อภิญญา กับ วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 12 พฤษภาคม 2016.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การปฏิบัติ ที่ ออกทำนอง " ปล่อยจนไม่รู้ จะเอาอะไรไปปล่อยไปวาง "

    สังเกตออกไหมว่า มี " อุปทานเจือ "

    พอจะปล่อย จะวาง ก็ กำหนด วัตถุ " ที่จะถือ จะปล่อยจะวาง " แล้วก็
    ไปทำอาการ เอ้ย ไม่เห็น ไม่มี กลางของกลาง มีเวทนา(อุเบกขา)
    เป็นที่ ที่สิ้นสุด

    เรียบร้อยโรงเรียนจีน ไม่ถึงนิพพาน !!!

    เพราะอะไร

    เพราะ มรรคามินิปฏิปทา หากจะเกิด การปล่อย การวาง นั่นเพราะ
    กำหนดรู้ ทุกข์ และ เห็นโทษ !!!

    ดังนั้น

    มรรค และ ผล ที่เป็น นิพพาน แท้ๆ วางเพราะ กำหนดเห็นทุกข์ เห็นโทษ

    ไม่มี ส่วนใดๆ ยังไม่ได้กำหนดเห็น ทุกข์ เห็นโทษ

    ดังนั้น มรรคผล จะเป็นการ รู้อยู่ตลอด ไม่ประมาท ว่าวางอะไรลงไป
    ยังมีส่วนเหลือไหม ไม่ใช่ไปติด อุเบกขา(เวทนา) อทุกขมสุข สำคัญ
    ว่า นิพพาน

    ดูดีๆ นะฮับ ท่าน มังกองคว้า ....... วางแบบ อริยมรรค จะต้องกำหนด
    รู้รอบ กองรูปนาม รู้ชัดๆว่า วางโลก

    ไม่ใช่ปฏิบัติไป เอา อุเบกขาเวทนา อทุขมสุข โคตรภูญาณบ้าง
    ปฐมฌาณบ้าง ทุติยฌาณบ้าง ..... มาเป็น นิพพาน คว้า "ผลความว่าง"
    ชนิดต่างๆ ลืมกำหนดรู้เห็นทุกข เห็นโทษ ประมาท ขาดสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2016
  2. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    สิ่งที่ผมนึกเอาไว้ก่อนหน้านี้ เป็นจริงขึ้นมาแล้วครับ คือต้องเห็นของชาวบ้านก่อน

    แล้วค่อยมาวิจารณ์ทีหลัง คือเอาสิ่งที่ตนเองรู้ แบบนกแก้วนกขุนทอง มาตัดแป่ะ

    เพื่อที่จะมาอวด ให้ใครต่อใครเห็นว่า ตนนนั้นเก่ง ตนนั้นเลิศ กว่าคนฝึกเสียอีก
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้า คุงมังกองคว้า ไปปรารภ

    " ปฏิบัติต่อไป จนไม่รู้จะเอาอะไร ไปปล่อย ไปวาง " ( โดยอิง กำกระถาง พวกนั้นๆ )

    แบบนี้ กับ หลวงปู่สิม แล้ว คุงมักกองคว้า บอกหา จิก วินยางธาตุ ได้แว้ว

    ร้อยละร้อย

    ท่านน่าจะกล่าวว่า

    " ผู้รู้ๆ ออกมารู้ข้างนอกนี่ ในนั่นไม่มีอะไรให้ดู อย่าส่งนอก อย่างส่งใน "
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฮี้ ฮี้ ฮี้ ฮี้

    สังเกตไหมว่า ทนไม่ได้

    มันสั่นไหว

    สั่นไหว แม้นกระทั่งว่า เห็นว่า มีพวกไม่ปฏิบัติติดตำรา มากระทบ

    แล้ว กระทบ จนสั่นไหว ได้ด้วย ........

    พอ สั่นไหว คราวนี้ ไม่ได้ดู ผลการปฏิบัติตนแล้ว ที่ว่า รู้ถึง วิญญาณธาตุ
    นี่ รู้ไม่ถึง วิญญาณธาตุ แล้ว มันสั่นคลอน

    แล้วก็ไป โทษ เอ้ย ไอ้พวกติดตำรา ริอ่าน มาทำให้เรา ลังเล สั่นไหว


    รู้ไม่ถึงจิต ส่งในเกินไป ก็เปนแบบนี้ทุกราย


    ที่แน่ๆ ผมกระแทก แบบนี้ จน นักปฏิบัติ สองราย เขา เอ๊ะ เอะใจ
    แล้ว เข้าใจว่า ผมกระแทกทำไม เริ่ม นับหนึ่งการภาวนาได้ มีก็แล้วกัน

    ฮิวววววส์
     
  5. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    อืมจริงเนอะ มันสั่นมันไหว
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    เห็นด้วยนะครับ
    ที่คุณ สมถะ พูดว่า ถ้าบารมีไม่เต็มก็คงยังไม่ถึงนิพพาน..

    ส่วนนี้จะเล่าให้ฟังแบบภาพรวมๆนะครับ..
    เนื่องจากว่ามีอะไรจะเล่าให้ฟังเล็กน้อย...
    เผื่อว่าจะมีบางท่านสกิดใจอะไรบ้าง
    ก่อนที่จะเที่ยวแนะ เที่ยววิพากษ์ วิจารณ์
    ไปเรื่อยเปื่อยนะครับ... สุดท้ายกลายเป็นวิบากกรรม
    ที่ส่งผลให้ตัวเอง ฝึกอะไรไม่สำเร็จซักอย่าง
    ใช้งานทางจิตอะไรก็ไม่ได้จริงซักอย่าง..
    แถมยังฟั่นๆเฝื่อๆแบบไม่รู้ตัว
    ขาดบ้าง เกินบ้าง แต่บทสรุปสุดท้าย
    คือทำไม่ได้จริงซักอย่างที่ตนไปวิพากษ์
    วิเคราะห์ วิจารณ์
    ทำตนเหมือนว่าตนเป็นผู้รู้มากกว่าใคร...

    ถ้าตัวเราพอมีพื้นฐานการใช้งานทางจิต
    ได้จริงๆมาบ้าง การฝึกอะไร
    ในระดับที่กำลังจิตใช้งานใกล้เคียงกัน
    มันก็ง่ายถ้ายิ่งเจ้าท่านเจ้าของวิชาท่านอนุญาต
    ทำแค่ครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้งก็ทำได้แล้วครับ...

    ถ้าเราทำได้จริงๆ ปล่อยวางได้จริงๆ เหมือนที่เรา
    พยายามเล่าให้คนอื่นๆฟัง
    และที่สำคัญก็คือพิสูจน์ให้คนอื่นๆรับรู้ได้จริงๆ
    เหมือนๆที่เราทำได้ ในระดับตาเปล่าๆ
    และภายในเวลาไม่กี่วินาที..

    ประเภทยังหลับตาเป็นนาทีๆ
    หรือมากกว่านั้นแม้ทำได้จริง
    กรุณาเงียบๆไว้ หรือถ้าทำไม่ได้เลย
    หรือว่าไม่เคยฝึกเลย แค่เคยอ่านๆผ่านๆ
    แล้วก็นึกๆเอา ว่าจะเป็นอย่างนั้นโน้นนี้..
    ก็ควรจะหัดสำเหนียก และสำรวมกิริยา
    วาจา เอาไว้ด้วยครับ ท่านเจ้าของวิชา
    หรือพระสงฆ์มีชื่อ ที่ท่านเข้าถึงผลสำเร็จ
    ก็ทิ้งหลักฐานไว้เป็นเครื่องยันยัน
    ต่อชาวโลกไว้ให้เห็นแล้วหลายท่าน..
    เพราะฉนั้นควรสำเหนียกบทบาท
    ในการแสดงออกของตัวท่านเองให้ดี

    หากว่าตัวเรา สามารถทำได้ พิสูจน์ได้
    แม้กระทั่งตัวเราทำได้แล้วและเกิดผล..
    และทำให้คนอื่นๆรับทราบได้
    แล้วถึงค่อยมาพิจารณาอีกทีว่า
    จะไปวิพากษ์ วิเคราะห์ วิจารณ์ ในแง่มุมไหน
    จะแสดงความเห็นในแง่มุมไหน
    ที่มันมีประโยชน์ ต่อบุคคลที่เค้าชอบ
    ทางสายนี้.อย่างนี้ถึงพอจะเรียกได้ว่า
    เป็นนักปฏิบัติ..ถึงเวลานั้นอยากจะพูด
    ก็ยังไม่มีอะไรเสียหาย แถมยังได้กัลยามิตรเพิ่มขึ้น....

    ส่วนการที่ตนเอง ไม่มีความสามารถทางจิต
    ในการทำได้จริงซักอย่าง ไม่ว่าวิชาอะไร
    ไม่ว่าทางด้านไหน และทำให้คนอื่นๆรับรู้ก็ไม่ได้
    แต่เที่ยวไป วิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์ คิดเอง
    เอ่อเอง ตามที่ตนเองเข้าใจแบบทางโลกๆนั้น
    มันเป็นไปตามกิเลสในใจตนเองนั้นหละครับ...

    เด่วเจอของแข็ง วิพากษ์ วิจารณ์ มากนัก
    ขอทดสอบหน่อย มาแสดงให้ดูหน่อย...
    ทำให้ดูหน่อยซิ..มีคนรอพิสูจน์
    ก็มักจะอ้างว่า ตนเองไม่สนใจฤิทธิ์
    ไม่ใช่ทางสายฤิทธิ์ ว่าฤิทธิ์ไม่ใช่ทางหลุดพ้น
    ว่าติดฤิทธิ์แล้วยังห่างไกลนิพพาน...
    มันก็คือ ข้ออ้าง ข้อแก้ตัว
    ของนักวิจารณ์ ที่ชอบเล่นแร่แปรธาตุทางภาษา
    ที่ไร้ความสามารถทางจิตทั้งหลาย..
    ที่ไม่เคยฝึกอะไรสำเร็จซักอย่าง
    แม้ว่าจะได้รับรู้มาเป็นเวลาสิบยี่สิบปีแล้วก็ตาม
    แล้วก็เที่ยวแสดงความหยาบช้าในจิตตนเอง
    ไปกล่าวหา ว่าร้ายกล่าวความเท็จ ใส่ความ
    บุคคลอื่นๆ เพื่อยกตนให้ดูดี..ทั้งๆที่พอให้
    แสดงความสามารถทางด้านนั้นๆ
    ตนเองกลับทำไม่ได้แม้แต่อย่างเดียว...

    และเที่ยวไปวิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์
    ด้วยปัญญาแบบทางโลกๆ
    ที่ปนด้วยกิเลสตัวเองล้วนๆ แต่กลับไม่เคยคิด..
    ว่าเค้าก็เขียนเอาไว้จนถึงปลายทาง มีทั้งรูป มีทั้งลิงค์
    ให้เข้าไปศึกษา กลับไม่เคยไปทดลองไปปฏิบัติ
    เพื่อให้รู้ ให้เข้าถึง..ทั้งๆที่เนื้อหาที่แสดงเอาไว้
    หากปฏิบัติได้จริง เข้าถึงได้จริง..
    มันก็คือเป้าหมาย
    เดียวกันทั้งนั้นนั่นหละครับ.....

    ปล.ประมาณนี้ครับ...หวังว่าจะพอเข้าใจนะครับ
     
  7. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าตามที่ผมเข้าใจอยู่นี้จะมีอยู่ 2 ส่วนนะครับ พิจารณาเห็นอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเรื่องทิฏฐิ หรือความเห็น ส่วนหนึ่ง กับ ส่วนที่เป็นเรื่องของความบริสุทธิ์ หมดจด อีกส่วนหนึ่ง สองส่วนนี้ต้องประกอบกันไปตลอด จึงจะเป็นไปเพื่อการกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลนิพพานได้

    การชำระจิตให้บริสุทธิ์ หากขาดทิฏฐิที่ตรงต่อพระนิพพาน ก็ไปไม่ถึงนิพพาน แต่มันก็บริสุทธิ์อยู่ แต่มันไปไม่ถึงนิพพาน ข้อนี้น่าสนใจอยู่นะครับ ส่วนทิฏฐิที่ตรง ความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ต้องอาศัยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ขยันหมั่นประกอบในการชำระจิตให้ขาวรอบ หมดจดจากราคะโทสะโมหะ อวิชชา อกุศลมลทินทั้งปวงเหมือนกันครับ ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทอย่างแท้จริง
     
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ->> แจ้งข่าวดี !!!
    เปิดอบรมฝึกสมาธิพัฒนาใจให้สว่างใส
    สำหรับบุคคลทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 7

    ณ หมู่บ้านชลลดา ถ.ริมบึงหนองโคตร
    ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2559
    เวลา 16.00 -17.30 น.

    ติดต่อจองเข้ารับการอบรมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
    ที่คุณจิ๋ว เบอร์โทร. 087 075 3075 ด่วน! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ



    โดยมีลำดับการฝึกพัฒนาใจดังต่อไปนี้
    1. ฝึกให้รู้จักบริกรรมนิมิต และ บริกรรมภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายอย่างถูกต้อง
    2. ฝึกเดินใจตามฐานทางเดินของใจทั้ง 7 ฐานอย่างถูกต้อง
    3. ฝึกให้ทำใจหยุด-นิ่งจนกระทั่งเกิดดวงปฐมมรรค ที่ "ศูนย์"
    4. ต่อวิชชาจากดวงปฐมมรรค ให้เกิดกายธรรมหรือพระธรรมกายเบื้องต้น ในหลักสูตร 4 กายธรรม
    5. ฝึกให้รู้วิธีเดินวิชชา 4 กายธรรมเป็น อนุโลม-ปฏิโลม จนกระทั่งเห็นกายธรรมและดวงธรรมได้ชัดเจน
    6. จากนั้นจึงนัดมาฝึกต่อวิชชาในหลักสูตร 18 กาย
    7. ฝึกเดินวิชชาหลักสูตร 18 กายเป็นอนุโลม-ปฏิโลมจนกระทั่งเห็นกายในกายได้ชัดเจน อารมณ์ใจ หยุด-นิ่ง-แน่น-สว่างใส เนืองๆ
    ฝึกวิชชาในหลักสูตรอื่นๆ ต่อไป สำหรับท่านที่สนใจพัฒนาทางวิชชาอย่างจริงจัง

    ทุกขั้นตอนของการฝึกภาวนาวิชชาธรรมกายดังกล่าวมานี้ ผู้ฝึกจะได้รับการฝึกไปทีละขั้นตอน อย่างละเอียดและชัดเจน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2016
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]
     
  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ได้เข้าไปอ่านกระทู้เกี่ยวกับวิชชาธรรมกายจากหลายๆ แห่ง จึงได้ทราบมาว่า มีบางท่านถามแบบตั้งข้อสงสัยความว่า...
    -> สำนักไหนสอนวิชชาธรรมกายได้ถูกต้อง
    -> แต่ละแห่งสอนตรงกันไหม
    -> แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสอนถูกต้อง


    ถ้าท่านเจอกับคำถามเช่นนี้ ท่านจะตอบอย่างไร เราจะเอาเกณฑ์อะไรไปวัดว่าใครสอนถูก หรือ ใครสอนไม่ถูก ยิ่งบางคนถามว่าสอนเหมือนกันไหม ท่านจะเทียบกันอย่างไรว่า เหมือนหรือไม่เหมือนกัน...?

    เราลองมาช่วยกันหาคำตอบในประเด็นคำถามเหล่านี้ดูกันนะครับ
    ก่อนอื่นเรามาลองทบทวนความรู้ทางวิชชาธรรมกายกันดูก่อน
    ธรรมกาย คือ กายตรัสรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เรียกว่าวันวิสาขบูชา เมื่อพระองค์ทรงบรรลุธรรมกาย ด้วยปฏิปทาสายกลาง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด จนกระทั่งธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ธรรมกายจึงเป็นผู้บอกปิฎกทั้งปวงให้เกิดแก่กายมนุษย์ของพระองค์
    ประเด็นสำคัญก็คือ การเข้าถึงกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกายนี่แหละ ที่ทำให้ดวงตาและญาณทัสสนะเกิดขึ้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดังนั้น ถ้าเราจะกล่าวว่าในขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
    ในการตอบคำถามข้อแรกที่ถามว่า...

    - สำนักไหนสอนวิชชาธรรมกายได้ถูกต้อง ก็ต้องตอบว่า...การสอนให้เข้าถึงกายในกาย จนกระทั่งถึงธรรมกายนี่แหละสำคัญที่สุด สำนักไหนสอนให้ผู้ฝึกเข้าถึงกายในกายจนกระทั่งถึงธรรมกาย เรียกว่า วิชชา ๑๘ กายได้ ก็น่าจะถือว่าสำนักนั้นๆ สอนได้ แต่จะได้อย่างถูกต้องหรือไม่ เราจะใช้มาตรฐานอะไร ก็ขอตอบว่า... ให้ใช้มาตรฐานของตำราเล่มเดียวกัน นั่นก็คือ...

    ๑. ตำราทางมรรคผล(๑๘กาย) ของวัดปากน้ำ
    ถ้าทุกสำนักใช้ตำราเล่มเดียวกันในการสอน ก็น่าจะถือได้ว่าสอนอย่างถูกต้อง และตรวจสอบความถูกต้องในการสอนได้ด้วยนั่นเอง ในข้อที่ถามว่าสำนักไหนสอนถูกต้อง เพียงเรานำความรู้ตามตำราไปจับก็จะได้ความชัดเจนนั่นเอง และความรู้อื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน เราก็ต้องใช้ตำราเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ ตำราความรู้ทางวิชชาธรรมกายระดับอื่นๆ มีดังนี้
    ๒. ตำราคู่มือสมภาร
    ๓. ตำราหลักสูตรวิชชามรรคผลพิสดาร ภาค ๑
    ๔. ตำราหลักสูตรวิชชามรรคผลพิสดาร ภาค ๒

    ถ้าจะทราบได้ว่าสำนักไหนสอนถูกต้อง ก็สมควรที่จะใช้ตำราภาคปฏิบัติเป็นการตรวจสอบวัดผลของการฝึกนะครับ ข้อนี้ท่านเห็นด้วยกับผมหรือไม่...?
    ส่วนอีก ๒ คำถาม การตอบก็มีนัยแบบเดียวกัน คำถามที่ว่าก็คือ...
    - แต่ละแห่งสอนตรงกันไหม
    - แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสอนถูกต้อง
    ถ้าเราถือตำราเล่มเดียวกันในการเรียนการสอนภาวนาทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ เราก็จะได้ผลคือปฏิเวธตรงกันนั่นเองครับ
    -> กายธรรมที่เห็นก็จะต้องมีพุทธลักษณะเหมือนกัน
    -> การสอนเบื้องต้นก็จะต้องเน้นเดินใจตามฐานทั้ง ๗ เหมือนกัน
    -> การสอนต้องมีการวัดผลและต่อวิชาให้ผู้ฝึกได้ในขณะที่สอน
    -> การสอนต้องมุ่งเป้าหมายวิชา 18 กาย

    ให้ผู้ฝึกที่สนใจเข้าถึงได้ เพราะเป็นเพียงวิชาเบื้องต้น
    -> มุ่งเป้าที่ผลสัมฤทธิ์ในการสอน ไม่ใช่เรื่องอื่น เหมือนกัน
    เพราะธรรมกายเป็นเป้าหมายของการลงมาเกิดของทุกคน
    -> มุ่งเน้นพัฒนาวิธีการสอนให้เกิดผลที่ดีแก่ผู้ฝึก
    เพื่อให้สามารถเข้าถึงธรรมกายได้นั่นเอง
    และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสอนถูกต้อง ก็ให้พิจารณาว่าสอนได้ตรงตามตำราทางวิชชาธรรมกายทั้ง ๔ เล่มที่กล่าวมาแล้วได้หรือไม่
    วิชชาธรรมกายจะไม่เพี้ยน ไม่ฝั่นเฝือ ไม่บิดเบือน ถ้าเราเรียนตามตำราเป็นพื้นฐาน ถึงเวลาแต่ละสำนักจะมาฝึกปฏิบัติด้วยกันก็จะคุยกันรู้เรื่อง เพราะใช้ความรู้ที่มาจากแหล่งเดียวกัน

    ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องอ่านตำราทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อ่านเพื่อให้เกิด ปัญญาบารมีให้จงได้ นี่คือหนทางเดียวที่จะรักษาความรู้ภาคปฏิบัติให้คงอยู่ ไม่ให้ผิด ไม่ให้เพี้ยน ไม่ให้ฝั่นเฝือ ไม่ให้สูญหายหรือดับลงไป
    ท่านคิดเห็นตรงกับผมในประเด็นนี้หรือไม่...???


    แจ้งข่าว...งานสอนสมาธิ ณ วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร
    สำหรับในเดือนมิถุนายน 2559 นี้

    เปิดฝึกอบรมสมาธิแก่บุคคลทั่วไป
    เปิดทำการฝึกอบรม ได้แก่

    - วันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย. 2559
    เริ่มเวลา 13.00 - 16.00 น.ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ : http://group.wunjun.com/khunsamatha/topic/619713-8819
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2016
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผู้สืบทอดทางวิชชา เขาควรสืบทอดอย่างไร..?
    -> มาพิจารณาพุทธพจน์กันก่อน

    ....................................
    น เต อหํ อานนฺท ตถา ปรกฺกมิสฺสามิ
    อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
    ยถา กุมฺภกาโร อามเก อามกมตฺเต
    เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
    นิคฺคยฺหนิคฺคยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
    อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
    ปวยฺหปวยฺหาหํ อานนฺท วกฺขามิ
    อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
    โย สาโร, โส ฐสฺสติ
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.
    (มหาสุญฺญตสุตฺต อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖)
    ....................................
    นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
    นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช

    คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าว
    คำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ,
    ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น,
    ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย
    เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.
    (ปณฺฑิตวคฺค ธ. ขุ. ๒๕/๒๕/๑๖)
    ....................................
    อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
    ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
    มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘.
    ....................................
    พระบรมศาสดาทรงประทานพุทโธวาท ให้พุทธบริษัท ถือพระธรรมวินัย เป็นพระศาสดา ไม่ทรงแต่งตั้งบุคคลอื่นใดเป็นพระศาสดา แทนพระองค์ โดยกาลล่วงไปแล้ว นี่คือข้อที่เราต้องพิจารณา..?

    ตัวบุคคล นั้น ย่อมมีตกหล่น ผิด-พลาด คลาดเคลื่อน เลอะเลือนจากพระธรรมวินัยได้ ยิ่งมิใช่พระอริยบุคคลแล้วไซร้ ก็ยิ่งต้องระวัง แล้วเราไปยึดถือ(ศรัทธา)ตัวบุคคล หรือพระอาจารย์แทนพระธรรมวินัยได้หรือ..? แล้วพระธรรมวินัยเราจะยึดถือได้จากที่ไหน ก็ได้จาก ในรูปของ "พระไตรปิฎก" ซึ่งเป็นคัมภีร์หรือตำราหลักในพระพุทธศาสนานั่นเอง

    ทีนี้มาพิจารณาถึงวิชชาธรรมกาย หลวงพ่อวัดปากน้ำ ไม่เคยแต่งตั้งใครอย่างเป็นทางการในการสืบต่อทางวิชชา แต่มีหลายท่านที่ทรงความรู้ทางวิชชา และทุกท่านต่างยืนยันว่า ให้ยึดตำราทางวิชชาสำหรับศึกษาปฏิบัติ ถ้าไม่แน่ใจ ไม่เข้าใจก็สอบถามท่านผู้รู้นั้นๆ ได้ แต่ถ้าที่แห่งใดไม่ยึดตำราทางวิชชา อันได้แก่ ตำราทางมรรคผล ,คู่มือสมภาร ,มรรคผลพิสดาร 1 ,มรรคผลพิสดาร 2 ไว้เป็นหลักในการเรียนรู้แล้วไซร้ อาจารย์ผู้สอน หรือสำนักนั้นๆ ย่อมขาดมาตราฐานทางวิชชา มีโอกาสที่จะทำวิชชาและความรู้ผิดเพี้ยนเข้ามาใส่ตามอัตโนมติของอาจารย์ท่านนั้นๆ ได้ นี่คือข้อที่เราควรพิจารณา

    ดังนั้น ความรู้ในตำราวิชชาธรรมกายทุกหลักสูตร มีไว้เพื่อรักษา สืบต่อ วิชชาธรรกายไม่ให้ผิดเพี้ยน ถ้าเราถือตามอาจารยวาท ยิ่งนานวันก็ยิ่งแตกทิฏฐิความคิดเห็นกันไปเรื่อย เหมือนศาสนาพุทธแตกนิกาย เพราะทิฏฐิแตกแยกกัน ถือตามคณาจารย์ของตนไม่ลงรอยกับพระธรรมวินัยนั่นเอง

    สำนักสอนวิชชาธรรมกายใด ไม่ยกย่องตำรา ไม่สอนตรงตามตำราทางวิชชาธรรมกายทุกหลักสูตร ไม่สามารถอธิบายความรู้ตามตำรา ไม่ลำดับการสอนให้ชัดเจนมากด้วยเหตุผลตามตำรา สำนักฝึกนั้นก็น่าเชื่อได้ว่า ขาดมาตรฐานทางวิชชาธรรมายไปเรียบร้อยแล้วนั่นเอง

    ความผิดเพี้ยนทางวิชชาเกิดจากความไม่แม่นยำความรู้ในตำราทางวิชชาทุกหลักสูตร ไม่เข้าหาครูอาจารย์ที่ทรงภูมิตามตำรา แล้วเราจะหวังพึ่งความรู้แบบอัตโมติของอาจารย์ท่านนั้นๆ ได้อย่างไร..? ผู้สืบทอดทางวิชชา คือผู้รู้ทางหลักวิชชาที่มีอยู่ในตำรา และสอนได้ตรงตามตำราทุกหลักสูตรนั่นเอง

    ชมภาพงานสอนสมาธิภาวนาเพื่อการพัฒนาใจให้สว่างใสได้ที่นี่ https://www.facebook.com/khunsamatha2557/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2016
  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ข้อดีของยุคนี้ ตอนนี้ คือเวปนี้
    มีการเอากรรมฐานสายต่างๆมาโพส
    เป็นกระทู้ต่างๆให้ศึกษา ค้าหาเรียนรู้ ได้ง่ายๆ

    ถ้าเราเปิดใจศึกษา ปฎิบัติ ต่อยอดการฝึกของตัวเอง

    ตอนผมเริ่มใหม่ๆเมื่อ ยี่สิบกว่าปีก่อน
    หาข้อมูล ตำรา อาจารย์ ยากมาก

    เคยไปวัดปากน้ำ ท่านก็จากไปแล้ว
    เคยไปวัดท่าซุง ท่านก็จากไปแล้ว
    เคยไปวัดสวนโมกข์ ท่านก็จากไปแล้ว
    หลวงมั่นสายวัดป่า ท่านก็จากไปแล้ว
    สายหนอ หลวงพ่อจรัญ ท่านก็จากไปแล้ว

    มาตอนนี้ ก็ไม่ต้องไปไหน
    มีอาจารย์ กูเกิลแทน สบายไม่ต้องเดินทาง
    เปิดอ่านได้สบาย ทุกสายกรรมฐาน

    เราเองยังเป็นผู้ศึกษาอยู่ ชอบเรียนรู้ ศึกษา ฝึก..

    เพราะอยากรู้ที่อาจารย์เขาสอนกัน มันเป็นอย่างไร..

    เพื่อว่าวันข้างหน้า มีคนมาถาม จะได้ตอบได้
    ไม่ต้องมาเถียงกัน...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2016
  13. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    “ดูก่อนราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอจงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย สิ่งที่เรียกว่ามาร คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของมิใช่ตัวตน มีความ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ เปลี่ยนแปลง และสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนั้น เธอจงละความพอใจในสิ่งอันเป็นมารเหล่านั้นเสีย”

    ที่มาขอพุทธพจน์ :
    http://www.84000.org/one/1/19.html

    ขยายความโดยคุณสมถะ : สภาพอันเป็นมาร คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณ ที่ว่าเป็นมารนั้น เพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นของมิใช่ตัวตน แปลว่า พระไตรลักษณ์ อันได้แก่ อนิจจัง=สภาพไม่เที่ยง, ทุกขขัง=เป็นทุกข์, อนัตตา=มิใช่ตัวตน เป็นสิ่งที่เรียกว่า มาร หรือ สิ่งอันเป็นมาร เรียกภาษาทางวิชชาธรรมกายก็คือพระไตรลักษณ์ตกอยู่ในอำนาจของธรรมภาคมารนั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2016
  14. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ถามคุณสมถะนะครับ

    แล้วคนเห็นอนิจัง ทุกขัง อนัตตา ถือว่าเป็นภาคมารมั๊ยครับ
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คนเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แปลว่า เห็นเบญจขันธ์อันตกอยู่ในพระไตรลักษณ์ เห็นกระบวนการว่า เบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า เป็นมาร เพราะตกอยู่ในสภาพพระไตรลักษณ์นี้ตามความเป็นจริง

    ถ้าเห็นได้จิตจึงจะละความพอใจในสิ่งอันเป็นมารเหล่านั้นเสีย จึงจะชื่อว่า เห็นตามความเป็นจริง

    คนที่เห็นได้ แปลว่า ท่านได้เข้าถึงความจริง ที่ธรรมภาคมารทำให้เบญจขันธ์ตกอยู่ในพระไตรลักษณ์ ไม่ได้จัดว่าเป็นมาร แต่จัดว่า เห็นอำนาจปกครองของมารที่ทำต่อเบญจขันธ์นั้น


    เราพูดกันว่า มารคือกิเลส ตัณหา อุปาทาน

    เราพูดกันว่า มารคืออวิชชา มารคือทุกข์และสมุทัย

    มารคือ กิเลสมาร ขันธมาร มัจจุราชมาร อภิสังขารมาร เทวบุตรมาร

    พระไตรปิฎกบอกว่า มารมี 9 (ขุ จูฬ 30/427/203)

    1. ขันธมาร

    2. ธาตุมาร

    3. อายตนะมาร

    4. คติมาร

    5. อุปบัติมาร

    6. ปฏิสนธิมาร

    7. ภวมาร

    8. สังสารมาร

    9. วัฏฏมาร

    แปลว่า อำนาจปกครองของ มาร มีอยู่ในสิ่งเหล่านี้ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2016
  16. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ขอบคุณในคำตอบมากครับ คุณสมถะ

    ขอถามเพื่อเป็นความรู้สำหรับท่านอื่นด้วยนะครับ

    การเห็นหรือรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร เราใช้ตัว วิญญาณขันธ์

    ในการเห็นใช่มั๊ยครับ เห็นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัววิญญาณ

    (สิ่งที่ไปและมาจุติตามกรรม)

    และตัววิญญาณขันธ์ เราไม่สามารถกำจัดมันออกไปได้ใช่มั๊ยครับ

    เพราะตัวของมันเอง คือธรรมชาติรู้
     
  17. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    ผมมีเรื่องที่จะเล่าให้คุณสมถะฟัง ก่อนหน้าที่ผมจะเข้ามาโพสนะครับ

    คือขณะนั้นผมกำลังคิดเรื่องขันธ์ห้า ที่คุณสมถะว่าเป็นมาร

    และในขณะจิต "แว็บ" เดียวเท่านั้นครับ ประมาณหนึ่งวินาที

    ผมเห็นคล้ายลักษณะของคนอีกคนนึง วิ่งเข้ามาที่กายผม

    คุณสมถะ พอจะแปลความหมายนี้ได้มั๊ยครับ
     
  18. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    องค์ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ทรงเห็นด้วย “ญาณทัสสนะ” หรือ “ปัญญาญาณ”

    เห็นด้วยญาณทัสสนะในเบญจขันธ์ เราไม่ต้องไปกำจัด เราเข้าไปรู้ตามสภาพความเป็นจริง ว่า เบญจขันธ์ ตกอยู่ในสภาพพระไตรลักษณ์ คือตกอยู่ในอำนาจปกครองของมารอย่างไร แล้วละความยึดถือ ความพอใจในเบญจขันธ์นั้นเสียด้วยวิปัสสนาญาณ
     
  19. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผมคงไม่สามารถไปแปลอะไรๆ ให้คุณมังกรบูรพาได้ดอกครับ จงละความวิตกนั้นเสีย(สิ่งที่คิดว่าเห็นนั้น) ไม่ต้องเอามาคิด เราก็จะพ้นจากอำนาจแห่งวิตกนั้น
     
  20. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การรู้ด้วยญาณ อะไรเป็นผู้รู้ ?

    คำถามนี้ก็เหมือนกับที่เราพูดกันว่า "เห็นด้วยตา" ซึ่งคำถามเช่นนี้จะไม่มีใครสงสัยว่าใครเป็นคนเห็น หรือเห็นด้วยอะไร แต่ถ้าคิดกันให้ลึกซึ้งแล้ว มันก็น่าสงสัย เพราะความเป็นจริงแม้เราจะยอมรับกันว่า เราเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยตา แต่ความเป็นจริง ไม่ใช่ตาเป็นผู้เห็น ลำพังตาอย่างเดียวซึ่งเป็นรูปธรรม หรือเป็นวัตถุนั้นจะเห็นอะไรไม่ได้ ตาเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการเห็นเท่านั้น ผู้ที่เห็นคือใจไม่ใช่ตา แต่ใจจะเห็นอะไรได้ ต้องอาศัยตา ถ้าตาบอดก็จะไม่เห็นอะไร

    ในทำนองเดียวกัน เมื่อพูดว่า "รู้ด้วยญาณ" ก็หมายความว่า "ใจเป็นผู้รู้" แต่ใจจะรู้อะไรได้ ก็ต้องอาศัยญาณ ญาณเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของใจ เช่นเดียวกับความโง่หรือความไม่รู้ซึ่งเรียกว่า "อวิชชา" นั้น ก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในจิตใจของปุถุชนทั่วไป คนที่มีอวิชชาครอบงำก็เหมือนกับคนที่อยู่ในที่มืด จะมองไม่เห็นอะไร ส่วนคนที่มีญาณ คือมีความรู้ที่เกิดจากการพิจารณา หรือเกิดจากสมาธิและวิปัสสนา คนที่มีญาณก็เปรียบเหมือนกับคนที่อยู่ในที่สว่างย่อมจะเห็นอะไรได้ชัด ฉะนั้นคำว่า รู้ด้วยญาณ จึงหมายถึง จิตใจที่มีความรู้ในสิ่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการพิจารณาในขั้นสมาธิและวิปัสสนา เป็นต้น และอย่าลืมว่าญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถทำให้เป็นขึ้นได้ ญาณนั้นถ้ายังไม่ถึงขั้นโลกุตตระ ก็มีทางที่จะเสื่อมหรือเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเป็นญาณในขั้นโลกุตตระแล้ว จะไม่มีวันเสื่อมเลย

    บรรดาสัตว์และมนุษย์ที่มีชีวิตทั้งหลายหมดทั้งสกลกายนั้น ย่อมประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ส่วนใหญ่ คือ ส่วนที่เป็น ร่างกาย ส่วนหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่เป็น รูปธรรม กับส่วนที่เป็น ใจ ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็น นามธรรม

    เฉพาะส่วนที่เป็นร่างกายนั้น ทุกคนย่อมรู้จักกันดีโดยทั่วไป เพราะสามารถเห็น หรือสัมผัส แตะต้องได้ด้วยตาเนื้อหรือกายหยาบ แต่ส่วนที่เป็นใจนั้นไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเนื้อ หรือไม่อาจสัมผัสแตะต้องด้วยกายหยาบ จึงเข้าใจธรรมชาติส่วนที่เรียกว่า ใจ นี้ได้ไม่ง่ายนัก

    “ใจ” นั้น ประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง ซึ่งต่างก็ทำหน้าที่ต่างๆ กัน คือ

    ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ เรียกว่า เวทนา
    ธรรมชาติที่ทำหน้าที่จดจำ หรือ รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน เรียกว่า สัญญา
    ธรรมชาติที่ทำหน้าที่คิด หรือที่เรียกว่า “จิต” นั้น เรียกว่า สังขาร
    ธรรมชาติที่ทำหน้าที่รู้ หรือรับรู้อารมณ์ เรียกว่า วิญญาณ

    เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ธรรมชาติทั้ง ๔ อย่างนี้เองที่รวมเรียกว่า “ใจ” และต่างก็ทำหน้าที่ต่างๆ กัน แต่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนแทบจะแยกไม่ออก ธรรมชาติทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็มีชื่อเรียกต่างกันตามหน้าที่ของมัน ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/215947
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...