาง วจีกรรม มโนกรรม เว้นแต่จะไม่
    ทัน หรือ หรือทันแต่ปล่อย แต่ก็ทำด้วยภาวะรู้สึกตัว มีสติตลอดกรณีที่ปล่อย ความสงบ
    จึงเกิดขึ้นเนื่องจาก เห็นกิเลสเขาทำงานอย่างไร

    2.วิปัสสนาของท่านเพียงแค่ดูธรรมชาติของปัจจัยปรุงแต่ง แล้วท่านเห็นขบวนการของไตรลักษณ์อย่างไร
    ก็เพราะเห็นกิเลสเขาทำงานอย่างไร หากเราไม่หลงคล้อยตามมัน มีสติ ไม่ได้จงใจ
    ยับยั้งมัน แต่มันดับไปเอง จึงเห็นมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา


    3.สิ่งที่ท่านรู้เห็นแล้ว มันทำให้กิเลสเบาบางลงหรือหมดไปได้แค่ไหน
    ก็เพราะมันดับไปเป็นธรรมดา มันไม่ได้ออกมาทางวจีกรรม กายกรรม จึงเห็นถึง
    ความเบาบางในเบื้องต้น การดับไปอย่างสมุทธเฉทจะเป็นเบื้องหน้า เพราะเชื่อ
    มั่นว่ามันจะดับไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร

    4.ท่านยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ อย่างไร แบบไหน
    แน่นอนอยู่แล้ว เหตุที่เรายกวิปัสสนาญาณได้ ก็เพราะทำมาหลายชาติแล้ว สมาธิก็
    ทำมาแล้ว ทำอีกก็แป๊ปเดียวก็เข้า แค่หายใจเข้าก็เข้าอานาปานสติเป็นสรณะตลอดตื่น
    เว้นแต่จมอยู่กับงานในบางขณะ

    5.ท่านปฏิบัติธรรมตามแบบของท่าน โดยใช้แนวปฏิบัติภาวนาอย่างไร
    ก็หยุดทำ พอเห็นกายเข้าวิหารธรรมอานาปานสติ ก็ตามรู้การจงใจ หรือไม่
    ถ้าไม่ก็จะตามรู้ ก็จะเห็นอาการปิติ อาการของจิตไหลไปไหลมาในกาย นอก
    เหนือจากการตามดูกายนอกที่ขยับ นอกนั้นก็จะเห็นกิเลสผุด เห็นเวทนาที่
    เสียดแทงในบ้าง นอกบ้าง ส่วนไตรลักษณ์หรือธรรม ไม่ได้ดู จิตเขาเห็น
    ของเขาเอง ไม่ได้จงใจคิดจะดู เพราะถ้าคิด ก็ผิดทันที

    6.จุดมั่งหมายในการปฏิบัติธรรมของท่านต้องการไปถึงจุดไหน แล้วความเป็นไปได้มีแค่ไหน
    ผลปรากฏเป็นปัจจุบัน แม้ขณะพิมพ์โต้ตอบ ก็เห็นกายในกายไหลไปไหลมา บางก็ไปรู้
    การจงใจทำอานาปานสติตามความเคยชินของจิต ผลของกิเลส กาย จิต ก็เริ่มถอย
    ห่างตั้งมั่น เป็นของถูกรู้ถูกดูไปเรื่อยๆ เป็นหนทางของความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ใน
    กาย และ จิต เพราะ รู้ กาย รู้ใจ ตนอย่างแจ่มแจ้งไปเรื่อยๆ และกองขันธ์ ก็แยกออก
    ไปจากจิตเอง ซึ่งก็ได้ทัศนะอยู่เสมอๆ เป็นขณะๆ ไป

    7.ท่านคิดว่าคนอื่นผิด ท่านเท่านั้นที่รู้เห็นถูก แล้วอ้างประเด็นนี้มาตั้งเหตุคุยกันหรือไม่
    ไม่ได้เห็นว่าผิด ไม่เคยฟันธงว่าผิด แต่เห็นเป็นการทำสมาธิทั่วๆไป ผมฟังเพลง ดุหนัง
    ก็เป็นการทำสมาธิได้ เป็นวิหารธรรมเพื่อการดูกิเลสได้ ทำวิปัสสนาได้หมดทุกๆ การจม
    กับอารมณ์ คือ ไม่ว่าอารมณ์ไหน ก็เอามาทำการกำหนดเป็นสมถะ เพื่อตั้งมั่นในการ
    วิปัสสนาได้หมด

    8.จุดสิ้นสุดของการพูดคุยกันอยู่ที่ตรงไหน ต้องมีคนแพ้คนชนะ หรือต้องมีคนยอมเราเราจึงจะพอใจหรืออย่างไร
    ไม่ได้สิ้นสุด เพราะไม่ได้เถียง นี้คุยกับคุณโอม ก็พยายามคุยอย่างเพื่อน ก็สงสัยจะจำ
    เราไม่ได้ หรือไม่ก็เกลียดเราไปแล้ว ( เดิมเราเคยเสวนากับคุณโอมด้วยชื่อ เล่าปัง )

    9.ท่านคิดว่าการที่ท่านแสดงความเห็นโดยใช้อารมณ์บ้างเหตุผลบ้าง เล่ห์กระเท่บ้าง ฯลฯ จุดประสงค์เพื่ออะไร
    สำหรับคนอื่นผมไม่ทราบ แต่สำหรับผม ผมใช้ทุกวิธี เพื่อการค้นหาธรรม จะเบียดบัง
    หรือไม่อย่างไร จะต้องรับกรรมอย่างไร ไม่ได้สนใจ ยอมรับหมด ตกนรกก็ได้

    10.ท่านคิดว่าการอยู่โดยไม่เบียดเบียนคนอื่นคืออยู่อย่างไร
    ไม่มีอยู่ในทัศนะ เพราะเป็นเรื่องของสังสารวัฏฏะ ที่ทำ ก็เพื่อหาทางศึกษาทางพ้นสังสาร
    วัฏเก็บไปเป็นปัญญา ทำไปด้วยความจงใจ ไม่ใช่เผลอหรือหลง เป็นเจตนากรรม ตั้งใจ
    ทำและจดจำในอรรถ ในธรรมที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นวิบากดีหรือร้าย และผมก็เลือก
    คนคุยด้วย ไม่ใช่ สนทนาสะเปะสะปะ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    การแย้ง ของคุณ สมถะ กลับไปสู่ การแย้งในข้อที่ไม่เป็นประเด็น

    ซึ่งสิ่งที่ผมถามไป คุณสมถะไม่ตอบ แต่คุณกลับมาแย้ง ในสิ่งที่คุณถามผมอันไม่มีประเด็นเลย

    คุณจะแย้งสิ่งที่ผมตอบทำไมครับ เพื่ออะไร เพื่อแค่ว่า ผมผิดหรือ แล้วมันเกี่ยวกับธรรมกายตรงไหน


    ผมจะแย้งคุณกลับก็ได้ แต่ผมไม่ทำ เพราะมันไม่ได้นำไปสู่ คำตอบ
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ผมจะไม่ไปไหนในทางความคิด หรือ ความขัดแย้ง จนกว่า คุณจะตอบในประเด็นที่ผมถาม

    ทีนี้ เวลาคุณแย้ง ให้คุณแย้งเรื่องธรรมที่ผมกล่าว ซึ่งธรรมนั้นมีประเด็นเกี่ยวกับ ธรรมกาย

    คุณอย่าแย้ง ในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่นว่า ผมไม่ดี เพราะผมไปด่าคนอื่น ผมไม่ถูกเพราะอย่างนั้นอย่างนี้

    เอาแต่ ธรรม ครับ
     
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    และผลของความพยายามทั้งหมด ก็คือ ผลักดันให้คนที่สนทนาด้วย รู้จัก หรือได้
    สดับการทำวิปัสสนาในแบบเรียบง่ายที่สุด

    และกระตุ้นให้เขาทำ ด้วยเห็นว่า ทำได้ทุกเวลา ทุกขณะจิต ไม่ต้องรอเวลา หรือ
    อ้างว่าไม่มีเวลา

    ส่วนการอ้างว่า ทำสมถะเป็น มีอาการของจิตเห็นนิมิตได้ ก็เพื่อให้เห็นว่า ไม่ใช่
    ทำวิปัสสนาอย่างเดียวแล้ว จะไม่ได้อะไรเลย เราจะได้อะไรหรือไม่ได้อะไร นั้น
    ขึ้นกับวาสนาในชาติเก่าๆที่ทำไว้ ถ้ามี และเผลอ ก็จะเข้าไปทำ ไปมี ตามปรกติ

    หลายคนเข้าใจว่านี้เป็นปัญญาวิมุตติ แท้จริงไม่ได้เกี่ยวอะไร การหลุดพ้นก็
    ต้องใช้ทั้งสองส่วนอยู่แล้ว
     
  13. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แหมพอผมจะคุยด้วย คุณขันธ์ก็ไม่ว่างสักที แล้วเดี๋ยวผมไม่ว่างบ้างก็อย่ามาว่ากันนะครับ


    นี่ไงความไม่รู้ไม่เห็นมันเป็นอวิชชาอย่างหนึ่งนะครับ สภาวะธรรมที่เรียกว่า รูปนามนั้น ท่านต้องเห็นซีครับ เห็นแล้วจึงรู้หรือจึงรับรู้ได้ เอาง่ายๆ ขันธ์ ๕ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในอภิธรรมท่านบอกลักษณะว่าเป็นดวง มีมากมายที่ท่านแยกเป็นดวงๆ แต่นั่นคือรูปธรรมนามธรรมนั่นคุณสัมผัสได้อย่างเดียวถ้าใช้ความรู้ของกายมนุษย์ที่นั่งอ่านอยู่นี่ใช้สัมผัสได้อย่างเดียว ทีนี้คุณต้องแยกระหว่างกระบวนการกับผลหรือความรู้สึกของอาการเหล่านั้นที่บังเกิดแก่ใจ นั่นเรียกว่าอารมณ์ใจ คนละประเด็นกัน ที่ท่านพิจารณานั่นท่านพิจารณาอารมณ์ที่เกิดจากรูปนาม เหมือนท่านท้องเสีย ท่านก็พิจารณาอาการของมัน ปวดหนอ เจ็บหนอ ร้อนหนอ หนาวหนอ แต่ผมกำลังพูดถึงกระบวนการก่อนที่จะไปถึงผลของอารมณ์เหล่านั้น นั่นคือเหตุ และเหตุในเหตุ เพื่อดับเหตุ ทุกข์จะได้ไม่เกิด ไม่เกิดทุกข์หรือดับชั่วครั้งชั่วคราว หรือแบบถาวรนี่อีกประเด็นหนึ่ง


    ที่นี้เมื่อมีรูปมากระทบตา ท่านก็ไปพิจารณาตรงผลว่า สวย งาม ไม่สวย ไม่งาม ชอบ ไม่ชอบ นั่นคืออารมณ์ใจเท่านั้น แต่ผมจะกล่าวว่าในกระบวนการของญาณทัสสนะมันเห็นคล้ายๆ ที่ฝ่ายอภิธรรมท่านแสดงแต่ญาณทัสสนะนั้นเห็นละเอียดกว่านั้นมากนัก แล้วก็เอามาพูดให้ฟังกันลำบากมาก เพราะคนฟังไม่เห็น แล้วมันก็นึกไม่ออก ก็เลยเป็นเรื่องของภาคปฏิบัติกันไป ที่เราจดมาเป็นตำรามันจึงได้แค่นี้ ฝ่ายวิปัสสนึกก็จับจุดกันไป


    ผมเองก็ต้องขออภัยด้วยอาจจะใช้คำพูดที่กระทบท่านไปหน่อย เพียงแต่ผมกล่าวเฉพาะว่าท่านต้องเห็นกระบวนการ ผลนั้นท่านพิจารณากันเก่งอยู่แล้ว เห็นรูปร่างหน้าตากระบวนการของ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ฯลฯ นั่นคือเห็นในเหตุ ไม่ใช่ผลหรือพฤติการณ์ของอารมณ์ที่เราพิจารณากันแล้วก็พยายามละมัน ดูมันไปตามอาการที่มันแสดงออกเท่านั้น เอาง่ายๆ ตาก็มีแก้วตาทั้งสองข้าง เวลารูปจากอายตนะภายนอกที่เรารับเข้ามาจะเข้ามาสู่ตาของเรานี่ ท่านเคยเห็นกระบวนการนี้ไหม ผู้ฝึกแนวธรรมกายที่ชำนาญในวิปัสสนาภูมิท่านเห็นเป็นกระบวนการเลยว่า รูปมันเข้ามาปรุงให้เกิดอารมณ์กิเลสอย่างไร รูปร่างของเครื่องรับกระทบมีหน้าตาตลอดจนกระบวนการทำงานอย่างไร ผมกล่าวแค่นี้พอ เพราะถ้าเล่าของจริงท่านก็จะนึกตามไม่ออกอยู่ดี


    ดังนั้นท่านต้องแยกว่ารูปที่เห็นในญาณทัสสนะไม่ใช่นิมิต แต่เป็นของจริงที่ละเอียดมาก จะใช้อะไรของกายมนุษย์ที่นั่งอ่านอยู่นี่ไปรับรู้ไม่ได้ ต้องใช้ญาณทัสสนะของธรรมกายเท่านั้น ดังนั้นถ้าท่านเข้าถึงธรรมกายท่านจะแจ้งใจเองในเรื่องนี้ แยกแยะนะครับ ที่ท่านพิจารณาแล้วละหรืออยู่กับผมนั่นเป็นเพียงผลไม่ใช่เหตุ ทีนี้เหตุบางท่านก็ว่าพอรู้ได้แต่มันไม่เห็นรูปร่างลักษณะและการทำงานของมัน แล้วจะไปทำลายกิเลสมันได้ตรงจุดอย่างไร เครื่องมือละเอียดในการรับกระทบเหล่านี้คุณเห็นไม่ได้ แต่ผู้ฝึกสมาธิแนวธรรมกายท่านเห็นครับ...
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เรื่องรูป นาม นั้น คงจะเสวนาแลกเปลี่ยนกันไม่ได้ เพราะเท่าทีอ่านบทความ
    ของคุณที่ยกมา ตรงนี้แหละที่แตกต่างกันอย่างมาก

    ในทางเรา การรู้แบบคุณ เราจะเข้าใจว่า นั้นคือการรู้รูปธาตุ ซึ่งตัวรู้ ก็เป็นธาตุ
    ดังนั้น นอกจาก ธาตุ 4 แล้ว คุณก็จะจมไปในธาตุรู้ได้อีก ที่นี้ ตรงธาตุรู้นั้น
    คือธรรมกายหรือไม่ อันนี้แหละที่ผมเห็นว่าเป็นไปได้ แต่รู้ไปในธาตุรู้ แล้ว
    จะเห็นอะไรตาม กายธรรม 16 อะไรนั้น พระสายผมไม่ได้แจงไว้ และกำชับ
    แค่ว่า อย่าไปรู้ในธาตุรู้ เพราะจะไม่ได้อะไร เพราะธาตุรู้นั้น แผ่ไปทั่วจักรวาล
    แผ่ไปทั่วพุทธเกษตร จึงไม่มีที่สิ้นสุด รู้ไปก็ไม่หมด

    ที่นี้เรื่องอารมณ์ หรือตัวกิเลส ทางคุณเรียก นาม แต่จริงในนามก็มีรูป เรา
    จึงเรียกใหม่ว่า นามรูป เมื่อเป็น นามรูป มันจึงแยกได้อีก เป็นส่วนของ รูป
    และ นาม ในตัวอารมณ์หนึ่ง เป็นที่มาของวิชาอภิธรรมว่าด้วย จิต เจตสิก
    แต่จริงไม่จำเป็นต้องไปรู้ เพราะเราดูกันไม่กี่คู่ และไม่ต้องละเอียด เพราะ
    แต่ละตัวจะมี ญาณ 3 ที่คุณกล่าว (กิจญาณ ผลญาณ กตญาณ) เป็นสิ่งให้
    น้อมรู้ หรือ ตามรู้ ซึ่งเพียงพอแล้วต่อการตามรู้ จนบรรลุมรรคผลได้ ไม่ต้อง
    ไปทำอะไรมากกว่านั้น

    ดังนั้น การรู้นามรูป ไม่ต้องไปรู้ชื่อก็ได้ เพราะ รู้สึกตามผลที่มี กิจที่มีก็ได้
    เมื่อตามรู้ได้มากๆ แบบ หลายๆนามรูป แล้วแยกออกเป็น รูป-นาม ได้มาก
    เท่าไหร่ ก็เป็นวาสนาของคนๆนั้น คือ ไม่ต้องรู้มากก็ได้ เอาเท่าที่รู้ เรียก
    นามรูปปริเฉทญาณ แต่ก็อย่างที่บอก ไม่ต้องไปรู้หมด รู้เท่าที่เรามีเป็น
    อนุสัย เป็นกิเลส เท่านั้นก็พอ ตรงนี้ก็ไปตรงปัจจเวกขณญาณ เลือกดูเฉพาะ
    ที่เป็นเรา ที่ทำให้เราเกิดทิฏฐิยึดเกาะ ก็สางมันออกไป หมุนวนรอบจี้ดูมัน
    ตรงนั้น จนกระทั่งมันแยกออก แตกออก ก็จบการดู การรุ้ตัวนี้ไป ไม่ต้องทำ
    อะไร แค่ดู แล้วรู้ รู้แล้วก็ทิ้ง ไม่ได้เอาอะไรไป ไม่ได้เอาอะไรมา ( คำว่า
    ไม่ต้องทำ หมายถึงเราไม่ต้องสร้างเจตนา การรู และ ดู จะเกิดขึ้นเองโดย
    จิตเป็นผู้ถืออิทธิบาท 4 )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2008
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เอาซีครับ ถามมาให้ตรงประเด็น ผมตอบให้คุณฟังแล้ว คุณเองต่างหากจะเข้าถึงความจริงในคำตอบของผมได้ไหม...?


    ทั้งหัวเครื่องหางเครื่องว่ากันไปครับ การฝึกแนววิชชาธรรมกายทำได้ทุกขณะจิตนะครับ การรักษาความสงบของใจนั่นต้องทำเนืองๆ ครับ ถ้ามันฟุ้งเพราะมีเหตุมากระทบใจ ก็ต้องรีบดึงใจให้เข้าสู่ความหยุด ความนิ่งอีกครั้ง ซึ่งไม่ยากนักสำหรับท่านที่ฝึกมาอย่างชำนาญ การพิจารณาแบบที่คุณว่ามันแค่วิธีที่ใครๆ จะนึกคิดก็ได้ทั้งนั้น นั่นไม่ใช่หลักวิปัสสนาที่แท้จริง เป็นเพียงแค่ใช้สติให้อยู่ในร่องในรอยของปัญญาแบบธรรมดาปกติของปุถุชนทั่วไปที่ประกอบความเพียรไม่ให้เผลอ แต่การใช้ปัญญาพิจารณาให้เกิดปัญญาตัดกิเลสได้นั้น มันต้องถึงพร้อมแห่งอินทรีย์แลปฏิบัติกระทำความเพียรสมกับบารมีเต็มส่วนนั่นแล


    ที่คุณบุคคลทั่วไปฯ กล่าวทุกสำนักเขาก็สอนกันทั้งนั้น ผู้ฝึกแนวธรรกมายก็ทำเช่นนั้นได้ไม่ยากเลย เป็นการฝึกสติในอิริยาบถปัจจุบันขณะ คนที่เห็นกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกายเขาก็อยู่กับกายธรรมได้ตลอดอยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อจะแก้ไขหรือพิจารณาอะไรก็ต้องเข้าหลักสูตรประกอบเหตุสังเกตผลเช่นนั้นอยู่แล้ว ไม่เห็นว่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไร การใช้ปัญญาเราใช้กันทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้ว แต่ใช้ในระดับไหนล่ะ ย้ำนะครับใช้ในระดับไหน ที่คุณกล่าวเป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น สมาธิก็มีเป็นระดับเข้าไป ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ จะเอาระดับไหนล่ะ ปัญญาก็มีเป็นระดับเข้าไป สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เห็นไหมครับ
     
  16. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    อะไรของคุณครับคุณบุคคลทั่วไปฯ เดี๋ยวให้รู้เดี๋ยวไม่ต้องไปรู้ ไม่รู้ก็อวิชชาต่อไปซีครับ ความรู้เพื่อความพ้นทุกข์ไปดักคอให้ใครรู้อย่างนี้พอ ไม่ต้องรู้อย่างอื่น ก็เผาตำราอภิธรรม เผาตำราอื่นๆ ที่เขารู้มากกว่าที่คุณรู้ไปอย่างนั้นหรือครับ


    ผมว่าคำพูดคุณไม่เข้าท่าไม่เครียร์นะครับ อันที่จริงผมทราบว่าเหลือกำลังของคุณที่จะไปรู้เห็นได้ คุณก็เลยอ้างไป เชื่อครูอาจารย์นะดีครับ แต่คนเรารู้ด้วยญาณทัสสนะย่อมเป็นที่น่าสรรเสริญกว่า นั่นคือรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วไม่ต้องไปยึดถือมั่น ก็เห็นตามความเป็นจริงแล้วจะไปยึดถือว่านามรูปของเรา ตัวตนของเรา ทำไม แล้วที่คุณพยายามทำความเข้าใจวิชชาธรรมกายนั่นยังไม่ตรงตามหลักที่ถูกต้องนะครับ แปลว่าคุณรู้อะไรแคบเกินไปนั่นเอง...
     
  17. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +29,715
    ฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯฯ


    ผมไม่เคยเอาชื่อตัวเองไปลงประกาศนะ กระดากใจ

    กิเลสหนา ปัญญาก็งั้นๆ แต่ไปโพสในหมวดนั้นบ่อย

    เพราะ สดวกใจ ในบรรยากาศ ที่รู้จักกับหลายคนห้องนั้น




    ภาษาสมมติ มันมีอุปสรรคเสมอ


    ในทัศนะผมนะ บางคนนิ่งได้นาน เพราะกลัวเสียฟอร์ม

    บางคนนิ่ง เพราะ วางได้เร็ว หรือ ไม่ก็อยู่กับวิหารธรรมเช่นพรหมวิหาร

    หรือ องค์กรรมฐานประจำของท่านเหล่านั้น




    ส่วนผม คงไม่นิ่ง แต่อืด เพราะ ช่วงนี้ทำงานหนัก กินเยอะแล้วนอน

    55555555555555555 ^^
     
  18. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ธรรมกาย เป็น สมถะ ครับ แต่ถ้าผู้ปฏิบัติทำสมาธิได้ไม่แนบแน่นพอ ก็จะพลิกให้เห็นความไม่นิ่ง ความเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นวิปัสสนา

    ธรรมกายเป็นบาทฐาน ให้วิปัสสนาได้เป็นอย่างดี
    และถึงแม้ได้วิปัสสนา ระหว่างทางก็ต้องพักจิตเข้าไปในสมถะบ้างเป็นธรรมดา

    แต่ที่ผมไม่เห็นด้วยคือ การยกธรรมกายเป็นสิ่งวิเศษมาข่มมหาสติฐาน และการแปลคำสอนตามโมหะ โลภะ ของบางท่านเท่านั้นเอง การยกธรรมกายเป็นศูนย์รวมของทุกอย่างมันไม่ใช่

    เช่น ไปปนกับไตรลักษณ์ ก็คุณทำธรรมกายไม่แข็ง สมาธิน้อยไป พอพลิกไปเป็นวิปัสสนา ก็เห็นไตรลักษณ์เป็นธรรมดา

    ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องว่า ธรรมกายเป็นส่วนหนึ่งของ กรรมฐาน 40 ที่ก่อให้เข้าถึง สติฐาน 4 น่ะ จะยอมรับได้

    แบบที่คุณยก อ้างมาแป๊ะ เค้าเรียกว่า มั่ว ก็มันเป็นเช่นนั้น เป็นธรรมดา ไม่ใช่ความวิเศษของวิชชาธรรมกายครับ

    พระพุทธอธิบายวัฏสงสาร และชี้ทางออกไว้ชัดเจนดีแล้ว ไม่รู้จักไปศึกษา น้อมปฏิบัติตาม มั่วแต่ไปหลงคุณวิเศษจากโมหะ โลภะอยู่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2008
  19. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เอาล่ะครับสนทนากันพอหอมปากหอมคอ วันนี้พอมีเวลาแต่คิดว่าพรุ่งนี้คงมีเวลาน้อยลง ก็จะลองแวะเวียนมาคุยเรื่อยๆ เท่าที่เวลาจะอำนวย วาจาใดที่กล่าวล่วงเกินก็ขออภัยคู่สนทนาทุกท่านไว้ด้วยนะครับ เราคุยกันได้ก็ดีแล้ว คุยกันพอประมาณอย่าถึงกับกล่าวหากันว่าใครฝึกมาแล้วไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้เลย แต่ตรงไหนที่พูดเพื่อความชัดเจนเราก็คุยกันไป ตอนนี้เห็นว่าท่านไม่คุยต่อผมก็จะพักล่ะ


    ขอบคุณที่ร่วมสนทนากันนะครับ
     
  20. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +29,715
    ทนายทางธรรม คือ ผู้ปฏิบัติแจ่มแจ้งในมรรค ผล นิพพาน มีส่วนรักษาพระศาสนาได้


    ถ้าทนายทางโลก โดยเฉพาะ ทางบ้านเมือง อดทนซักฟอก ตอบ แย้ง เพื่อผลประโยชน์ของลูกความที่ดี หรือ เพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติ ( อ้าว นอกเรื่องไปไกล ถึง เขาพระวิหาร มะได้"แถ" นะครับ คุยให้บรรยากาศคลายๆ )


    สังคม และ บ้านเมือง คงดีกว่านี้อีกเยอะ.....


    ปล. อัพเดท บรรยากาศข่าวบ้านเมือง แต่ผิดกระทู้ ^^


    ทำงานต่อละครับ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...