Album: พระเครื่องโบราณอายุ ๒๓๐ ปี กรุวัดเชิงท่า ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ผมได้นำพระกรุโบราณ อายุ ๒๓๐ ปีมาบันทึกไว้เพื่ออนุรักษ์ศิลปะพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ถึงช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนจะทราบที่มาที่ไปของพระกรุวัดเชิงท่า จ.นนทบุรีซึ่งปัจจุบันนี้เป็น"วัดร้าง"ไปแล้ว ก็คงต้องเท้าความเพื่ออ้างอิงอายุของวัดเชิงท่านี้ก่อนว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มีน้อยมากครับ...<br /> <br /> เท่าที่ผมประมวลดูแล้ววัดเชิงท่านี้มี ๔ แห่งด้วยกัน คือ<br /> ๑. วัดเชิงท่า จ.พระนครศรีอยุธยา<br /> ๒. วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี<br /> ๓. วัดเชิงท่า จ.นนทบุรี<br /> ๔. วัดเชิงท่า สามโคก จ.ปทุมธานี<br /> <br /> ดังนั้นคำว่าวัดเชิงท่า ในกระทู้นี้ ผมจะหมายถึง วัดเชิงท่า จ. นนทบุรี เท่านั้น (ต่อไปขอเรียกว่า "วัดเชิงท่า") <br /> <br /> พญาเจ่ง เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดี ได้นิพนธ์เป็นคำกลอนไว้ว่า<br /> <br /> <br /> <br /> "เสร็จศึก สร้างวัด สลัดบาป แสวงบุญ คือวัดเชิงท่าบางตลาด วัดเกาะบางพูด นุสสรณ์บุญ"<br /> <br /> <br /> "นำพล ๓๐๐๐ จากรัฐมอญมาพึ่งพระบารมี เมื่อปี ๒๓๑๘ โปรดให้อยู่ที่ปากเกร็ด สามโคก<br /> เป็นนายทัพรบศึก ชราสร้างวัดเชิงท่าก่อนวัดเกาะ มตะปี ๒๓๖๕ อายุ ๘๓ ปี"<br /> <br /> <br /> วัดเกาะพญาเจ่ง หรือวัดเกาะรามัญ หรือวัดเกาะบางพูด สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ๒๓๑๘ โดยพญาเจ่ง อดีตแม่ทัพมอญผู้พาไพร่พลเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์ไทย ณ ที่ดินซึ่งได้รับพระราชทานโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อปี ๒๓๑๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐(รัชกาลที่ ๑)<br /> พญาเจ่ง ได้ช่วยไทยรบพม่ามีความดีความชอบมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ ต่อมาบุตรชายคนโต(ทอเรียะ) ก็ได้รับพระราชทานยศให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธาเช่นกัน ท่านได้สร้างวัดนี้ต่อจากบิดา และถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านเป็นต้นสกุล "คชเสนี"<br /> พระอุโบสถวัดเกาะพญาเจ่งเป็นเขตโบราณสถาน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เรื่องทศชาติชาดก<br /> <br /> จากบันทึกนี้ทำให้เราทราบว่า วัดเชิงท่าเป็นวัดที่สร้างในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๑๘(หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๘ ปี)<br /> <br /> หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พิจารณาจากการตั้งบ้านเรือนของ ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นดังนี้:-<br /> <br /> ชุมชนเดิมในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากคลองเชียงรากที่บ้านพร้าวผ่านบริเวณตำ
จัดการ