/// พระเครื่อง เครื่องราง หลากหลายคณาจารย์ ยอดนิยม///

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย โต๊ะหมู่, 20 พฤษภาคม 2024.

  1. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    พระชัยวัฒน์สุจิตโต วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2495 กรุงเทพฯ

    ผู้สร้าง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ องค์พระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2464-2501 เป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 38 ปี
    พระชัยวัฒน์สุจิตโต และพระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ ได้ถูกจัดสร้างในวาระเดียวกัน เมื่อวันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2496 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง เวลา 13.52 น.
    ณ.บริเวณอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร


    พระชัยวัฒน์สุจิตโต นักสะสมพระเครื่องเรียกตามพระนามฉายาของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งนามฉายาของพระองค์ท่าน “สุจิตโต”
    พุทธลักษณะ
    พระชัยวัฒน์สุจิตโต รูปแบบเหมือนพระชัยวัฒน์ทั่วๆไป
    พระเกศ เป็นแบบเกศปลีอยู่บนมุนโมลีอีกชั้นหนึ่ง ไม่ปรากฏเม็ดพระศก แต่ปรากฏกรอบไรพระศกเป็นเส้นนูนสูง
    พระเนตร จะมีเม็ดนูนเด่นกลางเบ้าตา แต่บางองค์ก็ไม่มี
    พระพักตร์ กลมป้อม คางสั้น เหมือนไม่มีลูกคาง ดูโดยรวมแล้วเหมือนพระพักตร์ของพระพุทธรูปไพรีพินาศมากสังฆาฏิ ด้านหน้าสั้นเสมอพระถัน ส่วนสังฆาฏิด้านหลังยาวจรดบัวเป็นพระปางสมาธิ ประทับนั่งอยู่บนฐานบัวฟันหนู 2 ชั้นแบบบัวรอบ ข้อพระบาทด้านขวา จะมีรอยขวั้นอยู่ 2 รอย และยกเป็นรูปพระบาทนูนสูงอย่างเด่นชัด
    วรรณะ
    พระชัยวัฒน์สุจิตโต ใช้ทองชนวนเบ้าเดียวกันกับพระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ ฉะนั้นวรรณะจะมีลักษณะเดียวกันคือ เหลืองปนขาวเล็กน้อยไม่กลับดำ กระแสจะออกประกายทองสีเหลืองวาวสดใส แต่มีบางองค์กระแสออกเหลืองอมเขียว เพราะเกิดจากสภาพการเก็บรักษา หรือผ่านการใช้ถูกสัมผัสมาบ้าง
    หมายเหตุ
    ที่ระบุว่าพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศสร้างเมื่อปี พ.ศ.2496มิใช่ พ.ศ.2495 ตามที่บางท่านเข้าใจนั้น เพราะว่าเจตนาของผู้จัดสร้างต้องการฉลองชนมายุครบ 80 พรรษาบริบูรณ์ (ในปี พ.ศ.2495) แต่พิธีการสร้างได้ดำเนินการมาถึง พ.ศ.2496 ดังจะขอคัดลอกข้อความในหนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร”
    “อนึ่ง เมื่องานฉลองพระชนมายุครบ 80 พรรษาบริบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2495 ผ่านไปแล้ว ได้มีการประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมาเพื่อเป็นฑีฆายุมหามงคล แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นพระพุทธปฏิมา หน้าพระเพลา 3 คืบ หรือ 100 ซ.ม. สูงตั้งแต่พระที่นั่งถึงพระจุฬา 177 ซ.ม. พระรัศมี 22 ซ.ม. ประกอบพิธีเททองหล่อเมื่อวันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2496 และในพิธีเดียวกันได้จัดสร้างวัตถุมงคลพระไพรีพินาศ”

    สภาพน่ารัก "2000" สวยๆว่ากันที่หมื่นบวกๆ

    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 1-4.jpg 70396393_2218092281633843_6591454191405760512_n.jpg
     
  2. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    พระกริ่งหลวงพ่อชุ่มปี 2500 วัดกุฏิบางเค็ม สายเหนียวไม่ควรพลาด ประสบการณ์ ดังแชะๆกันทีเดียว ตามแบบฉบับสายเพชรบุรี เนื้อทองผสมรมดำ ยังสวยกริ่งดัง 67 ปีแล้ว

    พระกริ่งหลวงพ่อชุ่ม ปี 2500 วัดกุฎิบางเค็ม จ.เพชรบุรี เป็นพระกริ่ง ที่สร้างโดยหลวงพ่อชุ่ม หล่อเททองที่ วัดสุทัศน์แล้วมาปลุกเสก และตอกโค๊ด อุดโธอัดธัง 2500 ดีทั้งพิธีหล่อและปลุกเสกโดยสุดยอดเกจิครับ หลวงพ่อชุ่มท่านเด่นด้านแคล้วคลาด คงกระพันครับ ของดีหายากราคาเบาที่อยากแนะนำครับ

    "ปิดบูชาครับ"

    5-0.jpg 5-1.jpg 5-2.jpg 5-3.jpg 5-4.jpg 5-5.jpg 19510562_505538506444477_2262722868951680576_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2024
  3. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระเนื้อว่านผงยา หลวงพ่อชื่น วัดป่ามุนี อ่างทอง ปี 2482 1fab7.png
    หลวงพ่อชื่นในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น เรื่องวิชากระสุนโค้งหรือกระสุนคด หลวงพ่อนามเคยเห็นมากับตา หลวงพ่อชื่นเคยแสดงให้เห็น โดยหลวงพ่อชื่นบอกพวกลูกศิษย์ให้ดูมะม่วงที่สุกหัวเหลืองอยู่บนต้นแล้วท่านยิงกระสุนออกไปโดยยิงไปอีกทิศทางหนึ่ง แต่กระสุนไปตัดขั้วลูกมะม่วงลูกที่ท่านบอกให้ดูตกลงมาได้อย่างแม่นยำ และไม่ถูกมะม่วงลูกอื่นในช่อเดียวกันเลย วิชานี้พวกชาวบ้านต่างทราบดี และหัวขโมยต่างเกรงกลัวกันมาก
    นอกจากนี้หลวงพ่อชื่นได้ปลูกว่านต่างๆ ไว้ในวัดมากมาย แต่ละอย่างล้วนมีสรรพคุณทางด้านต่างๆ ใช้รักษาโรค รักษาแก้พิษงู ว่านมหาเสน่ห์ ว่านอยู่คงต่างๆ ในสมัยนั้นใครป่วยไข้ก็พามาให้หลวงพ่อชื่นช่วยรักษาให้ วันๆ มีคนมารักษามากแม้อยู่ไกลต่างแดนก็มาให้หลวงพ่อรักษาให้ เรื่องยาปีปของหลวงพ่อมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น
    หลวงพ่อชื่นได้สร้างพระเครื่องไว้เป็นพระเนื้อผงผสมว่านยา ซึ่งท่านสร้างใส่ไว้ในตุ่มเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแปดหมื่นสี่พันองค์มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์ปิดตา พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ เป็นต้น
    พระของท่านมีทั้งที่บรรจุในกรุและที่ไม่ได้บรรจุกรุ จะเห็นว่าผิวของพระไม่เหมือนกันที่มีคราบกรุกับไม่มีคราบกรุ เนื้อของพระจะออกเป็นสีเทาอมเขียวคล้ายๆ กับพระวัดท้ายตลาด พระที่บรรจุกรุในเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร (พระพุทธรูปหินเขียว) ได้เปิดกรุในปี พ.ศ.2493 เมื่อรื้อกุฏิหลวงพ่อเพชรออก เพื่อสร้างกำแพงแล้ว จึงพบพระผงว่านยาที่หลวงพ่อชื่นบรรจุไว้ ส่วนพระที่ใส่ตุ่มไว้นั้น หลวงพ่อได้แจกจ่ายญาติโยมไปตั้งแต่ในสมัยนั้นจนหลวงพ่อมรณภาพ ก็ยังมีคนมาขอพระไปจนหมด
    พระเครื่องของหลวงพ่อชื่นมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านอยู่คง และทางด้านรักษาโรค มีคนนำไปฝนกินรักษาโรคต่างๆ ได้ มีผู้เล่าว่าเคยมีคนถูกงูเห่ากัด ไม่รู้จะทำอย่างไรก็บดพระของหลวงพ่อชื่นให้กินและพอกที่แผล ปรากฏว่าคนที่ถูกงูกัดไม่ตายหายได้เป็นปลิดทิ้ง

    "" ปิดบูชา ""

    4-0.jpg 4-1.jpg 4-2.jpg 4-3.jpg 4-4.jpg 46517352_2137996456232670_2867454805444395008_n.jpg 100873416_3812367592170767_2166395982437154816_n.jpg 432763493_427360056373005_245899320825960228_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2024
  4. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระพิมพ์กลีบบัว หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี จัดสร้างยุคแรกที่วัดพรหมบุรี ปี ๒๔๙๖ 1fab7.png
    พระชุดวัดพรหมบุรีเป็นพระรุ่นแรกหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
    มูลเหตุแห่งการสร้าง ชุดวัดพรหมบุรีนั้นคือ ในปี 2496 สมัยที่ท่านยังอยู่วัดพรหมบุรี ซึ่งไม่ไกลจากวัดอัมพวัน ครั้งนั้นวัดพรหมบุรีได้ดำเนินการจัดสร้างโบสถ์ หลวงพ่อท่านมีดำริที่จะสร้างพระไว้แจกแก่ญาติโยมที่มาช่วยบริจาค ท่านได้ไปขอความเมตตาต่อพระราชโมลีเจ้าอาวาสวัดระฆัง ขอให้เป็นเจ้าพิธีในการจัดสร้างพระราชโมลีได้มอบมวลสารผงของสมเด็จโตที่เก็บ ไว้และได้ออกหนังสือรับรองให้เ มื่อวันที่ 13 พ.ย. 2495 นอกจากนั้นยังมีผงเก่าๆที่ท่านได้รวบรวมไว้เช่น
    1ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน
    2ผงพุทธคุณของหลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู
    3ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
    4ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเชย วัดปากน้ำ(หรือวัดท่าควาย)
    5ผงธุปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
    เมื่อ รวบรวมผงที่นำมาสร้างพระแล้วได้นำมาสร้างเป็นพระพิมพ์แบบต่างๆ ได้แก่พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น,สมเด็จขาโต๊ะ,พระขุนแผน ,พิมพ์พระประจำวันต่างๆ,พระพุทธชินราช และแบบอื่นๆอีกหลายพิมพ์
    ซึ่งแต่และพิมพ์นั้น ได้มีการสร้างไว้จำนวนไม่มาก เมื่อแล้วเสร็จได้นำพระเหล่านี้ไปให้หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบาปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2496 เสร็จแล้วนำมาปลุกเสกอีกทีที่วัดพรหมบุรีในวันที่ 19 มกราคม 2496 โดยมีเกจิที่ร่วมปลุกเสกเช่น
    1 หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    2 หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา
    3 หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว สิงห์บุรี
    4 หลวงพ่อจ่าย วัดรุ้ง อ่างทอง
    5 หลวงพ่อเขียว วัดเสาธงทอง อ่างทอง
    6 หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคร ลพบุรี
    7 หลวงพ่อโม วัดจันทาราม ชัยนาท
    8 หลวงพ่อปลั่ง วัดภิญโญ ลพบุรี
    9 หลวงพ่อจรัญ วัดพรหมบุร๊(วัดอัมพวัน) และ
    10 หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร เกจิรูปอื่นๆอีก รวมทั้งสิ้น 21รูป
    เสร็จแล้วได้นำออกแจกจ่ายญาติโยมที่ร่วมทำบุญ โดยจะแจกพระพร้อมกับไบปลิวรายละเอียดการสร้าง
    ก่อนที่หลวงพ่อจะได้ทำการจัดสร้างพระนั้น ท่านได้ไปศึกษาและเรียนวิชากับเกจิ ตามรายชื่อดังนี้
    พ.ศ.๒๔๙๓ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์
    พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง
    พ.ศ.๒๔๙๕ ศึกษาทำเครื่องลางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธงทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง
    พ.ศ.๒๔๙๖ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ
    จะเห็นได้ว่าพระชุดนี้มีการสร้างที่ดี ทั้งเนื้อพระและคณาจารย์ที่ปลุกเสก และถือเป็นพระชุดแรกของหลวงพ่อจรัญ แห่งวัดอัมพวันด้วยครับ ลูกศิษย์ต่างหวงแหนกันทุกคน ในหนังสือหลวงพ่อและ ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อจรัญบอกไว้ว่า เวลาหลวงพ่อออกเดินทางเข้าป่าเข้าเขาธุดงค์ไปหาอาจารย์(หลวงพ่อดำและพระ อาจารย์องค์อื่นๆ)ในที่ต่างๆจะพกพาพระชุดวัดพรหมบุรีติดตัวไปด้วยเสมอ

    "ปิดบูชา"

    3-0.jpg 3-1.jpg 3-2.jpg 3-3.jpg 3-4.jpg 1299353-456b8.jpg 1299353-52b73.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2024
  5. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    สนใจ PM มาคุยกันก่อนได้ทุกรายการครับ
     
  6. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9

    ปิดบูชาให้กับลูกค้า PM ครับผม
     
  7. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาให้กับลูกค้านอกเว็บครับ
     
  8. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาให้กับลูกค้านอกเว็บครับ
     
  9. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระชุดมงคลมหาลาภ ปี 2499 พิมพ์นางกวัก เนื้อดินเผา สร้างน้อย หายากครับ วัดสัมพันธวงศ์สร้าง ให้วัดสารนาถฯ จ.ระยอง เมตตาสูงมาก โชคลาภดีเยี่ยม 1fab7.png
    1f64f.png ขออ้างอิงข้อความจากหนังสืออนุสรณ์พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาท จ.ระยอง ดังนี้
    1f64f.png พระมงคลมหาลาภ พ.ศ.2499 ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ (และแบบอื่นๆอีกมาก) พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อ.แกลง จ.ระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ 5-31 มีนาคม 2499
    1f64f.png พระรุ่นนี้ปลุกเสกโดย คุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธ และ คณาจารย์หลายท่านเช่น
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    หลวง พ่อเงินวัดดอนยายหอม เป็นต้น
    1f64f.png ทั้งนี้ได้รับการปลุกเสก ซ้ำที่วัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง อีกครั้ง
    โดยนิมนต์พระสายระยอง และสายกรรมฐานเช่น
    หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง
    หลวง ปู่ทิม วัดละหารไร่
    หลวงพ่อลี วัดป่าคลองกุ้ง
    อาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
    โดย ทั้งหมดเพื่อจัดสร้างและสมโภชน์พระพุทโธภาสชิน ราชจอมมุนี ในขณะที่แม่ชีบุญเรือน เป็นประธานจั สร้างและ คุมงานเอง
    แม่ชีบุญเรือนเป็นแม่ชีที่สำเร็จอภิญญาชั้นสูงเปี่ยมด้วยบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ ท่านสามารถอธิษฐานจิตให้ต้นมะม่วงอ่อนออกดอกผลได้ในคืนเดียว แม้แมื่อมรณภาพอัฐฐิยังกลายเป็นพระธาตุ พระของท่านเซียนใหญ่หลายคนยังอาราธนาขึ้นคอเลยเพราะท่านเอาดินจากพระกรุเก่าๆที่ชำรุดและดอกผลของมะม่วงดังกล่าวมาสร้างพระเครื่องครับ ศักดิ์สิทธิ์มากๆ
    1f64f.png พระมงคลมหาลาภ พ.ศ.2499
    ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
    เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์
    พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ
    พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อ.แกลง จ.ระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ 5-31 มีนาคม 2499นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาแนบแน่น
    สมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ พละ แลลาภยศ สรรญเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่ที่จะให้เข้าถึงอิฐผลนั้นๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์ เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆมีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ 7 สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ 375 ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร 9 ชั้น
    สูง 6 ศอก 8 ต้น บายศรีเงิน-บายศรีทอง 9 ชั้น สูง 6 ศอก อย่างละ 8 ต้น
    บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์
    ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเสกมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงเช่น
    พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
    พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    พระมหารัชชมังคลาจารย์
    พระมงคลเทพมุนนี จนฺทสโร (สด มีแก้วน้อย) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    พระครูวินัยธรเฟื้อง (ญาณปปทีโป)
    หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ (ช่วยทำพิธีและประสานงานด้วย)
    พระสอาด อภิวัฑฒโน วัดสัมพันธวงศ์
    พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน
    พระชอบ สัมจารี วัดอาวุธวิธกสิตาราม ธนบุรี เป็นต้น
    พร้อมด้วยบันจุเทพมนต์พรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ
    มาเข้าพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ
    (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชะลอ อุทกภาชน์
    ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็น
    องค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง
    พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเสกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว 7 ชั้น ผ้าเขียว 7 ชั้น
    พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่ จะสร้างพระ
    ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ที่ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี 40 ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง
    มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ
    เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้นให้ท่านทราบไว้ด้วยดังต่อไปนี้
    1.ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด
    เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ
    ผงแป้งที่ทำเลผงจากพระของเก่าบ้าง
    2.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ 108 อย่าง
    ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ 108 อย่าง
    3.ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ 7 ท่าและจากสระน้ำ 7 สระ
    4.ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานและสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข 1-5 นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อนแล้วเอามาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีด้วย
    5.ผงที่ได้จากดินสังเวยชนียสถาน 4 แห่งในอินเดียคือ
    5.1 ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึงเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
    5.2 ดินที่มหาโพธิ์ พุทธคยาที่ตรัสรู้
    5.3 ดินที่สารนาถ มฤคทายวัน เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้า
    ทรงแสดงธรรมจักร 5.4 ดินที่กุสินารา ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน
    6.ดินจากสถานที่สำคัญ 9 แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จ
    เสวยวิมุตติสุข 7 แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน
    เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่บนเขา คิชกูฏ
    (เมืองราชคฤห์) ดินที่ที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์
    ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.2497
    ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถาน
    7.ผงปูนหินขาว ราชบุรี
    8.ผงปูนซีเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง และน้ำอ้อย เป็นต้น
    ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยมาก แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่องใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้ นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้
    พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูปพระพุทธมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง
    ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา
    เข้าพิธีปลุกเสกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภ
    เสร็จแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้
    เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสวัดสารนาถธรรมารามแล้ว
    ก็จะได้จัดการทำบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามสมควรเพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่สารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ
    พระมหารัชชมังคลาจารย์ ( เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ )
    ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับพระมงคลมหาลาภ
    เป็นพระนาคปรกสี่เหลี่ยม เนื้อผงขาว (และส่วนผสมดังกล่าวแล้ว)
    ด้านหลังเป็นยันต์เฑาะดอกบัว อะอุมะ พิมพ์ใหญ่กลางเล็ก จำนวน 84,000 องค์ ซึ่ง “พระรัชชมงคลมุนี” (พระมหารัชชมังคลาจารย์)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ได้มอบให้ “พระชอบ สัมมาจารี” วัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพฯ สร้าง เพื่อนำมาแจกในงานสมโภชพระประธาน
    โดยส่ง “ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณต่าง ๆ เป็นแท่ง ๆ ประทับตรา “วัดสัมพันธวงศ์” ให้นำมาผสม โดยเรียก “พระนาคปรก” นี้ว่า “พระมงคลมหาลาภ” ซึ่งมีชื่อของท่านคือ
    “พระรัชชมงคลมุนี” อยู่ในชื่อพระด้วย ในพิธีนี้แม่ชีบุญเรืยนได้อธิษฐานจิตร่วมอยู่ในพิธีด ้วย
    หลวงพ่อลี วัดอโศกการาม จ.สมุทรปราการ องค์ประสานงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้
    ได้บอกศิษย์ว่า “พระผงนี้ดีมาก มีรังสี สีขาว และเหลืองกระจายออกสว่างไสว”

    "ปิดบูชา"

    2-0.jpg 2-1.jpg 2-2.jpg 2-3.jpg 2-4.jpg 14192167_548661278653602_1680179258841640878_n.jpg 148919528_3027488714020504_5387465516091781207_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2024
  10. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระผงเนื้อสีดำพิมพ์สิวลี วัดประสาทบุญญาวาสปี 2506 สวยเดิม เนื้อจัดและ เห็นชิ้นส่วนสมเด็จบางขุนพรหม หลังโรยเม็ดแร่แน่นๆ 1fab7.png
    มีในหนังสือทุกเล่มและมีในรายการประกวดพระเครื่อง มาตราฐานวงการ พระแท้ ดูง่าย เหมาะเอาไว้ศึกษา หลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มาแล้วนั้น หากนับกันแล้ว สุดยอดมวลสาร พิธีวัดประสาท ไม่เป็นเป็นรองใคร สุดยอดเกจิที่รวมงาน พิธีวัดประสาท ก็ไม่เป็นรองใคร น่าสะสมสุดครับ
    -ผงและชิ้นส่วนแตกหักบางขุนพรหม
    -ว่านและดินกากยายักษ์ที่ได้รับจากพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ที่เหลือจากพิธีสร้างหลวงปู่ทวด พ.ศ.๒๔๙๗
    -แร่โลหะ ที่ได้จากเกจิคณาจารย์แต่ละท่านที่นำติดตัวมามอบให้พระสมุห์อำพล อาทิเช่น พระกริ่งวัดสุทัศน์ ตะกรุด แร่เหล็กไหล
    เป็นต้นนำมาหลอมและตำ
    1.น้ำว่านชิ้นส่วนว่าน
    2.ผงและชิ้นส่วนบางขุนพรหม
    3.ดินกากยายักษ์
    4.แร่โลหะ
    จากอุบัติการณ์อันชวนสลดใจ สู่จุดกำเนิดวัตถุมงคลอันเรืองฤทธิ์
    การมาบรรจบกันของ สุดยอดมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากสองยุคสองสมัย "สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ" แห่งกรุงศรีอยุธยาและ "สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังส๊" แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลายมาเป็นสุดยอดวัตถุมงคล พระเรื่องวัดประสาทบุญญาวาส จากเหตุการณ์ไฟไหม้วัดประสาทบุญญาวาสในกาลนั้น ท่านพระสมุห์อำพลจึงต้องใช้กำลังแรงและทุนทรัพย์ในการบูรณะซ่อมแซมวัดเป็นจำนวนมาก กาลนั้นท่านได้นำที่ดินที่ท่านมีอยู่ของบิดามารดาเปลี่ยนเป็นทุนทรัพย์ ในการเริ่มบูรณะซ่อมแซมปฎิสังขร ทางพระสมุห์อำพลนอกจากท่าจะเตรียมทุนทรัพย์ที่ท่านมีอยู่แล้วท่านยังได้รวบรวมมวลสารชิ้นส่วนแตกหักกรุวัดใหม่อมตรส(บางขุนพรหม)เพื่อเตรียมสร้างพระเครื่องเพื่อหาปัจจัยบูรณะซ่อมแซมวัด ข่าววัดประสาทฯไฟไหม้และกำลังเตรียมกำหนดพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลจึงได้แพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้างทั้งการบอกต่อปากต่อปาก อีกทั้งเกจิที่แกร่งกล้าในพุทธาคมใช้การสื่อสารกันทางจิต ด้วยเจตนาจึงได้รับความช่วยเหลือจากเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสกกว่า 234 รูป ในจำนวนเกจิที่มาแต่ละรูปล้วนเป็นเกจิชื่อดังแห่งยุคแทบทั้งสิ้นและบางท่านเป็นสหมิกธรรมกับทางพระสมุห์อำพล ดังนั้นแต่ละท่านที่มาจึงมาช่วยด้วยใจหวังเพียงจรรโลงศาสนาให้คงอยู่สืบไป เกจิแต่ละท่านก็ยังได้นำมวลสารศักดิ์สิทธิ์มาผสมหลอมรวมไม่ว่าจะเป็น
    (ชิ้นส่วนแตกหักบางขุนพรหม,ชิ้นส่วนแตกหักวัดระฆัง,ดินกากยายักษ์และว่าน 108 ที่เหลือจากจากพิธีปลุกเสกหลวงปู่ทวด ปี2497 ทางพระอาจารย์ทิมได้มอบให้และพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านมาใช้ในการทำแม่พิมพ์ตะกั่ว,ผงตะไบกริ่งวัดสุทัศน์,แผ่นจารตะกรุดเกจิอาจารย์ต่างๆ,พระที่นำเข้าร่วมพิธี,เหล็กน้ำพี้,เหล็กไหล,ชนวนโลหะและผงพุทธคุณต่างๆ
    รายนามเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัดประสาทบุญญาวาส
    พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้
    หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
    หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
    หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม
    หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
    หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด
    หลวงพ่อโต วัดนามะตูม
    หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน
    หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
    หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม
    หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
    หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    หลวงพ่อพ่วง วัดบ่อตะกั่ว
    หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
    หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
    หลวงพ่อฟัก วัดนิคมประชาสรรค์
    หลวงพ่อเจียม วัดไร่ขิง
    หลวงพ่อวัตร วัดใหม่อมตรส(บางขุนพรหม)
    หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงษ์
    หลวงปู่นาค วัดระฆัง
    หลวงปู่อินทร์ วัดเกาะหงษ์
    หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ
    หลวงพ่อมิ วัดสิงห์
    หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
    หลวงพ่อสำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    หลวงพ่อแจ้ วัดโพธ์เฉลิมรักษ์
    พระพุทธิวงศาจารญ์ วัดเบญจมบพิตร
    หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์
    หลวงพ่อเขียน วัดพิชัยสงคราม
    หลวงพ่อสละ วัดประดูทรงธรรม
    หลวงพ่อเชน วัดสิงห์
    หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา
    พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา
    หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
    หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
    หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
    หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
    หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระโหง
    หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ
    หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ
    เจ้าคุณผล วัดหนัง
    หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
    หลวงปู่คำ วัดหนองแก
    หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
    หลวงพ่อทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้ง
    หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ
    หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศน์
    หลวงพ่อสุข วัดราชนัดดา
    พระอาจารย์ผ่องจินดา วัดสามปลื้ม
    หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง
    หลวงพ่อแสวง วัดสว่างภพ
    หลวงพ่อหอม วัดชานหมาก
    หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
    หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน
    หลวงพ่อสำเนื่อง วัดเวฬุวัน
    พระอินทสมาจารย์(เงิน) วัดอินทรวิหาร
    หลวงพ่อแจ่ม วัดบางพลัดใน
    หลวงพ่อพรหม วัดบึง
    หลวงพ่อผัน วัดราษฐเจริญ
    หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง
    หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ
    หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ
    หลวงพ่ออ้อย วัดหนองบัว
    หลวงพ่อแถร วัดส้มเสี้ยว
    หลวงพ่อเก็บ วัดสวนลำใย
    หลวงพ่อเม่ง วัดบางสะแกใน
    หลวงพ่อหวล วัดพิกุล
    หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม
    หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเฌอ
    หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    หลวงพ่อเขียว วัดทรงบน
    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    หลวงปู่สี วัดสะแก
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    หลวงปู่หิน วัดระฆัง
    หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
    หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
    เจ้าคุณเจีย วัดพระเชตุพนฯ
    เจ้าคุณศรีประหยัด วัดสุทัศน์
    หลวงพ่อดี วัดเหนือ
    หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา
    หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
    หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
    หลวงพ่อมิ่ง วัดกก
    หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ
    หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
    หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
    หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง
    หลวงพ่อแทน วัดแก้วฟ้าธรรมเสน
    หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
    หลวงพ่อนิล วัดครบุรี
    หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา
    หลวงพ่อบุดดา วัดกลางชูสรี
    หลวงพ่อเมี้ยน วัดเชตุพนฯ
    หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว

    "ปิดบูชา"

    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 1-4.jpg 1-5.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2024
  11. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระกริ่งสมเด็จพุฒาจารย์โสม วัดสุทัศน์ สร้างราวปี 2496-2498 เนื้อทองผสมจุ่มน้ำยาดำเดิมๆ สวยเดิมๆ ขุดก้น (นิยม) 1fab7.png
    พระกริ่งสมเด็จพุฒาจารย์โสม นั้นจะมีทั้งจุ่มน้ำยาดำและไม่จุ่ม(ผิวไฟ) และใต้ฐานจะมีทั้งขุดก้นและไม่ขุดและอุดกริ่งเท่าแท่งดินสอครับ เป็นพระกริ่งสายวัดสุทัศน์อีกรุ่นที่น่าสะสมและน่าใช้มากๆครับ 1f64f.png

    "2000"

    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 1-4.jpg 1-5.jpg 1-6.jpg
     
  12. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png เหรียญหล่อพระประจำวันพุธ วัดชีโพน จ.อยุธยา พ.ศ. 2499 พิมพ์อุ้มบาตร ท่านเจ้าคุณฯ(รัตน์) อดีตเจ้าอาวาสวัดชีโพน สร้าง ปลุกเสกโดย หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 1fab7.png

    เหรียญหล่อรุ่นนี้สร้างประมาณปี 2499 โดยท่านเจ้าคุณฯ(รัตน์) อดีตเจ้าอาวาสวัดชีโพน และ อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งท่านยังเป็นสหธรรมิก ร่วมยุคกับ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง หลวงพ่อ สด วัดปากน้ำ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และ พระเกจิยุคเก่าอีกหลายๆท่าน นับว่าท่านเจ้าคุณฯ(รัตน์) ท่านเองก็มีดีไม่แพ้ใคร การหล่อฯสร้างด้วยเนื้อโลหะทองผสม กระแสออกทองดอกบวบ ส่วนใหญ่สร้างเป็นพิมพ์พระประจำวัน เช่นเดียวกับ ชุดหล่อโบราณที่ออกทำบุญวัดห้วยสุวรรณฯ หลังยันต์ในพิมพ์ และ ชื่อย่อวัด ช.พ. เทหล่อแบบตัดก้านช่อใต้ฐาน ตะไบแต่งเก็บรายละเอียดรอบองค์ กำลังจะเป็นตำนานพระที่หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกสร้างและเสกอีกวัดหนึ่ง ประวัติชัดเจน แน่นอน ว่าได้รับการปลุกเสกอย่างดีจาก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และ เกจิเรืองเวทย์ในยุคเดียวกัน เช่น หลวงพ่อสังข์ วัดน้ำเต้า และ หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ รวมทั้งท่านเจ้าคุณฯ(รัตน์)เองท่านก็เสกให้เป็นเวลานาน นับเป็นของดีที่ไม่ควรมองข้าม ขนาดเล็กๆเหมาะเลี่ยมพกพาเอง หรือให้ลูกหลานที่รัก ได้มีพระดีๆไว้แขนที่คอ ต้ององค์นี้ครับ องค์เดียวจบเลย

    ปิดบูชาให้กับลูกค้า PM

    2-0.jpg 2-1.jpg 2-2.jpg 2-3.jpg 2-4.jpg 2-5.jpg 132028447_2467943200167877_6331649819576864397_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2024
  13. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    "ปิดบูชาให้กับลูกค้า PM ครับผม"
     
  14. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png ล็อคเก็ต รุ่นพิเศษ (วัดจัดสร้าง) หลวงปู่ครูบาอุ่น วัดโรงวัว จ.เชียงใหม่ 1fab7.png
    เป็นล็อคเก็ตรุ่นพิเศษ ที่ครูบาอุ่นสั่งจัดสร้างเอง ประมาณช่วงปี 2556 จัดสร้างจำนวน 100 องค์เท่านั้น (อาจจะไม่ถึงเพราะองค์ที่ไม่ได้อุดผงเก็บไว้ลืมที่)
    1fab7.png ครูบาอุดผงด้านหลังด้วยตัวเอง 1fab7.png
    1.แบบฝังเม็ดพระธาตุ ไม่ทาสี และทาด้วยสีทอง หรือทองแดง จำนวน 30-40 องค์ (โดยประมาณ)
    2.ด้านหลังฝังพระนาคปรก ติดแผ่นจาร จำนวน 35 องค์
    3.แบบทาสีทองติดแผ่นจาร พบเห็นเพียง 1 องค์เท่านั้น
    1f58d.png ..เกิดเหตุการณ์ประหลาดตั้งแต่เริ่มสั่งทำ คือ ช่างได้มาทำการถ่ายรูปครูบาอุ่น เพื่อที่จะนำไปจัดสร้าง แต่พยายามถ่ายออกมาถึงสามรอบ แต่รูปที่ถ่ายออกมาก็เป็นสีขาวล้วน ไม่สามารถถ่ายติดได้ จนได้ทำการขอขมาในรอบทึ่สามและถ่ายใหม่อีกครั้ง จึงถ่ายติด 2757.png 2757.png 2757.png
    1f64f_1f3fb.png ขอบคุณข้อมูลจาก หนานปอน (ฐปณวัชร์ อินพรมมา)
    1f64f_1f3fb.png เรียบเรียงรวบรวมใหม่ แอดมินกลุ่มศิษย์ครูบาอุ่น อตฺถกาโม

    " ปิดบูชา "

    3-0.jpg 3-1.jpg 3-2.jpg 3-3.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2024
  15. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    สนใจ PM คุยกันก่อนได้ครับ
     
  16. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    1fab7.png พระเนื้อว่านผงยา หลวงพ่อชื่น วัดป่ามุนี อ่างทอง ปี 2482 1fab7.png
    หลวงพ่อชื่นในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น เรื่องวิชากระสุนโค้งหรือกระสุนคด หลวงพ่อนามเคยเห็นมากับตา หลวงพ่อชื่นเคยแสดงให้เห็น โดยหลวงพ่อชื่นบอกพวกลูกศิษย์ให้ดูมะม่วงที่สุกหัวเหลืองอยู่บนต้นแล้วท่านยิงกระสุนออกไปโดยยิงไปอีกทิศทางหนึ่ง แต่กระสุนไปตัดขั้วลูกมะม่วงลูกที่ท่านบอกให้ดูตกลงมาได้อย่างแม่นยำ และไม่ถูกมะม่วงลูกอื่นในช่อเดียวกันเลย วิชานี้พวกชาวบ้านต่างทราบดี และหัวขโมยต่างเกรงกลัวกันมาก
    นอกจากนี้หลวงพ่อชื่นได้ปลูกว่านต่างๆ ไว้ในวัดมากมาย แต่ละอย่างล้วนมีสรรพคุณทางด้านต่างๆ ใช้รักษาโรค รักษาแก้พิษงู ว่านมหาเสน่ห์ ว่านอยู่คงต่างๆ ในสมัยนั้นใครป่วยไข้ก็พามาให้หลวงพ่อชื่นช่วยรักษาให้ วันๆ มีคนมารักษามากแม้อยู่ไกลต่างแดนก็มาให้หลวงพ่อรักษาให้ เรื่องยาปีปของหลวงพ่อมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น
    หลวงพ่อชื่นได้สร้างพระเครื่องไว้เป็นพระเนื้อผงผสมว่านยา ซึ่งท่านสร้างใส่ไว้ในตุ่มเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแปดหมื่นสี่พันองค์มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์ปิดตา พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ เป็นต้น
    พระของท่านมีทั้งที่บรรจุในกรุและที่ไม่ได้บรรจุกรุ จะเห็นว่าผิวของพระไม่เหมือนกันที่มีคราบกรุกับไม่มีคราบกรุ เนื้อของพระจะออกเป็นสีเทาอมเขียวคล้ายๆ กับพระวัดท้ายตลาด พระที่บรรจุกรุในเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร (พระพุทธรูปหินเขียว) ได้เปิดกรุในปี พ.ศ.2493 เมื่อรื้อกุฏิหลวงพ่อเพชรออก เพื่อสร้างกำแพงแล้ว จึงพบพระผงว่านยาที่หลวงพ่อชื่นบรรจุไว้ ส่วนพระที่ใส่ตุ่มไว้นั้น หลวงพ่อได้แจกจ่ายญาติโยมไปตั้งแต่ในสมัยนั้นจนหลวงพ่อมรณภาพ ก็ยังมีคนมาขอพระไปจนหมด
    พระเครื่องของหลวงพ่อชื่นมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านอยู่คง และทางด้านรักษาโรค มีคนนำไปฝนกินรักษาโรคต่างๆ ได้ มีผู้เล่าว่าเคยมีคนถูกงูเห่ากัด ไม่รู้จะทำอย่างไรก็บดพระของหลวงพ่อชื่นให้กินและพอกที่แผล ปรากฏว่าคนที่ถูกงูกัดไม่ตายหายได้เป็นปลิดทิ้ง

    "500"
    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 456873046_520503127058697_633307882373228080_n.jpg 456608487_520503170392026_5985323282510653568_n.jpg
     
  17. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    “พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ของดี แห่งยุค ”
    สร้างขึ้นในวโรกาสสำคัญฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ พร้อมกับการสร้างพุทธมณฑลที่ศาลายา นครปฐม พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
    พระเครื่องที่สร้างมีเนื้อดินและเนื้อโลหะ โดยเนื้อโลหะส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชิน จำนวนการสร้างมากถึง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์
    เนื้อหามวลสารพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อชิน ประกอบด้วยมวลสารมงคลจากโลหะหลายชนิดเป็นส่วนผสม อาทิ พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ และ แผ่นเงิน, ทองแดง ที่พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศทำการลงอักขระเลขยันต์ มาแล้ว ยังมีชนวนหล่อพระในพิธีอื่นๆ พร้อมผงตะไบ “พระกริ่งนวโลหะ” ทั้งของสมเด็จพระสังฆราชแพ และท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ มาเป็นชนวนในการจัดสร้าง
    พิธีปลุกเสกที่เข้มขลัง และมีพุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏ สนนราคายังพอหาเช่าหาบูชาได้ จึงทำให้ ‘พระ ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อชิน’ อยู่ในความนิยมไม่เสื่อมคลายมาจนถึงปัจจุบัน และถึงแม้จะมีการจัดสร้างเป็นจำนวนมากถึง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ แต่ก็มีของเก๊เกิดขึ้นตามมามากมายเช่นกัน
    การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
    1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
    12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
    13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
    14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
    19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
    21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
    22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรง***บ จ.พระนคร
    23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
    24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
    25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
    27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
    28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
    29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
    31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
    34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
    38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
    40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
    41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
    42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
    43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
    48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
    49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
    59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
    60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
    67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
    75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
    87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
    88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
    90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
    91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
    102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
    104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
    107. พระครู*** วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    "ปิด"

    1-0.jpg 1-1.jpg 1-2.jpg 1-3.jpg 1-4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2024
  18. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9
    ปิดบูชาครับ
     
  19. โต๊ะหมู่

    โต๊ะหมู่ หลุยส์ พุทธคุณ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +9

    ปล่อยเช่าบูชาแล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...