1. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    วิเคราะห์ความโด่งดังของแม่พิมพ์หลวงวิจารย์
    เมื่อท่านเห็นพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นสุดท้าย ที่หลวงวิจารย์เป็นผู้แกะพิมพ์พระแล้วรู้สึกอย่างไร
    ตอบได้เลยว่า ไม่เห็นสวยเท่าไหร่ แต่ก้อแปลกดีนะคับ ที่เหล่าเซียนเล็กเซียนใหญ่ ก้อต่างแสวงหาพระสมเด็จแม่พิมพ์หลวงวิจารย์ จึงขออนุญาตเล่านิทานให้ฟังก้อแล้วกัน
    ในปี พ.ศ.๒๔๑๔ สมเด็จโตจะมีอายุครบ ๘๔ พรรษา หรือ ๗ รอบ ท่านได้ไปช่วยเสมียนตราด้วงสร้างพระวัดบางขุนพรหม โดยไม่ยอมกลับวัด ก่อนครบรอบวันเกิด ลูกศิษย์ลูกหาต่างก้อมารอกันเต็มวัด(ที่มารอเนี่ย รอรับแจกพระ เผื่อฟลุ๊ค เพราะท่านสร้างน้อยเหลือเกิน) เกิดข่าวลือว่า ท่านมรณะภาพไปแล้ว ถึงขนาดส่งโกฏไปรับ เมื่อพนักงานเชิญโกฏไปถึง ปรากฏว่า สมเด็จโตก้อออกมาจากเจดีย์ พนักงานเชิญโกฏจึงได้กลับออกมา บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่รออยู่ที่วัดเห็นท่าไม่ดี อีกทั้งต่างก้อรู้ดีว่า สมเด็จโตมักสร้างพระตามจำนวนอายุ ซึ่งไม่พอกับความต้องการ ที่บรรดาญาติมิตรและลูกน้องขอร้องให้เอาพระสมเด็จมาฝากด้วยเสมอ จึงพร้อมใจกันประชุม จะขอสร้างพระสมเด็จให้มากที่สุด โดยมีข้อตกลงว่า ต่างคนต่างปั๊มพระมาแล้วจะขอท่านปลุกเสกให้ หลังจากนั้น ต่างแยกย้ายกันไป ครั้นในปีต่อมาต้นปี พ.ศ.๒๔๑๕ สมเด็จโตได้กลับมาที่วัดระฆังอีกครั้ง บรรดาลูกศิษย์ลูกหาเมื่อได้รับข่าวว่า สมเด็จโตกลับมาอยู่วัดแล้ว ต่างก้อนัดวันมาที่วัด เมื่อถึงวันนัดต่างก้อนำพระที่ตนเองพิมพ์ไว้แล้วติดมือมาด้วย แล้วส่งตัวแทนไปเรียนท่าน ขออนุญาติสร้างพระฉลองครบรอบ ๘๔ พรรษา (พระสมเด็จท่านมักจะอนุญาติให้สร้างในวาระพิเศษเท่านั้น) สมเด็จท่านก้อกล่าวว่า อันการครบรอบอายุของเรา นั้น ได้ผ่านมาแล้ว ไม่มีเหตุผลที่จะต้องสร้าง แต่ก้อด้วยพระนะปั๊มมาแล้ว เลยตื้อจะขอสร้าง สุดท้าย สมเด็จโตก้อยอมให้สร้าง แต่จะให้สร้างเพียง ๘๕ องค์ ครั้นท่านยืนยันให้สร้างเพียงเท่านั้น ต่างฝ่ายต่างก้อจะให้พระของตนได้เข้าพิธีปลุกเสก สุดท้ายหลวงวิจารย์ก้อเข้ามาอาสาเป็นผู้แกะพิมพ์พระ อาจจะด้วยความเร่งรีบ ประกอบกับยังไม่มีความชำนาญในการแกะแม่พิมพ์ เลยทำให้ได้แม่พิมพ์ไม่ค่อยสวยนัก เมื่อได้แม่พิมพ์มาแล้ว ก้อเริ่มผสมมวลสาร การทำผสมมวลสารก้อทำเหมือนเดิม(สูตรปูนเปลือกหอยดิบ) แต่ครั้งนี้ หลวงวิจารย์ได้ใส่น้ำมันตั้งอิ๋วเข้าไปด้วย ปรากฏว่า เนื้อมวลสาร เกิดเป็น เนื้อที่หนึก และมีลักษณะนุ่ม สีเหมือนพลอยชมพู ซึ่งสวยมาก จึงไม่ได้ผสมผงปูน เหมือนเช่นเคย แล้วนำไปกดพิมพ์ บรรดาลูกศิษย์เมื่อเห็นเนื้อพระแล้ว ต่างลือกันถึงความงามของเนื้อพระพิมพ์หลวงวิจารย์ พากันมารอขอพระ ครั้นพระแห้งดีพอสมควรแล้ว ท่านก้อนำเข้าพิธีปลุกเสก เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้ว บรรดาลูกศิษย์ลูกหามีจำนวนมาก ต่างคนต่างก้ออยากได้ แต่เพื่อไม่ให้เกิดการแตกความสามัคคี สมเด็จโตท่านก้อให้บันทึกตำหนิไว้และทำลายแม่พิมพ์เสีย พร้อมทั้งให้ลงรักปิดทอง(แผ่นทองมาจากบ้านช่างทองคราวไปเทศน์) หลังจากนั้นก้อไม่ยอมแจกลูกศิษย์ลูกหาคนใด โดยกล่าวเพียงแต่ว่า หากมีวาสนาจึงจะได้มาครอบครอง หลังจากนั้นท่านได้นำพระทั้งหมดติดย่ามไป หากใครใส่บาตรท่าน ท่านก้อจะแจก แต่บรรดาลูกศิษย์ต่างก้อไม่มีใครรู้ว่า ท่านแจกให้กับใครบ้าง แต่ด้วยความงดงามของเนื้อพระ จึงเป็นที่กล่าวขวัญ และลูกศิษย์ลูกหาออกแสวงหากันมาตลอดกับพระสมเด็จแม่พิมพ์หลวงวิจารย์
    เอวังโหนตุ ก้อมีด้วยประการฉะนี้แล
     
  2. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน วัดระฆัง กับ คำว่า หนึก นุ่ม แกร่ง
    คำว่า หนึก มาจากลักษณะ หนึก ๆ หนืด ๆ ซึ่งเกิดจากการกวน ปูนเปลือกหอยดิบ ข้าวเหนียว น้ำอ้อย และยางไม้ เข้าด้วยกันจนเหนียวหนืดดีแล้ว
    คำว่า นุ่ม มาจากลักษณะ อ่อนนุ่มนวล อันเกิดจาก มวลสารมีลักษณะชุ่ม เป็นมัน
    คำว่า แกร่ง มาจากลักษณะ ความแข็งของพระเมื่อแห้งแล้ว ซึ่งโดยทั่วไป หากผสมปูน มักจะให้ความแกร่งโดยปริยาย
    ทำไม สมเด็จวัดระฆัง จึงมีลักษณะ หนึก นุ่ม แกร่ง
    ก้อเกิดจาก ผิวพระด้านนอกสุดเกิดการแห้งแข็งตัว กักน้ำมันอิ๋วซึ่งระเหยช้าไว้ภายใน เนื้อมวลสารซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้อละเอียด ที่อยู่ภายในองค์พระก้อชุ่มไปด้วยน้ำมันตั้งอิ๋ว เวลานำมาพิจารณา ทำให้ได้ลักษณะ หนึก นุ่ม แต่แกร่ง
    หลายคนสงสัยว่า ทำไม พระอายุเป็นร้อยกว่าปียังคงมีความ หนึก นุ่ม อยู่
    คำตอบคือ เวลาพระเกิดการลาน อันเกิดจากการยุบตัวของมวลสาร ผิวพระก้อจะเกิดผลึกแคลไชต์ มาประสานเชื่อมผิวพระ ทำให้น้ำมันตั้งอิ๋วซึ่งระเหยช้าอยู่แล้ว ไม่สามารถระเหยออกมาได้ตลอดเวลา ยังคงถูกกักใต้ผิวพระเหมือนเดิม
    สำหรับพระสมเด็จวัดระฆัง สูตรสมเด็จโต ส่วนตัวคิดว่า รูพรุน ไม่น่าจะมี เพราะรูพรุนเกิดจากฟองอากาศ ซึ่งเท่าที่ศึกษา พบว่า ปูนที่ใช้ในสมัยนั้น สำหรับการสร้างพระ ไม่แตกตัวและไม่ก่อให้เกิดฟองอากาศแต่อย่างใด สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่าน หากมีความเห็นแย้ง ก้อแสดงความคิดเห็นได้ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่น้อง ๆ
    หากกระทู้นี้ มีสาระดี ก้อให้กำลังใจกัน นะคับ ขอบคุณครับ
     
  3. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน น้ำมันตั้งอิ๋ว กับพระสมเด็จ
    น้ำมันตั้งอิ๋ว ปรากฏตัว เมื่อสมเด็จโตพิมพ์พระ เนื้อกระยาสารท หลวงวิจารย์ได้เข้ามาแนะนำให้ใช้น้ำมันตั้งอิ๋วเป็นส่วนผสมเพื่อประสานเนื้อพระ
    การทำพระเนื้อกระยาสารทนั้น ผมสันนิฐานว่า น่าจะเอาพระสมเด็จวัดเกศไชโยที่แตกหักมาตำ แต่ตำได้ไม่ละเอียดนัก นำมาลองกดพิมพ์ใหม่ เพราะเท่าที่เห็น ก้อมีพระบางองค์ มีเศษพระหักลอยอยู่เกือบเต็มหน้าองค์พระ
    กลับมาที่น้ำมันตั้งอิ๋วดีกว่า น้ำมันตั้งอิ๋วคืออะไร ถ้าเป็นปัจจุบันก้อคือชะแลคนี่เอง มาจากเมืองจีน
    จริงอยู่ที่น้ำมันตั้งอิ๋วในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นไม่แห้ง แต่มีสีซีดลงจนเกือบใสแล้ว สำหรับท่านที่มีพระเนื้อเหลืองนะ ไม่ใช่พระที่สร้างในสมัยสมเด็จโต ข้อเปรียบเทียบ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ
    ถ้าใครมีสมเด็จหลังอุเจ้าคุณนร ลองนำมาพิจารณาดูนะคับ(องค์ที่หลังหยาบย่นเหมือนหนังช้างเฉพาะของแท้นะคับ)
    อันพระสมเด็จเจ้าคุณนร เป็นพระมวลสารชุบน้ำมันตั้งอิ๋ว ทีแรกก้อเหลืองดีนะคับ แต่ตอนนี้ความเหลืองหายไป คงค้างแต่ความมันของเนื้อบ้าง โดยสรุป น้ำมันตั้งอิ๋วก้อแห้งเป็นเหมือนกันนะคับ แต่จะค่อยๆแห้ง และสีของน้ำมันตั้งอิ๋วก้อจะค่อย ๆ ซีดลงไปพร้อมกัน เนื่องจาก พระสมเด็จเจ้าคุณนร ไม่ได้มีส่วนผสมของปูนเปลือกหอยดิบ ซึ่งมีความสามารถกักน้ำมันตั้งอิ๋ว มิให้ระเหยออกมานั่นเอง อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันตั้งอิ๋วไวไปหน่อย แต่ก้อพอจะเทียบเคียง ให้ได้ศึกษากัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2017
  4. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน ทำไมเซียนพระรุ่นก่อนจึงเน้นแม่พิมพ์หลวงวิจารย์
    สำหรับคนยุคใหม่ จะเห็นการนำเสนอพระในรูปของพุทธพาณิช อาจจะเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆัง แต่สำหรับคนรุ่นก่อน พระสมเด็จวัดระฆัง ก้อคือ พระที่สร้างและปลุกเสกที่วัดระฆังเท่านั้น สร้างน้อยหายากถึงจะมีราคา ส่วนในปัจจุบัน ได้นำเอาพระช่างหลวงที่สร้างกันมากมาย ซึ่งแต่เดิม มีให้เลือกกันมากมาย ราคาค่าเช่าก้อไม่กี่บาท นำมาเล่นหาแทน
    แต่ทำไมช่างหลวงคนอื่นที่ได้เข้ามาแกะพิมพ์พระก่อนที่หลวงวิจารย์จึงไม่ได้รับความนิยม แปลกดีไหมคับ ทั้งๆที่พระที่สร้างก่อนควรจะได้รับความนิยมสูง เนี่ยกลับนิยมแม่พิมพ์ของหลวงวิจารย์ ซึ่งเข้ามาแกะพิมพ์พระในตอนปลาย งงดีเหมือนกัน เรื่องของเรื่องก้อคือ หลวงวิจารย์เข้ามาแกะพระสมเด็จในรุ่นสุดท้ายของวัดระฆัง จึงเกิดการแสวงหากันเงียบ ๆ ไม่อยากบอกให้รู้ กลัวไม่ได้พระ เพราะสร้างเพียงไม่กี่องค์ คนรู้ก้อพยายามปกปิดตำราดู อีกทั้งหายาก หากนำมาซื้อขายเมื่อไหร่จะรวย เพราะกว่าจะหาได้แต่ละองค์ หายากสุด ๆ เพื่อให้ร้านอยู่ได้ จึงนำแม่พิมพ์ที่ใกล้เคียงซึ่งมีปริมาณมากพอมาเล่นหาแทน คนเช่าต้องทำใจ เพราะพระอาจจะไม่ใช่ของสมเด็จโตสร้าง สังเกตุได้จากเซียนรุ่นก่อน มักจะไม่เก็บพระหลวงวิจารย์ที่นิยมในปัจจุบันไว้ใช้เลย
    สำหรับกรอบกระจกที่ว่ากันว่าเป็นการพัฒนาพิมพ์พระในตอนปลาย ตามความเข้าใจของใครบางคนนั้น จริง ๆ แล้ว การพิมพ์พระที่เร่งรีบ ช่างแกะได้แกะพิมพ์พระเผื่อขอบพระไว้สำหรับการตัด เพราะแม่พิมพ์แต่เดิมเป็นกรอบตรงๆ ต้องเสียเวลาให้มวลสารแข็งตัว และการงัดพระออกจากแม่พิมพ์ ทำให้ขอบพระเกิดการร้าวโดยเฉพาะในเวลารีบเร่ง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ช่างจึงได้เซาะขอบข้างให้กว้างขึ้น ดังนั้น แม่พิมพ์เดียวกันอาจพบได้ทั้งตอกตัด และกรอบกระจก ดังจะเห็นได้จากพระรุ่นสุดท้าย เมื่อไม่มีความรีบเร่ง ก้อไม่ต้องแกะเป็นกรอบกระจก ก้อเท่านั้นเอง
     
  5. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ขอถามอะไรสักนิด ครับ
    กรุทับข้าว ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยไหนครับ
     
  6. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    พระกรุทับข้าว เล่ากันว่า สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บรรจุพระหลายชนิด และกล่าวกันว่า สมเด็จโต ได้ไปร่วมการเปิดกรุวัดทับข้าวนี้ ส่วนการสร้างพระสมเด็จนั้น วัดนี้ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับสมเด็จโต พระคนสมัยก่อนยึดถือพระสมเด็จเพียง 3 วัด เท่านั้น คือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ซึ่งหากสมเด็จโตเป็นผู้สร้างบรรจุกรุจริง ก้อต้องสร้างพระสูตรปูนเปลือกหอยดิบเท่านั้น ขอให้พิจารณาพระวัดเกศของผมให้ดี ในปัจจุบัน มักมีการกล่าวอ้างว่าพบพระสมเด็จที่โน่นที่นี่แล้วอ้างเป็นของขรัวโต ก้อเพราะขายได้ แล้วคุณคิดอย่างไรล่ะ
    ที่จริง การสร้างพระผงบรรจุกรุ แค่คิดก้อบ้าแล้ว เพราะในกรุทั้งร้อนทั้งเย็น เสมือนอยู่กลางทะเลทราย หากสร้างพระเนื้อแกร่ง เมื่อแห้งจัดก้อแตก เมื่ออ่อนจัดก้อไม่ขึ้นรูป ต้องมีความพอดี จึงจะอยู่ได้ทน สังเกตุจากพระเนื้อดินที่ออกจากกรุใหม่ ๆ ต้องทำการผึ่งลม แล้วค่อยๆแยก หากเป็นปูนเปล่า ๆ อย่างวัดบางขุนพรหม ถ้าไม่มีรูระบายอากาศให้ตกเบ็ดก้อแตกหมด ฉะนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สมเด็จโต จึงสร้างสูตรผสมพระด้วย ปูนเปลือกหอยดิบ เพื่อให้พระอยู่คงอยู่ทน แต่การทำสูตรนี้น่าจะทำได้ยาก ซึ่งปัจจุบันสูตรนี้ได้สูญหายไป เพราะเท่าที่สังเกตุ พระสูตรปูนเปลือกหอยดิบในรุ่นต่อ ๆ มา คุณภาพต่ำ เป็นผลให้องค์พระร้าวมากกว่าของอาจารย์เสียอีก ซึ่งถ้าคนไม่เคยเห็นพระของจริง ก้อจะได้ของที่ไม่ใช่สมเด็จโตสร้าง เพราะคิดว่า พระอายุร้อยกว่าปี มันต้องเก่า ต้องแตก ต้องร้าวมาก ซึ่งไม่ใช่กับพระสมเด็จโต ยกเว้นพระที่สร้างโดยช่างหลวง ซึ่งส่วนใหญ่มักง่าย ไม่ใช้สูตรปูนเปลือกหอยดิบเพื่อรักษาองค์พระ หวังว่าคุณคงจะเข้าใจนะคับ
     
  7. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    สูตร ปูนเปลือกหอยดิบ ก็คือนำเอาเปลือกหอยไปเผาไฟพอร้อนๆ แล้วนำเอามาตำ หรือเอาเปลือกหอยมาตำเป็นปูน โดยไม่ได้นำไปเผาความร้อน?
    ส่วนปูนเปลือกหอยสุก คือการนำเอาเปลือกหอยไปเผาไฟ จนแห้งกรอบเพื่อง่ายต่อการตำให้เป็นผงละเอียด
    ไม่ทราบว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือปล่าวครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0530.JPG
      IMG_0530.JPG
      ขนาดไฟล์:
      263.8 KB
      เปิดดู:
      281
  8. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    IMG_0535.JPG IMG_0529.JPG
     
  9. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    สูตรปูนเปลือกหอยดิบ เป็นคำกล่าวของเซียนพระรุ่นก่อน ส่วนจะทำมาจากอะไรผมก้อไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ ๆ คงไม่เอาไปเผาไฟ เพราะจะได้แต่ผงปูน ส่วนตัวคิดว่า น่าจะเป็นเหงื่อหรือยางหอยเวลาเอาไปต้ม จะเกิดเป็นเมือก แล้วนำไปผสมกับพวกน้ำข้าว น้ำอ้อย ยางไม้ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะ กวนจนเกิดการหนึดเหนียว เมื่อเกิดการแห้งแข็งตัว ก้อจะมีลักษณะคล้ายกาว
    พระของคุณเป็นสูตรปูนเปลือกหอยดิบ น้ำมันตั้งอิ๋วก้อจะสีประมาณนี้ รักดำก้อโอเค ลองพิจารณามวลสารดู จะมีจุดขาวที่ไม่เข้ากับน้ำตั้งอิ๋ว กากดำ กากแดง เม็ดทอง ทรายเงิน เสี้ยนไม้กุ๊กไก่ หินเทา ถ้ามีครบอาจจะพระจากวัดระฆัง แต่ต้องไปดูตำหนิลับด้วยสำหรับรุ่นสุดท้าย ถ้ามีครบ ก้อถือว่าใช่ ถ้ามีไม่ครบก้ออาจจะเป็นพระช่างหลวง ส่วนจะทันหรือไม่ทัน ไม่มีตำราบอก เล่นมั่ว ๆ ตามเซียนไปก่อน จนกว่าจะมีการพิสูจน์
    พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์แรกเส้นแซมบนมีรอยขาด เป็น 2 ท่อน และไม่มีรอยขาดเรียก "แซมขาด และแซมเต็ม" ....พิมพ์ที่สองมีเนื้อเกินใต้แขนขวา จากตำราดูพระสมเด็จรุ่นสุดท้ายวัดระฆัง แม่พิมพ์หลวงวิจารย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2017
  10. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    IMG_0531.jpg "พระของคุณเป็นสูตรปูนเปลือกหอยดิบ น้ำมันตั้งอิ๋วก้อจะสีประมาณนี้ รักดำก้อโอเค ลองพิจารณามวลสารดู จะมีจุดขาวที่ไม่เข้ากับน้ำตั้งอิ๋ว กากดำ กากแดง เม็ดทอง ทรายเงิน เสี้ยนไม้กุ๊กไก่ หินเทา ถ้ามีครบอาจจะพระจากวัดระฆัง แต่ต้องไปดูตำหนิลับด้วยสำหรับรุ่นสุดท้าย ถ้ามีครบ ก้อถือว่าใช่ ถ้ามีไม่ครบก้ออาจจะเป็นพระช่างหลวง ส่วนจะทันหรือไม่ทัน ไม่มีตำราบอก เล่นมั่ว ๆ ตามเซียนไปก่อน จนกว่าจะมีการพิสูจน์"

    ผมจะลองค้นหาดูมวลสารดังกล่าวและตำหนิที่ท่านบอกมา
    ส่วนตัว... ยังไม่สรุปว่าทันยุค สมเด็จโตหรือไม่ หรือเป็นของวัดไหน คงต้องศึกษากันต่อไปครับ
    ขอบคุณครับ
     
  11. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน เกิดไม่ทัน
    จากบันทึกหลวงปู่คำ กล่าวว่าพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จโตว่ามี 73 พิมพ์ที่รู้จักกันทั่วไป นั้น การดูพระสมเด็จจึงต้องพิจารณาจากเนื้อพระและมวลสารประกอบเป็นหลัก ผมจะกล่าวเท่าที่รู้ เพราะว่าเกิดไม่ทัน
    พระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จโตส่วนใหญ่จะสร้างเพื่อการบรรจุกรุ ตามตำราที่ได้มา จำนวน 84000 องค์ โดยใช้สูตรปูนเปลือกหอยดิบ ให้องค์พระอยู่คงทน
    การสร้างบรรจุกรุครั้งแรก ทยอยสร้าง ไม่รู้ว่ามีแม่พิมพ์กี่ตัว แต่น่าจะเป็นฝีมือช่างหลวงนั่นแหละ เพราะขรัวโตก้อเป็นเชื้อเจ้า โดยมีการแกะแม่พิมพ์พระเป็นพระพิมพ์ตื้น คล้ายพิมพ์เส้นด้าย มีฐานเก้าชั้น หูบายศรี ตามความเชื่อเรื่องสวรรค์เก้าชั้น สร้างอุทิศให้กับท่านตา เนื้อพระจะออกโทนขาวงาช้าง เหลืองแบบมีน้ำผึ้งผสม(น่าจะเป็นปูนหินงอกหินย้อยผสมกับปูนเปลือกหอยดิบผสมกับน้ำผึ้งและน้ำอ้อย) มีก้อนขาวเป็นมวลสารหลัก เดิมบรรจุไว้ตรงไหนไม่มีผู้ใดทราบ จนกระทั่ง พระโตใหญ่ที่ท่านสร้างไว้ได้ประมาณปีกว่าล้มลง จึงได้พบพระ ปรากฏว่า พระพิมพ์นี้แตกหักเสียมาก ที่เหลือจากความเสียหายได้นำมาบรรจุกรุต่อหลังจากการบูรณะพระโตใหญ่ ในระหว่างการบูรณะ พ.ศ. 2406 - 2410 ได้พิมพ์พระให้ครบ 84000 องค์ จึงได้เพิ่มแม่พิมพ์เป็นฐาน 7 ชั้น ตามความรู้ใหม่เกี่ยวกับสวรรค์ ต่อมาอีกประมาณ 20 กว่าปี พระโตใหญ่ล้มลงอีกครั้ง พระก้อได้รับความเสียหายเช่นเคย และมีผู้นำออกมา คงเหลือพระที่สร้างโดยสมเด็จโตไม่กี่สิบองค์เข้าไปบรรจุกรุร่วมกับพระช่างหลวงที่มีขอบกรอบกระจกที่นิยมเล่นหาในปัจจุบัน

    ตั้งแต่ขรัวโตมาอยู่วัดระฆัง ก้อพอมีลูกศิษย์ลูกหาอยู่บ้าง จึงสร้างพระแจกในโอกาสพิเศษ เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ แต่สร้างน้อยองค์ เนื้อพระก้อจะเป็นพวกว่าน 108 เกสรดอกไม้ มี ก้อนขาว กากดำ กากแดง หินเทา และไม้กุ๊กไก่ เป็นหลัก โดยใช้สูตรปูนเปลือกหอยดิบ เช่นเคย หลังจากที่เสมียนตราด้วง มายืมแม่พิมพ์ไป ก้อได้แกะพิมพ์ไกเซอร์ สร้างถวาย ร.๕ และในปีสุดท้าย 2415 หลวงวิจารย์ได้เข้ามาแกะแม่พิมพ์ให้ โดยพระรุ่นนี้จะมีตั้งอิ๋วเป็นส่วนผสมเพิ่ม

    ประมาณปี 2400 ทำการบูรณะวัดธาตุพนมจำลอง ได้พิมพ์พระสมเด็จ พิมพ์ตื้น เส้นด้าย บรรจุกรุ มวลสารเป็นหินเทา คล้ายทรายละเอียด น่าจะแตกหักไปหมดแล้ว ซึ่งแม่พิมพ์นี้ ตอนหลังมาปรากฏ เป็นวัดบางขุนพรหมกรุเจดีย์เล็ก ที่เล่นหาอยู่ในปัจจุบัน

    ปี 2410 สร้างพระสมเด็จจากดินเจ็ดท่า ขี้ไคล้เสมา ให้พวกเสนาบดีสาบาน เพื่อสร้างความมั่นคง ให้กับ ร.๕
    ปี 2411 สร้างพระเนื้อกังไส ส่งไปเมืองจีน เนื้อพระโทนขาว ไม่มีมวลสาร และสร้างแจกในโอกาสฉลองการครองราชของ ร.๕ โดยเนื้อพระจะมีอิฐเป็นส่วนผสม กากดำ กากแดง หินเทา ก้อนขาว จะทายางไม้ก่อนแล้วเคลือบรักดำ

    ปี 2413 - 2416 เสมียนตราด้วง สร้างพระบรรจุกรุ โดยใช้ปูนขาว (ปูนซีเมนต์โบราณ)

    ปี 2414 - 2415 สร้างพระเนื้อปูนซีเมนต์ เพื่อบรรจุกรุวัดพระแก้ว ลงรักดำ ยังไม่ทันได้บรรจุกรุ สมเด็จโตมรณะภาพก่อน นำมาแจกในงานศพ

    มีพระสมเด็จที่ขอสร้างเป็นพิเศษ โดยเจ้าขุนมูลนายอีกหลายครั้ง จำนวนไม่มาก

    น้ำมันตั้งอิ๋ว นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2415 เป็นต้นมา

    หลังจากสมเด็จโตท่านมรณะภาพไปแล้ว ค่านิยมการสร้างพระบรรจุกรุก้อมีมาตลอด รัชกาลที่ 5
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2017
  12. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    บทสรุป ตั้งแต่ขรัวโตสร้างพระสมเด็จ พระบรรจุกรุ จะเป็นเนื้อปูนขาว และได้ใช้สูตรปูนเปลือกหอยดิบเพื่อให้องค์พระคงทน มีมวลสารเป็น ก้อนขาว และเป็นมวลสารหลัก หลังจากไปอยู่ที่วัดระฆัง แล้วจะมี กากดำ กากแดง หินเทาเป็นมวลสารเพิ่มเติม ส่วนพระสร้างแจก เนื้อพระจะเป็นพวกว่าน ๑๐๘ (ของวัดระฆัง) หากพบพระสมเด็จที่ไร้มวลสารข้างต้น การเช่าหาในราคาแพง ไม่เป็นการสมควร เพราะอาจจะได้ของที่ไม่ใช่ เก็บไว้ให้ลูกหลานด่าตามภายหลังเท่านั้นเอง
     
  13. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน แยกพระเก๊
    อันที่จริงการที่ผมเขียนกระทู้ เล่นสมเด็จเสร็จทุกราย ก้อเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาอ่านได้เข้าใจวัสดุที่เขานำมาสร้าง สำหรับบางคนที่มีขอแท้จากบรรพบุรุษก้อไม่ควรที่จะนำไปปล่อยด้วยความไม่รู้คุณค่า เนื่องจากดูไม่เป็น ส่วนคนหาเช่า ก้อไม่อยากให้ไปเช่าอุดหนุนพระเก๊ๆ
    พระเก๊ในปัจจุบันส่วนมาก จะเคลือบชะเล็ค เพื่อให้ดูเหมือนพระชุบน้ำมันตั้งอิ๋ว แต่น้ำมันตั้งอิ๋วได้จากพืชธรรมชาติ ดังนั้น สีของน้ำมันตั้งอิ๋วจะค่อย ๆ ซีดลง ส่วนชะเล็คเป็นน้ำมันผสมสีเคมี มีการคงรูปอยู่ตลอดเวลา สีจึงไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การพิจารณาพระที่ใช้น้ำมันตั้งอิ๋วโบราณ เมื่อพระอยู่ในร่ม องค์พระแทบไม่ออกเหลืองเลย แต่ถ้านำไปพิจารณาให้พอได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ องค์พระจะเกิดประกายสีเหลืองงดงามดั่งทอง นับว่าเป็นความมหัศจรรย์ของพระสมเด็จที่มีส่วนผสมตั้งอิ๋ว ภายใต้ผิวปูนเปลือกหอยดิบ
    พระแท้ เนื้อพระจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ผิวด้านหลังองค์พระอาจมีรูพรุนได้มากกว่าด้านหน้าเนื่องจากการปาดหลังองค์พระ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าใช้วัสดุอะไรด้วย การแตกของผิวพระ จะแตกจากด้านหน้าก่อน เพราะเมื่อปั๊มพระเสร็จใหม่ ๆ ก้อจะเอาองค์พระไปผึ่งลมตากแดด หลังองค์พระจะติดกับกระดาน ด้านหน้าองค์พระจะถูกแสงแดด ทำให้น้ำด้านหน้าองค์พระระเหยมากกว่าด้านหลัง สำหรับพระของช่างหลวงส่วนมากจะนิยมลงรักสีดำ รักจะเป็นยางข้นๆ แทรกไปตามร่องที่แตก ของเก๊ส่วนมากจะเป็นน้ำยางสีดำ เนื้อพระช่างหลวง ส่วนมากจะใช้ปูนกังไสจากจีนเป็นส่วนผสม ทำให้เนื้อปูนจะมีความมันเป็นพิเศษ
    สำหรับแม่พิมพ์หลวงวิจารย์ มีตำนานกล่าวไว้ว่า
    แม่พิมพ์สำหรับ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน พระสมเด็จมีหู ๒ ข้าง ผ้าทิพย์ ๒ เส้น
    แม่พิมพ์สำหรับ เจ้าสัว ขุนนาง พระสมเด็จมี หู ๑ ข้าง ผ้าทิพย์ ๑ เส้น
    แม่พิมพ์สำหรับ ไพร่ ทาส พระสมเด็จ ไม่มีหู ไม่มีผ้าทิพย์
    ฟังหูไว้หู ถ้าไม่มีข้อมูล คงไม่มีตำนาน
     
  14. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
    พระสมเด็จ ซึ่งจัดอยู่ในเบญจภาคี มีราคาสูงยิ่งนัก เป็นที่ต้องการของนักสะสม แต่จะมีใครรู้จริง ๆ ว่า ที่เขาจัดให้อยู่ในเบญจภาคี เพราะอะไร
    ตรียัมปวาย ผู้ศึกษาพระสมเด็จคนแรก และยกย่องให้เป็นหนึ่งในเบญจภาคี เพราะว่า พระสมเด็จ เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณะโดดเด่นทางพุทธศิลป์แห่งกรุงรัตน์โกสินทร์ โดยผู้ออกแบบแม่พิมพ์พระ คือช่างฝีมือดีจากวังหลวง ในการสรรสร้างลวดลายองค์พระบนสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ตามมาตราส่วนการสร้างพระพุทธรูป โดยให้ความสำคัญ ลวดลาย ความอ่อนช้อย การสร้างสรรอย่างสมดุลย์ ตลอดจนเสน่ห์แห่งความหลากหลายของเนื้อพระ มากกว่า พุทธคุณ
     
  15. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน ปัญหาจากการตีความ
    จากการบันทึก ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์ ) เกี่ยวกับเรื่องมวลสารในการสร้างพระสมเด็จ ดังนี้
    “อนุมาน ดูราวๆ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ ปี ทำพระพิมพ์ ๓ ชนิด สามชั้นนั้น ๘๔๐๐๐ องค์ ทำด้วยผงบ้าง ลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าวเขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง น้ำมันบ้าง ชันบ้าง ปูนแดงบ้าง น้ำลายบ้าง เสลดบ้าง เมื่อเข้าไปมองดูคนตำ คนโขลก มีจาม มีไอขึ้นมา ท่านก็ บอกว่าเอาใส่เข้าลงด้วย เอาใส่เข้าลงด้วย แล้วว่าดีนักจ้ะ ดีนักจ้ะ เสร็จแล้วตำผสมปูนเพ็ชร กลางคืนก็นั่งภาวนาไปกดพิมพ์ไป ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกระวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว ยังอีก ๘ หมื่น ๔ พัน ที่สาม กับที่สี่” ซึ่งน่าจะเป็นปี 2410 นั้น
    คำว่า "น้ำมันบ้าง" หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเป็นน้ำมันตั้งอิ๋ว จริง ๆ แล้วไม่ใช่ครับ คำว่า น้ำมันบ้าง เป็นวัสดุ มิใช่ส่วนผสม แต่หมายถึง น้ำมันเทียนชัย ครับ สำหรับน้ำมันตั้งอิ๋ว หลวงวิจารย์เพียงแต่แนะนำ มิได้นำมาใช้กับพระสมเด็จของวัดระฆัง คงมีเพียงแต่รุ่นสุดท้ายเท่านั้น ดูกันให้ดีดีนะครับ
    คำว่า "ปูนแดงบ้าง น้ำลายบ้าง เสลดบ้าง" เขาหมายถึง คนตำมวลสาร เคี้ยวหมาก แล้วน้ำหมากหยดใส่เนื้อพระนะครับ เดียวจะพากันหลงทาง
    คำว่า "ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกระวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว ยังอีก ๘ หมื่น ๔ พัน ที่สาม กับที่สี่” ซึ่งหมายถึง การสร้างพระบรรจุกรุแล้ว มี ๒ กรุ คือ วัดเกศไชโย กับ วัดพระธาตุพนมจำลอง แต่เนื่องจาก มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์ ) ได้จดบันทึก หลังจาก สมเด็จโตท่านมรณะภาพไปแล้ว จึงกล่าวถึง ที่สาม กับที่สี่ ซึ่งที่สาม หมายถึง วัดบางขุนพรหม และที่สี่ คือ วัดพระแก้ว แต่วัดพระแก้ว นำมาแจกเป็นของที่ระลึก ไม่ทันได้บรรจุกรุ หวังว่า นักสะสมจะเข้าใจนะครับ เดียวหลงทางเสียเวลา เสียเงิน สำหรับพระสมเด็จ
    อนึ่ง สำหรับผมแล้ว พระที่บรรจุกรุวัดพระธาตุพนมจำลอง เนื้อหินทราย คิดว่าคงแตกหักหมดแล้ว ส่วนพระกรุวัดเกศไชโย น่าจะถูกนำไปทำยารักษาโรคอหิวาต์ที่ระบาดเป็นส่วนมาก คงเหลือน้อยเต็มทน ซึ่งแนวให้พิจารณา ให้ดูจากความหนึกเนื้อน้ำอ้อย ผสมหินปูนขาว แต่ไม่มีตั้งอิ๋ว เป็นเกณฑ์ในการพิจารณานะครับ ท่านอาจจะได้พระที่ใช่ เพราะ พวกเสนาอำมาตย์ คงไม่ยอมให้เอาพระของตนไปทำยาแน่นอนครับ
     
  16. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน ความนัยพระกรุหลวงวิจารณ์
    อันว่าหลวงวิจารณ์ได้เข้ามาแกะแม่พิมพ์พระให้สมเด็จโตในช่วงสุดท้าย ซึ่งในสมัยนั้นปกครองแบบระบบสิทธิราช สิทธิ์ขาดอยู่ที่พระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว
    ๑. ในปี ๒๔๑๑ มีการสร้างพระสมเด็จพิธีใหญ่ งานพระมหากษัตรย์ ผู้ใดจะกล้าหาญชาญชัยเอาพระไปร่วมพิธี
    ๒. มีตำนานกล่าวไว้ว่า ถึงแม่พิมพ์หลวงวิจารณ์
    แม่พิมพ์สำหรับ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน พระสมเด็จมีหู ๒ ข้าง ผ้าทิพย์ ๒ เส้น
    แม่พิมพ์สำหรับ เจ้าสัว ขุนนาง พระสมเด็จมี หู ๑ ข้าง ผ้าทิพย์ ๑ เส้น
    แม่พิมพ์สำหรับ ไพร่ ทาส พระสมเด็จ ไม่มีหู ไม่มีผ้าทิพย์
    แล้วท่านลองพิจารณาองค์พระในหีบพระในกรุหลวงวิจารย์แล้วเป็นอย่างไร สมเด็จมีหู ๒ ข้าง ผ้าทิพย์ ๒ เส้น ท่านหมายจะสร้างบรรจุกรุบ้าง จึงต้องอาญา หลบลี้หนี้หาย
    ๓. ถ้าผมเป็นลูกเป็นหลานท่าน จะนำพระไปบรรจุกรุ ตามความมุ่งหมายของท่าน มิใช่นำมาโชว์
     
  17. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ตอน ปาฏิหารย์พระแท้
    ในสถานการณ์ที่เงินเป็นใหญ่ มีการแบ่งงานกันทำเป็นทีม ประกอบกับเทคโนโลยีก้าวหน้า การที่จะทำพระเลียนแบบไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งพระเครื่องราคาแพง การเลียนแบบยิ่งลึกล้ำ การจะเช่าหาพระสมเด็จสักองค์ ต้องสองหาม สามคนแห่ ส่งเข้าทดสอบสนามแล้วทดสอบอีก เจ้าของพระสมเด็จก้อยังไม่สู้มั่นใจ อันที่จริงก้อสมควรนะคับ พระสมเด็จที่ไหนมันจะงามล้ำ ผ่านกาลเวลามาร้อยกว่าปี ซึ่งนำมาสู่ความเคลือบแคลงสงสัย แท้หรือเก๊กันแน่ จึงใคร่แนะนำ กลเม็ดเคล็ดลับ พิสูจน์พระแท้ ด้วยปาฏิหารย์พระแท้คับ ลองวิเคราะห์เองนะครับ
    อากาศร้อนหรือพระใช้ประจำ รูปภาพ1.jpg
    อากาศเย็นหรือไม่ได้ใช้
    รูปภาพ2.jpg
    สังเกตุเห็นความแตกต่างนะครับ แล้วท่านก้อจะได้พบพระแท้เสียที ด้วยปฏิหารย์พระแท้
     
  18. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    องค์นี้ผมว่าพระแท้นะ แต่จะทันสมเด็จโตหรือไม่ก็ต้องว่ากันต่อไปครับ
    แต่ท่านนักชกลองอธิบายหน่อยครับ ว่าปาฏิหารย์พระแท้คืออะไร
     
  19. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    พระสมเด็จวัดระฆังสูตรการสร้างของสมเด็จโตนั้น ทำมวนยา มีลักษณะหนึก ในความหนึกนี้ มีส่วนผสมของน้ำอ้อยอยู่ เมื่ออากาศร้อนขึ้น จะทำให้ความหนึกเริ่มแข็งตัว สีน้ำอ้อยจะจางลง พระจะออกในโทนขาวงาช้าง และหากอากาศเริ่มเย็นลงในอุณภูมิต่ำ ๆ เนื้อพระจะเริ่มคลายตัว ทำให้มีความหนึกกลับมา โดยปรากฏสีน้ำอ้อยเหมือนเดิม นับว่าเป็นความมหัศจรรย์แห่งพระสมเด็จ ที่ไม่สามารถทำได้คับ ดูง่ายจริง แต่เจ้าของพระจะทำใจได้หรือเปล่าหนอ:D:D:D
     
  20. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เชื่อละ โบราณว่าไว้ เล่นสมเด็จเสร็จทุกรายจริงๆ:D
     

แชร์หน้านี้

Loading...