๒๑ วิธี ของ สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ๑๓อักษร, 11 กันยายน 2021.

  1. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ตกลงศาสดาพระองค์ไหนละเนี่ย คนนึงมาแบบลิเกเลย จะว่าไปเวลาอุปมาอะไร ฟังๆแล้วก็คล้ายๆลิเก แต่นั่นแหละว่า คนดูจะชอบดูโรงไหน หรือถ้าไม่ใช่แบบนั้น ก็แสดงว่า คนนึงกำลังเล่นลิเกคนนึงกำลังแสดงธรรม ว่าแต่คนไหนเป็นแบบไหนคงต้องอาศัย วิจารญาณของตนเองนะ
     
  2. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    รู้ได้ยังไง ว่าท้องฟ้า ไม่เกิดไม่ดับ มองไม่ออกตะหากละ
    พวกนี้มันอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์

    ของไม่เกิดไม่ดับ
    ใช่ ...มันมีอยู่แล้ว ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้
    มีความเป็นหนึ่งไม่มีการการมาการไป
    แต่ ...มันจะปรากฎ ต่อเมื่อ จิตสิ้นกิเลส
    หากจิตไม่สิ้นกิเลส มันไม่มีทางปรากฏหรอกครับ

    ไม่ใช่ว่า ของเกิดดับ อยู่ภายในของไม่เกิดไม่ดับ

    ไม่เช่นนั้น พระพุทธเจ้า จะไม่แยก สังขารออกเป็นสอง

    สังขารที่มีใจครอง
    กับ
    สังขารที่ไม่มีใจครอง
    ก้พวก ก้อนหิน ดินทราย
    อวกาส ความว่าง ที่โลกมันเกิดดับหมุน วนอยู่ในวัฏฏจักรวาลไปเรื่อย

    ฉะนั้น การไปเมา บอกว่า นิพพาน มีอยู่ก่อนแล้วลอยๆ มันไม่ใช่อย่างนั้น

    ถ้านิพพานอยู่ก่อนแล้วลอยๆ
    สิ่งที่เกิดดับ มันก้ปรุงแต่งอยู่ในสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับนะสิ

    มันก้ไม่ต่างอะไร กับของที่มีสิ่งปรุงแต่ง

    นิพพานปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
    มันไม่ปรากฎออกมาหรอก หากจิตนั้นไม่ได้อบรมจนสิ้นกิเลส

    เหตุ นี้ พวกที่บอกว่า
    จิตเดิมเป้นนิพพาน พวกนี้ ตายแล้ว ลงนิยตะมิจฉาทิฐิอย่างเดียว


    ตำราลุงแมว คนละตำรา ที่พระพุทธเจ้าสอน
    คุยกันได้ไม่ ลงรอยกันหรอกครับ

    คุยกันได้ ขำๆ เอาฮา ได้อยู่
     
  3. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ว่างๆ มาอัดใหม่ดีกว่า มวยคู่เอกก่อนล่ะกัน
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ความว่างของท้องฟ้าที่เราเงยหน้าขึ้น
    ไปมองมันไร้ขอบเขตและเป็นเนื้อ
    เดียวกับความว่างของจักรวาล
    และเป็นเนื้อเดียวกับธาตุรู้
    ที่อยู่ภายในและภายนอกขันธ์5
    และภายในภายนอก
    ของทุกสรรพสิ่งที่มีวิญญาณ
    ครองและไม่มีวิญญาณครอง
     
  5. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    อันนั้น มันไม่ใช่นิพพานหรอกครับ

    นิพพานจะปรากฎ จาก สังขารที่มีใจครอง
    พูดง่าย ๆ ซ้ำๆ ก้จิตสิ้นกิเลส นิพพานจึงปรากฎ
    ไม่ใช่ เนื้อเดียวอะไรกับอวกาส อากาส เละเทะ

    บอกแล้ว ว่า ตำราคนละอย่าง
    ตำราพระพุทธเจ้าองค์ไหนของลุง สอนแบบนั้นก้ไม่รู้ เปล่าประโยชน์
     
  6. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    อ้าวลุง เดินชนเลยนะเนี้ย ฮ่าๆๆๆ

    ถ้าไม่มีแสง แล้ว ก็มีแต่วัตถุ

    แสงคือ อุปาทาน (วีวี่)
    วัตถุ คือ ธรรมธาตุ
    เงา คือ โลก

    พระพุทธเจ้า ตรัสกับฤษีตนหนึ่ง ขอบจักรวาลมันไม่มี หาใจตัวเองเจอ ก็เจอนั้นแระ
     
  7. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ลองอ่านแล้วพิจารณาดีดีนะว่า อะไรมีรึอะไรไม่มี ทางนี้ฟังดีดีแล้วปรากฏว่า อันว่าด้วยขอบเขตนั้นพบว่า มันมีขอบเขตแท้จริงมันมีเพียงแต่ว่า ไม่อยู่ในความจำเป็นต้องรู้ว่าขอบเขตนั้นอยู่ตรงไหน เพราะมันไม่ได้ใช้เพื่อการพ้นทุกข์หรือสิ้นไปในอาสวะนั้น เช่นเดียวกัน ก็ไม่ได้ว่ามีเพียงแค่นั้น หรือเท่านี้หรือเท่านั้นในการเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน หรือการหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิด หรือสิ้นอาสวะ พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ก็ไม่ได้บอกว่ามีเท่านั้นหรือเท่านี้ เพียงแต่บอกว่ามีทางที่เป็นไปเพ่ือความพ้นทุกข์ดังมีในพระไตรปิฏก...คุณแค่พลัง คงชอบฟังพระธรรมเทศนาหรือเสียงอ่านพระไตรปิฏก ลองฟังดูสิ สนุกดีและเพิ่มความเชื่อมั่นว่า นั่นคือ แนวทางในการพิจารณา ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเชื่อ ลุงแมว แกท่าทางจะเพี้ยน แล้ว สงสัยละเมอว่าตนเป็นนั่นตนเป็นนี่อยู่
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    จะต้องพาตัวเราไปช้อปปิ้ง(เลือกวิธีปรุงแต่ง)อีกนานเท่าหรั่ย
    จึงจะได้พบกับความเข้าใจความจริงว่า
    "เรา ไม่ใช่อัตตาตัวตน" ที่จะจัด
    การอะไร ให้เป็นไปตามต้องการ
    อย่างเบ็ดเสร็จได้
     
  9. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    จะมากี่ครั้ง กี่หนก็มาแบบงงงงมาทุกที 555
    ลุงแมว ขออำนวยพรให้ท่านได้
    มีโอกาส เปิดใจพิจารณาความเห็น
    ที่ถูกต้อง(โดยมากจะมองข้ามเพราะไม่เปิดใจ)
    เพื่อความเข้าใจถูก ในช่องทาง(ลัด)
    ของการ
    พ้นทุกข์สมดังความปราถนาคับ
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อาศัยขันธ์ 5 นี่แหล่ะจัดการได้พอสมควร
    เพราะมันมี"ธาตุรู้" เป็นองค์ประกอบ
    อยู่ในขันธ์ 5 ของทุกคน
    ดังนั้น สติ สมาธิ ปัญญา ที่ประกอบกันขึ้นมาอย่างพอดิบพอดีโดยไม่หมกมุ่น
    ดิ้นรนลุ่มหลง จะทำให้พบหนทางรู้แจ้ง
    ได้เป็นเปราะๆ ไปคับ
     
  11. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    พระพุทธเจ้าผม ท่านก็สอนไว้ 21 วิธีไงครับ

    ว่าแต่เลือกยังละ

    ถ้าเลือกแล้ว ฝึกตามท่านอย่างยิ่งยวด อย่างถูกต้อง ใช้เวลาไม่เกิน 7 ปี

    แต่หาก หย่อนๆ ไปบ้าง ตายชาตินี้
    ก็อาจจะไปบรรลุฉับพลับแบบพระพาหิยะชาติหน้า น่าฮับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2021
  12. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    กอดพระพุทธเจ้าแน่นปึ้กเลย
    มากอดพระธรรม
    ที่ไม่ใช่เป็นเล่มๆ เเทนพระพุทธเจ้า
    มั่งเถอะ
    ฮับ
     
  13. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    พื้นฐานยังไม่รู้เรื่องเลย ไม่เรียนไม่ศึกษา มันจะเอาอะไรไปเดินได้ถูกทางละฮับ

    84000 พระธรรมขันธ์ เอามาพูด ไม่ถึง 5พระธรรมขันธ์
    เหตุนี้มันจึงปฏิบัติไปแบบเพี้ยนๆแหล่ะฮับ
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    พื้นฐานมันผิด มานานและผิด
    มากเกินแก้ไข
    การเข้าถึงความเป็นพุทธะ
    ของบุคคลจึงกลาย
    เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน
    จนไกลเกินเอื้อมเพราะมัวแต่อ่าน
    พระคัมภีร์
     
  15. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    แหม หากกล่าว ว่า แค่ 21 วิธีนี้ มันผิด
    นี่เรียกว่า กล่าวตู่พระธรรมเลยนะครับ
    ยกมาไม่ถึง 5พระธรรมขันธ์ ก็บอกว่ากอดพระพุทธกอดตำรา
    ทั้งๆที่เป็นส่วน สาระล้วนๆ ส่วนเฉพาะ วิธีทำ

    ทั้งๆที่ตัวเองก็ยังไม่ได้ลอง และฝึกไม่ถึงด้วย

    แม้แต่ คำว่าจิตปภัสสรก็ยังไม่ถึง ไม่เคยสัมผัส
    ได้แต่ฟังคำกล่าวของ มิจฉาทิฐิบอกมา

    แถมมากล่าวตู่พระธรรมอีก โอยยยยยยย ช่วยยากเย็นเหลือเกินแบบนี้

    คำว่า มิจฉาทิฐินี่ ร้ายกาจยิ่งกว่า ตกนรกเสียอีก สมกับพุทธพจน์กล่าวไว้
     
  16. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๑

    อานาปานสติ

    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
    แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
    กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
     
  17. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    อานาปานสติ ฉบับเต็ม

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ
    อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร
    จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า

    เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
    ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
    อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด
    เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้
    ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย
    เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด
    ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้
    ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด
    ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
    ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
    อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
    เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด
    ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลสหายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว
    ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี

    เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
     
  18. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    วิธีที่ ๒ อิริยาปถบรรพ

    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุ
    เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน
    เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน
    เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง
    เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน
    หรือ
    เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ
    ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง
    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
    กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
    และ
    ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
     
  19. ละอองไฟ

    ละอองไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2020
    โพสต์:
    2,469
    ค่าพลัง:
    +1,398
    คนปฏิบัติธรรมระงับกิเลสได้จริง

    ต้องได้วิธีทำ
    ที่ทำให้กิเลสระงับมาเขียน


    คนที่ปฏิบัติเข้าถึงจริง
    พอมาอ่านตำรา

    จะรู้ว่าตำราไหนแปลถูกต้องตรง
    จะรู้ว่าตำราไหนแปลบิดเบี้ยว
     
  20. ๑๓อักษร

    ๑๓อักษร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2021
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    แล้ว คุณลูกว่า ที่ ยกมา ข้างต้น ในพระไตรปิฎก นี้
    เป็น คำจริงอ๊ะป่าว แปลได้ถูกต้องไหมฮับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...